ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คนดี (พ.ศ. 2499)"
สร้างหน้าใหม่: '''พรรคคนดี (2499)''' พรรคคนดี เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจั... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
''' | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
---- | |||
==พรรคคนดี (2499)== | |||
พรรคคนดี เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 โดยได้ยื่นจดทะเบียนต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 เลขทะเบียนที่ 9/2499 โดยมีนายใหญ่ สีมะสิงห์ เป็น[[หัวหน้าพรรค]] และนางละเอียด สีมะสิงห์ เป็น[[เลขาธิการพรรค]] ที่ตั้งสำนักงานใหญ่คือ เลขที่ 128 ถนนมีชัย ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย | |||
== นโยบายของพรรคคนดี== | |||
นโยบายด้านการปกครองภายใน พรรคคนดีจะให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความสงบสุข ปราศจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน | นโยบายด้านการต่างประเทศ พรรคคนดี จะเสริมสร้างมิตรภาพกับนานาประเทศโดยถือ[[หลักเท่าเทียม]]กัน หากผิดพ้องหมองหมางก็จักดำเนินการโดยสันติ | ||
นโยบายด้านการปกครองภายใน พรรคคนดีจะให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความสงบสุข ปราศจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน จะอบรมบ่มนิสัยให้เคารพต่อบทบัญญัติแห่ง[[รัฐธรรมนูญ]]และ[[กฎหมาย]] | |||
นโยบายด้านการเกษตร พรรคคนดีจะสร้างเสริมให้มีเครื่องมือดี 1 พันธุ์พืชดี 1 น้ำดี 1 และดินก็ต้องดี 1 | นโยบายด้านการเกษตร พรรคคนดีจะสร้างเสริมให้มีเครื่องมือดี 1 พันธุ์พืชดี 1 น้ำดี 1 และดินก็ต้องดี 1 | ||
บรรทัดที่ 22: | บรรทัดที่ 25: | ||
นโยบายด้านการศาล พรรคคนดีจะให้ผู้พิพากษามีอิสระพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดยเร็ว | นโยบายด้านการศาล พรรคคนดีจะให้ผู้พิพากษามีอิสระพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดยเร็ว | ||
นโยบายด้านการทหาร พรรคคนดีจะกำหนดให้พลเมืองชายทุกคนต้องเกณฑ์ทหาร และต้องเคารพสักการะพระมหากษัตริย์ | นโยบายด้านการทหาร พรรคคนดีจะกำหนดให้พลเมืองชายทุกคนต้องเกณฑ์ทหาร และต้องเคารพสักการะพระมหากษัตริย์ แต่ระหว่างที่ประจำการต้องห้ามมิให้ใช้[[สิทธิทางการเมือง]] | ||
นโยบายด้านการสาธารณสุข พรรคคนดีจะหนักไปทางป้องกันมากกว่าการรักษาพยาบาล | นโยบายด้านการสาธารณสุข พรรคคนดีจะหนักไปทางป้องกันมากกว่าการรักษาพยาบาล | ||
นโยบายด้านเศรษฐกิจ พรรคคนดีจะสงวนและส่งเสริมการค้าสำหรับคนไทย ไม่ว่าคนไทยนั้นจะมีสัญชาติตามโลหิตหรือสัญชาติตามดินแดน จะล้มเลิกระบบ “ไม่เป็นไร” “สงสาร” | นโยบายด้านเศรษฐกิจ พรรคคนดีจะสงวนและส่งเสริมการค้าสำหรับคนไทย ไม่ว่าคนไทยนั้นจะมีสัญชาติตามโลหิตหรือสัญชาติตามดินแดน จะล้มเลิกระบบ “ไม่เป็นไร” “สงสาร” และ[[อภิสิทธิ์]]ต่าง ๆ ด้วยวิธีการสหกรณ์ จะหามาตรการแก้ปัญหาคนล้นงานหรือคนเลือกงาน โดยต้องให้คนได้ทำงานตามความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้มีคนเกาะคนกินให้น้อยที่สุด | ||
พรรคคนดีได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว เช่นเดียวกับพรรคขนาดเล็กอื่น ๆ ที่จัดตั้งขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันนี้ | พรรคคนดีได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว เช่นเดียวกับพรรคขนาดเล็กอื่น ๆ ที่จัดตั้งขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันนี้ | ||
== ที่มา == | |||
'''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่มที่ 73 ตอนที่ 105 ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2499, หน้า 3796-3799 | '''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่มที่ 73 ตอนที่ 105 ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2499, หน้า 3796-3799 |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:18, 15 มีนาคม 2554
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคคนดี (2499)
พรรคคนดี เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 โดยได้ยื่นจดทะเบียนต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 เลขทะเบียนที่ 9/2499 โดยมีนายใหญ่ สีมะสิงห์ เป็นหัวหน้าพรรค และนางละเอียด สีมะสิงห์ เป็นเลขาธิการพรรค ที่ตั้งสำนักงานใหญ่คือ เลขที่ 128 ถนนมีชัย ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
นโยบายของพรรคคนดี
นโยบายด้านการต่างประเทศ พรรคคนดี จะเสริมสร้างมิตรภาพกับนานาประเทศโดยถือหลักเท่าเทียมกัน หากผิดพ้องหมองหมางก็จักดำเนินการโดยสันติ
นโยบายด้านการปกครองภายใน พรรคคนดีจะให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความสงบสุข ปราศจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน จะอบรมบ่มนิสัยให้เคารพต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
นโยบายด้านการเกษตร พรรคคนดีจะสร้างเสริมให้มีเครื่องมือดี 1 พันธุ์พืชดี 1 น้ำดี 1 และดินก็ต้องดี 1
นโยบายด้านการอุตสาหกรรม พรรคคนดีจะควบคุมและสร้างเสริมอุตสาหกรรมให้ได้ส่วนกับวัตถุดิบ และทรัพยากรธรรมชาติ โดยจะขจัดปัญหาเรื่อง “ชะเง้อ” ให้หมดไป กล่าวคือ ผู้คิดตั้งโรงงานก็ “ชะเง้อ” ว่าจะได้วัตถุดิบที่ไหนมาป้อนโรงงาน และผู้ที่จะผลิตวัตถุดิบก็ “ชะเง้อ” ว่าเมื่อผลิตแล้วจะนำไปสู่โรงงานได้ที่ไหน หากประชาชนไม่อาจที่จะทำได้ ก็จะต้องเข้าจัดการดำเนินการผลิตให้เป็นแบบอย่างแก่ประชาชน
นโยบายด้านการคมนาคม พรรคคนดี จะมุ่งพัฒนาการคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจเป็นหลัก และการคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางยุทธศาสตร์เป็นอันดับรอง ส่วนทางชนิดอื่น ๆ จะสร้างเสริมให้น้อยที่สุด สำหรับการสื่อสาร พรรคคนดีเห็นว่าจะต้องพัฒนาให้มีความรวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่
นโยบายด้านการคลัง พรรคคนดีจะถือว่าภาษีทางอ้อมสำคัญกว่าทางตรง สำหรับงบประมาณก็จะเคร่งครัดในด้านรายจ่ายมากกว่ารายรับ คือคิดว่าจะบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนปีไหน มีโครงการและแผนงานอย่างไร ใช้เงินจำนวนเท่าใดก่อน จากนั้นจึงคิดว่าจะเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมจากประชาชนให้พอดีกัน ส่วนเงินคลังก็จะให้มีไว้เท่าที่จำเป็น
นโยบายด้านการศึกษาและศาสนา พรรคคนดีจะจัดหรือสร้างเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานะให้ทั่วถึง และจะถือเอาวัดเป็นหลักในการศึกษาอบรม
นโยบายด้านการศาล พรรคคนดีจะให้ผู้พิพากษามีอิสระพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดยเร็ว
นโยบายด้านการทหาร พรรคคนดีจะกำหนดให้พลเมืองชายทุกคนต้องเกณฑ์ทหาร และต้องเคารพสักการะพระมหากษัตริย์ แต่ระหว่างที่ประจำการต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิทางการเมือง นโยบายด้านการสาธารณสุข พรรคคนดีจะหนักไปทางป้องกันมากกว่าการรักษาพยาบาล
นโยบายด้านเศรษฐกิจ พรรคคนดีจะสงวนและส่งเสริมการค้าสำหรับคนไทย ไม่ว่าคนไทยนั้นจะมีสัญชาติตามโลหิตหรือสัญชาติตามดินแดน จะล้มเลิกระบบ “ไม่เป็นไร” “สงสาร” และอภิสิทธิ์ต่าง ๆ ด้วยวิธีการสหกรณ์ จะหามาตรการแก้ปัญหาคนล้นงานหรือคนเลือกงาน โดยต้องให้คนได้ทำงานตามความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้มีคนเกาะคนกินให้น้อยที่สุด
พรรคคนดีได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว เช่นเดียวกับพรรคขนาดเล็กอื่น ๆ ที่จัดตั้งขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันนี้
ที่มา
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 105 ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2499, หน้า 3796-3799
ขจัดภัย บุรุษพัฒน์, การเมืองและพรรคการเมืองไทยนับแต่ยุคแรกถึงปัจจุบัน, พระนคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2511
ส่วนการทะเบียนและการเลือกตั้ง กรมมหาดไทย, รายงานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกระทรวงมหาดไทย เล่ม 1, พระนคร: โรงพิมพ์กระดาษไทย, 2500
สุจิต บุญบงการ, การพัฒนาการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531