ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเสียสิทธิทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
<div> | <div> | ||
ผู้เรียบเรียง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล | ผู้เรียบเรียง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล | ||
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 21:27, 18 มีนาคม 2563
ผู้เรียบเรียง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายภัทระ คำพิทักษ์
สิทธิทางการเมือง
“สิทธิ”ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายไว้ว่า สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรมโดยได้รับการรับรองจากฎหมาย บุคคลเมื่อก่อเกิดมามีสภาพบุคคลตามกฎหมายแล้วย่อมมีสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ สำหรับสิทธินั้น มีหลากหลายประการโดดยอาจจำแนกได้ตามเนื้อหา หรือตามการกำเนิด หรือตามเงื่อนไขของการจำกัดสิทธิ สำหรับสิทธิทางการเมืองเป็นสิทธิของพลเมืองประการหนึ่งในอันที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างเจตนารมณ์ของรัฐ ในฐานะที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยเฉพาะสิทธิทางการเมือง สิทธิทางเมืองนั้นเป็นสิทธิในการเลือกหรือกำหนดวิถีชีวิตของตนเองทางการเมือง เช่น การเลือกตั้งตัวแทนเพื่อไปทำหน้าที่ในรัฐสภา นอกจากนั้นสิทธิทางเมืองยังรวมถึงสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกทางการเมือง สิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองในวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย การชุมนุมทางการเมืองอย่างสันติ สิทธิในการเสนอข้อร้องเรียน หรือตั้งข้อเรียกร้องทางการเมืองและสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมืองต่าง ๆ [1] อย่างไรก็ดี เมื่อบุคคลใดมีสิทธิย่อมก่อเกิดหน้าที่ที่จะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำเช่นกัน หากเป็นหน้าที่ที่จะต้องกระทำแล้วไม่พึงกระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ย่อมสามารถทำให้เกิดการเสียสิทธิได้ดังที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง[2] ดังนั้น หากบุคคลเพิกเฉยต่อการไปทำหน้าที่ในการใช้สิทธิดังกล่าว ย่อมต้องสูญเสียบางประการในทางการเมืองได้ หรือกล่าวได้ว่าสิทธิทางเมืองนั้นอาจถูกจำกัดเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะปวงชนชาวไทยได้
การเสียสิทธิทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย ได้บัญญัติถึงหน้าที่ที่ให้บุคคลไปใช้สิทธิในทางการเมือง โดยกำหนดไว้ในมาตรา 50 (7) ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญได้กำหนดหน้าที่ทางการเมืองเช่นนี้ไว้ หากบุคคลนั้นไม่ไปใช้สิทธิในการลงคะแนนเสียงและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือแจ้งเหตุที่แจ้งสิทธิแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควรย่อมทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งถูกจำกัดสิทธิบางประการอันเป็นการเสียสิทธิทางการเมืองนั้นไป ดังที่กฎหมายได้กำหนดในเรื่องการเสียสิทธิทางเมืองไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 35 โดยสิทธิที่จะถูกจำกัดไว้นั้น มี 5 ประการ ดังต่อไปนี้
(1) ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(2) สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา
(3) สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
(4) ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองและข้าราชการรับสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา
(5) ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะทีปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อย่างไรก็ดี การจำกัดสิทธิทางการเมืองในเรื่องของการไปทำหน้าที่ใช้สิทธิเลือกตั้งกฎหมายจะจำกัดสิทธิมีกำหนดเวลาครั้งละ 2 ปีนับแต่วันเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเท่านั้น หากมีการเลือกตั้งและไปใช้สิทธิในครั้งต่อไป สิทธิทางการเมืองย่อมกลับคืนมา
ตารางเปรียบเทียบการเสียสิทธิทางการเมืองในบางประการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
สำหรับการเปรียบเทียบนี้เป็นการเปรียบกรณีผู้มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งแต่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้น[3]
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 |
มาตรา 68 บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งได้ย่อมเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งและการอำนวยความสะดวกในการไปเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ |
มาตรา 72 บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิได้ ย่อมได้รับสิทธิหรือเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งและการอำนวยความสะดวกในการไปเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ |
มาตรา 50 บุคคลมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ ฯลฯ ฯลฯ (7) ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนร่วมของประเทศเป็นสำคัญ ฯลฯ ฯลฯ |
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 |
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา) พ.ศ. 2550
|
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 |
มาตรา 23 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 21 หรือมาตรา 22 หรือแจ้งเหตุแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควรให้ถือว่าผู้นั้นเป็นบุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ตามมาตรา 68 |
มาตรา 26 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควร หรือเป็นผู้ที่มีรายชื่อในประกาศตามมาตรา 25 ให้ถือว่าผู้นั้นเสียสิทธิ ดังต่อไปนี้
|
มาตรา 35 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควรผู้นั้นถูกจำกัดสิทธิ ดังต่อไปนี้
|
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 (ต่อ) |
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 (ต่อ) |
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 (ต่อ) |
วรรคสองของรัฐธรรมนูญ ให้ผู้นั้นเสียสิทธิ ดังต่อไปนี้ (1) สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น (2) สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ (3) สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น
(4) สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ (5) สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (6) สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น (7) สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคล ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (8) สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น การเสียสิทธิตามวรรคหนึ่งให้มีกำหนดเวลาตั้งแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้งครั้งที่ผู้นั้นไปใช้สิทธิเลือกตั้ง |
(1) สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (2) สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น (3) สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
มาตรา 27 การเสียสิทธิตามมาตรา 26 ให้มีกำหนดเวลาตั้งแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จนถึงวันเลือกตั้งครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯลฯ
|
(1) ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2) สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (3) สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องถิ่น (4) ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองและข้าราชการรับสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา (5) ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองท้องถิ่น การจำกัดสิทธิตามวรรคหนึ่งให้มีกำหนดเวลาครั้งละสองปีนับแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและหากในการเลือกตั้งครั้งต่อไปผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีกให้นับเวลาการจำกัดสิทธิครั้งหลังนี้โดยนับจากวันที่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งใหม่หากำหนดเวลาการจำกัดสิทธิครั้งก่อนยังเหลืออยู่เท่าใดให้กำหนดเวลาการจำกัดสิทธินั้นสิ้นสุดลง
|
บรรณานุกรม
แดนชัย ไชวิเศษ. การเสียสิทธิของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง. กลุ่มงานบริการวิชาการ 1 สำนักวิชาการ
(เอกสารอัดสำเนา).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (11 ตุลาคม 2540).ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 114 ตอนที่
55 ก.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (24 สิงหาคม 2550).ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 124 ตอนที่
47 ก.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560).ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอนที่
40 ก.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 260.
สิทธิทางเมือง.(online) สืบค้นจาก http://www.nesac.go.th/document/show11.php?did=10050001
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 (9
มิถุนายน 2541). ราชกิจจานุเษกษา, เล่ม 115 ตอนที่ 35 ก.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541
(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2542 (17 พฤศจิกายน 2542) ราชกิจจานุเษกษา, เล่ม 116 ตอนที่ 114 ก.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ. 2550 (7 ตุลาคม 2550). ราชกิจจานุเษกษา, เล่ม 124 ตอนที่ 64.
หนังสือ/เอกสารอ่านเพิ่มเติม
คณิน บุญสุวรรณ.คู่มือการใช้สิทธิของประชาชน.(กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ) 2547.
บรรเจิด สิงคะเนติ.หลักพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540.
บรรเจิด สิงคะเนติ.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ.พิมพ์ครั้งที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560. สำนักพิมพ์วิญญูชน.
พงษ์พิลัย วรรณราช. สิทธิและเสรีภาพแท้จริงแล้วเหมือนหรือต่างกันอย่างไร.ศูนย์ข้อมูลกลาง สำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา.
[1] สิทธิทางเมือง.(online) สืบค้นจาก http://www.nesac.go.th/document/show11.php?did=10050001.
[2] มาตรา 50 (7) บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสำคัญ
[3] แดนชัย ไชวิเศษ. การเสียสิทธิของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง. กลุ่มงานบริการวิชาการ 1 สำนักวิชาการ (เอกสารอัดสำเนา)