ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การหาเสียงเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Teeraphan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
'''ผู้เรียบเรียง''' รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์


----
----
บรรทัดที่ 42: บรรทัดที่ 42:


[[หมวดหมู่:การหาเสียง]]
[[หมวดหมู่:การหาเสียง]]
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:59, 4 ตุลาคม 2554

ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


การหาเสียงเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

การหาเสียงเลือกตั้งอย่างไม่เปิดเผยหรือไม่เป็นทางการ หมายถึง การหาเสียงเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้ง ด้วยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของ[[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการสรรหาวุฒิสภา]] และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง รวมทั้งข้อควรปฏิบัติในการหาเสียงเลือกตั้งที่ได้ระบุไว้ประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ในบางกรณีพรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้ง อาจดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งโดยอาศัยวิธีการหาเสียงเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นการกระทำโดยไม่เปิดเผย และมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนสนับสนุนผู้สมัครหรือพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี

การหาเสียงเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการนี้ ยังอาจเป็นการจูงใจเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งงดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใดอีกด้วย การหาเสียงเลือกตั้งแบบไม่เป็นทางการนี้ อาจกระทำโดยผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่เขตเลือกตั้งก็ได้

โดยส่วนใหญ่วิธีการหาเสียงเลือกตั้งอย่างไม่เปิดเผยหรือไม่เป็นทางการนี้ มักจะเป็นการกระทำที่ต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง ได้แก่

(1) จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด เช่น งานวันเกิด งานบวช งานโกนจุก งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานบุญ งานเทศกาล งานขึ้นปีใหม่ หรืองานศพ เป็นต้น

(2) ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด มัสยิด สุเหร่า ศาลเจ้า โรงเจ โบสถ์คริสต์ โบสถ์พราหมณ์ สำนักปฏิบัติธรรม สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์ สหกรณ์กองทุนสงเคราะห์ ชุมนุม ชมรมสโมสร หรือสถาบันอื่นใดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศ เช่น การบริจาคเงิน การประมูลทรัพย์สิน หรือสิ่งของในงานกุศลต่าง ๆ เป็นต้น

(3) โฆษณาหาเสียงเลือกตั้งด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงและการละเล่นอื่น ๆ

(4) เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด รวมถึงการจัดเลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยง การประชุม อบรม สัมมนา ทัศนศึกษา หรือดูงาน เป็นต้น

(5) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด เช่น การปราศรัยด้วยข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง เป็นต้น

(6) จัดให้มีการแห่กลองยาวหรือขบวนแห่อื่น ๆ ในวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือบริเวณที่สมัครรับเลือกตั้ง

(7) แจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งด้วยวิธีการวาง โปรยในที่สาธารณะหรือแจกจ่ายควบไปกับสิ่งใด เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร เป็นต้น

(8) รับเชิญไปออกรายการวิทยุโทรทัศน์หรือวิทยุกระจายเสียง ในช่วงที่มีประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนถึงวันเลือกตั้ง

ที่มา

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550

“ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการหาเสียง ข้อควรปฏิบัติและข้อห้ามมิให้ปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการดำเนินการใด ๆ ของพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 74 ก วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550 หน้า 1-4.

“ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการหาเสียง ข้อควรปฏิบัติและข้อห้ามมิให้ปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการดำเนินการใด ๆ ของพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2550” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 75 ก วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550 หน้า 1-2.