ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การถอดถอนนักการเมือง"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 2: บรรทัดที่ 2:
'''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย
'''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ


 
 


= '''ความเป็นมาของการถอดถอนในทางการเมืองของประเทศไทย''' =
= <span style="font-size:x-large;">'''ความเป็นมาของการถอดถอนในทางการเมืองของประเทศไทย'''</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ประเทศไทยได้มีการนำกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งโดยวิธีการอิมพีชเมนต์ (Impeachment) และกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งโดยประชาชน (Recall) มาปรับใช้เพื่อเป็นกลไกในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่ง ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยได้มีการปรับปรุงกระบวนการในบางขั้นตอนเพื่อนำมาปรับใช้ในประเทศไทย เช่นนำขั้นตอนของกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งโดยประชาชนมาใช้กับกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งโดยวิธีการอิมพีชเมนต์ (Impeachment)&nbsp;ด้วยเหตุนี้จึงมีผลทำให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ 2550 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งโดยประชาชน (Recall) ซึ่งประชาชนสามารถถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับท้องถิ่นได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาอยู่พอสมควรเพราะรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับท้องถิ่นได้เท่านั้น ไม่สามารถ<br/> นำหลักเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้กับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับชาติที่มาจากการเลือกตั้งได้โดยตรง[[#_ftn1|[1]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ประเทศไทยได้มีการนำกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่ง โดยวิธีการอิมพีชเมนต์ (Impeachment) และกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งโดยประชาชน (Recall) มาปรับใช้เพื่อเป็นกลไกในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่ง ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยได้มีการปรับปรุงกระบวนการในบางขั้นตอนเพื่อนำมาปรับใช้ในประเทศไทย เช่นนำขั้นตอนของกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งโดยประชาชนมาใช้กับกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งโดยวิธีการอิมพีชเมนต์ (Impeachment)&nbsp;ด้วยเหตุนี้จึงมีผลทำให้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540]] และ 2550 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งโดยประชาชน (Recall) ซึ่งประชาชนสามารถถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับท้องถิ่นได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาอยู่พอสมควรเพราะรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับท้องถิ่นได้เท่านั้น ไม่สามารถนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้กับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับชาติที่มาจากการเลือกตั้งได้โดยตรง[[#_ftn1|[1]]]


= '''การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560''' =
= <span style="font-size:x-large;">'''การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560'''</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไม่ได้บัญญัติเรื่องการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ 2550 กับรัฐธรรมนูญ พ.ศ 2540 ได้บัญญัติไว้ตาม'''หลักการอิมพีชเมนต์ (Impeachment)''' แต่ยังคงบัญญัติให้องค์กรที่ทำหน้าที่ในการดำเนินการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยกำหนดให้แต่ละองค์กรมีอำนาจในการตรวจสอบซึ่งกันและกัน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญก็อาจจะตรวจสอบได้โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกับองค์กรอื่น ๆ[[#_ftn2|[2]]] ซึ่งหากมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจใช้อำนาจหน้าที่&nbsp;โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ประชาชนสามารถเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อวินิจฉัยในกรณีนั้น ๆ ได้ เป็นต้น
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560]] ไม่ได้บัญญัติเรื่องการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ 2550 กับรัฐธรรมนูญ พ.ศ 2540 ได้บัญญัติไว้ตามหลักการอิมพีชเมนต์ (Impeachment) แต่ยังคงบัญญัติให้องค์กรที่ทำหน้าที่ในการดำเนินการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา ได้แก่ [[ศาลรัฐธรรมนูญ|ศาลรัฐธรรมนูญ]] [[คณะกรรมการการเลือกตั้ง|คณะกรรมการการเลือกตั้ง]] [[ผู้ตรวจการแผ่นดิน|ผู้ตรวจการแผ่นดิน]] [[คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ|คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]] คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน และ[[คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ|คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ]]&nbsp;โดยกำหนดให้แต่ละองค์กรมีอำนาจในการตรวจสอบซึ่งกันและกัน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญก็อาจจะตรวจสอบได้โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกับองค์กรอื่น ๆ[[#_ftn2|[2]]] ซึ่งหากมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจใช้อำนาจหน้าที่&nbsp;โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ประชาชนสามารถเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อวินิจฉัยในกรณีนั้น ๆ ได้ เป็นต้น


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ยังเห็นว่า การให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ้นจากตำแหน่งนั้น ควรให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยเพราะจะมีผลเป็นการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือสิทธิรับสมัครรับเลือกตั้งแล้วแต่กรณีของบุคคลด้วย อีกทั้งการให้อำนาจเช่นนั้นแก่วุฒิสภาก็แสดงให้เห็นว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการแทรกแซงในรูปแบบต่าง ๆ จึงมิได้กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกต่อไป[[#_ftn3|[3]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; [[คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ_พุทธศักราช_2560|คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560]] ยังเห็นว่า การให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ้นจากตำแหน่งนั้น ควรให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยเพราะจะมีผลเป็นการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือสิทธิรับสมัครรับเลือกตั้งแล้วแต่กรณีของบุคคลด้วย อีกทั้งการให้อำนาจเช่นนั้นแก่วุฒิสภาก็แสดงให้เห็นว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการแทรกแซงในรูปแบบต่าง ๆ จึงมิได้กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกต่อไป[[#_ftn3|[3]]]


= <span style="font-size:x-large;">'''ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่อาจถูกตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ''''''[[#_ftn4|[4]]]'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่อาจถูกตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ'''[[#_ftn4|[4]]]</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 234 ได้แก่ นายกรัฐมนตรีรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมืองอื่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 234 ได้แก่ นายกรัฐมนตรีรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมืองอื่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา


= <span style="font-size:x-large;">'''เหตุแห่งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง'''[[#_ftn5|'''[5]''']]</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''เหตุแห่งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง'''[[#_ftn5|[5]]]</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงเพื่อดำเนินการต่อไปตามรัฐธรรมนูญหรือตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมเพื่อดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงเพื่อดำเนินการต่อไปตามรัฐธรรมนูญหรือตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมเพื่อดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต


= <span style="font-size:x-large;">'''กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง[[#_ftn6|'''[6]''']]'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง'''[[#_ftn6|[6]]]</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะต้องจัดให้มีมาตรการหรือแนวทางที่จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพ เกิดความรวดเร็วสุจริตและเที่ยงธรรมในกรณีที่จำเป็นจะมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตดำเนินการแทนในเรื่องที่มิใช่เป็นความผิดร้ายแรงหรือที่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐบางระดับหรือกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยธุรการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนหรือไต่สวนเบื้องต้น ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตก็ได้
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะต้องจัดให้มีมาตรการหรือแนวทางที่จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพ เกิดความรวดเร็วสุจริตและเที่ยงธรรมในกรณีที่จำเป็นจะมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตดำเนินการแทนในเรื่องที่มิใช่เป็นความผิดร้ายแรงหรือที่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐบางระดับหรือกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยธุรการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนหรือไต่สวนเบื้องต้น ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตก็ได้
บรรทัดที่ 36: บรรทัดที่ 36:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ ผลของคำตัดสินคือ เมื่อศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองประทับรับฟ้องให้ผู้ถูกกล่าวหาหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคำพิพากษา เว้นแต่ศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ในกรณีที่ศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์หรือกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาแล้วแต่กรณีให้ผู้ต้องคำพิพากษานั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้นและจะเพิกถอน สิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกินสิบปีด้วยหรือไม่ก็ได้ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไม่ว่าในกรณีใดผู้นั้นไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสมัครรับเลือกเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไปและไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ ผลของคำตัดสินคือ เมื่อศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองประทับรับฟ้องให้ผู้ถูกกล่าวหาหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคำพิพากษา เว้นแต่ศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ในกรณีที่ศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์หรือกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาแล้วแต่กรณีให้ผู้ต้องคำพิพากษานั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้นและจะเพิกถอน สิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกินสิบปีด้วยหรือไม่ก็ได้ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไม่ว่าในกรณีใดผู้นั้นไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสมัครรับเลือกเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไปและไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ[[ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง|ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง]]พิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิดฐานร่ำรวยผิดปกติหรือทุจริตต่อหน้าที่ ให้ริบทรัพย์สินที่ผู้นั้นได้มาจากการกระทำความผิดรวมทั้งบรรดาทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้มาแทนทรัพย์สินนั้น ตกเป็นของแผ่นดิน
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิดฐานร่ำรวยผิดปกติหรือทุจริตต่อหน้าที่ ให้ริบทรัพย์สินที่ผู้นั้นได้มาจากการกระทำความผิดรวมทั้งบรรดาทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้มาแทนทรัพย์สินนั้น ตกเป็นของแผ่นดิน


= <span style="font-size:x-large;">'''องค์กรผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง'''[[#_ftn7|'''[7]''']]</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''องค์กรผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง'''[[#_ftn7|[7]]]</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 210 ในการพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมาย พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรอิสระ หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและการยื่นคำร้องและเงื่อนไขการยื่นคำร้อง การพิจารณาวินิจฉัย&nbsp;การทำคำวินิจฉัย และการดำเนินงานของศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้วให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เช่น มาตรา 7 กำหนดให้ศาลมีหน้าที่และอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดี ได้แก่
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 210 ในการพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมาย พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรอิสระ หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและการยื่นคำร้องและเงื่อนไขการยื่นคำร้อง การพิจารณาวินิจฉัย&nbsp;การทำคำวินิจฉัย และการดำเนินงานของศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้วให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เช่น มาตรา 7 กำหนดให้ศาลมีหน้าที่และอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดี ได้แก่


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;''มาตรา 7 (5) ในคดีเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;''มาตรา 7 (5) ในคดีเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา''
บรรทัดที่ 52: บรรทัดที่ 52:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ให้อำนาจองค์กรอิสระ คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำหน้าที่ในการไต่สวนความผิดต่าง ๆ ซึ่งมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย&nbsp;หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงและให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาเป็นผู้มีอำนาจถอดถอนแล้วแต่กรณี
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ให้อำนาจองค์กรอิสระ คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำหน้าที่ในการไต่สวนความผิดต่าง ๆ ซึ่งมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย&nbsp;หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงและให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาเป็นผู้มีอำนาจถอดถอนแล้วแต่กรณี
<div>
<div>
&nbsp;
= <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> =
<div id="ftn1">
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, 2552. '''การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยประชาชน.''' (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), หน้า 3. อ้างถึงใน ชายชาญ อุทธสิงห์, 2558. '''รูปแบบที่เหมาะสมในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงโดยประชาชน.''' (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์&nbsp;คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์), หน้า 2-3.
[[#_ftnref1|[1]]] กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, 2552. การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยประชาชน. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), หน้า 3. อ้างถึงใน ชายชาญ อุทธสิงห์, 2558. รูปแบบที่เหมาะสมในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงโดยประชาชน. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์&nbsp;คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์), หน้า 2-3.
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] มีชัย ฤชุพันธุ์, 2559. '''หลักการและแนวความคิดเกี่ยวกับรูปแบบที่มาและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ในอันที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองของประเทศ.'''สืบค้นจากhttps://thepeople.co/meechai-ruchuphan-legal-expert/ อ้างถึงใน ณัฐพงศ์ สิงห์อินทร์, 2562.'''''<i>ปัญหาและผลกระทบของการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช '</i>'''2560.''' (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม), หน้า 59.
[[#_ftnref2|[2]]] มีชัย ฤชุพันธุ์, 2559. หลักการและแนวความคิดเกี่ยวกับรูปแบบที่มาและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ในอันที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองของประเทศ.สืบค้นจากhttps://thepeople.co/meechai-ruchuphan-legal-expert/ อ้างถึงใน ณัฐพงศ์ สิงห์อินทร์, 2562.ปัญหาและผลกระทบของการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม), หน้า 59.
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] ณัฐพงศ์ สิงห์อินทร์, อ้างแล้ว, หน้า 59.
[[#_ftnref3|[3]]] ณัฐพงศ์ สิงห์อินทร์, อ้างแล้ว, หน้า 59.
บรรทัดที่ 70: บรรทัดที่ 68:
[[#_ftnref7|[7]]] เรื่องเดียวกัน, หน้า 61 – 62.
[[#_ftnref7|[7]]] เรื่องเดียวกัน, หน้า 61 – 62.
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:นักการเมือง]] [[Category:กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง]]
&nbsp;
 
[[Category:นักการเมือง]] [[Category:กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง]] [[Category:กฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:53, 15 มีนาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ

 

ความเป็นมาของการถอดถอนในทางการเมืองของประเทศไทย

          ประเทศไทยได้มีการนำกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่ง โดยวิธีการอิมพีชเมนต์ (Impeachment) และกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งโดยประชาชน (Recall) มาปรับใช้เพื่อเป็นกลไกในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่ง ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยได้มีการปรับปรุงกระบวนการในบางขั้นตอนเพื่อนำมาปรับใช้ในประเทศไทย เช่นนำขั้นตอนของกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งโดยประชาชนมาใช้กับกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งโดยวิธีการอิมพีชเมนต์ (Impeachment) ด้วยเหตุนี้จึงมีผลทำให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540 และ 2550 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งโดยประชาชน (Recall) ซึ่งประชาชนสามารถถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับท้องถิ่นได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาอยู่พอสมควรเพราะรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับท้องถิ่นได้เท่านั้น ไม่สามารถนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้กับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับชาติที่มาจากการเลือกตั้งได้โดยตรง[1]

การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560 ไม่ได้บัญญัติเรื่องการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ 2550 กับรัฐธรรมนูญ พ.ศ 2540 ได้บัญญัติไว้ตามหลักการอิมพีชเมนต์ (Impeachment) แต่ยังคงบัญญัติให้องค์กรที่ทำหน้าที่ในการดำเนินการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยกำหนดให้แต่ละองค์กรมีอำนาจในการตรวจสอบซึ่งกันและกัน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญก็อาจจะตรวจสอบได้โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกับองค์กรอื่น ๆ[2] ซึ่งหากมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจใช้อำนาจหน้าที่ โดยขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ประชาชนสามารถเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อวินิจฉัยในกรณีนั้น ๆ ได้ เป็นต้น

          คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ยังเห็นว่า การให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ้นจากตำแหน่งนั้น ควรให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยเพราะจะมีผลเป็นการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือสิทธิรับสมัครรับเลือกตั้งแล้วแต่กรณีของบุคคลด้วย อีกทั้งการให้อำนาจเช่นนั้นแก่วุฒิสภาก็แสดงให้เห็นว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการแทรกแซงในรูปแบบต่าง ๆ จึงมิได้กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกต่อไป[3]

ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่อาจถูกตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ[4]

          ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 234 ได้แก่ นายกรัฐมนตรีรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมืองอื่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา

เหตุแห่งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง[5]

          ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงเพื่อดำเนินการต่อไปตามรัฐธรรมนูญหรือตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมเพื่อดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง[6]

          คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะต้องจัดให้มีมาตรการหรือแนวทางที่จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพ เกิดความรวดเร็วสุจริตและเที่ยงธรรมในกรณีที่จำเป็นจะมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตดำเนินการแทนในเรื่องที่มิใช่เป็นความผิดร้ายแรงหรือที่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐบางระดับหรือกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยธุรการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนหรือไต่สวนเบื้องต้น ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตก็ได้

          ในส่วนของกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยหรือมีการกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ไต่สวนข้อเท็จจริงและหากมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เห็นว่าผู้นั้นมีพฤติการณ์หรือกระทำความผิดตามที่ไต่สวนให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 235 ดังต่อไปนี้

          การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยกรณีอื่นที่นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ให้ส่งสำนวนการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือดำเนินการอื่นตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต จากนั้นการไต่สวนข้อเท็จจริงและมีมติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

          การให้ส่งสำนวนการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือดำเนินการอื่นตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

          ทั้งนี้ ผลของคำตัดสินคือ เมื่อศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองประทับรับฟ้องให้ผู้ถูกกล่าวหาหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคำพิพากษา เว้นแต่ศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ในกรณีที่ศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์หรือกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาแล้วแต่กรณีให้ผู้ต้องคำพิพากษานั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้นและจะเพิกถอน สิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกินสิบปีด้วยหรือไม่ก็ได้ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไม่ว่าในกรณีใดผู้นั้นไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสมัครรับเลือกเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไปและไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ

          กรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิดฐานร่ำรวยผิดปกติหรือทุจริตต่อหน้าที่ ให้ริบทรัพย์สินที่ผู้นั้นได้มาจากการกระทำความผิดรวมทั้งบรรดาทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้มาแทนทรัพย์สินนั้น ตกเป็นของแผ่นดิน

องค์กรผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง[7]

          ศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 210 ในการพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมาย พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรอิสระ หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและการยื่นคำร้องและเงื่อนไขการยื่นคำร้อง การพิจารณาวินิจฉัย การทำคำวินิจฉัย และการดำเนินงานของศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้วให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เช่น มาตรา 7 กำหนดให้ศาลมีหน้าที่และอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดี ได้แก่

         มาตรา 7 (5) ในคดีเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา

          มาตรา 7 (6) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษเว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษหรือความผิดฐานหมิ่นประมาท

          มาตรา 7 (7) คดีเกี่ยวกับการสิ้นสุดลงของความเป็นรัฐมนตรี

          มาตรา 7 (8) การพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา 144 หรือ มาตรา 235 วรรคสาม เป็นต้น

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ให้อำนาจองค์กรอิสระ คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำหน้าที่ในการไต่สวนความผิดต่าง ๆ ซึ่งมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงและให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาเป็นผู้มีอำนาจถอดถอนแล้วแต่กรณี

อ้างอิง

[1] กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, 2552. การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยประชาชน. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), หน้า 3. อ้างถึงใน ชายชาญ อุทธสิงห์, 2558. รูปแบบที่เหมาะสมในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงโดยประชาชน. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์), หน้า 2-3.

[2] มีชัย ฤชุพันธุ์, 2559. หลักการและแนวความคิดเกี่ยวกับรูปแบบที่มาและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ในอันที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองของประเทศ.สืบค้นจากhttps://thepeople.co/meechai-ruchuphan-legal-expert/ อ้างถึงใน ณัฐพงศ์ สิงห์อินทร์, 2562.ปัญหาและผลกระทบของการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม), หน้า 59.

[3] ณัฐพงศ์ สิงห์อินทร์, อ้างแล้ว, หน้า 59.

[4] เรื่องเดียวกัน, หน้า 59.

[5] เรื่องเดียวกัน, หน้า 59 – 60.

[6] เรื่องเดียวกัน, หน้า 60 – 61.

[7] เรื่องเดียวกัน, หน้า 61 – 62.