ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเสวนาหาฉันทามติ (Consensus Conference)"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิต..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
| | ||
'''การเสวนาหาฉันทามติ ( | '''การเสวนาหาฉันทามติ (Consensus Conference)''' | ||
การเสวนาหาฉันทามติเป็นกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะที่พัฒนาขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 1960 เพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวเวชศาสตร์ (biomedical technology) และมีการนำกระบวนการที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ครั้งแรกโดยหน่วยงานด้านบริการสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม การเสวนาหาฉันทามติได้ถูกพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีของประเทศเดนมาร์ก (Danish Board of Technology) และมีการนำไปศึกษาต่อยอดโดยสถาบันวิชาการด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Science) ของประเทศเดนมาร์กในเวลาต่อมา[[#_ftn1|[1]]] | การเสวนาหาฉันทามติเป็นกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะที่พัฒนาขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 1960 เพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวเวชศาสตร์ (biomedical technology) และมีการนำกระบวนการที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ครั้งแรกโดยหน่วยงานด้านบริการสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม การเสวนาหาฉันทามติได้ถูกพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีของประเทศเดนมาร์ก (Danish Board of Technology) และมีการนำไปศึกษาต่อยอดโดยสถาบันวิชาการด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Science) ของประเทศเดนมาร์กในเวลาต่อมา[[#_ftn1|[1]]] | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
ถึงแม้ว่ากระบวนการเสวนาหาฉันทามติจะมีการจัดอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกาและเดนมาร์ก แต่ตัวอย่างกระบวนการที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงตัวอย่างหนึ่ง คือ การจัดกระบวนการ การเสวนาหาฉันทามติ ในสหราชอาณาจักร โดย Edward Andersson ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1999 ในประเด็นการจัดการขยะกัมมันตรังสี (radioactive waste management) โดยประชาชนผู้เข้าร่วมกระบวนการที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน ได้มาร่วมกันพูดคุยเพื่อเสนอแนะแนวทางระยะยาวในการจัดการขยะกัมมันตรังสีที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน ผลที่ได้รับจากการจัดกระบวนการดังกล่าวได้รับการยอมรับว่ามีส่วนสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชนทั้งผู้เข้าร่วมกระบวนการและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับขยะกัมมันตรังสีและสถานการณ์ปัญหาที่กำลังสร้างผลกระทบต่อสังคมในขณะนั้น[[#_ftn6|[6]]] | ถึงแม้ว่ากระบวนการเสวนาหาฉันทามติจะมีการจัดอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกาและเดนมาร์ก แต่ตัวอย่างกระบวนการที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงตัวอย่างหนึ่ง คือ การจัดกระบวนการ การเสวนาหาฉันทามติ ในสหราชอาณาจักร โดย Edward Andersson ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1999 ในประเด็นการจัดการขยะกัมมันตรังสี (radioactive waste management) โดยประชาชนผู้เข้าร่วมกระบวนการที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน ได้มาร่วมกันพูดคุยเพื่อเสนอแนะแนวทางระยะยาวในการจัดการขยะกัมมันตรังสีที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน ผลที่ได้รับจากการจัดกระบวนการดังกล่าวได้รับการยอมรับว่ามีส่วนสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชนทั้งผู้เข้าร่วมกระบวนการและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับขยะกัมมันตรังสีและสถานการณ์ปัญหาที่กำลังสร้างผลกระทบต่อสังคมในขณะนั้น[[#_ftn6|[6]]] | ||
การเสวนาหาฉันทามติสามารถนำไปใช้กับสถานการณ์และห้วงเวลาที่หลากหลาย และเป็นกระบวนการที่สามารถนำไปช่วยเติมเต็มข้อจำกัดของกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะรูปแบบอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี การเสวนาหาฉันทามติเหมาะสำหรับประเด็นปัญหาที่เป็นความขัดแย้งในระดับชาติ รวมถึงประเด็นปัญหาที่มีความซับซ้อนหรือต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษในการแก้ปัญหา กระบวนการที่ใช้ในการเสวนาหาฉันทามติมีความโดดเด่นในการนำความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปที่ได้รับทราบผ่านกระบวนการไปเสนอต่อประชาชนทั่วไปคนอื่น ๆ ในภาษาที่เข้าใจง่าย ทำให้ประชาชนคนอื่น ๆ | การเสวนาหาฉันทามติสามารถนำไปใช้กับสถานการณ์และห้วงเวลาที่หลากหลาย และเป็นกระบวนการที่สามารถนำไปช่วยเติมเต็มข้อจำกัดของกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะรูปแบบอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี การเสวนาหาฉันทามติเหมาะสำหรับประเด็นปัญหาที่เป็นความขัดแย้งในระดับชาติ รวมถึงประเด็นปัญหาที่มีความซับซ้อนหรือต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษในการแก้ปัญหา กระบวนการที่ใช้ในการเสวนาหาฉันทามติมีความโดดเด่นในการนำความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปที่ได้รับทราบผ่านกระบวนการไปเสนอต่อประชาชนทั่วไปคนอื่น ๆ ในภาษาที่เข้าใจง่าย ทำให้ประชาชนคนอื่น ๆ สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาและมีข้อมูลในมือที่มากพอสำหรับการเข้าร่วมการปรึกษาหารือสาธารณะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เกี่ยวข้องกลุ่มอื่น ๆ[[#_ftn7|[7]]] | ||
ประโยชน์ของการนำการเสวนาหาฉันทามติไปประยุคใช้ในการตัดสินใจสาธารณะ คือ การเปิดโอกาสให้สมาชิกของชุมชนได้พูดคุยกันเกี่ยวกับปัญหาของชุมชน ช่วยเพิ่มความรู้และความสามารถในการมีส่วนร่วมในการอภิปรายดังกล่าว และสามารถหาจุดยืนร่วมกันที่ผู้เข้าร่วมทุกคนสามารถ "เป็นเจ้าของได้" ในตอนท้ายของการเสวนาหาฉันทามติ จะได้ผลลัพธ์เป็นคำแถลงการณ์ที่สะท้อนการตัดสินใจร่วมกันของผู้เข้าร่วมทั้งหมดในประเด็นหรือข้อเสนอ[[#_ftn8|[8]]] | ประโยชน์ของการนำการเสวนาหาฉันทามติไปประยุคใช้ในการตัดสินใจสาธารณะ คือ การเปิดโอกาสให้สมาชิกของชุมชนได้พูดคุยกันเกี่ยวกับปัญหาของชุมชน ช่วยเพิ่มความรู้และความสามารถในการมีส่วนร่วมในการอภิปรายดังกล่าว และสามารถหาจุดยืนร่วมกันที่ผู้เข้าร่วมทุกคนสามารถ "เป็นเจ้าของได้" ในตอนท้ายของการเสวนาหาฉันทามติ จะได้ผลลัพธ์เป็นคำแถลงการณ์ที่สะท้อนการตัดสินใจร่วมกันของผู้เข้าร่วมทั้งหมดในประเด็นหรือข้อเสนอ[[#_ftn8|[8]]] | ||
บรรทัดที่ 60: | บรรทัดที่ 60: | ||
[[#_ftnref12|[12]]] Einsiedel, Edna F., Erling Jelsøe, and Thomas Breck. "Publics at the technology table: The consensus conference in Denmark, Canada, and Australia." Public understanding of science 10.1 (2001): 83-98. | [[#_ftnref12|[12]]] Einsiedel, Edna F., Erling Jelsøe, and Thomas Breck. "Publics at the technology table: The consensus conference in Denmark, Canada, and Australia." Public understanding of science 10.1 (2001): 83-98. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]][[Category:การเมืองภาคพลเมือง]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] | [[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]] [[Category:การเมืองภาคพลเมือง]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:07, 17 กุมภาพันธ์ 2566
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
การเสวนาหาฉันทามติ (Consensus Conference)
การเสวนาหาฉันทามติเป็นกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะที่พัฒนาขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 1960 เพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวเวชศาสตร์ (biomedical technology) และมีการนำกระบวนการที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ครั้งแรกโดยหน่วยงานด้านบริการสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม การเสวนาหาฉันทามติได้ถูกพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีของประเทศเดนมาร์ก (Danish Board of Technology) และมีการนำไปศึกษาต่อยอดโดยสถาบันวิชาการด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Science) ของประเทศเดนมาร์กในเวลาต่อมา[1]
รูปแบบของการเสวนาหาฉันทามติที่ใช้ในประเทศเดนมาร์กเป็นการจัดเวทีสาธารณะในรูปแบบงานสัมมนาเป็น ระยะเวลา 3 วัน อย่างไรก็ตาม ก่อนถึงวันสัมมนาดังกล่าว จะต้องมีกระบวนการศึกษาเรียนรู้และจัดเตรียมข้อมูลโดยการนำตัวแทนของประชาชนที่ได้จากการสุ่มเลือก 14 คน มาเป็นคณะบุคคลภาคพลเมือง (citizen panelists) ในกระบวนการได้มาซึ่งคณะบุคคลภาคพลเมืองนี้ จะเริ่มต้นจากการส่งจดหมายเชิญไปยังประชาชนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,000 คน ก่อนที่จะทำการสุ่มเลือกคณะบุคคลภาคพลเมืองที่ต้องการจากประชาชนที่ตอบรับคำเชิญเข้ามา[2]
ภารกิจสำคัญของคณะบุคคลภาคพลเมืองคือการประชุมร่วมกันอย่างน้อย 2 ครั้งในช่วงสุดสัปดาห์ เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจประเด็นเชิงเทคนิคที่มีความซับซ้อนยุ่งยาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการประเมินผลการใช้เทคโนโลยี (Technology Assessment) นโยบายด้านวิทยาศาสตร์ และผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีและนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ดังกล่าวต่อสังคมในวงกว้าง[3]
ในการสัมมนากระบวนการในวันแรกจะเริ่มต้นจากการนำเสนอข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับเชิญมาเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่คณะบุคคลพลเมือง ซึ่งโดยทั่วไปจะมีราว 13-15 คน จากนั้นในวันที่สองจะเป็นการประชุมร่วมกันระหว่างคณะบุคคลภาคพลเมืองกับผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับเชิญมาเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่คณะบุคคลพลเมืองในเวทีถาม-ตอบ (question-and-answer sessions) ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมรับฟังได้ จากนั้นคณะบุคคลภาคพลเมือง จะไปพูดคุยถกเถียงเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ เพื่อพิจารณาข้อดี-ข้อเสียของทางเลือกเชิงนโยบายต่าง ๆ ก่อนที่จะนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อผู้กำหนดนโยบายในรูปรายงานฉบับสมบูรณ์[4]
การเสวนาหาฉันทามติในเดนมาร์กหลายครั้งได้ส่งผลให้เกิดการอภิปรายถกเถียงสาธารณะอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับเทคโนโลยี และด้วยเหตุนี้นักการเมืองจึงตระหนักถึงทัศนคติ ความหวัง และความกังวลของสาธารณชนในประเด็นดังกล่าว หลายครั้งที่การเสวนาหาฉันทามติทำให้เกิดการอภิปรายทางการเมืองและการริเริ่มกฎระเบียบใหม่ ตัวอย่างที่สำคัญดังกรณีการออกกฎหมายห้ามใช้การทดสอบยีนเพื่อวัตถุประสงค์ในการจ้างงานหรือการทำสัญญาค้ำประกัน[5]
ถึงแม้ว่ากระบวนการเสวนาหาฉันทามติจะมีการจัดอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกาและเดนมาร์ก แต่ตัวอย่างกระบวนการที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงตัวอย่างหนึ่ง คือ การจัดกระบวนการ การเสวนาหาฉันทามติ ในสหราชอาณาจักร โดย Edward Andersson ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1999 ในประเด็นการจัดการขยะกัมมันตรังสี (radioactive waste management) โดยประชาชนผู้เข้าร่วมกระบวนการที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน ได้มาร่วมกันพูดคุยเพื่อเสนอแนะแนวทางระยะยาวในการจัดการขยะกัมมันตรังสีที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน ผลที่ได้รับจากการจัดกระบวนการดังกล่าวได้รับการยอมรับว่ามีส่วนสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชนทั้งผู้เข้าร่วมกระบวนการและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับขยะกัมมันตรังสีและสถานการณ์ปัญหาที่กำลังสร้างผลกระทบต่อสังคมในขณะนั้น[6]
การเสวนาหาฉันทามติสามารถนำไปใช้กับสถานการณ์และห้วงเวลาที่หลากหลาย และเป็นกระบวนการที่สามารถนำไปช่วยเติมเต็มข้อจำกัดของกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะรูปแบบอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี การเสวนาหาฉันทามติเหมาะสำหรับประเด็นปัญหาที่เป็นความขัดแย้งในระดับชาติ รวมถึงประเด็นปัญหาที่มีความซับซ้อนหรือต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษในการแก้ปัญหา กระบวนการที่ใช้ในการเสวนาหาฉันทามติมีความโดดเด่นในการนำความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปที่ได้รับทราบผ่านกระบวนการไปเสนอต่อประชาชนทั่วไปคนอื่น ๆ ในภาษาที่เข้าใจง่าย ทำให้ประชาชนคนอื่น ๆ สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาและมีข้อมูลในมือที่มากพอสำหรับการเข้าร่วมการปรึกษาหารือสาธารณะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เกี่ยวข้องกลุ่มอื่น ๆ[7]
ประโยชน์ของการนำการเสวนาหาฉันทามติไปประยุคใช้ในการตัดสินใจสาธารณะ คือ การเปิดโอกาสให้สมาชิกของชุมชนได้พูดคุยกันเกี่ยวกับปัญหาของชุมชน ช่วยเพิ่มความรู้และความสามารถในการมีส่วนร่วมในการอภิปรายดังกล่าว และสามารถหาจุดยืนร่วมกันที่ผู้เข้าร่วมทุกคนสามารถ "เป็นเจ้าของได้" ในตอนท้ายของการเสวนาหาฉันทามติ จะได้ผลลัพธ์เป็นคำแถลงการณ์ที่สะท้อนการตัดสินใจร่วมกันของผู้เข้าร่วมทั้งหมดในประเด็นหรือข้อเสนอ[8]
นอกจากนี้ การเสวนาหาฉันทามติยังช่วยอำนวยความสะดวกในการอภิปรายสาธารณะในหลากหลายมุมมอง ให้อำนาจแก่ประชาชนในการพัฒนาความเข้าใจอย่างมีข้อมูลและมีส่วนสนับสนุนในการพัฒนานโยบายในหัวข้อที่ละเอียดอ่อน การเสวนาหาฉันทามติแสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นจำนวนมากในประเด็นต่าง ๆ ทำให้สามารถเชื่อมช่องว่างระหว่างผู้เชี่ยวชาญและประชาชนทั่วไป รวมถึงสมาชิกของชุมชนที่ก่อนหน้านี้อาจเข้าไม่ถึงกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะให้สามารถพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ได้[9]
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของการนำการเสวนาหาฉันทามติไปประยุต์ใช้ คือ ค่าใช้จ่ายในการจัดดำเนินการ การรับสมัครผู้เข้าร่วม การจัดเตรียมงาน และการประชุมที่จะต้องดำเนินการเป็นระยะเวลาสองถึงสี่วันทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง กระบวนการคัดเลือกผู้ร่วมเวทีอภิปรายอาจทำได้ยากและต้องทำการประเมินผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อกำหนดกลุ่มที่เกี่ยวข้องที่ควรเข้าร่วม ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าการเป็นตัวแทนจากกลุ่มที่เกี่ยวข้องบรรลุผล สำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่กระบวนการจำเป็นต้องสรรหาสมาชิกที่เป็นตัวแทนและมาจากภูมิหลังที่หลากหลายมากกว่าสมาชิกของชุมชนที่มักจะอยู่ในกระบวนการมีส่วนร่วมตามปกติอยู่แล้ว การประชุมต้องปฏิบัติตามกฎกติกาที่วางไว้อย่างเคร่งครัดเพื่อให้การประชุมประสบความสำเร็จ ลักษณะที่เป็นทางการของเครื่องมืออาจทำให้เข้าถึงยาก จำเป็นต้องมีการผลิตรายงาน และผลการวิจัยอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การเลือกผู้เชี่ยวชาญที่มีประสิทธิภาพมีความสำคัญต่อความสำเร็จของการประชุมซึ่งอาจดำเนินการได้ยากในบางสถานการณ์[10]
ดังนั้น การจัดการเสวนาหาฉันทามติที่มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญหลายประการ ได้แก่ การเลือกคณะกรรมการที่ปรึกษา/วางแผนเพื่อรับผิดชอบโดยรวมเพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามกฎระเบียบของกระบวนการประชาธิปไตย ยุติธรรม และโปร่งใสทั้งหมด การจัดประชุมสาธารณะและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานที่ เวลา และหัวข้อต่อสาธารณชน ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่จะอภิปราย สื่อมวลชน และหน่วยงานในการตัดสินใจที่เหมาะสม การเลือกผู้เข้าร่วมกระบวนการต้องพิจารณาอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ได้ผู้เข้าร่วมที่มีความเป็นตัวแทนของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และ/หรือกลุ่มชุมชนที่เกี่ยวข้อง การว่าจ้างผู้เอื้อกระบวนการมืออาชีพเพื่อทำงานร่วมกับผู้เข้าร่วมกระบวนการในระหว่างการเตรียมการ การจองสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการพบปะกันของผู้เข้าร่วมกระบวนการในช่วงสุดสัปดาห์เพื่อทำงานร่วมกับผู้เอื้อกระบวนการในการกำหนดคำถามที่จะนำมาประชุมและมีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญเพื่อตอบคำถาม ทั้งนี้ โดยความช่วยเหลือของผู้เข้าร่วมกระบวนการ ให้เลือกคณะผู้เชี่ยวชาญในลักษณะที่ทำให้มั่นใจว่าจะได้ความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างรอบด้านและสามารถนำมาใช้ประกอบการอภิปรายในที่ประชุมได้ ผู้เชี่ยวชาญที่ดีไม่เพียงแต่จะมีความรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ที่เปิดกว้างและเป็นนักสื่อสารที่ดีในภาพรวมของสาขาของตนด้วย[11]
ปัจจุบัน การเสวนาหาฉันทามติ มีการนำไปใช้โดยหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายด้านการโทรคมนาคม พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีนาโน ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก และออสเตรเลีย[12]
อ้างอิง
[1] Joss, S. and Durant, J. (eds) 1995, Public Participation in Science: The role of consensus conferences in Europe, Science Museum with the support of the European Commission Directorate General XII, London.
[2] Grundahl, Johs. "The Danish consensus conference model." Public participation in science: The role of consensus conferences in Europe. London: Science Museum, 1995.
[3] Ibid.
[4] Nielsen, A. P., Hansen, J., Skorupinski, B., Ingensiep, H. W., Baranzke, H., Lassen, J., & Sandoe, P. Consensus conference manual. LEI, onderdeel Wageningen UR, 2006.
[5] Joss, Simon. "Danish consensus conferences as a model of participatory technology assessment: an impact study of consensus conferences on Danish Parliament and Danish public debate." Science and public policy 25.1 (1998): 2-22.
[6] Worthington, Richard, Mikko Rask, and Lammi Minna, eds. Citizen participation in global environmental governance. Routledge, 2013.
[7] Andersson, Edward. "Engagement in health: roles for the public and patients." Smart governance for health and well-being: the evidence (2014): 34.
[8] Nielsen, Annika P., et al. Consensus conference manual. LEI, onderdeel Wageningen UR, 2006.
[9] Ibid.
[10] Ibid.
[11] Ibid.
[12] Einsiedel, Edna F., Erling Jelsøe, and Thomas Breck. "Publics at the technology table: The consensus conference in Denmark, Canada, and Australia." Public understanding of science 10.1 (2001): 83-98.