ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รักสามัคคี (พ.ศ. 2543)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 14: | บรรทัดที่ 14: | ||
2. รูปจับมือ หมายถึง ความรักสมานสามัคคี | 2. รูปจับมือ หมายถึง ความรักสมานสามัคคี | ||
ดังนั้นโดยความหมายรวม หมายถึง ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้วยความรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ใต้สัญลักษณ์รูปหัวใจ มีอักษรคำว่า “พรรครักสามัคคี” | ดังนั้นโดยความหมายรวม หมายถึง ความรักชาติ ศาสนา [[พระมหากษัตริย์]] ด้วยความรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ใต้สัญลักษณ์รูปหัวใจ มีอักษรคำว่า “พรรครักสามัคคี” | ||
ตรายางเครื่องหมายสำหรับประทับรับรองเอกสารของพรรคเป็นเครื่องหมายย่อในลักษณะเดียวกัน แต่ย่อให้เล็กลงและมีสีเดียว <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 120 ง, วันที่ 27พฤศจิกายน 2543, หน้า 112.</ref> | ตรายางเครื่องหมายสำหรับประทับรับรองเอกสารของพรรคเป็นเครื่องหมายย่อในลักษณะเดียวกัน แต่ย่อให้เล็กลงและมีสีเดียว <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 120 ง, วันที่ 27พฤศจิกายน 2543, หน้า 112.</ref> | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:47, 27 กรกฎาคม 2553
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรครักสามัคคี
พรรครักสามัคคี มีอักษรย่อภาษาไทยว่า “พรส.” เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “PARTY FOR LOVE AND UNITY” มีอักษรย่อภาษาอังกฤษว่า “PLU” ขึ้นทะเบียนเป็นพรรคการเมืองเลขที่ 20/2543 ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543[1]
เครื่องหมายของพรรครักสามัคคีมีคำอธิบายดังต่อไปนี้ [2]
1. รูปดวงใจ 3 สี เป็นสีขาว สีน้ำเงิน สีแดง หมายถึง สัญลักษณ์ของชาติไทย โดยมีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. รูปจับมือ หมายถึง ความรักสมานสามัคคี
ดังนั้นโดยความหมายรวม หมายถึง ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้วยความรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ใต้สัญลักษณ์รูปหัวใจ มีอักษรคำว่า “พรรครักสามัคคี” ตรายางเครื่องหมายสำหรับประทับรับรองเอกสารของพรรคเป็นเครื่องหมายย่อในลักษณะเดียวกัน แต่ย่อให้เล็กลงและมีสีเดียว [3]
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรครักสามัคคี ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 108 ซอยสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 [4]
นโยบายพรรครักสามัคคี พ.ศ. 2543[5]
พรรครักสามัคคี “คิดดี พูดดี ทำดี” นำประชาชนให้มีความสุขสมบูรณ์และประเทศไทยให้รุ่งเรืองเหมือนในอดีตกาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยพรรครักสามัคคีจะมีอุดมการณ์แน่วแน่ที่จะปฏิบัติหน้าที่ทางการเมืองด้วยสติปัญญาและคุณธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย
1. นโยบายด้านการเมือง
จงรักภักดีเทิดทูนพระมหากษัตริย์ไว้เป็นที่สักการะสูงสุดและธำรงรักษาต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
1) ยึดถือรัฐธรรมนูญ
2) สร้างนักการเมืองให้ประชาชนมีความศรัทธายิ่งขึ้น โดยจะสร้างนักการเมืองและพรรคการเมืองให้มีอุดมการณ์มีระเบียบวินัย มีจรรยาบรรณ เพื่อให้ประชาชนนับถืออย่างเหมาะสม
3) พร้อมที่จะเป็นรัฐบาลบริหารประเทศทุกโอกาส
2. นโยบายด้านการบริหาร
1) ปฏิรูประบบราชการให้ทันสมัยเหมือนกับนานาอารยะประเทศ
2) เร่งกระจายอำนาจการบริหารสู่ท้องถิ่นด้วยการลดอำนาจส่วนกลาง
3) ปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ตำรวจปฏิบัติในกรอบกฎหมาย และแก้ไขปัญหาความสงบเรียบร้อย
4) ปฏิรูปการจัดระบบข้อมูลข่าวสาร
5) นโยบายเรื่องเยาวชนของชาติ ส่งเสริมสิทธิของเด็ก ดูแลสุขภาพทางกายและใจ โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างครอบครัวให้แข็งแกร่ง
6) นโยบายด้านสตรี คือให้ความสำคัญเรื่องสตรี
3. นโยบายด้านการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
ปฏิรูปกฎหมาย ระบบอัยการ และระบบตำรวจเพื่อประโยชน์สูงสุดกับประชาชน โดยเน้นไปทางด้านสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
4. นโยบายเศรษฐกิจ
เน้นการพัฒนาทางการเกษตรตลอดจนอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูปเพื่อเป็นสินค้าส่งออกและทำให้เกิดรายได้แก่ชุมชนอย่างทั่วถึง และเน้นการพัฒนาชนบทและเมืองในต่างจังหวัด เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ปฏิรูปทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือข้อมูลข่าวสาร และเปิดเสรีวิทยุและโทรทัศน์ให้ประชาชนหรือชุมชนเป็นเจ้าของ
5. นโยบายด้านการศึกษาและสังคม
ปฏิรูปการศึกษา มุ่งผลิตแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการด้านแรงงานสาขาต่างๆ รวมถึงเพิ่มศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษา และปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษา
6. นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เร่งพัฒนาบุคคลให้มีความรอบรู้ทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร
7. นโยบายต่างประเทศ
ให้ความร่วมมือกับประเทศอาเซียนและองค์กรในระดับภูมิภาคและไตรภาคี และส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศมากยิ่งขึ้น คุ้มครองดูแลผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ
พรรครักสามัคคีเคยมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 โดยยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อโดยได้หมายเลข 6[6] และส.ส.แบบแบ่งเขตพรรครักสามัคคีส่ง น.ส.ฟูรอยดา มีสุวรรณ ลงสมัคร เขต 10 นายประพันธ์ วิภวศุทธิ์ ลงสมัคร เขต 24 และนายปริญญา มูลทรัพย์ ลงสมัครเขต 26 ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร[7] แต่ไม่เคยชนะการเลือกตั้ง
จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งที่ 18/2544 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2544 ให้ยุบพรรครักสามัคคีตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 65 วรรคสอง เนื่องจากไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ที่บัญญัติว่า “ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคการเมืองต้องดำเนินการให้มีสมาชิกตั้งแต่ห้าพันคนขึ้นไป ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมีที่อยู่ในแต่ละภาคตมบัญชีรายชื่อภาคและจังหวัดที่นายทะเบียนประกาศกำหนด และมีสาขาพรรคการเมืองอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา” เมื่อพรรคการเมืองไม่สามารถกระทำได้ดังกล่าว ให้พรรคการเมืองนั้นเป็นอันยุบไปตามมาตรา 65 ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาพรรครักสามัคคีไม่สามารถหาสมาชิกพรรคและจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองได้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยหัวหน้าพรรครักสามัคคีได้มีหนังสือชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญใจความว่า พรรครักสามัคคีไม่สามารถดำเนินการให้มีสมาชิกตั้งแต่ห้าพันคนขึ้นไปจริง จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรครักสามัคคีได้[8]
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 120 ง, วันที่ 27พฤศจิกายน 2543, หน้า 101, 111.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 120 ง, วันที่ 27พฤศจิกายน 2543, หน้า 112.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 120 ง, วันที่ 27พฤศจิกายน 2543, หน้า 112.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 120 ง, วันที่ 27พฤศจิกายน 2543, หน้า 112.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 120 ง, วันที่ 27พฤศจิกายน 2543, หน้า 101-111.
- ↑ แนวหน้า, 16 พฤศจิกายน 2543.
- ↑ เดลินิวส์, 21 พฤศจิกายน 2543.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนที่ 90 ง, 14 กันยายน 2544, หน้า 39. และราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 32 ก, 5 เมษายน 2545, หน้า 67-69.