ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2539)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
== การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 5 (2539) == | == การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 5 (2539) == | ||
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 5 มีขึ้นในวันที่ 3 มิถุนายน 2539 โดยในครั้งนี้มีผู้สมัครทั้งที่สังกัด[[พรรคการเมือง]]และ[[ผู้สมัครอิสระ]] และมีอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงสมัครถึง 2 คน คือ [[พล.ต.จำลอง ศรีเมือง]] และ[[ร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา]] [[การเลือกตั้ง]]ครั้งนี้มีผู้ลงสมัครมากเป็นประวัติการณ์กว่า 29 คน โดยมีผู้สมัครที่โดดเด่น เช่น [[นายพิจิตต รัตตกุล]] ผู้สมัครอิสระจาก[[กลุ่มมดงาน]], พล.ต.จำลอง ศรีเมือง จากพรรค[[พลังธรรม]], ร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา [[ผู้สมัครอิสระ]] และนายอากร ฮุนตระกูล ผู้สมัครอิสระ | การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 5 มีขึ้นในวันที่ 3 มิถุนายน 2539 โดยในครั้งนี้มีผู้สมัครทั้งที่สังกัด[[พรรคการเมือง]]และ[[ผู้สมัครอิสระ]] และมีอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงสมัครถึง 2 คน คือ [[จำลอง ศรีเมือง|พล.ต.จำลอง ศรีเมือง]] และ[[กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา|ร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา]] [[การเลือกตั้ง]]ครั้งนี้มีผู้ลงสมัครมากเป็นประวัติการณ์กว่า 29 คน โดยมีผู้สมัครที่โดดเด่น เช่น [[พิจิตต รัตตกุล|นายพิจิตต รัตตกุล]] ผู้สมัครอิสระจาก[[กลุ่มมดงาน]], พล.ต.จำลอง ศรีเมือง จากพรรค[[พลังธรรม]], ร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา [[ผู้สมัครอิสระ]] และนายอากร ฮุนตระกูล ผู้สมัครอิสระ | ||
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายพิจิตต รัตตกุล ได้รับคะแนนเสียงมากเป็นอันดับที่หนึ่ง 768,994 คะแนน หรือร้อยละ 49.47 ได้เป็นผู้ว่าราชการ[[กรุงเทพมหานคร]]ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นคนที่ 4 | ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายพิจิตต รัตตกุล ได้รับคะแนนเสียงมากเป็นอันดับที่หนึ่ง 768,994 คะแนน หรือร้อยละ 49.47 ได้เป็นผู้ว่าราชการ[[กรุงเทพมหานคร]]ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นคนที่ 4 |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:31, 2 พฤษภาคม 2554
- ผู้เรียบเรียง นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
- ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 5 (2539)
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 5 มีขึ้นในวันที่ 3 มิถุนายน 2539 โดยในครั้งนี้มีผู้สมัครทั้งที่สังกัดพรรคการเมืองและผู้สมัครอิสระ และมีอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงสมัครถึง 2 คน คือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ลงสมัครมากเป็นประวัติการณ์กว่า 29 คน โดยมีผู้สมัครที่โดดเด่น เช่น นายพิจิตต รัตตกุล ผู้สมัครอิสระจากกลุ่มมดงาน, พล.ต.จำลอง ศรีเมือง จากพรรคพลังธรรม, ร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา ผู้สมัครอิสระ และนายอากร ฮุนตระกูล ผู้สมัครอิสระ
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายพิจิตต รัตตกุล ได้รับคะแนนเสียงมากเป็นอันดับที่หนึ่ง 768,994 คะแนน หรือร้อยละ 49.47 ได้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งเป็นคนที่ 4
ในปี 2535 นายพิจิตตเคยลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามพรรคประชาธิปัตย์ แต่ต้องพ่ายแพ้แก่ ร.อ.กฤษฎา ผู้สมัครจากพรรคพลังธรรม นโยบายสำคัญๆของนายพิจิตต และกลุ่มมดงานนั้นมีอยู่ 6 หมวด คือ
(1) การจัดการขยะ โดยเน้นหลักที่ว่าด้วย “เก็บขยะถี่ กำจัดขยะเร็ว”
(2) การจราจร ที่มีอยู่ 5 โครงการ คือ รถรางเลียบคลอง, รถตู้มวลชน, ที่จอดรถที่ตะเข็บเมืองชั้นนอก, จุดกลับรถที่เป็นรูปเกือกม้า และที่จอดคถใต้ดินในเขตเมืองชั้นใน
(3) นโยบายคุณภาพอากาศ ที่เน้นการแก้ไขปัญหาฝุ่นเขม่า ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของคนกรุงเทพมหานคร
(4) พัฒนาโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
(5) นโยบายสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร โดยมุ่งเน้นการขยายบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ
(6) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเน้นการจัดตั้ง “ประชาคมเมือง” ที่เป็นพื้นที่อิสระสำหรับการพบปะและสะท้อนปัญหาจากประชาชนต่อหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานราชการของกรุงเทพมหานคร โดยตั้งเป้าว่าจะสามารถจัดตั้งกรรมการชุมชนให้ได้ 2,000 แห่งในระยะเวลา 4 ปี[1]
อาจกล่าวได้ว่า นโยบายทั้ง 6 หมวดของนายพิจิตตและกลุ่มมดงานถูกนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผลเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายในหมวดที่ 2 คือการแก้ไขปัญหาจราจร โดยการสร้างรถรางเลียบคลอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นนโยบายหาเสียงหลักของนายพิจิตต ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง ส่งผลให้นายพิจิตตไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนมากนักในช่วงระยะเวลา 4 ปีของการบริหารงานกรุงเทพมหานคร
อ้างอิง
- ↑ ดู รายการเหตุบ้านการเมือง, หัวข้อ “ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่” วันที่ 2 มิถุนายน 2539, ช่อง 3