ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2533)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
:'''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | :'''ผู้เรียบเรียง''' รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
== การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3 (2533) == | == การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3 (2533) == | ||
[[พล.ต. จำลอง ศรีเมือง]] | [[จำลอง ศรีเมือง|พล.ต. จำลอง ศรีเมือง]] ในฐานะ[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]]ที่มาจากการเลือกตั้งคนที่ 2 ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆจากประชาชนชาว[[กรุงเทพมหานคร]] โดยเฉพาะภาพลักษณ์ที่[[โปร่งใส]] มือสะอาด ธรรมะธรรโม สมถะ ไม่ถือตัว และเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหาของคนกรุงเทพ เมื่อครบ 4 ปี กรุงเทพมหานครได้จัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 3 ในวันที่ 7 มกราคม 2533 โดยมีผู้สมัครทั้งสังกัด[[พรรคการเมือง]]และไม่สังกัดพรรคการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้ง เช่น พล.ต.จำลอง ศรีเมือง สังกัดพรรคพลังธรรม<ref>พรรคพลังธรรมเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยพล.ต.จำลอง ในปี 2531 โดยมีฐานสมาชิกหลักจาก กลุ่ม[[สันติอโศก]]</ref> , นายเดโช สวนานนท์ จากพรรคประชากรไทย, นายประวิทย์ รุจิรวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์ และมี[[ผู้สมัครอิสระ]] 2 คนคือ นายนิยม ปุราคำ อดีตเลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ และนายวรัญชัย โชคชนะ | ||
ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พล.ต.จำลอง ศรีเมือง จาก[[พรรคพลังธรรม]] ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดถึง 703,672 หรือร้อยละ 35.85 ได้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นสมัยที่ 2 | ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พล.ต.จำลอง ศรีเมือง จาก[[พรรคพลังธรรม]] ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดถึง 703,672 หรือร้อยละ 35.85 ได้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นสมัยที่ 2 | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
<references/> | <references/> | ||
[[หมวดหมู่:การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] | [[หมวดหมู่:การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] | ||
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:05, 25 สิงหาคม 2554
- ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
- ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3 (2533)
พล.ต. จำลอง ศรีเมือง ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งคนที่ 2 ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆจากประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะภาพลักษณ์ที่โปร่งใส มือสะอาด ธรรมะธรรโม สมถะ ไม่ถือตัว และเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหาของคนกรุงเทพ เมื่อครบ 4 ปี กรุงเทพมหานครได้จัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 3 ในวันที่ 7 มกราคม 2533 โดยมีผู้สมัครทั้งสังกัดพรรคการเมืองและไม่สังกัดพรรคการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้ง เช่น พล.ต.จำลอง ศรีเมือง สังกัดพรรคพลังธรรม[1] , นายเดโช สวนานนท์ จากพรรคประชากรไทย, นายประวิทย์ รุจิรวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์ และมีผู้สมัครอิสระ 2 คนคือ นายนิยม ปุราคำ อดีตเลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ และนายวรัญชัย โชคชนะ
ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พล.ต.จำลอง ศรีเมือง จากพรรคพลังธรรม ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดถึง 703,672 หรือร้อยละ 35.85 ได้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ แม้ว่าพล.ต.จำลองจะได้รับความนิยมอย่างมากจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร แต่พล.ต.จำลองต้องประสบกับการโจมตีอย่างมากจากพรรคการเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นที่ว่าพล.ต.จำลองเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมโดยรัฐในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และประเด็นที่ว่า สันติอโศก ซึ่งเป็นองค์กรศาสนาที่พล.ต.จำลองเกี่ยวข้องอยู่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ Duncan McCargo ชี้ว่า สาเหตุของการโจมตีมีที่มาจากการที่พล.ต.จำลองได้ตั้งพรรคการเมืองของตนเองขึ้นมา คือ พรรคพลังธรรม และประกาศจะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรคด้วย ส่งผลให้พรรคการเมืองอื่นๆเกรงว่า ชัยชนะของพล.ต.จำลองในครั้งที่ 2 จะนำไปสู่การขยายอิทธิพลความนิยมของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อพรรคพลังธรรม ซึ่งจะทำให้ฐานเสียงของพรรคการเมืองอื่นสั่นคลอน[2]
หลังจาก พล.ต.จำลองดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาเพียง 2 ปีเศษ พล.ต.จำลองได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในเดือน มีนาคม 2535 ก่อนครบวาระ เนื่องจาก พล.ต.จำลองต้องการนำพรรคพลังธรรมลงสมัครรับเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ที่มาจากการยึดอำนาจโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)