ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พูดแล้วทำ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 82: บรรทัดที่ 82:
= <span style="font-size:x-large;">'''นัยสำคัญต่อการเมืองไทย'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''นัยสำคัญต่อการเมืองไทย'''</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในการเลือกตั้งปี 2562 พรรคภูมิใจไทยได้ที่นั่งไปถึง 51 ที่นั่ง จึงถือเป็นพรรคการเมืองขนาดกลางที่เป็นตัวตัดสินการจัดตั้ง/ล้มรัฐบาล (king-maker role) การเปลี่ยนสโลแกนหาเสียงจาก “ลดอำนาจรัฐเพื่อปากท้องประชาชน” ในการเลือกตั้งปี 2562 มาเป็น “พูดแล้วทำ” ในการเลือกตั้งปี 2566 จึงสะท้อนถึงการแข่งขันเชิงนโยบายอย่างเข้มข้นได้เป็นอย่างดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกระแสสังคมให้ความสนใจต่อคำมั่นสัญญาที่พรรครัฐบาลได้ให้ไว้ในช่วงเลือกตั้งด้วยแล้ว ย่อมถือได้ว่าพรรคภูมิใจไทยชิงความได้เปรียบเหนือพรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีฐานเสียงใกล้เคียงกัน แคมเปญ “พูดแล้วทำ” นอกจากจะให้ภาพยุทธศาสตร์เฉพาะของพรรคการเมืองหนึ่งแล้ว ยังอาจหมายความได้ว่าการเมืองไทยได้มาถึงจุดที่คำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครและพรรคการเมืองในช่วงเลือกตั้งผูกมัดพวกเขามากกว่าที่เคยเป็นมา อย่างไร<br/> ก็ตามหากพิจารณาฐานเสียงของพรรคภูมิใจไทยที่จำกัด กระจุกตัว อยู่ในพื้นที่อีสานตอนใต้ ภาคกลาง&nbsp;และภาคใต้บางจังหวัด ประกอบกับการจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยดูแลไปสู่พื้นที่เหล่านี้เป็นการเฉพาะ ย่อมเป็นสิ่งที่ ประจักษ์ ก้องกีรติ เรียกว่า '''“พรรคท้องถิ่นอุปถัมภ์”''' '''(local patronage party)''' กล่าวคือ ''“ไม่เน้นนโยบายระดับชาติ หลีกเลี่ยงการเมืองเชิงอุดมการณ์ เน้นการสร้างระบบหัวคะแนนและเครือข่ายท้องถิ่นอุปถัมภ์เพื่อหล่อเลี้ยงความนิยมที่แข็งแรงในพื้นที่ อัดฉีดงบประมาณและสร้างความเจริญในระดับจังหวัด”'' พรรคการเมืองประเภทนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยตระกูลการเมืองที่สืบทอดมาอย่างยาวนานหรือที่รู้จักกันว่า '''“บ้านใหญ่”''' ซึ่งเคยเฟื่องฟูก่อนปฏิรูปการเมือง 2540 และฟื้นตัวกลับมาภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 และรัฐธรรมนูญ 2560[[#_ftn8|[8]]] อันเป็นสาเหตุสำคัญของการต่อรองตำแหน่งทางการเมืองจนนำไปสู่การ<br/> ไร้เสถียรภาพของรัฐบาล
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในการเลือกตั้งปี 2562 พรรคภูมิใจไทยได้ที่นั่งไปถึง 51 ที่นั่ง จึงถือเป็นพรรคการเมืองขนาดกลางที่เป็นตัวตัดสินการจัดตั้ง/ล้มรัฐบาล (king-maker role) การเปลี่ยนสโลแกนหาเสียงจาก “ลดอำนาจรัฐเพื่อปากท้องประชาชน” ในการเลือกตั้งปี 2562 มาเป็น “พูดแล้วทำ” ในการเลือกตั้งปี 2566 จึงสะท้อนถึงการแข่งขันเชิงนโยบายอย่างเข้มข้นได้เป็นอย่างดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกระแสสังคมให้ความสนใจต่อคำมั่นสัญญาที่พรรครัฐบาลได้ให้ไว้ในช่วงเลือกตั้งด้วยแล้ว ย่อมถือได้ว่าพรรคภูมิใจไทยชิงความได้เปรียบเหนือพรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีฐานเสียงใกล้เคียงกัน แคมเปญ “พูดแล้วทำ” นอกจากจะให้ภาพยุทธศาสตร์เฉพาะของพรรคการเมืองหนึ่งแล้ว ยังอาจหมายความได้ว่าการเมืองไทยได้มาถึงจุดที่คำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครและพรรคการเมืองในช่วงเลือกตั้งผูกมัดพวกเขามากกว่าที่เคยเป็นมา อย่างไรก็ตามหากพิจารณาฐานเสียงของพรรคภูมิใจไทยที่จำกัด กระจุกตัว อยู่ในพื้นที่อีสานตอนใต้ ภาคกลาง&nbsp;และภาคใต้บางจังหวัด ประกอบกับการจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยดูแลไปสู่พื้นที่เหล่านี้เป็นการเฉพาะ ย่อมเป็นสิ่งที่ ประจักษ์ ก้องกีรติ เรียกว่า '''“พรรคท้องถิ่นอุปถัมภ์”''' '''(local patronage party)''' กล่าวคือ ''“ไม่เน้นนโยบายระดับชาติ หลีกเลี่ยงการเมืองเชิงอุดมการณ์ เน้นการสร้างระบบหัวคะแนนและเครือข่ายท้องถิ่นอุปถัมภ์เพื่อหล่อเลี้ยงความนิยมที่แข็งแรงในพื้นที่ อัดฉีดงบประมาณและสร้างความเจริญในระดับจังหวัด”'' พรรคการเมืองประเภทนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยตระกูลการเมืองที่สืบทอดมาอย่างยาวนานหรือที่รู้จักกันว่า '''“บ้านใหญ่”''' ซึ่งเคยเฟื่องฟูก่อนปฏิรูปการเมือง 2540 และฟื้นตัวกลับมาภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 และรัฐธรรมนูญ 2560[[#_ftn8|[8]]] อันเป็นสาเหตุสำคัญของการต่อรองตำแหน่งทางการเมืองจนนำไปสู่การไร้เสถียรภาพของรัฐบาล


= <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> =

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:04, 6 กรกฎาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : ฐิติกร สังข์แก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

 

บทนำ

          “พูดแล้วทำ” เป็นแคมเปญหาเสียงของพรรคภูมิใจไทยในการลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี 2566 เพื่อสื่อแสดงกับประชาชนผู้เลือกตั้งว่าได้ดำเนินนโยบายตามที่สัญญากับประชาชนในการเลือกตั้งครั้งก่อน อันแตกต่างจากพรรคการเมืองอื่น โดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งขณะนั้นหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงผลงานและนโยบายหาเสียงของตนเอง สโลแกน “พูดแล้วทำ” มีจุดเริ่มต้นจากงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2564 ซึ่งจัดขึ้นที่อินดอร์สเตเดียม อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2564 โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึงผลงานโดดเด่นที่ผ่านมาของพรรค ซึ่งได้ทำตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน หลังจากนั้นสโลแกน “พูดแล้วทำ” ก็กลายเป็นแคมเปญหลักของพรรคภูมิใจไทย ซึ่งปรากฏบนเว็บไซต์ทางการของพรรค ป้ายหาเสียง รวมถึงเพลงและมิวสิควิดีโอ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2566

ภูมิใจไทยกับสโลแกน “ลดอำนาจรัฐ เพื่อปากท้องประชาชน”

          เว็บไซต์ทางการของพรรคระบุว่า พรรคภูมิใจไทยก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2551 และมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเรื่อยมา โดยปี 2551 ได้ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ ทว่าในการเลือกตั้งปี 2554 ได้รับเลือกตั้ง ส.ส. 34 คน แต่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อถึงการเลือกตั้งปี 2562 พรรคภูมิใจไทยนำโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เลขาธิการพรรค ลงแข่งขันเลือกตั้งได้ ส.ส. ทั้งสิ้น 51 คน (เขต 39 คนและบัญชีรายชื่อ 12 คน) และได้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ เพื่อสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม และกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[1]

          ในการหาเสียงเลือกตั้งปี 2562 พรรคภูมิใจไทยได้ชูสโลแกน “ลดอำนาจรัฐ เพื่อปากท้องประชาชน” โดยนำเสนอนโยบายสำคัญ ได้แก่ ทวงคืนผลกำไรให้เกษตรกร แก้ปัญหากองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และส่งเสริมโครงการเรียนฟรีในระบบออนไลน์ ยกระดับสถานะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นหมอประจำหมู่บ้าน ผลักดันให้การเรียกรถบริการออนไลน์ถูกกฎหมายทำงานนอกบ้านแค่ 4 วันอีก 1 วัน ทำงานจากที่บ้าน และที่สำคัญอันเป็นจุดขายมากที่สุด คือ การปลดล็อคกัญชาจากสารเสพติดและผลักดันให้ใช้กัญชาทางการแพทย์[2] ภายหลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง พรรคภูมิใจไทยได้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลโดยได้รับการจัดสรรตำแหน่งหลายกระทรวง แต่ที่ได้รับการจับตามองมากที่สุด คือ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงคมนาคม ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ ตามลำดับ เนื่องจากทั้งสองกระทรวงสามารถผลักดันนโยบายและโครงการใหญ่ที่มีงบประมาณมหาศาล

“พูดแล้วทำ” สโลแกนหาเสียงเลือกตั้ง 2566 ของภูมิใจไทย

          เมื่อรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา บริหารประเทศไปได้ระยะหนึ่ง ก็เกิดกระแสทบทวนทวงถามนโยบายที่พรรครัฐบาลได้หาเสียงไว้ในช่วงเลือกตั้ง โดยเฉพาะเป้าหมายของการวิจารณ์ที่พุ่งไปยังพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งนายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เคยหาเสียงไว้ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้งปี 2562 เพจเฟสบุ๊ค (Facebook) ของพรรคพลังประชารัฐ ได้เผยแพร่อินโฟกราฟฟิก “เซอร์ไพรส์นโยบาย” 5 ด้าน ประกอบด้วย

          1) ผลักดันค่าแรงขั้นต่ำ 400 - 425 บาท

          2) เงินเดือนปริญญาตรี 2 หมื่น อาชีวะ 1.8 หมื่น 

          3) เด็กจบใหม่ยกเว้นภาษี 5 ปี

          4) ยกเว้นภาษีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ 2 ปี

          5) ลดภาษีบุคคลธรรมดา 10%

          ทั้งนี้ ผู้ใช้เฟสบุ๊คจำนวนหนึ่งต่างแชร์ภาพนโยบายของพรรคพลังประชารัฐไม่ต่ำกว่า 14,000 ครั้ง พร้อมข้อความวิจารณ์ว่ารัฐบาลไม่สามารถทำตามที่ได้ประกาศไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง[3] การทวงถามคำสัญญาเชิงนโยบายจากพรรคพลังประชารัฐ แพร่หลายขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าโพสต์และอินโฟกราฟฟิก “เซอร์ไพรส์นโยบาย” ถูกลบออกไปจากเพจเฟสบุ๊คของพรรค ขณะที่แม้แต่กรรมการบริหารพรรคอย่าง นายไพบูลย์ นิติตะวัน และนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ เองก็ยังยอมรับว่าบางนโยบายไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของพรรคอื่น และให้เดินหน้าผลักดันนโยบายใหม่แทน[4]

          ในห้วงรอยต่อระหว่างการริเริ่มทวงถามคำสัญญากับการลบโพสต์ “เซอร์ไพรส์นโยบาย” นี้เอง พรรคภูมิใจไทยช่วงชิงความได้เปรียบโดยนำเสนอสโลแกนใหม่ “พูดแล้วทำ” ซึ่งปรากฏครั้งแรกในการจัดประชุมใหญ่สามัญของพรรค ณ อินดอร์สเตเดียม อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2564 โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล ได้แถลงผลงานของพรรคที่ได้ทำตามคำมั่นสัญญาไว้ อาทิ การปลดล็อคกัญชาออกจากกดหมายยาเสพติด เปิดคลินิกกัญชากว่า 700 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งครอบคลุมดูแลประชาชนกว่า 200,000 คน จ่ายน้ำมันกัญชาไปแล้ว 500,000 ขวด และจ่ายยาที่มีส่วนผสมของกัญชาไปแล้ว 3 ล้านเม็ด ในด้านสาธารณสุขอื่น ๆ ได้แก่ จัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างครอบคลุม จัดหาค่าตอบแทนให้ อสม. ทั่วประเทศ เป็นต้น ส่วนด้านการคมนาคมได้ทำให้การเรียกบริการรถผ่านแอพพลิเคชั่นถูกกฎหมาย เดินหน้าโครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-หนองคาย ระยะทาง 253 กิโลเมตร โครงการรถไฟทางคู่ภาคอีสาน ด้วยงบลงทุน 1.7 แสนล้านบาท เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วผลงานอื่น ๆ เช่นกระตุ้นการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 ผ่านการเปลี่ยนบ้านประชาชนให้กลายเป็นโฮมสเตย์ การแบนสารพิษอันตราย การพัฒนาระบบประปาทั่วประเทศ การกู้ยืม กยศ. โดยไม่ต้องค้ำประกัน ไร้ดอกเบี้ย ไม่ต้องจ่ายเบี้ยปรับ เป็นต้น ทั้งนี้นายอนุทินกล่าวทิ้งท้ายว่า “พรรคภูมิใจไทยจะนำคนไทยรอดจากเชื้อโรคร้าย คนไทยรอดจากหนี้สินและความยากจน เราจะไม่ยอมให้ประชาชนถูกเอาเปรียบด้วยอำนาจที่ไม่เป็นธรรม กลับกัน กระทั่งปิดกั้นการทำมาหากินของประชาชน สำหรับพรรคภูมิใจไทยเรามีแค่ 3 คำ ที่ต้องการจะเน้นย้ำคือเรา พูด แล้ว ทำ”[5]

          นับจากนั้นเป็นต้นมา สโลแกน “พูดแล้วทำ” ก็กลายเป็นแคมเปญเลือกตั้งปี 2566 ของพรรคภูมิใจไทย ซึ่งปรากฏบนแบรนด์เนอร์ของพรรค ป้ายหาเสียง เว็บไซต์ทางการของพรรค ตลอดจนมิวสิควิดีโอ “พูดแล้วทำ” ที่เผยแพร่ผ่านช่องยูทูป (YouTube) ภูมิใจไปด้วยกัน โดยไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์ และผู้ขับร้อง เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2565 โดยเนื้อร้องตอนหนึ่งว่า

 

                   คำพูดนั้นมันเป็นนายของคนที่พูด เมื่อพูดออกไปแล้วก็ต้องทำเหมือนดั่งคำพูด

                    ให้การกระทำและความจริงใจเป็นเครื่องพิสูจน์  ว่าพูดแล้วทำ ทำแล้วก็ทำได้ดี

 

                    ความรัก และความห่วงใยใช่สักแต่พูด

                    การบ้านการเมืองเป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ศักดิ์ศรี

                    สมัครมาพูด หรือว่ามาทำคุณงามความดี หัวใจดวงนี้ของฉันได้พิสูจน์แล้ว

 

                    จากไร่กัญชา จนถึงยาโควิด ประคองชีวิตฝ่าวิกฤตกันมา

                    จากฟ้าจรดน้ำ ทั้งเลือกสวนไร่นา ทำเหมือนดังวาจา จริงทุกนโยบาย

 

                    ขอบคุณที่ไว้วางใจให้ภูมิใจไทย รับใช้มาเสมอ

                    ภูมิใจไทย ภูมิใจทำเพื่อเธอ มีชีวิตให้เธอด้วยความภาคภูมิใจ 

 

                    ภูมิใจไทย ภูมิใจไทย ภูมิใจไทย ฉันภูมิใจทำ

                    ภูมิใจไทย ภูมิใจที่ได้ทำ ดังคำพูดทุกคำ พูดแล้วก็ทำได้

 

                    พูดแล้วก็ทำ ทำแล้วก็ดี ดีแล้วก็ภูมิใจ

                    พูดแล้วก็ทำ ทำแล้วก็ดี ดีแล้วก็ภูมิใจ

                    ภูมิใจไทย[6]

 

          ภายในคลิปมิวสิควิดีโอดังกล่าวบรรจุไปด้วยภาพและข้อความประกอบที่แสดงถึงผลงานของพรรคจำนวนมาก ทั้งนี้ก็เพื่อตอกย้ำความสำเร็จเชิงนโยบายของพรรค เนื้อหาส่วนใหญ่ของมิวสิควิดีโอให้น้ำหนักไปที่นโยบายด้านสาธารณสุขและด้านการคมนาคมเป็นพิเศษ นอกจากนั้นแล้วเป็นที่น่าสังเกตว่า ภายหลังเปลี่ยนสโลแกนจาก “ลดอำนาจรัฐ เพื่อปากท้องประชาชน” เป็น “พูดแล้วทำ” ส.ส. ของพรรคภูมิใจไทยก็ขานรับสโลแกน โดยปราศรัยแถลงข่าวและแสดงออกไปในทางที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ดังกล่าวด้วย เช่น กรณีที่นายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส. นครพนม และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ปราศรัยที่จังหวัดนครพนม กล่าวถึงการอภิปรายเรื่องงบประมาณกระทรวงคมนาคมที่นำไปพัฒนาจังหวัด บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ และโดยเฉพาะนครพนม ทั้งที่มี ส.ส. ไม่กี่คน โดยนายศุภชัย โพธิ์สุ ปราศรัยอย่างร้อนแรงว่า “ผมเป็นประธานคนบัลลังก์ อยากจะบอกมันว่า ก็นครพนมมี ส.ส.ของพรรคภูมิใจไทยอยู่ที่นี่ไงไอ้โง่...มันโง่จริงหรือมันแกล้งโง่ ถ้าสกลนครอยากได้งบพัฒนาเยอะ ๆ มึงเลือกฝ่ายรัฐบาลซิ เลือกพรรคภูมิใจไทยสัก 6-7 เขต รับรองสกลนครเจริญทัดเทียมจังหวัดนครพนมอย่างแน่นอน”[7]

นัยสำคัญต่อการเมืองไทย

          ในการเลือกตั้งปี 2562 พรรคภูมิใจไทยได้ที่นั่งไปถึง 51 ที่นั่ง จึงถือเป็นพรรคการเมืองขนาดกลางที่เป็นตัวตัดสินการจัดตั้ง/ล้มรัฐบาล (king-maker role) การเปลี่ยนสโลแกนหาเสียงจาก “ลดอำนาจรัฐเพื่อปากท้องประชาชน” ในการเลือกตั้งปี 2562 มาเป็น “พูดแล้วทำ” ในการเลือกตั้งปี 2566 จึงสะท้อนถึงการแข่งขันเชิงนโยบายอย่างเข้มข้นได้เป็นอย่างดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกระแสสังคมให้ความสนใจต่อคำมั่นสัญญาที่พรรครัฐบาลได้ให้ไว้ในช่วงเลือกตั้งด้วยแล้ว ย่อมถือได้ว่าพรรคภูมิใจไทยชิงความได้เปรียบเหนือพรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีฐานเสียงใกล้เคียงกัน แคมเปญ “พูดแล้วทำ” นอกจากจะให้ภาพยุทธศาสตร์เฉพาะของพรรคการเมืองหนึ่งแล้ว ยังอาจหมายความได้ว่าการเมืองไทยได้มาถึงจุดที่คำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครและพรรคการเมืองในช่วงเลือกตั้งผูกมัดพวกเขามากกว่าที่เคยเป็นมา อย่างไรก็ตามหากพิจารณาฐานเสียงของพรรคภูมิใจไทยที่จำกัด กระจุกตัว อยู่ในพื้นที่อีสานตอนใต้ ภาคกลาง และภาคใต้บางจังหวัด ประกอบกับการจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยดูแลไปสู่พื้นที่เหล่านี้เป็นการเฉพาะ ย่อมเป็นสิ่งที่ ประจักษ์ ก้องกีรติ เรียกว่า “พรรคท้องถิ่นอุปถัมภ์” (local patronage party) กล่าวคือ “ไม่เน้นนโยบายระดับชาติ หลีกเลี่ยงการเมืองเชิงอุดมการณ์ เน้นการสร้างระบบหัวคะแนนและเครือข่ายท้องถิ่นอุปถัมภ์เพื่อหล่อเลี้ยงความนิยมที่แข็งแรงในพื้นที่ อัดฉีดงบประมาณและสร้างความเจริญในระดับจังหวัด” พรรคการเมืองประเภทนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยตระกูลการเมืองที่สืบทอดมาอย่างยาวนานหรือที่รู้จักกันว่า “บ้านใหญ่” ซึ่งเคยเฟื่องฟูก่อนปฏิรูปการเมือง 2540 และฟื้นตัวกลับมาภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 และรัฐธรรมนูญ 2560[8] อันเป็นสาเหตุสำคัญของการต่อรองตำแหน่งทางการเมืองจนนำไปสู่การไร้เสถียรภาพของรัฐบาล

บรรณานุกรม

““ครูแก้ว” เดือดด่า “ไอ้โง่” ถูกโจมตีเรื่องงบฯ บอกสกลนครรอบหน้าให้เลือก ภท..” ไทยรัฐออนไลน์ (4 ธันวาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/2570066>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

ประจักษ์ ก้องกีรติ (2565). “แนวโน้มผลการเลือกตั้ง 2566.” มติชนสุดสัปดาห์ ออนไลน์ (5 ธันวาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/column/article_626527>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

พรรคภูมิใจไทย. “เกี่ยวภูมิใจไทย.” เข้าถึงจาก <https://bhumjaithai.com/party/about>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

“พูดแล้วทำ.” Youtube Channel: ภูมิใจไปด้วยกัน (17 เมษายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.youtube.com/watch?v=g9Kqt1lgJ9I>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

“‘พูดแล้วทำ’ แคมเปญใหม่ภูมิใจไทย อนุทินประกาศสู้ศึกเลือกตั้ง ยกคลายล็อกกัญชา-แก้ปัญหา กยศ. เป็นผลงานเด่น.” The Standard (20 ธันวาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/bhumjaithai-party-191264/>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

“สรุป ‘เซอร์ไพรส์นโยบาย’ เปิดเหตุผลจากคน ‘พลังประชารัฐ’ ทำไมถึงลบ.” Workpoint Today (26 พฤษภาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/surprise-policy-2/>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

“แห่แชร์ครบ 1 ปีนโยบายหาเสียง พปชร.อัดเศรษฐกิจขายฝัน ไม่สำเร็จสักอย่าง.” Voice online (14 มีนาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://voicetv.co.th/read/jULtUA6Sc>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

“อนุทิน ชาญวีรกูล”นำทัพ”ลดอำนาจรัฐ เพื่อปากท้องประชาชน.” พรรคภูมิใจไทย (2 มกราคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.bhumjaithai.com/news/2428>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

อ้างอิง

[1] พรรคภูมิใจไทย, “เกี่ยวภูมิใจไทย,” เข้าถึงจาก <https://bhumjaithai.com/party/about>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

[2] “อนุทิน ชาญวีรกูล”นำทัพ”ลดอำนาจรัฐ เพื่อปากท้องประชาชน,” พรรคภูมิใจไทย (2 มกราคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.bhumjaithai.com/news/2428>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

[3] “แห่แชร์ครบ 1 ปีนโยบายหาเสียง พปชร.อัดเศรษฐกิจขายฝัน ไม่สำเร็จสักอย่าง,” Voice online (14 มีนาคม 2563). เข้าถึงจาก <https://voicetv.co.th/read/jULtUA6Sc>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

[4] “สรุป ‘เซอร์ไพรส์นโยบาย’ เปิดเหตุผลจากคน ‘พลังประชารัฐ’ ทำไมถึงลบ,” Workpoint Today (26 พฤษภาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://workpointtoday.com/surprise-policy-2/>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

[5] “‘พูดแล้วทำ’ แคมเปญใหม่ภูมิใจไทย อนุทินประกาศสู้ศึกเลือกตั้ง ยกคลายล็อกกัญชา-แก้ปัญหา กยศ. เป็นผลงานเด่น,” The Standard (20 ธันวาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/bhumjaithai-party-191264/>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

[6] “พูดแล้วทำ,” Youtube Channel: ภูมิใจไปด้วยกัน (17 เมษายน 2565). เข้าถึงจาก <https://www.youtube.com/watch?v=g9Kqt1lgJ9I>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

[7] ““ครูแก้ว” เดือดด่า “ไอ้โง่” ถูกโจมตีเรื่องงบฯ บอกสกลนครรอบหน้าให้เลือก ภท.,” ไทยรัฐออนไลน์ (4 ธันวาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/2570066>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

[8] ประจักษ์ ก้องกีรติ, “แนวโน้มผลการเลือกตั้ง 2566,” มติชนสุดสัปดาห์ ออนไลน์ (5 ธันวาคม 2565). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/column/article_626527>. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566.