ผลต่างระหว่างรุ่นของ "14 ตุลาคม พ.ศ. 2516"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์(พิเศษ) นรนิติ เศรษฐบุตร
'''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


----
----
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:


----
----
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นวันที่นิสิต นักศึกษา และประชาชนได้ลุกฮือขึ้นล้มรัฐบาลทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร และคณะได้สำเร็จ นายกรัฐมนตรีต้องยอมประกาศลาออกจากตำแหน่ง เหตุการณ์ล่าสุดที่นำมาสู่การลุกฮือขึ้นล้มรัฐบาลในวันนี้ มาจากการที่ อาจารย์ นักศึกษา และประชาชน จำนวน 12 คน ได้เดินแจกใบปลิวเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และถูกตำรวจจับเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2516 แต่แทนที่ผู้คนจะกลัวการจับกุมของตำรวจ ผู้คนกลับมีอารมณ์ร่วมในการต่อต้านรัฐบาล
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นวันที่นิสิต นักศึกษา และประชาชนได้ลุกฮือขึ้นล้ม[[รัฐบาล]]ทหารของ[[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม  กิตติขจร]] และคณะได้สำเร็จ [[นายกรัฐมนตรี]]ต้องยอมประกาศลาออกจากตำแหน่ง เหตุการณ์ล่าสุดที่นำมาสู่การลุกฮือขึ้นล้มรัฐบาลในวันนี้ มาจากการที่ อาจารย์ นักศึกษา และประชาชน จำนวน 12 คน ได้เดินแจกใบปลิวเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญ]] และถูกตำรวจจับเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2516 แต่แทนที่ผู้คนจะกลัวการจับกุมของตำรวจ ผู้คนกลับมีอารมณ์ร่วมในการต่อต้านรัฐบาล
นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เริ่มชุมนุมประท้วงการจับกุมนักศึกษาและประชาชนของรัฐบาลในบริเวณมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และการชุมนุมประท้วงในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้รับความสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้เรียกร้องและยื่นคำขาดให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ที่ตำรวจจับตัวไปทั้งหมด ที่เพิ่มเป็น 13 คน ภายในเที่ยงวันของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516
นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เริ่ม[[ชุมนุมประท้วง]]การจับกุมนักศึกษาและประชาชนของรัฐบาลในบริเวณมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และการชุมนุมประท้วงในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้รับความสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้น [[ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย]]ได้เรียกร้องและยื่นคำขาดให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ที่ตำรวจจับตัวไปทั้งหมด ที่เพิ่มเป็น 13 คน ภายในเที่ยงวันของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516
เมื่อพ้นกำหนดเวลาทางรัฐบาลยังไม่ทำตามที่ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเรียกร้อง นักศึกษาจึงเคลื่อนขบวนนิสิตนักศึกษาจำนวนมากออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางไปตามถนนราชดำเนินกลาง ผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า และหยุดชุมนุมประท้วงรัฐบาลอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า การชุมนุมประท้วงได้ยืดเยื้อมาจนถึงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
เมื่อพ้นกำหนดเวลาทางรัฐบาลยังไม่ทำตามที่ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเรียกร้อง นักศึกษาจึงเคลื่อน[[ขบวนนิสิตนักศึกษา]]จำนวนมากออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางไปตามถนนราชดำเนินกลาง ผ่าน[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]] ไปยัง[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] และหยุดชุมนุมประท้วงรัฐบาลอยู่ที่[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] การชุมนุมประท้วงได้ยืดเยื้อมาจนถึงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นี่เองที่มีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารและนิสิต นักศึกษา ประชาชนที่ประท้วงรัฐบาล  ทางเจ้าหน้าที่รัฐบาลได้ใช้กำลังและอาวุธ ทำให้มีนิสิต นักศึกษาและประชาชนเสียชีวิตหลายคน เหตุการณ์ของการใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรง ทำให้รัฐบาลหมดความชอบธรรม จอมพลถนอม  กิตติขจร ต้องยอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีการแต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อคลี่คลายปัญหา
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นี่เองที่มีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารและนิสิต นักศึกษา ประชาชนที่ประท้วงรัฐบาล  ทางเจ้าหน้าที่รัฐบาลได้ใช้กำลังและอาวุธ ทำให้มีนิสิต นักศึกษาและประชาชนเสียชีวิตหลายคน เหตุการณ์ของการใช้กำลังปราบปรามอย่าง[[รุนแรง]] ทำให้รัฐบาลหมด[[ความชอบธรรม]] จอมพลถนอม  กิตติขจร ต้องยอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีการแต่งตั้ง [[สัญญา ธรรมศักดิ์|นายสัญญา ธรรมศักดิ์]] อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อคลี่คลายปัญหา


เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงเป็นเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองของไทยที่มีความหมายมากต่อการสร้างประชาธิปไตยต่อมาจากเหตุการณ์ยึดอำนาจและการสร้างประชาธิปไตยยุคแรกของไทยในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงเป็นเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองของไทยที่มีความหมายมากต่อการสร้างประชาธิปไตยต่อมาจากเหตุการณ์ยึดอำนาจและการสร้างประชาธิปไตยยุคแรกของไทยในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:04, 14 ตุลาคม 2557

ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นวันที่นิสิต นักศึกษา และประชาชนได้ลุกฮือขึ้นล้มรัฐบาลทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร และคณะได้สำเร็จ นายกรัฐมนตรีต้องยอมประกาศลาออกจากตำแหน่ง เหตุการณ์ล่าสุดที่นำมาสู่การลุกฮือขึ้นล้มรัฐบาลในวันนี้ มาจากการที่ อาจารย์ นักศึกษา และประชาชน จำนวน 12 คน ได้เดินแจกใบปลิวเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และถูกตำรวจจับเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2516 แต่แทนที่ผู้คนจะกลัวการจับกุมของตำรวจ ผู้คนกลับมีอารมณ์ร่วมในการต่อต้านรัฐบาล

นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เริ่มชุมนุมประท้วงการจับกุมนักศึกษาและประชาชนของรัฐบาลในบริเวณมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และการชุมนุมประท้วงในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้รับความสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้เรียกร้องและยื่นคำขาดให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ที่ตำรวจจับตัวไปทั้งหมด ที่เพิ่มเป็น 13 คน ภายในเที่ยงวันของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516

เมื่อพ้นกำหนดเวลาทางรัฐบาลยังไม่ทำตามที่ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเรียกร้อง นักศึกษาจึงเคลื่อนขบวนนิสิตนักศึกษาจำนวนมากออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางไปตามถนนราชดำเนินกลาง ผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า และหยุดชุมนุมประท้วงรัฐบาลอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า การชุมนุมประท้วงได้ยืดเยื้อมาจนถึงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516

วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นี่เองที่มีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารและนิสิต นักศึกษา ประชาชนที่ประท้วงรัฐบาล ทางเจ้าหน้าที่รัฐบาลได้ใช้กำลังและอาวุธ ทำให้มีนิสิต นักศึกษาและประชาชนเสียชีวิตหลายคน เหตุการณ์ของการใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรง ทำให้รัฐบาลหมดความชอบธรรม จอมพลถนอม กิตติขจร ต้องยอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีการแต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อคลี่คลายปัญหา

เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงเป็นเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองของไทยที่มีความหมายมากต่อการสร้างประชาธิปไตยต่อมาจากเหตุการณ์ยึดอำนาจและการสร้างประชาธิปไตยยุคแรกของไทยในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475