ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การแพทย์"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
''ผู้เรียบเรียง '''': วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ '' | |||
==การศึกษาวิชาแพทย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว== | ''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ '''': รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์'' | ||
รัฐบาลสยาม (สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงเป็นผู้แทน) กับมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์ลงนามสัญญาความร่วมมือพัฒนาการแพทย์ของไทย มีผลตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๒ ตามข้อตกลงมีกระบวนการปรับปรุงการศึกษาวิชาแพทย์ ยกระดับหลักสูตรวิชาแพทย์ของไทยในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากแพทย์ประกาศนียบัตรเป็นปริญญาเวชศาสตร์ เริ่มรับนิสิตหลักสูตรปริญญาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ | | ||
เพื่อพัฒนาวิชาวิทยาศาสตร์สร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้แก่การศึกษาวิชาแพทย์ และสร้างความรู้ที่พิสูจน์เหตุและผลได้ | ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระบรมวงศานุวงศ์และทางราชการสนับสนุนการศึกษาวิชาแพทย์แผนตะวันตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้การแพทย์สมัยใหม่เป็นที่ยอมรับในสังคมมากขึ้นแต่ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งในพระนครและภูมิภาคยังพึ่งพาการแพทย์แผนไทยด้วย | ||
เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ แพทย์ปริญญารุ่นแรกสำเร็จการศึกษา | == ประวัติ == | ||
พ.ศ. ๒๔๖๙ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับนิสิตหญิงเข้าเรียนในแผนกเตรียมแพทย์ นิสิตหญิงรุ่นแรก ๗ คน เข้าเรียนใน พ.ศ. ๒๔๗๐ สำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. ๒๔๗๕ จำนวน ๓ คน นับเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การอุดมศึกษาไทย | เมื่อเป็นที่ประจักษ์ว่าการแพทย์จากตะวันตกที่มีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นพื้นฐานเป็นหนทางป้องกันและทางเลือกของรักษาโรค [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการก่อตั้งโรงพยาบาลขึ้นหลายแห่งในพระนคร และเปิดสอนวิชาแพทย์ขึ้นที่โรงศิริราชพยาบาล แต่แพทย์แผนโบราณที่สืบทอดประสบการณ์จากความชำนาญ และจากภูมิปัญญาที่บันทึกเป็นตำรา ยังคงยึดครองพื้นที่ในสังคมไทย การจัดตั้งโรงพยาบาลของรัฐในระยะแรก ๆ จึงมีแพทย์ทั้งสองระบบให้ผู้ป่วยเลือกรับรักษา รวมทั้งในโรงเรียนแพทย์ก็สอนทั้งแพทย์แผนปัจจุบันและแผนโบราณไปด้วยกัน จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๘ จึงยุติการสอนวิชาแพทย์แผนโบราณในโรงเรียนราชแพทยาลัย เนื่องจากความสับสนที่ผู้เรียนต้องเรียนทั้งสองระบบไปพร้อมๆ กัน จากนั้นจึงส่งเสริมการแพทย์แผนตะวันตกให้พัฒนาอย่างจริงจัง | ||
== การศึกษาวิชาแพทย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว == | |||
รัฐบาลสยาม (สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงเป็นผู้แทน) กับมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์ลงนามสัญญาความร่วมมือพัฒนาการแพทย์ของไทย มีผลตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๒ ตามข้อตกลงมีกระบวนการปรับปรุงการศึกษาวิชาแพทย์ ยกระดับหลักสูตรวิชาแพทย์ของไทยในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากแพทย์ประกาศนียบัตรเป็นปริญญาเวชศาสตร์ เริ่มรับนิสิตหลักสูตรปริญญาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ ระยะเวลาเรียน ๖ ปี เท่ากับหลักสูตรประกาศนียบัตรเดิม ชั้นเตรียมแพทย์ ปีที่ ๑ และปีที่ ๒ เรียนวิชาชีววิทยาทั่วไป สัตววิทยา เคมีอนินทรีย์ ฟิสิกส์ และภาษาอังกฤษ ที่คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เรียนแพทย์ชั้นปีที่ ๑ – ๔ ที่คณะแพทยศาสตร์และ ศิริราชพยาบาล และเพิ่มเติมการฝึกหัดรักษาผู้ป่วยอีก ๑ ปี | |||
เพื่อพัฒนาวิชาวิทยาศาสตร์สร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้แก่การศึกษาวิชาแพทย์ และสร้างความรู้ที่พิสูจน์เหตุและผลได้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นพระบรมราชูปถัมภ์เฉพาะนักเรียนแผนกวิทยาศาสตร์ ผู้ได้คะแนนเป็นที่ ๓ ให้ได้รับทุนพระบรมราชูทิศเล่าเรียนหลวง <ref>ราชกิจจานุเบกษา. ๒๔๗๒. เล่ม ๔๖. หน้า ๔๖๒๓ – ๔๖๒๖. </ref> | |||
เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ แพทย์ปริญญารุ่นแรกสำเร็จการศึกษา เมื่อพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสิทธิที่จะให้ปริญญาชั้นเวชชบัณฑิต ตามพระบรมราชโองการ ณ วันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ พิธีพระราชทานปริญญาจึงจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ เวชบัณฑิตรุ่น ๑ และ รุ่น ๒ เข้ารับพระราชทานปริญญาพร้อมกัน | |||
พ.ศ. ๒๔๖๙ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับนิสิตหญิงเข้าเรียนในแผนกเตรียมแพทย์ นิสิตหญิงรุ่นแรก ๗ คน เข้าเรียนใน พ.ศ. ๒๔๗๐ สำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. ๒๔๗๕ จำนวน ๓ คน นับเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การอุดมศึกษาไทย | |||
== งานบริการทางการแพทย์ == | |||
ในรัชกาล มีสถานพยาบาลแผนตะวันตกเป็นที่พึ่งพิงแก่ราษฎรที่เจ็บป่วยหลายแห่ง ในกรุงเทพฯ เช่น โรงพยาบาลศิริราช สังกัด กระทรวงธรรมการ โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลคนเสียจริต สังกัดกระทรวงมหาดไทย วชิรพยาบาล สังกัดกระทรวงนครบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สังกัดสภากาชาดสยาม รวมทั้งโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ด้วย ต่างจังหวัดมีโรงพยาบาลหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลวชิรภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โรงพยาบาลปัญจมาธิราชอุทิศ พระนครศรีอยุธยา และยังมีโรงพยาบาลเอกชนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เช่น ที่เชียงใหม่ มีโรงพยาบาลแมคคอร์มิคที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์เสด็จไปทรงปฏิบัติงานเป็นแพทย์ ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ | |||
กิจการสภากาชาดสยามซึ่งดำเนินภารกิจเพื่อการประชาสงเคราะห์ และการรักษาพยาบาล สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า องค์สภานายิกาสภากาชาดสยามมีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาในนามกรรมการสภากาชาด อัญเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงตำแหน่งบรมราชูปถัมภก และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกพิเศษแห่งสภากาชาดสยาม และบรมราชูปถัมภิกาแห่งอนุสภากาชาดสยาม ทั้งสองพระองค์มีลายพระราชหัตถ์ทรงรับตำแหน่งดังกล่าว | กิจการสภากาชาดสยามซึ่งดำเนินภารกิจเพื่อการประชาสงเคราะห์ และการรักษาพยาบาล สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า องค์สภานายิกาสภากาชาดสยามมีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาในนามกรรมการสภากาชาด อัญเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงตำแหน่งบรมราชูปถัมภก และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกพิเศษแห่งสภากาชาดสยาม และบรมราชูปถัมภิกาแห่งอนุสภากาชาดสยาม ทั้งสองพระองค์มีลายพระราชหัตถ์ทรงรับตำแหน่งดังกล่าว | ||
==พระราชบัญญัติการแพทย์== | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและ[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี_พระบรมราชินี|สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]] เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในกิจการสภากาชาดสยามหลายครั้ง | ||
การปรับปรุงหลักสูตรวิชาแพทย์ส่งผลถึงการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล ซึ่งมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์วางโครงการก่อสร้างอาคารหลายหลังในโรงพยาบาลศิริราช กำหนดให้[[รัฐบาล|รัฐบาล]]สยามสมทบงบประมาณค่าก่อสร้างด้วย แต่เนื่องจากภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลไม่มีงบประมาณเพียงพอสนับสนุนการก่อสร้าง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ทรงรับเป็นพระภาระในเรื่องนี้ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขอพระราชทานพระราชทรัพย์จากพระมรดกสมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เพื่อสร้างตึก “อัษฎางค์” ในโรงพยาบาลศิริราช แต่ยังไม่ทันได้พระราชทาน ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ จึงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการก่อสร้างตึกผู้ป่วยหลังนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานเงินจากพระมรดกสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครราชสีมา ก่อสร้างเป็นผู้ป่วย ๒ ชั้น เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเปิดตึกอัษฎางค์ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑ | |||
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใส่พระราชหฤทัยในการพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลศิริราช โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน ๑๗๙,๙๙๙.๓๖ บาทสร้างตึกตรีเพ็ชรและจุฑาธุช เป็นหอผู้ป่วยสำหรับสูติ-นรีเวช | |||
== พระราชบัญญัติการแพทย์ == | |||
พระราชบัญญัติการแพทย์ ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นกฎหมายฉบับแรกที่ควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ เมื่อแรกประกาศใช้ในมณฑลกรุงเทพฯ บัญญัติให้มีสภาการแพทย์ เป็นองค์กรควบคุมการประกอบโรคศิลปะ “โรคศิลปะ” หมายความว่า การบำบัดโรคทางยา และทางผ่าตัด รวมทั้งการผดุงครรภ์ การช่างฟัน การสัตวแพทย์ การปรุงยา การพยาบาล การนวด หรือการรักษาคนบาดเจ็บป่วยไข้โดยประการใดๆ อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัตินี้มิได้ออกกฎเสนาบดีกำหนดแนวปฏิบัติ จนสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | |||
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีประกาศเพิ่มเติม กฎเสนาบดี ตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. ๒๔๖๖ ใน พ.ศ. ๒๔๗๒ กำหนดให้แพทย์ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณ มีสองชั้น โดยให้คำจำกัดความแพทย์แผนโบราณและแผนปัจจุบัน ไว้ในกฎเสนาบดี ว่า | |||
ข้อ ๒๔ ผู้ประกอบโรคศิลป ๒ ประเภท คือ ผู้ประกอบโรคศิลปแผนปัจจุบันประเภท ๑ ผู้ประกอบโรคศิลปแผนโบราณประเภท ๑ | |||
(ก) ประเภทแผนปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบโรคศิลปโดยความรู้จากตำราอันเป็นหลักวิทยาโดยสากลนิยม ซึ่งดำเนิรและจำเริญขึ้นอาศัยการศึกษาตรวจค้นและทดลองของผู้รู้ในทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ประเภทนี้จำแนกสาขาและลำดับชั้นดังนี้ คือ สาขาแพทย์ทางยา ทางผ่าตัด ทางผดุงครรภ์ ผู้ทำและรักษาฟัน ผู้ปรุงหรือจำหน่ายยา หมอตำแย ทั้งนี้ให้มีลำดับเป็นสองชั้น คือ ชั้น 1 และชั้น 2 สาขาการพยาบาล และสาขาการนวด ให้มีชั้นเดียว | |||
(ข) ประเภทแผนโบราณ คือ ผู้ประกอบโรคศิลปโดยอาศัยความสังเกต ความชำนาญอันได้บอกเล่าสืบต่อกันมาเป็นที่ตั้ง หรืออาศัยตำราอันมีมาแต่โบราณ มิได้ดำเนิรไปในทางวิทยาศาสตร์ มีสาขาและลำดับชั้น คือ สาขาบำบัดโรคทางยา ชั้น 1 และ ชั้น 2 สาขาการปรุงหรือจำหน่ายยา หมอตำแย และหมอนวด ให้มีชั้นเดียว สาขาบำบัดโรคทางผ่าตัด การผดุงครรภ์ การทำและรักษาฟัน และการพยาบาลนั้น ห้ามมิให้ขึ้นทะเบียนในประเภทแผนโบราณ | |||
แพทย์ทุกคนต้องจดทะเบียนตามคุณวุฒิ ทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศ แพทย์ปัจจุบันชั้น ๑ ขึ้นทะเบียนครั้งเดียว ชั้น ๒ ต้องต่ออายุทุก ๓ ปี แพทย์แผนโบราณ ชั้น ๑ ต้องสอบความรู้ก่อน ส่วนชั้น ๒ ต้องมีแพทย์แผนปัจจุบัน ชั้น ๑ จำนวน ๓ คน รับรอง | |||
สิ้นเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ มีจำนวนแพทย์แผนปัจจุบัน ชั้น ๑ และ ชั้น ๒ คนไทย ๓๒๙ คน ชาวต่างประเทศ ๘๓ คน รวม ๔๑๒ คน แพทย์แผนโบราณบำบัดโรคทางยา ชั้น ๑ และ ชั้น ๒ คนไทย ๒,๖๖๐ คน ชาวต่างชาติ ๑,๐๑๓ คน รวม ๓,๖๗๓ คน รวมทั้งสิ้น ๔,๐๘๕ คน (ทั้งนี้ไม่นับรวมทันตแพทย์ เภสัชกร หมอตำแย พยาบาล หมอนวด ซึ่งต้องขึ้นทะเบียนการประกอบโรคศิลปเช่นกัน) <ref> พระศัลยเวทยวิศิษฏ์. (๒๔๗๕). การประกอบโรคศิลปในประเทศอังกฤษและสยาม. ใน จดหมายเหตุทางแพทย์ของแพทยะสมาคมแห่งกรุงสยาม ๑๕ (๓) , หน้า ๓๓๐. </ref> | |||
สิ้นเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ | |||
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แพทย์แผนปัจจุบัน ชั้น ๑ ส่วนมากรับราชการ เป็นแพทย์ทหารบ้าง เป็นแพทย์ของกรมสาธารณสุขบ้าง การออกไปทำเวชปฏิบัติส่วนตัวเป็นแพทย์ประจำครอบครัวมีน้อย เนื่องจากเมื่อสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาบัตร หรือประกาศนียบัตรแล้ว ยังขาดประสบการณ์ความชำนาญ และวัยวุฒิ จึงทำให้ขาดความน่าเชื่อถือจากคนไข้ คนไทยจึงยังนิยมแพทย์แผนโบราณ และแพทย์ชาวต่างประเทศ | ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แพทย์แผนปัจจุบัน ชั้น ๑ ส่วนมากรับราชการ เป็นแพทย์ทหารบ้าง เป็นแพทย์ของกรมสาธารณสุขบ้าง การออกไปทำเวชปฏิบัติส่วนตัวเป็นแพทย์ประจำครอบครัวมีน้อย เนื่องจากเมื่อสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาบัตร หรือประกาศนียบัตรแล้ว ยังขาดประสบการณ์ความชำนาญ และวัยวุฒิ จึงทำให้ขาดความน่าเชื่อถือจากคนไข้ คนไทยจึงยังนิยมแพทย์แผนโบราณ และแพทย์ชาวต่างประเทศ <ref> พระศัลยเวทยวิศิษฏ์. (๒๔๗๕). การประกอบโรคศิลปในประเทศอังกฤษและสยาม. ใน จดหมายเหตุทางแพทย์ของแพทยะสมาคมแห่งกรุงสยาม ๑๕ (๓) , หน้า ๓๓๓-๓๓๔. </ref> | ||
==อ้างอิง== | == อ้างอิง == | ||
<references/> | <references /> | ||
==บรรณานุกรม== | == บรรณานุกรม == | ||
พระศัลยเวทยวิศิษฏ์. (๒๔๗๕). การประกอบโรคศิลปในประเทศอังกฤษและสยาม. ใน จดหมายเหตุทางแพทย์ของแพทยะสมาคมแห่งกรุงสยาม ๑๕ (๓) : ๓๐๓-๓๔๒. | พระศัลยเวทยวิศิษฏ์. (๒๔๗๕). การประกอบโรคศิลปในประเทศอังกฤษและสยาม. ใน จดหมายเหตุทางแพทย์ของแพทยะสมาคมแห่งกรุงสยาม ๑๕ (๓) : ๓๐๓-๓๔๒. | ||
ราชกิจจานุเบกษา. ๒๔๗๒. เล่ม ๔๖. | ราชกิจจานุเบกษา. ๒๔๗๒. เล่ม ๔๖. | ||
[[ | [[Category:พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:17, 21 เมษายน 2560
ผู้เรียบเรียง ': วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ': รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์และทางราชการสนับสนุนการศึกษาวิชาแพทย์แผนตะวันตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้การแพทย์สมัยใหม่เป็นที่ยอมรับในสังคมมากขึ้นแต่ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งในพระนครและภูมิภาคยังพึ่งพาการแพทย์แผนไทยด้วย
ประวัติ
เมื่อเป็นที่ประจักษ์ว่าการแพทย์จากตะวันตกที่มีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นพื้นฐานเป็นหนทางป้องกันและทางเลือกของรักษาโรค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการก่อตั้งโรงพยาบาลขึ้นหลายแห่งในพระนคร และเปิดสอนวิชาแพทย์ขึ้นที่โรงศิริราชพยาบาล แต่แพทย์แผนโบราณที่สืบทอดประสบการณ์จากความชำนาญ และจากภูมิปัญญาที่บันทึกเป็นตำรา ยังคงยึดครองพื้นที่ในสังคมไทย การจัดตั้งโรงพยาบาลของรัฐในระยะแรก ๆ จึงมีแพทย์ทั้งสองระบบให้ผู้ป่วยเลือกรับรักษา รวมทั้งในโรงเรียนแพทย์ก็สอนทั้งแพทย์แผนปัจจุบันและแผนโบราณไปด้วยกัน จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๘ จึงยุติการสอนวิชาแพทย์แผนโบราณในโรงเรียนราชแพทยาลัย เนื่องจากความสับสนที่ผู้เรียนต้องเรียนทั้งสองระบบไปพร้อมๆ กัน จากนั้นจึงส่งเสริมการแพทย์แผนตะวันตกให้พัฒนาอย่างจริงจัง
การศึกษาวิชาแพทย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัฐบาลสยาม (สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงเป็นผู้แทน) กับมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์ลงนามสัญญาความร่วมมือพัฒนาการแพทย์ของไทย มีผลตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๒ ตามข้อตกลงมีกระบวนการปรับปรุงการศึกษาวิชาแพทย์ ยกระดับหลักสูตรวิชาแพทย์ของไทยในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากแพทย์ประกาศนียบัตรเป็นปริญญาเวชศาสตร์ เริ่มรับนิสิตหลักสูตรปริญญาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ ระยะเวลาเรียน ๖ ปี เท่ากับหลักสูตรประกาศนียบัตรเดิม ชั้นเตรียมแพทย์ ปีที่ ๑ และปีที่ ๒ เรียนวิชาชีววิทยาทั่วไป สัตววิทยา เคมีอนินทรีย์ ฟิสิกส์ และภาษาอังกฤษ ที่คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนแพทย์ชั้นปีที่ ๑ – ๔ ที่คณะแพทยศาสตร์และ ศิริราชพยาบาล และเพิ่มเติมการฝึกหัดรักษาผู้ป่วยอีก ๑ ปี
เพื่อพัฒนาวิชาวิทยาศาสตร์สร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้แก่การศึกษาวิชาแพทย์ และสร้างความรู้ที่พิสูจน์เหตุและผลได้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นพระบรมราชูปถัมภ์เฉพาะนักเรียนแผนกวิทยาศาสตร์ ผู้ได้คะแนนเป็นที่ ๓ ให้ได้รับทุนพระบรมราชูทิศเล่าเรียนหลวง [1]
เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ แพทย์ปริญญารุ่นแรกสำเร็จการศึกษา เมื่อพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสิทธิที่จะให้ปริญญาชั้นเวชชบัณฑิต ตามพระบรมราชโองการ ณ วันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ พิธีพระราชทานปริญญาจึงจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ เวชบัณฑิตรุ่น ๑ และ รุ่น ๒ เข้ารับพระราชทานปริญญาพร้อมกัน
พ.ศ. ๒๔๖๙ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับนิสิตหญิงเข้าเรียนในแผนกเตรียมแพทย์ นิสิตหญิงรุ่นแรก ๗ คน เข้าเรียนใน พ.ศ. ๒๔๗๐ สำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. ๒๔๗๕ จำนวน ๓ คน นับเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การอุดมศึกษาไทย
งานบริการทางการแพทย์
ในรัชกาล มีสถานพยาบาลแผนตะวันตกเป็นที่พึ่งพิงแก่ราษฎรที่เจ็บป่วยหลายแห่ง ในกรุงเทพฯ เช่น โรงพยาบาลศิริราช สังกัด กระทรวงธรรมการ โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลคนเสียจริต สังกัดกระทรวงมหาดไทย วชิรพยาบาล สังกัดกระทรวงนครบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สังกัดสภากาชาดสยาม รวมทั้งโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ด้วย ต่างจังหวัดมีโรงพยาบาลหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลวชิรภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โรงพยาบาลปัญจมาธิราชอุทิศ พระนครศรีอยุธยา และยังมีโรงพยาบาลเอกชนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เช่น ที่เชียงใหม่ มีโรงพยาบาลแมคคอร์มิคที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์เสด็จไปทรงปฏิบัติงานเป็นแพทย์ ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒
กิจการสภากาชาดสยามซึ่งดำเนินภารกิจเพื่อการประชาสงเคราะห์ และการรักษาพยาบาล สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า องค์สภานายิกาสภากาชาดสยามมีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาในนามกรรมการสภากาชาด อัญเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงตำแหน่งบรมราชูปถัมภก และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกพิเศษแห่งสภากาชาดสยาม และบรมราชูปถัมภิกาแห่งอนุสภากาชาดสยาม ทั้งสองพระองค์มีลายพระราชหัตถ์ทรงรับตำแหน่งดังกล่าว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในกิจการสภากาชาดสยามหลายครั้ง
การปรับปรุงหลักสูตรวิชาแพทย์ส่งผลถึงการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล ซึ่งมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์วางโครงการก่อสร้างอาคารหลายหลังในโรงพยาบาลศิริราช กำหนดให้รัฐบาลสยามสมทบงบประมาณค่าก่อสร้างด้วย แต่เนื่องจากภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลไม่มีงบประมาณเพียงพอสนับสนุนการก่อสร้าง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ทรงรับเป็นพระภาระในเรื่องนี้ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขอพระราชทานพระราชทรัพย์จากพระมรดกสมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เพื่อสร้างตึก “อัษฎางค์” ในโรงพยาบาลศิริราช แต่ยังไม่ทันได้พระราชทาน ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ จึงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการก่อสร้างตึกผู้ป่วยหลังนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานเงินจากพระมรดกสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครราชสีมา ก่อสร้างเป็นผู้ป่วย ๒ ชั้น เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเปิดตึกอัษฎางค์ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใส่พระราชหฤทัยในการพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลศิริราช โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน ๑๗๙,๙๙๙.๓๖ บาทสร้างตึกตรีเพ็ชรและจุฑาธุช เป็นหอผู้ป่วยสำหรับสูติ-นรีเวช
พระราชบัญญัติการแพทย์
พระราชบัญญัติการแพทย์ ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นกฎหมายฉบับแรกที่ควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ เมื่อแรกประกาศใช้ในมณฑลกรุงเทพฯ บัญญัติให้มีสภาการแพทย์ เป็นองค์กรควบคุมการประกอบโรคศิลปะ “โรคศิลปะ” หมายความว่า การบำบัดโรคทางยา และทางผ่าตัด รวมทั้งการผดุงครรภ์ การช่างฟัน การสัตวแพทย์ การปรุงยา การพยาบาล การนวด หรือการรักษาคนบาดเจ็บป่วยไข้โดยประการใดๆ อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัตินี้มิได้ออกกฎเสนาบดีกำหนดแนวปฏิบัติ จนสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีประกาศเพิ่มเติม กฎเสนาบดี ตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. ๒๔๖๖ ใน พ.ศ. ๒๔๗๒ กำหนดให้แพทย์ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณ มีสองชั้น โดยให้คำจำกัดความแพทย์แผนโบราณและแผนปัจจุบัน ไว้ในกฎเสนาบดี ว่า
ข้อ ๒๔ ผู้ประกอบโรคศิลป ๒ ประเภท คือ ผู้ประกอบโรคศิลปแผนปัจจุบันประเภท ๑ ผู้ประกอบโรคศิลปแผนโบราณประเภท ๑
(ก) ประเภทแผนปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบโรคศิลปโดยความรู้จากตำราอันเป็นหลักวิทยาโดยสากลนิยม ซึ่งดำเนิรและจำเริญขึ้นอาศัยการศึกษาตรวจค้นและทดลองของผู้รู้ในทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ประเภทนี้จำแนกสาขาและลำดับชั้นดังนี้ คือ สาขาแพทย์ทางยา ทางผ่าตัด ทางผดุงครรภ์ ผู้ทำและรักษาฟัน ผู้ปรุงหรือจำหน่ายยา หมอตำแย ทั้งนี้ให้มีลำดับเป็นสองชั้น คือ ชั้น 1 และชั้น 2 สาขาการพยาบาล และสาขาการนวด ให้มีชั้นเดียว
(ข) ประเภทแผนโบราณ คือ ผู้ประกอบโรคศิลปโดยอาศัยความสังเกต ความชำนาญอันได้บอกเล่าสืบต่อกันมาเป็นที่ตั้ง หรืออาศัยตำราอันมีมาแต่โบราณ มิได้ดำเนิรไปในทางวิทยาศาสตร์ มีสาขาและลำดับชั้น คือ สาขาบำบัดโรคทางยา ชั้น 1 และ ชั้น 2 สาขาการปรุงหรือจำหน่ายยา หมอตำแย และหมอนวด ให้มีชั้นเดียว สาขาบำบัดโรคทางผ่าตัด การผดุงครรภ์ การทำและรักษาฟัน และการพยาบาลนั้น ห้ามมิให้ขึ้นทะเบียนในประเภทแผนโบราณ
แพทย์ทุกคนต้องจดทะเบียนตามคุณวุฒิ ทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศ แพทย์ปัจจุบันชั้น ๑ ขึ้นทะเบียนครั้งเดียว ชั้น ๒ ต้องต่ออายุทุก ๓ ปี แพทย์แผนโบราณ ชั้น ๑ ต้องสอบความรู้ก่อน ส่วนชั้น ๒ ต้องมีแพทย์แผนปัจจุบัน ชั้น ๑ จำนวน ๓ คน รับรอง
สิ้นเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ มีจำนวนแพทย์แผนปัจจุบัน ชั้น ๑ และ ชั้น ๒ คนไทย ๓๒๙ คน ชาวต่างประเทศ ๘๓ คน รวม ๔๑๒ คน แพทย์แผนโบราณบำบัดโรคทางยา ชั้น ๑ และ ชั้น ๒ คนไทย ๒,๖๖๐ คน ชาวต่างชาติ ๑,๐๑๓ คน รวม ๓,๖๗๓ คน รวมทั้งสิ้น ๔,๐๘๕ คน (ทั้งนี้ไม่นับรวมทันตแพทย์ เภสัชกร หมอตำแย พยาบาล หมอนวด ซึ่งต้องขึ้นทะเบียนการประกอบโรคศิลปเช่นกัน) [2]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แพทย์แผนปัจจุบัน ชั้น ๑ ส่วนมากรับราชการ เป็นแพทย์ทหารบ้าง เป็นแพทย์ของกรมสาธารณสุขบ้าง การออกไปทำเวชปฏิบัติส่วนตัวเป็นแพทย์ประจำครอบครัวมีน้อย เนื่องจากเมื่อสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาบัตร หรือประกาศนียบัตรแล้ว ยังขาดประสบการณ์ความชำนาญ และวัยวุฒิ จึงทำให้ขาดความน่าเชื่อถือจากคนไข้ คนไทยจึงยังนิยมแพทย์แผนโบราณ และแพทย์ชาวต่างประเทศ [3]
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ๒๔๗๒. เล่ม ๔๖. หน้า ๔๖๒๓ – ๔๖๒๖.
- ↑ พระศัลยเวทยวิศิษฏ์. (๒๔๗๕). การประกอบโรคศิลปในประเทศอังกฤษและสยาม. ใน จดหมายเหตุทางแพทย์ของแพทยะสมาคมแห่งกรุงสยาม ๑๕ (๓) , หน้า ๓๓๐.
- ↑ พระศัลยเวทยวิศิษฏ์. (๒๔๗๕). การประกอบโรคศิลปในประเทศอังกฤษและสยาม. ใน จดหมายเหตุทางแพทย์ของแพทยะสมาคมแห่งกรุงสยาม ๑๕ (๓) , หน้า ๓๓๓-๓๓๔.
บรรณานุกรม
พระศัลยเวทยวิศิษฏ์. (๒๔๗๕). การประกอบโรคศิลปในประเทศอังกฤษและสยาม. ใน จดหมายเหตุทางแพทย์ของแพทยะสมาคมแห่งกรุงสยาม ๑๕ (๓) : ๓๐๓-๓๔๒.
ราชกิจจานุเบกษา. ๒๔๗๒. เล่ม ๔๖.