ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทุนนิยม"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' รศ.ดร.ปธาน  สุวรรณมงคล
'''ผู้เรียบเรียง''' รศ.ดร.ปธาน  สุวรรณมงคล
----
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์


----
----


== ทุนนิยม ==
== ทุนนิยม ==


ทุนนิยม (Capitalism) หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่นายจ้างคือเจ้าของปัจจัยการผลิต อันได้แก่ ที่ดิน ทุน และการประกอบการ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ผลกำไรสูงสุด โดยใช้ปัจจัยการผลิตน้อยที่สุด  ส่วนแรงงานมีฐานะเป็นเพียงปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่ง  แรงงานจึงต้องพึ่งพานายจ้าง และด้วยจำนวนแรงงานที่มีอย่างมากมาย จึงมักถูกกดขี่อย่างไร้มนุษยธรรม  ระบบทุนนิยมมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
ทุนนิยม (Capitalism) หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่นายจ้างคือเจ้าของปัจจัยการผลิต อันได้แก่ ที่ดิน ทุน และการประกอบการ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ผลกำไรสูงสุด โดยใช้ปัจจัยการผลิตน้อยที่สุด  ส่วนแรงงานมีฐานะเป็นเพียงปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่ง  แรงงานจึงต้องพึ่งพานายจ้าง และด้วยจำนวนแรงงานที่มีอย่างมากมาย จึงมักถูกกดขี่อย่างไร้มนุษยธรรม  ระบบทุนนิยมมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
บรรทัดที่ 15: บรรทัดที่ 18:


4. อิสระในการบริหาร  ลัทธิทุนนิยมต้องการอิสระในการบริหารงานโดยปราศจาก[[การแทรกแซง]]ของรัฐบาล  เพราะในความคิดของพวก[[ทุนนิยม]]เชื่อว่า[[รัฐบาล]]ไม่มีทางเข้าใจได้หมดว่าเอกชนต้องการอะไร
4. อิสระในการบริหาร  ลัทธิทุนนิยมต้องการอิสระในการบริหารงานโดยปราศจาก[[การแทรกแซง]]ของรัฐบาล  เพราะในความคิดของพวก[[ทุนนิยม]]เชื่อว่า[[รัฐบาล]]ไม่มีทางเข้าใจได้หมดว่าเอกชนต้องการอะไร
[[หมวดหมู่: สารานุกรมการเมืองไทย]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:29, 28 พฤษภาคม 2555

ผู้เรียบเรียง รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์


ทุนนิยม

ทุนนิยม (Capitalism) หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่นายจ้างคือเจ้าของปัจจัยการผลิต อันได้แก่ ที่ดิน ทุน และการประกอบการ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ผลกำไรสูงสุด โดยใช้ปัจจัยการผลิตน้อยที่สุด ส่วนแรงงานมีฐานะเป็นเพียงปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่ง แรงงานจึงต้องพึ่งพานายจ้าง และด้วยจำนวนแรงงานที่มีอย่างมากมาย จึงมักถูกกดขี่อย่างไร้มนุษยธรรม ระบบทุนนิยมมีลักษณะที่สำคัญดังนี้

1. การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญ ซึ่งหมายความรวมถึงการอนุญาตให้เอกชนสามารถถือครองทรัพย์สินได้มากเท่าที่จะหามาได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

2. การแข่งขันเสรี ลัทธิทุนนิยมสนับสนุนให้มีการแข่งขันเสรี ซึ่งจะทำให้ผู้ขายเสนอราคาที่เหมาะสมที่สุดด้วยศักยภาพการผลิตที่ดีที่สุด คนที่ไม่เหมาะสมกับการผลิตประเภทนั้น ๆ จะถูกกดดันออกจากตลาดและเหลือแต่ผู้ผลิตที่มีประสิทธิภาพ

3. ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ซึ่งหมายถึงระบบที่อนุญาตให้เอกชนสามารถลงทุนในการผลิตหรือใช้จ่ายเงินเพื่อหาซื้อสินค้าและบริการได้ตามความสามารถและความต้องการ โดยไม่มีกฎระเบียบหรือข้อบังคับจากรัฐบาล โดยเชื่อว่าในที่สุดจะทำให้ราคาของสินค้าและบริการอยู่ในจุดสมดุล คือจุดที่ผู้ซื้อและผู้ผลิตมีความเห็นตรงกันว่าราคาอยู่ในช่วงที่เหมาะสม

4. อิสระในการบริหาร ลัทธิทุนนิยมต้องการอิสระในการบริหารงานโดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาล เพราะในความคิดของพวกทุนนิยมเชื่อว่ารัฐบาลไม่มีทางเข้าใจได้หมดว่าเอกชนต้องการอะไร