ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชากรเกษตร"
สร้างหน้าใหม่: '''พรรคประชากรเกษตร''' รัฐธรรมนูญไทยที่ประกาศใช้เมื่อวัน... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''พรรคประชากรเกษตร''' | '''พรรคประชากรเกษตร''' | ||
รัฐธรรมนูญไทยที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พุทธศักราช 2517 มีมาตรา 45 | รัฐธรรมนูญไทยที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พุทธศักราช 2517 มีมาตรา 45 บัญญัติให้มีการตั้ง[[พรรคการเมือง]]ได้ และ[[พระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับ พ.ศ. 2517]] ได้บัญญัติมาตรา 7 ให้บุคคล 15 คนก่อตั้งพรรคการเมืองได้โดยต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 1,000 คน ซึ่งมากขึ้นกว่าพระราชบัญญัติพรรคการเมือง 2 ฉบับก่อนหน้าที่กำหนดจำนวนสมาชิกไว้อย่างน้อย 500 คน(พ.ศ. 2498 และฉบับ พ.ศ. 2511) | ||
ต่อมาในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 ในช่วงรัฐบาลผสม 8 พรรคของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคมที่มีสมาชิกพรรคในสภาเพียง 18 | ต่อมาในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 ในช่วงรัฐบาลผสม 8 พรรคของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคมที่มีสมาชิกพรรคในสภาเพียง 18 เสียงบริหารประเทศไปได้ยังไม่ถึงปีก็จำต้อง[[ยุบสภา]]เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2519 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2519 หลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 รัฐบาลแต่งตั้งของพล.อ.เกรียงศักดิ์ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2521 ในส่วนที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองนั้น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้บัญญัติให้มีการตั้งพรรคการเมืองได้ตามมาตรา 38 แต่ที่สำคัญก็คือในมาตรา 95 ระบุว่าคุณสมบัติหนึ่งของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็คือจะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และพรรคการเมืองที่มีสิทธิส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง จะต้องส่งผู้สมัครไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น หมายความว่าผู้ไม่สังกัดพรรคใดจะลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ อย่างไรเสียรัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุว่าให้มีการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกในวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและในช่วงเวลา 4 ปี แรกนับตั้งแต่วันตั้งวุฒิสมาชิกยังไม่ให้ใช้ข้อบังคับที่ระบุว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องสังกัดพรรคการเมือง และมีการประกาศการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2522 หนึ่งในพรรคเล็กพรรคน้อยที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในครั้งนั้นคือพรรคประชากรเกษตร ที่ส่งผู้รับสมัคร 1 คน แต่สอบตก | ||
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 22:30, 30 มิถุนายน 2553
พรรคประชากรเกษตร
รัฐธรรมนูญไทยที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พุทธศักราช 2517 มีมาตรา 45 บัญญัติให้มีการตั้งพรรคการเมืองได้ และพระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับ พ.ศ. 2517 ได้บัญญัติมาตรา 7 ให้บุคคล 15 คนก่อตั้งพรรคการเมืองได้โดยต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 1,000 คน ซึ่งมากขึ้นกว่าพระราชบัญญัติพรรคการเมือง 2 ฉบับก่อนหน้าที่กำหนดจำนวนสมาชิกไว้อย่างน้อย 500 คน(พ.ศ. 2498 และฉบับ พ.ศ. 2511)
ต่อมาในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 ในช่วงรัฐบาลผสม 8 พรรคของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคมที่มีสมาชิกพรรคในสภาเพียง 18 เสียงบริหารประเทศไปได้ยังไม่ถึงปีก็จำต้องยุบสภาเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2519 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2519 หลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 รัฐบาลแต่งตั้งของพล.อ.เกรียงศักดิ์ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2521 ในส่วนที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองนั้น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้บัญญัติให้มีการตั้งพรรคการเมืองได้ตามมาตรา 38 แต่ที่สำคัญก็คือในมาตรา 95 ระบุว่าคุณสมบัติหนึ่งของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็คือจะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และพรรคการเมืองที่มีสิทธิส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง จะต้องส่งผู้สมัครไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น หมายความว่าผู้ไม่สังกัดพรรคใดจะลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ อย่างไรเสียรัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุว่าให้มีการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกในวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและในช่วงเวลา 4 ปี แรกนับตั้งแต่วันตั้งวุฒิสมาชิกยังไม่ให้ใช้ข้อบังคับที่ระบุว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องสังกัดพรรคการเมือง และมีการประกาศการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2522 หนึ่งในพรรคเล็กพรรคน้อยที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในครั้งนั้นคือพรรคประชากรเกษตร ที่ส่งผู้รับสมัคร 1 คน แต่สอบตก
ที่มา
เชาวนะ ไตรมาศ. ข้อมูลพื้นฐาน 66 ปีประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา, 2542.
พรรคการเมืองไทย. http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=5929.msg47927