ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' อลงกรณ์ อรรคแสง ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบ... |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
== พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517 == | == พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517 == | ||
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517 | พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม[[พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ. 2482]] และ [[พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2498]] อยู่หลายประการ ได้แก่ | ||
'''1. การกำหนดให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในกฎหมาย''' <ref>พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517, ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 91 ตอนที่ 215 วันที่ 17 ธันวาคม 2517, น.33. มาตรา 3.</ref> โดย | '''1. การกำหนดให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในกฎหมาย''' <ref>พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517, ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 91 ตอนที่ 215 วันที่ 17 ธันวาคม 2517, น.33. มาตรา 3.</ref> โดย | ||
::1.1 ให้ใช้คำว่า | ::1.1 ให้ใช้คำว่า “[[หน่วยเลือกตั้ง]]” แทนที่ “หน่วยลงคะแนน” | ||
::1.2 ให้ใช้คำว่า “ที่เลือกตั้ง” แทนที่ “ที่ลงคะแนน” | ::1.2 ให้ใช้คำว่า “ที่เลือกตั้ง” แทนที่ “ที่ลงคะแนน” | ||
บรรทัดที่ 28: | บรรทัดที่ 28: | ||
|- | |- | ||
|align="center" |1 | |align="center" |1 | ||
|ผู้ที่มีสัญชาติไทยคนใด ถ้าบิดาเป็นคนต่างด้าว | |ผู้ที่มีสัญชาติไทยคนใด ถ้าบิดาเป็นคนต่างด้าว ต้องเป็นผู้ที่ได้เรียนภาษาไทยจนได้รับประกาศนียบัตรไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่หกตามหลักสูตรของ[[กระทรวงศึกษาธิการ]] หรือได้รับราชการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือเป็นครูประชาบาล พนักงาน[[เทศบาล]] หรือ พนักงาน[[สุขาภิบาล]] โดยมีเงินเดือนประจำมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี | ||
|align="center" |ยกเลิก | |align="center" |ยกเลิก | ||
|- | |- | ||
บรรทัดที่ 41: | บรรทัดที่ 41: | ||
2.3 เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี | 2.3 เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี | ||
2.4 | 2.4 เป็นหรือเคยเป็น[[สมาชิกสภาจังหวัด]] [[สมาชิกสภาเทศบาล]] กรรมการสุขาภิบาล กรรมการตำบล หรือผู้ใหญ่บ้าน | ||
|- | |- | ||
บรรทัดที่ 64: | บรรทัดที่ 64: | ||
|align="center" |2 | |align="center" |2 | ||
|align="center"|-ไม่มี- | |align="center"|-ไม่มี- | ||
|บุคคลผู้มีสัญชาติไทยและมีสัญชาติอื่นด้วยในขณะเดียวกัน เว้นแต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย โดยการเกิดในต่างประเทศ จะเป็นผู้สมัครได้ต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมปีที่หกหรือมัธยมศึกษาปีที่สาม ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ | |บุคคลผู้มีสัญชาติไทยและมีสัญชาติอื่นด้วยในขณะเดียวกัน เว้นแต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย โดยการเกิดในต่างประเทศ จะเป็นผู้สมัครได้ต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมปีที่หกหรือมัธยมศึกษาปีที่สาม ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าหรือรับรองได้ไม่ต่ำกว่านั้น และมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ | ||
1. รับหรือเคยรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร | 1. รับหรือเคยรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร | ||
บรรทัดที่ 87: | บรรทัดที่ 87: | ||
|align="center" |6 | |align="center" |6 | ||
|align="center"|-ไม่มี- | |align="center"|-ไม่มี- | ||
| | |ไม่เคยเป็นข้าราชการซึ่งถูกไล่ออกหรือปลดออกเพราะ[[ทุจริต]]ต่อหน้าที่ราชการ หรือเคยเป็นพนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล หรือ พนักงานองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งถูกไล่ออกหรือปลดออกหรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่ยังไม่ครบเจ็ดปีนับแต่วันที่ถูกไล่ออก ปลดออก หรือเลิกจ้างแล้วแต่กรณี จนถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง | ||
|- | |- | ||
|align="center" |7 | |align="center" |7 | ||
บรรทัดที่ 95: | บรรทัดที่ 95: | ||
|} | |} | ||
ข้อสังเกตประการหนึ่งเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517 | ข้อสังเกตประการหนึ่งเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517 คือการห้ามสมาชิก[[วุฒิสภา]] สมาชิก[[สภาผู้แทนราษฎร]] สมาชิก[[สภาเทศบาล]] หรือ กรรมการ[[สุขาภิบาล]] สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ประการนี้นับเป็นครั้งแรกที่กฎหมายได้มีบทบัญญัติห้ามบุคคลดังกล่าวสมัครรับเลือกตั้ง เพราะก่อนหน้านั้น บุคคลที่ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาเทศบาล หรือ กรรมการสุขาภิบาล ก็สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดได้ เพราะ[[กฎหมาย]]ไม่ได้ห้ามบุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัดในเวลาเดียวกัน กล่าวคือบุคคลหนึ่งๆ สามารถที่จะสวมหมวกได้หลายใบ เช่น สามารถดำรงตำแหน่งสมาชิกผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาจังหวัดได้ในเวลาเดียวกัน หรือ สามารถดำรงตำแหน่งสมาชิกผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาเทศบาลได้ในเวลาเดียวกัน กรณีดังกล่าวนี้ได้แก่ นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปางและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองลำปางในเวลาเดียวกัน | ||
หลักการและแนวปฏิบัติดังกล่าวนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับในประเทศฝรั่งเศส ที่นักการเมืองสามารถสวมหมวกได้หลายใบ แต่กรณีดังนี้ในประเทศไทยได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517 | หลักการและแนวปฏิบัติดังกล่าวนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับในประเทศฝรั่งเศส ที่นักการเมืองสามารถสวมหมวกได้หลายใบ แต่กรณีดังนี้ในประเทศไทยได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517 | ||
บรรทัดที่ 109: | บรรทัดที่ 109: | ||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== | ||
<references/> | <references/> | ||
[[หมวดหมู่: | [[หมวดหมู่:กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:54, 16 สิงหาคม 2554
ผู้เรียบเรียง อลงกรณ์ อรรคแสง
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ. 2482 และ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2498 อยู่หลายประการ ได้แก่
1. การกำหนดให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในกฎหมาย [1] โดย
- 1.1 ให้ใช้คำว่า “หน่วยเลือกตั้ง” แทนที่ “หน่วยลงคะแนน”
- 1.2 ให้ใช้คำว่า “ที่เลือกตั้ง” แทนที่ “ที่ลงคะแนน”
- 1.3 ให้ใช้คำว่า “หน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง” แทนที่ “หน่วยลงคะแนนและที่ลงคะแนน”
2. การแก้ไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง[2] ได้แก่
ลำดับ | พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2498 | พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517 |
---|---|---|
1 | ผู้ที่มีสัญชาติไทยคนใด ถ้าบิดาเป็นคนต่างด้าว ต้องเป็นผู้ที่ได้เรียนภาษาไทยจนได้รับประกาศนียบัตรไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่หกตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือได้รับราชการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือเป็นครูประชาบาล พนักงานเทศบาล หรือ พนักงานสุขาภิบาล โดยมีเงินเดือนประจำมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี | ยกเลิก |
2 | ถ้าบุคคลได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในข้อ 1 ข้างต้น และได้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยติดต่อกันนับแต่วันที่ได้แปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี | ถ้าบุคคลได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ จะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ ต้องมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยติดต่อกันนับแต่ได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี และต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
2.1 สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าชันมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามหลักสูตรของกระทรวง ศึกษาธิการหรือความรู้ที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า 2.2 รับหรือเคยรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร 2.3 เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี 2.4 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล กรรมการสุขาภิบาล กรรมการตำบล หรือผู้ใหญ่บ้าน |
3 | ไม่เป็นบุคคลหูหนวก หรือเป็นใบ้ หรือบุคคลซึ่งตาบอดทั้งสองข้าง | ไม่เป็นบุคคลหูหนวกและเป็นใบ้ซึ่งไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ (กลับไปเหมือนกฎหมาย พ.ศ.2482) |
3. การแก้ไขคุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง [3] ได้แก่
ลำดับ | พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2498 | พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517 |
---|---|---|
1 | มีอายุ 30 ปี บริบูรณ์ | มีอายุ 23 ปี บริบูรณ์ (กลับไปเหมือนกฎหมาย พ.ศ.2482) |
2 | -ไม่มี- | บุคคลผู้มีสัญชาติไทยและมีสัญชาติอื่นด้วยในขณะเดียวกัน เว้นแต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย โดยการเกิดในต่างประเทศ จะเป็นผู้สมัครได้ต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมปีที่หกหรือมัธยมศึกษาปีที่สาม ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าหรือรับรองได้ไม่ต่ำกว่านั้น และมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
1. รับหรือเคยรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร 2. เคยเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี 3. เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล กรรมการสุขาภิบาล กรรมการตำบล กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน |
3 | -ไม่มี- | บุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ จะเป็นผู้สมัครได้ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 2 ด้านบน และได้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยติดต่อกันนับแต่ได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี |
4 | ไม่เป็นบุคคลที่เป็นโรคติดต่อตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง หรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง | ไม่เป็นโรคเรื้อน วัณโรคระยะอันตรายหรือโรคพิษสุราเรื้อรัง |
5 | ไม่เป็นผู้รับโทษหรือเคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่มีกำหนดโทษชั้นลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท | ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท |
6 | -ไม่มี- | ไม่เคยเป็นข้าราชการซึ่งถูกไล่ออกหรือปลดออกเพราะทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือเคยเป็นพนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล หรือ พนักงานองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งถูกไล่ออกหรือปลดออกหรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่ยังไม่ครบเจ็ดปีนับแต่วันที่ถูกไล่ออก ปลดออก หรือเลิกจ้างแล้วแต่กรณี จนถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง |
7 | -ไม่มี- | ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาเทศบาล หรือ กรรมการสุขาภิบาล |
ข้อสังเกตประการหนึ่งเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517 คือการห้ามสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาเทศบาล หรือ กรรมการสุขาภิบาล สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ประการนี้นับเป็นครั้งแรกที่กฎหมายได้มีบทบัญญัติห้ามบุคคลดังกล่าวสมัครรับเลือกตั้ง เพราะก่อนหน้านั้น บุคคลที่ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาเทศบาล หรือ กรรมการสุขาภิบาล ก็สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามบุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัดในเวลาเดียวกัน กล่าวคือบุคคลหนึ่งๆ สามารถที่จะสวมหมวกได้หลายใบ เช่น สามารถดำรงตำแหน่งสมาชิกผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาจังหวัดได้ในเวลาเดียวกัน หรือ สามารถดำรงตำแหน่งสมาชิกผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาเทศบาลได้ในเวลาเดียวกัน กรณีดังกล่าวนี้ได้แก่ นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปางและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองลำปางในเวลาเดียวกัน
หลักการและแนวปฏิบัติดังกล่าวนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับในประเทศฝรั่งเศส ที่นักการเมืองสามารถสวมหมวกได้หลายใบ แต่กรณีดังนี้ในประเทศไทยได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517
ที่มา
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น พุทธศักราช 2482, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 56 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2482. น.1604-1636.
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2498, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 72 ตอนที่ 11 วันที่ 8 กุมภาพันธ์, น.200-207.
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517, ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 91 ตอนที่ 215 วันที่ 17 ธันวาคม 2517, น.32-40.
อ้างอิง
- ↑ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517, ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 91 ตอนที่ 215 วันที่ 17 ธันวาคม 2517, น.33. มาตรา 3.
- ↑ เพิ่งอ้าง, มาตรา 5, 6 และ 7. และ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2498, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 72 ตอนที่ 11 วันที่ 8 กุมภาพันธ์, น.202-203. มาตรา 4, 5, และ 6.
- ↑ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2517 (อ้างแล้ว), มาตรา 5, 6, 7, 8 และ 9 และ การเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2498 (อ้างแล้ว), มาตรา 4, 5, 6, 7 และ 8.