ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสียงปริ่มน้ำ"
สร้างหน้าด้วย " '''เรียบเรียง ''' รองศาสตราจารย์ ดร.กตัญญู แก้วหานาม..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 2: | บรรทัดที่ 2: | ||
'''เรียบเรียง ''' รองศาสตราจารย์ ดร.กตัญญู แก้วหานาม | '''เรียบเรียง ''' รองศาสตราจารย์ ดร.กตัญญู แก้วหานาม | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ''' | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ''' ดร.สติธร ธนานิธิโชติ | ||
ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ปรากฏว่าที่นั่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองต่างๆ ที่ได้รับมีลักษณะกระจัดกระจาย ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงทำให้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคจึงมีความหมายและความสำคัญต่อการจัดตั้งรัฐบาล หรือการลงมติผ่านกฎหมายหรือนโยบายสำคัญต่างๆ ของรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งตามที่เกิดขึ้น ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จึงทำให้เมื่อมีการลงมติต่างๆ ของสภาผู้แทนราษฎร ผลการลงคะแนนจึงมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยซึ่งเป็นที่มาของการเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าวว่า “เสียงปริ่มน้ำ” ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ | ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ปรากฏว่าที่นั่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองต่างๆ ที่ได้รับมีลักษณะกระจัดกระจาย ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงทำให้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคจึงมีความหมายและความสำคัญต่อการจัดตั้งรัฐบาล หรือการลงมติผ่านกฎหมายหรือนโยบายสำคัญต่างๆ ของรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งตามที่เกิดขึ้น ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จึงทำให้เมื่อมีการลงมติต่างๆ ของสภาผู้แทนราษฎร ผลการลงคะแนนจึงมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยซึ่งเป็นที่มาของการเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าวว่า “เสียงปริ่มน้ำ” ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ | ||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 30: | ||
''การออกเสียงลงคะแนนเลือกหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดํารงตําแหน่งใด ให้กระทําเป็นการลับ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญ''” | ''การออกเสียงลงคะแนนเลือกหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดํารงตําแหน่งใด ให้กระทําเป็นการลับ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญ''” | ||
สำหรับ[[สภาผู้แทนราษฎรที่เกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ ]]24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ปรากฏว่าที่นั่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองต่างๆ ที่ได้รับมีลักษณะกระจัดกระจาย ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงทำให้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคจึงมีความหมายและความสำคัญต่อรัฐบาล รวมทั้งการลงมติผ่านกฎหมายหรือนโยบายสำคัญต่างๆ ของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จึงทำให้รัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภาเกินกว่ากึ่งหนึ่งไปเมื่อมีการลงมติต่างๆ ที่ใช้เสียงสนับสนุนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผลการลงคะแนนจึงมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายไม่เห็นด้วยซึ่งเป็นที่มาของการเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าวว่า “เสียงปริ่มน้ำ” | สำหรับ[[สภาผู้แทนราษฎรที่เกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป_เมื่อวันที่|สภาผู้แทนราษฎรที่เกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่]]24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ปรากฏว่าที่นั่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองต่างๆ ที่ได้รับมีลักษณะกระจัดกระจาย ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงทำให้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคจึงมีความหมายและความสำคัญต่อรัฐบาล รวมทั้งการลงมติผ่านกฎหมายหรือนโยบายสำคัญต่างๆ ของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จึงทำให้รัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภาเกินกว่ากึ่งหนึ่งไปเมื่อมีการลงมติต่างๆ ที่ใช้เสียงสนับสนุนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผลการลงคะแนนจึงมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายไม่เห็นด้วยซึ่งเป็นที่มาของการเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าวว่า “เสียงปริ่มน้ำ” | ||
| | ||
บรรทัดที่ 594: | บรรทัดที่ 594: | ||
ฐานเศรษฐกิจ (2562). รัฐบาลใหม่เสียงปริ่มน้ำ อยู่ได้ 2 ปีก็นับว่าเก่ง, สืบค้นจาก | ฐานเศรษฐกิจ (2562). รัฐบาลใหม่เสียงปริ่มน้ำ อยู่ได้ 2 ปีก็นับว่าเก่ง, สืบค้นจาก | ||
http://www.thansettakij.com/content/399207, เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563 | [http://www.thansettakij.com/content/399207 http://www.thansettakij.com/content/399207], เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563 | ||
แนวหน้า. (2562). '''เปิดสูตร‘''''''20 พรรคร่วม’ 253 เสียง สานฝันดัน‘บิ๊กตู่’นั่งนายกฯฉลุย, สืบค้นจาก''' | แนวหน้า. (2562). '''เปิดสูตร‘''''''20 พรรคร่วม’ 253 เสียง สานฝันดัน‘บิ๊กตู่’นั่งนายกฯฉลุย, สืบค้นจาก''' | ||
บรรทัดที่ 620: | บรรทัดที่ 620: | ||
[[#_ftnref1|[1]]]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สืบค้นจาก | [[#_ftnref1|[1]]]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สืบค้นจาก | ||
[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF][[, เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563]] | [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF][[,_เข้าถึงเมื่อ_13_มิถุนายน_2563|, เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563]] | ||
</div> <div id="ftn2"> | </div> <div id="ftn2"> | ||
[[#_ftnref2|[2]]] อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และวรศักดิ์ จันทร์ภักดี. (ม.ป.ป.) สภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560, สืบค้นจาก [http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title], เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563 | [[#_ftnref2|[2]]] อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และวรศักดิ์ จันทร์ภักดี. (ม.ป.ป.) สภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560, สืบค้นจาก [http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title], เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563 | ||
บรรทัดที่ 630: | บรรทัดที่ 630: | ||
[https://www.banmuang.co.th/news/politic/146201?fbclid=IwAR3HpeQbbsnocTqaYQs0IT4ATbtrgqoZAcPKg4pAFOKgS8PdrQw6UQzwMGo https://www.banmuang.co.th/news/politic/146201?fbclid=IwAR3HpeQbbsnocTqaYQs0IT4ATbtrgqoZAcPKg4pAFOKgS8PdrQw6UQzwMGo], เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563 | [https://www.banmuang.co.th/news/politic/146201?fbclid=IwAR3HpeQbbsnocTqaYQs0IT4ATbtrgqoZAcPKg4pAFOKgS8PdrQw6UQzwMGo https://www.banmuang.co.th/news/politic/146201?fbclid=IwAR3HpeQbbsnocTqaYQs0IT4ATbtrgqoZAcPKg4pAFOKgS8PdrQw6UQzwMGo], เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563 | ||
</div> <div id="ftn5"> | </div> <div id="ftn5"> | ||
[[#_ftnref5|[5]]] ฐานเศรษฐกิจ (2562). รัฐบาลใหม่เสียงปริ่มน้ำ อยู่ได้ 2 ปีก็นับว่าเก่ง, สืบค้นจาก http://www.thansettakij.com/content/399207, เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563 | [[#_ftnref5|[5]]] ฐานเศรษฐกิจ (2562). รัฐบาลใหม่เสียงปริ่มน้ำ อยู่ได้ 2 ปีก็นับว่าเก่ง, สืบค้นจาก [http://www.thansettakij.com/content/399207 http://www.thansettakij.com/content/399207], เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563 | ||
| | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:รัฐสภา]] | | ||
[[Category:รัฐสภา]][[Category:การเลือกตั้ง]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:10, 11 มกราคม 2564
เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.กตัญญู แก้วหานาม
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ปรากฏว่าที่นั่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองต่างๆ ที่ได้รับมีลักษณะกระจัดกระจาย ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงทำให้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคจึงมีความหมายและความสำคัญต่อการจัดตั้งรัฐบาล หรือการลงมติผ่านกฎหมายหรือนโยบายสำคัญต่างๆ ของรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งตามที่เกิดขึ้น ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จึงทำให้เมื่อมีการลงมติต่างๆ ของสภาผู้แทนราษฎร ผลการลงคะแนนจึงมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยซึ่งเป็นที่มาของการเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าวว่า “เสียงปริ่มน้ำ” ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ความหมายหรือแนวคิด
ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560[1] มาตรา 83 กำหนดให้
สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน ดังนี้
(1) สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 350 คน
(2) สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจำนวน 150 คน
สภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 อยู่ในหมวดที่ 7 รัฐสภา ประกอบด้วย มาตรา 83 ถึงมาตรา 106 โดยกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี ส่วนองค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎรนั้น ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 350 คน และสมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจำนวน 150 คน ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เขตละ 1 คนและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งได้คนละ 1 คะแนน โดยจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใด หรือจะลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดเลยก็ได้ ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนสูงกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง และพรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งจะส่งผู้สมัครคนเดียวกันลงสมัครรับเลือกตั้งเกิน 1 เขตมิได้
สำหรับสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง หากพรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว ให้มีสิทธิส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้ พรรคการเมืองจัดทำบัญชีรายชื่อพรรคละ 1 บัญชี โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งของแต่ละพรรคการเมืองต้องไม่ซ้ำกัน และไม่ซ้ำกับรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในพรรคเดียวกัน โดยส่งบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้คณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ในส่วนของอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรนั้น โดยหลักแล้วเป็นการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ นอกจากนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 1 ใน 5 สามารถเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือ ทั้งคณะได้แต่ทำได้เพียงปีละครั้ง รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 1 ใน 10 สามารถเสนอญัตติเพื่อขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติเพื่อเป็นช่องทางให้สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้
โดยอายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้งทั้งนี้ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
และกระทำโดยพระราชกฤษฎีกา[2]
นอกจากนี้ในมาตรา 120 กำหนดให้ “การประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมวุฒิสภาต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา จึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่ ในกรณีการพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะกําหนดองค์ประชุมไว้ในข้อบังคับ เป็นอย่างอื่นก็ได้
การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ในรัฐธรรมนูญ
สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธาน
ในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
รายงานการประชุมและบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคนต้องเปิดเผยให้ประชาชน ทราบได้ทั่วไป เว้นแต่กรณีการประชุมลับหรือการออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ
การออกเสียงลงคะแนนเลือกหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดํารงตําแหน่งใด ให้กระทําเป็นการลับ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญ”
สำหรับสภาผู้แทนราษฎรที่เกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ปรากฏว่าที่นั่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองต่างๆ ที่ได้รับมีลักษณะกระจัดกระจาย ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงทำให้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคจึงมีความหมายและความสำคัญต่อรัฐบาล รวมทั้งการลงมติผ่านกฎหมายหรือนโยบายสำคัญต่างๆ ของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จึงทำให้รัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภาเกินกว่ากึ่งหนึ่งไปเมื่อมีการลงมติต่างๆ ที่ใช้เสียงสนับสนุนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผลการลงคะแนนจึงมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายไม่เห็นด้วยซึ่งเป็นที่มาของการเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าวว่า “เสียงปริ่มน้ำ”
2. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
จากการเลือกตั้งทั่วไป ส.ส. เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ที่มีการใช้ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 350 ที่นั่ง และจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจำนวน 150 ที่นั่ง โดยในการเลือกตั้งใช้บัตรเลือกตั้งเดียวทำให้คะแนนเสียงที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองใด ภายหลังการประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตแล้วคะแนนเหล่านั้นก็จะนำมาคิดคำนวณหาจำนวนที่นั่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ทำให้พรรคการเมืองได้รับการจัดสรรที่นั่ง ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งทำให้ได้ที่นั่ง ส.ส. ของแต่ละพรรคมีรายละเอียดดังนี้
ลำดับที่ |
ชื่อพรรคการเมือง |
จำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง |
จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ |
ส.ส. ทั้งหมด (คน) |
---|---|---|---|---|
1 |
พลังประชารัฐ |
97 |
18 |
115 |
2 |
เพื่อไทย |
136 |
0 |
136 |
3 |
อนาคตใหม่ |
30 |
50 |
80 |
4 |
ประชาธิปัตย์ |
33 |
19 |
52 |
5 |
ภูมิใจไทย |
39 |
12 |
51 |
6 |
เสรีรวมไทย |
0 |
10 |
10 |
7 |
ชาติไทยพัฒนา |
6 |
4 |
10 |
8 |
เศรษฐกิจใหม่ |
0 |
6 |
6 |
9 |
ประชาชาติ |
6 |
1 |
7 |
10 |
เพื่อชาติ |
0 |
5 |
5 |
11 |
รวมพลังประชาชาติไทย |
1 |
4 |
5 |
12 |
ชาติพัฒนา |
1 |
2 |
3 |
13 |
พลังท้องถิ่นไท |
0 |
3 |
3 |
14 |
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย |
0 |
2 |
2 |
15 |
พลังปวงชนไทย |
0 |
1 |
1 |
16 |
พลังชาติไทย |
0 |
1 |
1 |
17 |
ประชาภิวัฒน์ |
0 |
1 |
1 |
18 |
ไทยศรีวิไลย์ |
0 |
1 |
1 |
19 |
พลังไทยรักไทย |
0 |
1 |
1 |
20 |
ครูไทยเพื่อประชาชน |
0 |
1 |
1 |
21 |
ประชานิยม |
0 |
1 |
1 |
22 |
ประชาธรรมไทย |
0 |
1 |
1 |
23 |
ประชาชนปฏิรูป |
0 |
1 |
1 |
24 |
พลเมืองไทย |
0 |
1 |
1 |
25 |
ประชาธิปไตยใหม่ |
0 |
1 |
1 |
26 |
พลังธรรมใหม่ |
0 |
1 |
1 |
27 |
ไทรักธรรม |
0 |
1 |
1 |
รวม |
249 |
'1'49 |
498 |
จากจำนวน ส.ส. ที่ได้รับการรับรองขณะนั้นจำนวน 498 คน จากทั้งหมด 500 คน เพราะภายหลังการเลือกตั้งแล้วเสร็จ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ได้มีการประกาศที่นั่ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่ออีก 1 คนว่าควรจัดสรรให้พรรคการเมืองใด และ ส.ส. แบบเขตอีก 1 คนที่เพราะได้มีการเลือกตั้งใหม่ที่ จ.เชียงใหม่ เนื่องจากผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยถูกแจกใบส้มจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ต่อมาในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 หลังจากที่พรรคขนาดเล็กจำนวน 11 พรรคเล็ก ได้มีการแถลงข่าวจับมือกับพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เพื่อจัดตั้งรัฐบาลนั้น ทำให้แผนการจัดตั้งรัฐบาลของพรรค พลังประชารัฐมีความชัดเจน และเป็นฝ่ายได้เปรียบในการชิงตั้งรัฐบาลด้วยสูตร 20 พรรคร่วม มีเสียงสนับสนุน 253 เสียงจากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 500 เสียง เปิดโอกาสให้การขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัยของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคพลังประชารัฐให้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นไปได้สูงมาก สำหรับสูตร '20 พรรคร่วมรัฐบาลนั้น ประกอบด้วย'[3]
1. พรรคพลังประชารัฐ ขณะนั้นมี ส.ส. 115 เสียง
2. พรรคประชาธิปัตย์ ขณะนั้นมี ส.ส. 52 เสียง
3. พรรคภูมิใจไทย ขณะนั้นมี ส.ส. 51 เสียง
4. พรรคชาติไทยพัฒนา มี ส.ส. 10 เสียง
5. พรรครวมพลังประชาชาติไทย มี ส.ส. 5 เสียง
6. พรรคชาติพัฒนา มี ส.ส. 3 เสียง
7. พรรคพลังท้องถิ่นไท มี ส.ส. 3 เสียง
8. พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย มี ส.ส. 2 เสียง
9. พรรคประชาชนปฏิรูป ขณะนั้นมี ส.ส. 1 เสียง
10. พรรคพลเมืองไทย มี ส.ส. 1 เสียง
11. พรรคพลังชาติไทย มี ส.ส. 1 เสียง
12. พรรคประชาภิวัฒน์ มี ส.ส. 1 เสียง
13. พรรคไทยศรีวิไลย์ มี ส.ส. 1 เสียง
14. พรรคพลังไทยรักไทย มี ส.ส. 1 เสียง
15. พรรคครูไทยเพื่อประชาชน มี ส.ส. 1 เสียง
16. พรรคประชาธรรมไทย มี ส.ส. 1 เสียง
17. พรรคประชาธิปไตยใหม่ มี ส.ส. 1 เสียง
18. พรรคประชานิยม มี ส.ส. 1 เสียง
19. พรรคพลังธรรมใหม่ มี ส.ส. 1 เสียง
20. พรรคไทยรักธรรม มี ส.ส. 1 เสียง
จากการรวมกันของพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 20 พรรคการเมืองดังกล่าว จะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคพลังประชารัฐ มีเสียงสนับสนุนอยู่ที่จำนวน 253 เสียง
'ส่วนอีกฝ่าย ที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำนั้น ได้มีการจัดประชุมกันตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562 ที่โรงแรมแลงคาสเตอร์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โดยพรรคเพื่อไทยพร้อมด้วยพรรคที่มีจุดยืนประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)[4] ได้ร่วมแถลงประกาศจับมือกับพรรคการเมืองที่อ้างว่าเป็นพรรคฝ่ายประชาธิปไตยจำนวน 7 พรรค เพื่อจัดตั้งรัฐบาลตั้งแต่ก่อนที่คณะกรรมการ
การเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ได้ประกาศรับรองสถานะของ ส.ส. ซึ่งประกอบด้วย '7 พรรคมีเสียงสนับสนุน 245 เสียง ประกอบด้วย
1. พรรคเพื่อไทย มี ส.ส. 136 เสียง
2. พรรคอนาคตใหม่ ขณะนั้นมี ส.ส. 80 เสียง
3. พรรคเสรีรวมไทย มี ส.ส. 10 เสียง
4. พรรคประชาชาติ มี ส.ส. 7 เสียง
5. พรรคเศรษฐกิจใหม่ มี ส.ส. 6 เสียง
6. พรรคเพื่อชาติ มี ส.ส. 5 เสียง
7. พรรคพลังปวงชนไทย มี ส.ส. 1 เสียง
3. หลักการสำคัญ / ความสำคัญ
วลีที่ว่า “เสียงปริ่มน้ำ” เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองของไทยภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ที่จำนวนที่นั่ง ส.ส. ของแต่ละพรรคการเมืองมีลักษณะกระจัดกระจาย พรรคการเมืองต่างๆ จึงพยายามรวมเสียงกันเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งขณะนั้นยังถือว่าทั้งฝ่ายที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย และฝ่ายที่สนับสนุนพรรคพลังประชารัฐต่างมีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ทั้งคู่ เพราะเสียงสนับสนุนที่ทั้งสองฝ่ายมีอยู่ในขณะนั้นมีลักษณะก้ำกึ่งกันไม่ได้แตกต่างกันมาก ซึ่งเรียกปรากฏการณ์ในช่วงภายหลังการเลือกตั้งจนกระทั่งก่อนมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้วเสร็จดังกล่าวว่าเป็นปรากฏการณ์ “เสียงปริ่มน้ำ”
ในขณะนั้นนักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้า[5] ได้ออกมาอธิบายจากตัวเลขจำนวนที่นั่ง ส.ส.
ของพรรคการเมืองที่มี ก็เสนอว่าตัวเลขที่นั่งของพรรคการเมืองที่ได้ ส.ส. อันดับหนึ่งอย่างพรรคเพื่อไทยก็น่าจะจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ติดเงื่อนไขหลายอย่างที่ทำให้จัดตั้งรัฐบาลได้ยาก เช่น ถ้าไม่มีเสียงจากสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มาสนับสนุนเลยในการลงคะแนนเลือกบุคคลดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ไม่เป็นผล เพราะแม้พรรคเพื่อไทยจะอ้างความชอบธรรมในฐานะพรรคที่ได้ที่นั่ง ส.ส. ในสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด แต่ด้วยเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญที่ต้องระดมเสียง ส.ส. และ ส.ว. ในการลงคะแนนเสียงเห็นชอบบุคคลใดเป็นนายกรัฐมนตรีรวมกันให้ได้ 376 เสียงของทั้งสองสภาขึ้นไปจึงเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับพรรคเพื่อไทย จึงทำให้พรรคการเมืองที่มีที่นั่ง ส.ส. อันดับรองลงมาคือพรรคพลังประชารัฐ อ้างสิทธิที่จะจัดตั้งรัฐบาลแทน เพราะอ้างว่าพรรคที่ได้เสียงอันดับหนึ่งไม่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากได้ อย่างไรก็ตามตราบใดที่ไม่มีพรรคการเมืองใดได้ ส.ส. เกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรคือ 251 คน พรรคอันดับ 1 2 หรือ 3 ก็ไม่สำคัญ เพราะใครสามารถรวมเสียงได้เกินครึ่งหนึ่งก่อน คนนั้นก็เป็นรัฐบาลได้ เพราะการผสมรัฐบาลไม่ใช่เอาจำนวน ส.ส. มารวมกันให้ได้เกิน 250 เสียงเท่านั้น แต่ต้องพิจารณานโยบายของพรรค อุดมการณ์ของพรรค และบุคลากรภายในพรรคประกอบกันไปด้วย ซึ่งในต่างประเทศพรรคที่เสียงมากอันดับหนึ่งอุดมการณ์ไม่ตรงกับพรรคที่ได้อันดับ 2 และ 3 ก็ไม่มีใครมาร่วมรัฐบาลด้วยเพราะอุดมการณ์ไม่ตรงกันก็ต้องรับสภาพเป็นพรรคฝ่ายค้านที่เข้มแข็งไป หรือในช่วงเวลาที่ปรากฏเรื่องของเสียงปริ่มน้ำในสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าว ถ้าหากพรรคพลังประชารัฐสามารถรวบรวมเสียงจากพรรคการเมืองที่ยังไม่ประกาศตัวว่าจะสนับสนุนพรรคใดเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ก็สามารถทำได้เช่นกัน และสามารถดึง ส.ส. ในฝั่งที่ประกาศจุดยืนที่จะสนับสนุนพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เช่น ส.ส. ของพรรคอนาคตใหม่ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคประชาชาติ หรือเพื่อไทยเอง เพื่อให้เป็น “งูเห่า” ในการลงคะแนนเสียงสนับสนุนฝ่ายรัฐบาลในแต่ละครั้งที่มีการลงมติในสภาผู้แทนราษฎรก็สามารถทำได้เพราะเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส. ในการลงมติในสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้ง แต่ก็เชื่อได้ว่ารัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นด้วยกลยุทธ์ดังกล่าวจะขาดเสถียรภาพและอ่อนแอถึงขั้นยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในไม่ช้า แต่ด้วยความไม่ชัดเจนในช่วงเสียงปริ่มน้ำนี้ พรรคการเมืองใดบ้างที่จะจับมือร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลเป็นผลสำเร็จ แต่หากพิจารณาจากสถานการณ์การเมืองในขณะนั้นก็มีการประเมินได้ว่ารัฐบาลชุดใหม่ภายหลังการเลือกตั้งอาจเป็นรัฐบาลที่มีเสียงปริ่มน้ำค่อนข้างสูง
4. สรุป
วลีที่ว่า “เสียงปริ่มน้ำ” เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองของไทยภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ที่จำนวนที่นั่ง ส.ส. ของแต่ละพรรคการเมืองมีลักษณะกระจัดกระจาย พรรคการเมืองต่างๆ จึงพยายามรวมเสียงกันเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งขณะนั้นยังถือว่าทั้งฝ่ายที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย และฝ่ายที่สนับสนุนพรรคพลังประชารัฐต่างมีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ทั้งคู่ เพราะเสียงสนับสนุนที่ทั้งสองฝ่ายมีอยู่ในขณะนั้นมีลักษณะก้ำกึ่งกันไม่ได้แตกต่างกันมาก โดยมีการรวมกันของพรรคการเมือง 20 พรรคการเมืองภายใต้การนำของพรรคพลังประชารัฐ มีเสียงสนับสนุนอยู่ที่จำนวน 253 เสียง และพรรคการเมืองที่อ้างว่าเป็นพรรคฝ่ายประชาธิปไตย'ประกอบด้วย '7 พรรคมีเสียงสนับสนุน 245 เสียงภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่อ้างความชอบธรรมในฐานะเป็นพรรคที่มีที่นั่ง ส.ส. มากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ซึ่งเรียกปรากฏการณ์ในช่วงภายหลังการเลือกตั้งจนกระทั่งก่อนมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้วเสร็จดังกล่าวว่าเป็นปรากฏการณ์ “เสียงปริ่มน้ำ” นั่นเอง
5. บรรณานุกรม
ฐานเศรษฐกิจ (2562). รัฐบาลใหม่เสียงปริ่มน้ำ อยู่ได้ 2 ปีก็นับว่าเก่ง, สืบค้นจาก
http://www.thansettakij.com/content/399207, เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563
แนวหน้า. (2562). เปิดสูตร‘'20 พรรคร่วม’ 253 เสียง สานฝันดัน‘บิ๊กตู่’นั่งนายกฯฉลุย, สืบค้นจาก'
https://www.naewna.com/politic/413412, เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563
บ้านเมือง. (2562). 7 พรรคต้านสืบทอดอำนาจ ประกาศจับมือจัดตั้งรัฐบาล, สืบค้นจาก
https://www.banmuang.co.th/news/politic/146201?fbclid=IwAR3HpeQbbsnocTqaYQs0IT4ATbtrgqoZAcPKg4pAFOKgS8PdrQw6UQzwMGo, เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2562). ความท้าทายของรัฐบาลปริ่มน้ำ, สืบค้นจาก
https://www.chula.ac.th/cuinside/22137/?fbclid=IwAR0Uu0l0VDSIOBpmxYpMsxls2PWYOP_XbD2eMep-uQTeqrHmknA2PoJlgS0, เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สืบค้นจาก
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF, เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2563
อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และวรศักดิ์ จันทร์ภักดี. (ม.ป.ป.) สภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พ.ศ. 2560, สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title, เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563
[1]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สืบค้นจาก
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF, เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563
[2] อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และวรศักดิ์ จันทร์ภักดี. (ม.ป.ป.) สภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560, สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title, เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563
[3] 'เปิดสูตร‘'20 พรรคร่วม’ 253 เสียง สานฝันดัน‘บิ๊กตู่’นั่งนายกฯฉลุย, สืบค้นจาก https://www.naewna.com/politic/413412, เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563
[4] 7 พรรคต้านสืบทอดอำนาจ ประกาศจับมือจัดตั้งรัฐบาล, สืบค้นจาก
https://www.banmuang.co.th/news/politic/146201?fbclid=IwAR3HpeQbbsnocTqaYQs0IT4ATbtrgqoZAcPKg4pAFOKgS8PdrQw6UQzwMGo, เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563
[5] ฐานเศรษฐกิจ (2562). รัฐบาลใหม่เสียงปริ่มน้ำ อยู่ได้ 2 ปีก็นับว่าเก่ง, สืบค้นจาก http://www.thansettakij.com/content/399207, เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563