ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การดำรงตำแหน่งของประธานรัฐสภา"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 22: | บรรทัดที่ 22: | ||
ตลอดระยะเวลากว่า 89 ปี (พ.ศ. 2475 - 2564) มีบุคคลผลัดเปลี่ยนมาดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาแล้วทั้งสิ้น จำนวน 31 คน ดังตารางที่ 1 | ตลอดระยะเวลากว่า 89 ปี (พ.ศ. 2475 - 2564) มีบุคคลผลัดเปลี่ยนมาดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาแล้วทั้งสิ้น จำนวน 31 คน ดังตารางที่ 1 | ||
'''ตารางที่ 1 รายชื่อและการดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาของไทย''' | |||
'''ตารางที่ | |||
{| border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" style="width:103.58%;" width="103%" | {| border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" style="width:103.58%;" width="103%" |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:39, 31 มีนาคม 2565
ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
การดำรงตำแหน่งของประธานรัฐสภา
ประธานรัฐสภาเป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของอำนาจอธิปไตย โดยมีอำนาจและหน้าที่เป็นประธานของที่ประชุมรัฐสภา เป็นผู้กำหนดการประชุมรัฐสภา ควบคุมและดำเนินกิจการของรัฐสภา รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมรัฐสภาตลอดถึงบริเวณของรัฐสภา เป็นผู้แทนรัฐสภาในกิจการภายนอก และอำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมรัฐสภา
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งที่ประชุมได้เลือก มหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก โดยรัฐธรรมนูญในขณะนั้นได้กำหนดให้รัฐสภามีสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว จึงถือว่าประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา
รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับที่ผ่านมาได้บัญญัติให้มีบุคคลทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ถ้าช่วงใดที่ใช้รูปแบบสภาเดี่ยว เช่น สภาผู้แทนราษฎร สภาร่างรัฐธรรมนูญ[1] สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน แล้วแต่กรณี ก็จะให้ประธานสภาดังกล่าวทำหน้าที่ในตำแหน่งประธานรัฐสภา แต่หากช่วงเวลาใดใช้รูปแบบสภาคู่ กล่าวคือ มีทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จะต้องพิจารณาว่ารัฐธรรมนูญที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติให้ประธานของสภาใดเป็นประธานรัฐสภา ก็จะเป็นไปตามนั้น[2]
การดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาจึงมีความสัมพันธ์กับที่มาของประธานรัฐสภา และเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในแต่ละสมัย เช่น หากรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรก็จะมีฐานะเป็นประธานรัฐสภาโดยผลของรัฐธรรมนูญด้วย และผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาก็จะมีฐานะเป็นรองประธานรัฐสภาเช่นเดียวกัน แต่ถ้ารัฐธรรมนูญบัญญัติว่าประธานวุฒิเป็นประธานรัฐสภา ผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาก็จะมีฐานะเป็นประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรก็จะมีฐานะเป็นรองประธานรัฐสภา หรือในบางสมัยที่เป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อเลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้วก็จะปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภา หรือในบางสมัยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก็กำหนดให้ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเป็นประธานรัฐสภาเช่นเดียวกัน สำหรับการพ้นจากตำแหน่งของประธานรัฐสภาก็จะเป็นไปตามการพ้นจากตำแหน่งต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้รัฐสภาไทยประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยมาตรา 80 บัญญัติให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา
ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้ ให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน ในระหว่างที่ประธานวุฒิสภาต้องทำหน้าที่ประธานรัฐสภา แต่ไม่มีประธานวุฒิสภาและเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในระหว่างไม่มีสภาผู้แทนราษฎรให้รองประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ถ้าไม่มีรองประธานวุฒิสภาให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งมีอายุมากที่สุดในขณะนั้น ทำหน้าที่ประธานรัฐสภาและให้ดำเนินการเลือกประธานวุฒิสภาโดยเร็ว
ตลอดระยะเวลากว่า 89 ปี (พ.ศ. 2475 - 2564) มีบุคคลผลัดเปลี่ยนมาดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาแล้วทั้งสิ้น จำนวน 31 คน ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 รายชื่อและการดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาของไทย
ลำดับ |
ชื่อ |
การดำรงตำแหน่ง |
ตำแหน่ง | |||
---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มวาระ |
สิ้นสุดวาระ |
ระยะเวลา |
||||
1 |
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) |
28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 |
1 กันยายน พ.ศ. 2475 |
0 ปี 65 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
2 |
เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) |
2 กันยายน พ.ศ. 2475 |
10 ธันวาคม พ.ศ. 2476 |
1 ปี 99 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
1 |
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) |
15 ธันวาคม พ.ศ. 2476 |
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 |
0 ปี 73 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
3 |
พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) |
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 |
22 กันยายน พ.ศ. 2477 |
0 ปี 208 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
4 |
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) |
22 กันยายน พ.ศ. 2477 |
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 |
1 ปี 313 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
5 |
พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) |
3 สิงหาคม พ.ศ. 2479 |
10 ธันวาคม พ.ศ. 2480 |
6 ปี 325 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
10 ธันวาคม พ.ศ. 2480 |
24 มิถุนายน พ.ศ. 2481 | |||||
28 มิถุนายน พ.ศ. 2481 |
10 ธันวาคม พ.ศ. 2481 | |||||
12 ธันวาคม พ.ศ. 2481 |
24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 | |||||
28 มิถุนายน พ.ศ. 2482 |
24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 | |||||
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 |
24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 | |||||
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 |
24 มิถุนายน พ.ศ. 2485 | |||||
30 มิถุนายน พ.ศ. 2485 |
24 มิถุนายน พ.ศ. 2486 | |||||
3 |
พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) |
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 |
24 มิถุนายน พ.ศ. 2487 |
0 ปี 354 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
5 |
พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) |
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 |
26 มิถุนายน พ.ศ. 2488 |
1 ปี 105 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
29 มิถุนายน พ.ศ. 2488 |
15 ตุลาคม พ.ศ. 2488 | |||||
6 |
พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ |
4 มิถุนายน พ.ศ. 2489 |
24 สิงหาคม พ.ศ. 2489 |
0 ปี 81 วัน |
ประธานวุฒิสภา | |
3 |
พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) |
31 สิงหาคม พ.ศ. 2489 |
8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 |
5 ปี 90 วัน |
ประธานวุฒิสภา | |
26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 |
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 | |||||
7 |
พลเอก พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก) |
1 ธันวาคม พ.ศ. 2494 |
17 มีนาคม พ.ศ. 2495 |
5 ปี 289 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
22 มีนาคม พ.ศ. 2495 |
23 มิถุนายน พ.ศ. 2495 | |||||
28 มิถุนายน พ.ศ. 2495 |
23 มิถุนายน พ.ศ. 2496 | |||||
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 |
23 มิถุนายน พ.ศ. 2497 | |||||
29 มิถุนายน พ.ศ. 2497 |
23 มิถุนายน พ.ศ. 2498 | |||||
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 |
23 มิถุนายน พ.ศ. 2499 | |||||
25 มิถุนายน พ.ศ. 2499 |
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 | |||||
16 มีนาคม พ.ศ. 2500 |
23 มิถุนายน พ.ศ. 2500 | |||||
28 มิถุนายน พ.ศ. 2500 |
16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |||||
8 |
พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ สุขะวาที) |
20 กันยายน พ.ศ. 2500 |
14 ธันวาคม พ.ศ. 2500 |
0 ปี 85 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
7 |
พลเอก พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก) |
27 ธันวาคม พ.ศ. 2500 |
23 มิถุนายน พ.ศ. 2501 |
0 ปี 297 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 |
20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |||||
8 |
พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ สุขะวาที) |
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 |
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 |
8 ปี 245 วัน |
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ | |
9 |
ทวี บุณยเกตุ |
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 |
20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 |
0 ปี 43 วัน |
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ | |
10 |
พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) |
22 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 |
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 |
3 ปี 118 วัน |
ประธานวุฒิสภา | |
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 |
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | |||||
11 |
พลตรีศิริ สิริโยธิน |
18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 |
11 ธันวาคม พ.ศ. 2516 |
0 ปี 358 วัน |
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
12 |
พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
29 ธันวาคม พ.ศ. 2516 |
7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 |
0 ปี 282 วัน |
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
13 |
ประภาศน์ อวยชัย |
17 ตุลาคม พ.ศ. 2517 |
25 มกราคม พ.ศ. 2518 |
0 ปี 100 วัน |
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
14 |
ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ |
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 |
12 มกราคม พ.ศ. 2519 |
0 ปี 339 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
15 |
อุทัย พิมพ์ใจชน |
19 เมษายน พ.ศ. 2519 |
6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 |
0 ปี 170 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
16 |
พลเอกกมล เดชะตุงคะ |
22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 |
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 |
0 ปี 29 วัน |
ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน | |
17 |
พลอากาศเอกหะริน หงสกุล |
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 |
20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 |
6 ปี 111 วัน |
ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน | |
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 |
22 เมษายน พ.ศ. 2522 |
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | ||||
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 |
19 มีนาคม พ.ศ. 2526 |
ประธานวุฒิสภา | ||||
18 |
ร้อยโทจารุบุตร เรืองสุวรรณ |
26 เมษายน พ.ศ. 2526 |
19 มีนาคม พ.ศ. 2527 |
0 ปี 328 วัน |
ประธานวุฒิสภา | |
19 |
อุกฤษ มงคลนาวิน |
30 เมษายน พ.ศ. 2527 |
30 เมษายน พ.ศ. 2528 |
4 ปี 357 วัน |
ประธานวุฒิสภา | |
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 |
23 เมษายน พ.ศ. 2530 | |||||
24 เมษายน พ.ศ. 2530 |
22 เมษายน พ.ศ. 2532 | |||||
20 |
ร้อยตำรวจตรีวรรณ ชันซื่อ |
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 |
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 |
1 ปี 295 วัน |
ประธานวุฒิสภา | |
19 |
อุกฤษ มงคลนาวิน |
2 เมษายน พ.ศ. 2534 |
21 มีนาคม พ.ศ. 2535 |
1 ปี 54 วัน |
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
3 เมษายน พ.ศ. 2535 |
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 |
ประธานวุฒิสภา | ||||
21 |
มีชัย ฤชุพันธุ์ |
28 มิถุนายน พ.ศ. 2535 |
29 มิถุนายน พ.ศ. 2535 |
0 ปี 1 วัน |
ประธานวุฒิสภา | |
22 |
มารุต บุนนาค |
22 กันยายน พ.ศ. 2535 |
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 |
2 ปี 239 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
23 |
พลตรีบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ |
11 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 |
27 กันยายน พ.ศ. 2539 |
1 ปี 78 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
24 |
วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 |
27 มิถุนายน พ.ศ. 2543 |
3 ปี 216 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
25 |
พิชัย รัตตกุล |
30 มิถุนายน พ.ศ. 2543 |
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 |
0 ปี 132 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
15 |
อุทัย พิมพ์ใจชน |
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 |
5 มกราคม พ.ศ. 2548 |
3 ปี 334 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
26 |
โภคิน พลกุล |
8 มีนาคม พ.ศ. 2548 |
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 |
0 ปี 353 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
21 |
มีชัย ฤชุพันธุ์ |
25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 |
28 มกราคม พ.ศ. 2551 |
1 ปี 95 วัน |
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
27 |
ยงยุทธ ติยะไพรัช |
13 มกราคม พ.ศ. 2551 |
30 เมษายน พ.ศ. 2551 |
0 ปี 108 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
28 |
ชัย ชิดชอบ |
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 |
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 |
2 ปี 360 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
29 |
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ |
2 สิงหาคม พ.ศ. 2554 |
9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 |
2 ปี 129 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
30 |
พรเพชร วิชิตชลชัย |
17 สิงหาคม พ.ศ. 2557 |
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 |
4 ปี 277 วัน |
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
31 |
ชวน หลีกภัย |
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 |
ปัจจุบัน |
2 ปี 98 วัน |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
ที่มา: วิกิพีเดีย, 2021. รายชื่อประธานรัฐสภาไทย. สืบค้นเมื่อ 31 Aug 2021 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อประธานรัฐสภาไทย#รายชื่อประธานรัฐสภาไทย
อ้างอิง
[1] ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 มาตรา 6 บัญญัติให้ สภาร่างรัฐธรรมนูญมีฐานะเป็นรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญจึงมีสถานะเป็นประธานรัฐสภาในเวลานั้นด้วย
[2] พิพิธภัณฑ์รัฐสภา สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2564. ประธานรัฐสภา พ.ศ. 2475 – ปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 31 Aug 2021 จาก https://parliamentmuseum.go.th/89y/content3.html