ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหาร พ.ศ. 2500"
สร้างหน้าใหม่: {{รอผู้ทรง}} ---- '''ผู้เรียบเรียง''' ณัฐพล และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆ... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 35: | บรรทัดที่ 35: | ||
ความคิดของจอมพล ป.การหาทางให้นายปรีดีเดินทางกลับมาไทยนี้ ในช่วงแรกพล.ต.อ.เผ่าไม่สู้จะเห็นด้วยนักกับความคิดนี้ แต่จอมพล ป. สามารถหว่านล้อมจนพล.ต.อ.เผ่าเห็นด้วยกับความคิดดังกล่าว ต่อมา จอมพล ป.ได้เคยกล่าวกับนายปาล พนมยงค์ บุตรชายคนโตของนายปรีดี หลังนายปาลได้รับนิรโทษกรรมความผิด และได้มาขอลาบวชกับจอมพล ป. ในเดือนมิถุนายน 2500 ที่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ โดยจอมพล ป.ฝากข้อความไปยังนายปรีดีว่า “บอกคุณพ่อของหลานด้วยนะว่า ลุงอยากให้กลับมาช่วยลุงทำงานให้ชาติ ลุงคนเดียวสู้ศักดินาไม่ไหวแล้ว” จนกระทั่งน่าจะถึงฟางเส้นสุดท้ายระหว่างรัฐบาลกับพระมหากษัตริย์และกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม คือ การรื้อฟื้นคดีสวรรคตด้วยการนำนายปรีดี กลับจากจีนมาไทย ต่อมาหลักฐานจากสถานทูตสหรัฐฯได้รายงานถึงความพยายามของกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมในการแทรกแซงการเมืองและมุ่งโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป. | |||
บรรทัดที่ 81: | บรรทัดที่ 81: | ||
{{Cquote| | {{Cquote| ประกาศพระบรมราชโองการตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร | ||
ภูมิพลอดุลยเดช ปร. | ภูมิพลอดุลยเดช ปร. | ||
เนื่องด้วยปรากฏว่า รัฐบาลอันมี จอมพลป. พิบูลสงคราม | เนื่องด้วยปรากฏว่า รัฐบาลอันมี จอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้บริหารราชการแผ่นดินไม่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ทั้งไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ คณะทหารซึ่งมี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้า ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองไว้ได้ และทำหน้าที่เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ข้าพเจ้าจึงขอตั้ง จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ขอให้ประชาชนทั้งหลายจงอยู่ในความสงบ และให้ข้าราชการทุกฝ่ายฟังคำสั่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ||
ทั้งไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ คณะทหารซึ่งมี | |||
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร | |||
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป | ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป | ||
ประกาศมา ณ วันที่ 16 กันยายน พุทธศักราช 2500|}} | ประกาศมา ณ วันที่ 16 กันยายน พุทธศักราช 2500|}} | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:22, 3 มีนาคม 2552
บทความนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยโดยผู้ืทรงคุณวุฒิ
ผู้เรียบเรียง ณัฐพล และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
การรัฐประหาร 16 กันยายน 2500 เป็นการรัฐประหารครั้งสำคัญ ที่ทำให้กลุ่มผู้นำรัฐบาลที่เคยมาจากคณะราษฎรสิ้นสุดลงอย่างสิ้นเชิงพร้อมกับเจตนารมย์ของการปฏิวัติ 2475 การรัฐประหารครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูสถานภาพของพระมหากษัตริย์ภายหลังการปฏิวัติทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมให้กลับมาสูงเด่นจนสามารถกลายเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญในการเมืองไทยในปัจจุบัน
สถานการณ์ก่อนการรัฐประหาร
สถานการณ์การเมืองไทยในช่วงปลายทศวรรษที่ 2490 นั้นเป็นห้วงเวลาที่ความขัดแย้งระหว่าง การเมืองสามเส้า ระหว่างรัฐบาล ตำรวจและกองทัพ หรือการเมือง 3 เส้า(The Triumvirate) ซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม-นายกรัฐมนตรี ได้ใช้ทั้ง 2 กลุ่มคานอำนาจระหว่างกันตลอดมาในรอบหลายปีเพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล ดังนั้น ทางออกจากปัญหาการเมืองสามเส้า ในความคิดของจอมพล ป. คือการทำให้คู่แข่งขันทั้งหมด คือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ เดินไปบนเส้นทางการแข่งขันทางการเมืองด้วยกระบวนการเลือกตั้งให้ประชาชนตัดสินใจและลดการใช้กำลังรัฐประหารลง เนื่องจากอาจเป็นทางเลือกเดียวที่ดีที่สุด สำหรับจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีที่ไม่มีอำนาจในการสั่งการกองทัพหรือตำรวจอย่างเต็มที่ ในขณะที่การต่อสู้ระหว่างการเมืองสามเส้าดำเนินไป กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมเริ่มทวีบทบาทมากขึ้นอีกจนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นกลุ่มการเมืองสำคัญได้
ภายหลังการเดินทางกลับจากการเยือนต่างประเทศในปี 2498 จอมพล ป. ได้เริ่มต้นโครงการพัฒนาประชาธิปไตยขึ้น ด้วยการอนุญาตให้มีการเปิดการปราศรัยหรือ“การไฮด์ปาร์ค” ที่ท้องสนามหลวงและตามจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ จากนั้นได้มีการตราพระราชบัญญัติพรรคการเมือง 2498 ขึ้นเพื่อให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองแข่งขันกัน พรรคการเมืองสำคัญๆ เช่น พรรคเสรีมนังคศิลา พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเศรษฐกร พรรคเสรีประชาธิปไตย พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค พรรคชาตินิยม ฯลฯ จากนั้น รัฐบาลได้จัดการเลือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์ 2500 การเลือกตั้งครั้งนี้ จอมพล ป. ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกด้วย
ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในกรุงเทพฯ จำนวน 9 ที่นั่ง นั้น พรรคเสรีมนังคศิลา ประสบชัยชนะ 7 ที่นั่ง คือ 1.จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2.พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ 3.พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษดิ์ 4.พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุทธยา 5.พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ 6.พลเอก มังกร พรหมโยธี และ7. พลเอก หลวงสวัสดิ์สรยุทธ์ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้ 2 ที่นั่ง คือ 1.นายควง อภัยวงศ์ และ2.นาวาโท พระประยุทธชลธี
ผลการเลือกตั้งรวมทั้งประเทศ ปรากฏว่า พรรคเสรีมนังคศิลา ได้รับการสนับสนุนมากที่สุดถึง 83 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 28 ที่นั่ง พรรคเสรีประชาธิปไตย 11 ที่นั่ง พรรคธรรมาธิปัตย์ 10 ที่นั่ง พรรคเศรษฐกร 8 ที่นั่ง พรรคชาตินิยม 3 ที่นั่ง พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค 2 ที่นั่ง พรรคอิสระ 2 ที่นั่ง และผู้สมัครอิสระไม่สังกัดพรรค 13 ที่นั่ง รวม 160 ที่นั่ง
ภายหลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง การประท้วงการเลือกตั้งได้เริ่มต้นขึ้น อย่างกว้างขวาง โดยเริ่มจากนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชักธงชาติลงครึ่งเสาเพื่อไว้อาลัยการเลือกตั้ง ได้เริ่มต้นขึ้น จากนั้นนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยการศึกษา ฯลฯ และประชาชนได้รวมตัวกันประท้วงการเลือกตั้งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมา รัฐบาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน ในวันที่ 2 มีนาคม 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เดินทางมาที่จุฬาลงกรณ์เพื่อกล่าวปราศรัยและรับทราบความไม่พอใจของนิสิตนักศึกษาและประชาชน นิสิตได้ขออนุญาตจอมพลสฤษดิ์เดินขบวนประท้วง ซึ่งจอมพลสฤษดิ์อนุญาต ทำให้จอมพลสฤษดิ์เริ่มได้รับความนิยมจากนิสิตนักศึกษาและประชาชนมากขึ้น ในขณะที่ความนิยมของจอมพล ป.และพลตำรวจเอก เผ่า นั้นเริ่มเสื่อมความนิยมตกลงอย่างรวดเร็ว
ไม่แต่เพียงปัญหาทางการเมืองเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับพระมหากษัตริย์ยังคงไม่ราบรื่น นับแต่ การรัฐประหาร 2494 และการร่างรัฐธรรมนูญ 2495 ที่ไม่ถวายอำนาจให้พระมหากษัตริย์เข้ามามีบทบาทการเมืองตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ในปี 2496 พระมหากษัตริย์และรัฐบาลยังขัดแย้งกันเรื่องกฎหมายการปฏิรูปที่ดิน โดยรัฐบาลมุ่งจำกัดการถือครองที่ดินขนาดใหญ่และช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย แต่ทว่าการปฏิรูปที่ดินนี้ องคมนตรีไม่เห็นด้วยโดยให้เหตุผลว่าไทยไม่ได้ขาดแคลนที่ดินถึงขนาดต้องปฏิรูปที่ดิน พระมหากษัตริย์ทรงเห็นด้วยกับองคมนตรีและทรงชะลอการการลงพระนามประกาศใช้กฎหมาย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงยืนยันความจำเป็นของกฎหมายฉบับนี้ ท้ายสุดพระองค์ก็ยอมลงพระนามประกาศใช้กฎหมาย อีกทั้ง ในปี 2500 ทรงไม่เสด็จเข้าร่วมงานการฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เนื่องจากพระองค์ไม่พอพระทัยการจัดการที่ทำให้รัฐบาลกลายเป็นศูนย์กลางของงานแทนที่จะเป็นพระองค์ ทรงเห็นว่า จอมพล ป. “เมาอำนาจ” และมีความประสงค์จะเป็น “พระมหากษัตริย์องค์ที่สอง”
อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผู้มีอำนาจทั้งสามนั้น จอมพล ป. เป็นกลุ่มที่อยู่ในฐานะลำบากที่สุด เนื่องจากไม่มีฐานกำลังเป็นของตนเอง แต่สิ่งที่จอมพล ป.ทำคือ การใช้สองกลุ่มคานอำนาจกันเอง และอีกด้านหนึ่ง คือ การแสวงหาแรงสนับสนุนจากประชาชนด้วยการเปิดให้มีบรรยากาศแบบประชาธิปไตย เช่น มีการไฮปาร์ค ให้มีพรรคการเมือง มีการเลือกตั้ง และการพยายามดึงนายปรีดี พนมยงค์ซึ่งได้หลบหนีออกนอกประเทศไปภายหลังการรัฐประหาร 2490 และต่อมาถูกโจมตีว่าอยู่เบื้องหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลให้กลับมาประเทศไทยเพื่อรื้อฟื้นคดีการสวรรคตขึ้นมาใหม่ ความคิดที่จะกลับไปคืนดีกับนายปรีดีนี้มาจากความรู้สึกว่า รัฐบาลมีแนวโน้มไม่มีเสถียรภาพ เพราะจอมพล ป. เห็นว่า จอมพลสฤษดิ์ มีแนวโน้มที่จะร่วมมือกับกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม
ความคิดของจอมพล ป.การหาทางให้นายปรีดีเดินทางกลับมาไทยนี้ ในช่วงแรกพล.ต.อ.เผ่าไม่สู้จะเห็นด้วยนักกับความคิดนี้ แต่จอมพล ป. สามารถหว่านล้อมจนพล.ต.อ.เผ่าเห็นด้วยกับความคิดดังกล่าว ต่อมา จอมพล ป.ได้เคยกล่าวกับนายปาล พนมยงค์ บุตรชายคนโตของนายปรีดี หลังนายปาลได้รับนิรโทษกรรมความผิด และได้มาขอลาบวชกับจอมพล ป. ในเดือนมิถุนายน 2500 ที่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ โดยจอมพล ป.ฝากข้อความไปยังนายปรีดีว่า “บอกคุณพ่อของหลานด้วยนะว่า ลุงอยากให้กลับมาช่วยลุงทำงานให้ชาติ ลุงคนเดียวสู้ศักดินาไม่ไหวแล้ว” จนกระทั่งน่าจะถึงฟางเส้นสุดท้ายระหว่างรัฐบาลกับพระมหากษัตริย์และกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม คือ การรื้อฟื้นคดีสวรรคตด้วยการนำนายปรีดี กลับจากจีนมาไทย ต่อมาหลักฐานจากสถานทูตสหรัฐฯได้รายงานถึงความพยายามของกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมในการแทรกแซงการเมืองและมุ่งโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป.
ในปีเดือนเมษายน 2500 กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมและกองทัพภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ได้เคลื่อนไหวเตรียมแผนรัฐประหาร โดยมีแกนนำสำคัญของกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมเข้าประชุมร่วมกับกองทัพ เช่น กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร(พระองค์เจ้าธานี)-ประธานองคมนตรี ม.ร.ว.เสนีย์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ต่อมาแผนการดังกล่าวได้ดำเนินการผ่านการโจมตีรัฐบาลผ่านหนังสือพิมพ์ของกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม(สยามรัฐ) และพรรคฝ่ายค้าน เช่น พรรคประชาธิปัตย์และพรรคสหภูมิ ทั้งนี้ การอภิปรายในสภาผู้แทนฯก่อนรัฐบาลถูกรัฐประหาร ได้มีการเปิดเผยในสภาผู้แทนฯว่า พระมหากษัตริย์ทรงให้เงินสนับสนุนเงินจำนวน 700,000บาทให้กับ ม.ร.ว.เสนีย์ และพรรคประชาธิปัตย์ใช้เคลื่อนไหวทางการเมือง ไม่แต่เพียงกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมเท่านั้นที่เคลื่อนไหว จากรายงานของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯรายงานว่า พระมหากษัตริย์ได้ทรงเสด็จมามาพบ ม.ร.ว.เสนีย์ ที่บ้านส่วนพระองค์เป็นการลับในยามค่ำคืนเสมอๆด้วย
ในเวลาเดียวกันช่วงปลายเดือนสิงหาคม การเมืองไทยได้ร้อนระอุขึ้นเมื่อมีการอภิปรายทั่วไปโดยมี พรรคฝ่ายค้านนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ สหภูมิ ฯลฯ เป็นผู้เสนอญัตติ ข้อหนึ่งกล่าวหารัฐบาลว่า รัฐบาลนี้ไม่สามารถรักษากฎหมายบ้านเมือง เป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและได้มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพขึ้นในประเทศ โดยการอภิปรายทั่วไปได้เริ่มต้นในวันที่ 26-27 สิงหาคม 2500 การอภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหานี้ ได้มีการกล่าวถึงเนื้อความในหนังสือพิมพ์ว่า “ หนังสือพิมพ์ ไทยเสรี ฉบับวันที่ 17 พฤษภาคม 2500 กล่าวว่า มีเจ้ากลุ่มหนึ่งมีกิเลสทราม ถือเอาวันมงคลยี่สิบห้าพุทธศตวรรษมาเป็นเครื่องนำโฆษณามุ่งโจมตีรัฐบาล… สำหรับ ฉบับ 15 มิถุนายน ภายใต้หัวข้อว่าถือเอาวันฉัตรมงคลแจกเหรียญศักดินามโหฬาร คนด่าทั่วเมืองให้เหรียญแข่งไข้หวัดทั้งฝ่ายล่างฝ่ายบน ”
หลวงอรรถพิศาล(ตราด) อภิปรายเสริมว่า “ หนังสือพิมพ์ ไทยเสรี ที่ลงข่าว จั่วหัวว่า เจ้าผยองนัก เจ้าล้างศาสนา เจ้าจะตายโหง เจ้าวางแผนคว่ำรัฐประหาร … และมีใจความว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นไม่ได้เสร็จไปร่วมพิธีงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เพราะเหตุว่า ประชวรเป็นไข้ ส่วนจอมพลสฤษดิ์ฯ เป็นไข้หวัดอย่างหนัก แต่อุตส่าห์ไปร่วมงานพิธีฉลอง 25 พุทธศตวรรษ แล้วยังลงต่อไปว่า ฝ่ายเจ้า พวกเจ้าอัปรีย์ พวกเจ้านายชั้นผู้ใหญ่อัปรีย์ ซึ่งไม่ไปร่วมในงานนี้ให้ตายโหงตายห่า ”
นายพีร์ บุนนาค (สุพรรณบุรี )อภิปรายต่อไปว่า “…สงสัยว่า หนังสือพิมพ์ไทยเสรี จะมีเบื้องหลังในทางการเมืองเพื่อที่จะคิดล้มล้างอำนาจกษัตริย์เป็นแน่แท้…” และ “ มีข่าวลืออย่างนี้ครับ… นี้เกี่ยวกับอธิบดี(ตำรวจ)โดยตรงเลย เกี่ยวกับฯพณฯรัฐมนตรีมหาดไทย ในการประชุมพรรคเสรีมนังคศิลา ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลาบ่ายโมง วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2498 นี้ ผมได้มาจากในพรรคของท่านนั้นเอง ซึ่งประชุมเฉพาะ ก่อนที่ประชุมเฉพาะส.ส. มนังคศิลา ประเภท 1 เขาบอกว่า ฯพณฯ นายพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ นี้ รัฐมนตรีมหาดไทย ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบต่อหน้าฯฯพณฯ จอมพลป.พิบูลสงครามว่า ได้มีหลักฐาน แน่นอนว่า ประทานโทษครับ ในหลวงทรงมอบเงิน 7 แสนบาทให้ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และนายควง อภัยวงศ์ มาเล่นการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์ ”
นายพีร์ กล่าวต่อไปว่า “…บอกว่า มีการประชุมวางแผนการประกาศภาวะฉุกเฉิน เมื่อที่แล้วมาครับ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2500 นี้ ได้มีการประชุมในที่หนึ่ง ได้มีบุคคลชั้นจอมพลไปนั่งในที่ประชุมนั้น เว้นไว้แต่ฯพณฯจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นี้เป็นข้อเท็จจริง เขาว่าอย่างนี้ ถ้าไม่มีอะไร แถลงออกมาเสีย ตอบมาแล้วประชาชนจะมั่นใจว่า รัฐบาลนี้และโดยเฉพาะนายพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ยังเคารพสักการะองค์พระเจ้าอยู่หัวอยู่ ”
จอมพลอากาศฟื้น รณนภากาศฯ(รองนายกรัฐมนตรี) ประท้วง
นายพีร์ กล่าวแทรกว่า “ … เขาบอกอย่างนี้ครับ บอกว่า ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ โปรดเสนอให้มีการจับกุมองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและรัฐมนตรีบางคนและนักการเมืองบางคน ว่าอย่างนี้ครับ”
ประธานสภาฯ ให้นายพีร์ถอนคำพูด
นายพีร์ “เมื่อไม่มีอะไร ก็บอกว่าไม่มี กระผมไม่ว่าอะไรหรอก จะให้เป็นประวัติศาสตร์รอยจารึก”
(ประท้วงกันวุ่นวาย)
ประธานฯ ผมบอกให้ถอนเสีย นายพีร์ "ถอนก็ได้ ผมไม่อยากเห็นการนองเลือดในเมืองไทย…”
การรัฐประหาร 16 กันยายน 2500
ในระยะก่อนการรัฐประหารจะเกิดขึ้น ความขัดแย้งทางการเมือง 3 เส้าและกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมดำเนินไปสู่การแบ่งออกเป็น 2 ขั้วทางการเมืองไทย คือ ขั้วที่สนับสนุนรัฐบาลอันมีกลุ่มจอมพล ป.และพล.ต.อ.เผ่า กับ ขั้วต่อต้านรัฐบาลที่มีจอมพลสฤษดิ์ และกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม ต่างชิงไหวชิงพริบกันอยู่ โดยฝ่ายรัฐบาลได้ดำเนินการในช่วงวันสุดท้ายก่อนการเกิดรัฐประหารดังนี้ จอมพล ป.ได้เข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ในวันที่ 16 กันยายน เวลา 11.00 น. และกลับออกมาเวลา 13.00 น. ด้วยสีหน้า เคร่งเครียดและบึ้งตึง ไม่ยอมหยุดรถชี้แจงให้สัมภาษณ์กับคณะนักหนังสือพิมพ์ที่พากันไปรอสัมภาษณ์อย่างที่เป็นมา เนื่องจาก พระองค์ไม่ทรงเห็นชอบในการปลดจอมพลสฤษดิ์ จากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกตามที่รัฐบาลเสนอ ต่อมาในวันเดียวกัน เวลา 14.30 น. จอมพล ป.ได้เรียกประชุมบุคคลสำคัญของคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนประเภท 1 พรรคเสรีมนังคศิลา ประชุมที่ทำการพรรค ณ บ้าน มนังคศิลา เพื่อดำเนินการบางประการกับจอมพลสฤษดิ์และพวก
ในขณะที่ มีหลักฐานถึงปฏิกริยาความเคลื่อนไหวของกลุ่มทหารของจอมพลสฤษดิ์ต่อการเคลื่อนไหวของจอมพล ป. คือ “… เมื่อกลับมาถึงบ้านหลังกองพลที่ ๑ แล้ว ด้วยความสังหรณ์ใจ ฯพณฯ จึงให้นายทหารคนสนิทโทรศัพท์ไปที่บ้านจอมพลป. พิบูลสงครามอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งใขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น. ทางบ้านชิดลมตอบว่า จอมพล ป. ไม่สบาย จะพบไม่ได้ แม้แต่ในวันรุ่งขึ้น แต่พอโทรศัพท์ไปที่บ้านมนังคศิลากลับพบว่าจอมพลป.กำลังประชุมพรรคอยู่ที่นั่น ต่อมามีรายงานตามมาว่าทางพรรคเสรีมนังคศิลากำลังจะใช้อำนาจจับกุมฯฯพณฯ กับคณะ ถึงกับมีข่าวว่าได้จัดสถานที่ในคุกบางขวางและห้องพักชั้น ๔ ของโรงแรมเอราวัณเตรียมไว้เพื่อขังผู้ต้องหาและผู้สงสัยแล้ว ”
หลังการประชุมพรรคเสรีมนังคศิลาของรัฐบาลแล้ว จอมพลป.ได้ขอเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์อีกครั้ง ณ วังสวนจิตลดา ในเย็นวันที่ 16 กันยายน 2500 จากบันทึกนายทองใบ ทองปาวด์ -นักข่าวร่วมสมัยได้บันทึกว่า สีหน้าของจอมพล ป.ภายหลังเข้าเฝ้านั้น “บูด เหมือนปลาร้าค้างปี ” เขาถามจอมพล ป.ว่า “เข้าเฝ้าในหลวงทำไม” จอมพล ป.ตอบว่า “เข้าเฝ้าตามปกติ” เขาถามต่อว่า “ในหลวงรับสั่งอย่างไรบ้าง” จอมพล ป.ตอบว่า “ไม่รับสั่งอะไร… ไม่มีข่าว” หลังจากนั้นจอมพล ป.เร่งขับรถทันเดอร์เบิรต์ “พุ่งปราดออกจากประตูสวนจิตรลดาไป”
ในคืนนั้นเอง เมื่อรถถังได้ปรากฏตามมุมสำคัญๆในกรุงเทพฯ สำหรับท่าทีของกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมอย่างพระยาศรีวิสารวาจา-องคมนตรี เมื่อรู้ว่าเกิดการรัฐประหาร คือ เสียงหัวเราะ ไม่นานจากนั้น วิทยุได้ประกาศพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ที่ทรงแต่งตั้งให้จอมพล สฤษดิ์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ทั้งนี้ พระบรมราชโองการฉบับนี้ ยังคงเป็นปัญหาถกเถียงถึงอำนาจของพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นการกระทำที่ปราศจากผู้รับสนองพระราชโองการอันละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ 2495 ซึ่งขณะนั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้มิได้ถูกยกเลิก
- if:
border: 1px solid #AAAAAA;
}}" class="cquote" |
width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | “ | ประกาศพระบรมราชโองการตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร
ภูมิพลอดุลยเดช ปร. เนื่องด้วยปรากฏว่า รัฐบาลอันมี จอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้บริหารราชการแผ่นดินไม่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ทั้งไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ คณะทหารซึ่งมี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้า ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองไว้ได้ และทำหน้าที่เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ข้าพเจ้าจึงขอตั้ง จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ขอให้ประชาชนทั้งหลายจงอยู่ในความสงบ และให้ข้าราชการทุกฝ่ายฟังคำสั่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ประกาศมา ณ วันที่ 16 กันยายน พุทธศักราช 2500 |
width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | ” |
{{#if:| —{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}} }}}} |
จากนั้น การเมืองไทยถูกผลักเข้าไปสู่ระบอบเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ สุดท้ายแล้ว สถานทูตสหรัฐฯวิเคราะห์ว่า สาเหตุที่กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมมีส่วนเกี่ยวข้องในทางการเมืองในการรัฐประหารครั้งนี้ ด้วยคาดหวังถึงการขยายบทบาททางการเมืองให้มากขึ้น ทั้งนี้ ภายหลังการรัฐประหาร 2500 การเมืองไทยถูกผลักเข้าไปสู่มุมมืดอย่างยาวนาน
ต่อกรณีการที่รัฐบาลส่งตัวแทนมาพบนายปรีดีที่จีนนั้น นายปรีดี ได้บันทึกเรื่องเกี่ยวการส่งตัวแทนมาพบที่จีนและการพยามยามรื้อฟื้นคดีสวรรคตขึ้นมาพิจารณาใหม่ของจอมพล ป.ว่า “ภายหลังที่นายเฉลียว ประทุมรส นายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศรินทร์ ถูกประหารชีวิต ฐานต้องหาว่าปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 แล้ว จอมพล ป. ได้ข้อเท็จจริงใหม่หลายประการที่แสดงความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาเหล่านั้น จึงส่งตัวแทนไปแจ้งกับข้าพเจ้าที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนว่าจะดำเนินการยุติธรรม โดยให้มีพิจารณาคดีสวรรคตกรณีรัชกาลที่ 8 ขึ้นใหม่ ตามวิธีพิจารณาของบางประเทศที่อารยะแล้ว ….. ฝ่ายซากทรรศนะระบบทาสได้โฆษณาใส่ร้ายจอมพล ป. ว่าไม่เคารพพระมหากษัตริย์ ทำให้คนรุ่นใหม่สมัยนั้นจำนวนหนึ่งหลงเชื่อ ครั้นแล้วพวกซากทรรศนะทาสได้สนับสนุนให้จอมพลสฤษดิ์ทำรัฐประหารโค่นล้มจอมพล ป. แล้วช่วยโฆษณาให้แก่จอมพลสฤษดิ์ว่าเป็นผู้รักษาพระราชบัลลังก์ไว้ ”
จากรายงานของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯรายงานในภายหลังว่า พระมหากษัตริย์ไทยได้ให้พระบรมราชูปถัมภ์การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ในการโค่นล้มรัฐบาลของจอมพล ป.เมื่อ 2500 เนื่องจากพระองค์ไม่พอพระราชหฤทัยรัฐบาลจอมพล ป. หลังรัฐบาลถูกรัฐประหาร และพล.ต.อ.เผ่าได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์และวิทยุรอยเตอร์จากกรุงการาจี ค่ำวันที่ 17 กันยายน 2500 หลังการเดินออกนอกประเทศ ว่า “รัฐประหารครั้งนี้ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว เพียงแต่ว่า ไม่มีใครคิดสู้กับทหารและกษัตริย์ ”
ผลกระทบจากการรัฐประหาร 2500
1.การโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามที่มาจากการเลือกตั้งลงนี้ ถือเป็นการสิ้นสุด นายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายที่มาจากคณะราษฎร-ผู้นำการปฏิวัติ 2547 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่ระบอบประชาธิปไตย และถือว่าเป็นการสิ้นสุดเจตนารมณ์ของการปฏิวัติ 2475 ลง
2.เป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีอำนาจอย่างรอบด้านทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมอย่างไม่เคยมีมาก่อนหลังการปฏิวัติ 2475
3.ก้าวเข้าสู่ระบอบเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ หรือเรียกในเวลาต่อมาว่า “ระบอบเผด็จการ สฤษดิ์ ” หรือ “ระบบพ่อขุนอุปถัมภ์เผด็จการ”
อ้างอิง
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
กุลลดา เกษบุญชู มี้ด , (2550 ) “การเมืองไทยในยุคสฤษดิ์-ถนอม ภายใต้โครงสร้างอำนาจโลก” .กองทุนปรีดี พนมยงค์ มูลนิธิ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย .
เฉลิม มลิลา,(2518) “รัฐประหาร พ.ศ. 2500 ในประเทศไทย” , วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ(2548) การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์เผด็จการ , กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์
ณัฐพล ใจจริง(2008) ความสัมพันธ์ไทย-จีน กับความขัดแย้งทางการเมือง : “การทูตใต้ดิน”(2498-2500)ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม, รัฐศาสตร์สาร ,29 ,(ฉบับพิเศษ),หน้า 29-80.
ณัฐพล ใจจริง , “ คว่ำปฏิวัติ-โค่นคณะราษฎร : การก่อตัวของ ‘ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข’ ” , ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2551), 104-146.
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ,(2544) ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง.กรุงเทพฯ : 6 ตุลารำลึก.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (2550) แผนชิงชาติไทย : ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2491-2500). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก.
บรรณานุกรม
กุลลดา เกษบุญชู มี้ด , (2550 ) “การเมืองไทยในยุคสฤษดิ์-ถนอม ภายใต้โครงสร้างอำนาจโลก” .กองทุนปรีดี พนมยงค์ มูลนิธิ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย .
จงกล ไกรฤกษ์,ร.ท ,(2546) อยู่อย่างเสือ : บันทึกชีวิตนักต่อสู้ทางการเมืองยุคบุกเบิก (2475-2500) . เชียงใหม่: The Knowledge Center.
ชุมพล โลหะชาละ, พล.ต.ท. “ หนีไปกับจอมพล ” , เบื้องแรกประชาธิปไตย : บันทึกความทรงจำของผู้อยู่ในเหตุการณ์สมัย พ.ศ. 2475-2500 . กรุงเทพฯ : สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย,2516.
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ,(2544) ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง.กรุงเทพฯ : 6 ตุลารำลึก.
ณัฐพล ใจจริง(2008) ความสัมพันธ์ไทย-จีน กับความขัดแย้งทางการเมือง : “การทูตใต้ดิน”(2498-2500)ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม, รัฐศาสตร์สาร ,29 ,(ฉบับพิเศษ),หน้า 29-80.
ณัฐพล ใจจริง , “ คว่ำปฏิวัติ-โค่นคณะราษฎร : การก่อตัวของ ‘ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข’ ” , ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2551), 104-146.
เฉลิม มลิลา,(2518) “รัฐประหาร พ.ศ. 2500 ในประเทศไทย” , วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
เทียน ประทีปเสน(2507) จอมพลป. ขุนศึกผู้ไร้แผ่นดิน . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พัฒนาการพิมพ์.ไทยน้อย” และกมล จันทรสร,(2503) วอเตอร์ลูของจอมพลแปลก .พระนคร : แพร่พิทยา และโอเดียนสโตร์.
รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญ(ครั้งแรก) และสมัยสามัญ ชุดที่ 2 พ.ศ.2500 . พระนคร : รวมมิตรไทย.
ปรีดี พนมยงค์ (2543 ), จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยของวีรชน 14 ตุลาคม , กรุงเทพฯ : หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ สำนักพิมพ์สายธาร.
มหาดไทย,กระทรวง (2500) รายงานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เล่ม 1 , พระนคร : โรงพิมพ์กระดาษไทย.
สมบูรณ์ วรพงษ์ (2500) ยึดรัฐบาล รัฐประหาร 16 กันยา ล้มรัฐบาลพิบูล . พระนคร : เจริญธรรม
สุวิมล รุ่งเจริญ , “บทบาทของนักหนังสือพิมพ์ในการเมืองไทย ระหว่างพ.ศ.2490-2501”, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (2550) แผนชิงชาติไทย : ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2491-2500). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก.
อนันต์ พิบูลสงคราม , พลตรี (2540) จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2 เล่ม . กรุงเทพฯ : ตระกูลพิบูลสงคราม.
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ จอมพลผิน ชุณหะวัณ( ณ เมรุ วัดพระศรีมหาธาตุ วันที่ 7 พฤษภาคม 2516), กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก พระยาศรีวิศาลวาจา (พิมพ์เป็นบรรณาการเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพพันเอกพระยาศรีวิสารวาจา ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทร์ 8 มิถุนายน 2511), พระนคร : สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี.
Kobkua Suwannathat-Pian,(1995) Thailand’s Durable Premier : Phibun through Three Decades 1932 – 1957. Kuala Lumpur : Oxford University Press .