ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชทานอภัยโทษ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " เรียบเรียงโดย : ดร.ชาติชาย มุกสง ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทค..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


เรียบเรียงโดย : ดร.ชาติชาย มุกสง
เรียบเรียงโดย : ดร.ชาติชาย มุกสง


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต


----
----
บรรทัดที่ 10: บรรทัดที่ 10:
             การพระราชทานอภัยโทษถือว่าเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่จะทรงพระกรุณาตามที่จะทรงเห็นสมควร ซึ่งในความคิดของประเทศที่ใช้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างประเทศอังกฤษและไทยต่างก็เชื่อว่ามาจากแนวคิดพื้นฐานที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาแห่งความยุติธรรม (The king is the foundation of Justice) [[#_ftn1|[1]]] พระมหากษัตริย์ก็ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุดในการอภัยโทษชนิดที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว[[#_ftn2|[2]]] และในกรณีของไทยนั้นถือว่าแนวคิดนี้อยู่คู่กับสังคมไทยที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด ทั้งในสมัยโบราณที่ปกครองโดยระบอบราชาธิปไตยจนมาถึงสมัยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
             การพระราชทานอภัยโทษถือว่าเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่จะทรงพระกรุณาตามที่จะทรงเห็นสมควร ซึ่งในความคิดของประเทศที่ใช้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างประเทศอังกฤษและไทยต่างก็เชื่อว่ามาจากแนวคิดพื้นฐานที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาแห่งความยุติธรรม (The king is the foundation of Justice) [[#_ftn1|[1]]] พระมหากษัตริย์ก็ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุดในการอภัยโทษชนิดที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว[[#_ftn2|[2]]] และในกรณีของไทยนั้นถือว่าแนวคิดนี้อยู่คู่กับสังคมไทยที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด ทั้งในสมัยโบราณที่ปกครองโดยระบอบราชาธิปไตยจนมาถึงสมัยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ


             แต่ถ้าหากพิจาณาจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์แล้ว พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษดังกล่าวมีมาก่อนการมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเสียอีก กล่าวคือ แต่เดิมพระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงใช้พระราชอำนาจดังกล่าวมาโดยตลอดตามโบราณราชประเพณี โดยการอภัยโทษตามจารีตประเพณีนี้สืบทอดมาแต่สมัยอยุธยา โดยทรงบำเพ็ญอภัยทาน ปลดปล่อยนักโทษในโอกาสสำคัญของบ้านเมือง เช่นในพิธีบรมราชาภิเษก จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มี “พระราชกฤษฎีกาวางระเบียบการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา พ.ศ. 2457” เรียกว่า การพระราชทานพระมหากรุณาลดหย่อนผ่อนโทษ แต่ในรัชกาลที่ 6 นี้เองที่ทรงประกาศเลิกปลดปล่อยนักโทษในโอกาสพิธีบรมราชาภิเษก[[#_ftn3|[3]]] และยังได้ตรา “พระราชกำหนดพระราชอภัยโทษ พ.ศ. 2459”[[#_ftn4|[4]]] ขึ้นมาใช้เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับใช้พิจารณาอภัยโทษให้เป็นที่ชัดเจนแน่นอนลงไปเป็นที่รับรู้และถือปฏิบัติของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการถือปฏิบัติ แต่ก็ถือว่าเป็นพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ที่จะตัดสินใจขั้นสุดท้ายด้วยพระองค์เองอยู่
             แต่ถ้าหากพิจาณาจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์แล้ว พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษดังกล่าวมีมาก่อนการมี[[รัฐธรรมนูญ|รัฐธรรมนูญ]]แห่งราชอาณาจักรไทยเสียอีก กล่าวคือ แต่เดิม[[พระมหากษัตริย์|พระมหากษัตริย์]]ไทยได้ทรงใช้[[พระราชอำนาจ|พระราชอำนาจ]]ดังกล่าวมาโดยตลอดตามโบราณราชประเพณี โดยการอภัยโทษตามจารีตประเพณีนี้สืบทอดมาแต่สมัยอยุธยา โดยทรงบำเพ็ญอภัยทาน ปลดปล่อยนักโทษในโอกาสสำคัญของบ้านเมือง เช่นในพิธีบรมราชาภิเษก จนกระทั่งในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[รัชกาลที่_6|รัชกาลที่ 6]] จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มี “พระราชกฤษฎีกาวางระเบียบการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา พ.ศ. 2457” เรียกว่า การพระราชทานพระมหากรุณาลดหย่อนผ่อนโทษ แต่ในรัชกาลที่ 6 นี้เองที่ทรงประกาศเลิกปลดปล่อยนักโทษในโอกาสพิธีบรมราชาภิเษก[[#_ftn3|[3]]] และยังได้ตรา “พระราชกำหนดพระราชอภัยโทษ พ.ศ. 2459”[[#_ftn4|[4]]] ขึ้นมาใช้เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับใช้พิจารณาอภัยโทษให้เป็นที่ชัดเจนแน่นอนลงไปเป็นที่รับรู้และถือปฏิบัติของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการถือปฏิบัติ แต่ก็ถือว่าเป็นพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ที่จะตัดสินใจขั้นสุดท้ายด้วยพระองค์เองอยู่


             บทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น นอกจากจะทำให้พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องถูกลิดรอนลงจากเดิม จากการใช้พระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระมาสู่การใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญแล้ว ยังทำให้แนวความคิดและรูปแบบของการใช่พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ ทำให้รูปแบบของการพระราชทานอภัยโทษที่ปรากฏในรูปของพระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่างๆ ต้องสิ้นสุดลง พร้อมๆ กับความพยายามในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษเสียใหม่เพื่อให้เหมาะแก่สมัย[[#_ftn5|[5]]]
             บทบัญญัติแห่ง[[ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว_พ.ศ._2475|ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475]] ซึ่งเป็นผลมาจาก[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง_พ.ศ._2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] นั้น นอกจากจะทำให้พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องถูกลิดรอนลงจากเดิม จากการใช้พระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระมาสู่การใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญแล้ว ยังทำให้แนวความคิดและรูปแบบของการใช่พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ ทำให้รูปแบบของการพระราชทานอภัยโทษที่ปรากฏในรูปของพระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่างๆ ต้องสิ้นสุดลง พร้อมๆ กับความพยายามในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษเสียใหม่เพื่อให้เหมาะแก่สมัย[[#_ftn5|[5]]]


'''ประเภทของการอภัยโทษ'''
'''ประเภทของการอภัยโทษ'''
บรรทัดที่ 18: บรรทัดที่ 18:
          การอภัยโทษสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้[[#_ftn6|[6]]]
          การอภัยโทษสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้[[#_ftn6|[6]]]


'''1. แบ่งตามลักษณะของผู้ได้รับการอภัยโทษ'''  โดยที่ประเทศไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์มาช้านาน ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรมีลักษณะพิเศษ ทำให้การอภัยโทษมีลักษณะพิเศษ เดิมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ในมาตรา 225 บัญญัติไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ” ซึ่งเป็นการบัญญัติพระราชอำนาจในเรื่องดังกล่าวเป็นการทั่วไป แต่หากแบ่งการอภัยโทษตามลักษณะของผู้ได้รับการอภัยโทษแล้วแบ่งได้เป็น
'''1. แบ่งตามลักษณะของผู้ได้รับการอภัยโทษ'''  โดยที่ประเทศไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์มาช้านาน ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรมีลักษณะพิเศษ ทำให้การอภัยโทษมีลักษณะพิเศษ เดิมใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2540|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540]] ในมาตรา 225 บัญญัติไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ” ซึ่งเป็นการบัญญัติพระราชอำนาจในเรื่องดังกล่าวเป็นการทั่วไป แต่หากแบ่งการอภัยโทษตามลักษณะของผู้ได้รับการอภัยโทษแล้วแบ่งได้เป็น


 
 
บรรทัดที่ 28: บรรทัดที่ 28:
1.2 การอภัยโทษทั่วไป (General Pardon) เป็นการให้อภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษจำนวนมาก เป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของการอภัยโทษของไทยที่เป็นการแสดงออกถึงพระเมตตาคุณของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อราษฎรของพระองค์ในวโรกาสที่สำคัญต่างๆ เช่นการอภัยโทษในพิธีบรมราชาภิเษกโดยถือเป็นการบำเพ็ญอภัยทานด้วย โดยบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 261 ทวิ ดังนี้
1.2 การอภัยโทษทั่วไป (General Pardon) เป็นการให้อภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษจำนวนมาก เป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของการอภัยโทษของไทยที่เป็นการแสดงออกถึงพระเมตตาคุณของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อราษฎรของพระองค์ในวโรกาสที่สำคัญต่างๆ เช่นการอภัยโทษในพิธีบรมราชาภิเษกโดยถือเป็นการบำเพ็ญอภัยทานด้วย โดยบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 261 ทวิ ดังนี้


              “มาตรา 261 ทวิ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควรจะถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษก็ได้
              “มาตรา 261 ทวิ ในกรณีที่[[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]]เห็นเป็นการสมควรจะถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษก็ได้


              การพระราชทานอภัยโทษตามวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฏีกา”
              การพระราชทานอภัยโทษตามวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฏีกา”
บรรทัดที่ 50: บรรทัดที่ 50:
             การพระราชทานอภัยโทษก็ควรนับว่าเป็นพระราชอำนาจที่มีเหตุผลและวิวัฒนาการในทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเทียบเท่ากับประวัติศาสตร์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งนี้ก็เพราะว่า การพระราชทานอภัยโทษนั้นเป็นสิ่งที่ควบคู่กันมากับการปกครองบ้านเมืองของไทยนับแต่แรกสร้างบ้านแปลงเมืองในยุคสุโขทัยเรื่อยมาตามลำดับ จนปัจจุบัน ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองตามคติโบราณ หรือจะอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองตามคติประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้พระราชอำนาจภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ[[#_ftn7|[7]]]
             การพระราชทานอภัยโทษก็ควรนับว่าเป็นพระราชอำนาจที่มีเหตุผลและวิวัฒนาการในทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเทียบเท่ากับประวัติศาสตร์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งนี้ก็เพราะว่า การพระราชทานอภัยโทษนั้นเป็นสิ่งที่ควบคู่กันมากับการปกครองบ้านเมืองของไทยนับแต่แรกสร้างบ้านแปลงเมืองในยุคสุโขทัยเรื่อยมาตามลำดับ จนปัจจุบัน ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองตามคติโบราณ หรือจะอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองตามคติประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้พระราชอำนาจภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ[[#_ftn7|[7]]]


             ทศพิธราชธรรม 10 ประการ เป็นหัวใจสำคัญของหลักธรรมที่พระมหากษัตริย์ต้องยึดถือปฏิบัติ อนึ่งในบรรดาหลักทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ประการนั้นมีอยู่ 2 ประการสำคัญด้วยกันที่ควรนับว่ามีบทบาทในการปรุงแต่งการใช้พระราชอำนาจในทางตุลาการของพระมหากษัตริย์ให้ผสมผสานกลมกลืนไปกับแนวความคิดธรรมราชาในยุคนั้น ซึ่งประการแรก ได้แก่ อาชชวํ คือ การมีพระราชอัธยาศัยกอปรไปด้วยความซื่อตรงดำรงในสัตย์สุจริตยึดมั่นในธรรม และดำเนินการปกครองตัดสินข้อพิพาทของประชาชนอย่างเที่ยงธรรม  ประการที่สอง ได้แก่ อวิโรธนํ คือการรักษายุติธรรม มิให้แปรผันจากสิ่งที่ตรงและดำรงพระอาการคงที่ ไม่วิการด้วยอำนาจยินดียินร้าย[[#_ftn8|[8]]]
             [[ทศพิธราชธรรม|ทศพิธราชธรรม]] 10 ประการ เป็นหัวใจสำคัญของหลักธรรมที่พระมหากษัตริย์ต้องยึดถือปฏิบัติ อนึ่งในบรรดาหลักทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ประการนั้นมีอยู่ 2 ประการสำคัญด้วยกันที่ควรนับว่ามีบทบาทในการปรุงแต่งการใช้พระราชอำนาจในทางตุลาการของพระมหากษัตริย์ให้ผสมผสานกลมกลืนไปกับแนวความคิดธรรมราชาในยุคนั้น ซึ่งประการแรก ได้แก่ อาชชวํ คือ การมีพระราชอัธยาศัยกอปรไปด้วยความซื่อตรงดำรงในสัตย์สุจริตยึดมั่นในธรรม และดำเนินการปกครองตัดสินข้อพิพาทของประชาชนอย่างเที่ยงธรรม  ประการที่สอง ได้แก่ อวิโรธนํ คือการรักษายุติธรรม มิให้แปรผันจากสิ่งที่ตรงและดำรงพระอาการคงที่ ไม่วิการด้วยอำนาจยินดียินร้าย[[#_ftn8|[8]]]


             ความเป็นรัฐาธิปัตย์ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดเด็ดขาดในแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชอำนาจในการบัญญัติกฎหมายใดๆ เพื่อบังคับแก่ประชาชนทั้งปวง ไม่ว่าบทบัญญัตินั้นจะให้คุณให้โทษแก่ราษฎรมากน้อยเพียงใด ก็สุดแต่พระบรมราชวินิจฉัย ทั้งนี้รวมถึงการใช้พระราชอำนาจเหนือชีวิตทุกชีวิตในแว่นแคว้น ด้วยเหตุนี้พระมหากษัตริย์อยุธยาจึงไม่เพียงอยู่ในพระราชฐานะเทวราชตามคติฮินดูเท่านั้น หากยังทรงอยู่ในพระราชฐานะ “เจ้าชีวิต” อีกด้วย กล่าวคือ ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการลงโทษข้าแผ่นดินทุกๆ คน ตั้งแต่โทษเล็กน้อยไปจนถึงโทษประหารชีวิต การลงโทษเป็นส่วนประกอบอันสำคัญยิ่งของการใช้พระราชอำนาจในการปกครองแผ่นดินในฐานะที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นอธิปัตย์สูงสุด
             ความเป็น[[รัฐาธิปัตย์|รัฐาธิปัตย์]]ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดเด็ดขาดในแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชอำนาจในการบัญญัติกฎหมายใดๆ เพื่อบังคับแก่ประชาชนทั้งปวง ไม่ว่าบทบัญญัตินั้นจะให้คุณให้โทษแก่ราษฎรมากน้อยเพียงใด ก็สุดแต่พระบรมราชวินิจฉัย ทั้งนี้รวมถึงการใช้พระราชอำนาจเหนือชีวิตทุกชีวิตในแว่นแคว้น ด้วยเหตุนี้พระมหากษัตริย์อยุธยาจึงไม่เพียงอยู่ในพระราชฐานะเทวราชตามคติฮินดูเท่านั้น หากยังทรงอยู่ในพระราชฐานะ “เจ้าชีวิต” อีกด้วย กล่าวคือ ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการลงโทษข้าแผ่นดินทุกๆ คน ตั้งแต่โทษเล็กน้อยไปจนถึงโทษประหารชีวิต การลงโทษเป็นส่วนประกอบอันสำคัญยิ่งของการใช้พระราชอำนาจในการปกครองแผ่นดินในฐานะที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นอธิปัตย์สูงสุด


             เหตุเพราะการลงโทษนั้นมิได้เป็นไปเพื่อรักษาความสงบแต่เพียงอย่างเดียว หากเป็นไปเพื่อรักษาพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ด้วย การกระทำความผิดใดๆ จึงถือเป็นการละเมิดและท้าทายต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยตรงทีเดียว ดังนั้นระวางโทษที่วางไว้สำหรับลงโทษผู้กระทำผิดจึงเด็ดขาดและรุนแรง ผู้ต้องพระราชอาญาอย่างใดๆ ต้องยอมรับการลงโทษทัณฑ์ไปตามความร้ายแรงของความผิดแห่งตน และไม่มีหนทางใดที่จะระงับหรือบรรเทาความรุนแรงของโทษได้ เว้นแต่องค์พระมหากษัตริย์นั้นเองจะทรงพระกรุณาพระราชทานอภัยโทษให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี การใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษนั้นเด็ดขาดเช่นเดียวกับพระราชอำนาจในการลงโทษ กล่าวคือการพระราชทานอภัยโทษหรือไม่นั้นสุดแต่พระบรมราชวินิจฉัย[[#_ftn9|[9]]]
             เหตุเพราะการลงโทษนั้นมิได้เป็นไปเพื่อรักษาความสงบแต่เพียงอย่างเดียว หากเป็นไปเพื่อรักษาพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ด้วย การกระทำความผิดใดๆ จึงถือเป็นการละเมิดและท้าทายต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยตรงทีเดียว ดังนั้นระวางโทษที่วางไว้สำหรับลงโทษผู้กระทำผิดจึงเด็ดขาดและรุนแรง ผู้ต้องพระราชอาญาอย่างใดๆ ต้องยอมรับการลงโทษทัณฑ์ไปตามความร้ายแรงของความผิดแห่งตน และไม่มีหนทางใดที่จะระงับหรือบรรเทาความรุนแรงของโทษได้ เว้นแต่องค์พระมหากษัตริย์นั้นเองจะทรงพระกรุณาพระราชทานอภัยโทษให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี การใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษนั้นเด็ดขาดเช่นเดียวกับพระราชอำนาจในการลงโทษ กล่าวคือการพระราชทานอภัยโทษหรือไม่นั้นสุดแต่พระบรมราชวินิจฉัย[[#_ftn9|[9]]]


             รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรัชสมัยที่แนวความคิด “พ่อกับลูก” และ “ธรรมราชา” มีบทบาทต่อการใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากการพระราชทานอภัยโทษที่ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพระราชทานอภัยโทษในรูปของพระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่างๆ การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป[[#_ftn10|[10]]]
'''พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์ในยุคปฏิรูปกฏหมายและการศาล'''
 
             รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นรัชสมัยที่แนวความคิด “พ่อกับลูก” และ “ธรรมราชา” มีบทบาทต่อการใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากการพระราชทานอภัยโทษที่ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพระราชทานอภัยโทษในรูปของพระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่างๆ การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ [[ถวายฎีกา|ถวายฎีกา]]การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป[[#_ftn10|[10]]]


             ประการแรกการพระราชทานอภัยโทษในรูปของพระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่างๆ เป็นการพระราชทานอภัยโทษซึ่งวางอยู่บนแนวคิดพื้นฐานที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นต้นเค้าของความยุติธรรมนั่นเอง แม้โดยพระราชฐานะหนึ่งที่ทรงเป็น “เจ้าชีวิต” ก็สามารถลงโทษผู้กระทำผิดหนักเบาอย่างใดก็ได้ หากแต่มีพระราชฐานะหนึ่งที่ทรงเป็น “ธรรมราชา” ผู้ยึดมั่นในทศพิธราชธรรม และยังทรงเป็นเสมือน “พ่อ” ของประชาชนแล้วจะทรงพระกรุณาในการลงพระราชอาญาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีที่มีโทษหนัก เช่น โทษประหารชีวิตและโทษจำคุก[[#_ftn11|[11]]]
             ประการแรกการพระราชทานอภัยโทษในรูปของพระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่างๆ เป็นการพระราชทานอภัยโทษซึ่งวางอยู่บนแนวคิดพื้นฐานที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นต้นเค้าของความยุติธรรมนั่นเอง แม้โดยพระราชฐานะหนึ่งที่ทรงเป็น “เจ้าชีวิต” ก็สามารถลงโทษผู้กระทำผิดหนักเบาอย่างใดก็ได้ หากแต่มีพระราชฐานะหนึ่งที่ทรงเป็น “ธรรมราชา” ผู้ยึดมั่นในทศพิธราชธรรม และยังทรงเป็นเสมือน “พ่อ” ของประชาชนแล้วจะทรงพระกรุณาในการลงพระราชอาญาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีที่มีโทษหนัก เช่น โทษประหารชีวิตและโทษจำคุก[[#_ftn11|[11]]]
บรรทัดที่ 62: บรรทัดที่ 64:
             แนวการพระราชทานอภัยโทษโดยมีพระบรมราชวินิจฉัยดังกล่าวมีทั้งการปล่อยตัวและลดโทษ ทั้งในโทษประหารชีวิต โทษจำคุกตลอดชีวิต และโทษจำคุกมีกำหนดเวลา เฉพาะการพระราชทานอภัยโทษโดยมีพระบรมราชวินิจฉัยลดโทษ[[#_ftn12|[12]]]
             แนวการพระราชทานอภัยโทษโดยมีพระบรมราชวินิจฉัยดังกล่าวมีทั้งการปล่อยตัวและลดโทษ ทั้งในโทษประหารชีวิต โทษจำคุกตลอดชีวิต และโทษจำคุกมีกำหนดเวลา เฉพาะการพระราชทานอภัยโทษโดยมีพระบรมราชวินิจฉัยลดโทษ[[#_ftn12|[12]]]


             ประการที่สอง การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาอันเป็นโบราณราชนิติประเพณีสืบทอดมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย และนับเป็นประเพณีที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับพสกนิการของพระองค์ให้กระชับแน่นแฟ้น ในยุคของการปฏิรูปกฎหมายและการศาลนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาก่อนมีการบังคับลงโทษ และการพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีการะหว่างมีการบังคับโทษ[[#_ftn13|[13]]]
             ประการที่สอง การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาอันเป็นโบราณราชนิติประเพณีสืบทอดมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย และนับเป็นประเพณีที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับพสกนิการของพระองค์ให้กระชับแน่นแฟ้น ในยุคของ[[การปฏิรูปกฎหมาย|การปฏิรูปกฎหมาย]]และการศาลนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาก่อนมีการบังคับลงโทษ และการพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีการะหว่างมีการบังคับโทษ[[#_ftn13|[13]]]


             ประการที่สาม ได้แก่ การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป ซึ่งมักมีการพระราชทานอภัยโทษในวโรกาสอันเป็นมิ่งมงคลของบ้านเมือง เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตลอดจนพระราชพิธีสำคัญทางพุทธศาสนา โดยพิจารณาว่า นักโทษใดที่เข้าข่ายได้รับพระมหากรุณาธิคุณหรือไม่ ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชดำริและพระราชประสงค์ของพระองค์ในอันที่จะพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปแก่นักโทษทั้งที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดและกำลังรับโทษอยู่ในเรือนจำ หรือกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาคดี ซึ่งรัชกาลนี้ได้ปรากฏการพระราชทานอภัยโทษ 2 ครั้ง คือ พระราชหัตถเลขาปล่อยแลลดโทษนักโทษเนื่องในโอกาสที่เสด็จนิวัติพระนคร ร.ศ. 116 กับการพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเศก ร.ศ. 127 เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติเป็นเวลายาวนานถึง 40 ปี[[#_ftn14|[14]]]
             ประการที่สาม ได้แก่ การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป ซึ่งมักมีการพระราชทานอภัยโทษในวโรกาสอันเป็นมิ่งมงคลของบ้านเมือง เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตลอดจนพระราชพิธีสำคัญทางพุทธศาสนา โดยพิจารณาว่า นักโทษใดที่เข้าข่ายได้รับพระมหากรุณาธิคุณหรือไม่ ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชดำริและพระราชประสงค์ของพระองค์ในอันที่จะพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปแก่นักโทษทั้งที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดและกำลังรับโทษอยู่ในเรือนจำ หรือกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาคดี ซึ่งรัชกาลนี้ได้ปรากฏการพระราชทานอภัยโทษ 2 ครั้ง คือ พระราชหัตถเลขาปล่อยแลลดโทษนักโทษเนื่องในโอกาสที่เสด็จนิวัติพระนคร ร.ศ. 116 กับการพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเศก ร.ศ. 127 เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติเป็นเวลายาวนานถึง 40 ปี[[#_ftn14|[14]]]


             ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวการพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกานั้น ยังคงมีรูปแบบและหลักการดังเช่นในรัชกาลก่อน หากแต่มีกระบวนการและขั้นตอนที่ซับซ้อนขึ้นกว่าเดิม อันเป็นผลมาจากการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาวางระเบียบการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา พ.ศ. 2457[[#_ftn15|[15]]]
             ต่อมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกานั้น ยังคงมีรูปแบบและหลักการดังเช่นในรัชกาลก่อน หากแต่มีกระบวนการและขั้นตอนที่ซับซ้อนขึ้นกว่าเดิม อันเป็นผลมาจากการประกาศใช้[[พระราชกฤษฎีกา|พระราชกฤษฎีกา]]วางระเบียบการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา พ.ศ. 2457[[#_ftn15|[15]]]


             การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการพระราชทานอภัยโทษถึง 4 ครั้ง  ได้แก่ การพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร.ศ. 129 ซึ่งกระทำในรูปของประกาศเลิกธรรมเนียมการปล่อยนักโทษในการเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ ประกาศยกโทษทหารชั้นเก่าที่ขาดหนีราชการ พระราชกำหนดพระราชอภัยโทษ พ.ศ. 2459 และพระราชกำหนดพระราชอภัยโทษ พ.ศ. 2467
             การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการพระราชทานอภัยโทษถึง 4 ครั้ง  ได้แก่ การพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร.ศ. 129 ซึ่งกระทำในรูปของประกาศเลิกธรรมเนียมการปล่อยนักโทษในการเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ ประกาศยกโทษทหารชั้นเก่าที่ขาดหนีราชการ พระราชกำหนดพระราชอภัยโทษ พ.ศ. 2459 และพระราชกำหนดพระราชอภัยโทษ พ.ศ. 2467
บรรทัดที่ 74: บรรทัดที่ 76:
'''             พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475'''
'''             พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475'''


             สำหรับรูปแบบของการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปนั้น เมื่อประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข และทรงใช้พระราชอำนาจภายในขอบเขตตามรัฐธรรมนูญแล้ว แนวความคิดเกี่ยวกับการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป เนื่องในโอกาสอันเป็นมิ่งมงคลของบ้านเมืองก็เปลี่ยนแปรไปด้วย จากเดิมซึ่งการเป็นไปตามพระราชดำริและพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์แต่เพียงพระองค์เดียวที่จะพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ทั้งปวงโดยประกาศเป็นกฎหมายในรูปต่างๆ กัน เช่น พระราชหัตถเลขา ประกาศพระบรมราชโองการ เป็นต้น ไปสู่การซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญโดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหมายความว่า การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปในรัชกาลนี้กระทำผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ[[#_ftn17|[17]]]
             สำหรับรูปแบบของการ'''พระราชทานอภัยโทษ'''เป็นการทั่วไปนั้น เมื่อประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่[[ระบอบประชาธิปไตย|ระบอบประชาธิปไตย]]โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข และทรงใช้พระราชอำนาจภายในขอบเขตตามรัฐธรรมนูญแล้ว แนวความคิดเกี่ยวกับการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป เนื่องในโอกาสอันเป็นมิ่งมงคลของบ้านเมืองก็เปลี่ยนแปรไปด้วย จากเดิมซึ่งการเป็นไปตามพระราชดำริและพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์แต่เพียงพระองค์เดียวที่จะพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ทั้งปวงโดยประกาศเป็นกฎหมายในรูปต่างๆ กัน เช่น พระราชหัตถเลขา ประกาศพระบรมราชโองการ เป็นต้น ไปสู่การซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญโดยคำแนะนำและยินยอมของ[[สภาผู้แทนราษฎร|สภาผู้แทนราษฎร]] ซึ่งหมายความว่า การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปในรัชกาลนี้กระทำผ่าน[[ฝ่ายนิติบัญญัติ|ฝ่ายนิติบัญญัติ]][[#_ftn17|[17]]]


             ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช 2477 โดยได้กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 ซึ่งในชั้นนี้ผู้เขียนได้เรียกเสียใหม่ว่า การพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคล โดยแนวฎีกาที่ทูลเกล้าฯ ถวายมีทั้งประหารชีวิตและจำคุก ส่วนแนวพระบรมราชวินิจฉัยฎีกานั้น ส่วนมากเป็นการระงับฎีกาเกือบทั้งหมด โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ถวายความเห็นและคำแนะนำเท่านั้น ซึ่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ แม้ว่าในบางกรณีความเห็นของกระทรวงมหาดไทยขัดแย้งกับความเห็นของคณะรัฐมนตรีก็ตาม[[#_ftn18|[18]]]
             ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้[[ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช_2477|ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช 2477]] โดยได้กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 ซึ่งในชั้นนี้ผู้เขียนได้เรียกเสียใหม่ว่า การพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคล โดยแนวฎีกาที่ทูลเกล้าฯ ถวายมีทั้งประหารชีวิตและจำคุก ส่วนแนวพระบรมราชวินิจฉัยฎีกานั้น ส่วนมากเป็นการระงับฎีกาเกือบทั้งหมด โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ถวายความเห็นและคำแนะนำเท่านั้น ซึ่ง[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์|ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]]มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ แม้ว่าในบางกรณีความเห็นของกระทรวงมหาดไทยขัดแย้งกับความเห็นของ[[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]]ก็ตาม[[#_ftn18|[18]]]


             การใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ 9 ยังคงยึดรูปแบบหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 ประกอบกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ จนกระทั่งในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้บัญญัติไว้ใน “มาตรา 179 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการอภัยโทษ”[[#_ftn19|[19]]] โดยในการใช้พระราชอำนาจดังกล่าวเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่เพียงพระองค์เดียวในอันที่จะพระราชทานพระมหากรุณาลดหย่อนโทษเป็นประการใดก็ได้ ทั้งนี้ได้ทรงใช้พระอัจฉริยภาพประกอบพระราชวิจารณญาณ อันรอบครอบลึกซึ่งวินิจฉัยฎีกาด้วยพระองค์เองอย่างละเอียดถี่ถ้วน พระราชปฏิบัติในการพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยฎีกาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยต่อทุกข์สุขของพสกนิกรซึ่งทุกข์เข็ญทรมานด้วยผลแห่งทัณฑกรรม  
             การใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ 9 ยังคงยึดรูปแบบหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 ประกอบกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ จนกระทั่งในปัจจุบัน [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2560|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560]] ได้บัญญัติไว้ใน “มาตรา 179 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการอภัยโทษ”[[#_ftn19|[19]]] โดยในการใช้พระราชอำนาจดังกล่าวเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยของ[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]แต่เพียงพระองค์เดียวในอันที่จะพระราชทานพระมหากรุณาลดหย่อนโทษเป็นประการใดก็ได้ ทั้งนี้ได้ทรงใช้พระอัจฉริยภาพประกอบพระราชวิจารณญาณ อันรอบครอบลึกซึ่งวินิจฉัยฎีกาด้วยพระองค์เองอย่างละเอียดถี่ถ้วน พระราชปฏิบัติในการพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยฎีกาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยต่อทุกข์สุขของพสกนิกรซึ่งทุกข์เข็ญทรมานด้วยผลแห่งทัณฑกรรม  


             ในรัชกาลปัจจุบันนี้เอง ได้มีการกำหนดรูปแบบของการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปให้เป็นที่แน่นอนลงตัว โดยได้มีการตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2517 โดยให้เพิ่มมาตรา 261 ทวิ ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษ ซึ่งให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษ ทั้งนี้การพระราชทานอภัยโทษดังกล่าว ให้ตราเป็นพระราชกฤษีกา
             ในรัชกาลปัจจุบันนี้เอง ได้มีการกำหนดรูปแบบของการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปให้เป็นที่แน่นอนลงตัว โดยได้มีการตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2517 โดยให้เพิ่มมาตรา 261 ทวิ ในภาค 7 ว่าด้วย[[อภัยโทษ|อภัยโทษ]] เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษ ซึ่งให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษ ทั้งนี้การพระราชทานอภัยโทษดังกล่าว ให้ตราเป็นพระราชกฤษีกา


             จากสถิติจำนวนนักโทษซึ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษทั้งรายบุคคลและเป็นการทั่วไป แสดงให้เห็นว่าจำนวนตัวเลขของการพระราชทานอภัยโทษทั้งสองประการดังกล่าวมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ หากในปีใดมีการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป ปริมาณคดีที่ขอพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคลก็จะลดลง หากในปีใดไม่มีการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป ปริมาณคดีที่ขอพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคลก็จะเพิ่มขึ้น[[#_ftn20|[20]]]
             จากสถิติจำนวนนักโทษซึ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษทั้งรายบุคคลและเป็นการทั่วไป แสดงให้เห็นว่าจำนวนตัวเลขของการพระราชทานอภัยโทษทั้งสองประการดังกล่าวมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ หากในปีใดมีการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป ปริมาณคดีที่ขอพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคลก็จะลดลง หากในปีใดไม่มีการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป ปริมาณคดีที่ขอพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคลก็จะเพิ่มขึ้น[[#_ftn20|[20]]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:36, 15 มกราคม 2561

เรียบเรียงโดย : ดร.ชาติชาย มุกสง

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต


พระราชทานอภัยโทษ

             การพระราชทานอภัยโทษถือว่าเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่จะทรงพระกรุณาตามที่จะทรงเห็นสมควร ซึ่งในความคิดของประเทศที่ใช้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างประเทศอังกฤษและไทยต่างก็เชื่อว่ามาจากแนวคิดพื้นฐานที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาแห่งความยุติธรรม (The king is the foundation of Justice) [1] พระมหากษัตริย์ก็ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุดในการอภัยโทษชนิดที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว[2] และในกรณีของไทยนั้นถือว่าแนวคิดนี้อยู่คู่กับสังคมไทยที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด ทั้งในสมัยโบราณที่ปกครองโดยระบอบราชาธิปไตยจนมาถึงสมัยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

             แต่ถ้าหากพิจาณาจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์แล้ว พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษดังกล่าวมีมาก่อนการมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเสียอีก กล่าวคือ แต่เดิมพระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงใช้พระราชอำนาจดังกล่าวมาโดยตลอดตามโบราณราชประเพณี โดยการอภัยโทษตามจารีตประเพณีนี้สืบทอดมาแต่สมัยอยุธยา โดยทรงบำเพ็ญอภัยทาน ปลดปล่อยนักโทษในโอกาสสำคัญของบ้านเมือง เช่นในพิธีบรมราชาภิเษก จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มี “พระราชกฤษฎีกาวางระเบียบการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา พ.ศ. 2457” เรียกว่า การพระราชทานพระมหากรุณาลดหย่อนผ่อนโทษ แต่ในรัชกาลที่ 6 นี้เองที่ทรงประกาศเลิกปลดปล่อยนักโทษในโอกาสพิธีบรมราชาภิเษก[3] และยังได้ตรา “พระราชกำหนดพระราชอภัยโทษ พ.ศ. 2459”[4] ขึ้นมาใช้เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับใช้พิจารณาอภัยโทษให้เป็นที่ชัดเจนแน่นอนลงไปเป็นที่รับรู้และถือปฏิบัติของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการถือปฏิบัติ แต่ก็ถือว่าเป็นพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ที่จะตัดสินใจขั้นสุดท้ายด้วยพระองค์เองอยู่

             บทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น นอกจากจะทำให้พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องถูกลิดรอนลงจากเดิม จากการใช้พระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระมาสู่การใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญแล้ว ยังทำให้แนวความคิดและรูปแบบของการใช่พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ ทำให้รูปแบบของการพระราชทานอภัยโทษที่ปรากฏในรูปของพระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่างๆ ต้องสิ้นสุดลง พร้อมๆ กับความพยายามในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษเสียใหม่เพื่อให้เหมาะแก่สมัย[5]

ประเภทของการอภัยโทษ

          การอภัยโทษสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้[6]

1. แบ่งตามลักษณะของผู้ได้รับการอภัยโทษ  โดยที่ประเทศไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์มาช้านาน ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรมีลักษณะพิเศษ ทำให้การอภัยโทษมีลักษณะพิเศษ เดิมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ในมาตรา 225 บัญญัติไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ” ซึ่งเป็นการบัญญัติพระราชอำนาจในเรื่องดังกล่าวเป็นการทั่วไป แต่หากแบ่งการอภัยโทษตามลักษณะของผู้ได้รับการอภัยโทษแล้วแบ่งได้เป็น

 

1.1 การอภัยโทษเป็นรายบุคคล (Individual Pardon) เป็นรูปแบบการอภัยโทษอย่างแท้จริง ที่เป็นไปตามหลักทั่วไปซึ่งเป็นการพิจารณาจากตัวผู้ต้องโทษเป็นรายบุคคล

             การอภัยโทษเป็นรายบุคคลนี้ปัจจุบันบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา มาตรา 259 ดังนี้ “มาตรา 259 ผู้ต้องคำพิพากษาให้รับโทษอย่างใดๆ หรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าจะทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์ขอรับพระทานอภัยโทษ จะยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็ได้”

1.2 การอภัยโทษทั่วไป (General Pardon) เป็นการให้อภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษจำนวนมาก เป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของการอภัยโทษของไทยที่เป็นการแสดงออกถึงพระเมตตาคุณของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อราษฎรของพระองค์ในวโรกาสที่สำคัญต่างๆ เช่นการอภัยโทษในพิธีบรมราชาภิเษกโดยถือเป็นการบำเพ็ญอภัยทานด้วย โดยบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 261 ทวิ ดังนี้

              “มาตรา 261 ทวิ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควรจะถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษก็ได้

              การพระราชทานอภัยโทษตามวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฏีกา”

2.แบ่งตามผลของการได้รับอภัยโทษ

2.1 การอภัยโทษปล่อย มีผลทางกฎหมายทำให้ผู้ได้รับการอภัยโทษพ้นจากการถูกบังคับตามคำพิพากษาเลย

2.2 การอภัยโทษลดโทษ มีผลทางกฎหมายทำให้ผู้ได้รับการอภัยโทษที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ไม่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาแต่เพียงบางส่วน เช่น ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตลอดชีวิต หากได้รับการอภัยโทษลดโทษ อาจจะเป็นจำคุกตลอดชีวิตแทน

2.3 การอภัยโทษเปลี่ยนโทษ มีผลทางกฎหมายทำให้ผู้ได้รับอภัยโทษที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ต้องถูกบังคับโทษตามคำพิพากษา เช่น ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตลอดชีวิต หากได้รับการอภัยโทษเปลี่ยนโทษ เป็นจำคุก 20 ปีแทน  

3. แบ่งตามที่มาของการอภัยโทษ

3.1 การอภัยโทษตามกฎหมาย ได้แก่ การอภัยโทษที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามกฎหมายแล้ว เพื่อมีผลให้ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาไม่ต้องรับโทษ (กรณีอภัยโทษปล่อย) ได้รับโทษน้อยลง (กรณีอภัยโทษลดโทษ) หรือได้รับโทษต่างไปจากคำพิพากษา (กรณีอภัยโทษเปลี่ยนโทษ)

3.2 การอภัยโทษตามจารีตประเพณี ได้แก่ การอภัยโทษในกรณีที่ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามกฎหมายให้ลงโทษผู้กระทำความผิดแต่อย่างใดและในบางกรณีเป็นการอภัยโทษในชั้นพนักงานซึ่งอยู่ระหว่างการสืบสวน หรือฟ้องร้องโดยที่ยังมิได้มีการพิจารณาพิพากษาแต่อย่างใด

ประวัติความเป็นมาของการอภัยโทษ

             การพระราชทานอภัยโทษก็ควรนับว่าเป็นพระราชอำนาจที่มีเหตุผลและวิวัฒนาการในทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเทียบเท่ากับประวัติศาสตร์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งนี้ก็เพราะว่า การพระราชทานอภัยโทษนั้นเป็นสิ่งที่ควบคู่กันมากับการปกครองบ้านเมืองของไทยนับแต่แรกสร้างบ้านแปลงเมืองในยุคสุโขทัยเรื่อยมาตามลำดับ จนปัจจุบัน ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองตามคติโบราณ หรือจะอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองตามคติประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้พระราชอำนาจภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ[7]

             ทศพิธราชธรรม 10 ประการ เป็นหัวใจสำคัญของหลักธรรมที่พระมหากษัตริย์ต้องยึดถือปฏิบัติ อนึ่งในบรรดาหลักทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ประการนั้นมีอยู่ 2 ประการสำคัญด้วยกันที่ควรนับว่ามีบทบาทในการปรุงแต่งการใช้พระราชอำนาจในทางตุลาการของพระมหากษัตริย์ให้ผสมผสานกลมกลืนไปกับแนวความคิดธรรมราชาในยุคนั้น ซึ่งประการแรก ได้แก่ อาชชวํ คือ การมีพระราชอัธยาศัยกอปรไปด้วยความซื่อตรงดำรงในสัตย์สุจริตยึดมั่นในธรรม และดำเนินการปกครองตัดสินข้อพิพาทของประชาชนอย่างเที่ยงธรรม  ประการที่สอง ได้แก่ อวิโรธนํ คือการรักษายุติธรรม มิให้แปรผันจากสิ่งที่ตรงและดำรงพระอาการคงที่ ไม่วิการด้วยอำนาจยินดียินร้าย[8]

             ความเป็นรัฐาธิปัตย์ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดเด็ดขาดในแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชอำนาจในการบัญญัติกฎหมายใดๆ เพื่อบังคับแก่ประชาชนทั้งปวง ไม่ว่าบทบัญญัตินั้นจะให้คุณให้โทษแก่ราษฎรมากน้อยเพียงใด ก็สุดแต่พระบรมราชวินิจฉัย ทั้งนี้รวมถึงการใช้พระราชอำนาจเหนือชีวิตทุกชีวิตในแว่นแคว้น ด้วยเหตุนี้พระมหากษัตริย์อยุธยาจึงไม่เพียงอยู่ในพระราชฐานะเทวราชตามคติฮินดูเท่านั้น หากยังทรงอยู่ในพระราชฐานะ “เจ้าชีวิต” อีกด้วย กล่าวคือ ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการลงโทษข้าแผ่นดินทุกๆ คน ตั้งแต่โทษเล็กน้อยไปจนถึงโทษประหารชีวิต การลงโทษเป็นส่วนประกอบอันสำคัญยิ่งของการใช้พระราชอำนาจในการปกครองแผ่นดินในฐานะที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นอธิปัตย์สูงสุด

             เหตุเพราะการลงโทษนั้นมิได้เป็นไปเพื่อรักษาความสงบแต่เพียงอย่างเดียว หากเป็นไปเพื่อรักษาพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ด้วย การกระทำความผิดใดๆ จึงถือเป็นการละเมิดและท้าทายต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยตรงทีเดียว ดังนั้นระวางโทษที่วางไว้สำหรับลงโทษผู้กระทำผิดจึงเด็ดขาดและรุนแรง ผู้ต้องพระราชอาญาอย่างใดๆ ต้องยอมรับการลงโทษทัณฑ์ไปตามความร้ายแรงของความผิดแห่งตน และไม่มีหนทางใดที่จะระงับหรือบรรเทาความรุนแรงของโทษได้ เว้นแต่องค์พระมหากษัตริย์นั้นเองจะทรงพระกรุณาพระราชทานอภัยโทษให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี การใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษนั้นเด็ดขาดเช่นเดียวกับพระราชอำนาจในการลงโทษ กล่าวคือการพระราชทานอภัยโทษหรือไม่นั้นสุดแต่พระบรมราชวินิจฉัย[9]

พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์ในยุคปฏิรูปกฏหมายและการศาล

             รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรัชสมัยที่แนวความคิด “พ่อกับลูก” และ “ธรรมราชา” มีบทบาทต่อการใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากการพระราชทานอภัยโทษที่ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพระราชทานอภัยโทษในรูปของพระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่างๆ การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป[10]

             ประการแรกการพระราชทานอภัยโทษในรูปของพระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่างๆ เป็นการพระราชทานอภัยโทษซึ่งวางอยู่บนแนวคิดพื้นฐานที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นต้นเค้าของความยุติธรรมนั่นเอง แม้โดยพระราชฐานะหนึ่งที่ทรงเป็น “เจ้าชีวิต” ก็สามารถลงโทษผู้กระทำผิดหนักเบาอย่างใดก็ได้ หากแต่มีพระราชฐานะหนึ่งที่ทรงเป็น “ธรรมราชา” ผู้ยึดมั่นในทศพิธราชธรรม และยังทรงเป็นเสมือน “พ่อ” ของประชาชนแล้วจะทรงพระกรุณาในการลงพระราชอาญาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีที่มีโทษหนัก เช่น โทษประหารชีวิตและโทษจำคุก[11]

             แนวการพระราชทานอภัยโทษโดยมีพระบรมราชวินิจฉัยดังกล่าวมีทั้งการปล่อยตัวและลดโทษ ทั้งในโทษประหารชีวิต โทษจำคุกตลอดชีวิต และโทษจำคุกมีกำหนดเวลา เฉพาะการพระราชทานอภัยโทษโดยมีพระบรมราชวินิจฉัยลดโทษ[12]

             ประการที่สอง การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาอันเป็นโบราณราชนิติประเพณีสืบทอดมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย และนับเป็นประเพณีที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับพสกนิการของพระองค์ให้กระชับแน่นแฟ้น ในยุคของการปฏิรูปกฎหมายและการศาลนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาก่อนมีการบังคับลงโทษ และการพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีการะหว่างมีการบังคับโทษ[13]

             ประการที่สาม ได้แก่ การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป ซึ่งมักมีการพระราชทานอภัยโทษในวโรกาสอันเป็นมิ่งมงคลของบ้านเมือง เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตลอดจนพระราชพิธีสำคัญทางพุทธศาสนา โดยพิจารณาว่า นักโทษใดที่เข้าข่ายได้รับพระมหากรุณาธิคุณหรือไม่ ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชดำริและพระราชประสงค์ของพระองค์ในอันที่จะพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปแก่นักโทษทั้งที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดและกำลังรับโทษอยู่ในเรือนจำ หรือกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาคดี ซึ่งรัชกาลนี้ได้ปรากฏการพระราชทานอภัยโทษ 2 ครั้ง คือ พระราชหัตถเลขาปล่อยแลลดโทษนักโทษเนื่องในโอกาสที่เสด็จนิวัติพระนคร ร.ศ. 116 กับการพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเศก ร.ศ. 127 เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติเป็นเวลายาวนานถึง 40 ปี[14]

             ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวการพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกานั้น ยังคงมีรูปแบบและหลักการดังเช่นในรัชกาลก่อน หากแต่มีกระบวนการและขั้นตอนที่ซับซ้อนขึ้นกว่าเดิม อันเป็นผลมาจากการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาวางระเบียบการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา พ.ศ. 2457[15]

             การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการพระราชทานอภัยโทษถึง 4 ครั้ง  ได้แก่ การพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร.ศ. 129 ซึ่งกระทำในรูปของประกาศเลิกธรรมเนียมการปล่อยนักโทษในการเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ ประกาศยกโทษทหารชั้นเก่าที่ขาดหนีราชการ พระราชกำหนดพระราชอภัยโทษ พ.ศ. 2459 และพระราชกำหนดพระราชอภัยโทษ พ.ศ. 2467

             เฉพาะการพระราชทานอภัยโทษ ในรูปของประกาศเลิกธรรมเนียมปล่อยนักโทษ ในการเปลี่ยนแผ่นดินใหม่นี้ มีปรากฏก็แต่ในรัชกาลนี้เท่านั้น ในรัชกาลต่อมาก็กลับมายึดถือโบราณราชนิติประเพณีในการพระราชทานอภัยโทษในการเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ตลอดมา[16]

             พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

             สำหรับรูปแบบของการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปนั้น เมื่อประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข และทรงใช้พระราชอำนาจภายในขอบเขตตามรัฐธรรมนูญแล้ว แนวความคิดเกี่ยวกับการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป เนื่องในโอกาสอันเป็นมิ่งมงคลของบ้านเมืองก็เปลี่ยนแปรไปด้วย จากเดิมซึ่งการเป็นไปตามพระราชดำริและพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์แต่เพียงพระองค์เดียวที่จะพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ทั้งปวงโดยประกาศเป็นกฎหมายในรูปต่างๆ กัน เช่น พระราชหัตถเลขา ประกาศพระบรมราชโองการ เป็นต้น ไปสู่การซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญโดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหมายความว่า การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปในรัชกาลนี้กระทำผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ[17]

             ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช 2477 โดยได้กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 ซึ่งในชั้นนี้ผู้เขียนได้เรียกเสียใหม่ว่า การพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคล โดยแนวฎีกาที่ทูลเกล้าฯ ถวายมีทั้งประหารชีวิตและจำคุก ส่วนแนวพระบรมราชวินิจฉัยฎีกานั้น ส่วนมากเป็นการระงับฎีกาเกือบทั้งหมด โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ถวายความเห็นและคำแนะนำเท่านั้น ซึ่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ แม้ว่าในบางกรณีความเห็นของกระทรวงมหาดไทยขัดแย้งกับความเห็นของคณะรัฐมนตรีก็ตาม[18]

             การใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ 9 ยังคงยึดรูปแบบหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 ประกอบกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ จนกระทั่งในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้บัญญัติไว้ใน “มาตรา 179 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการอภัยโทษ”[19] โดยในการใช้พระราชอำนาจดังกล่าวเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่เพียงพระองค์เดียวในอันที่จะพระราชทานพระมหากรุณาลดหย่อนโทษเป็นประการใดก็ได้ ทั้งนี้ได้ทรงใช้พระอัจฉริยภาพประกอบพระราชวิจารณญาณ อันรอบครอบลึกซึ่งวินิจฉัยฎีกาด้วยพระองค์เองอย่างละเอียดถี่ถ้วน พระราชปฏิบัติในการพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยฎีกาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยต่อทุกข์สุขของพสกนิกรซึ่งทุกข์เข็ญทรมานด้วยผลแห่งทัณฑกรรม  

             ในรัชกาลปัจจุบันนี้เอง ได้มีการกำหนดรูปแบบของการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปให้เป็นที่แน่นอนลงตัว โดยได้มีการตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2517 โดยให้เพิ่มมาตรา 261 ทวิ ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษ ซึ่งให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษ ทั้งนี้การพระราชทานอภัยโทษดังกล่าว ให้ตราเป็นพระราชกฤษีกา

             จากสถิติจำนวนนักโทษซึ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษทั้งรายบุคคลและเป็นการทั่วไป แสดงให้เห็นว่าจำนวนตัวเลขของการพระราชทานอภัยโทษทั้งสองประการดังกล่าวมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ หากในปีใดมีการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป ปริมาณคดีที่ขอพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคลก็จะลดลง หากในปีใดไม่มีการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป ปริมาณคดีที่ขอพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคลก็จะเพิ่มขึ้น[20]

สำหรับการพระราชทานอภัยโทษทั่วไปในสมัยรัชกาลที่ 9  เท่าที่ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณนับแต่ทรงขึ้นครองราชย์ในพุทธศักราช 2489 เป็นต้นมาจนกระทั่งสิ้นรัชกาลในปี 2559 อาจแยกแยะเหตุการณ์ วโรกาส หรือโอกาสอันเป็นที่มาของการพระราชทานอภัยโทษทั่วไปได้ดังนี้

  1. เหตุการณ์ที่เกี่ยวแก่พระราชวงศ์
  2. เหตุการณ์ที่เกี่ยวแก่ศาสนา
  3. เหตุการณ์ที่เกี่ยวแก่เหตุการณ์บ้านเมือง[21]

บรรณานุกรม

คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. รวมบทความทางวิชาการ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติ 60 ปี. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.

เจษฎา พรโยธา. พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยกับประเทศอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.

ธงทอง จันทรางศุ. พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: บริษัท เอสซี พรินท์แอนด์แพค จำกัด, 2548.

พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการด้านการศึกษา ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, 2551.

เพ็ญจันทร์ โชติบาล. พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก วันที่ 6 เมษายน 2560.

ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 33 น่า 281-27, วันที่ 31 ธันวาคม 2459.

อ้างอิง

[1] เจษฎา พรโยธา. พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยกับประเทศอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. หน้า 266.

[2] บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการด้านการศึกษา ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, 2551. หน้า 14.

[3]  สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. “พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ.” ใน คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. รวมบทความทางวิชาการ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติ 60 ปี. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552. หน้า 192.

[4] ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 33 น่า 281-27, วันที่ 31 ธันวาคม 2459.

[5] เพ็ญจันทร์ โชติบาล. พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์ไทย.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558. หน้า 209.

[6] สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. “พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ.” ใน คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. รวมบทความทางวิชาการ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติ 60 ปี. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552. หน้า 193-195.

[7] เพ็ญจันทร์ โชติบาล. พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์ไทย.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. หน้า 1.

[8] เพ็ญจันทร์ โชติบาล. เพิ่งอ้าง. หน้า 4.

[9] เพ็ญจันทร์ โชติบาล. เพิ่งอ้าง. หน้า 8-9.

[10] เพ็ญจันทร์ โชติบาล. เพิ่งอ้าง. หน้า 206.

[11] เพ็ญจันทร์ โชติบาล. เพิ่งอ้าง. หน้า 206.

[12] เพ็ญจันทร์ โชติบาล.เพิ่งอ้าง. หน้า 206.

[13] เพ็ญจันทร์ โชติบาล. เพิ่งอ้าง. หน้า 206.

[14] เพ็ญจันทร์ โชติบาล. เพิ่งอ้าง. หน้า 207.

[15] เพ็ญจันทร์ โชติบาล. เพิ่งอ้าง. หน้า 207.

[16] เพ็ญจันทร์ โชติบาล. เพิ่งอ้าง. หน้า 208.

[17] เพ็ญจันทร์ โชติบาล. เพิ่งอ้าง. หน้า 209.

[18] เพ็ญจันทร์ โชติบาล. เพิ่งอ้าง. หน้า 209.

[19] ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก วันที่ 6 เมษายน 2560. หน้า 51.

[20] เพ็ญจันทร์ โชติบาล. พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์ไทย. หน้า 210.

[21] สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. “พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ.” ใน คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. รวมบทความทางวิชาการ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติ 60 ปี. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552. หน้า 203.