ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รักษาการตามพระราชบัญญัติ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 9: บรรทัดที่ 9:
กฎหมายที่เราใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
กฎหมายที่เราใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ


'''1. กฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ''' หมายถึง กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ พระราชบัญญัติต่าง ๆ รวมทั้งประมวลกฎหมาย
'''1. กฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ''' หมายถึง กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาซึ่ง[[พระมหากษัตริย์]]ในฐานะประมุขของรัฐทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่[[ พระราชบัญญัติ]]ต่าง ๆ รวมทั้งประมวลกฎหมาย


'''2. กฎหมายของฝ่ายบริหาร''' ได้แก่ กฎหมายที่ฝ่ายบริหารออกใช้โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญซึ่งพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐทรงตราขึ้นตามคำแนะนำ
'''2. กฎหมายของฝ่ายบริหาร''' ได้แก่ กฎหมายที่ฝ่ายบริหารออกใช้โดยอาศัยอำนาจตาม[[รัฐธรรมนูญ]]ซึ่งพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐทรงตราขึ้นตามคำแนะนำ
ของคณะรัฐมนตรีหรือตามคำแนะนำของผู้มีหน้าที่รับสนองพระบรมราชโองการ ได้แก่ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และประกาศพระบรมราชโองการ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายของฝ่ายบริหารลำดับรองลงมาอีก คือ กฎกระทรวง และประกาศกระทรวง ซึ่งให้รัฐมนตรีเป็นผู้ออกใช้ได้
ของ[[คณะรัฐมนตรี]]หรือตามคำแนะนำของผู้มีหน้าที่รับสนองพระบรมราชโองการ ได้แก่ [[พระราชกำหนด]] [[พระราชกฤษฎีกา]] และประกาศพระบรมราชโองการ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายของฝ่ายบริหารลำดับรองลงมาอีก คือ กฎกระทรวง และประกาศกระทรวง ซึ่งให้[[รัฐมนตรี]]เป็นผู้ออกใช้ได้


'''3. กฎหมายของท้องถิ่น''' เป็นกฎหมายในลำดับรองซึ่งรัฐมอบอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกใช้บังคับในท้องถิ่นได้ ได้แก่ ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและข้อบัญญัติเมืองพัทยา<ref>มัลลิกา ลับไพรี, '''การยกร่างพระราชบัญญัติ,''' (กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2529), หน้า 32 – 33.</ref>
'''3. กฎหมายของท้องถิ่น''' เป็นกฎหมายในลำดับรองซึ่งรัฐมอบอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกใช้บังคับในท้องถิ่นได้ ได้แก่ ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและข้อบัญญัติเมืองพัทยา<ref>มัลลิกา ลับไพรี, '''การยกร่างพระราชบัญญัติ,''' (กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2529), หน้า 32–33.</ref>


==รูปแบบของพระราชบัญญัติ==
==รูปแบบของพระราชบัญญัติ==
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 22:
'''มาตรา 1 ชื่อพระราชบัญญัติ''' เป็นส่วนที่บอกถึงสาระโดยย่อของกฎหมายนั้น ๆ การตั้งชื่อจึงควรตั้งให้ตรงตามเจตนารมณ์และสาระของกฎหมายควรจะสั้น กระทัดรัด และสะดวกแก่การเข้าใจและค้นหา
'''มาตรา 1 ชื่อพระราชบัญญัติ''' เป็นส่วนที่บอกถึงสาระโดยย่อของกฎหมายนั้น ๆ การตั้งชื่อจึงควรตั้งให้ตรงตามเจตนารมณ์และสาระของกฎหมายควรจะสั้น กระทัดรัด และสะดวกแก่การเข้าใจและค้นหา


'''มาตรา 2 วันบังคับใช้''' กฎหมายไทยถือเอาการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นการแจ้งให้ประชาชนทราบ การบังคับใช้จะแบ่งออกได้ 6 แบบดังนี้
'''มาตรา 2 วันบังคับใช้''' กฎหมายไทยถือเอาการประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]]เป็นการแจ้งให้ประชาชนทราบ การบังคับใช้จะแบ่งออกได้ 6 แบบดังนี้


ก. บังคับใช้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ก. บังคับใช้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
บรรทัดที่ 48: บรรทัดที่ 48:
'''มาตรา 4 บทนิยาม''' มีได้ในกรณีที่มีการใช้คำศัพท์เฉพาะทาง การอธิบายคำย่อ หรือคำที่มีความหมายแตกต่างเป็นพิเศษไม่ว่าจะในทางที่กว้างหรือแคบกว่าจากที่เข้าใจกันตามปกติทั่วไป หรือประโยคที่มีความยาวมาก ๆ และมีการใช้ซ้ำกันบ่อย ๆ หลาย ๆ ที่ในกฎหมายฉบับเดียวกันนั้น และการตีความจะต้องตีความไปตามขอบเขตที่กำหนดในคำนิยามนั้น ๆ<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เรื่องเดียวกัน, หน้า 30.</ref>
'''มาตรา 4 บทนิยาม''' มีได้ในกรณีที่มีการใช้คำศัพท์เฉพาะทาง การอธิบายคำย่อ หรือคำที่มีความหมายแตกต่างเป็นพิเศษไม่ว่าจะในทางที่กว้างหรือแคบกว่าจากที่เข้าใจกันตามปกติทั่วไป หรือประโยคที่มีความยาวมาก ๆ และมีการใช้ซ้ำกันบ่อย ๆ หลาย ๆ ที่ในกฎหมายฉบับเดียวกันนั้น และการตีความจะต้องตีความไปตามขอบเขตที่กำหนดในคำนิยามนั้น ๆ<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เรื่องเดียวกัน, หน้า 30.</ref>


'''มาตรา 5 บทกำหนดผู้รักษาการ''' คือ บทกำหนดผู้รับผิดชอบการปฏิบัติการตามกฎหมายนั้น ซึ่งอาจเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 30.</ref>
'''มาตรา 5 บทกำหนดผู้รักษาการ''' คือ บทกำหนดผู้รับผิดชอบการปฏิบัติการตามกฎหมายนั้น ซึ่งอาจเป็น[[นายกรัฐมนตรี]] หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 30.</ref>


ถ้าเป็นพระราชบัญญัติที่มีความยาวมาก โดยมีการแบ่งเป็นลักษณะหมวดหรือส่วน บทกำหนดว่าด้วยผู้รักษาการจะบัญญัติไว้ในตอนต้นของบททั่วไป แต่ส่วนใหญ่แล้วบทกำหนดผู้รักษาการจะบัญญัติไว้ในตอนท้ายสุดของพระราชบัญญัติ<ref>มัลลิกา ลับไพรี, เรื่องเดียวกัน, หน้า 53.</ref>
ถ้าเป็น[[พระราชบัญญัติ]]ที่มีความยาวมาก โดยมีการแบ่งเป็นลักษณะหมวดหรือส่วน บทกำหนดว่าด้วยผู้รักษาการจะบัญญัติไว้ในตอนต้นของบททั่วไป แต่ส่วนใหญ่แล้วบทกำหนดผู้รักษาการจะบัญญัติไว้ในตอนท้ายสุดของพระราชบัญญัติ<ref>มัลลิกา ลับไพรี, เรื่องเดียวกัน, หน้า 53.</ref>


==ประโยชน์ของการกำหนดผู้รักษาการตามกฎหมาย==
==ประโยชน์ของการกำหนดผู้รักษาการตามกฎหมาย==
บรรทัดที่ 56: บรรทัดที่ 56:
การกำหนดผู้รักษาการตามกฎหมายมีประโยชน์ ดังนี้
การกำหนดผู้รักษาการตามกฎหมายมีประโยชน์ ดังนี้


(1) ทำให้มีรัฐมนตรีเจ้าของเรื่องแน่นอน
(1) ทำให้มี[[รัฐมนตรี]]เจ้าของเรื่องแน่นอน


(2) ทำให้สภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยในชั้นพิจารณาร่างกฎหมายได้ ว่าสมควรจะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดดูแลให้การเป็นไปตามกฎหมายนั้น ๆ
(2) ทำให้[[สภาผู้แทนราษฎร]]วินิจฉัยในชั้นพิจารณาร่างกฎหมายได้ ว่าสมควรจะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดดูแลให้การเป็นไปตามกฎหมายนั้น ๆ


(3) ทำให้สภาผู้แทนราษฎรอยู่ในฐานะที่จะควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินตามวิถีทาง ในรัฐธรรมนูญได้สะดวกยิ่งขึ้น เมื่อไม่มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัติผิดพลาดขาดตกบกพร่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถตั้งกระทู้ถามหรือเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีผู้รักษาการนั้นได้
(3) ทำให้สภาผู้แทนราษฎรอยู่ในฐานะที่จะควบคุม[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]ตามวิถีทาง ในรัฐธรรมนูญได้สะดวกยิ่งขึ้น เมื่อไม่มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัติผิดพลาดขาดตกบกพร่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถตั้งกระทู้ถามหรือเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีผู้รักษาการนั้นได้


(4) ทำให้ราษฎรสามารถติดต่อกับหน่วยงานของทางราชการเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ๆ ได้ถูกต้อง เพราะจะรู้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดเป็นผู้รับผิดชอบ
(4) ทำให้ราษฎรสามารถติดต่อกับหน่วยงานของทางราชการเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ๆ ได้ถูกต้อง เพราะจะรู้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดเป็นผู้รับผิดชอบ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:02, 11 มกราคม 2553

ผู้เรียบเรียง นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


ประเภทของกฎหมาย

กฎหมายที่เราใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. กฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่พระราชบัญญัติต่าง ๆ รวมทั้งประมวลกฎหมาย

2. กฎหมายของฝ่ายบริหาร ได้แก่ กฎหมายที่ฝ่ายบริหารออกใช้โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญซึ่งพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐทรงตราขึ้นตามคำแนะนำ ของคณะรัฐมนตรีหรือตามคำแนะนำของผู้มีหน้าที่รับสนองพระบรมราชโองการ ได้แก่ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และประกาศพระบรมราชโองการ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายของฝ่ายบริหารลำดับรองลงมาอีก คือ กฎกระทรวง และประกาศกระทรวง ซึ่งให้รัฐมนตรีเป็นผู้ออกใช้ได้

3. กฎหมายของท้องถิ่น เป็นกฎหมายในลำดับรองซึ่งรัฐมอบอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกใช้บังคับในท้องถิ่นได้ ได้แก่ ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและข้อบัญญัติเมืองพัทยา[1]

รูปแบบของพระราชบัญญัติ

กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติจะประกอบด้วยโครงสร้างที่เป็นมาตรฐานดังนี้ คือ

มาตรา 1 ชื่อพระราชบัญญัติ เป็นส่วนที่บอกถึงสาระโดยย่อของกฎหมายนั้น ๆ การตั้งชื่อจึงควรตั้งให้ตรงตามเจตนารมณ์และสาระของกฎหมายควรจะสั้น กระทัดรัด และสะดวกแก่การเข้าใจและค้นหา

มาตรา 2 วันบังคับใช้ กฎหมายไทยถือเอาการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นการแจ้งให้ประชาชนทราบ การบังคับใช้จะแบ่งออกได้ 6 แบบดังนี้

ก. บังคับใช้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ข. บังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ค. บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง

ง. บังคับใช้ตามที่ปรากฎใน 3 ข้อแรก โดยมีเงื่อนเวลาในการบังคับใช้กับบางส่วน

จ. บังคับใช้ตามที่มีอยู่ใน 2 ข้อแรก โดยมีเงื่อนไขให้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับท้องที่ เขต บริเวณ ฯลฯ ก่อน

ฉ. กำหนดวันบังคับใช้ไว้แน่นอน[2]

มาตรา 3 บทยกเลิกกฎหมายเก่าอื่น ๆ (ถ้ามี) มีกรณีต่าง ๆ ดังนี้

ก ยกเลิกกฎหมายเดิมฉบับเดียว

ข ยกเลิกกฎหมายเดิมหลายฉบับ

ค ยกเลิกกฎหมายเดิมแบบเรียงลำดับตามปี พ.ศ.

การยกเลิกกฎหมายแม่บททั้งฉบับ หรือยกเลิกบางมาตรามักส่งผลให้กฎหมายลูกบทที่อาศัยอำนาจกฎหมายฉบับนั้น หรือมาตรานั้น ๆ ถูกยกเลิกไปด้วย เว้นแต่กฎหมายใหม่ที่ออกมาเพื่อยกเลิกกฎหมายแม่บทนั้นจะให้อำนาจก็ให้ถือว่ากฎหมายลูกบทนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไปได้[3]

มาตรา 4 บทนิยาม มีได้ในกรณีที่มีการใช้คำศัพท์เฉพาะทาง การอธิบายคำย่อ หรือคำที่มีความหมายแตกต่างเป็นพิเศษไม่ว่าจะในทางที่กว้างหรือแคบกว่าจากที่เข้าใจกันตามปกติทั่วไป หรือประโยคที่มีความยาวมาก ๆ และมีการใช้ซ้ำกันบ่อย ๆ หลาย ๆ ที่ในกฎหมายฉบับเดียวกันนั้น และการตีความจะต้องตีความไปตามขอบเขตที่กำหนดในคำนิยามนั้น ๆ[4]

มาตรา 5 บทกำหนดผู้รักษาการ คือ บทกำหนดผู้รับผิดชอบการปฏิบัติการตามกฎหมายนั้น ซึ่งอาจเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี[5]

ถ้าเป็นพระราชบัญญัติที่มีความยาวมาก โดยมีการแบ่งเป็นลักษณะหมวดหรือส่วน บทกำหนดว่าด้วยผู้รักษาการจะบัญญัติไว้ในตอนต้นของบททั่วไป แต่ส่วนใหญ่แล้วบทกำหนดผู้รักษาการจะบัญญัติไว้ในตอนท้ายสุดของพระราชบัญญัติ[6]

ประโยชน์ของการกำหนดผู้รักษาการตามกฎหมาย

การกำหนดผู้รักษาการตามกฎหมายมีประโยชน์ ดังนี้

(1) ทำให้มีรัฐมนตรีเจ้าของเรื่องแน่นอน

(2) ทำให้สภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยในชั้นพิจารณาร่างกฎหมายได้ ว่าสมควรจะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดดูแลให้การเป็นไปตามกฎหมายนั้น ๆ

(3) ทำให้สภาผู้แทนราษฎรอยู่ในฐานะที่จะควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินตามวิถีทาง ในรัฐธรรมนูญได้สะดวกยิ่งขึ้น เมื่อไม่มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัติผิดพลาดขาดตกบกพร่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถตั้งกระทู้ถามหรือเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีผู้รักษาการนั้นได้

(4) ทำให้ราษฎรสามารถติดต่อกับหน่วยงานของทางราชการเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ๆ ได้ถูกต้อง เพราะจะรู้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดเป็นผู้รับผิดชอบ

อำนาจหน้าที่ของผู้รักษาการตามกฎหมาย

(1) สั่งการและควบคุมให้มีการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย

(2) ชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อมีการตั้งกระทู้ถามหรือเปิดอภิปรายทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายใด

ในกรณีที่กฎหมายฉบับเดียวกันมีรัฐมนตรีหลายกระทรวงเป็นผู้รักษาการ ก็เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีดังกล่าวที่จะดำเนินการแก้ไขเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตนในกรณีที่ต้องมีการประสานงานกับกระทรวงทบวงกรมอื่น ก็ต้องมีการปรึกษากัน[7]

กฎหมายที่ไม่ต้องมีผู้รักษาการ

โดยหลักแล้วกฎหมายจะต้องมีผู้รักษาการ เพื่อให้ทราบถึงผู้รับผิดชอบให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ๆ แต่มีบางกรณีไม่จำเป็นต้องมีผู้รักษาการ คือ

(1) กฎหมายที่วางหลักกลาง ๆ ทั่วไป ซึ่งบัญญัติกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น ประมวลกฎหมายอาญา

(2) กฎหมายที่วางหลักทั่วไปไว้และกำหนดว่าถ้ามีกรณีจะต้องปฏิบัติการตามกฎหมายฉบับนั้น ก็จะต้องตรากฎหมายเฉพาะกรณีอีกชั้นหนึ่ง เช่น กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ไม่ต้องมีผู้รักษาการ เพราะเมื่อตรากฎหมายเฉพาะเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ก็จะต้องมีรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายเฉพาะนั้น

(3) การยกเลิกกฎหมายเดิมโดยไม่ตรากฎหมายใหม่ในเรื่องนั้นขึ้นแทน มีผลทำให้กฎหมายที่ยกเลิกนั้นไม่มีอยู่แล้ว จึงไม่ต้องมีผู้รักษาการตามกฎหมายอีก เว้นแต่ในกรณีที่พระราชบัญญัตินั้นกำหนดให้ฝ่ายบริหารต้องปฏิบัติการใดเพื่อผลแห่งการยกเลิกกฎหมายจึงจะต้องมีผู้รักษาการตามกฎหมาย

(4) พระราชบัญญัติที่ตราขึ้นเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับเดิม กฎหมายฉบับเดิมย่อมมีผู้รักษาการตามกฎหมายอยู่แล้ว บทบัญญัติของกฎหมายฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมได้เข้าไปแทนที่ในกฎหมายเดิมโดยอัตโนมัติ จึงไม่จำเป็นต้องมีผู้รักษาการตามกฎหมายอีก นอกจากในกรณีที่มีกำหนดอำนาจหน้าที่ใหม่ซึ่งเป็นเอกเทศหรือในกรณีที่มีบทเฉพาะกาลขึ้นใหม่[8]

บทบัญญัติเนื้อหา เนื้อหาของพระราชบัญญัติ ได้แก่ สาระสำคัญของพระราชบัญญัติเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าพระราชบัญญัติมีเจตนารมณ์เช่นไร มีความประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองหรือกำหนดในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ผู้ใช้กฎหมายมีสิทธิหน้าที่ประการใด การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมีบทลงโทษอย่างไรบ้าง และถ้าหากเนื้อหาของพระราชบัญญัติมีมากก็อาจจัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นบรรพ ลักษณะ หมวด หรือส่วน[9]

บทเฉพาะกาล เป็นบทบัญญัติที่มีขึ้นเพื่อรักษาสิทธิหรือกำหนดหน้าที่บางประการตามที่เคยมีในกฎหมายเก่าให้ยังคงมีต่อไปในชั่วระยะเวลาหนึ่งจนกว่ากฎหมายใหม่จะมีผลใช้บังคับเต็มรูปแบบแล้วบทเฉพาะกาลจึงจะสิ้นผลไป[10]

สรุป

ดังนั้น คำว่ารักษาการตามพระราชบัญญัติจึงหมายถึง อำนาจในการออกประกาศ ระเบียบ คำสั่ง เพื่อควบคุม ดูแล และบังคับให้การเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มีผลใช้บังคับ พระราชบัญญัติทุกฉบับจึงต้องมีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ เดิมนั้นการรักษาการตามพระราชบัญญัติเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีซึ่งมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินและควบคุมการใช้บังคับกฎหมายของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แต่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่มุ่งให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองอย่างเป็นรูปธรรมหลายฉบับซึ่งมีเจตนารมณ์ที่จะให้องค์กรอิสระทั้งหลายสามารถปฏิบัติหน้าที่ และใช้บังคับกฎหมายอย่างเคร่งครัด มีประสิทธิภาพและเป็นกลางทางการเมืองอย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญจึงได้ระบุให้ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 9 ฉบับ รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่นประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา นอกจากนั้นถึงแม้รัฐธรรมนูญจะมิได้ระบุว่าให้ผู้ใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ แต่ก็ได้ระบุให้หน่วยงานธุรการขององค์กรอิสระทั้งหลาย รวมถึงศาลด้วยเป็นหน่วยงานอิสระซึ่งไม่ขึ้นต่อฝ่ายบริหารได้มีประธานกรรมการของแต่ละองค์กรเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด เช่น ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประธานศาลฎีกาเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น[11]

อ้างอิง

  1. มัลลิกา ลับไพรี, การยกร่างพระราชบัญญัติ, (กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2529), หน้า 32–33.
  2. สำนักกฎหมาย, คู่มือแนวทางการยกร่างกฎหมาย, (กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, มปป), หน้า 29.
  3. เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน.
  4. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เรื่องเดียวกัน, หน้า 30.
  5. เรื่องเดียวกัน, หน้า 30.
  6. มัลลิกา ลับไพรี, เรื่องเดียวกัน, หน้า 53.
  7. เรื่องเดียวกัน, หน้า 30.
  8. เรื่องเดียวกัน, หน้า 31.
  9. มัลลิกา ลับไพร์, เรื่องเดียวกัน, หน้า 43.
  10. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เรื่องเดียวกัน, หน้า 33–34.
  11. คณิน บุญสุวรรณ, ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบูรณ์, (กรุงเทพฯ : บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2548), หน้า 749–751.

บรรณานุกรม

คณิน บุญสุวรรณ, ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบูรณ์, กรุงเทพฯ : บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2548.

มัลลิกา ลับไพรี, การยกร่างพระราชบัญญัติ. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2529

สำนักกฎหมาย, คู่มือแนวทางการยกร่างกฎหมาย. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, มปป.