ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รายงานของคณะกรรมาธิการ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 13: บรรทัดที่ 13:
==ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทย==
==ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทย==


สำหรับประเทศไทยได้รับแนวความคิดเกี่ยวกับระบบคณะกรรมาธิการมาจากประเทศตะวันตก กล่าวคือ ได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับ “คณะกรรมาธิการ” ไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ โดยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา [[รัฐธรรมนูญ]]ของไทยก็คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับระบบคณะกรรมาธิการไว้ จึงนับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการนำแนวความคิดเกี่ยวกับระบบคณะกรรมาธิการของประเทศตะวันตกมาใช้ในฝ่ายนิติบัญญัติของไทย โดยกำหนดไว้ในมาตรา 26 ไว้ว่า “สภามีอำนาจตั้งอนุกรรมการเพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้สอบสวนพิจารณาทำความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ เพื่อปรึกษาหารือตกลงอีกขั้นหนึ่งก็ได้” ประธานอนุกรรมการเมื่อสภาไม่ได้ตั้งก็ให้อนุกรรมการเลือกกันเอง ตั้งขึ้นเป็นประธานได้ อนุกรรมการมีอำนาจเชิญบุคคลใด ๆ มาชี้แจง แสดงความเห็นได้ ซึ่งบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจากอดีตจนถึงปัจจุบันต่างได้กำหนดบทบาทของคณะกรรมาธิการไว้ทั้งสิ้น เพื่อให้เป็นไปตามกลไกของรัฐสภา ครอบคลุมในกิจกรรมทุกประเภท รวมทั้งมีความเป็นอิสระในการทำงาน อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องต่าง ๆ ที่สภามอบหมาย
สำหรับประเทศไทยได้รับแนวความคิดเกี่ยวกับระบบคณะกรรมาธิการมาจากประเทศตะวันตก กล่าวคือ ได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับ “คณะกรรมาธิการ” ไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ โดยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา [[รัฐธรรมนูญ]]ของไทยก็คือ [[พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475]] มีบทบัญญัติเกี่ยวกับระบบคณะกรรมาธิการไว้ จึงนับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการนำแนวความคิดเกี่ยวกับระบบคณะกรรมาธิการของประเทศตะวันตกมาใช้ในฝ่ายนิติบัญญัติของไทย โดยกำหนดไว้ในมาตรา 26 ไว้ว่า “สภามีอำนาจตั้งอนุกรรมการเพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้สอบสวนพิจารณาทำความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ เพื่อปรึกษาหารือตกลงอีกขั้นหนึ่งก็ได้” ประธานอนุกรรมการเมื่อสภาไม่ได้ตั้งก็ให้อนุกรรมการเลือกกันเอง ตั้งขึ้นเป็นประธานได้ อนุกรรมการมีอำนาจเชิญบุคคลใด ๆ มาชี้แจง แสดงความเห็นได้ ซึ่งบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจากอดีตจนถึงปัจจุบันต่างได้กำหนดบทบาทของคณะกรรมาธิการไว้ทั้งสิ้น เพื่อให้เป็นไปตามกลไกของรัฐสภา ครอบคลุมในกิจกรรมทุกประเภท รวมทั้งมีความเป็นอิสระในการทำงาน อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องต่าง ๆ ที่สภามอบหมาย


==ประเภทของคณะกรรมาธิการ==
==ประเภทของคณะกรรมาธิการ==
บรรทัดที่ 19: บรรทัดที่ 19:
คณะกรรมาธิการที่รัฐสภาหรือแต่ละสภาแต่งตั้งขึ้นเพื่อศึกษา สอบสวนกรณีใด ๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา หรือของสภาแล้วแต่กรณี หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วต้องรายงานต่อรัฐสภานั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำแนกประเภทคณะกรรมาธิการไว้ดังนี้
คณะกรรมาธิการที่รัฐสภาหรือแต่ละสภาแต่งตั้งขึ้นเพื่อศึกษา สอบสวนกรณีใด ๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา หรือของสภาแล้วแต่กรณี หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วต้องรายงานต่อรัฐสภานั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำแนกประเภทคณะกรรมาธิการไว้ดังนี้


1. คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา คือ กรรมาธิการที่สภาแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาเท่านั้น ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ ในกรณีที่ระบบของรัฐสภาเป็นระบบสองสภา แต่ละสภาก็จะตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาของตนไว้ คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาจะมีจำนวนคณะตามความจำเป็นในกิจการของสภาทั้งจำนวนคณะกรรมาธิการ และจำนวนบุคคลซึ่งเป็นกรรมาธิการสภาจะเป็นผู้กำหนดโดยคำนึงถึงจำนวนสมาชิกของสภา
1. [[คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา]] คือ กรรมาธิการที่สภาแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาเท่านั้น ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ ในกรณีที่ระบบของรัฐสภาเป็นระบบสองสภา แต่ละสภาก็จะตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาของตนไว้ คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาจะมีจำนวนคณะตามความจำเป็นในกิจการของสภาทั้งจำนวนคณะกรรมาธิการ และจำนวนบุคคลซึ่งเป็นกรรมาธิการสภาจะเป็นผู้กำหนดโดยคำนึงถึงจำนวนสมาชิกของสภา


2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ คือ กรรมาธิการที่สภาแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้นก็ได้ ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ สภาจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นก็เมื่อมีเหตุผล และความจำเป็นในกิจการคือ เมื่อการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือการกระทำกิจการใด ๆ ไม่อยู่ในขอบข่ายงานของคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาชุดใด หรือหลายชุด ต้องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาเพื่อดำเนินการเฉพาะกิจเป็นคราว ๆ ไป
2. [[คณะกรรมาธิการวิสามัญ]] คือ กรรมาธิการที่สภาแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้นก็ได้ ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ สภาจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นก็เมื่อมีเหตุผล และความจำเป็นในกิจการคือ เมื่อการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือการกระทำกิจการใด ๆ ไม่อยู่ในขอบข่ายงานของคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาชุดใด หรือหลายชุด ต้องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาเพื่อดำเนินการเฉพาะกิจเป็นคราว ๆ ไป


3. คณะกรรมาธิการร่วมกัน เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อประนีประนอมความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่าง[[วุฒิสภา]] และ[[สภาผู้แทนราษฎร]] ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
3. [[คณะกรรมาธิการร่วมกัน]] เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อประนีประนอมความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่าง[[วุฒิสภา]] และ[[สภาผู้แทนราษฎร]] ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ


ส่วนคณะกรรมาธิการเต็มสภานั้น ประกอบด้วยสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ ทุกคนเป็นกรรมาธิการ ประธานสภาเป็นประธานคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการประเภทนี้จะเกิดขึ้น เมื่อสภาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยรับหลักการในการพิจารณาวาระที่ 1 แล้ว แต่มีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์ของชาติ สภาอาจมีมติให้พิจารณารวดเดียวสามวาระได้ โดยให้สมาชิกทุกคนในที่ประชุมเป็นกรรมาธิการพิจารณารายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังนั้น คณะกรรมาธิการเต็มสภาก็คือที่ประชุมสภาซึ่งทำหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชประกอบรัฐธรรมนูญในขั้นคณะกรรมาธิการและในวาระที่ 2 ไปพร้อม ๆ กันนั่นเอง
ส่วนคณะกรรมาธิการเต็มสภานั้น ประกอบด้วยสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ ทุกคนเป็นกรรมาธิการ ประธานสภาเป็นประธานคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการประเภทนี้จะเกิดขึ้น เมื่อสภาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยรับหลักการในการพิจารณาวาระที่ 1 แล้ว แต่มีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์ของชาติ สภาอาจมีมติให้พิจารณารวดเดียวสามวาระได้ โดยให้สมาชิกทุกคนในที่ประชุมเป็นกรรมาธิการพิจารณารายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังนั้น คณะกรรมาธิการเต็มสภาก็คือที่ประชุมสภาซึ่งทำหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชประกอบรัฐธรรมนูญในขั้นคณะกรรมาธิการและในวาระที่ 2 ไปพร้อม ๆ กันนั่นเอง
บรรทัดที่ 29: บรรทัดที่ 29:
==ความสำคัญของรายงานคณะกรรมาธิการ==
==ความสำคัญของรายงานคณะกรรมาธิการ==


รายงานคณะกรรมาธิการ คือ รายงานการพิจารณาของคณะกรรมาธิการของสภาที่ได้กระทำกิจการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ตามอำนาจหน้าที่หรือตามที่สภามอบหมายเสร็จแล้ว ซึ่งต้องรายงานต่อ[[สภาผู้แทนราษฎร]] [[วุฒิสภา]] และรัฐสภา แล้วแต่กรณี ถ้าเป็นรายงานของคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอรายงานดังกล่าว เป็นร่างพระราชบัญญัติหรือร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม โดยแสดงร่างเดิมและการแก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งรายงานต่อประธานสภาหรือต่อประธานรัฐสภา ในรายงานนั้นอย่างน้อยต้องระบุว่าได้มีหรือไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราใดบ้าง และถ้ามีการ[[แปรญัตติ]] มติของคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับถ้อย[[คำแปรญัตติ]]นั้นเป็นประการใด หรือมีการสงวนคำแปรญัตติของผู้แปรญัตติ หรือมีการสงวนความเห็นของกรรมาธิการ ก็ต้องระบุไว้ในรายงานด้วย<ref>คณิน บุญสุวรรณ, '''“ปทานุกรมศัพท์รัฐสภา และการเมืองไทย'''”. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548, หน้า 795-796.</ref>
[[รายงานคณะกรรมาธิการ]] คือ รายงานการพิจารณาของคณะกรรมาธิการของสภาที่ได้กระทำกิจการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ตามอำนาจหน้าที่หรือตามที่สภามอบหมายเสร็จแล้ว ซึ่งต้องรายงานต่อ[[สภาผู้แทนราษฎร]] [[วุฒิสภา]] และรัฐสภา แล้วแต่กรณี ถ้าเป็นรายงานของคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอรายงานดังกล่าว เป็นร่างพระราชบัญญัติหรือร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม โดยแสดงร่างเดิมและการแก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งรายงานต่อประธานสภาหรือต่อประธานรัฐสภา ในรายงานนั้นอย่างน้อยต้องระบุว่าได้มีหรือไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราใดบ้าง และถ้ามีการ[[แปรญัตติ]] มติของคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับถ้อย[[คำแปรญัตติ]]นั้นเป็นประการใด หรือมีการสงวนคำแปรญัตติของผู้แปรญัตติ หรือมีการสงวนความเห็นของกรรมาธิการ ก็ต้องระบุไว้ในรายงานด้วย<ref>คณิน บุญสุวรรณ, '''“ปทานุกรมศัพท์รัฐสภา และการเมืองไทย'''”. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548, หน้า 795-796.</ref>


==รายงานของคณะกรรมาธิการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ==
==รายงานของคณะกรรมาธิการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:20, 9 พฤศจิกายน 2552

ผู้เรียบเรียง อัญชลี จวงจันทร์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐสภาเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นสถาบันนิติบัญญัติ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ การอยู่ร่วมกันของสังคม ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติแล้ว ยังมีบทบาทที่สำคัญในการติดตาม ตรวจสอบ และควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ครอบคลุมกิจการต่าง ๆ ของรัฐเกือบทุกด้าน ซึ่งในทางปฏิบัติการดำเนินบทบาทดังกล่าวโดยผ่านสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด แม้จะเป็นไปได้ก็ตาม แต่ก็เป็นกระบวนการที่ใช้เวลานานในการพิจารณา เพราะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาก และอาจมีการเจรจาต่อรองรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การแสดงบทบาทหน้าที่ของรัฐสภาจึงมักกระทำโดยอาศัยองค์ประกอบที่เป็นกลไกในการดำเนินงานของรัฐสภา คือ คณะกรรมาธิการ ทั้งนี้ เนื่องจากคณะกรรมาธิการเป็นองค์กรที่ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา และมีบทบาทสำคัญในการพิจารณาร่างกฎหมาย การติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล และบทบาทในการสอบสวนเรื่องที่อยู่ในความสนใจของสาธารณะ และอยู่ในอำนาจของรัฐสภา

ความสำคัญของระบบกรรมาธิการ

คณะกรรมาธิการเป็นองค์กรที่เป็นกลไกสำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา โดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร ทั้งในด้านนิติบัญญัติและด้านการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน จำเป็นต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่สภามอบหมาย ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐสภามีหน้าที่ที่กว้างขวาง ครอบคลุมในกิจกรรมทุกประเภท การปฏิบัติหน้าที่ทั้งในทางนิติบัญญัติและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน จึงจำเป็นต้องอาศัยคณะกรรมาธิการ โดยคณะกรรมาธิการแต่ละคณะได้ถูกตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสอบสวนกรณีใด ๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา หรือของสภาแล้วแต่กรณี หรือหมายถึงคณะบุคคลที่สภาตั้งขึ้นเพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วต้องรายงานต่อรัฐสภา ซึ่งการมอบหมายให้คณะกรรมาธิการกระทำการดังกล่าวเป็นการมอบหมายเฉพาะเรื่อง

ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทย

สำหรับประเทศไทยได้รับแนวความคิดเกี่ยวกับระบบคณะกรรมาธิการมาจากประเทศตะวันตก กล่าวคือ ได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับ “คณะกรรมาธิการ” ไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ โดยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา รัฐธรรมนูญของไทยก็คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับระบบคณะกรรมาธิการไว้ จึงนับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการนำแนวความคิดเกี่ยวกับระบบคณะกรรมาธิการของประเทศตะวันตกมาใช้ในฝ่ายนิติบัญญัติของไทย โดยกำหนดไว้ในมาตรา 26 ไว้ว่า “สภามีอำนาจตั้งอนุกรรมการเพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้สอบสวนพิจารณาทำความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ เพื่อปรึกษาหารือตกลงอีกขั้นหนึ่งก็ได้” ประธานอนุกรรมการเมื่อสภาไม่ได้ตั้งก็ให้อนุกรรมการเลือกกันเอง ตั้งขึ้นเป็นประธานได้ อนุกรรมการมีอำนาจเชิญบุคคลใด ๆ มาชี้แจง แสดงความเห็นได้ ซึ่งบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจากอดีตจนถึงปัจจุบันต่างได้กำหนดบทบาทของคณะกรรมาธิการไว้ทั้งสิ้น เพื่อให้เป็นไปตามกลไกของรัฐสภา ครอบคลุมในกิจกรรมทุกประเภท รวมทั้งมีความเป็นอิสระในการทำงาน อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องต่าง ๆ ที่สภามอบหมาย

ประเภทของคณะกรรมาธิการ

คณะกรรมาธิการที่รัฐสภาหรือแต่ละสภาแต่งตั้งขึ้นเพื่อศึกษา สอบสวนกรณีใด ๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา หรือของสภาแล้วแต่กรณี หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วต้องรายงานต่อรัฐสภานั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำแนกประเภทคณะกรรมาธิการไว้ดังนี้

1. คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา คือ กรรมาธิการที่สภาแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาเท่านั้น ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ ในกรณีที่ระบบของรัฐสภาเป็นระบบสองสภา แต่ละสภาก็จะตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาของตนไว้ คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาจะมีจำนวนคณะตามความจำเป็นในกิจการของสภาทั้งจำนวนคณะกรรมาธิการ และจำนวนบุคคลซึ่งเป็นกรรมาธิการสภาจะเป็นผู้กำหนดโดยคำนึงถึงจำนวนสมาชิกของสภา

2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ คือ กรรมาธิการที่สภาแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้นก็ได้ ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ สภาจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นก็เมื่อมีเหตุผล และความจำเป็นในกิจการคือ เมื่อการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือการกระทำกิจการใด ๆ ไม่อยู่ในขอบข่ายงานของคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาชุดใด หรือหลายชุด ต้องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาเพื่อดำเนินการเฉพาะกิจเป็นคราว ๆ ไป

3. คณะกรรมาธิการร่วมกัน เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อประนีประนอมความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ส่วนคณะกรรมาธิการเต็มสภานั้น ประกอบด้วยสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ ทุกคนเป็นกรรมาธิการ ประธานสภาเป็นประธานคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการประเภทนี้จะเกิดขึ้น เมื่อสภาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยรับหลักการในการพิจารณาวาระที่ 1 แล้ว แต่มีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์ของชาติ สภาอาจมีมติให้พิจารณารวดเดียวสามวาระได้ โดยให้สมาชิกทุกคนในที่ประชุมเป็นกรรมาธิการพิจารณารายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ดังนั้น คณะกรรมาธิการเต็มสภาก็คือที่ประชุมสภาซึ่งทำหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชประกอบรัฐธรรมนูญในขั้นคณะกรรมาธิการและในวาระที่ 2 ไปพร้อม ๆ กันนั่นเอง

ความสำคัญของรายงานคณะกรรมาธิการ

รายงานคณะกรรมาธิการ คือ รายงานการพิจารณาของคณะกรรมาธิการของสภาที่ได้กระทำกิจการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ตามอำนาจหน้าที่หรือตามที่สภามอบหมายเสร็จแล้ว ซึ่งต้องรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา แล้วแต่กรณี ถ้าเป็นรายงานของคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอรายงานดังกล่าว เป็นร่างพระราชบัญญัติหรือร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม โดยแสดงร่างเดิมและการแก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งรายงานต่อประธานสภาหรือต่อประธานรัฐสภา ในรายงานนั้นอย่างน้อยต้องระบุว่าได้มีหรือไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราใดบ้าง และถ้ามีการแปรญัตติ มติของคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับถ้อยคำแปรญัตตินั้นเป็นประการใด หรือมีการสงวนคำแปรญัตติของผู้แปรญัตติ หรือมีการสงวนความเห็นของกรรมาธิการ ก็ต้องระบุไว้ในรายงานด้วย[1]

รายงานของคณะกรรมาธิการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[2] มาตรา 135 ได้กำหนดว่า

สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา แล้วรายงานต่อรัฐสภา มติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวต้องระบุกิจการหรือเรื่องให้ชัดเจนและไม่ซ้ำหรือซ้อนกัน

คณะกรรมาธิการมีอำนาจออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ และให้คำสั่งเรียกดังกล่าวมีผลบังคับตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่คำสั่งเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับกับผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ในกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษาอรรถคดีหรือการบริหารงานบุคคลของแต่ละศาล และมิให้ใช้บังคับกับผู้ตรวจการแผ่นดินหรือกรรมการในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยตรงในแต่ละองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณี

นอกจากนั้น ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551[3] ข้อ 96 กำหนดไว้ว่า คณะกรรมาธิการได้กระทำกิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ตามอำนาจหน้าที่หรือตามที่สภามอบหมายเสร็จแล้วให้รายงานต่อสภา โดยในที่ประชุมสภา คณะกรรมาธิการมีสิทธิแถลง ชี้แจงแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าว และคณะกรรมาธิการอาจมอบหมายให้บุคคลใดแถลงหรือชี้แจงแทนก็ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากประธาน และตามข้อบังคับข้อที่ 97 กำหนดไว้ว่า ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ถ้าคณะกรรมาธิการเห็นว่า มีข้อสังเกตที่คณะรัฐมนตรี ศาล หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องควรทราบ หรือควรปฏิบัติ ก็ให้บันทึกข้อสังเกตดังกล่าวไว้ในรายงานของคณะกรรมาธิการเพื่อให้สภาพิจารณา และในการพิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ให้สภาลงมติว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยโดยไม่มีการอภิปราย ในกรณีที่สภาเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ให้ประธานสภาส่งรายงานและข้อสังเกตไปยังคณะรัฐมนตรี ศาล หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสอดคล้องกับข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภา พ.ศ. 2544 ข้อ 91 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดว่า ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ถ้าคณะกรรมาธิการเห็นว่า มีข้อสังเกตที่คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องควรทราบหรือควรปฏิบัติให้บันทึกข้อสังเกตดังกล่าวไว้ในรายงานของคณะกรรมาธิการเพื่อให้วุฒิสภาพิจารณา และข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 กำหนดการรายงานของคณะกรรมาธิการไว้ว่า เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับรายงานของคณะกรรมาธิการแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน และให้เลขาธิการวุฒิสภาจัดส่งเฉพาะระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภาและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สมาชิกโดยไม่ต้องจัดส่งรายงานลับของคณะกรรมาธิการดังกล่าวไปด้วย

จากที่กล่าวมาข้างต้น อาจกล่าวได้ว่า รายงานของคณะกรรมาธิการถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ระบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากการรายงานการพิจารณาของคณะกรรมาธิการของสภาจะเกี่ยวข้องกับการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ซึ่งต้องรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา ดังนั้น รายงานการพิจารณาของคณะกรรมาธิการและข้อสังเกตได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในการปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และทำให้การบริหารงานของรัฐสภาสามารถเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามภารกิจที่กำหนดไว้

อ้างอิง

  1. คณิน บุญสุวรรณ, “ปทานุกรมศัพท์รัฐสภา และการเมืองไทย”. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548, หน้า 795-796.
  2. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, “ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2544”. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2546 หน้า 170.
  3. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, “ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2551”. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551 หน้า 124-125.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

คณิน บุญสุวรรณ, (2548) “ปทานุกรมศัพท์รัฐสภา และการเมืองไทย”. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (2551) “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550”. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (2551) “ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา”. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

บรรณานุกรม

คณิน บุญสุวรรณ, (2548) “ปทานุกรมศัพท์รัฐสภา และการเมืองไทย”. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (2546) “ข้อบังคับการประชุม”. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (2551) “ข้อบังคับการประชุม”. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (2551) “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550”. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สันต์ศักย์ งามพิเชษฐ์, (2543) “บทบาทคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย”. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

อรวรรณ พันธุ์เปรื่อง (2551) “ผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร (2544-2549)”. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.