ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เป็ดเหลือง"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 2: บรรทัดที่ 2:
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ดร.สติธร ธนานิธิโชติ


 
 


'''          เป็ดเหลือง''' หรือ '''เป็ดยางสีเหลือง''' '''(Rubber Ducky)''' ซึ่งมีต้นกำเนิดจากการนำผลิตภัณฑ์ยางล้อรถยนต์ของ '''"ชาร์ล กู๊ดเยียร์"''' '''(Charles Goodyear)''' หลังจากนั้นใน ปี ค.ศ. 1940 '''ปีเตอร์ กานีน''' '''(Peter Ganine)''' ประติมากรชาวรัสเซียน-อเมริกัน ได้ออกแบบคิดค้นและจดสิทธิบัตรเป็ดยางในรูปของของเล่นลอยน้ำออกมา ซึ่งเป็นที่นิยมและถูกนำมาใช้ในอ่างอาบน้ำในยุโรป จากนั้นเป็ดเหลืองได้ถูกนำเสนอในวัฒนธรรมป๊อป เมื่อหนังสือพิมพ์เดอะซัน (The Sun) ของอังกฤษ รายงานว่า '''สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ที่ 2''' แห่งสหราชอาณาจักร '''(Queen Elizabeth II)''' ทรงมีเป็ดเหลืองไว้ในห้องอาบน้ำด้วยเช่นกัน และหลังจากนั้นเป็ดเหลืองได้ถูกนำมาประกอบในภาพยนต์ เช่น เพลง Rubber Duckie ที่นำมาประกอบรายการโทรทัศน์ เซซามี สตรีท การ์ตูนทอมแอนด์เจอร์รี่ (Tom & Jerry) หรือ ภาพยนต์แมรี่ ป็อบปิ้นส์ (Mary Poppins) เป็นต้น และใน ปี ค.ศ. 2007 มีศิลปินชาวดัตช์ ชื่อ '''โฟลเรินไตน์ โฮฟมัน''' '''(Florentijn Hofman)''' นำเป็ดเหลืองมาสร้างเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ในชื่อ '''"ความสุขกระจายทั่วโลก"'''  ซึ่งได้นำไปจัดแสดงในหลายเมืองทั่วโลก ได้แก่ อัมสเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์), โลมเมิล (เบลเยียม), โอซากะ (ญี่ปุ่น), ซิดนีย์ (ออสเตรเลีย), เซาเปาลู (บราซิล) และฮ่องกง (จีน) จากนั้น จึงนำไปแสดงที่เมืองพิตต์สเบิร์ก มลรัฐเพนซิลเวเนีย เป็นที่แรกในสหรัฐอเมริกา[[#_ftn1|[1]]] 
'''          เป็ดเหลือง''' หรือ '''เป็ดยางสีเหลือง''' '''(Rubber Ducky)''' ซึ่งมีต้นกำเนิดจากการนำผลิตภัณฑ์ยางล้อรถยนต์ของ '''"ชาร์ล กู๊ดเยียร์"''' '''(Charles Goodyear)''' หลังจากนั้นใน ปี ค.ศ. 1940 ปีเตอร์ กานีน (Peter Ganine) ประติมากรชาวรัสเซียน-อเมริกัน ได้ออกแบบคิดค้นและจดสิทธิบัตรเป็ดยางในรูปของของเล่นลอยน้ำออกมา ซึ่งเป็นที่นิยมและถูกนำมาใช้ในอ่างอาบน้ำในยุโรป จากนั้นเป็ดเหลืองได้ถูกนำเสนอในวัฒนธรรมป๊อป เมื่อหนังสือพิมพ์เดอะซัน (The Sun) ของอังกฤษ รายงานว่า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร (Queen Elizabeth II) ทรงมีเป็ดเหลืองไว้ในห้องอาบน้ำด้วยเช่นกัน และหลังจากนั้นเป็ดเหลืองได้ถูกนำมาประกอบในภาพยนต์ เช่น เพลง Rubber Duckie ที่นำมาประกอบรายการโทรทัศน์ เซซามี สตรีท การ์ตูนทอมแอนด์เจอร์รี่ (Tom & Jerry) หรือ ภาพยนต์แมรี่ ป็อบปิ้นส์ (Mary Poppins) เป็นต้น และใน ปี ค.ศ. 2007 มีศิลปินชาวดัตช์ ชื่อ โฟลเรินไตน์ โฮฟมัน (Florentijn Hofman) นำเป็ดเหลืองมาสร้างเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ในชื่อ '''"ความสุขกระจายทั่วโลก"'''  ซึ่งได้นำไปจัดแสดงในหลายเมืองทั่วโลก ได้แก่ อัมสเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์), โลมเมิล (เบลเยียม), โอซากะ (ญี่ปุ่น), ซิดนีย์ (ออสเตรเลีย), เซาเปาลู (บราซิล) และฮ่องกง (จีน) จากนั้น จึงนำไปแสดงที่เมืองพิตต์สเบิร์ก มลรัฐเพนซิลเวเนีย เป็นที่แรกในสหรัฐอเมริกา[[#_ftn1|[1]]] 


'''          '''อย่างไรก็ดี เป็ดเหลืองได้ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมทางการเมืองเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวและสะท้อนปัญหาสังคม อาทิ การคอร์รัปชัน เสรีภาพ รวมถึงการเรียกร้องประชาธิปไตย ตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐเซอร์เบีย ในปี ค.ศ. 2015 ได้มีกลุ่มประชาชนและนักเคลื่อนไหวที่เรียกตัวเองว่า '''"Let Us Not Drown Belgrade"''' นัดชุมนุมเดินขบวนพร้อมกับใช้เป็ดยางสีเหลืองที่มีความสูง 2 เมตร เป็นสัญลักษณ์เพื่อคัดค้านการลงนามข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลเซอร์เบีย กับ บริษัทอีเกิล ฮิลส์ จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในการโครงการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำในกรุงเบลเกรดซึ่งมีมูลค่ากว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ โครงการดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์และคัดค้านอย่างหนักจากภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชน[[#_ftn2|[2]]] และต่อมาใน ปี ค.ศ. 2020 เป็ดยักษ์สีเหลืองถูกนำกลับมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อประท้วงเรียกร้องให้คว่ำบาตรการเลือกตั้ง เนื่องจากพวกเขาไม่พอใจและต่อต้านการที่ประธานาธิบดี อาเล็กซานดาร์ วูชิช (Aleksandar Vučić) ตัดสินใจใช้มาตรการล็อกดาวน์ เพื่อสกัดกั้นการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกที่สอง โดยผู้ประท้วงมองว่ามาตรการดังกล่าวมีขึ้นเพื่อหวังผลทางการเมือง[[#_ftn3|[3]]] ทั้งนี้ภาษาเซอร์เบียน คำว่า '''patka''' หรือ '''‘เป็ด’''' ยังหมายถึง '''‘การฉ้อโกง’''' อีกด้วย เมื่อประชาชนพูดชวนกันว่า '''“ไปดูเป็ดกันเถอะ”''' จึงหมายความว่าพวกเขาจะไปประท้วงนั่นเอง[[#_ftn4|[4]]]
'''          '''อย่างไรก็ดี เป็ดเหลืองได้ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมทางการเมืองเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวและสะท้อนปัญหาสังคม อาทิ การคอร์รัปชัน เสรีภาพ รวมถึงการเรียกร้องประชาธิปไตย ตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐเซอร์เบีย ในปี ค.ศ. 2015 ได้มีกลุ่มประชาชนและนักเคลื่อนไหวที่เรียกตัวเองว่า '''"Let Us Not Drown Belgrade"''' นัดชุมนุมเดินขบวนพร้อมกับใช้เป็ดยางสีเหลืองที่มีความสูง 2 เมตร เป็นสัญลักษณ์เพื่อคัดค้านการลงนามข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลเซอร์เบีย กับ บริษัทอีเกิล ฮิลส์ จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในการโครงการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำในกรุงเบลเกรดซึ่งมีมูลค่ากว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ โครงการดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์และคัดค้านอย่างหนักจากภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชน[[#_ftn2|[2]]] และต่อมาใน ปี ค.ศ. 2020 เป็ดยักษ์สีเหลืองถูกนำกลับมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อประท้วงเรียกร้องให้คว่ำบาตรการเลือกตั้ง เนื่องจากพวกเขาไม่พอใจและต่อต้านการที่ประธานาธิบดี อาเล็กซานดาร์ วูชิช (Aleksandar Vučić) ตัดสินใจใช้มาตรการล็อกดาวน์ เพื่อสกัดกั้นการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกที่สอง โดยผู้ประท้วงมองว่ามาตรการดังกล่าวมีขึ้นเพื่อหวังผลทางการเมือง[[#_ftn3|[3]]] ทั้งนี้ภาษาเซอร์เบียน คำว่า '''patka''' หรือ '''‘เป็ด’''' ยังหมายถึง '''‘การฉ้อโกง’''' อีกด้วย เมื่อประชาชนพูดชวนกันว่า '''“ไปดูเป็ดกันเถอะ”''' จึงหมายความว่าพวกเขาจะไปประท้วงนั่นเอง[[#_ftn4|[4]]]


'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ต่อมาในช่วง ปี ค.ศ. 2017-2018 เป็ดยางปรากฏในภาพข่าวอีกครั้งที่ กรุงมอสโกของสหพันธรัฐรัสเซีย ในระหว่างการประท้วงนำโดย นายอเล็กเซ นาวาลนี (Alexei Navalny) นักเคลื่อนไหวทางการเมืองฝ่ายค้านที่ตรวจสอบการทุจริตของเจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้ที่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งรัสเซียตัดสิทธิ์ลงสมัครเป็นประธานาธิบดี[[#_ftn5|[5]]]&nbsp; โดยเป็ดยางสีเหลือถูกพบเห็นในระหว่างการประท้วงต่อต้านการทุจริต ซึ่งผู้ประท้วงเรียกร้องให้ประธานาธิปดี วลาดิมีร์ ปูตินและรัฐบาลลาออก โดยผู้ประท้วงบางคนได้ถูกจับกุมจากใช้เป็นสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ในการประท้วง[[#_ftn6|[6]]] เช่นเดียวกับการชุมนุมในประเทศโคโซโว เมื่อปี ค.ศ. 2017 เป็ดสูบลมสีเหลืองถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในการชุมนุมใกล้กับสำนักงานใหญ่รัฐบาลใน กรุงพริสตินา เมืองหลวงของโคโซโว เนื่องในวันต่อต้านการทุจริตสากล เป็นต้น[[#_ftn7|[7]]]&nbsp; นอกจากนี้การนำเป็ดเหลืองมาใช้ในการประท้วงโดยภาคประชาชนแล้ว<br/> การประท้วงโดยภาคธุรกิจก็ได้นำเป็ดเหลืองมาใช้ในการประท้วง ดังเช่น การเคลื่อนไหวที่ใช้ชื่อว่า '''“I will not pay the duck”''' หรือในความหมายว่า '''“แพะรับบาป”''' ซึ่งกลุ่มสหภาพอุตสาหกรรมรัฐเซาเปาโลของบราซิล&nbsp;ใช้ตุ๊กตาเป็ดเป็นสัญลักษณ์แทนคำพูดเพื่อเรียกร้องให้รัฐสภาคัดค้านมาตรการด้านภาษีที่ถูกนำเสนอโดยประธานาธิบดี ดิลมา รูสเซฟฟ์ ทั้งยังต้องการสื่อว่าประชาชนตกเป็นผู้รับกรรมจากการขึ้นภาษีของรัฐบาล เพื่อนำไปชดเชยงบประมาณที่ร่อยหรอ[[#_ftn8|[8]]]
'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ต่อมาในช่วง ปี ค.ศ. 2017-2018 เป็ดยางปรากฏในภาพข่าวอีกครั้งที่ กรุงมอสโกของสหพันธรัฐรัสเซีย ในระหว่างการประท้วงนำโดย นายอเล็กเซ นาวาลนี (Alexei Navalny) นักเคลื่อนไหวทางการเมืองฝ่ายค้านที่ตรวจสอบการทุจริตของเจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้ที่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งรัสเซียตัดสิทธิ์ลงสมัครเป็นประธานาธิบดี[[#_ftn5|[5]]]&nbsp; โดยเป็ดยางสีเหลือถูกพบเห็นในระหว่างการประท้วงต่อต้านการทุจริต ซึ่งผู้ประท้วงเรียกร้องให้ประธานาธิปดี วลาดิมีร์ ปูตินและรัฐบาลลาออก โดยผู้ประท้วงบางคนได้ถูกจับกุมจากใช้เป็นสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ในการประท้วง[[#_ftn6|[6]]] เช่นเดียวกับการชุมนุมในประเทศโคโซโว เมื่อปี ค.ศ. 2017 เป็ดสูบลมสีเหลืองถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในการชุมนุมใกล้กับสำนักงานใหญ่รัฐบาลใน กรุงพริสตินา เมืองหลวงของโคโซโว เนื่องในวันต่อต้านการทุจริตสากล เป็นต้น[[#_ftn7|[7]]]&nbsp; นอกจากนี้การนำเป็ดเหลืองมาใช้ในการประท้วงโดยภาคประชาชนแล้ว&nbsp;การประท้วงโดยภาคธุรกิจก็ได้นำเป็ดเหลืองมาใช้ในการประท้วง ดังเช่น การเคลื่อนไหวที่ใช้ชื่อว่า '''“I will not pay the duck”''' หรือในความหมายว่า '''“แพะรับบาป”''' ซึ่งกลุ่มสหภาพอุตสาหกรรมรัฐเซาเปาโลของบราซิล&nbsp;ใช้ตุ๊กตาเป็ดเป็นสัญลักษณ์แทนคำพูดเพื่อเรียกร้องให้รัฐสภาคัดค้านมาตรการด้านภาษีที่ถูกนำเสนอโดยประธานาธิบดี ดิลมา รูสเซฟฟ์ ทั้งยังต้องการสื่อว่าประชาชนตกเป็นผู้รับกรรมจากการขึ้นภาษีของรัฐบาล เพื่อนำไปชดเชยงบประมาณที่ร่อยหรอ[[#_ftn8|[8]]]


&nbsp;
&nbsp;
 
<p style="text-align: center;">'''ภาพ&nbsp;:'''&nbsp;การใช้เป็ดเหลืองในการประท้วงที่ประเทศบราซิล[[#_ftn9|[9]]]</p>
'''ภาพ''' การใช้เป็ดเหลืองในการประท้วงที่ประเทศบราซิล[[#_ftn9|[9]]]
 
[[File:Rubber Ducky (1).jpg|center|Rubber Ducky (1).jpg]]&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;
[[File:Rubber Ducky (1).jpg|center|Rubber Ducky (1).jpg]]&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;


บรรทัดที่ 21: บรรทัดที่ 19:


&nbsp;
&nbsp;
 
<p style="text-align: center;">'''ภาพ&nbsp;:''' การล้อเลียนโดยตัดต่อภาพเป็ดเหลืองเข้าไปแทนที่รถถังในภาพ Tank Man ในเว็บไซต์สังคมออนไลน์เว่ยป๋อ (Weibo) ของจีน[[#_ftn12|[12]]]</p>
'''ภาพ''' การล้อเลียนโดยตัดต่อภาพเป็ดเหลืองเข้าไปแทนที่รถถังในภาพ Tank Man ในเว็บไซต์สังคมออนไลน์เว่ยป๋อ (Weibo) ของจีน[[#_ftn12|[12]]]
 
[[File:Rubber Ducky (2).jpg|center|Rubber Ducky (2).jpg]]
[[File:Rubber Ducky (2).jpg|center|Rubber Ducky (2).jpg]]


บรรทัดที่ 30: บรรทัดที่ 26:
'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;'''ในกรณีของไทยนั้น เป็ดเหลืองถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษ์การชุมนุมของกลุ่มราษฎร โดยเริ่มนำมาใช้ในการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 จากกรณีข้อเรียกร้องเพื่อให้มีการปรับแก้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่มาจากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) โดยผู้จัดการชุมนุมประกาศว่า&nbsp;จะปิดล้อมรัฐสภาทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อกดดันให้สมาชิกรัฐสภารับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญและนำเป็ดเหลืองมาใช้ในเชิงสัญลักษณ์ที่เป็นการชุมนุมโดยสันติ[[#_ftn13|<sup><sup>[13]</sup></sup>]] และป้องกันตัวเองจากรถฉีดน้ำแรงดันสูง&nbsp;และการใช้แก๊สน้ำตาจากเจ้าหน้าที่เพื่อผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมออกไป เป็ดยางจึงเปลี่ยนภารกิจเป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวของผู้ชุมนุมที่อยู่แนวหน้าไปโดยปริยาย อีกทั้งเมื่อเกิดการปะทะกับกลุ่มเสื้อเหลืองที่ปักหลักที่แยกเกียกกายในช่วงเย็นวันเดียวกันนั้น เป็ดเหลืองก็ถูกนำมาเป็นเกราะกำบังจนกระทั่งแกนนำประกาศยุติการชุมนุม
'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;'''ในกรณีของไทยนั้น เป็ดเหลืองถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษ์การชุมนุมของกลุ่มราษฎร โดยเริ่มนำมาใช้ในการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 จากกรณีข้อเรียกร้องเพื่อให้มีการปรับแก้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่มาจากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) โดยผู้จัดการชุมนุมประกาศว่า&nbsp;จะปิดล้อมรัฐสภาทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อกดดันให้สมาชิกรัฐสภารับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญและนำเป็ดเหลืองมาใช้ในเชิงสัญลักษณ์ที่เป็นการชุมนุมโดยสันติ[[#_ftn13|<sup><sup>[13]</sup></sup>]] และป้องกันตัวเองจากรถฉีดน้ำแรงดันสูง&nbsp;และการใช้แก๊สน้ำตาจากเจ้าหน้าที่เพื่อผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมออกไป เป็ดยางจึงเปลี่ยนภารกิจเป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวของผู้ชุมนุมที่อยู่แนวหน้าไปโดยปริยาย อีกทั้งเมื่อเกิดการปะทะกับกลุ่มเสื้อเหลืองที่ปักหลักที่แยกเกียกกายในช่วงเย็นวันเดียวกันนั้น เป็ดเหลืองก็ถูกนำมาเป็นเกราะกำบังจนกระทั่งแกนนำประกาศยุติการชุมนุม


'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ต่อจากนั้น เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 การชุมนุมของม็อบราษฎรที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว&nbsp;ได้มีการเคลื่อน '''"กองทัพเป็ด"''' ไปบริเวณเวที โดยมีการกล่าวเปรียบเทียบว่ากองทัพเป็ดเปรียบเป็นกองทัพในการต้านการรัฐประหาร[[#_ftn14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]] ทั้งยังมีการใช้แฮชแท็กในสื่อสังคมออนไลน์ '''#ทวงคืนสีเหลืองด้วยเป็ดเหลือง''' และ '''#สีเหลืองคือสีของเป็ดเหลือง'''[[#_ftn15|<sup><sup>[15]</sup></sup>]] อีกทั้งความนิยมของเป็ดเหลืองได้มีการนำใช้เป็นของที่ระลึกรูปแบบต่าง ๆ หลากหลาย<br/> ทั้งกิ๊บติดผม ที่คาดผม เป็ดไฟฉาย หมวกเป็ดที่แกนนำใส่กัน หรือเสื้อคอกลม[[#_ftn16|<sup><sup>[16]</sup></sup>]] ซึ่งการใช้เป็ดเหลืองในการเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้นได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นการแสดงออกถึงการใช้อารมณ์ขันและความคิดสร้างสรรค์ของนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ในประเทศไทย ที่เน้นย้ำให้เห็นถึงความไร้สาระและความไม่สมเหตุสมผลของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศด้วย[[#_ftn17|[17]]]
'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ต่อจากนั้น เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 การชุมนุมของม็อบราษฎรที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว&nbsp;ได้มีการเคลื่อน '''"กองทัพเป็ด"''' ไปบริเวณเวที โดยมีการกล่าวเปรียบเทียบว่ากองทัพเป็ดเปรียบเป็นกองทัพในการต้านการรัฐประหาร[[#_ftn14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]] ทั้งยังมีการใช้แฮชแท็กในสื่อสังคมออนไลน์ '''#ทวงคืนสีเหลืองด้วยเป็ดเหลือง''' และ '''#สีเหลืองคือสีของเป็ดเหลือง'''[[#_ftn15|<sup><sup>[15]</sup></sup>]] อีกทั้งความนิยมของเป็ดเหลืองได้มีการนำใช้เป็นของที่ระลึกรูปแบบต่าง ๆ หลากหลาย ทั้งกิ๊บติดผม ที่คาดผม เป็ดไฟฉาย หมวกเป็ดที่แกนนำใส่กัน หรือเสื้อคอกลม[[#_ftn16|<sup><sup>[16]</sup></sup>]]&nbsp;ซึ่งการใช้เป็ดเหลืองในการเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้นได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นการแสดงออกถึงการใช้อารมณ์ขันและความคิดสร้างสรรค์ของนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ในประเทศไทย ที่เน้นย้ำให้เห็นถึงความไร้สาระและความไม่สมเหตุสมผลของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศด้วย[[#_ftn17|[17]]]


&nbsp;
&nbsp;
 
<p style="text-align: center;">'''ภาพ&nbsp;:''' การใช้ '''“เป็ดเหลือง”''' ในการชุมนุมม็อบราษฎร[[#_ftn18|<sup><sup>[18]</sup></sup>]]</p>
'''ภาพ''' การใช้ “เป็ดเหลือง” ในการชุมนุมม็อบราษฎร[[#_ftn18|<sup><sup>[18]</sup></sup>]]
 
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="height: 200px; width: 800px;"
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="height: 200px; width: 800px;"
|-
|-
บรรทัดที่ 72: บรรทัดที่ 66:
[[#_ftnref11|[11]]] “ย้อนเส้นทาง "เป็ดยาง" สัญลักษณ์การเคลื่อนไหวทางการเมือง ก่อนถึงกลุ่ม "ราษฎร"”, สืบค้นจาก [https://www.bbc.com/ https://www.bbc.com/] thai/thailand-54998537(23 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref11|[11]]] “ย้อนเส้นทาง "เป็ดยาง" สัญลักษณ์การเคลื่อนไหวทางการเมือง ก่อนถึงกลุ่ม "ราษฎร"”, สืบค้นจาก [https://www.bbc.com/ https://www.bbc.com/] thai/thailand-54998537(23 กรกฎาคม 2564).
</div> <div id="ftn12">
</div> <div id="ftn12">
[[#_ftnref12|[12]]] “Yellow Duck Version of ‘Tank Man’ Photo Goes Viral Despite Chinese Censorship”, Retrieved from URL https://
[[#_ftnref12|[12]]] “Yellow Duck Version of ‘Tank Man’ Photo Goes Viral Despite Chinese Censorship”, Retrieved from URL https://petapixel.com/2013/06/05/yellow-duck-version-of-tank-man-photo-goes-viral-amidst-chinese-censorship/ (23 July 2021).
 
petapixel.com/2013/06/05/yellow-duck-version-of-tank-man-photo-goes-viral-amidst-chinese-censorship/ (23 July 2021).
</div> <div id="ftn13">
</div> <div id="ftn13">
[[#_ftnref13|[13]]] “ย้อนเส้นทาง "เป็ดยาง" สัญลักษณ์การเคลื่อนไหวทางการเมือง ก่อนถึงกลุ่ม "ราษฎร"”, สืบค้นจาก [https://www.bbc.com/thai/ https://www.bbc.com/thai/] thailand-<span dir="RTL">54998537</span> (23 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref13|[13]]] “ย้อนเส้นทาง "เป็ดยาง" สัญลักษณ์การเคลื่อนไหวทางการเมือง ก่อนถึงกลุ่ม "ราษฎร"”, สืบค้นจาก [https://www.bbc.com/thai/ https://www.bbc.com/thai/] thailand-<span dir="RTL">54998537</span> (23 กรกฎาคม 2564).
บรรทัดที่ 89: บรรทัดที่ 81:
</div> <div id="ftn19">
</div> <div id="ftn19">
[[#_ftnref19|[19]]] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน [https://rubberduckregatta.org/ https://rubberduckregatta.org/]
[[#_ftnref19|[19]]] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน [https://rubberduckregatta.org/ https://rubberduckregatta.org/]
&nbsp;
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]]
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:14, 15 มีนาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ

 

          เป็ดเหลือง หรือ เป็ดยางสีเหลือง (Rubber Ducky) ซึ่งมีต้นกำเนิดจากการนำผลิตภัณฑ์ยางล้อรถยนต์ของ "ชาร์ล กู๊ดเยียร์" (Charles Goodyear) หลังจากนั้นใน ปี ค.ศ. 1940 ปีเตอร์ กานีน (Peter Ganine) ประติมากรชาวรัสเซียน-อเมริกัน ได้ออกแบบคิดค้นและจดสิทธิบัตรเป็ดยางในรูปของของเล่นลอยน้ำออกมา ซึ่งเป็นที่นิยมและถูกนำมาใช้ในอ่างอาบน้ำในยุโรป จากนั้นเป็ดเหลืองได้ถูกนำเสนอในวัฒนธรรมป๊อป เมื่อหนังสือพิมพ์เดอะซัน (The Sun) ของอังกฤษ รายงานว่า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร (Queen Elizabeth II) ทรงมีเป็ดเหลืองไว้ในห้องอาบน้ำด้วยเช่นกัน และหลังจากนั้นเป็ดเหลืองได้ถูกนำมาประกอบในภาพยนต์ เช่น เพลง Rubber Duckie ที่นำมาประกอบรายการโทรทัศน์ เซซามี สตรีท การ์ตูนทอมแอนด์เจอร์รี่ (Tom & Jerry) หรือ ภาพยนต์แมรี่ ป็อบปิ้นส์ (Mary Poppins) เป็นต้น และใน ปี ค.ศ. 2007 มีศิลปินชาวดัตช์ ชื่อ โฟลเรินไตน์ โฮฟมัน (Florentijn Hofman) นำเป็ดเหลืองมาสร้างเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ในชื่อ "ความสุขกระจายทั่วโลก"  ซึ่งได้นำไปจัดแสดงในหลายเมืองทั่วโลก ได้แก่ อัมสเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์), โลมเมิล (เบลเยียม), โอซากะ (ญี่ปุ่น), ซิดนีย์ (ออสเตรเลีย), เซาเปาลู (บราซิล) และฮ่องกง (จีน) จากนั้น จึงนำไปแสดงที่เมืองพิตต์สเบิร์ก มลรัฐเพนซิลเวเนีย เป็นที่แรกในสหรัฐอเมริกา[1] 

          อย่างไรก็ดี เป็ดเหลืองได้ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมทางการเมืองเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวและสะท้อนปัญหาสังคม อาทิ การคอร์รัปชัน เสรีภาพ รวมถึงการเรียกร้องประชาธิปไตย ตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐเซอร์เบีย ในปี ค.ศ. 2015 ได้มีกลุ่มประชาชนและนักเคลื่อนไหวที่เรียกตัวเองว่า "Let Us Not Drown Belgrade" นัดชุมนุมเดินขบวนพร้อมกับใช้เป็ดยางสีเหลืองที่มีความสูง 2 เมตร เป็นสัญลักษณ์เพื่อคัดค้านการลงนามข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลเซอร์เบีย กับ บริษัทอีเกิล ฮิลส์ จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในการโครงการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำในกรุงเบลเกรดซึ่งมีมูลค่ากว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ โครงการดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์และคัดค้านอย่างหนักจากภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชน[2] และต่อมาใน ปี ค.ศ. 2020 เป็ดยักษ์สีเหลืองถูกนำกลับมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อประท้วงเรียกร้องให้คว่ำบาตรการเลือกตั้ง เนื่องจากพวกเขาไม่พอใจและต่อต้านการที่ประธานาธิบดี อาเล็กซานดาร์ วูชิช (Aleksandar Vučić) ตัดสินใจใช้มาตรการล็อกดาวน์ เพื่อสกัดกั้นการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกที่สอง โดยผู้ประท้วงมองว่ามาตรการดังกล่าวมีขึ้นเพื่อหวังผลทางการเมือง[3] ทั้งนี้ภาษาเซอร์เบียน คำว่า patka หรือ ‘เป็ด’ ยังหมายถึง ‘การฉ้อโกง’ อีกด้วย เมื่อประชาชนพูดชวนกันว่า “ไปดูเป็ดกันเถอะ” จึงหมายความว่าพวกเขาจะไปประท้วงนั่นเอง[4]

          ต่อมาในช่วง ปี ค.ศ. 2017-2018 เป็ดยางปรากฏในภาพข่าวอีกครั้งที่ กรุงมอสโกของสหพันธรัฐรัสเซีย ในระหว่างการประท้วงนำโดย นายอเล็กเซ นาวาลนี (Alexei Navalny) นักเคลื่อนไหวทางการเมืองฝ่ายค้านที่ตรวจสอบการทุจริตของเจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้ที่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งรัสเซียตัดสิทธิ์ลงสมัครเป็นประธานาธิบดี[5]  โดยเป็ดยางสีเหลือถูกพบเห็นในระหว่างการประท้วงต่อต้านการทุจริต ซึ่งผู้ประท้วงเรียกร้องให้ประธานาธิปดี วลาดิมีร์ ปูตินและรัฐบาลลาออก โดยผู้ประท้วงบางคนได้ถูกจับกุมจากใช้เป็นสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ในการประท้วง[6] เช่นเดียวกับการชุมนุมในประเทศโคโซโว เมื่อปี ค.ศ. 2017 เป็ดสูบลมสีเหลืองถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในการชุมนุมใกล้กับสำนักงานใหญ่รัฐบาลใน กรุงพริสตินา เมืองหลวงของโคโซโว เนื่องในวันต่อต้านการทุจริตสากล เป็นต้น[7]  นอกจากนี้การนำเป็ดเหลืองมาใช้ในการประท้วงโดยภาคประชาชนแล้ว การประท้วงโดยภาคธุรกิจก็ได้นำเป็ดเหลืองมาใช้ในการประท้วง ดังเช่น การเคลื่อนไหวที่ใช้ชื่อว่า “I will not pay the duck” หรือในความหมายว่า “แพะรับบาป” ซึ่งกลุ่มสหภาพอุตสาหกรรมรัฐเซาเปาโลของบราซิล ใช้ตุ๊กตาเป็ดเป็นสัญลักษณ์แทนคำพูดเพื่อเรียกร้องให้รัฐสภาคัดค้านมาตรการด้านภาษีที่ถูกนำเสนอโดยประธานาธิบดี ดิลมา รูสเซฟฟ์ ทั้งยังต้องการสื่อว่าประชาชนตกเป็นผู้รับกรรมจากการขึ้นภาษีของรัฐบาล เพื่อนำไปชดเชยงบประมาณที่ร่อยหรอ[8]

 

ภาพ : การใช้เป็ดเหลืองในการประท้วงที่ประเทศบราซิล[9]

Rubber Ducky (1).jpg
Rubber Ducky (1).jpg

       

          ในกรณีของเอเชียนั้น เป็ดสีเหลืองเหล่านี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของอิสรภาพสำหรับชาวฮ่องกง ที่ได้ถูกนำมาใช้ในระหว่างการประท้วงในฮ่องกงระหว่าง ปี ค.ศ. 2019-2020 เพื่อต่อต้านการที่รัฐบาลของสาธาณรัฐประชาชนประเทศจีน ได้ประกาศว่ามีแผนจะบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ ที่จะส่งผลให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การประท้วงและการคัดค้านเป็นอาชญากรรม ภายหลังที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ส่งมอบฮ่องกงในฐานะเขตปกครองพิเศษกลับคืนให้แก่สาธารณรัฐประชาชนจีนใน ปี ค.ศ. 1997[10] อย่างไรก็ดี ผลของการประท้วงและการนำเป็ดเหลืองมาใช้ในการประท้วงที่ฮ่องกง ได้มีการตัดต่อภาพเป็ดเหลืองเข้าไปแทนที่รถถังในภาพ Tank Man ที่มีชายคนหนึ่งยืนประจันหน้ารถถังในเหตุการณ์ประท้วงที่จตุรัสเทียนอันเหมิน เมื่อปี ค.ศ. 1989 และนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์สังคมออนไลน์เว่ยป๋อ (Weibo) ของจีน โดยภาพตัดต่อดังกล่าวถือเป็นการล้อเลียนประวัติศาสตร์และรัฐบาลจีน เป็นเหตุให้เป็ดเหลืองโดนแบนออกจากคำค้นหาของเว็บเว่ยป๋อ และสะท้อนให้เห็นถึงการเซนเซอร์ในจีน[11]

 

ภาพ : การล้อเลียนโดยตัดต่อภาพเป็ดเหลืองเข้าไปแทนที่รถถังในภาพ Tank Man ในเว็บไซต์สังคมออนไลน์เว่ยป๋อ (Weibo) ของจีน[12]

Rubber Ducky (2).jpg
Rubber Ducky (2).jpg

     

          ในกรณีของไทยนั้น เป็ดเหลืองถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษ์การชุมนุมของกลุ่มราษฎร โดยเริ่มนำมาใช้ในการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 จากกรณีข้อเรียกร้องเพื่อให้มีการปรับแก้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่มาจากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) โดยผู้จัดการชุมนุมประกาศว่า จะปิดล้อมรัฐสภาทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อกดดันให้สมาชิกรัฐสภารับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญและนำเป็ดเหลืองมาใช้ในเชิงสัญลักษณ์ที่เป็นการชุมนุมโดยสันติ[13] และป้องกันตัวเองจากรถฉีดน้ำแรงดันสูง และการใช้แก๊สน้ำตาจากเจ้าหน้าที่เพื่อผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมออกไป เป็ดยางจึงเปลี่ยนภารกิจเป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวของผู้ชุมนุมที่อยู่แนวหน้าไปโดยปริยาย อีกทั้งเมื่อเกิดการปะทะกับกลุ่มเสื้อเหลืองที่ปักหลักที่แยกเกียกกายในช่วงเย็นวันเดียวกันนั้น เป็ดเหลืองก็ถูกนำมาเป็นเกราะกำบังจนกระทั่งแกนนำประกาศยุติการชุมนุม

          ต่อจากนั้น เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 การชุมนุมของม็อบราษฎรที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ได้มีการเคลื่อน "กองทัพเป็ด" ไปบริเวณเวที โดยมีการกล่าวเปรียบเทียบว่ากองทัพเป็ดเปรียบเป็นกองทัพในการต้านการรัฐประหาร[14] ทั้งยังมีการใช้แฮชแท็กในสื่อสังคมออนไลน์ #ทวงคืนสีเหลืองด้วยเป็ดเหลือง และ #สีเหลืองคือสีของเป็ดเหลือง[15] อีกทั้งความนิยมของเป็ดเหลืองได้มีการนำใช้เป็นของที่ระลึกรูปแบบต่าง ๆ หลากหลาย ทั้งกิ๊บติดผม ที่คาดผม เป็ดไฟฉาย หมวกเป็ดที่แกนนำใส่กัน หรือเสื้อคอกลม[16] ซึ่งการใช้เป็ดเหลืองในการเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้นได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นการแสดงออกถึงการใช้อารมณ์ขันและความคิดสร้างสรรค์ของนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ในประเทศไทย ที่เน้นย้ำให้เห็นถึงความไร้สาระและความไม่สมเหตุสมผลของสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศด้วย[17]

 

ภาพ : การใช้ “เป็ดเหลือง” ในการชุมนุมม็อบราษฎร[18]

Rubber Ducky (3).jpg
Rubber Ducky (3).jpg
Rubber Ducky (4).jpg
Rubber Ducky (4).jpg

 

          อย่างไรก็ดี นอกจากกิจกรรมทางการเมืองแล้ว เป็ดเหลืองยังได้ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมสาธารณกุศล อย่างเช่น กิจกรรม “derby duck races” ที่เป็นงานระดมทุนสำหรับองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งผู้คนจะบริจาคเงินให้กับองค์กรโดยอุปถัมภ์เป็ดยางแต่ละตัว และจากนั้นเป็ดทั้งหมดจะถูกทิ้งลงน้ำ โดยเป็ดตัวแรกที่ลอยผ่านเส้นชัยเพื่อคว้ารางวัลจากเอกชนหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุน ทั้งนี้นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1995 การจัดกิจกรรมนี้ในเมืองซินซินนาติ มลรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกาได้ระดมทุนไปแล้วกว่า 9 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีการระดมทุนมากกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการแข่งขันในแต่ละปีตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2014 เป็นต้นมา[19]

 

อ้างอิง

[1] “เป็ดยางสีเหลือง แนวคิดสุดโต่งล้อการเมือง”, สืบค้นจาก https://www.springnews.co.th/news/802600 เป็ดยาง: จากสัญลักษณ์แห่งวัยเยาว์สู่งานศิลปะและการเมือง https://themomentum.co/big-yellow-duck/ (23 กรกฎาคม 2564).

[2] “ย้อนเส้นทาง "เป็ดยาง" สัญลักษณ์การเคลื่อนไหวทางการเมือง ก่อนถึงกลุ่ม "ราษฎร"”, สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/ thailand-54998537 Giant Duck Becomes Belgrade Resistance Symbol https://balkaninsight.com/2015/09/26/giant-duck-becomes-belgrade-resistance-symbol-09-25-2015/(23 กรกฎาคม 2564).

[3] “Miloš Budimir How Serbian activists started a nationwide anti-authoritarian protest during COVID-19 lockdown”, Retrieved from URL https://wagingnonviolence.org/2020/05/serbian-activists-nationwide-anti-authoritarian-protest-covid-19-lockdown/(23 July 2021).

[4] “จากไทยถึงรัสเซีย เมื่อเป็ดเหลืองสุดน่ารัก กลายเป็นสัญลักษณ์ประท้วงทั่วโลก”, สืบค้นจาก https://thepeople.co/rubberduck-politics/(23 กรกฎาคม 2564).

[5] “อเล็กเซ นาวาลนี: ผู้ปลุกมวลชนรัสเซียให้ต่อสู้กับอำนาจรัฐเผด็จการ”, สืบค้นจาก https://themomentum.co/alexei-navalny/(23 กรกฎาคม 2564).

[6] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ “Russian activist in jail for giant duck protest”, Retrieved from URL https://www.bbc.com/news/ world-europe-43202127 (23 July 2021).

[7] “ย้อนเส้นทาง "เป็ดยาง" สัญลักษณ์การเคลื่อนไหวทางการเมือง ก่อนถึงกลุ่ม "ราษฎร"”, สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/ thailand-54998537(23 กรกฎาคม 2564).

[8] “บราซิลใช้เป็ดพลาสติกประท้วงขึ้นภาษี”, สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/671507(23 กรกฎาคม 2564).

[9] “Duck Wars in Brazil”, Retrieved from URL https://www.thenational.scot/news/14863864.profile-duck-wars-in-brazil/ (23 July 2021).

[10] “ประท้วงฮ่องกง : ดินแดนสองหน้ากากกับความท้าทายในการเผชิญหน้าวิกฤตใหม่”, สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/ international-53019259 (23 กรกฎาคม 2564).

[11] “ย้อนเส้นทาง "เป็ดยาง" สัญลักษณ์การเคลื่อนไหวทางการเมือง ก่อนถึงกลุ่ม "ราษฎร"”, สืบค้นจาก https://www.bbc.com/ thai/thailand-54998537(23 กรกฎาคม 2564).

[12] “Yellow Duck Version of ‘Tank Man’ Photo Goes Viral Despite Chinese Censorship”, Retrieved from URL https://petapixel.com/2013/06/05/yellow-duck-version-of-tank-man-photo-goes-viral-amidst-chinese-censorship/ (23 July 2021).

[13] “ย้อนเส้นทาง "เป็ดยาง" สัญลักษณ์การเคลื่อนไหวทางการเมือง ก่อนถึงกลุ่ม "ราษฎร"”, สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/ thailand-54998537 (23 กรกฎาคม 2564).

[14] “ฝูง “เป็ดเหลือง” มาแล้ว ขณะมวลชนยังร่วมม็อบที่ห้าแยกลาดพร้าวต่อเนื่อง”, สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/ politic/1984895(23 กรกฎาคม 2564).

[15] ‘เฮียบุ๊ง’ เล่าที่มา “เป็ดเหลือง” ก่อนจะเป็นมีมประจำม็อบดังไปทั่วโลก”, สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/politics/news _2453464(23 กรกฎาคม 2564).

[16] "เป็ดเหลือง"สัญลักษณ์ชุมนุมม็อบราษฎรกลายเป็นสินค้าที่ระลึก”, สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/politic/news/639 022(23 กรกฎาคม 2564).

[17] ความเห็นของ Tracy Beattie นักวิจัยจาก the Australian Strategic Policy Institute อ้างถึงใน “Giant rubber ducks become symbol of Thai pro-democracy rallies” , Retrieved from URL  https://www.theguardian.com/world/2020/nov/20/giant-rubber-ducks-become-symbol-of-thai-pro-democracy-rallies(23 July 2021).

[18] “Giant rubber ducks become symbol of Thai pro-democracy rallies”, Retrieved from URL  https://www.theguardian. com/world/2020/nov/20/giant-rubber-ducks-become-symbol-of-thai-pro-democracy-rallies (23 July 2021) และ “Thailand protests: What do the large yellow rubber ducks symbolise?”, Retrieved from URL https://indianexpress.com/article/explained/ explained-why-a-large-yellow-rubber-duck-has-become-a-symbol-of-thailands-protests-7062084/(23 July 2021).

[19] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน https://rubberduckregatta.org/