ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ที่นี่ไม่ใช่สนามเด็กเล่น"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 2: บรรทัดที่ 2:
 
 


'''ผู้เรียบเรียง'''  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และ ธีทัต จันทราพิชิต
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และ ธีทัต จันทราพิชิต


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ'''  รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


         
         
บรรทัดที่ 14: บรรทัดที่ 14:
<span style="font-size:x-large;">'''วิวาทะในสภา'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''วิวาทะในสภา'''</span>


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วิวาทะที่นี่ไม่ใช่สนามเด็กเล่นนั้นมีนัยยะของเรื่องที่กำลังโต้เถียงกันอยู่นั้นเป็นเรื่องที่จริงจัง ไม่ใช่เรื่องที่จะล้อเล่นกันได้ซึ่งวิวาทะเช่นนี้ปรากฏมาบ่อยครั้งในเวทีการเมือง โดยเฉพาะกรณีรัฐสภาในสมัยรัฐบาลที่[[พรรคพลังประชารัฐ|พรรคพลังประชารัฐ]]เป็นแกนนำก็ได้มีการกล่าววิวาทะลักษณะนี้ตั้งแต่วันแรกที่มีการเปิดประชุมสภา โดย นายธนาธร&nbsp;จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ถูกคำสั่งให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. และต้องเดินออกจากสภาไป โดยก่อนออกนายธนาธรก็ได้กล่าวสุนทรพจน์ปิดท้ายก่อนจะโค้งตัวแล้วเดินออกไปท่ามกลางเสียงปรบมือของ ส.ส. ในสภาจน นาย[[ชัย_ชิดชอบ|ชัย_ชิดชอบ]] ขณะนั้นกำลังทำหน้าที่รักษาการประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวว่าที่นี่ไม่ใช่โรงละครเพื่อห้ามปรามการกระทำของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ[[#_ftn1|[1]]] และในปีเดียวกันนั้น พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ก็ได้ถูกเชิญออกจากห้องประชุมสภาในวันที่ 2 ของการแถลงนโยบายรัฐบาลซึ่งตรงกับวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 โดย พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ได้พูดกล่าวหา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าโกงการเลือกตั้ง จึงเป็นเหตุให้ พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ถูกสั่งให้ถอนคำพูด แต่พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ปฏิเสธ จนทำให้ถูกเชิญออกจากห้องประชุม[[#_ftn2|[2]]] และไม่สามารถลุกขึ้นอภิปรายได้ในวันนั้น ทำให้นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส. จังหวัดน่าน&nbsp;พรรคเพื่อไทยได้ทำการลุกขึ้นมาหารือแสดงความเห็นต่อประธานรัฐสภาเพื่อทักท้วงมาตรการดังกล่าว[[#_ftn3|[3]]]&nbsp;โดย นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาได้กล่าวชี้แจงว่า
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วิวาทะที่นี่ไม่ใช่สนามเด็กเล่นนั้นมีนัยยะของเรื่องที่กำลังโต้เถียงกันอยู่นั้นเป็นเรื่องที่จริงจัง ไม่ใช่เรื่องที่จะล้อเล่นกันได้ซึ่งวิวาทะเช่นนี้ปรากฏมาบ่อยครั้งในเวทีการเมือง โดยเฉพาะกรณีรัฐสภาในสมัยรัฐบาลที่[[พรรคพลังประชารัฐ|พรรคพลังประชารัฐ]]เป็นแกนนำก็ได้มีการกล่าววิวาทะลักษณะนี้ตั้งแต่วันแรกที่มีการเปิดประชุมสภา โดยนายธนาธร&nbsp;จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ถูกคำสั่งให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. และต้องเดินออกจากสภาไป โดยก่อนออกนายธนาธรก็ได้กล่าวสุนทรพจน์ปิดท้ายก่อนจะโค้งตัวแล้วเดินออกไปท่ามกลางเสียงปรบมือของ ส.ส. ในสภาจน นาย[[ชัย_ชิดชอบ|ชัย_ชิดชอบ]] ขณะนั้นกำลังทำหน้าที่รักษาการประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวว่าที่นี่ไม่ใช่โรงละครเพื่อห้ามปรามการกระทำของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ[[#_ftn1|[1]]] และในปีเดียวกันนั้น พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ก็ได้ถูกเชิญออกจากห้องประชุมสภาในวันที่ 2 ของการแถลงนโยบายรัฐบาลซึ่งตรงกับวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 โดย พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ได้พูดกล่าวหา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าโกงการเลือกตั้ง จึงเป็นเหตุให้ พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ถูกสั่งให้ถอนคำพูด แต่พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ปฏิเสธ จนทำให้ถูกเชิญออกจากห้องประชุม[[#_ftn2|[2]]] และไม่สามารถลุกขึ้นอภิปรายได้ในวันนั้น ทำให้นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส. จังหวัดน่าน&nbsp;พรรคเพื่อไทยได้ทำการลุกขึ้นมาหารือแสดงความเห็นต่อประธานรัฐสภาเพื่อทักท้วงมาตรการดังกล่าว[[#_ftn3|[3]]]&nbsp;โดย นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาได้กล่าวชี้แจงว่า


''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; “ไม่ต้องการตัดสิทธิผู้ใด รู้สึกเห็นใจเพราะมีความผูกพันที่ดี แต่ความผูกพันอาจทำให้หลักการเสียหายจึงต้องฝืนใจ กรณีของท่านเสรีพิศุทธ์ ตนติดตามเหตุการณ์ เเม้ไม่ได้อยู่ทำหน้าที่ท่านอภิปราย และมีข้อความที่ให้ถอนคำพูด แต่ท่านไม่ถอนจึงใช้มาตรการตามข้อบังคับ เมื่อท่านออกไปแล้วถือว่าเรื่องผู้อภิปรายก็จบไป ให้ผู้อื่นอภิปรายต่อ ท่านจะอภิปรายต่อได้ก็ต่อเมื่อเป็นญัตติในเรื่องอื่น ๆ เท่านั้น ทั้งนี้ เหตุการณ์นี้ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่เราต้องยึดหลักเพราะที่นี่ไม่ใช่สนามเด็กเล่น ไม่ใช่ที่ที่จะทำเหลวไหล หรือทำอะไรเห็นแก่พวกพ้อง ดังนั้นตราบใดที่ยังเป็นญัตติเดิมท่านก็ไม่สามารถอภิปรายต่อได้ขอให้ร่วมมือกันนี่คือการตัดสินใจเพื่อให้หลักของสภาฯ เป็นที่ยอมรับ"''[[#_ftn4|[4]]]
''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; “ไม่ต้องการตัดสิทธิผู้ใด รู้สึกเห็นใจเพราะมีความผูกพันที่ดี แต่ความผูกพันอาจทำให้หลักการเสียหายจึงต้องฝืนใจ กรณีของท่านเสรีพิศุทธ์ ตนติดตามเหตุการณ์ เเม้ไม่ได้อยู่ทำหน้าที่ท่านอภิปราย และมีข้อความที่ให้ถอนคำพูด แต่ท่านไม่ถอนจึงใช้มาตรการตามข้อบังคับ เมื่อท่านออกไปแล้วถือว่าเรื่องผู้อภิปรายก็จบไป ให้ผู้อื่นอภิปรายต่อ ท่านจะอภิปรายต่อได้ก็ต่อเมื่อเป็นญัตติในเรื่องอื่น ๆ เท่านั้น ทั้งนี้ เหตุการณ์นี้ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่เราต้องยึดหลักเพราะที่นี่ไม่ใช่สนามเด็กเล่น ไม่ใช่ที่ที่จะทำเหลวไหล หรือทำอะไรเห็นแก่พวกพ้อง ดังนั้นตราบใดที่ยังเป็นญัตติเดิมท่านก็ไม่สามารถอภิปรายต่อได้ขอให้ร่วมมือกันนี่คือการตัดสินใจเพื่อให้หลักของสภาฯ เป็นที่ยอมรับ"''[[#_ftn4|[4]]]
บรรทัดที่ 72: บรรทัดที่ 72:
[[#_ftnref15|[15]]] ไทยรัฐ, 2564, "สิระ" ยั่ว บอก ไม่ใช่สนามเด็กเล่น หลัง "ไฮโซลูกนัท" วางเช็ค 10 ล้าน (คลิป). เข้าถึงจาก [https://www.thairath.co.th/news/politic/2180713 https://www.thairath.co.th/news/politic/2180713]
[[#_ftnref15|[15]]] ไทยรัฐ, 2564, "สิระ" ยั่ว บอก ไม่ใช่สนามเด็กเล่น หลัง "ไฮโซลูกนัท" วางเช็ค 10 ล้าน (คลิป). เข้าถึงจาก [https://www.thairath.co.th/news/politic/2180713 https://www.thairath.co.th/news/politic/2180713]
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]]
&nbsp;
 
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:57, 14 มีนาคม 2566

 

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และ ธีทัต จันทราพิชิต

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

         

          “ที่นี่ไม่ใช่สนามเด็กเล่น” เป็นคำที่ นายชวน_หลีกภัย ประธานรัฐสภาใช้ในคำชี้แจง เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 กรณี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย ถูกให้ออกจากห้องประชุมและนายชวน วินิจฉัยไม่อนุญาตให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ อภิปรายรอบที่ 2 เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการประชุมครั้งต่อ ๆ ไป ต่อมา “ที่นี่ไม่ใช่สนามเด็กเล่น” ถูกใช้อีกครั้งในวิวาทะของ นายสิระ เจนจาคะ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 โดยเป็นคำที่นายสิระใช้พูดกับสื่อมวลชนในวันที่ นายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย ได้นำเช็คเงินสดเป็นจำนวนเงินสิบล้านบาทมาเป็นเงินเดิมพันพิสูจน์ว่าตัวเองพิการทางสายตาจริงหรือไม่

 

วิวาทะในสภา

          วิวาทะที่นี่ไม่ใช่สนามเด็กเล่นนั้นมีนัยยะของเรื่องที่กำลังโต้เถียงกันอยู่นั้นเป็นเรื่องที่จริงจัง ไม่ใช่เรื่องที่จะล้อเล่นกันได้ซึ่งวิวาทะเช่นนี้ปรากฏมาบ่อยครั้งในเวทีการเมือง โดยเฉพาะกรณีรัฐสภาในสมัยรัฐบาลที่พรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำก็ได้มีการกล่าววิวาทะลักษณะนี้ตั้งแต่วันแรกที่มีการเปิดประชุมสภา โดยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ถูกคำสั่งให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. และต้องเดินออกจากสภาไป โดยก่อนออกนายธนาธรก็ได้กล่าวสุนทรพจน์ปิดท้ายก่อนจะโค้งตัวแล้วเดินออกไปท่ามกลางเสียงปรบมือของ ส.ส. ในสภาจน นายชัย_ชิดชอบ ขณะนั้นกำลังทำหน้าที่รักษาการประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวว่าที่นี่ไม่ใช่โรงละครเพื่อห้ามปรามการกระทำของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ[1] และในปีเดียวกันนั้น พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ก็ได้ถูกเชิญออกจากห้องประชุมสภาในวันที่ 2 ของการแถลงนโยบายรัฐบาลซึ่งตรงกับวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 โดย พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ได้พูดกล่าวหา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าโกงการเลือกตั้ง จึงเป็นเหตุให้ พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ถูกสั่งให้ถอนคำพูด แต่พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ปฏิเสธ จนทำให้ถูกเชิญออกจากห้องประชุม[2] และไม่สามารถลุกขึ้นอภิปรายได้ในวันนั้น ทำให้นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส. จังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทยได้ทำการลุกขึ้นมาหารือแสดงความเห็นต่อประธานรัฐสภาเพื่อทักท้วงมาตรการดังกล่าว[3] โดย นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาได้กล่าวชี้แจงว่า

          “ไม่ต้องการตัดสิทธิผู้ใด รู้สึกเห็นใจเพราะมีความผูกพันที่ดี แต่ความผูกพันอาจทำให้หลักการเสียหายจึงต้องฝืนใจ กรณีของท่านเสรีพิศุทธ์ ตนติดตามเหตุการณ์ เเม้ไม่ได้อยู่ทำหน้าที่ท่านอภิปราย และมีข้อความที่ให้ถอนคำพูด แต่ท่านไม่ถอนจึงใช้มาตรการตามข้อบังคับ เมื่อท่านออกไปแล้วถือว่าเรื่องผู้อภิปรายก็จบไป ให้ผู้อื่นอภิปรายต่อ ท่านจะอภิปรายต่อได้ก็ต่อเมื่อเป็นญัตติในเรื่องอื่น ๆ เท่านั้น ทั้งนี้ เหตุการณ์นี้ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่เราต้องยึดหลักเพราะที่นี่ไม่ใช่สนามเด็กเล่น ไม่ใช่ที่ที่จะทำเหลวไหล หรือทำอะไรเห็นแก่พวกพ้อง ดังนั้นตราบใดที่ยังเป็นญัตติเดิมท่านก็ไม่สามารถอภิปรายต่อได้ขอให้ร่วมมือกันนี่คือการตัดสินใจเพื่อให้หลักของสภาฯ เป็นที่ยอมรับ"[4]

 

วิวาทะนอกสภา

          นายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย หรือที่รู้จักในหน้าหนังสือพิมพ์ว่า ไฮโซลูนัท เป็นบุตรชายของ นายกิตติ ธนากิจอำนวย ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทอหังสาริมทรัยพ์ บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ และ นางอมรพิมล ธนากิจอำนวย โดยนายธนัตถ์ได้เคยเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่ม กปปส. ในช่วงปี 2556-2557 โดยเป็นทั้งอาสาสมัครหลังเวทีและผู้ปราศรัย

          ต่อมาในการเลือกตั้งปี 2562 นายธนัตถ์ได้ลงสมัครในนามของพรรคประชาธิปัตย์ โดยสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 15 แต่ก็พ่ายแพ้ให้กับ นายชาญวิทย์ วิภูศิริผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ ภายหลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ได้มีมติสนับสนุน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี นายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย ก็ได้ขอยุติบทบาททางการเมืองลงอย่างสิ้นเชิง และในการชุมนุมประท้วงในประเทศไทยตอนปี 2563 นายธนัตถ์ก็ไม่ได้แสดงบทบาทอะไรทั้งสิ้น[5]

          กระทั่งเดือนกรกฎาคม 2564 นายธนัตถ์ได้เริ่มกลับมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้ง โดยในวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 นายธนัตถ์ได้ประกาศร่วมลงชื่อเรียกร้องให้พรรคร่วมรัฐบาลทำการถอนตัวออกจากรัฐบาลโดยเร็วที่สุด[6] ต่อมาในวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 นายธนัตถ์ได้ทำการประกาศเข้าข้างผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลโดยทำการใส่เครื่องหมาย III [7] ซึ่งหมายถึงสามนิ้วอันเป็นสัญลักษณ์ที่ผู้ชุมนุมใช้ในการเคลื่อนไหว

          ในวันที่ 1 สิงหาคม 2564 เมื่อมีการประกาศทำการชุมนุมประท้วงด้วยวิธีที่เรียกว่าคาร์ม็อบทาง นายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย ก็ได้ประกาศเข้าร่วม[8] และในวันที่ 3 สิงหาคม 2564 นายธนัตถ์ได้โพสต์ลงเฟซบุ๊คส่วนตัวชวนคนเข้าร่วมการชุมนุมโดยเฉพาะกลุ่มที่นายธนัตถ์เรียกว่าสลิ่มกลับใจ โดยโพสต์ดังกล่าวมีคนกดไลค์จำนวนกว่าหนึ่งพันคนและมีคนกดแชร์อีกกว่าหนึ่งร้อยคน[9]

          นายธนัตถ์ไม่ได้เข้าร่วมในกิจกรรมเช่นคาร์ม็อบเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงกิจกรรมชุมนุมอื่น ๆ กระทั่ง ในวันที่ 13 สิงหาคม 2564 ที่มีการชุมนุมของกลุ่มทะลุฟ้าในชื่อกิจกรรม “ศุกร์ 13Xไล่ล่าทรราช” ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นายธนัตถ์ได้ถูกกระป๋องแก๊สน้ำตาบริเวณใบหน้าจนบาดเจ็บ[10]และต่อมาในวันที่ 15 สิงหาคม 2564 ก็ได้มีการประกาศว่าธนัตถ์ได้สูญเสียการมองเห็นบริเวณตาขวาจากอาการบาดเจ็บนั้น[11] ทว่า นายสิระ เจนจาคะ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ส.ส. ของพรรคพลังประชารัฐ ก็แสดงข้อสงสัยว่านายธนัตถ์ตาบอดจริงหรือไม่ และได้ทำการท้าว่าถ้าธนัตถ์ตาบอดจริงตนพร้อมเดิมพันด้วยการให้เงินหนึ่งล้านทันที[12]

 

การเดิมพัน

          หลังจาก นายสิระ เจนจาคะ ทำการประกาศของเดิมพันกับ นายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย นายธนัตถ์ก็ได้ทำการโชว์ใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยันว่าตาบอดจริง แต่ก็ยังมีข้อสงสัยของฝั่งของนายสิระในเรื่องลักษณะของใบรับรองแพทย์อยู่[13] นายสิระจึงได้ทำการนัดเดิมพันกับนายธนัตถ์โดยตนจะยอมยกเงินหนึ่งล้านบทให้ถ้าหากตาขวาของนายธนัตถ์บอดจริง ส่วนนายธนัตถ์ก็ขอเอาเงินเดิมพันจำนวนทั้งสิ้นสิบล้านบาทเพื่อจ่ายในกรณีที่ตาตัวเองไม่ได้บอด[14] และในวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นวันเดิมพันทางนายธนัตถ์ก็ได้ทำการเตรียมเช็กเงินสดจำนวนสิบล้านบาท ขณะที่นายสิระเตรียมเงินสดทั้งสิ้นหนึ่งล้านบาทใส่พานมาวางไว้

          ในการแถลงข่าว นายสิระ เจนจาคะ แสดงอาการฉุนเฉียว และบอกว่าหากจะเดิมพันกับตนต้องใช้เงินสดไม่ใช่เช็กเงินสด ซึ่งนายธนัตถ์ได้เตรียมมาพร้อมกับบอกว่าตนไม่ใช่เพื่อนเล่น และบ้านของตนก็ไม่ใช่สนามเด็กเล่นก่อนจะเดินออกจากที่สัมภาษณ์สร้างความงุนงงให้กับทั้ง นายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย และผู้สื่อข่าว[15]

      

อ้างอิง

[1] ข่าสด, 2564, ชมลีลาสุดท้าย "ปู่ชัย" บนบัลลังก์ประธานสภาฯ สอนฝ่ายค้าน "ที่นี่ไม่ใช่โรงละคร". เข้าถึงจาก https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_3451538

[2] ไทยพีบีเอส, 2562, "ชวน" ไม่ให้อภิปรายต่อ "เสรีพิศุทธ์" ขอใช้สิทธิตามกฎหมาย. เข้าถึงจาก https://news.thaipbs.or.th/content/282069

[3] ดูเพิ่มเติมใน https://www.youtube.com/watch?v=qchVYoECTBw นาทีที่ 09:33:30

[4] ข่าวสด, 2562, ที่นี่ไม่ใช่สนามเด็กเล่น! ‘ชวน’ เผยฝืนใจแต่ต้องรักษาหลักการ ยันไม่ให้ ‘เสรี’ อภิปรายต่อ. เข้าถึงจาก https://www.khaosod.co.th/politics/news_2746628

[5] คมชัดลึก, 2564, เปิดประวัติ "ไฮโซลูกนัท" สลิ่มกลับใจ กับเหตุผลยกมือไหว้ขอโทษ "ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์". เข้าถึงจาก https://www.komchadluek.net/entertainment/477019

[6] Nat Thanakitamnuay, 2564, ขอชวนคนไทยทุกคนร่วมส่งสารถึงพรรคร่วมรัฐบาลและติดแฮทช์แท็ก#พรรคร่วมถอนตัวเพื่อชาติ. เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=10165099212000648&set=pb.541740647.-2207520000..

[7] Nat Thanakitamnuay, 2564, ขอยืนข้างนี้ครับ III #justquit #ลาออกซะ.เข้าถึงจากhttps://www.facebook.com/photo/?fbid=10165131363610648&set=pb.541740647.-2207520000..

[8] Nat Thanakitamnuay, 2564, แล้วพบกัน! รถผม สีดำ ทะเบียน 8800 นะจ้ะ. เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=10165159246270648&set=pb.541740647.-2207520000..

[9] Nat Thanakitamnuay, 2564, จะทนกันต่อทำไมหละเพื่อนๆ! ติดสัญลักษณ์เล็กๆน้อยๆ หรือมากๆมายๆ แล้วแต่สะดวก เราจะมาชู 3นิ้ว อย่างปลอดภัยกัน.เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=10165175944970648&set=pb.541740647.-2207520000..

[10] มติชน, 2564, ไฮโซลูกนัท ถูกยิงแก๊สน้ำตา เลือดอาบหน้า ยังใจสู้ชู 3 นิ้ว. เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/local/news_2883453

[11] เดลี่นิวส์, 2564, ช็อก ‘ไฮโซลูกนัท’ตาบอด! หลังถูกยิงกระสุนแก๊สน้ำตาเข้าที่เบ้าตา. เข้าถึงจาก https://www.dailynews.co.th/news/162150/

[12] โพสต์ทูเดย์, 2564, 'สิระ'ท้า'ไฮโซลูกนัท'โชว์ใบรับรองแพทย์ บอดจริงจ่าย1ล้าน. เข้าถึงจาก https://www.thaipost.net/main/detail/114231

[13] Sanook, 2564, "ไฮโซลูกนัท" โชว์ใบรับรองแพทย์ ยันตาบอดจริง "หมอพรทิพย์" ชี้อาจใช้ขึ้นศาลไม่ได้. เข้าถึงจาก https://www.sanook.com/news/8432166/

[14] มติชน, 2564, ‘สิระ’ นัด ‘ไฮโซลูกนัท’ วางเงิน 1:10 ล้าน ก่อนนัดวันตรวจตาบอดจริงหรือไม่หลังจบศึกซักฟอก. เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2908722

[15] ไทยรัฐ, 2564, "สิระ" ยั่ว บอก ไม่ใช่สนามเด็กเล่น หลัง "ไฮโซลูกนัท" วางเช็ค 10 ล้าน (คลิป). เข้าถึงจาก https://www.thairath.co.th/news/politic/2180713