ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉม..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล | '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ | ||
| | ||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''ผู้ใดมีหน้าที่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''ผู้ใดมีหน้าที่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง'''</span> | ||
การรับรองผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทยก่อนที่จะมีคณะกรรมการการเลือกตั้งตาม[[พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร_พ.ศ._2522]] กำหนดให้นายอำเภอ มีหน้าที่ส่งรายงานการเลือกตั้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดโดยด่วน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรวมยอดคะแนนการเลือกตั้งและประกาศผลการเลือกตั้งโดยเร็วและให้รายงานไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งต่อไปยังรัฐสภา[[#_ftn1|[1]]] | การรับรองผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทยก่อนที่จะมีคณะกรรมการการเลือกตั้งตาม[[พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร_พ.ศ._2522|พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร_พ.ศ._2522]] กำหนดให้นายอำเภอ มีหน้าที่ส่งรายงานการเลือกตั้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดโดยด่วน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรวมยอดคะแนนการเลือกตั้งและประกาศผลการเลือกตั้งโดยเร็วและให้รายงานไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งต่อไปยังรัฐสภา[[#_ftn1|[1]]] | ||
องค์กรที่ทำหน้าที่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของ '''“'''[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]'''”''' ให้มีหน้าที่และอำนาจในการจัดหรือดำเนินการให้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกสมาชิกวุฒิสภา การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และการออกเสียงประชามติ พร้อมทั้งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และควบคุมดูแลการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อการนี้ ให้มีอำนาจสืบสวน หรือไต่สวนได้ตามที่จําเป็นหรือที่เห็นสมควร ผลการสืบสวนหรือไต่สวนหรือเมื่อพบเห็นการกระทําที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือการออกเสียงประชามติ เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้มีอำนาจสั่งระงับ ยับยั้ง แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกการเลือกตั้ง หรือการเลือก หรือการออกเสียงประชามติ และสั่งให้ดำเนินการเลือกตั้ง เลือก หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งบางหน่วย หรือทุกหน่วย[[#_ftn2|[2]]] ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการเพื่อการประกาศผลการเลือกตั้งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[[#_ftn3|[3]]] | องค์กรที่ทำหน้าที่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของ '''“'''[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง|คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]'''”''' ให้มีหน้าที่และอำนาจในการจัดหรือดำเนินการให้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกสมาชิกวุฒิสภา การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และการออกเสียงประชามติ พร้อมทั้งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และควบคุมดูแลการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อการนี้ ให้มีอำนาจสืบสวน หรือไต่สวนได้ตามที่จําเป็นหรือที่เห็นสมควร ผลการสืบสวนหรือไต่สวนหรือเมื่อพบเห็นการกระทําที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือการออกเสียงประชามติ เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้มีอำนาจสั่งระงับ ยับยั้ง แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกการเลือกตั้ง หรือการเลือก หรือการออกเสียงประชามติ และสั่งให้ดำเนินการเลือกตั้ง เลือก หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งบางหน่วย หรือทุกหน่วย[[#_ftn2|[2]]] ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการเพื่อการประกาศผลการเลือกตั้งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[[#_ftn3|[3]]] | ||
| | ||
บรรทัดที่ 34: | บรรทัดที่ 34: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> | ||
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 134/ตอนที่ 40 ก/ 6 เมษายน 2560. | ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 134/ตอนที่ 40 ก/ 6 เมษายน 2560. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 | ||
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 135/ตอนที่ 68 ก/หน้า 89/12 กันยายน 2561. | ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 135/ตอนที่ 68 ก/หน้า 89/12 กันยายน 2561. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 | ||
| | ||
บรรทัดที่ 56: | บรรทัดที่ 56: | ||
[[#_ftnref7|[7]]] มาตรา 226 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 | [[#_ftnref7|[7]]] มาตรา 226 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:การเลือกตั้ง]][[Category:ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง]][[Category:คณะกรรมการการเลือกตั้ง]] | [[Category:การเลือกตั้ง]] [[Category:ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง]] [[Category:คณะกรรมการการเลือกตั้ง]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:45, 15 มีนาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
ผู้ใดมีหน้าที่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง
การรับรองผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทยก่อนที่จะมีคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร_พ.ศ._2522 กำหนดให้นายอำเภอ มีหน้าที่ส่งรายงานการเลือกตั้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดโดยด่วน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรวมยอดคะแนนการเลือกตั้งและประกาศผลการเลือกตั้งโดยเร็วและให้รายงานไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งต่อไปยังรัฐสภา[1]
องค์กรที่ทำหน้าที่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของ “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” ให้มีหน้าที่และอำนาจในการจัดหรือดำเนินการให้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกสมาชิกวุฒิสภา การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และการออกเสียงประชามติ พร้อมทั้งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และควบคุมดูแลการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อการนี้ ให้มีอำนาจสืบสวน หรือไต่สวนได้ตามที่จําเป็นหรือที่เห็นสมควร ผลการสืบสวนหรือไต่สวนหรือเมื่อพบเห็นการกระทําที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือการออกเสียงประชามติ เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้มีอำนาจสั่งระงับ ยับยั้ง แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกการเลือกตั้ง หรือการเลือก หรือการออกเสียงประชามติ และสั่งให้ดำเนินการเลือกตั้ง เลือก หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งบางหน่วย หรือทุกหน่วย[2] ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการเพื่อการประกาศผลการเลือกตั้งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[3]
หลักการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง
เกณฑ์ทั่วไปในการพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีดังนี้[4]
1) คณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจสอบเบื้องต้นแล้วมีเหตุอันควรเชื่อว่าผลการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ในการตรวจสอบคณะกรรมการต้องรับฟังรายงานของผู้ตรวจการเลือกตั้งและข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากแหล่งต่าง ๆ มาประกอบการพิจารณาด้วย
2) มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของเขตเลือกตั้งทั้งหมด
3) ระยะเวลาประกาศผลการเลือกตั้งต้องไม่ช้ากว่า 60 วันนับแต่วันเลือกตั้ง
4) ผู้ได้รับเลือกตั้ง คือ ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนสูงกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดในเขตเลือกตั้งนั้น หากไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับคะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งนั้น ให้จัดการเลือกตั้งใหม่[5]
ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเท่ากันหลายคน ให้ใช้วิธีการจับสลาก ซึ่งต้องกระทําต่อหน้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง[6]
5) เมื่อมีการประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจพบหลักฐานการทุจริตในการเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคําร้องต่อ “ศาลฎีกา” เพื่อสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น[7]
บรรณานุกรม
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 134/ตอนที่ 40 ก/ 6 เมษายน 2560. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 135/ตอนที่ 68 ก/หน้า 89/12 กันยายน 2561. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
อ้างอิง
[1] มาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522
[2] มาตรา 224 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
[3] มาตรา 85 วรรคสาม แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
[4] มาตรา 85 วรรคสี่ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบมาตรา 127 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[5] มาตรา 126 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[6] มาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[7] มาตรา 226 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560