ผลต่างระหว่างรุ่นของ "10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:


----
----
วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เป็นวันการเมืองที่มีเหตุการณ์ซึ่งถูกเรียกว่า [[“กบฏสันติภาพ”]] ตอนนั้น[[รัฐบาล]]มี[[นายกรัฐมนตรี]] ชื่อ[[จอมพล ป.พิบูลสงคราม]]  ทางรัฐบาลได้ให้ตำรวจไปจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยว่าเป็น[[กบฏ]]เป็นจำนวนมากถึง 104 คน ทั้งนี้  ทางกรมตำรวจได้ออกแถลงการณ์ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 มีความตอนหนึ่งว่า
วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เป็นวันการเมืองที่มีเหตุการณ์ซึ่งถูกเรียกว่า [[กบฏสันติภาพ]]ตอนนั้น[[รัฐบาล]]มี[[นายกรัฐมนตรี]] ชื่อ[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป.พิบูลสงคราม]]  ทางรัฐบาลได้ให้ตำรวจไปจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยว่าเป็น[[กบฏ]]เป็นจำนวนมากถึง 104 คน ทั้งนี้  ทางกรมตำรวจได้ออกแถลงการณ์ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 มีความตอนหนึ่งว่า
 
“...มีบุคคลคณะหนึ่งได้สมคบกันกระทำผิดกฎหมายด้วยการยุยงให้มีการเกลียดชังกันในระหว่างคนไทย...ยุยงให้ทหารที่รัฐบาลส่งออกไปรบในเกาหลี ตามพันธะที่รัฐบาลมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติให้เสื่อมเสียวินัย เมื่อเกิดการปั่นป่วนในบ้านเมืองได้ระยะเวลาเหมาะสมแล้ว ก็จะใช้กำลังเข้าทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบอื่น ซึ่งมิใช่ระบอบประชาธิปไตย...”
“...มีบุคคลคณะหนึ่งได้สมคบกันกระทำผิดกฎหมายด้วยการยุยงให้มีการเกลียดชังกันในระหว่างคนไทย...ยุยงให้ทหารที่รัฐบาลส่งออกไปรบในเกาหลี ตามพันธะที่รัฐบาลมีอยู่ต่อ[[องค์การสหประชาชาติ]]ให้เสื่อมเสียวินัย เมื่อเกิดการปั่นป่วนในบ้านเมืองได้ระยะเวลาเหมาะสมแล้ว ก็จะใช้กำลังเข้าทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบอื่น ซึ่งมิใช่ระบอบประชาธิปไตย...”
 
ผู้ที่ถูกจับกุมในวันนั้นมีนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์อยู่หลายคน เช่น นาย[[กุหลาบ สายประดิษฐ์]] นาย[[อารีย์ ลีวีระ]] นาย[[อุทธรณ์ พลกุล]] นาย[[บุศย์ สิมะเสถียร]] นาย[[สุวัฒน์ วรดิลก]] เป็นต้น กับผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น [[นายมารุต บุนนาค]] และต่อมาได้จับกุมเพิ่มเติมอีก มีทั้งท่านผู้หญิง[[พูนศุข พนมยงค์]] ภริยานาย[[ปรีดี พนมยงค์]] และนาย[[ปาน พนมยงค์]] บุตรชายของนายปรีดี พนมยงค์ ด้วย
ผู้ที่ถูกจับกุมในวันนั้นมีนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์อยู่หลายคน เช่น [[นายกุหลาบ สายประดิษฐ์]] [[นายอารีย์ ลีวีระ]] [[นายอุทธรณ์ พลกุล]] [[นายบุศย์ สิมะเสถียร]] [[นายสุวัฒน์ วรดิลก]] เป็นต้น กับผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น [[มารุต บุนนาค|นายมารุต บุนนาค]] และต่อมาได้จับกุมเพิ่มเติมอีก
 
“ถ้าจะเข้าใจเรื่องราวว่า...นั้นต่อต้านคอมมิวนิสต์มาก ถ้าจะเข้าใจเรื่องราวว่าทำไมเรื่องเกี่ยวกับสันติภาพจึงเป็นกบฏในความเห็นของ[[รัฐบาล]]ในสมัยนั้น ก็อาจต้องมองออกไปที่การเมืองนอกประเทศในขณะนั้นประกอบกับการเมืองภายในประเทศด้วย”
ถ้าจะเข้าใจเรื่องราวว่าทำไมเรื่องเกี่ยวกับ[[สันติภาพ]]จึงเป็นกบฏในความคิดเห็นของรัฐบาลในสมัยนั้น ก็อาจต้องมองออกไปที่การเมืองนอกประเทศในขณะนั้นประกอบกับการเมืองภายในประเทศด้วย
 
กรณีกบฏครั้งนี้อัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด 54 ราย บางรายถูกจับกุมมากถึง 20 ปี ผู้ที่ติดคุกมาได้พ้นโทษตาม [[พ.ร.บ. นิรโทษกรรม]]เนื่องจากการฉลองพุทธศตวรรษที่ 25 เมื่อ พ.ศ. 2500
หลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] แล้ว ประเทศ[[ฝ่ายสัมพันธมิตร]] หรือ กลุ่มประชาธิปไตยตะวันตกที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ กับสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ใหญ่โตของโลกที่เคยร่วมมือกันสู้รบปราบเยอรมนี และฝ่ายอักษะจนได้รับชัยชนะร่วมกันมา ก็เริ่มจะคลายความเป็นมิตรลง และเมื่อสหภาพโซเวียตใช้นโยบายรุกฆาตเอาดินแดนยุโรปตะวันออกไปเป็นบริวารคอมมิวนิสต์ตามลำดับ สหรัฐกับมิตรในยุโรปก็ต้องยืนหยัดสกัดกั้นการแพร่หลาขยายตัวของคอมมิวนิสต์ทั้งในยุโรปและเอเชีย
 
สงครามร้อนหมดไป แต่มีสงครามเย็นเข้ามาแทนที่และมีการใช้กำลังกันแบบจำกัดเขตในหลายสถานที่ ในยุโรปนั้นที่ประเทศกรีซ สหรัฐอเมริกาก็ใช้ “ลัทธิทรูแมน” (ทรูแมน คือ ชื่อประธานาธิบดีอเมริกาในขณะนั้น) เพื่อใช้กำลังป้องกันกรีซไม่ให้เป็นคอมมิวนิสต์ฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้มแข็งมากขึ้น
 
สภาพการเมืองระหว่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นมีประเทศเกิดใหม่จำนวนมาก ดินแดนเหล่านี้เคยเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจมาก่อน เมื่อเป็นประเทศเอกราช ได้เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ก็ทำให้มหาอำนาจที่เป็นผู้นำกลุ่มประชาธิปไตยตะวันตกและกลุ่มคอมมิวนิสต์พยายามจะเอามาเป็นพวก
 
รัฐบาลไทยในยุคนั้นมองว่าองค์การสันติภาพสากลเป็นองค์กรที่ฝ่ายซ้ายจะได้อาศัยเป็นแนวร่วม ดังนั้น คนที่ไปร่วมมือจึงถูกเพ่งเล็งจากรัฐบาล ยิ่งไปเติมการคัดค้านสงครามเกาหลีในเวลานั้น ที่รัฐบาลไทยเข้าไปร่วมโดยส่งทหารไทยไปร่วมรบด้วย ยิ่งทำให้รัฐบาลคิดเล่นงานผู้เกี่ยวข้อง เพราะรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม นั้นต่อต้านคอมมิวนิสต์มากๆ
 
ดังนั้น การเมืองภายนอกกับการเมืองภายในจึงเป็นที่มาของกบฏสันติภาพ ดังที่ยกมานี้
 
กรณีกบฏครั้งนี้อัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด 54 ราย บางรายถูกจับกุมมากถึง 20 ปี ผู้ที่ติดคุกมาได้พ้นโทษตาม พ.ร.บ. นิรโทษกรรมเนื่องจากการฉลองพุทธศตวรรษที่ 25 เมื่อ พ.ศ. 2500
 


[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]]
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:49, 15 ตุลาคม 2557

ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เป็นวันการเมืองที่มีเหตุการณ์ซึ่งถูกเรียกว่า “กบฏสันติภาพ” ตอนนั้นรัฐบาลมีนายกรัฐมนตรี ชื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม ทางรัฐบาลได้ให้ตำรวจไปจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยว่าเป็นกบฏเป็นจำนวนมากถึง 104 คน ทั้งนี้ ทางกรมตำรวจได้ออกแถลงการณ์ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 มีความตอนหนึ่งว่า

“...มีบุคคลคณะหนึ่งได้สมคบกันกระทำผิดกฎหมายด้วยการยุยงให้มีการเกลียดชังกันในระหว่างคนไทย...ยุยงให้ทหารที่รัฐบาลส่งออกไปรบในเกาหลี ตามพันธะที่รัฐบาลมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติให้เสื่อมเสียวินัย เมื่อเกิดการปั่นป่วนในบ้านเมืองได้ระยะเวลาเหมาะสมแล้ว ก็จะใช้กำลังเข้าทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบอื่น ซึ่งมิใช่ระบอบประชาธิปไตย...”

ผู้ที่ถูกจับกุมในวันนั้นมีนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์อยู่หลายคน เช่น นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ นายอารีย์ ลีวีระ นายอุทธรณ์ พลกุล นายบุศย์ สิมะเสถียร นายสุวัฒน์ วรดิลก เป็นต้น กับผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น นายมารุต บุนนาค และต่อมาได้จับกุมเพิ่มเติมอีก

ถ้าจะเข้าใจเรื่องราวว่าทำไมเรื่องเกี่ยวกับสันติภาพจึงเป็นกบฏในความคิดเห็นของรัฐบาลในสมัยนั้น ก็อาจต้องมองออกไปที่การเมืองนอกประเทศในขณะนั้นประกอบกับการเมืองภายในประเทศด้วย

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร หรือ กลุ่มประชาธิปไตยตะวันตกที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ กับสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ใหญ่โตของโลกที่เคยร่วมมือกันสู้รบปราบเยอรมนี และฝ่ายอักษะจนได้รับชัยชนะร่วมกันมา ก็เริ่มจะคลายความเป็นมิตรลง และเมื่อสหภาพโซเวียตใช้นโยบายรุกฆาตเอาดินแดนยุโรปตะวันออกไปเป็นบริวารคอมมิวนิสต์ตามลำดับ สหรัฐกับมิตรในยุโรปก็ต้องยืนหยัดสกัดกั้นการแพร่หลาขยายตัวของคอมมิวนิสต์ทั้งในยุโรปและเอเชีย

สงครามร้อนหมดไป แต่มีสงครามเย็นเข้ามาแทนที่และมีการใช้กำลังกันแบบจำกัดเขตในหลายสถานที่ ในยุโรปนั้นที่ประเทศกรีซ สหรัฐอเมริกาก็ใช้ “ลัทธิทรูแมน” (ทรูแมน คือ ชื่อประธานาธิบดีอเมริกาในขณะนั้น) เพื่อใช้กำลังป้องกันกรีซไม่ให้เป็นคอมมิวนิสต์ฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้มแข็งมากขึ้น

สภาพการเมืองระหว่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นมีประเทศเกิดใหม่จำนวนมาก ดินแดนเหล่านี้เคยเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจมาก่อน เมื่อเป็นประเทศเอกราช ได้เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ก็ทำให้มหาอำนาจที่เป็นผู้นำกลุ่มประชาธิปไตยตะวันตกและกลุ่มคอมมิวนิสต์พยายามจะเอามาเป็นพวก

รัฐบาลไทยในยุคนั้นมองว่าองค์การสันติภาพสากลเป็นองค์กรที่ฝ่ายซ้ายจะได้อาศัยเป็นแนวร่วม ดังนั้น คนที่ไปร่วมมือจึงถูกเพ่งเล็งจากรัฐบาล ยิ่งไปเติมการคัดค้านสงครามเกาหลีในเวลานั้น ที่รัฐบาลไทยเข้าไปร่วมโดยส่งทหารไทยไปร่วมรบด้วย ยิ่งทำให้รัฐบาลคิดเล่นงานผู้เกี่ยวข้อง เพราะรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม นั้นต่อต้านคอมมิวนิสต์มากๆ

ดังนั้น การเมืองภายนอกกับการเมืองภายในจึงเป็นที่มาของกบฏสันติภาพ ดังที่ยกมานี้

กรณีกบฏครั้งนี้อัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด 54 ราย บางรายถูกจับกุมมากถึง 20 ปี ผู้ที่ติดคุกมาได้พ้นโทษตาม พ.ร.บ. นิรโทษกรรมเนื่องจากการฉลองพุทธศตวรรษที่ 25 เมื่อ พ.ศ. 2500