ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผนที่ยุทธศาสตร์"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล | '''เรียบเรียงโดย''' : อาจารย์บุญยเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล | |||
---- | ---- | ||
==ความหมาย== | == ความหมาย == | ||
แผนที่ยุทธศาสตร์หมายถึงเครื่องมือที่เชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์กับการปฏิบัติการ ใช้เป็นเครื่องนำทางหรือปรับทิศทางของงาน โดยการปรับโครงการและกระบวนการ กำหนดแผนการใช้งบประมาณ การวางหน้าที่ ความรับผิดชอบ ตลอดจนการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์กร | |||
== ความสำคัญ == | |||
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมรวมถึงกระแสโลกาภิวัตน์ ดังนั้น[[ระบบราชการไทย|ระบบราชการไทย]]จึงต้องสอดคล้องกับบริบทดังกล่าว จึงมีการนำ[[หลักการบริหารกิจการ|หลักการบริหารกิจการ]] มาใช้ใน[[การปฏิรูประบบราชการไทย|การปฏิรูประบบราชการไทย]] เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ และให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ | |||
[[สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ|สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ]] ([[ก.พ.ร.|ก.พ.ร.]]) ได้กำหนด[[แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย|แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย]] (พ.ศ.2551-2555) ซึ่งได้นำแนวความคิดการบริหารยุทธศาสตร์มาใช้เพื่อให้องค์การมีการกำหนดทิศทางที่ชัดเจน มีแนวทางในการปฏิบัติเพื่อไปสู่ทิศทางที่ต้องการรวมทั้งมีการติดตาม ประเมินผลที่ชัดเจนมาใช้<ref>จิรประภา อัครบวรและรัตนศักดิ์ เจริญทรัพย์.แผนที่ยุทธศาสตร์, กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.2552), หน้า 11-12</ref> | |||
แผนที่ยุทธศาสตร์เป็นแผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงยุทธศาสตร์ขององค์กร ในรูปแบบของความสัมพันธ์ในเชิงของเหตุและผล (Cause-and-Effect Relationship) โดยเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ (Outcome) ที่องค์กรปรารถนา โดยนำแนวความคิด [[Balanced_Scorecard|Balanced Scorecard]] คือมุมมองทางด้านการเงิน (Financial Perspective) ลูกค้า (Customer Perspective) กระบวนการภายใน (Internal Process) และการเรียนรู้และพัฒนาองค์กร (Learning and Growth Perspective) อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 60-61. </ref> | |||
== แนวคิดในการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ == | |||
แผนที่ยุทธศาสตร์คือการนำแนวคิด Balanced Scorecard คือมิติความสัมพันธ์ 4 มิติอันประกอบด้วย มุมมองทางด้านการเงิน (Financial Perspective) ลูกค้า (Customer Perspective) กระบวนการภายใน (Internal Process) และการเรียนรู้และพัฒนาองค์กร (Learning and Growth Perspective) ซึ่งใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความสามารถในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจ มาใช้ในการปฏิรูประบบราชการไทย | |||
การแปลงแนวคิดด้านการประเมินผลการดำเนินงานเข้ามาใช้กับระบบราชการนั้นมีจุดเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษที่ได้มีการออก[[กฎหมาย|กฎหมาย]]บังคับให้หน่วยราชการทุกแห่งได้มีการพัฒนาระบบในการประเมินผลการดำเนินงาน ในสหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรการที่เรียกว่า Government Performance Review Act (GPRA) ขณะที่อังกฤษกำหนดให้หน่วยราชการทุกแห่งมีการทำ Public Service Agreements (PSA) | |||
พ.ศ. 2547 (ค.ศ.2004) รัฐบาลของประธานาธิบดีบุชได้ประกาศออกมาว่าจะมีการสร้าง Scorecard ที่ภายในประกอบด้วยตัวชี้วัดซึ่งจะมีไฟสัญญาจราจรสีเขียว เหลือง แดง เอาไว้บ่งบอกให้รู้ถึงความสำเร็จในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน โดยทาง[[รัฐบาล|รัฐบาล]]สหรัฐต้องการให้[[ประธานาธิบดี|ประธานาธิบดี]]ของตนสามารถที่จะติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยราชการต่างๆ ว่าเป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้หรือไม่ | |||
หน่วยราชการของไทยหลายๆ แห่งได้เริ่มที่จะนำแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินผลการดำเนินงานขององค์มาใช้มากขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2527 สำนักงาน ก.พ.ร.ได้สนับสนุนให้ส่วนราชการสร้างระบบประเมินผล เช่น จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ และประยุกต์มุมมองของ Balanced Scorecard ให้เข้ากับระบบราชการไทย และกำหนดกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 64-65. </ref> | |||
หน่วยราชการของไทยหลายๆ แห่งได้เริ่มที่จะนำแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินผลการดำเนินงานขององค์มาใช้มากขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2527 สำนักงาน ก.พ.ร.ได้สนับสนุนให้ส่วนราชการสร้างระบบประเมินผล เช่น จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ และประยุกต์มุมมองของ Balanced Scorecard ให้เข้ากับระบบราชการไทย และกำหนดกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 64-65. </ref> | |||
==การประยุกต์ใช้แผนที่ยุทธศาสตร์กับระบบราชการไทย== | == การประยุกต์ใช้แผนที่ยุทธศาสตร์กับระบบราชการไทย == | ||
สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ประยุกต์มุมมองของ Balanced Scorecard ให้เข้ากับ[[ระบบราชการ|ระบบราชการ]]ของไทย ซึ่งประกอบด้วยมุมมองดังนี้ | |||
มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ (Run the Business) มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงผลงานที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนและผู้รับบริการ เช่น ผลสำเร็จในการพัฒนาการปฏิบัติราชการ เป็นต้น | |||
มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ (Serve the Customer) มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการให้การให้บริการที่มีคุณภาพ สร้างความพึงพอใจ แก่ผู้รับบริการ | มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ (Serve the Customer) มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการให้การให้บริการที่มีคุณภาพ สร้างความพึงพอใจ แก่ผู้รับบริการ | ||
มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ (Manage Resources) มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงความสามารถในการปฏิบัติราชการ เช่น การลดค่าใช้จ่าย การลดระยะเวลาการให้บริการ และความคุ้มค่าของการใช้เงิน เป็นต้น | |||
มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร (Capacity Building) มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงความสามารถในการเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร เช่น การลดอัตรากำลังหรือการจัดสรรอัตรากำลังให้คุ้มค่า การมอบอำนาจการตัดสินใจ การอนุมัติ อนุญาต ไปยังระดับปฏิบัติการ การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับงาน เป็นต้น | |||
== แนวทางในการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ == | |||
แนวทางในการพัฒนา แผนที่ยุทธศาสตร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือการพิจารณาถึงทิศทางของหน่วยงาน อันได้แก่[[วิสัยทัศน์|วิสัยทัศน์]]ที่องค์กรต้องการที่องค์กรจะบรรลุ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ภายใต้แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ | |||
[[File:แผนยุทธศาสตร์.jpg|RTENOTITLE]] | |||
[[ | |||
ที่มา : พสุ เดชะรินทร์และคณะ, แผนที่ยุทธศาสตร์, หน้า 81. | |||
ในการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ นั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เนื่องจากแผนที่ยุทธศาสตร์จะประกอบไปด้วย เป้าประสงค์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ที่แสดงความเชื่อมโยงด้วยหลักของเหตุและผล ดังนั้น การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ จึงมีความเชื่อมโยงกับการจัดทำวิสัยทัศน์ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ของหน่วยงาน [[File:การพัฒนาแผนที่ยุทธศาสตร์.jpg|RTENOTITLE]] | |||
== การยืนยันวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน == | |||
การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ หน่วยงานต้องยืนยันวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อยืนยันทิศทางการพัฒนาที่หน่วยงานต้องการจะเป็นในอนาคตภายในห้วงระยะเวลาที่กำหนด เป็นจุดหมายปลายทางร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องภายในหน่วยงาน | |||
วิสัยทัศน์นี้จะเป็นจุดหมายร่วมกันของทุกฝ่ายในหน่วยงาน ทำให้เกิดทิศทางที่ชัดเจนว่าจะมีกลยุทธ์การพัฒนาร่วมกันในทิศทางใด การยืนยันวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน จะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องรวมถึงบุคคลภายนอก | |||
== การยืนยันประเด็นยุทธศาสตร์ == | |||
ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) คือประเด็นที่หน่วยงานต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ต้องวิเคราะห์จากวิสัยทัศน์ ที่หน่วยงานต้องบรรลุในแต่ละประเด็น บางประเด็นอาจมีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผลกัน โดยประเด็นยุทธศาสตร์ไม่ควรมีจำนวนมากเกินไป เนื่องจากจะทำให้กระจัดกระจายไม่มีจุดเน้น หรืออาจจะไม่ใช่ประเด็นหลักของหน่วยงน | |||
== การกำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการบรรลุในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ == | |||
การกำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการบรรลุในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ จะเป็นการกำหนดกรอบการประเมินผลภายใต้ยุทธศาสตร์ของมิติทั้ง 4 ด้าน คือ | การกำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการบรรลุในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ จะเป็นการกำหนดกรอบการประเมินผลภายใต้ยุทธศาสตร์ของมิติทั้ง 4 ด้าน คือ | ||
1. มิติด้านประสิทธิผล คือผลลัพธ์จากประเด็นยุทธศาสตร์คืออะไร | 1. มิติด้านประสิทธิผล คือผลลัพธ์จากประเด็นยุทธศาสตร์คืออะไร | ||
2. มิติด้านคุณภาพการให้บริการ อะไรคือสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการและสามารถนำเสนอสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ | |||
3. มิติด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ กระบวนการ กิจกรรม | |||
4. มิติด้านการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การในด้านใดมาก เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมขององค์การในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ | |||
แผนที่ยุทธศาสตร์จึงเป็นการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์(กระบวนวิธีการทำงาน)โดยใช้ เครื่องชี้วัด ทำการวัดปฏิบัติการขององค์การในแง่มุมต่างๆ การจัดทำยุทธศาสตร์ที่รวบรวมวิสัยทัศน์ ภารกิจ และยุทธศาสตร์เพื่อให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ จะช่วยปรับการทำงานของฝ่ายต่างๆให้เข้าหาและไปในทิศทางเดียวกัน มีระบบที่ติดตามดูความสำเร็จของยุทธศาสตร์ด้วยการวัดผลการปฏิบัติ เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง มีการปรับการทำงาน เพื่อนำไปสู่การตั้งงบประมาณ และเพื่อช่วยให้องค์กรเรียนรู้ว่ายุทธศาสตร์ใดใช้ได้หรือไม่ อย่างไร ทำให้ระบบราชการมีเป้ามายที่จะบรรลุภารกิจของรัฐและสนองตอบต่อประโยชน์สุขของประชาชน | |||
==อ้างอิง== | == อ้างอิง == | ||
<references/> | <references /> | ||
==บรรณานุกรม== | == บรรณานุกรม == | ||
จิรประภา อัครบวร และ รัตนศักดิ์ เจริญทรัพย์. '''แผนที่ยุทธศาสตร์''', กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.2552, หน้า 11-12. | จิรประภา อัครบวร และ รัตนศักดิ์ เจริญทรัพย์. '''แผนที่ยุทธศาสตร์''', กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.2552, หน้า 11-12. | ||
==หนังสือแนะนำอ่านเพิ่มเติม== | == หนังสือแนะนำอ่านเพิ่มเติม == | ||
Robert S. Kaplan, David P. Norton, ; แปลและเรียบเรียงโดย สมพงษ์ สุวรรณจิตกุล.'''แผนที่ยุทธศาสตร์ : แปลงสินทรัพย์ที่สัมผัสไม่ได้ออกมาเป็นความมั่งคั่งที่จับต้องได้'''.(กรุงเทพมหานคร : ผู้จัดการ, 2547). | Robert S. Kaplan, David P. Norton, ; แปลและเรียบเรียงโดย สมพงษ์ สุวรรณจิตกุล.'''แผนที่ยุทธศาสตร์ : แปลงสินทรัพย์ที่สัมผัสไม่ได้ออกมาเป็นความมั่งคั่งที่จับต้องได้'''.(กรุงเทพมหานคร : ผู้จัดการ, 2547). | ||
พสุ เดชะรินทร์ และคณะ.'''แผนที่ยุทธศาสตร์''', กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.2548). | พสุ เดชะรินทร์ และคณะ.'''แผนที่ยุทธศาสตร์''', กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.2548). | ||
[[ | [[Category:การบริหารราชการแผ่นดิน|ผ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:52, 3 กรกฎาคม 2560
เรียบเรียงโดย : อาจารย์บุญยเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล
ความหมาย
แผนที่ยุทธศาสตร์หมายถึงเครื่องมือที่เชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์กับการปฏิบัติการ ใช้เป็นเครื่องนำทางหรือปรับทิศทางของงาน โดยการปรับโครงการและกระบวนการ กำหนดแผนการใช้งบประมาณ การวางหน้าที่ ความรับผิดชอบ ตลอดจนการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์กร
ความสำคัญ
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมรวมถึงกระแสโลกาภิวัตน์ ดังนั้นระบบราชการไทยจึงต้องสอดคล้องกับบริบทดังกล่าว จึงมีการนำหลักการบริหารกิจการ มาใช้ในการปฏิรูประบบราชการไทย เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ และให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2551-2555) ซึ่งได้นำแนวความคิดการบริหารยุทธศาสตร์มาใช้เพื่อให้องค์การมีการกำหนดทิศทางที่ชัดเจน มีแนวทางในการปฏิบัติเพื่อไปสู่ทิศทางที่ต้องการรวมทั้งมีการติดตาม ประเมินผลที่ชัดเจนมาใช้[1]
แผนที่ยุทธศาสตร์เป็นแผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงยุทธศาสตร์ขององค์กร ในรูปแบบของความสัมพันธ์ในเชิงของเหตุและผล (Cause-and-Effect Relationship) โดยเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ (Outcome) ที่องค์กรปรารถนา โดยนำแนวความคิด Balanced Scorecard คือมุมมองทางด้านการเงิน (Financial Perspective) ลูกค้า (Customer Perspective) กระบวนการภายใน (Internal Process) และการเรียนรู้และพัฒนาองค์กร (Learning and Growth Perspective) อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ[2]
แนวคิดในการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์
แผนที่ยุทธศาสตร์คือการนำแนวคิด Balanced Scorecard คือมิติความสัมพันธ์ 4 มิติอันประกอบด้วย มุมมองทางด้านการเงิน (Financial Perspective) ลูกค้า (Customer Perspective) กระบวนการภายใน (Internal Process) และการเรียนรู้และพัฒนาองค์กร (Learning and Growth Perspective) ซึ่งใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความสามารถในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจ มาใช้ในการปฏิรูประบบราชการไทย
การแปลงแนวคิดด้านการประเมินผลการดำเนินงานเข้ามาใช้กับระบบราชการนั้นมีจุดเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษที่ได้มีการออกกฎหมายบังคับให้หน่วยราชการทุกแห่งได้มีการพัฒนาระบบในการประเมินผลการดำเนินงาน ในสหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรการที่เรียกว่า Government Performance Review Act (GPRA) ขณะที่อังกฤษกำหนดให้หน่วยราชการทุกแห่งมีการทำ Public Service Agreements (PSA)
พ.ศ. 2547 (ค.ศ.2004) รัฐบาลของประธานาธิบดีบุชได้ประกาศออกมาว่าจะมีการสร้าง Scorecard ที่ภายในประกอบด้วยตัวชี้วัดซึ่งจะมีไฟสัญญาจราจรสีเขียว เหลือง แดง เอาไว้บ่งบอกให้รู้ถึงความสำเร็จในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน โดยทางรัฐบาลสหรัฐต้องการให้ประธานาธิบดีของตนสามารถที่จะติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยราชการต่างๆ ว่าเป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้หรือไม่
หน่วยราชการของไทยหลายๆ แห่งได้เริ่มที่จะนำแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินผลการดำเนินงานขององค์มาใช้มากขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2527 สำนักงาน ก.พ.ร.ได้สนับสนุนให้ส่วนราชการสร้างระบบประเมินผล เช่น จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ และประยุกต์มุมมองของ Balanced Scorecard ให้เข้ากับระบบราชการไทย และกำหนดกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551[3]
การประยุกต์ใช้แผนที่ยุทธศาสตร์กับระบบราชการไทย
สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ประยุกต์มุมมองของ Balanced Scorecard ให้เข้ากับระบบราชการของไทย ซึ่งประกอบด้วยมุมมองดังนี้
มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ (Run the Business) มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงผลงานที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนและผู้รับบริการ เช่น ผลสำเร็จในการพัฒนาการปฏิบัติราชการ เป็นต้น
มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ (Serve the Customer) มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการให้การให้บริการที่มีคุณภาพ สร้างความพึงพอใจ แก่ผู้รับบริการ
มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ (Manage Resources) มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงความสามารถในการปฏิบัติราชการ เช่น การลดค่าใช้จ่าย การลดระยะเวลาการให้บริการ และความคุ้มค่าของการใช้เงิน เป็นต้น
มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร (Capacity Building) มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงความสามารถในการเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร เช่น การลดอัตรากำลังหรือการจัดสรรอัตรากำลังให้คุ้มค่า การมอบอำนาจการตัดสินใจ การอนุมัติ อนุญาต ไปยังระดับปฏิบัติการ การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับงาน เป็นต้น
แนวทางในการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์
แนวทางในการพัฒนา แผนที่ยุทธศาสตร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือการพิจารณาถึงทิศทางของหน่วยงาน อันได้แก่วิสัยทัศน์ที่องค์กรต้องการที่องค์กรจะบรรลุ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ภายใต้แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
ที่มา : พสุ เดชะรินทร์และคณะ, แผนที่ยุทธศาสตร์, หน้า 81.
ในการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ นั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เนื่องจากแผนที่ยุทธศาสตร์จะประกอบไปด้วย เป้าประสงค์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ที่แสดงความเชื่อมโยงด้วยหลักของเหตุและผล ดังนั้น การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ จึงมีความเชื่อมโยงกับการจัดทำวิสัยทัศน์ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ของหน่วยงาน
การยืนยันวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน
การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ หน่วยงานต้องยืนยันวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อยืนยันทิศทางการพัฒนาที่หน่วยงานต้องการจะเป็นในอนาคตภายในห้วงระยะเวลาที่กำหนด เป็นจุดหมายปลายทางร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องภายในหน่วยงาน
วิสัยทัศน์นี้จะเป็นจุดหมายร่วมกันของทุกฝ่ายในหน่วยงาน ทำให้เกิดทิศทางที่ชัดเจนว่าจะมีกลยุทธ์การพัฒนาร่วมกันในทิศทางใด การยืนยันวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน จะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องรวมถึงบุคคลภายนอก
การยืนยันประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) คือประเด็นที่หน่วยงานต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ต้องวิเคราะห์จากวิสัยทัศน์ ที่หน่วยงานต้องบรรลุในแต่ละประเด็น บางประเด็นอาจมีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผลกัน โดยประเด็นยุทธศาสตร์ไม่ควรมีจำนวนมากเกินไป เนื่องจากจะทำให้กระจัดกระจายไม่มีจุดเน้น หรืออาจจะไม่ใช่ประเด็นหลักของหน่วยงน
การกำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการบรรลุในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
การกำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการบรรลุในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ จะเป็นการกำหนดกรอบการประเมินผลภายใต้ยุทธศาสตร์ของมิติทั้ง 4 ด้าน คือ
1. มิติด้านประสิทธิผล คือผลลัพธ์จากประเด็นยุทธศาสตร์คืออะไร
2. มิติด้านคุณภาพการให้บริการ อะไรคือสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการและสามารถนำเสนอสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ
3. มิติด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ กระบวนการ กิจกรรม
4. มิติด้านการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การในด้านใดมาก เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมขององค์การในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์
แผนที่ยุทธศาสตร์จึงเป็นการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์(กระบวนวิธีการทำงาน)โดยใช้ เครื่องชี้วัด ทำการวัดปฏิบัติการขององค์การในแง่มุมต่างๆ การจัดทำยุทธศาสตร์ที่รวบรวมวิสัยทัศน์ ภารกิจ และยุทธศาสตร์เพื่อให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ จะช่วยปรับการทำงานของฝ่ายต่างๆให้เข้าหาและไปในทิศทางเดียวกัน มีระบบที่ติดตามดูความสำเร็จของยุทธศาสตร์ด้วยการวัดผลการปฏิบัติ เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง มีการปรับการทำงาน เพื่อนำไปสู่การตั้งงบประมาณ และเพื่อช่วยให้องค์กรเรียนรู้ว่ายุทธศาสตร์ใดใช้ได้หรือไม่ อย่างไร ทำให้ระบบราชการมีเป้ามายที่จะบรรลุภารกิจของรัฐและสนองตอบต่อประโยชน์สุขของประชาชน
อ้างอิง
บรรณานุกรม
จิรประภา อัครบวร และ รัตนศักดิ์ เจริญทรัพย์. แผนที่ยุทธศาสตร์, กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.2552, หน้า 11-12.
หนังสือแนะนำอ่านเพิ่มเติม
Robert S. Kaplan, David P. Norton, ; แปลและเรียบเรียงโดย สมพงษ์ สุวรรณจิตกุล.แผนที่ยุทธศาสตร์ : แปลงสินทรัพย์ที่สัมผัสไม่ได้ออกมาเป็นความมั่งคั่งที่จับต้องได้.(กรุงเทพมหานคร : ผู้จัดการ, 2547).
พสุ เดชะรินทร์ และคณะ.แผนที่ยุทธศาสตร์, กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.2548).