ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เข้าชื่อเสนอกฎหมาย"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 5: | บรรทัดที่ 5: | ||
---- | ---- | ||
ในระบบการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น กฎหมายมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินการต่าง ๆ ภายในรัฐ | ในระบบการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น กฎหมายมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินการต่าง ๆ ภายในรัฐ โดยเฉพาะในรัฐประชาธิปไตยที่ยึด[[หลักการปกครองภายใต้กฎหมาย]] (The Rule of Law) เนื่องจากกฎหมายเป็นเครื่องมือในการบริหารและการปกครองประเทศ ทั้งยังเป็นการกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจของผู้ปกครอง เป็นการจัดระเบียบของสังคม เป็นหลักประกันสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของประชาชนและก่อให้เกิดความชอบธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม | ||
ภายใต้หลักการที่ว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ดังนั้น กฎหมายที่ออกมาบังคับแก่ประชาชนจะต้องมาจากประชาชน คำว่า “มาจากประชาชน” นั้นหมายถึง การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรงที่ได้มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ โดยให้สิทธิแก่ประชาชนให้สามารถร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายได้ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และรัฐธรรมนูญของมลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น<ref>'''แนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน.''' กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2549. หน้า 21.</ref> | ภายใต้หลักการที่ว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ดังนั้น กฎหมายที่ออกมาบังคับแก่ประชาชนจะต้องมาจากประชาชน คำว่า “มาจากประชาชน” นั้นหมายถึง [[การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน]] ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรงที่ได้มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ โดยให้สิทธิแก่ประชาชนให้สามารถร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายได้ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และรัฐธรรมนูญของมลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น<ref>'''แนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน.''' กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2549. หน้า 21.</ref> | ||
สำหรับในประเทศไทยนั้นแต่เดิมการเสนอร่างพระราชบัญญัติโดยทั่วไปมักกระทำโดย[[คณะรัฐมนตรี]] และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่เรียกกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนได้มีบทบัญญัติที่รับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองไว้หลายประการด้วยกัน ที่สำคัญ คือ การให้ประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้เป็นครั้งแรกโดยบัญญัติในมาตรา 170 กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน เข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาได้เพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยและหมวด 5 [[แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ]] ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ถูกยกเลิกไป เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีการปรับปรุงให้การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนทำได้ง่ายขึ้น โดยลดจำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายจากเดิมไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน เหลือไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน | สำหรับในประเทศไทยนั้นแต่เดิมการเสนอร่างพระราชบัญญัติโดยทั่วไปมักกระทำโดย[[คณะรัฐมนตรี]] และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่เรียกกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนได้มีบทบัญญัติที่รับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองไว้หลายประการด้วยกัน ที่สำคัญ คือ การให้ประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้เป็นครั้งแรกโดยบัญญัติในมาตรา 170 กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน เข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาได้เพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยและหมวด 5 [[แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ]] ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ถูกยกเลิกไป เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีการปรับปรุงให้การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนทำได้ง่ายขึ้น โดยลดจำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายจากเดิมไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน เหลือไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน | ||
บรรทัดที่ 16: | บรรทัดที่ 16: | ||
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้วิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายไว้ 2 วิธี คือ<ref>'''เอกสารเผยแพร่ เรื่อง สิทธิของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ,''' กลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร</ref> | ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้วิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายไว้ 2 วิธี คือ<ref>'''เอกสารเผยแพร่ เรื่อง สิทธิของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ,''' กลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร</ref> | ||
1. การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน ยื่นเรื่องร้องขอต่อประธานรัฐสภา | 1. การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน ยื่นเรื่องร้องขอต่อประธานรัฐสภา โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการตาม[[พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542]] และ ประกาศรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย | ||
วิธีการยื่นคำขอเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ให้ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ลงลายมือชื่อลงในแบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย และกรอกข้อมูลตามที่ระบุไว้ในแบบฟอร์มดังกล่าวให้ครบถ้วนชัดเจนพร้อมเอกสารประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ดังนี้ | วิธีการยื่นคำขอเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ให้ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ลงลายมือชื่อลงในแบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย และกรอกข้อมูลตามที่ระบุไว้ในแบบฟอร์มดังกล่าวให้ครบถ้วนชัดเจนพร้อมเอกสารประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ดังนี้ |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:04, 14 ตุลาคม 2552
ผู้เรียบเรียง ชงคชาญ สุวรรณมณี
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
ในระบบการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น กฎหมายมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินการต่าง ๆ ภายในรัฐ โดยเฉพาะในรัฐประชาธิปไตยที่ยึดหลักการปกครองภายใต้กฎหมาย (The Rule of Law) เนื่องจากกฎหมายเป็นเครื่องมือในการบริหารและการปกครองประเทศ ทั้งยังเป็นการกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจของผู้ปกครอง เป็นการจัดระเบียบของสังคม เป็นหลักประกันสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของประชาชนและก่อให้เกิดความชอบธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
ภายใต้หลักการที่ว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ดังนั้น กฎหมายที่ออกมาบังคับแก่ประชาชนจะต้องมาจากประชาชน คำว่า “มาจากประชาชน” นั้นหมายถึง การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรงที่ได้มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ โดยให้สิทธิแก่ประชาชนให้สามารถร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายได้ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และรัฐธรรมนูญของมลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น[1]
สำหรับในประเทศไทยนั้นแต่เดิมการเสนอร่างพระราชบัญญัติโดยทั่วไปมักกระทำโดยคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่เรียกกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนได้มีบทบัญญัติที่รับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองไว้หลายประการด้วยกัน ที่สำคัญ คือ การให้ประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้เป็นครั้งแรกโดยบัญญัติในมาตรา 170 กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน เข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาได้เพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยและหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ถูกยกเลิกไป เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีการปรับปรุงให้การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนทำได้ง่ายขึ้น โดยลดจำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายจากเดิมไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน เหลือไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน
วิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้วิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายไว้ 2 วิธี คือ[2]
1. การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน ยื่นเรื่องร้องขอต่อประธานรัฐสภา โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 และ ประกาศรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
วิธีการยื่นคำขอเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ให้ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ลงลายมือชื่อลงในแบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย และกรอกข้อมูลตามที่ระบุไว้ในแบบฟอร์มดังกล่าวให้ครบถ้วนชัดเจนพร้อมเอกสารประกอบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ดังนี้
(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตร หรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้
(2) สำเนาทะเบียนบ้านโดยเอกสารดังกล่าว ต้องเป็นเอกสารที่มีความชัดเจนและเป็นปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบ
2. การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน ร้องขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ได้แก่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และจะต้องไม่เป็นผู้เสียสิทธิตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ทั้งนี้เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดร่วมลงชื่อเสนอกฎหมายโดยถูกต้องแล้วจะถอนชื่อภายหลังมิได้[3]
รูปแบบของร่างกฎหมายที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณา
กฎหมายที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาต้องจัดทำในรูปแบบ ร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งต้องมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องที่บัญญัติไว้ในกฎหมายไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หรือหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พร้อมกับต้องแบ่งเป็นมาตราที่ชัดเจน และต้องมีบันทึกประกอบ ดังนี้ 1. หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ 2. เหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ 3. บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมายกันเอง และการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเสนอเข้ามาโดยการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น จะดำเนินการตามกระบวนการตราพระราชบัญญัติเช่นเดียวกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ โดยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเป็น 3 วาระ ซึ่งในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องให้ผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นชี้แจงหลักการของร่างพระราชบัญญัติและคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้น จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด[4] เมื่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ก็จะส่งให้วุฒิสภาพิจารณาเป็น 3 วาระเช่นกัน เมื่อร่างพระราชบัญญัติผ่านความเห็นชอบของทั้งสองสภาแล้ว นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ พระมหากษัตริย์เพื่อทรง ลงพระปรมาภิไธย จากนั้นจะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาและบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถรวมตัวกันเพื่อแสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพในการปกป้องพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของตนหรือของชุมชนท้องถิ่น ทำให้คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชน หากเกิดผลเป็นกฎหมายแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ ก็จะช่วยผลักดันและสนับสนุนให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจนประกาศใช้เป็นกฎหมายทำให้ประชาชนมีกฎหมายที่ตรงกับความต้องการของตนเอง นำไปสู่การแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับประชาชนและประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐได้
อ้างอิง
- ↑ แนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2549. หน้า 21.
- ↑ เอกสารเผยแพร่ เรื่อง สิทธิของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ, กลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ แนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2549. หน้า 30.
- ↑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 163, ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก, 24 สิงหาคม 2550, หน้า 61.
บรรณานุกรม
การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย, กลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพฯ 2546
พรพิมล ถิรคุณโกวิท, การใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน : การศึกษาปัญหาและอุปสรรค. นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 42 ประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2542-2543.
แนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เรื่องการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้ทนราษฎร, 2549.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2540
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550
เอกสารเผยแพร่ เรื่อง การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน, กลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เอกสารเผยแพร่ เรื่อง สิทธิของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ, กลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ดูเพิ่มเติม
จันทิมา ทองชาติ. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ศึกษาเฉพาะกรณีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2551
วนิดา แสงสารพันธ์. การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน, คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร 2543
วนิดา แสงสารพันธ์. หลักรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน, วิญญูชน, กรุงเทพมหานคร 2548
วราเทพ รัตนากร, พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542, สถาบันพระปกเกล้า, นนทบุรี, 2542
สิทธิชัย พิมเสน. การพัฒนากระบวนการนิติบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎรศึกษาเฉพาะกรณีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเอกสารวิชาการกรณีศึกษาส่วนบุคคล, รัฐสภา, กรุงเทพมหานคร, 2549