ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สันนิบาตเสรีชน"
สร้างหน้าใหม่: '''พรรคสันนิบาตเสรีชน''' หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชน์ป่... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''พรรคสันนิบาตเสรีชน''' | '''พรรคสันนิบาตเสรีชน''' | ||
หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชน์ป่วยและถึงอสัญกรรมเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2506 จอมพลถนอม | หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชน์ป่วยและถึงอสัญกรรมเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2506 [[จอมพลถนอม กิตติขจร]]ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็น[[นายกรัฐมนตรี]]แทน [[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]]ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ก็ยังร่าง[[รัฐธรรมนูญ]]ไปเรื่อยๆจนถึงปี พ.ศ. 2511 จึงได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2511 รวมร่างรัฐธรรมนูญอยู่เกือบ 10 ปี โดยในมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้อนุญาตให้มีการจัดตั้ง[[พรรคการเมื]]องขึ้น โดยบัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการรวมกันเป็นพรรคการเมืองเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองโดยวิถีทาง[[ประชาธิปไตย]] และไม่ขัดต่อระบอบการปกครองตามรัฐธรรมนูญนี้ การจัดตั้งและการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ว่าด้วยพรรคการเมือง” และต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2511 ก็มี[[พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511]] ประกาศใช้การตั้งพรรคการเมืองก็กำหนดให้มีผู้ก่อตั้ง 15 คน และสมาชิกไม่น้อยกว่า 500 คน ตั้งเป็นพรรคการเมือง | ||
พรรคสันนิบาตเสรีชนก็ได้จัดตั้งพรรคขึ้นในเวลานี้ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการยื่นขอจดทะเบียนพรรคการเมืองแต่อย่างใดรวมถึงการเลือกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 ก็ไม่ปรากฏว่าพรรคสันนิบาติเสรีชนส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งแต่อย่างใด | พรรคสันนิบาตเสรีชนก็ได้จัดตั้งพรรคขึ้นในเวลานี้ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการยื่นขอจดทะเบียนพรรคการเมืองแต่อย่างใดรวมถึงการเลือกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 ก็ไม่ปรากฏว่าพรรคสันนิบาติเสรีชนส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งแต่อย่างใด | ||
หลังจากการเลือกตั้งจอมพลถนอมได้เป็นนายกรัฐมนตรีทว่ายังมีความยุ่งยากในการใช้อำนาจเพราะยังต้องพึ่งสภาในการร่าง[[กฎหมาย]] และในเรื่องการงบประมาณ ในที่สุดจอมพลถนอม ร่วมกับจอมพลประภาส จารุเสถียรตัดสินใจรัฐประหารตนเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 [[ยึดอำนาจ]]รัฐบาลเพื่อ[[ยุบสภา]] ยกเลิกรัฐธรรมนูญและยุบพรรคการเมือง และปกครองประเทศภายใต้ สภาบริหารแห่งชาติ แน่นอนว่าพรรคสันนิบาตเสรีชนย่อมต้องหยุด[[กิจกรรมทางการเมือง]]ลงโดยปริยาย | |||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:30, 27 กรกฎาคม 2553
พรรคสันนิบาตเสรีชน
หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชน์ป่วยและถึงอสัญกรรมเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2506 จอมพลถนอม กิตติขจรได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีแทน สภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งร่างรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ก็ยังร่างรัฐธรรมนูญไปเรื่อยๆจนถึงปี พ.ศ. 2511 จึงได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2511 รวมร่างรัฐธรรมนูญอยู่เกือบ 10 ปี โดยในมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้อนุญาตให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น โดยบัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการรวมกันเป็นพรรคการเมืองเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองโดยวิถีทางประชาธิปไตย และไม่ขัดต่อระบอบการปกครองตามรัฐธรรมนูญนี้ การจัดตั้งและการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ว่าด้วยพรรคการเมือง” และต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2511 ก็มีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 ประกาศใช้การตั้งพรรคการเมืองก็กำหนดให้มีผู้ก่อตั้ง 15 คน และสมาชิกไม่น้อยกว่า 500 คน ตั้งเป็นพรรคการเมือง
พรรคสันนิบาตเสรีชนก็ได้จัดตั้งพรรคขึ้นในเวลานี้ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการยื่นขอจดทะเบียนพรรคการเมืองแต่อย่างใดรวมถึงการเลือกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 ก็ไม่ปรากฏว่าพรรคสันนิบาติเสรีชนส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งแต่อย่างใด
หลังจากการเลือกตั้งจอมพลถนอมได้เป็นนายกรัฐมนตรีทว่ายังมีความยุ่งยากในการใช้อำนาจเพราะยังต้องพึ่งสภาในการร่างกฎหมาย และในเรื่องการงบประมาณ ในที่สุดจอมพลถนอม ร่วมกับจอมพลประภาส จารุเสถียรตัดสินใจรัฐประหารตนเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 ยึดอำนาจรัฐบาลเพื่อยุบสภา ยกเลิกรัฐธรรมนูญและยุบพรรคการเมือง และปกครองประเทศภายใต้ สภาบริหารแห่งชาติ แน่นอนว่าพรรคสันนิบาตเสรีชนย่อมต้องหยุดกิจกรรมทางการเมืองลงโดยปริยาย
ที่มา
เชาวนะ ไตรมาศ. ข้อมูลพื้นฐาน 66 ปีประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา, 2542.
พรรคการเมืองไทย. http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=5929.msg47927