ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การคัดค้านการเลือกตั้ง"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 2: บรรทัดที่ 2:
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ


 
 


= <span style="font-size:x-large;">'''ความนำ'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''ความนำ'''</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในการเลือกตั้งเมื่อความปรากฎภายหลังการเลือกตั้งว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรมก็ควรเปิดโอกาสให้มีกระบวนการตรวจสอบเพื่อให้การใช้อำนาจอธิปไตยเป็นไปตามเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตย การคัดค้านการเลือกตั้งก่อนที่จะมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2534|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2534]] กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] ซึ่งได้แก่ [[พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร_พ.ศ._2522|พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร_พ.ศ._2522]]&nbsp;โดยกฎหมายกำหนดให้ '''ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ'''มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการเลือกตั้งเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและยุติธรรม[[#_ftn1|[1]]] ในการสอบสวนคดีความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ แล้วแต่กรณีมีอำนาจสั่งการและควบคุมการสอบสวนคดี[[#_ftn2|[2]]] เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศผลการเลือกตั้งของเขตเลือกตั้งใด '''ผู้เลือกตั้ง ผู้สมัคร&nbsp;หรือพรรคการเมือง&nbsp;'''ซึ่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเห็นว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น&nbsp;หรือเห็นว่าการที่บุคคลใดได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาขิกสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยมิชอบ ก็มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อ '''“ศาลจังหวัด”''' ที่เขตเลือกตั้งนั้นตั้งอยู่หรือต่อ '''“ศาลแพ่ง”''' สำหรับกรุงเทพมหานครภายใน 30 วัน หรือ ภายใน 120 วันนัยแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่[[#_ftn3|[3]]]&nbsp;เมื่อศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งได้รับคำร้องคัดค้านแล้วให้ทำความเห็นและส่งสำนวนไปยัง&nbsp;“'''ศาลฎีกา'''” เพื่อวินิจฉัยและให้ให้มีอำนาจสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งนั้น หรือสั่งยกคำร้องคัดค้านเสีย[[#_ftn4|[4]]] เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งอย่างใดแล้วให้ส่งสำเนาคำสั่งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเพื่อแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรัฐสมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทราบ[[#_ftn5|[5]]] ภายหลังเมื่อมีคณะกรรมการการเลือกตั้งเกิดขึ้น อำนาจในการตรวจสอบการเลือกตั้งจึงถูกถ่ายโอนจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอมายังองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ต่อไป
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในการเลือกตั้งเมื่อความปรากฎภายหลังการเลือกตั้งว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรมก็ควรเปิดโอกาสให้มีกระบวนการตรวจสอบเพื่อให้การใช้อำนาจอธิปไตยเป็นไปตามเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตย การคัดค้านการเลือกตั้งก่อนที่จะมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2534|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2534]] กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] ซึ่งได้แก่ [[พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร_พ.ศ._2522|พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร_พ.ศ._2522]]&nbsp;โดยกฎหมายกำหนดให้ '''“ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ”''' มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการเลือกตั้งเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและยุติธรรม[[#_ftn1|[1]]] ในการสอบสวนคดีความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ แล้วแต่กรณีมีอำนาจสั่งการและควบคุมการสอบสวนคดี[[#_ftn2|[2]]] เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศผลการเลือกตั้งของเขตเลือกตั้งใด ผู้เลือกตั้ง ผู้สมัคร&nbsp;หรือพรรคการเมือง'''&nbsp;'''ซึ่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเห็นว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น&nbsp;หรือเห็นว่าการที่บุคคลใดได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาขิกสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยมิชอบ ก็มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อ '''“ศาลจังหวัด”''' ที่เขตเลือกตั้งนั้นตั้งอยู่หรือต่อ '''“ศาลแพ่ง”''' สำหรับกรุงเทพมหานครภายใน 30 วัน หรือ ภายใน 120 วันนัยแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่[[#_ftn3|[3]]]&nbsp;เมื่อศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งได้รับคำร้องคัดค้านแล้วให้ทำความเห็นและส่งสำนวนไปยัง&nbsp;“'''ศาลฎีกา'''” เพื่อวินิจฉัยและให้ให้มีอำนาจสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งนั้น หรือสั่งยกคำร้องคัดค้านเสีย[[#_ftn4|[4]]] เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งอย่างใดแล้วให้ส่งสำเนาคำสั่งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเพื่อแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรัฐสมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทราบ[[#_ftn5|[5]]] ภายหลังเมื่อมีคณะกรรมการการเลือกตั้งเกิดขึ้น อำนาจในการตรวจสอบการเลือกตั้งจึงถูกถ่ายโอนจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอมายังองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ต่อไป


= <span style="font-size:x-large;">'''การคัดค้านการเลือกตั้ง'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''การคัดค้านการเลือกตั้ง'''</span> =
บรรทัดที่ 55: บรรทัดที่ 54:
= <span style="font-size:x-large;">'''ขั้นตอนการดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อได้รับคำคัดค้าน'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''ขั้นตอนการดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อได้รับคำคัดค้าน'''</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับคําคัดค้านการเลือกตั้งให้ดำเนินการสืบสวนหรือไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริงโดยพลัน และพิจารณาดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงภายหลังการประกาศผลการเลือกตั้งแล้วพบว่ามีการดำเนินการที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรมให้ยื่นเรื่อง<br/> ต่อศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา ถ้าผู้ถูกกล่าวหาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ให้ผู้นั้นหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลฎีกาจะพิพากษาว่าผู้นั้นมิได้กระทำความผิด เพื่อมิให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาใช้อำนาจของตนเข้าแทรกแซงการพิจารณาหรือกระทำการอันใดอันเป็นการขัดขวางการพิจารณาได้ และเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าผู้นั้นกระทำความผิดให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่[[#_ftn14|[14]]]&nbsp;ทั้งนี้ การยื่นคําคัดค้านการเลือกตั้งและการพิจารณาให้เป็นไปตามวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ. 2561
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับคําคัดค้านการเลือกตั้งให้ดำเนินการสืบสวนหรือไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริงโดยพลัน และพิจารณาดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงภายหลังการประกาศผลการเลือกตั้งแล้วพบว่ามีการดำเนินการที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรมให้ยื่นเรื่องต่อศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา ถ้าผู้ถูกกล่าวหาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ให้ผู้นั้นหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลฎีกาจะพิพากษาว่าผู้นั้นมิได้กระทำความผิด เพื่อมิให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาใช้อำนาจของตนเข้าแทรกแซงการพิจารณาหรือกระทำการอันใดอันเป็นการขัดขวางการพิจารณาได้ และเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าผู้นั้นกระทำความผิดให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่[[#_ftn14|[14]]]&nbsp;ทั้งนี้ การยื่นคําคัดค้านการเลือกตั้งและการพิจารณาให้เป็นไปตามวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ. 2561


= <span style="font-size:x-large;">'''บทสรุป'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''บทสรุป'''</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การดำเนินการคัดค้านการเลือกตั้งที่เป็นไปโดยไม่สุจริตหรือไม่เที่ยงธรรมภายใต้กฎหมายภายในของประเทศไทย เปิดโอกาสให้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้นในการยื่นคำคัดค้านการเลือกตั้งในครั้งนั้น&nbsp;โดยกฎหมายมอบหน้าที่และอำนาจหลักในการพิจารณาตรวจสอบการเลือกตั้งให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้น ดังนั้น ประชาชนทั่วไปที่ตรวจพบว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปโดยทุจริตและไม่เที่ยงธรรม ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายรองรับให้ยื่นเรื่องคัดค้านการเลือกตั้งโดยตรงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งคงทำได้เพียงการแจ้งเรื่องร้องเรียนเพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทำหน้าที่ในการสอบสวนและตรวจสอบอีกครั้ง ข้อน่าพิจารณาในประเด็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งในด้านระยะเวลาในการดำเนินการสืบสวนการเลือกตั้งว่าเป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรมหรือไม่ภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งไปแล้ว และหากตรวจสอบการเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริต คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจยื่นเรื่อ่งต่อศาลฎีกาได้&nbsp;แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายกำหนดระยะเวลาในการทำหน้าที่ดังกล่าวของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ส่งผลต่อความมั่นคงในการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อาจถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งในช่วงเวลาใดก็ได้[[#_ftn15|[15]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การดำเนินการคัดค้านการเลือกตั้งที่เป็นไปโดยไม่สุจริตหรือไม่เที่ยงธรรมภายใต้กฎหมายภายในของประเทศไทย เปิดโอกาสให้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้นในการยื่นคำคัดค้านการเลือกตั้งในครั้งนั้น&nbsp;โดยกฎหมายมอบหน้าที่และอำนาจหลักในการพิจารณาตรวจสอบการเลือกตั้งให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้น ดังนั้น ประชาชนทั่วไปที่ตรวจพบว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปโดยทุจริตและไม่เที่ยงธรรม ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายรองรับให้ยื่นเรื่องคัดค้านการเลือกตั้งโดยตรงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งคงทำได้เพียงการแจ้งเรื่องร้องเรียนเพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทำหน้าที่ในการสอบสวนและตรวจสอบอีกครั้ง ข้อน่าพิจารณาในประเด็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งในด้านระยะเวลาในการดำเนินการสืบสวนการเลือกตั้งว่าเป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรมหรือไม่ภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งไปแล้ว และหากตรวจสอบการเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริต คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจยื่นเรื่อ่งต่อศาลฎีกาได้&nbsp;แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายกำหนดระยะเวลาในการทำหน้าที่ดังกล่าวของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ส่งผลต่อความมั่นคงในการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อาจถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งในช่วงเวลาใดก็ได้[[#_ftn15|[15]]]
&nbsp;


= <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> =


ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา. '''การคัดค้านผลการเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง.''' วารสารนิติศาสตร์ ฉบับที่ 47&nbsp;:&nbsp;4(ธันวาคม 2561). หน้า 970 – 990.
ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา. การคัดค้านผลการเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง. วารสารนิติศาสตร์ ฉบับที่ 47&nbsp;:&nbsp;4(ธันวาคม 2561). หน้า 970 – 990.


ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 134/ตอนที่ 40 ก/ 6 เมษายน 2560. '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560'''
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 134/ตอนที่ 40 ก/ 6 เมษายน 2560. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560


ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 120/ตอนที่ 6 ก/หน้า 89/17 มกราคม 2546. '''ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง&nbsp;ว่าด้วยการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.&nbsp;2546'''
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 120/ตอนที่ 6 ก/หน้า 89/17 มกราคม 2546. ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง&nbsp;ว่าด้วยการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.&nbsp;2546


ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 135/ตอนที่ 68 ก/12 กันยายน 2561. '''พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ&nbsp;ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561'''
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 135/ตอนที่ 68 ก/12 กันยายน 2561. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ&nbsp;ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
 
&nbsp;
<div>
<div>
= <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> =
บรรทัดที่ 105: บรรทัดที่ 100:
[[#_ftnref14|[14]]] มาตรา 226 วรรคสี่ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
[[#_ftnref14|[14]]] มาตรา 226 วรรคสี่ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
</div> <div id="ftn15">
</div> <div id="ftn15">
[[#_ftnref15|[15]]] ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา, '''การคัดค้านผลการเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง''', วารสารนิติศาสตร์ ฉบับที่ 47&nbsp;: 4(ธันวาคม 2561), หน้า 979.
[[#_ftnref15|[15]]] ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา, การคัดค้านผลการเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง, วารสารนิติศาสตร์ ฉบับที่ 47&nbsp;: 4 (ธันวาคม 2561), หน้า 979.
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:การเลือกตั้ง]] [[Category:การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] [[Category:พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]] [[Category:ว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]] [[Category:ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง]]
[[Category:การเลือกตั้ง]] [[Category:การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] [[Category:พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]] [[Category:ว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]] [[Category:ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:44, 15 มีนาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ

 

ความนำ

          ในการเลือกตั้งเมื่อความปรากฎภายหลังการเลือกตั้งว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรมก็ควรเปิดโอกาสให้มีกระบวนการตรวจสอบเพื่อให้การใช้อำนาจอธิปไตยเป็นไปตามเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตย การคัดค้านการเลือกตั้งก่อนที่จะมีคณะกรรมการการเลือกตั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2534 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้แก่ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร_พ.ศ._2522 โดยกฎหมายกำหนดให้ “ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ” มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการเลือกตั้งเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและยุติธรรม[1] ในการสอบสวนคดีความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ แล้วแต่กรณีมีอำนาจสั่งการและควบคุมการสอบสวนคดี[2] เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศผลการเลือกตั้งของเขตเลือกตั้งใด ผู้เลือกตั้ง ผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง ซึ่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเห็นว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น หรือเห็นว่าการที่บุคคลใดได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาขิกสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยมิชอบ ก็มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อ “ศาลจังหวัด” ที่เขตเลือกตั้งนั้นตั้งอยู่หรือต่อ “ศาลแพ่ง” สำหรับกรุงเทพมหานครภายใน 30 วัน หรือ ภายใน 120 วันนัยแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่[3] เมื่อศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งได้รับคำร้องคัดค้านแล้วให้ทำความเห็นและส่งสำนวนไปยัง “ศาลฎีกา” เพื่อวินิจฉัยและให้ให้มีอำนาจสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งนั้น หรือสั่งยกคำร้องคัดค้านเสีย[4] เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งอย่างใดแล้วให้ส่งสำเนาคำสั่งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเพื่อแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรัฐสมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทราบ[5] ภายหลังเมื่อมีคณะกรรมการการเลือกตั้งเกิดขึ้น อำนาจในการตรวจสอบการเลือกตั้งจึงถูกถ่ายโอนจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอมายังองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ต่อไป

การคัดค้านการเลือกตั้ง

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดระบบการตรวจสอบความสุจริตและเที่ยงธรรมของการเลือกตั้งไว้ 2 ขั้นตอน คือ ในกระบวนการขั้นตอนที่ยังไม่มีการประกาศผลการเลือกตั้ง และขั้นตอนภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว รายละเอียดมีดังนี้

          1) ก่อนที่จะประกาศผลการเลือกตั้ง

          เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งสืบสวนหรือไต่สวนและมีหลักฐานพบว่ามีการกระทำที่มีลักษณะเป็นการทุจริต หรือทำให้การเลือกตั้งหรือการเลือกมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจอำนาจในการสั่งระงับ ยับยั้ง แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการเลือกตั้ง และสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งบางหน่วย หรือทุกหน่วย[6] รวมถึงอำนาจในการสั่งระงับการใช้สิทธิของผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้เป็นการชั่วคราวเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี[7] โดยคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งถือเป็นที่สุด[8]

          2) ภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว

          คณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่ประกาศผลการเลือกตั้งเมื่อได้ทำการตรวจสอบแล้วมีเหตุอันควรเชื่อว่าผลการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ภายใต้เงื่อนไขจะต้องรู้ผลการเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของเขตเลือกตั้งทั้งหมดจึงจะประกาศได้ โดยมีระยะเวลาการตรวจสอบและประกาศผลไม่ช้ากว่า 60 วันนับแต่วันเลือกตั้ง ทั้งนี้ แม้จะมีการประกาศผลการเลือกตั้งไปแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งยังคงมีหน้าที่และอำนาจในการสืบสวน ไต่สวนการกระทำทุจริตในการเลือกตั้งต่อไป[9] จึงเป็นการเพิ่มหน้าที่และอำนาจให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งในการประกาศผลการเลือกตั้งจะอาศัยเพียงการไม่มีผู้ใดร้องเรียนแล้วประกาศผลการเลือกตั้งดังที่เคยปฏิบัติมามิได้อีกต่อไป

          เมื่อมีการประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ตรวจพบหลักฐานการทุจริตในการเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคําร้องต่อ “ศาลฎีกา” เพื่อสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น[10] ทั้งนี้ หากเข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องเลือกตั้งใหม่เพราะเหตุที่การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ภายในหนึ่งปีหลังจากวันเลือกตั้งอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้นำหลักการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละพรรคการเมืองพึงมีในเขตเลือกตั้ง และคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองพึงได้รับตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[11]

ผู้มีสิทธิยื่นคัดค้านการเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง

          เมื่อตรวจสอบพบการกระทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม กฎหมายของประเทศไทยเปิดโอกาสให้บุคคลที่เกี่ยวข้องสามารถยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ทำการสืบสวน ไต่สวนต่อไปได้ โดยบุคคลที่มีสิทธิยื่นคัดค้าน ได้แก่[12]

               - ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

               - ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

               - พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

          ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้าน คือ[13]

               - ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบคน

               - ผู้สมัครสมาชิกสภาท้องถิ่น

               - ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอในเขตเลือกตั้ง

ระยะเวลาในการยื่นคัดค้านการเลือกตั้ง

          1) การคัดค้านการเลือกตั้งทั่วไปอาจยื่นได้ตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันเลือกตั้งจนถึงสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง

          2) การคัดค้านเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดให้ยื่นได้ตั้งแต่วันเลือกตั้งจนถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง

          3) การคัดค้านเกี่ยวกับการนับคะแนนให้คัดค้านในระหว่างเวลาที่ยังนับคะแนนไม่แล้วเสร็จหรือในกรณีคัดค้านการรวมคะแนน ให้คัดค้านก่อนประกาศผลการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง

          4) การคัดค้านในกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้มีการนับคะแนนใหม่ ให้ยื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลนับคะแนนใหม่

ขั้นตอนการดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อได้รับคำคัดค้าน

          เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับคําคัดค้านการเลือกตั้งให้ดำเนินการสืบสวนหรือไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริงโดยพลัน และพิจารณาดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงภายหลังการประกาศผลการเลือกตั้งแล้วพบว่ามีการดำเนินการที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรมให้ยื่นเรื่องต่อศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา ถ้าผู้ถูกกล่าวหาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ให้ผู้นั้นหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลฎีกาจะพิพากษาว่าผู้นั้นมิได้กระทำความผิด เพื่อมิให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาใช้อำนาจของตนเข้าแทรกแซงการพิจารณาหรือกระทำการอันใดอันเป็นการขัดขวางการพิจารณาได้ และเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าผู้นั้นกระทำความผิดให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่[14] ทั้งนี้ การยื่นคําคัดค้านการเลือกตั้งและการพิจารณาให้เป็นไปตามวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ. 2561

บทสรุป

          การดำเนินการคัดค้านการเลือกตั้งที่เป็นไปโดยไม่สุจริตหรือไม่เที่ยงธรรมภายใต้กฎหมายภายในของประเทศไทย เปิดโอกาสให้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้นในการยื่นคำคัดค้านการเลือกตั้งในครั้งนั้น โดยกฎหมายมอบหน้าที่และอำนาจหลักในการพิจารณาตรวจสอบการเลือกตั้งให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้น ดังนั้น ประชาชนทั่วไปที่ตรวจพบว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปโดยทุจริตและไม่เที่ยงธรรม ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายรองรับให้ยื่นเรื่องคัดค้านการเลือกตั้งโดยตรงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งคงทำได้เพียงการแจ้งเรื่องร้องเรียนเพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทำหน้าที่ในการสอบสวนและตรวจสอบอีกครั้ง ข้อน่าพิจารณาในประเด็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งในด้านระยะเวลาในการดำเนินการสืบสวนการเลือกตั้งว่าเป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรมหรือไม่ภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งไปแล้ว และหากตรวจสอบการเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริต คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจยื่นเรื่อ่งต่อศาลฎีกาได้ แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายกำหนดระยะเวลาในการทำหน้าที่ดังกล่าวของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ส่งผลต่อความมั่นคงในการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อาจถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งในช่วงเวลาใดก็ได้[15]

บรรณานุกรม

ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา. การคัดค้านผลการเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง. วารสารนิติศาสตร์ ฉบับที่ 47 : 4(ธันวาคม 2561). หน้า 970 – 990.

ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 134/ตอนที่ 40 ก/ 6 เมษายน 2560. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 120/ตอนที่ 6 ก/หน้า 89/17 มกราคม 2546. ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2546

ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 135/ตอนที่ 68 ก/12 กันยายน 2561. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561

อ้างอิง

[1] มาตรา 15 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522

[2] มาตรา 16 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522

[3] มาตรา  78 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522

[4] มาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522

[5] มาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522

[6] มาตรา 224(3) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

[7] มาตรา 224(4) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

[8] มาตรา 225 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

[9] มาตรา 85 วรรคท้าย แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

[10] มาตรา 226 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

[11] มาตรา 94 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

[12] มาตรา 140 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561

[13] ข้อ 3 แห่งระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2546

[14] มาตรา 226 วรรคสี่ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

[15] ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา, การคัดค้านผลการเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง, วารสารนิติศาสตร์ ฉบับที่ 47 : 4 (ธันวาคม 2561), หน้า 979.