ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นายกฯ 8 ปี"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' ฐิติกร สังข์แก้ว '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจ..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''ผู้เรียบเรียง :''' ฐิติกร สังข์แก้ว
'''ผู้เรียบเรียง :''' ฐิติกร สังข์แก้ว


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


 
 
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
= <span style="font-size:x-large;">'''บทนำ'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''บทนำ'''</span> =


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แม้ว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะยังสามารถรักษาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไว้ได้ภายหลังการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 โดยการจัดตั้ง[[รัฐบาลผสม]] 19 พรรคที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำ ทว่าในการบริหารประเทศรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องเผชิญกับมรสุมทางการเมืองต่าง ๆ ทั้งแรงกดดันจากการอภิปรายของพรรคร่วมฝ่ายค้านภายในสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงกระแสต่อต้านของประชาชนส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการอยู่ในอำนาจ โดยมองว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อำนาจจากการรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่ประกาศใช้มีบทบัญญัติว่าด้วยระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีมิให้ดำรงตำแหน่งเกิน&nbsp;8 ปี ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม หากนับระยะเวลาการเป็นนายกรัฐมนตรีของ&nbsp;พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากวาระแรกก็จะครบ 8 ปี ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีผู้นำเรื่องดังกล่าวส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความและต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้รับเรื่องไว้วินิจฉัย ประเด็นที่สังคมให้ความสนใจและเกิดเป็นข้อถกเถียงอย่างกว้างขวางก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยออกมานั้น คือการหาหมุดหมายของการเริ่มนับระยะเวลา 8 ปี ว่าควรเริ่มต้นนับเวลาเมื่อใด เพราะย่อมหมายถึงการกำหนดเพดานเวลาการสิ้นสุดสภาพนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ไปโดยปริยาย
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แม้ว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะยังสามารถรักษาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไว้ได้ภายหลังการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 โดยการจัดตั้ง[[รัฐบาลผสม|รัฐบาลผสม]] 19 พรรคที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำ ทว่าในการบริหารประเทศรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องเผชิญกับมรสุมทางการเมืองต่าง ๆ ทั้งแรงกดดันจากการอภิปรายของพรรคร่วมฝ่ายค้านภายในสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงกระแสต่อต้านของประชาชนส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการอยู่ในอำนาจ โดยมองว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อำนาจจากการรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่ประกาศใช้มีบทบัญญัติว่าด้วยระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีมิให้ดำรงตำแหน่งเกิน&nbsp;8 ปี ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม หากนับระยะเวลาการเป็นนายกรัฐมนตรีของ&nbsp;พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากวาระแรกก็จะครบ 8 ปี ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีผู้นำเรื่องดังกล่าวส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความและต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้รับเรื่องไว้วินิจฉัย ประเด็นที่สังคมให้ความสนใจและเกิดเป็นข้อถกเถียงอย่างกว้างขวางก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยออกมานั้น คือการหาหมุดหมายของการเริ่มนับระยะเวลา 8 ปี ว่าควรเริ่มต้นนับเวลาเมื่อใด เพราะย่อมหมายถึงการกำหนดเพดานเวลาการสิ้นสุดสภาพนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ไปโดยปริยาย


= <span style="font-size:x-large;">'''รัฐธรรมนูญกับกรอบเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''รัฐธรรมนูญกับกรอบเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี'''</span> =
บรรทัดที่ 34: บรรทัดที่ 34:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ขณะที่รอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยเรื่องการนับระยะเวลาการเป็นนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใดนั้น ได้มีความเคลื่อนไหวจากทั้งฝ่ายการเมือง นักกิจกรรม&nbsp;และนักวิชาการ ออกมาเสนอความเห็นต่าง ๆ ต่อแนวทางความเป็นไปได้ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาวินิจฉัย&nbsp;โดยในบรรดาความคิดเห็นเหล่านี้ แบ่งออกเป็น 3 แนวทางหลัก ประกอบด้วย
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ขณะที่รอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยเรื่องการนับระยะเวลาการเป็นนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใดนั้น ได้มีความเคลื่อนไหวจากทั้งฝ่ายการเมือง นักกิจกรรม&nbsp;และนักวิชาการ ออกมาเสนอความเห็นต่าง ๆ ต่อแนวทางความเป็นไปได้ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาวินิจฉัย&nbsp;โดยในบรรดาความคิดเห็นเหล่านี้ แบ่งออกเป็น 3 แนวทางหลัก ประกอบด้วย


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>แนวทางแรก</u> เห็นว่าควรเริ่มต้นนับตั้งแต่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 คือ เริ่มนับตั้งแต่ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2557 และจะสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งใน วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2565
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''<u>แนวทางแรก</u>''' เห็นว่าควรเริ่มต้นนับตั้งแต่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 คือ เริ่มนับตั้งแต่ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2557 และจะสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งใน วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2565


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผู้สนับสนุนการตีความตามแนวทางนี้ถือว่าเป็นแนวทางที่เคร่งครัดที่สุด โดยถือหลักกฎหมายมหาชนที่ว่า '''“ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ”''' กล่าวคือ การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจรัฐ&nbsp;ดังนั้นจึงต้องตีความในทางจำกัดอำนาจรัฐให้มากที่สุด[[#_ftn8|[8]]] สำหรับผู้สนับสนุนแนวทางนี้ อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคฝ่ายค้าน กลุ่มเคลื่อนไหวในชื่อ '''“กลุ่ม 99 พลเมือง”''' คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ที่เข้าชื่อกัน จำนวน&nbsp;51 คน รวมถึง นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผู้สนับสนุนการตีความตามแนวทางนี้ถือว่าเป็นแนวทางที่เคร่งครัดที่สุด โดยถือหลักกฎหมายมหาชนที่ว่า '''“ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ”''' กล่าวคือ การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจรัฐ&nbsp;ดังนั้นจึงต้องตีความในทางจำกัดอำนาจรัฐให้มากที่สุด[[#_ftn8|[8]]] สำหรับผู้สนับสนุนแนวทางนี้ อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคฝ่ายค้าน กลุ่มเคลื่อนไหวในชื่อ '''“กลุ่ม 99 พลเมือง”''' คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ที่เข้าชื่อกัน จำนวน&nbsp;51 คน รวมถึง นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สำหรับการตีความตามแนวทางแรกนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจเกิดขึ้นเมื่อ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร สมาชิก[[พรรคเสรีรวมไทย]] และอดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)&nbsp;ได้เผยแพร่ภาพพร้อมข้อความผ่าน Facebook ให้เห็นถึงบันทึกการประชุมกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 500 และ 501 ซึ่งมีบันทึกเกี่ยวกับการอภิปรายรัฐธรรมนูญใน มาตรา 158 ถึงเงื่อนไขระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้เคยอภิปรายไว้ถึงการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปีนั้น ให้นับรวมก่อนวันที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 บังคับใช้ด้วย เพื่อป้องกันการผูกขาดอำนาจอันจะเป็นต้นเหตุของวิกฤตการเมือง[[#_ftn9|[9]]] แต่ต่อมา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ออกมาชี้แจงในประเด็นดังกล่าวว่าเกิดจากการจดบันทึกการประชุมที่คลาดเคลื่อน และ กรธ. ยังไม่ได้ตรวจรับรองรายงานการประชุมนั้น พร้อมกันนี้ยังได้ให้ความเห็นพร้อมชี้แจงเหตุผลในประเด็นการนับระยะเวลาเริ่มต้น 8 ปี ว่าควรเริ่มนับตั้งแต่เมื่อวันที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ประกาศใช้[[#_ftn10|[10]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สำหรับการตีความตามแนวทางแรกนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจเกิดขึ้นเมื่อ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร สมาชิก[[พรรคเสรีรวมไทย|พรรคเสรีรวมไทย]] และอดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)&nbsp;ได้เผยแพร่ภาพพร้อมข้อความผ่าน Facebook ให้เห็นถึงบันทึกการประชุมกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 500 และ 501 ซึ่งมีบันทึกเกี่ยวกับการอภิปรายรัฐธรรมนูญใน มาตรา 158 ถึงเงื่อนไขระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้เคยอภิปรายไว้ถึงการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปีนั้น ให้นับรวมก่อนวันที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 บังคับใช้ด้วย เพื่อป้องกันการผูกขาดอำนาจอันจะเป็นต้นเหตุของวิกฤตการเมือง[[#_ftn9|[9]]] แต่ต่อมา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ออกมาชี้แจงในประเด็นดังกล่าวว่าเกิดจากการจดบันทึกการประชุมที่คลาดเคลื่อน และ กรธ. ยังไม่ได้ตรวจรับรองรายงานการประชุมนั้น พร้อมกันนี้ยังได้ให้ความเห็นพร้อมชี้แจงเหตุผลในประเด็นการนับระยะเวลาเริ่มต้น 8 ปี ว่าควรเริ่มนับตั้งแต่เมื่อวันที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ประกาศใช้[[#_ftn10|[10]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>แนวทางที่สอง</u> เห็นว่าควรเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 นั่นคือวันที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ประกาศใช้ โดยตามแนวทางนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้จนถึงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2568
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''<u>แนวทางที่สอง</u>''' เห็นว่าควรเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 นั่นคือวันที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ประกาศใช้ โดยตามแนวทางนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้จนถึงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2568


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แนวทางนี้จัดว่าเป็นการตีความแบบประนีประนอมซึ่งอยู่บนหลักกฎหมายอาญาที่ว่า '''“กฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลัง”'''[[#_ftn11|[11]]] โดยผู้ที่สนับสนุนแนวทางนี้ อาทิ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธาน กรธ. ฉบับ พ.ศ. 2560&nbsp;หรือนักวิชาการทางด้านกฎหมายมหาชน อย่างนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ที่แม้จะเป็นผู้หนึ่งที่มีข้อเขียนวิพากษ์วิจารณ์คณะรัฐประหารและการอยู่ในอำนาจการเมืองของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เห็นว่าในประเด็นการนับกรอบระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ไม่ควรที่จะย้อนกลับไปเริ่มนับตั้งแต่ปี&nbsp;พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะประกาศใช้ อันจะถือเป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังที่ผิดหลักการทางกฎหมาย ในประเด็นนี้ นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญที่ว่า ''“อย่าใช้ศีลธรรมแทนกฎหมาย และอย่าแลกหลักกฎหมายกับผลลัพธ์ทางการเมือง”''[[#_ftn12|[12]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แนวทางนี้จัดว่าเป็นการตีความแบบประนีประนอมซึ่งอยู่บนหลักกฎหมายอาญาที่ว่า '''“กฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลัง”'''[[#_ftn11|[11]]] โดยผู้ที่สนับสนุนแนวทางนี้ อาทิ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธาน กรธ. ฉบับ พ.ศ. 2560&nbsp;หรือนักวิชาการทางด้านกฎหมายมหาชน อย่างนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ที่แม้จะเป็นผู้หนึ่งที่มีข้อเขียนวิพากษ์วิจารณ์คณะรัฐประหารและการอยู่ในอำนาจการเมืองของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เห็นว่าในประเด็นการนับกรอบระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ไม่ควรที่จะย้อนกลับไปเริ่มนับตั้งแต่ปี&nbsp;พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะประกาศใช้ อันจะถือเป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังที่ผิดหลักการทางกฎหมาย ในประเด็นนี้ นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญที่ว่า ''“อย่าใช้ศีลธรรมแทนกฎหมาย และอย่าแลกหลักกฎหมายกับผลลัพธ์ทางการเมือง”''[[#_ftn12|[12]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>แนวทางที่สาม</u> เห็นว่าควรเริ่มนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อเมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 นั่นคือใน วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ซึ่งตามแนวทางนี้จะทำให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีไปได้จนถึง วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2570
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''<u>แนวทางที่สาม</u>''' เห็นว่าควรเริ่มนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อเมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 นั่นคือใน วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ซึ่งตามแนวทางนี้จะทำให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีไปได้จนถึง วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2570


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สำหรับเหตุผลของผู้ที่สนับสนุนแนวทางที่สามนี้เห็นว่า ตามหลักกฎหมายทั่วไปและหลักนิติธรรมแล้วจะบังคับใช้กฎหมายในทางเป็นโทษกับบุคคลย้อนหลังมิได้ ซึ่งผู้สนับสนุนแนวทางนี้ อาทิ ฝ่ายกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎร นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลฎีกา นายอุดม รัฐอมฤต อดีต กรธ.&nbsp;ฉบับ พ.ศ. 2560 เป็นต้น โดยนายอุดม รัฐอมฤต ยังได้เคยให้ความเห็นไว้ว่า การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนจะได้รับโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 นั้น มิได้ถือเป็นการดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสอง ที่ระบุว่า ''“นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159”'' จึงจะนำมานับรวมเวลากันกับระยะเวลา 8 ปี ตามมาตรา 158 วรรคสี่ มิได้[[#_ftn13|[13]]] นอกจากนี้ มาตรา 158 ยังถือเป็นหลักเกณฑ์ใหม่จึงไม่ควรที่จะนำมาใช้ย้อนหลัง[[#_ftn14|[14]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สำหรับเหตุผลของผู้ที่สนับสนุนแนวทางที่สามนี้เห็นว่า ตามหลักกฎหมายทั่วไปและหลักนิติธรรมแล้วจะบังคับใช้กฎหมายในทางเป็นโทษกับบุคคลย้อนหลังมิได้ ซึ่งผู้สนับสนุนแนวทางนี้ อาทิ ฝ่ายกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎร นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลฎีกา นายอุดม รัฐอมฤต อดีต กรธ.&nbsp;ฉบับ พ.ศ. 2560 เป็นต้น โดยนายอุดม รัฐอมฤต ยังได้เคยให้ความเห็นไว้ว่า การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนจะได้รับโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 นั้น มิได้ถือเป็นการดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสอง ที่ระบุว่า ''“นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159”'' จึงจะนำมานับรวมเวลากันกับระยะเวลา 8 ปี ตามมาตรา 158 วรรคสี่ มิได้[[#_ftn13|[13]]] นอกจากนี้ มาตรา 158 ยังถือเป็นหลักเกณฑ์ใหม่จึงไม่ควรที่จะนำมาใช้ย้อนหลัง[[#_ftn14|[14]]]
บรรทัดที่ 62: บรรทัดที่ 62:
= <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> =


“ประยุทธ์ 8 ปี แล้วไง? วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 30 กันยาฯ.” iLaw (19 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://ilaw.or.th/node/6261>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
“ประยุทธ์ 8 ปี แล้วไง? วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 30 กันยาฯ.” iLaw (19 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://ilaw.or.th/node/6261 https://ilaw.or.th/node/6261]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.


“เปิดคำชี้แจง ‘มีชัย’ ชี้วาระนายกฯ 8 ปี ‘ประยุทธ์’ เริ่มนับวันประกาศใช้ รธน.ปี’60.” ประชาไท (6 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2022/09/100392>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
“เปิดคำชี้แจง ‘มีชัย’ ชี้วาระนายกฯ 8 ปี ‘ประยุทธ์’ เริ่มนับวันประกาศใช้ รธน.ปี’60.” ประชาไท (6 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://prachatai.com/journal/2022/09/100392 https://prachatai.com/journal/2022/09/100392]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.


“เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้ พล.อ. ประยุทธ์ ไปต่อ ด้วยมติ 6:3 ชี้เป็นนายกฯ ไม่ครบ 8 ปี.” BBC (30 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/c99p4wykd4vo>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
“เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้ พล.อ. ประยุทธ์ ไปต่อ ด้วยมติ 6:3 ชี้เป็นนายกฯ ไม่ครบ 8 ปี.” BBC (30 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/articles/c99p4wykd4vo https://www.bbc.com/thai/articles/c99p4wykd4vo]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.


“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 40 ก, 6 เมษายน 2560.
“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 40 ก, 6 เมษายน 2560.


วรเจตน์ ภาคีรัตน์, “วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เก็บประเด็นทางกฎหมายกรณี 8 ปีประยุทธ์ อย่าแลกหลักกฎหมายกับผลลัพธ์ทางการเมือง.” สัมภาษณ์โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล. ประชาไท (21 ธันวาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2022/12/101960>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์, “วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เก็บประเด็นทางกฎหมายกรณี 8 ปีประยุทธ์ อย่าแลกหลักกฎหมายกับผลลัพธ์ทางการเมือง.” สัมภาษณ์โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล. ประชาไท (21 ธันวาคม 2565). เข้าถึงจาก <[https://prachatai.com/journal/2022/12/101960 https://prachatai.com/journal/2022/12/101960]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.


“วาระนายกฯ 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ บทพิสูจน์รัฐธรรมนูญปราบโกง,” iLaw (11 สิงหาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://ilaw.or.th/node/6222>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
“วาระนายกฯ 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ บทพิสูจน์รัฐธรรมนูญปราบโกง,” iLaw (11 สิงหาคม 2565). เข้าถึงจาก <[https://ilaw.or.th/node/6222 https://ilaw.or.th/node/6222]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.


“ 'สมชัย' เปิดบันทึกประชุม กก.ร่างรธน. ชี้ชัด 8 ปี นับรวมก่อน รธน.60 ประกาศใช้ หวังป้องกันผูกขาดอำนาจ.” ประชาไท (29 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2022/09/100746>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
“ 'สมชัย' เปิดบันทึกประชุม กก.ร่างรธน. ชี้ชัด 8 ปี นับรวมก่อน รธน.60 ประกาศใช้ หวังป้องกันผูกขาดอำนาจ.” ประชาไท (29 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://prachatai.com/journal/2022/09/100746 https://prachatai.com/journal/2022/09/100746]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.


“สรุปความเห็น 3 ตุลาการเสียงข้างน้อย ผู้ชี้ว่า พล.อ. ประยุทธ์เป็น “นายกฯ 8 ปี” แล้ว.” BBC (7 ตุลาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/cv2nd39jvndo>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
“สรุปความเห็น 3 ตุลาการเสียงข้างน้อย ผู้ชี้ว่า พล.อ. ประยุทธ์เป็น “นายกฯ 8 ปี” แล้ว.” BBC (7 ตุลาคม 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/articles/cv2nd39jvndo https://www.bbc.com/thai/articles/cv2nd39jvndo]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.


หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ. “8 ปี ประยุทธ์ กับการตีความต่างมุมของนักกฎหมาย-นักการเมืองไทย.” BBC (6 สิงหาคม 2022 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/c03zk31edx<br/> 3o>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ. “8 ปี ประยุทธ์ กับการตีความต่างมุมของนักกฎหมาย-นักการเมืองไทย.” BBC (6 สิงหาคม 2022 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/articles/c03zk31edx https://www.bbc.com/thai/articles/c03zk31edx]<br/> 3o>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.


“อดีต กรธ.แจงปมร้อน ‘บิ๊กตู่’ นั่งนายกฯ 8 ปี เชียร์เริ่มนับหนึ่งหลังเลือกตั้ง 62.” เดลินิวส์ออนไลน์ (28 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <https://www.dailynews.co.th/news/322026/>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
“อดีต กรธ.แจงปมร้อน ‘บิ๊กตู่’ นั่งนายกฯ 8 ปี เชียร์เริ่มนับหนึ่งหลังเลือกตั้ง 62.” เดลินิวส์ออนไลน์ (28 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <[https://www.dailynews.co.th/news/322026/ https://www.dailynews.co.th/news/322026/]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.


“8 ปี ประยุทธ์ : ที่มาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 30 ก.ย. หลังนายกฯ ได้ไปต่อ.” BBC (29 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/thailand-63071260>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
“8 ปี ประยุทธ์&nbsp;: ที่มาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 30 ก.ย. หลังนายกฯ ได้ไปต่อ.” BBC (29 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/thailand-63071260 https://www.bbc.com/thai/thailand-63071260]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
<div>
<div>
= '''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' =
= '''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' =
บรรทัดที่ 88: บรรทัดที่ 88:
[[#_ftnref1|[1]]] “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560,” ''ราชกิจจานุเบกษา'', เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 40 ก, 6 เมษายน 2560.
[[#_ftnref1|[1]]] “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560,” ''ราชกิจจานุเบกษา'', เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 40 ก, 6 เมษายน 2560.
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] “8 ปี ประยุทธ์ : ที่มาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 30 ก.ย. หลังนายกฯ ได้ไปต่อ,” ''BBC'' (29 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/thailand-63071260>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref2|[2]]] “8 ปี ประยุทธ์&nbsp;: ที่มาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 30 ก.ย. หลังนายกฯ ได้ไปต่อ,” ''BBC'' (29 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/thailand-63071260 https://www.bbc.com/thai/thailand-63071260]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] “วาระนายกฯ 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ บทพิสูจน์รัฐธรรมนูญปราบโกง,” ''iLaw'' (11 สิงหาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://ilaw.or.th/node/6222>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref3|[3]]] “วาระนายกฯ 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ บทพิสูจน์รัฐธรรมนูญปราบโกง,” ''iLaw'' (11 สิงหาคม 2565). เข้าถึงจาก <[https://ilaw.or.th/node/6222 https://ilaw.or.th/node/6222]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] เรื่องเดียวกัน.
[[#_ftnref4|[4]]] เรื่องเดียวกัน.
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|[5]]] หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ, “8 ปี ประยุทธ์ กับการตีความต่างมุมของนักกฎหมาย-นักการเมืองไทย,” ''BBC'' (6 สิงหาคม 2022 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/c03zk31edx3o>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref5|[5]]] หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ, “8 ปี ประยุทธ์ กับการตีความต่างมุมของนักกฎหมาย-นักการเมืองไทย,” ''BBC'' (6 สิงหาคม 2022 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/articles/c03zk31edx3o https://www.bbc.com/thai/articles/c03zk31edx3o]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]] “8 ปี ประยุทธ์ : ที่มาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 30 ก.ย. หลังนายกฯ ได้ไปต่อ,” ''BBC'' (29 กันยายน 2022 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/thailand-63071260>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref6|[6]]] “8 ปี ประยุทธ์&nbsp;: ที่มาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 30 ก.ย. หลังนายกฯ ได้ไปต่อ,” ''BBC'' (29 กันยายน 2022 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/thailand-63071260 https://www.bbc.com/thai/thailand-63071260]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] เรื่องเดียวกัน.
[[#_ftnref7|[7]]] เรื่องเดียวกัน.
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] “ประยุทธ์ 8 ปี แล้วไง? วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 30 กันยาฯ,” ''iLaw'' (19 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://ilaw.or.th/node/6261>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref8|[8]]] “ประยุทธ์ 8 ปี แล้วไง? วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 30 กันยาฯ,” ''iLaw'' (19 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://ilaw.or.th/node/6261 https://ilaw.or.th/node/6261]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|[9]]] “ 'สมชัย' เปิดบันทึกประชุม กก.ร่างรธน. ชี้ชัด 8 ปี นับรวมก่อน รธน.60 ประกาศใช้ หวังป้องกันผูกขาดอำนาจ,” ''ประชาไท'' (29 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2022/09/100746>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref9|[9]]] “ 'สมชัย' เปิดบันทึกประชุม กก.ร่างรธน. ชี้ชัด 8 ปี นับรวมก่อน รธน.60 ประกาศใช้ หวังป้องกันผูกขาดอำนาจ,” ''ประชาไท'' (29 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://prachatai.com/journal/2022/09/100746 https://prachatai.com/journal/2022/09/100746]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn10">
</div> <div id="ftn10">
[[#_ftnref10|[10]]] “เปิดคำชี้แจง ‘มีชัย’ ชี้วาระนายกฯ 8 ปี ‘ประยุทธ์’ เริ่มนับวันประกาศใช้ รธน.ปี’60,” ''ประชาไท'' (6 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2022/09/100392>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref10|[10]]] “เปิดคำชี้แจง ‘มีชัย’ ชี้วาระนายกฯ 8 ปี ‘ประยุทธ์’ เริ่มนับวันประกาศใช้ รธน.ปี’60,” ''ประชาไท'' (6 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://prachatai.com/journal/2022/09/100392 https://prachatai.com/journal/2022/09/100392]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn11">
</div> <div id="ftn11">
[[#_ftnref11|[11]]] “ประยุทธ์ 8 ปี แล้วไง? วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 30 กันยาฯ,” ''iLaw'' (19 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://ilaw.or.th/node/6261>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref11|[11]]] “ประยุทธ์ 8 ปี แล้วไง? วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 30 กันยาฯ,” ''iLaw'' (19 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://ilaw.or.th/node/6261 https://ilaw.or.th/node/6261]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn12">
</div> <div id="ftn12">
[[#_ftnref12|[12]]] วรเจตน์ ภาคีรัตน์, “วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เก็บประเด็นทางกฎหมายกรณี 8 ปีประยุทธ์ อย่าแลกหลักกฎหมายกับผลลัพธ์ทางการเมือง,” สัมภาษณ์โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล, ''ประชาไท'' (21 ธันวาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/<br/> journal/2022/12/101960>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref12|[12]]] วรเจตน์ ภาคีรัตน์, “วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เก็บประเด็นทางกฎหมายกรณี 8 ปีประยุทธ์ อย่าแลกหลักกฎหมายกับผลลัพธ์ทางการเมือง,” สัมภาษณ์โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล, ''ประชาไท'' (21 ธันวาคม 2565). เข้าถึงจาก <[https://prachatai.com/ https://prachatai.com/]<br/> journal/2022/12/101960>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn13">
</div> <div id="ftn13">
[[#_ftnref13|[13]]] “ประยุทธ์ 8 ปี แล้วไง? วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 30 กันยาฯ,” ''iLaw'' (19 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://ilaw.or.th/node/6261>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref13|[13]]] “ประยุทธ์ 8 ปี แล้วไง? วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 30 กันยาฯ,” ''iLaw'' (19 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://ilaw.or.th/node/6261 https://ilaw.or.th/node/6261]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn14">
</div> <div id="ftn14">
[[#_ftnref14|[14]]] “อดีต กรธ.แจงปมร้อน ‘บิ๊กตู่’ นั่งนายกฯ 8 ปี เชียร์เริ่มนับหนึ่งหลังเลือกตั้ง 62,” ''เดลินิวส์ออนไลน์'' (28 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <https://www.dailynews.co.th/news/322026/>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref14|[14]]] “อดีต กรธ.แจงปมร้อน ‘บิ๊กตู่’ นั่งนายกฯ 8 ปี เชียร์เริ่มนับหนึ่งหลังเลือกตั้ง 62,” ''เดลินิวส์ออนไลน์'' (28 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <[https://www.dailynews.co.th/news/322026/ https://www.dailynews.co.th/news/322026/]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn15">
</div> <div id="ftn15">
[[#_ftnref15|[15]]] “เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้ พล.อ. ประยุทธ์ ไปต่อ ด้วยมติ 6:3 ชี้เป็นนายกฯ ไม่ครบ 8 ปี,” ''BBC'' (30 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/c99p4wykd4vo>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref15|[15]]] “เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้ พล.อ. ประยุทธ์ ไปต่อ ด้วยมติ 6:3 ชี้เป็นนายกฯ ไม่ครบ 8 ปี,” ''BBC'' (30 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/articles/c99p4wykd4vo https://www.bbc.com/thai/articles/c99p4wykd4vo]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
</div> <div id="ftn16">
</div> <div id="ftn16">
[[#_ftnref16|[16]]] “สรุปความเห็น 3 ตุลาการเสียงข้างน้อย ผู้ชี้ว่า พล.อ. ประยุทธ์เป็น “นายกฯ 8 ปี” แล้ว,” ''BBC'' (7 ตุลาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/cv2nd39jvndo>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
[[#_ftnref16|[16]]] “สรุปความเห็น 3 ตุลาการเสียงข้างน้อย ผู้ชี้ว่า พล.อ. ประยุทธ์เป็น “นายกฯ 8 ปี” แล้ว,” ''BBC'' (7 ตุลาคม 2565). เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/articles/cv2nd39jvndo https://www.bbc.com/thai/articles/cv2nd39jvndo]>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:นายกรัฐมนตรี]][[Category:การบริหารราชการแผ่นดิน]][[Category:ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน]]
[[Category:นายกรัฐมนตรี]] [[Category:การบริหารราชการแผ่นดิน]] [[Category:ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:39, 6 กรกฎาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : ฐิติกร สังข์แก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

 

บทนำ

          แม้ว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะยังสามารถรักษาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไว้ได้ภายหลังการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 โดยการจัดตั้งรัฐบาลผสม 19 พรรคที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำ ทว่าในการบริหารประเทศรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องเผชิญกับมรสุมทางการเมืองต่าง ๆ ทั้งแรงกดดันจากการอภิปรายของพรรคร่วมฝ่ายค้านภายในสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงกระแสต่อต้านของประชาชนส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการอยู่ในอำนาจ โดยมองว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อำนาจจากการรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่ประกาศใช้มีบทบัญญัติว่าด้วยระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีมิให้ดำรงตำแหน่งเกิน 8 ปี ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม หากนับระยะเวลาการเป็นนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากวาระแรกก็จะครบ 8 ปี ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีผู้นำเรื่องดังกล่าวส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความและต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้รับเรื่องไว้วินิจฉัย ประเด็นที่สังคมให้ความสนใจและเกิดเป็นข้อถกเถียงอย่างกว้างขวางก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยออกมานั้น คือการหาหมุดหมายของการเริ่มนับระยะเวลา 8 ปี ว่าควรเริ่มต้นนับเวลาเมื่อใด เพราะย่อมหมายถึงการกำหนดเพดานเวลาการสิ้นสุดสภาพนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ไปโดยปริยาย

รัฐธรรมนูญกับกรอบเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

          ในฐานะกฎหมายสูงสุดของประเทศ รัฐธรรมนูญประกอบด้วยบทบัญญัติซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อตั้งและจัดวางความสัมพันธ์ของสถาบันทางการเมือง รวมถึงการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไว้ใน หมวดที่ 8 ว่าด้วยคณะรัฐมนตรี โดยในมาตรา 158 ได้กล่าวถึงการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีซึ่งประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกจำนวนไม่เกิน 35 คน นอกจากนี้ ในวรรคที่สี่ซึ่งเป็นวรรคสุดท้ายของมาตราดังกล่าว ยังได้กำหนดระยะเวลาของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไว้ว่า “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง”[1]

          หากอิงตามเจตนารมณ์ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) แล้ว กำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมิให้อยู่ในตำแหน่งได้เกิน 8 ปี ก็เพื่อควบคุมมิให้เกิดการผูกขาดอำนาจในทางการเมือง[2] อย่างไรก็ตามการจำกัดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 นี้มิได้ถือเป็นครั้งแรก เนื่องจากก่อนหน้านี้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ก็ได้มีบทบัญญัติถึงกรอบระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไว้ว่าต้องไม่เกิน 8 ปี เช่นเดียวกัน โดยปรากฎในมาตรา 171 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า “นายกรัฐมนตรี จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่าแปดปีมิได้” แต่ช่องโหว่ของบทบัญญัติดังกล่าวก็คือ หากมิได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกันหรือมีการเว้นวรรคการดำรงตำแหน่ง จะทำให้สามารถกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ใหม่ ด้วยเหตุนี้ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จึงได้บัญญัติเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนขึ้น นั่นคือไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาแล้วกี่ครั้งและไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งต่อเนื่องหรือไม่ก็ตาม ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจะต้องไม่เกิน 8 ปี โดยนับรวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทั้งหมดตลอดชีวิต[3]

          ในปี พ.ศ. 2565 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นปีที่ 8 โดยเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยแรกเมื่อ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 อันเป็นช่วงเวลา 3 เดือนหลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร ขณะที่ในสมัยที่ 2 พรรคพลังประชารัฐซึ่งได้เสนอชื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และสามารถรวมเสียงข้างมากจัดตั้งเป็นรัฐบาล ทำให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังคงอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบเนื่องต่อมา ดังนั้นตามกรอบระยะเวลาแล้ว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 นั่นเอง รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ซึ่งถือเป็นกรอบกำหนดระยะเวลานั้นร่างขึ้นในสมัยของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเอง นอกจากจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังอยู่ในฐานะของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีอิทธิพลต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวด้วย ดังนั้น ประเด็นเรื่องกรอบระยะเวลา 8 ปี จึงเป็นเงื่อนไขที่สร้างขึ้นภายใต้ช่วงเวลาแห่งอำนาจอิทธิพลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งท้ายที่สุดแล้วกลายมาเป็นเงื่อนไขจำกัดการอยู่ในอำนาจของตนเองด้วยเช่นกัน

          ท่ามกลางข้อถกเถียงของสังคม ผู้ที่จะวินิฉัยชี้ขาดในประเด็นดังกล่าวก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญ โดยได้มีผู้นำคำร้องเรื่องกรอบระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปยื่นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เรียงตามลำดับเวลา ดังนี้

          วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 นายวรัญชัย โชคชนะ นักกิจกรรมการเมือง ได้ยื่นคำร้องผ่านสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานะของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าดำรงตำแหน่งครบ 8 ปี เมื่อใด[4]

          วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2565 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นหนังสือต่อองค์กรอิสระ 2 องค์กร คือ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยุติการปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยด้วย[5]

          วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2565 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้นำคณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน 171 คน ยื่นคำร้องต่อ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ส่งเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

          นอกจากนี้ ยังได้มีนักวิชาการด้านกฎหมายจำนวน 51 คน จาก 15 มหาวิทยาลัย ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งประเด็นวินิจฉัยและเสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยเห็นว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อถึงเส้นตายในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 และต่อมาฝ่ายค้านได้นำความเห็นดังกล่าวของนักวิชาการ ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมผ่านทางประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อประกอบการวินิจฉัยด้วย[6]

สามแนวทางการตีความ “นายกฯ 8 ปี”

          ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ที่ประชุมศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องที่ยื่น โดยพรรคฝ่ายค้านและเอกสารประกอบคำร้อง ก่อนที่จะมีมติ 9 ต่อ 0 ให้รับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย และยังได้มีมติ 5 ต่อ 4 ให้ผู้ถูกร้องคือพลเอกประยุทธ์ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี นับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติข้างต้น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงได้ออกแถลงผ่านโฆษกรัฐบาลถึงการหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ แต่จะยังคงปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมต่อไปตามปกติ ขณะที่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี[7]

          ขณะที่รอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยเรื่องการนับระยะเวลาการเป็นนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใดนั้น ได้มีความเคลื่อนไหวจากทั้งฝ่ายการเมือง นักกิจกรรม และนักวิชาการ ออกมาเสนอความเห็นต่าง ๆ ต่อแนวทางความเป็นไปได้ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาวินิจฉัย โดยในบรรดาความคิดเห็นเหล่านี้ แบ่งออกเป็น 3 แนวทางหลัก ประกอบด้วย

          แนวทางแรก เห็นว่าควรเริ่มต้นนับตั้งแต่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 คือ เริ่มนับตั้งแต่ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2557 และจะสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งใน วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2565

          ผู้สนับสนุนการตีความตามแนวทางนี้ถือว่าเป็นแนวทางที่เคร่งครัดที่สุด โดยถือหลักกฎหมายมหาชนที่ว่า “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ” กล่าวคือ การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจรัฐ ดังนั้นจึงต้องตีความในทางจำกัดอำนาจรัฐให้มากที่สุด[8] สำหรับผู้สนับสนุนแนวทางนี้ อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคฝ่ายค้าน กลุ่มเคลื่อนไหวในชื่อ “กลุ่ม 99 พลเมือง” คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ที่เข้าชื่อกัน จำนวน 51 คน รวมถึง นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น

          สำหรับการตีความตามแนวทางแรกนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจเกิดขึ้นเมื่อ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร สมาชิกพรรคเสรีรวมไทย และอดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เผยแพร่ภาพพร้อมข้อความผ่าน Facebook ให้เห็นถึงบันทึกการประชุมกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 500 และ 501 ซึ่งมีบันทึกเกี่ยวกับการอภิปรายรัฐธรรมนูญใน มาตรา 158 ถึงเงื่อนไขระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้เคยอภิปรายไว้ถึงการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปีนั้น ให้นับรวมก่อนวันที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 บังคับใช้ด้วย เพื่อป้องกันการผูกขาดอำนาจอันจะเป็นต้นเหตุของวิกฤตการเมือง[9] แต่ต่อมา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ออกมาชี้แจงในประเด็นดังกล่าวว่าเกิดจากการจดบันทึกการประชุมที่คลาดเคลื่อน และ กรธ. ยังไม่ได้ตรวจรับรองรายงานการประชุมนั้น พร้อมกันนี้ยังได้ให้ความเห็นพร้อมชี้แจงเหตุผลในประเด็นการนับระยะเวลาเริ่มต้น 8 ปี ว่าควรเริ่มนับตั้งแต่เมื่อวันที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ประกาศใช้[10]

          แนวทางที่สอง เห็นว่าควรเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 นั่นคือวันที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ประกาศใช้ โดยตามแนวทางนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้จนถึงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2568

          แนวทางนี้จัดว่าเป็นการตีความแบบประนีประนอมซึ่งอยู่บนหลักกฎหมายอาญาที่ว่า “กฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลัง”[11] โดยผู้ที่สนับสนุนแนวทางนี้ อาทิ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธาน กรธ. ฉบับ พ.ศ. 2560 หรือนักวิชาการทางด้านกฎหมายมหาชน อย่างนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ที่แม้จะเป็นผู้หนึ่งที่มีข้อเขียนวิพากษ์วิจารณ์คณะรัฐประหารและการอยู่ในอำนาจการเมืองของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เห็นว่าในประเด็นการนับกรอบระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ไม่ควรที่จะย้อนกลับไปเริ่มนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะประกาศใช้ อันจะถือเป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังที่ผิดหลักการทางกฎหมาย ในประเด็นนี้ นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญที่ว่า “อย่าใช้ศีลธรรมแทนกฎหมาย และอย่าแลกหลักกฎหมายกับผลลัพธ์ทางการเมือง”[12]

          แนวทางที่สาม เห็นว่าควรเริ่มนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อเมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 นั่นคือใน วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ซึ่งตามแนวทางนี้จะทำให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีไปได้จนถึง วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2570

          สำหรับเหตุผลของผู้ที่สนับสนุนแนวทางที่สามนี้เห็นว่า ตามหลักกฎหมายทั่วไปและหลักนิติธรรมแล้วจะบังคับใช้กฎหมายในทางเป็นโทษกับบุคคลย้อนหลังมิได้ ซึ่งผู้สนับสนุนแนวทางนี้ อาทิ ฝ่ายกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎร นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลฎีกา นายอุดม รัฐอมฤต อดีต กรธ. ฉบับ พ.ศ. 2560 เป็นต้น โดยนายอุดม รัฐอมฤต ยังได้เคยให้ความเห็นไว้ว่า การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนจะได้รับโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 นั้น มิได้ถือเป็นการดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสอง ที่ระบุว่า “นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159” จึงจะนำมานับรวมเวลากันกับระยะเวลา 8 ปี ตามมาตรา 158 วรรคสี่ มิได้[13] นอกจากนี้ มาตรา 158 ยังถือเป็นหลักเกณฑ์ใหม่จึงไม่ควรที่จะนำมาใช้ย้อนหลัง[14]

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

          ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในประเด็นการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 6 ต่อ 3 วินิจฉัยให้เริ่มนับความเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสี่ ในวันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ คือ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 โดยศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ “มิใช่นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560” ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรหรือที่ประชุมร่วมของสองสภา[15] เท่ากับว่าหากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังคงเป็นนายกรัฐมนตรีต่อเนื่องไป ก็จะสามารถครองตำแหน่งได้จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2568 นั่นเอง

          สำหรับตุลาการเสียงข้างมาก 6 คน ที่วินิจฉัยให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังสามารถครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปได้นั้น ประกอบด้วย นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายจิรนิติ หะวานนท์ นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ และนายวิรุฬห์ แสงเทียน ขณะที่ในส่วนของตุลาการเสียงข้างน้อย 3 คน ที่วินิจฉัยให้สภาพความเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดลงตามแนวทางแรกคือในปี พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย นายนครินทร์​ เมฆไตรรัตน์ นายทวีเกียรติ​ มีนะกนิษฐ์ และนาย​นภดล เทพพิทักษ์ สำหรับเหตุผลที่เผยแพร่ผ่านคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฝ่ายเสียงข้างน้อยนั้น นายนครินทร์​ เมฆไตรรัตน์ ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการป้องกันการผู้ขาดอำนาจบริหาร ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 มิได้ขาดตอนแต่อย่างใด ดังนั้นความเป็นนายกรัฐมนตรีจึงถือว่าสิ้นสุดลงไปแล้ว ขณะที่นายทวีเกียรติ​ มีนะกนิษฐ์ ก็ได้แสดงเหตุผลชี้ให้เห็นว่าต้องนับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยแรกของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมเข้าไว้ในระยะเวลาที่กำหนด 8 ปีด้วย พร้อมยังได้สำทับให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการป้องกันภัยอันตรายอันอาจเกิดขึ้นจากการที่นายกรัฐมนตรีครองอำนาจยาวนานเกินไป ซึ่งจะสร้างอิทธิพลและเครือข่ายอำนาจที่แข็งแกร่งจึงไม่เป็นผลดีกับระบอบประชาธิปไตยและยังอาจนำไปสู่วิกฤตการเมืองได้ ส่วนคำวินิจฉัยของ นาย​นภดล เทพพิทักษ์ ก็เช่นเดียวกันซึ่งชี้ให้เห็นว่าการกำหนดระยะเวลามิให้นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งได้เกิน 8 ปี นั้น มิได้เป็นข้อยกเว้นให้กับนายกรัฐมนตรีที่มีที่มาจากการรัฐประการแต่อย่างใด เนื่องจากนายกรัฐมนตรีถือเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการใช้อำนาจทางการเมืองในฐานะของฝ่ายบริหาร ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีที่มาตามรัฐธรรมนูญฉบับใดก็ตาม ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของบุคคลนั้นในทุกช่วงเวลาที่ผ่านมา จึงต้องนับรวมเป็นระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสี่โดยมิได้ยกเว้น[16]

          จากผลคำวินิจฉัยของศาสรัฐธรรมนูญที่ออกมาส่งผลให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถกลับมาทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีได้อย่างเต็มตัวอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ถูกคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีมีมติให้ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการนายกรัฐมนตรีอยู่ราว 1 เดือนเศษ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมาอยู่บนเส้นทางของการเป็นหัวหน้ารัฐบาลภายใต้อายุของสภาผู้แทนราษฎรที่ยังเหลืออยู่จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2566

บนเส้นทางไปต่อ

          แม้หลายฝ่ายจะมีความเห็นที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับเรื่องการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่าย่อมเกี่ยวข้องกับกระแสการเมืองซึ่งมีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านการอยู่ในอำนาจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยส่วนหนึ่ง แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยโดยเสียงข้างมากออกมาแล้วก็ทำให้ข้อถกเถียงในประเด็นดังกล่าวค่อย ๆ ยุติลง และเมื่อพิจารณาจากผลลัพธ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องถือได้ว่าคำวินิจฉัยกลางนั้นมีลักษณะที่ค่อนข้างประนีประนอม กล่าวคือเป็นแนวทางการตีความที่อยู่กึ่งกลางในบรรดาแนวทางการตีความทั้ง 3 รูปแบบ พลเอกประยุทธ์จึงสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ต่อไปได้ตราบจนกว่าสภาผู้แทนราษฎรจะมีอายุครบ 4 ปี ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 จึงเท่ากับว่าหลังจากนี้จะมีระยะเวลาที่ยังสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อีกราว 2 ปี หากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองใดก็ตามในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2566 และพรรคการเมืองนั้นสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังสามารถเข้ารับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกราว 2 ปี

บรรณานุกรม

“ประยุทธ์ 8 ปี แล้วไง? วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 30 กันยาฯ.” iLaw (19 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://ilaw.or.th/node/6261>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

“เปิดคำชี้แจง ‘มีชัย’ ชี้วาระนายกฯ 8 ปี ‘ประยุทธ์’ เริ่มนับวันประกาศใช้ รธน.ปี’60.” ประชาไท (6 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2022/09/100392>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

“เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้ พล.อ. ประยุทธ์ ไปต่อ ด้วยมติ 6:3 ชี้เป็นนายกฯ ไม่ครบ 8 ปี.” BBC (30 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/c99p4wykd4vo>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 40 ก, 6 เมษายน 2560.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, “วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เก็บประเด็นทางกฎหมายกรณี 8 ปีประยุทธ์ อย่าแลกหลักกฎหมายกับผลลัพธ์ทางการเมือง.” สัมภาษณ์โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล. ประชาไท (21 ธันวาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2022/12/101960>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

“วาระนายกฯ 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ บทพิสูจน์รัฐธรรมนูญปราบโกง,” iLaw (11 สิงหาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://ilaw.or.th/node/6222>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

“ 'สมชัย' เปิดบันทึกประชุม กก.ร่างรธน. ชี้ชัด 8 ปี นับรวมก่อน รธน.60 ประกาศใช้ หวังป้องกันผูกขาดอำนาจ.” ประชาไท (29 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2022/09/100746>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

“สรุปความเห็น 3 ตุลาการเสียงข้างน้อย ผู้ชี้ว่า พล.อ. ประยุทธ์เป็น “นายกฯ 8 ปี” แล้ว.” BBC (7 ตุลาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/cv2nd39jvndo>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ. “8 ปี ประยุทธ์ กับการตีความต่างมุมของนักกฎหมาย-นักการเมืองไทย.” BBC (6 สิงหาคม 2022 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/c03zk31edx
3o>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

“อดีต กรธ.แจงปมร้อน ‘บิ๊กตู่’ นั่งนายกฯ 8 ปี เชียร์เริ่มนับหนึ่งหลังเลือกตั้ง 62.” เดลินิวส์ออนไลน์ (28 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <https://www.dailynews.co.th/news/322026/>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

“8 ปี ประยุทธ์ : ที่มาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 30 ก.ย. หลังนายกฯ ได้ไปต่อ.” BBC (29 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/thailand-63071260>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

อ้างอิง

[1] “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 40 ก, 6 เมษายน 2560.

[2] “8 ปี ประยุทธ์ : ที่มาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 30 ก.ย. หลังนายกฯ ได้ไปต่อ,” BBC (29 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/thailand-63071260>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

[3] “วาระนายกฯ 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ บทพิสูจน์รัฐธรรมนูญปราบโกง,” iLaw (11 สิงหาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://ilaw.or.th/node/6222>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

[4] เรื่องเดียวกัน.

[5] หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ, “8 ปี ประยุทธ์ กับการตีความต่างมุมของนักกฎหมาย-นักการเมืองไทย,” BBC (6 สิงหาคม 2022 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/c03zk31edx3o>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

[6] “8 ปี ประยุทธ์ : ที่มาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 30 ก.ย. หลังนายกฯ ได้ไปต่อ,” BBC (29 กันยายน 2022 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/thailand-63071260>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

[7] เรื่องเดียวกัน.

[8] “ประยุทธ์ 8 ปี แล้วไง? วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 30 กันยาฯ,” iLaw (19 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://ilaw.or.th/node/6261>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

[9] “ 'สมชัย' เปิดบันทึกประชุม กก.ร่างรธน. ชี้ชัด 8 ปี นับรวมก่อน รธน.60 ประกาศใช้ หวังป้องกันผูกขาดอำนาจ,” ประชาไท (29 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2022/09/100746>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

[10] “เปิดคำชี้แจง ‘มีชัย’ ชี้วาระนายกฯ 8 ปี ‘ประยุทธ์’ เริ่มนับวันประกาศใช้ รธน.ปี’60,” ประชาไท (6 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2022/09/100392>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

[11] “ประยุทธ์ 8 ปี แล้วไง? วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 30 กันยาฯ,” iLaw (19 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://ilaw.or.th/node/6261>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

[12] วรเจตน์ ภาคีรัตน์, “วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เก็บประเด็นทางกฎหมายกรณี 8 ปีประยุทธ์ อย่าแลกหลักกฎหมายกับผลลัพธ์ทางการเมือง,” สัมภาษณ์โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล, ประชาไท (21 ธันวาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/
journal/2022/12/101960>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

[13] “ประยุทธ์ 8 ปี แล้วไง? วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 30 กันยาฯ,” iLaw (19 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://ilaw.or.th/node/6261>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

[14] “อดีต กรธ.แจงปมร้อน ‘บิ๊กตู่’ นั่งนายกฯ 8 ปี เชียร์เริ่มนับหนึ่งหลังเลือกตั้ง 62,” เดลินิวส์ออนไลน์ (28 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก <https://www.dailynews.co.th/news/322026/>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

[15] “เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้ พล.อ. ประยุทธ์ ไปต่อ ด้วยมติ 6:3 ชี้เป็นนายกฯ ไม่ครบ 8 ปี,” BBC (30 กันยายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/c99p4wykd4vo>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.

[16] “สรุปความเห็น 3 ตุลาการเสียงข้างน้อย ผู้ชี้ว่า พล.อ. ประยุทธ์เป็น “นายกฯ 8 ปี” แล้ว,” BBC (7 ตุลาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/articles/cv2nd39jvndo>. เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566.