ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉม..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ


 
 
บรรทัดที่ 98: บรรทัดที่ 98:
<span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span>


ภูมิ โชคเหมาะ. '''กฎหมายทหาร (''''''LW ''''''409/''''''LA ''''''448''''''). '''กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.&nbsp;ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 31/-/หน้า 388/13 กันยายน 2457. '''พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457.'''
ภูมิ โชคเหมาะ. กฎหมายทหาร (LW 409/LA 448). กรุงเทพฯ&nbsp;: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.&nbsp;ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 31/-/หน้า 388/13 กันยายน 2457. พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457.


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 104: บรรทัดที่ 104:
<span style="font-size:x-large;">'''เอกสารอ่านเพิ่มเติม'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''เอกสารอ่านเพิ่มเติม'''</span>


วรชัย แสนสรีระ.'''จุดต่างแห่งอำนาจตาม พ.ร.บ. กฎอัยการศึกฯ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ”. '''จุลนิติ พ.ค. - มิ.ย. 53.
วรชัย แสนสรีระ.จุดต่างแห่งอำนาจตาม พ.ร.บ. กฎอัยการศึกฯ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ. จุลนิติ พ.ค. - มิ.ย. 53.
<div>
<div>
&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 112: บรรทัดที่ 112:
[[#_ftnref1|[1]]] คำว่า “มีกำลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน” หมายความตั้งแต่ นายทหารระดับผู้บังคับกองพันตามลำดับขั้นไปจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม” (ภูมิ โชคเหมาะ,กฎหมายทหาร, หน้า 394)
[[#_ftnref1|[1]]] คำว่า “มีกำลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน” หมายความตั้งแต่ นายทหารระดับผู้บังคับกองพันตามลำดับขั้นไปจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม” (ภูมิ โชคเหมาะ,กฎหมายทหาร, หน้า 394)
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน]][[Category:การบริหารราชการแผ่นดิน]]
[[Category:ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน]] [[Category:การบริหารราชการแผ่นดิน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:43, 5 เมษายน 2565

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ

 

ความเป็นมา

          กฎอัยการศึกเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน กฎอัยการศึกของประเทศไทยมีศักดิ์เท่ากับกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ ถูกตราขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกว่า “กฎอัยการศึก ร.ศ. 126” ยึดหลักการของฝรั่งเศส จนกระทั่งต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าอำนาจของทหารตามกฎอัยการศึก ร.ศ. 126 นั้น อำนาจเจ้าพนักงานฝ่ายทหารที่จะกระทำการใด ๆ ยังหาตรงกับระเบียบพิชัยสงคราม อันต้องการของความเรียบร้อยปราศจากภัย ซึ่งจะมีมาจากภายนอกหรือเกิดขึ้นภายในได้โดยสะดวกไม่ จึงสมควรแก้ไขกฎอัยการศึกและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับกาลสมัย จึงให้ยกเลิกกฎอัยการศึก ร.ศ. 126 และประกาศกฎอัยการศึกขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2457

 

สาระสำคัญของกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457

          1. ผู้มีอำนาจในการประกาศใช้กฎอัยการศึก

               1) พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ 

               การประกาศใช้กฎอัยการศึกเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยทรงประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้กฎอัยการศึกในส่วนหนึ่งส่วนใดของพระราชอาณาจักร หรือ ตลอดทั่วทั้งพระราชอาณาจักร ภายใต้เงื่อนไข คือ เมื่อมีเหตุอันจำเป็นเพื่อที่จะได้รักษาความเรียบร้อยปราศจากภัยซึ่งจะมีมาจากภายนอก หรือภายในพระราชอาณาจักร (มาตรา 2)

               2) ผู้บังคับบัญชาทหาร

               ผู้บังคับบัญชาทหารมีอำนาจในการประกาศกฎอัยการศึกเฉพาะในเขตอำนาจหน้าที่ของทหารได้ภายใต้เงื่อนไข คือ

                    1) เมื่อมีสงคราม หรือ จลาจลเกิดขึ้น ณ แห่งใด

                    2) มีกำลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน หรือเป็นผู้บังคับบัญชาในป้อมหรือที่มั่นอย่างใด ๆ

                    3) จะต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด (มาตรา 4) [1]

          ในเวลาสงครามหรือจลาจล แม่ทัพใหญ่หรือแม่ทัพรองมีอำนาจออกข้อบังคับบรรยายความเพิ่มเติมให้การดำเนินการตามความประสงค์ของกฎอัยการศึกได้ และเมื่อได้ประกาศกฎเสนาบดี หรือข้อบังคับของแม่ทัพในทางราชการแล้วให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 17)

          2. ผู้มีอำนาจในการประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึก

          การที่จะเลิกใช้กฎอัยการศึกแห่งใด หมายถึง การยกเลิกกฎอัยการศึกในบางพื้นที่ หรือทั่วราชอาณาจักรจะต้องมีประกาศกระแสพระบรมราชโองการสั่งเสมอ (มาตรา 6)

          3. พื้นที่บังคับใช้กฎอัยการศึก

          ในกรณีที่การประกาศใช้กฎอัยการศึกไม่ได้ประกาศใช้ทั่วพระราชอาณาจักร การประกาศใช้กฎอัยการศึกจะต้องประกาศแสดงให้ปรากฎว่าจะใช้กฎอัยการศึกใน มณฑลใด ตำบลใด หรือเขตใด (มาตรา 3)

          4. การใช้อำนาจเมื่อมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก

                    1) อำนาจทหาร

                    ในเขตที่ใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารจะมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนทุกตำแหน่งในทุกกระทรวง ทบวง โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนมีหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือเกื้อหนุนราชการทหารทุกสิ่งทุกอย่างตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายหทารในการระงับปราบปรามหรือรักษาความสงบเรียบร้อย (มาตรา 6)

                    2) อำนาจศาลทหาร

                    พลเมืองที่ได้กระทำความผิดในคดีอาญาในเขตแขวงที่ใช้กฎอัยการศึกต้องพิจารณาพิพากษาในศาลทหาร และใช้พระธรรมนูญศาลทหารในการดำเนินกระบวนการพิจารณาทุกประการ (มาตรา 7) และเมื่อเลิกใช้กฎอัยการศึกแล้วศาลทหารยังมีอำนาจพิจารณาพิพากษาความอาญาที่ค้างไว้ได้ (มาตรา 7 วรรคสอง)

                    3) อำนาจศาลพลเรือน

                    ศาลพลเรือนจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ตกค้างอยู่ก่อนประกาศใช้กฎอัยการศึก (มาตรา 7 วรรคสอง)

                    4) อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร

                    เมื่อมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในตำบลใด เมืองใด มณฑลใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่ในการตรวจค้น ที่จะเกณฑ์ ที่จะห้าม ที่จะยึด ที่จะเข้าอาศัย ที่จะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่และที่จะขับไล่ (มาตรา 8) โดยหากเกิดความเสียหายขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใดในเรื่องของการใช้อำนาจ
ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร บุคคลหรือบริษัทใดๆ จะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้เลย เพราะอำนาจทั้งปวงเป็นการดำเนินการตามกฎอัยการศึกเพื่อป้องกันพระมหากษัตริย์ ชาติ ศาสนา ด้วยกำหลังทหารให้ดำรงคงอยู่ในความเจริญรุ่งเรืองเป็นอิสรภาพ และความสงบเรียบร้อยปราศจากราชศัตรูภายนอกและภายใน (มาตรา 16)

                    อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร มีรายละเอียดดังนี้

                         4.1) การตรวจค้น ให้มีอำนาจที่จะตรวจค้นดังต่อไปนี้ (มาตรา 9) 

                         ตรวจค้นบรรดาสิ่งซึ่งจะเกณฑ์ หรือต้องห้าม หรือต้องยึด หรือจะต้องเข้าอาศัยไม่ว่าในที่ใด ๆ หรือเวลาใด ๆ ได้ทั้งสิ้น รวมตลอดถึงการตรวจจดหมายหรือโทรเลขที่มีไปมาถึงกันในเขตแขวงที่ใช้กฎอัยการศึกนั้นได้ก่อน

                         4.2) การเกณฑ์ ให้มีอำนาจที่จะเกณฑ์ได้ดังนี้ (มาตรา 10) 

                         เกณฑ์พลเมืองให้ช่วยกำลังทหารในกิจการเพื่อป้องกันพระราชอาณาจักร หรือช่วยเหลือเกื้อหนุนราชการทหาร รวมถึงการเกณฑ์ยวดยาน สัตว์พาหนะ เสียงอาหาร เครื่องศาตราวุธ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ จากบุคคลหรือบริษัทใด ๆ ซึ่งราชการทหารจะต้องใช้เป็นกำลังในเวลานั้น

                         4.3) การห้าม ให้มีอำนาจที่จะห้ามได้ดังนี้ (มาตรา 11) 

                         เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจในการห้ามมิให้มั่วสุมชุมนุมกัน ห้ามออกหนังสือข่าว ห้ามมิให้พลเมืองสัญจรไปมา ห้ามมิให้พลเมืองใช้ศาตราวุธบางอย่างซึ่งราชการทหารเห็นว่าขัดกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตแขวงนั้น ๆ

                         4.4) การยึด (มาตรา 12) 

                         ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นเป็นการจำเป็นที่จะยึดชั่วคราวเพื่อมิให้เป็นประโยชน์แก่ราชศัตรู หรือเพื่อเป็นประโยชน์แก่ราชการทหารก็มีอำนาจยึดได้ (มาตรา 12)

                         4.5) การเข้าอาศัย (มาตรา 13)

                         เป็นอำนาจในการเข้าพักอาศัยในที่ใด ๆ ได้ทุกแห่งซึ่งราชการทหารเห็นจำเป็นจะใช้เป็นประโยชน์ในราชการทหาร

                         4.6) การทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ ให้มีอำนาจกระทำได้ดังนี้ (มาตรา 14)

                         อำนาจที่จะเผาบ้าน และสิ่งซึ่งเห็นว่าจะเป็นกำลังแก่ราชศัตรู หรือทำลายสิ่งที่อยู่ในการสู้รบสามารถทำลายได้ทั้งสิ้น รวมถึงการมีอำนาจที่จะสร้างที่มั่น หรือดัดแปลงภูมิประเทศหรือหมู่บ้าน เพื่อสำหรับการต่อสู้ราชศัตรู หรือเตรียมการป้องกันรักษา ตามความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ทุกอย่าง

                         4.7) การขับไล่ (มาตรา 15)

                         เมื่อมีเหตุอันความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดหรือจำเป็นแล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจขับไล่ผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอาศัยเป็นหลักฐาน หรือเป็นผู้มาอาศัยในตำบลนั้นชั่วคราวให้ออกไปจากเมืองหรือตำบลนั้นได้

 

บทสรุป

          กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ใช้บังคับ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2457 มีการแก้ไขเพิ่มเติม 5 ครั้ง โดยการแก้ไขครั้งที่ 2 ในปีพุทธศักราช 2485 แก้ไขครั้งที่ 3 ในปีพุทธศักราช 2487 แก้ไขครั้งที่ 4 ในปีพุทธศักราช 2488 และแก้ไขฉบับที่ 5 ใน พ.ศ. 2502 เพื่อเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึกให้เป็นการสอดคล้องต้องกัน โดยกฎหมายดังกล่าวนี้ยังคงมีผลใช้บังคับใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

 

บรรณานุกรม

ภูมิ โชคเหมาะ. กฎหมายทหาร (LW 409/LA 448). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 31/-/หน้า 388/13 กันยายน 2457. พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457.

 

เอกสารอ่านเพิ่มเติม

วรชัย แสนสรีระ.จุดต่างแห่งอำนาจตาม พ.ร.บ. กฎอัยการศึกฯ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ. จุลนิติ พ.ค. - มิ.ย. 53.

 

อ้างอิง

[1] คำว่า “มีกำลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน” หมายความตั้งแต่ นายทหารระดับผู้บังคับกองพันตามลำดับขั้นไปจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม” (ภูมิ โชคเหมาะ,กฎหมายทหาร, หน้า 394)