ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | '''ผู้เรียบเรียง''' รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 26: | บรรทัดที่ 26: | ||
[[หมวดหมู่:การจัดการเลือกตั้ง]] | [[หมวดหมู่:การจัดการเลือกตั้ง]] | ||
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:56, 4 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งจะแต่งตั้ง “คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง” เพื่อทำหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตแต่ละเขต ประกอบด้วยกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน กระบวนการสรรหาและแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งนั้น เริ่มต้นจากคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด พิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถอันเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยการ และรับผิดชอบการจัดการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง และเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริต จากนั้นจึงจัดทำรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง เพื่อส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งต่อไป
คณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง มีอำนาจหน้าที่ครอบคลุมการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้ง ได้แก่ การอำนวยการและรับผิดชอบการจัดการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่รับผิดชอบ การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและสถานที่เลือกตั้ง การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การเพิ่มชื่และการถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง การกำกับดูแลการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การนับคะแนนเลือกตั้ง และการประกาศผลการนับคะแนน การกำกับดูแลการทำงานของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง รวมทั้งปฏิบัติการอื่นที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมอบหมายหรือมีคำสั่ง
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลจัดการให้การเลือกตั้งในแต่ละเขตเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งในเขตที่รับผิดชอบนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งสามารถแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประจำเขตเลือกตั้ง หรือคณะอนุกรรมการประจำอำเภอ รวมถึงคณะอนุกรรมการอื่น ๆ หรืออาจแต่งตั้งคณะบุคคล เพื่อทำหน้าที่ผู้ช่วยเหลือในการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น ภายใต้หลักเกณฑ์และกรอบวงเงินงบประมาณที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ทั้งนี้เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างถูกต้องรัดกุมและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ที่มา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550
ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งและคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง พ.ศ. 2550