ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้รักษาพระนคร"
สร้างหน้าด้วย " เรียบเรียงโดย : ภานุพงศ์ สิทธิสาร''' &nbs..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
เรียบเรียงโดย : ภานุพงศ์ สิทธิสาร''' ''' | เรียบเรียงโดย : ภานุพงศ์ สิทธิสาร''' ''' | ||
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต | ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
'''<u>ผู้รักษาพระนคร</u>''' | '''<u>ผู้รักษาพระนคร</u>''' | ||
| [[การบริหารราชการแผ่นดิน]]ในยามปกติย่อมมีผู้ถืออำนาจเป็นสิทธิ์ขาดสำหรับสั่งการตามตำแหน่งหน้าที่ แต่หากผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดตามตำแหน่งหน้าที่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้โดยปกติไม่ว่ากรณีใด จำเป็นต้องแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งขึ้นปฏิบัติราชการแทนหรือรักษาราชการแทนตามตำแหน่งหน้าที่รองลงมา เพื่อรักษาประโยชน์และความสงบเรียบร้อยในการบริหารราชการ เช่นเดียวกับตำแหน่งผู้รักษาพระนคร เกิดขึ้นในกรณี[[พระมหากษัตริย์]]ไม่ได้ทรงประทับอยู่ในพระนคร หรือทรงประทับอยู่นอกพระราชอาณาจักร ต้องทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่งขึ้นรักษาราชการแทนพระองค์ โดยมีอำนาจบริหารสั่งการเป็นสิทธิ์ขาด หรือหากมีความจำเป็นประการใดที่ไม่อาจตัดสินใจแทนได้ ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อจะได้พระราชทานกระแสรับสั่ง หรือรอจนกว่าจะเสด็จพระราชดำเนินกลับมาบริหารพระราชกิจได้ตามเดิม | ||
'''<u>ความเป็นมาและความสำคัญ</u>''' | '''<u>ความเป็นมาและความสำคัญ</u>''' | ||
| นับแต่สมัยการปกครอง[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]] พระมหากษัตริย์ทรงมี[[พระราชอำนาจ]]ในการว่าราชการแผ่นดินเป็นสิทธิ์ขาด ตลอดจนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติขึ้นทำหน้าที่แบ่งเบาพระราชภาระตามกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ทั้งนี้ มีบางคราวที่พระมหากษัตริย์ทรงติดพระราชกิจบางประการอันทำให้ไม่สามารถทรงว่าราชการแผ่นดินได้ตามปกติ เช่น ทรงพระประชวร ทรงพระผนวช ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ เสด็จแปรพระราชฐานมิได้ประทับอยู่ในเขตพระนคร เสด็จประพาสต่างประเทศ หรือแม้แต่เสด็จสวรรคตแผ่นดินว่างเว้นพระมหากษัตริย์ลง จึงทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่งให้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชกิจแทนพระองค์ ทั้งในฐานะ ''ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร'' หรือ ''ผู้รักษาพระนคร'' | ||
| ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการเท่าที่มีปรากฏหลักฐานในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พ.ศ.2394 ทรงสถาปนา[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์]] ตำแหน่ง''ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน'' และทรงสถาปนา[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ|สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ]] ตำแหน่ง '' [[ผู้สำเร็จราชการพระนคร]]'' [[#_ftn1|[1]]] หากพิจารณาตำแหน่งหน้าที่ของสมเด็จเจ้าพระยาทั้งสององค์ พบว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ให้สำเร็จราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือทั้ง 4 ทิศ ถือตราสุริยมณฑลเทพบุตรชักรถ ส่วนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติให้สำเร็จราชการในพระนครทุกสิ่งทุกพนักงาน ถือตราจันทรมณฑลเทพบุตรชักรถ [[#_ftn2|[2]]] มีการแบ่งแยกเขตการปกครองชัดเจนระหว่างทั่วพระราชอาณาจักรกับภายในพระนคร การปูนบำเหน็จสถาปนาบรรดาผู้สนับสนุนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิ กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค เหตุผลหนึ่งคือเพื่อให้พระราชอำนาจมีความมั่นคงยิ่งขึ้น [[#_ftn3|[3]]] | ||
การปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งผู้ปฏิบัติราชการแทนพระองค์มักพิจารณาจากพระมหากษัตริย์ทรงประทับอยู่ ณ ที่ใดเป็นสำคัญ เช่น การเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2440 ได้มีการตราพระราชกำหนดผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ร.ศ.115 ให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวีเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ [[#_ftn4|[4]]] ส่งผลให้พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ''สมเด็จรีเยนต์'' (The Queen Regent) [[#_ftn5|[5]]] หรือในคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (พระราชอิสริยายศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น) เป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร [[#_ftn6|[6]]] การเสด็จประพาสยุโรปทั้งสองครั้ง หมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงประทับอยู่ในพระราชอาณาจักร โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่กรุงเทพมหานครหรือพระนคร ด้วยเหตุนี้ ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินที่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวี ถือว่า | การปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งผู้ปฏิบัติราชการแทนพระองค์มักพิจารณาจากพระมหากษัตริย์ทรงประทับอยู่ ณ ที่ใดเป็นสำคัญ เช่น การเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2440 ได้มีการตราพระราชกำหนดผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ร.ศ.115 ให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวีเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ [[#_ftn4|[4]]] ส่งผลให้พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ''สมเด็จรีเยนต์'' (The Queen Regent) [[#_ftn5|[5]]] หรือในคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (พระราชอิสริยายศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น) เป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร [[#_ftn6|[6]]] การเสด็จประพาสยุโรปทั้งสองครั้ง หมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงประทับอยู่ในพระราชอาณาจักร โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่กรุงเทพมหานครหรือพระนคร ด้วยเหตุนี้ ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินที่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวี ถือว่า |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:44, 18 ธันวาคม 2560
เรียบเรียงโดย : ภานุพงศ์ สิทธิสาร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
ผู้รักษาพระนคร
การบริหารราชการแผ่นดินในยามปกติย่อมมีผู้ถืออำนาจเป็นสิทธิ์ขาดสำหรับสั่งการตามตำแหน่งหน้าที่ แต่หากผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดตามตำแหน่งหน้าที่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้โดยปกติไม่ว่ากรณีใด จำเป็นต้องแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งขึ้นปฏิบัติราชการแทนหรือรักษาราชการแทนตามตำแหน่งหน้าที่รองลงมา เพื่อรักษาประโยชน์และความสงบเรียบร้อยในการบริหารราชการ เช่นเดียวกับตำแหน่งผู้รักษาพระนคร เกิดขึ้นในกรณีพระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงประทับอยู่ในพระนคร หรือทรงประทับอยู่นอกพระราชอาณาจักร ต้องทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่งขึ้นรักษาราชการแทนพระองค์ โดยมีอำนาจบริหารสั่งการเป็นสิทธิ์ขาด หรือหากมีความจำเป็นประการใดที่ไม่อาจตัดสินใจแทนได้ ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อจะได้พระราชทานกระแสรับสั่ง หรือรอจนกว่าจะเสด็จพระราชดำเนินกลับมาบริหารพระราชกิจได้ตามเดิม
ความเป็นมาและความสำคัญ
นับแต่สมัยการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการว่าราชการแผ่นดินเป็นสิทธิ์ขาด ตลอดจนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติขึ้นทำหน้าที่แบ่งเบาพระราชภาระตามกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ทั้งนี้ มีบางคราวที่พระมหากษัตริย์ทรงติดพระราชกิจบางประการอันทำให้ไม่สามารถทรงว่าราชการแผ่นดินได้ตามปกติ เช่น ทรงพระประชวร ทรงพระผนวช ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ เสด็จแปรพระราชฐานมิได้ประทับอยู่ในเขตพระนคร เสด็จประพาสต่างประเทศ หรือแม้แต่เสด็จสวรรคตแผ่นดินว่างเว้นพระมหากษัตริย์ลง จึงทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่งให้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชกิจแทนพระองค์ ทั้งในฐานะ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร หรือ ผู้รักษาพระนคร
ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการเท่าที่มีปรากฏหลักฐานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พ.ศ.2394 ทรงสถาปนาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และทรงสถาปนาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ ตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการพระนคร [1] หากพิจารณาตำแหน่งหน้าที่ของสมเด็จเจ้าพระยาทั้งสององค์ พบว่าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ให้สำเร็จราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือทั้ง 4 ทิศ ถือตราสุริยมณฑลเทพบุตรชักรถ ส่วนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติให้สำเร็จราชการในพระนครทุกสิ่งทุกพนักงาน ถือตราจันทรมณฑลเทพบุตรชักรถ [2] มีการแบ่งแยกเขตการปกครองชัดเจนระหว่างทั่วพระราชอาณาจักรกับภายในพระนคร การปูนบำเหน็จสถาปนาบรรดาผู้สนับสนุนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิ กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค เหตุผลหนึ่งคือเพื่อให้พระราชอำนาจมีความมั่นคงยิ่งขึ้น [3]
การปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งผู้ปฏิบัติราชการแทนพระองค์มักพิจารณาจากพระมหากษัตริย์ทรงประทับอยู่ ณ ที่ใดเป็นสำคัญ เช่น การเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2440 ได้มีการตราพระราชกำหนดผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ร.ศ.115 ให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวีเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ [4] ส่งผลให้พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สมเด็จรีเยนต์ (The Queen Regent) [5] หรือในคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (พระราชอิสริยายศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น) เป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร [6] การเสด็จประพาสยุโรปทั้งสองครั้ง หมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงประทับอยู่ในพระราชอาณาจักร โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่กรุงเทพมหานครหรือพระนคร ด้วยเหตุนี้ ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินที่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวี ถือว่า
...เปนการจำเปน จะต้องจัดการให้มีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ไว้ ทั้งให้มีอำนาจคราวหนึ่ง เพื่อจะได้บัญญัติข้อบังคับบัญชาสำหรับการทั้งปวงทั่วไป แลเพื่อจะได้กระทำการทั้งหลาย อันเปนพระราชกิจของพระเจ้าแผ่นดิน จะพึงได้ทรงกระทำสำหรับการปกครองรักษาพระราชอาณาจักรให้อยู่เย็นเปนผาศุกสืบไป... [7]
อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยบางประการที่ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินไม่สามารถดำเนินการไปได้ทันการณ์ ฉะนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง จึงทรงมีพระบรมราชโองการ ประกาศรักษาพระนคร ปรากฏความตอนหนึ่งว่า
แต่กระนั้นก็ดี ...จะไม่ให้ราชการแผ่นดินซึ่งเคยทรงเปนพระราชธุระอยู่เสมอนั้น ต้องคั่งค้างสำเร็จช้าเวลาไป เพราะเหตุที่ไม่ได้ประทับอยู่ในพระมหานครนี้ได้เลย และทรงพระราชดำริห์เห็นว่า บางทีจะมีราชการแผ่นดินอยู่บางอย่างที่จะต้องทูลฉลอง เพื่อจะได้มีพระราชดำรัสสั่งเปนสิทธิ์ขาดไปโดยฉับพลัน และการอันนั้นไม่พอที่จะต้องมีโทรเลขไปกราบบังคมทูลพระกรุณาให้เนิ่นช้าไป ไม่ทันท่วงทีของการที่จำเปนจะกระทำให้สำเร็จไปดังนี้
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอำนาจในราชกิจ ที่จะรักษาพระนคร ...และให้ทรงบังคับบัญชาการทั้งปวงสิทธิ์ขาดทั่วไป ...แต่ถ้ามีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งเปนการร้อนเร็วก็ดี ฤๅเปนกิจไม่สำคัญพอที่จะต้องกราบบังคมทูลพระกรุณาก็ดี เมื่อการนั้นเปนกิจซึ่งเคยพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย โดยไม่เคยได้ปฤกษาเสนาบดีแล้ว ก็ให้พร้อมกับที่ประชุมผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร คาดการเทียบเคียงกับพระราชนิยม และแบบอย่างที่เคยและควรแก่เหตุการณ์นั้น บังคับบัญชาไปให้สำเร็จแล้ว จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาออกไปภายหลัง [8]
จะเห็นได้ว่าการอันใดที่ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครจะต้องสั่งการไปโดยมิได้รอพระราชกระแสรับสั่ง ก็ให้ถือพระราชนิยมเป็นสำคัญ ซึ่งจะกล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของผู้รักษาพระนครต่อไปข้างหน้า
การเกิดขึ้นของตำแหน่งผู้รักษาพระนครได้กลายเป็นประเพณีการรักษาพระนครที่พระมหากษัตริย์เมื่อไม่ทรงประทับอยู่ในพระนคร หรือทรงประทับอยู่นอกพระราชอาณาจักร ทรงแต่งตั้งพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ทำหน้าที่รักษาพระนคร ซึ่งเป็นการแยกต่างหากออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน อันหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไม่อาจบริหารราชการได้ด้วยพระองค์เอง หรือไม่ทรงอยู่ในพระราชสถานะจะบริหารราชการได้ ผิดกับการรักษาพระนคร เป็นไปเพื่อรอการเสด็จกลับมาบริหารราชการได้ตามปกติ ซึ่งมีนัยในทางที่มิได้ทรงประทับอยู่ท่ามกลางเสนาบดี หรืออภิรัฐมนตรีที่คอยถวายรายงานและคำปรึกษา ตัวอย่างเช่น พระบรมราชโองการสั่งในการรักษาพระนคร พ.ศ.2461 ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชสำนักเพื่อรักษาพระองค์อยู่นอกกรุงเทพพระมหานคร [9] พระบรมราชโองการ ประกาศการรักษาพระนครเวลาเสด็จประพาสประเทศชะวา พ.ศ.2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จทอดพระเนตรภูมิสถานและการปกครองประเทศชะวาเป็นเวลาสองเดือนครึ่ง [10] พระบรมราชโองการ ประกาศการรักษาพระนครเวลาเสด็จประพาสประเทศอินโดจีน พ.ศ.2473 เป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือน [11] และพระบรมราชโองการ ประกาศการรักษาพระนครเวลาเสด็จฯ ประเทศอเมริกา พ.ศ.2473 – 4 เป็นเวลาราวเจ็ดเดือน [12] ลักษณะการได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นผู้รักษาพระนครจึงมีความหมายอยู่เพียงตำแหน่งที่ตั้งพระนครหรือกรุงเทพมหานครเท่ากับแผ่นดินทั้งหมดของประเทศ กล่าวคือ หากพระนครมีความสงบเรียบร้อย เท่ากับว่าประเทศย่อมมีความสงบเรียบร้อยด้วย โดยมิได้สำนึกว่าอำนาจนั้นปกแผ่ไปได้เพียงภายในพระนครเท่านั้น แต่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันมีพระนครเป็นศูนย์กลางของอำนาจที่สำคัญ จำเป็นต้องมีผู้รักษาพระนครไว้ให้มั่นคง สอดคล้องกับหลักการคือพระมหากษัตริย์ยังทรงมีพระราชอำนาจสิทธิ์ขาดเหนือสรรพสิ่งในพระราชอาณาจักร มิใช่การว่างเว้นลงของตำแหน่งพระมหากษัตริย์ที่ต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กระนั้น การใช้คำในอดีตอาจมีความทับซ้อนกันอยู่ แต่เมื่อคำนึงถึงบริบทในแต่ละช่วงเวลา พบว่ามีความจำเป็นที่แตกต่างกัน
หลังสิ้นสุดการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 คณะผู้ก่อการได้ตั้งผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารขึ้นสามนาย คือ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช และนายพันเอก พระยาฤทิอัคเนย์ เป็นผู้มีอำนาจสั่งการต่าง ๆ ในระหว่างการเปลี่ยนผ่าน [13] ทั้งนี้ ที่มีคำว่าฝ่ายทหารเพิ่มขึ้นมานั้น เป็นเพราะก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งสมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประธานอภิรัฐมนตรีสภาเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับยังพระราชวังไกลกังวล การเป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารจึงหมายถึงการรักษาพระนครโดยผู้ก่อการฝ่ายทหาร แทนที่ผู้รักษาพระนครโดยฝ่ายพระบรมวงศานุวงศ์ เช่นเดียวกับเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์หัวหน้าคณะผู้ก่อการรัฐประหารรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม พ.ศ.2500 มีพระบรมราชโองการที่ปราศจากผู้รับสนอง โปรดเกล้าฯ ให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร [14] ด้วยเหตุที่คณะผู้ก่อการรัฐประหารจะเป็นฝ่ายรักษาพระนครให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยแทนคณะรัฐมนตรีในระบบรัฐสภา
การรัฐประหาร พ.ศ.2520 ในขณะที่นายธานินทร์ กรัยวิเชียรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยพลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ นอกจากแต่งตั้งพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ให้สามารถสั่งการข้าราชการทหารทั้งสามเหล่าทัพ ตำรวจ และพลเรือน เพื่อความสงบเรียบร้อยภายในประเทศได้ทุกกรณี ยังแต่งตั้งพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้อำนวยการรักษาพระนคร ซึ่งมีขอบเขตอำนาจสั่งการข้าราชการทหารทั้งสามเหล่าทัพ ตำรวจ และพลเรือน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี ได้ตามความจำเป็น [15] เหตุการณ์รัฐประหารในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่กำหนดขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการรักษาพระนครไว้อย่างชัดเจน หรือในกรณีที่รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ.2535 นอกจากพลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี จะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกแล้ว ยังเป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาพระนครโดยตำแหน่งอีกด้วย [16] ก่อนที่จะมีการใช้กำลังเข้าปราบปรามประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
บทบาทและหน้าที่ของผู้รักษาการพระนคร
ตำแหน่งผู้รักษาพระนครตั้งแต่อดีตมีขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองในยามที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงประทับอยู่ในพระนคร หรือประทับอยู่นอกพระราชอาณาจักร ผู้รักษาพระนครจะได้รับพระราชทานอำนาจสิทธิ์ขาดให้บริหารราชการได้ดุจเดียวกับเมื่อพระมหากษัตริย์ยังคงประทับอยู่ในพระนครหรือพระราชอาณาจักร การทั้งปวงที่จะทำให้งานราชการสำเร็จลุล่วงไปได้โดยไม่เป็นการขัดต่อพระบรมเดชานุภาพและโบราณราชประเพณีอันดีงาม ผู้รักษาพระนครสามารถปฏิบัติราชกิจน้อยใหญ่อนุวัตรตามพระราชนิยมที่สมควรและเคยมีมา ตลอดจนผู้รักษาพระนครจำเป็นต้องมีคณะที่ปรึกษาเพื่อเรียกประชุมช่วยเหลือมิให้การบริหารราชการเกิดความบกพร่อง ตลอดจนผู้รักษาพระนครต้องเรียกประชุมเสนาบดีสภา และอภิรัฐมนตรีสภาเสมือนเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ เพื่อไม่ให้งานราชการแผ่นดินล่าช้าเสียประโยชน์ อนึ่ง หากมีการใดไม่สามารถจะปฏิบัติได้ ให้เร่งกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยต่อไป ครั้นล่วงสู่สมัยการปกครองระบอบประชาธิปไตยหากไม่มีภาวะฉุกเฉินจำเป็นประการใด ตำแหน่งผู้รักษาพระนครจึงพ้นสมัยที่จะมีพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้ง
บรรณานุกรม
คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 7, (2520, 20 ตุลาคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 94, ตอนที่ 98 ฉบับพิเศษ, หน้า 22 – 23.
แถลงการณ์กองทัพบกและกองกำลังรักษาพระนคร เรื่อง ให้ประชาชนเลิกการชุมนุมมั่วสุมกัน ฉบับที่ 1, (2535, 18 พฤษภาคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 109, ตอนที่ 59ก, หน้า 7.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ; และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ปฏิวัติ '2475', พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ดารณี ศรีหทัย, สมเด็จรีเยนต์, กรุงเทพฯ: มติชน, 2554.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จ กรมพระยา, พระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ '5', พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: มติชน , 2555.
ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ '4', พิมพ์ครั้งที่ 4, พระนคร: การพิมพ์เกื้อกูล, 2507.
พระบรมราชโองการ ประกาศการรักษาพระนครเวลาเสด็จประพาสประเทศชะวา พ.ศ.2472, (2472, 24 กรกฎาคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 46, ตอนที่ 0ก, หน้า 112 – 114.
พระบรมราชโองการ ประกาศการรักษาพระนครเวลาเสด็จประพาสประเทศอินโดจีน พ.ศ.2473, (2473, 6 เมษายน), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 47, ตอนที่ 0ก, หน้า 1 – 3.
พระบรมราชโองการ ประกาศการรักษาพระนครเวลาเสด็จฯ ประเทศอเมริกา พ.ศ.2473 – 4, (2473, 15 มีนาคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 47, ตอนที่ 0ก, หน้า 428 – 430.
พระบรมราชโองการ ประกาศการรักษาพระนคร ร.ศ.125, (125, 17 มีนาคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 23, ตอนที่ 51, หน้า 1282 – 1283.
พระราชกำหนดผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ร.ศ.115, (115, 21 มีนาคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 13, ตอน ที่ 51, หน้า 599 – 605.
พระบรมราชโองการสั่งในการรักษาพระนคร, (2461, 18 สิงหาคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 35, ตอนที่ 0ก, หน้า 191 – 192.
พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร, (2500, 16 กันยายน), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 74, ตอนที่ 76ก ฉบับพิเศษ, หน้า 1.
Wyatt, David K., Thailand A Short History, 2nd ed., Chiang Mai: Silkworm Books, 2004.
[1] สมเด็จ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, พระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ '5', (พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: มติชน, 2555), หน้า 89.
[2] เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ '4', (พิมพ์ครั้งที่ 4, พระนคร: การพิมพ์เกื้อกูล, 2507), หน้า 34.
[3] David K. Wyatt, Thailand A Short History, (2nd ed., Chiang Mai: Silkworm Books, 2004), p. 167. ในที่นี้ Wyatt อธิบายถึงคำว่าผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นการ retired to a sinecure
[4] พระราชกำหนดผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ร.ศ.115, (115, 21 มีนาคม), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 13, ตอนที่ 51), หน้า 599 – 605.
[5] ดารณี ศรีหทัย, สมเด็จรีเยนต์, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2554).
[6] พระบรมราชโองการ ประกาศการรักษาพระนคร ร.ศ.125, (125, 17 มีนาคม), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 23, ตอนที่ 51), หน้า 1282 – 1283.
[7] พระราชกำหนดผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ร.ศ.115, (115, 21 มีนาคม), เล่มเดิม, หน้า 600.
[8] พระบรมราชโองการ ประกาศการรักษาพระนคร ร.ศ.125, (125, 17 มีนาคม), เล่มเดิม, หน้าเดิม.
[9] พระบรมราชโองการสั่งในการรักษาพระนคร, (2461, 18 สิงหาคม), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 35, ตอนที่ 0ก), หน้า 191 – 192.
[10] พระบรมราชโองการ ประกาศการรักษาพระนครเวลาเสด็จประพาสประเทศชะวา พ.ศ.2472, (2472, 24 กรกฎาคม), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 46, ตอนที่ 0ก), หน้า 112 – 114.
[11] พระบรมราชโองการ ประกาศการรักษาพระนครเวลาเสด็จประพาสประเทศอินโดจีน พ.ศ.2473, (2473, 6 เมษายน), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 47, ตอนที่ 0ก), หน้า 1 – 3.
[12] พระบรมราชโองการ ประกาศการรักษาพระนครเวลาเสด็จฯ ประเทศอเมริกา พ.ศ.2473 – 4, (2473, 15 มีนาคม), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 47, ตอนที่ 0ก), หน้า 428 – 430.
[13] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ; และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ปฏิวัติ '2475', (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์), หน้า 158.
[14] พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร, (2500, 16 กันยายน), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 74, ตอนที่ 76ก ฉบับพิเศษ), หน้า 1.
[15] คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 7, (2520, 20 ตุลาคม), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 94, ตอนที่ 98 ฉบับพิเศษ), หน้า 22 – 23.
[16] แถลงการณ์กองทัพบกและกองกำลังรักษาพระนคร เรื่อง ให้ประชาชนเลิกการชุมนุมมั่วสุมกัน ฉบับที่ 1, (2535, 18 พฤษภาคม), ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 109, ตอนที่ 59ก), หน้า 7.