ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " เรียบเรียงโดย  ผศ.ดร.ณัฐพล ใจจริงและกฤษณ์  วงศ์วิเศษ..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:
----
----


องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยการปกครองที่เกิดตามหลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) ซึ่งมีความเป็นอิสระ (Autonomy) ในการปกครองตนเอง  โดยสิ่งที่สามารถสะท้อนระดับของการกระจายอำนาจและความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด สามารถพิจารณาได้จากการให้อำนาจหน้าที่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการแทรกแซงหรือกำกับดูแลของส่วนกลาง กล่าวคือ หากอำนาจหน้าที่ในการจัดทำภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่กว้างขวาง ย่อมสะท้อนถึงระดับการกระจายอำนาจที่มีอยู่สูง และหากส่วนกลางเข้ามาแทรกแซงหรือกำกับดูแลอยู่น้อย ก็สามารถสะท้อนถึงความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่สูง เป็นต้น[[#_ftn1|[1]]]
          [[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น|องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]]เป็นหน่วยการปกครองที่เกิดตามหลัก[[การกระจายอำนาจ|การกระจายอำนาจ]] (Decentralization) ซึ่งมี[[ความเป็นอิสระ|ความเป็นอิสระ]] (Autonomy) ใน[[การปกครองตนเอง|การปกครองตนเอง]]  โดยสิ่งที่สามารถสะท้อนระดับของการกระจายอำนาจและความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด สามารถพิจารณาได้จากการให้อำนาจหน้าที่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการแทรกแซงหรือกำกับดูแลของส่วนกลาง กล่าวคือ หากอำนาจหน้าที่ในการจัดทำภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่กว้างขวาง ย่อมสะท้อนถึงระดับการกระจายอำนาจที่มีอยู่สูง และหากส่วนกลางเข้ามาแทรกแซงหรือกำกับดูแลอยู่น้อย ก็สามารถสะท้อนถึงความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่สูง เป็นต้น[[#_ftn1|[1]]]


 
 
บรรทัดที่ 12: บรรทัดที่ 12:
#'''แนวคิดว่าด้วยอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น'''  
#'''แนวคิดว่าด้วยอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น'''  


องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งจะมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนเองซึ่งแยกออกจากรัฐ โดยทั่วไปแล้วอำนาจหน้าที่ของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นรูปแบบเดียวกัน คือการจัดทำ “บริการสาธารณะ”  สำหรับการจัดทำบริการสาธารณะที่ถือเป็นอำนาจหน้าที่ของระดับชาติ (รัฐ) และระดับท้องถิ่น (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) นั้น เป็นการจัดทำภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการและความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป โดยสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทได้แก่
          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งจะมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนเองซึ่งแยกออกจากรัฐ โดยทั่วไปแล้วอำนาจหน้าที่ของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นรูปแบบเดียวกัน คือการจัดทำ “บริการสาธารณะ”  สำหรับ[[การจัดทำบริการสาธารณะ|การจัดทำบริการสาธารณะ]]ที่ถือเป็นอำนาจหน้าที่ของระดับชาติ (รัฐ) และระดับท้องถิ่น (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) นั้น เป็นการจัดทำภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการและความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป โดยสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทได้แก่


          1.1 บริการสาธารณะระดับชาติ (National Affairs) ซึ่งหมายถึงกิจกรรมที่จัดทำขึ้นโดยรัฐ ที่มุ่งเน้นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมภายในรัฐ มีลักษณะเกี่ยวกับ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐ เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน กระบวนการยุติธรรม เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนของรัฐโดยรวม และรวมไปถึงกิจกรรมที่ต้องการให้เกิดมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ อาทิ กองทัพ กิจการตำรวจ ศาลยุติธรรม กิจกรรมทางการทูต ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นต้น
          1.1 บริการสาธารณะระดับชาติ (National Affairs) ซึ่งหมายถึงกิจกรรมที่จัดทำขึ้นโดยรัฐ ที่มุ่งเน้นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมภายในรัฐ มีลักษณะเกี่ยวกับ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐ เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน กระบวนการยุติธรรม เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนของรัฐโดยรวม และรวมไปถึงกิจกรรมที่ต้องการให้เกิดมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ อาทิ กองทัพ กิจการตำรวจ ศาลยุติธรรม กิจกรรมทางการทูต ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นต้น
บรรทัดที่ 24: บรรทัดที่ 24:
 
 


'''          2.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540'''
'''          2.1 [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540]]'''


          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความสำคัญกับการกระจายอำนาจ ที่ปรากฏในมาตรา 78 ซึ่งปรากฏอยู่ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยมีใจความสำคัญ คือ
          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ถือเป็น[[รัฐธรรมนูญ|รัฐธรรมนูญ]]ที่มีความสำคัญกับการกระจายอำนาจ ที่ปรากฏในมาตรา 78 ซึ่งปรากฏอยู่ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยมีใจความสำคัญ คือ


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; “'''''มาตรา 78'''''<i>รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น</i>”[[#_ftn3|[3]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; “'''''มาตรา 78'''''<i>รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น</i>”[[#_ftn3|[3]]]
บรรทัดที่ 34: บรรทัดที่ 34:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประการแรก บัญญัติเรื่องอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้โดยตรงว่ามีเรื่องใดบ้าง รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่รวม 7 เรื่อง เช่น การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประการแรก บัญญัติเรื่องอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้โดยตรงว่ามีเรื่องใดบ้าง รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่รวม 7 เรื่อง เช่น การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประการที่สอง บัญญัติถึงกลไกในการสร้างองค์กรขึ้นเพื่อให้องค์กรดังกล่าวนี้ทำหน้าที่กำหนดอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลไกที่รัฐธรรมนูญได้สร้างขึ้นนี้ ได้แก่ การกำหนดให้มีการตรากฎหมายแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ซึ่งจะต้องมีสาระสำคัญ คือ จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อทำหน้าที่กำหนดอำนาจหน้าที่และจัดสรรภาษีอากรระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และในระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง นอกจากนั้นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นนี้ จะต้องพิจารณาเรื่องดังกล่าวทุก ๆ 5 ปี ทั้งนี้ การพิจารณาจะต้องคำนึงถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสำคัญ ซึ่งเท่ากับว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้รับอำนาจหน้าที่และภาษีอากรเพิ่มขึ้นทุก ๆ 5 ปี[[#_ftn4|[4]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประการที่สอง บัญญัติถึงกลไกในการสร้างองค์กรขึ้นเพื่อให้องค์กรดังกล่าวนี้ทำหน้าที่กำหนดอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลไกที่รัฐธรรมนูญได้สร้างขึ้นนี้ ได้แก่ การกำหนดให้มีการตรากฎหมายแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ซึ่งจะต้องมีสาระสำคัญ คือ จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อทำหน้าที่กำหนดอำนาจหน้าที่และจัดสรรภาษีอากรระหว่างรัฐกับ[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น|องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]] และในระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง นอกจากนั้นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นนี้ จะต้องพิจารณาเรื่องดังกล่าวทุก ๆ 5 ปี ทั้งนี้ การพิจารณาจะต้องคำนึงถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสำคัญ ซึ่งเท่ากับว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้รับอำนาจหน้าที่และภาษีอากรเพิ่มขึ้นทุก ๆ 5 ปี[[#_ftn4|[4]]]


&nbsp;
&nbsp;


'''&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2.2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550'''
'''&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2.2 [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550]]'''


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มุ่งแก้ไขข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ทั้งนี้ในส่วนของบทบัญญัติที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ปรากฏอยู่ใน 2 หมวดสำคัญ ได้แก่[[#_ftn5|[5]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มุ่งแก้ไขข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ทั้งนี้ในส่วนของบทบัญญัติที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ปรากฏอยู่ใน 2 หมวดสำคัญ ได้แก่[[#_ftn5|[5]]]
บรรทัดที่ 68: บรรทัดที่ 68:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประการแรก &nbsp;มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆไว้[[#_ftn15|[15]]] ได้แก่ เทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีอำนาจหน้าที่ทั้งทางการปกครอง การบริหารในท้องถิ่นของตนเอง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่งเสริมสนับสนุนด้านต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมด้านการศึกษา กีฬา การท่องเที่ยว ฯลฯ รวมไปถึงการดูแลความสงบเรียบร้อยภายในท้องถิ่น อย่างไรก็ตามการจัดทำบริการหรือกิจกรรมใด ๆในท้องถิ่น จำเป็นต้องคำนึงถึงความสามารถในการจัดทำของท้องถิ่นเอง คุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น และความต้องการหรือประโยชน์ที่คนในท้องถิ่นจะได้รับ รวมทั้งอำนาจหน้าที่อื่น ๆที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประการแรก &nbsp;มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆไว้[[#_ftn15|[15]]] ได้แก่ เทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีอำนาจหน้าที่ทั้งทางการปกครอง การบริหารในท้องถิ่นของตนเอง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่งเสริมสนับสนุนด้านต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมด้านการศึกษา กีฬา การท่องเที่ยว ฯลฯ รวมไปถึงการดูแลความสงบเรียบร้อยภายในท้องถิ่น อย่างไรก็ตามการจัดทำบริการหรือกิจกรรมใด ๆในท้องถิ่น จำเป็นต้องคำนึงถึงความสามารถในการจัดทำของท้องถิ่นเอง คุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น และความต้องการหรือประโยชน์ที่คนในท้องถิ่นจะได้รับ รวมทั้งอำนาจหน้าที่อื่น ๆที่คณะกรรมการประกาศกำหนด


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประการที่สอง&nbsp; อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ที่มีการจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น ๆในอนาคต พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ไว้ 2 กรณี คือ ในกรณีที่มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นมาใหม่ในรูปแบบไม่เต็มพื้นที่จังหวัด ให้มีอำนาจหน้าที่ตามในมาตรา 16 คือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล แต่หากเป็นการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นมาใหม่ในรูปแบบเต็มจังหวัด ก็จะมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 16 และ 17 นั่นคือมีอำนาจหน้าที่เดียวกับกรุงเทพมหานครนั่นเอง
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประการที่สอง&nbsp; อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ที่มีการจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น ๆในอนาคต พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ไว้ 2 กรณี คือ ในกรณีที่มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นมาใหม่ในรูปแบบไม่เต็มพื้นที่จังหวัด ให้มีอำนาจหน้าที่ตามในมาตรา 16 คือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาล [[เมืองพัทยา|เมืองพัทยา]] และ[[องค์การบริหารส่วนตำบล|องค์การบริหารส่วนตำบล]] แต่หากเป็นการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นมาใหม่ในรูปแบบเต็มจังหวัด ก็จะมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 16 และ 17 นั่นคือมีอำนาจหน้าที่เดียวกับกรุงเทพมหานครนั่นเอง


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประการที่สาม&nbsp; การทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 21 และ 22 มีการกำหนดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจร่วมมือกันดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้ หรืออาจร้องขอให้รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการแทนได้ และนอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้เอกชนดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แทนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง[[#_ftn16|[16]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประการที่สาม&nbsp; การทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 21 และ 22 มีการกำหนดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจร่วมมือกันดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้ หรืออาจร้องขอให้รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการแทนได้ และนอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้เอกชนดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แทนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน[[กฎกระทรวง|กฎกระทรวง]][[#_ftn16|[16]]]


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 78: บรรทัดที่ 78:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นอกจากการกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ในรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ใน กฎหมายเฉพาะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง[[#_ftn17|[17]]] ได้แก่
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นอกจากการกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ในรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ใน กฎหมายเฉพาะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง[[#_ftn17|[17]]] ได้แก่


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 1)&nbsp; พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 1)&nbsp; [[พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด_พ.ศ.2540|พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2)&nbsp; พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2)&nbsp; [[พระราชบัญญัติเทศบาล_พ.ศ.2496|พระราชบัญญัติเทศบาล_พ.ศ.2496]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 3)&nbsp; พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 3)&nbsp; [[พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล_พ.ศ.2537|พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล_พ.ศ.2537]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 4)&nbsp; พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 4)&nbsp; [[พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร_พ.ศ.2528|พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 5)&nbsp; พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2542
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 5)&nbsp; [[พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา_พ.ศ.2542|พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2542]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หากพิจารณาจากขอบข่ายและอำนาจหน้าที่ตามข้อบัญญัติในกฎหมายแล้วก็จะพบว่ากฎหมายได้ให้อำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินกิจกรรมหรือให้บริการสาธารณะได้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม[[#_ftn18|[18]]] ได้แก่
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หากพิจารณาจากขอบข่ายและอำนาจหน้าที่ตามข้อบัญญัติในกฎหมายแล้วก็จะพบว่ากฎหมายได้ให้อำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินกิจกรรมหรือให้บริการสาธารณะได้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม[[#_ftn18|[18]]] ได้แก่
บรรทัดที่ 102: บรรทัดที่ 102:
นครินทร์&nbsp; เมฆไตรรัตน์และคณะ. '''“รายงานผลการศึกษาความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจในประเทศไทยและข้อเสนอ”''' โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจและธรรมาภิบาลท้องถิ่น. รายงานฉบับสมบูรณ์. 2552.&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;
นครินทร์&nbsp; เมฆไตรรัตน์และคณะ. '''“รายงานผลการศึกษาความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจในประเทศไทยและข้อเสนอ”''' โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจและธรรมาภิบาลท้องถิ่น. รายงานฉบับสมบูรณ์. 2552.&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;


นันทวัฒน์&nbsp; บรมานันท์'''. การปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2'''540. (กรุงเทพฯ : วิญญูชน. 2543).
นันทวัฒน์&nbsp; บรมานันท์'''. การปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2'''540. (กรุงเทพฯ&nbsp;: วิญญูชน. 2543).


พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
บรรทัดที่ 112: บรรทัดที่ 112:
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ พ.ศ. 2559
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ พ.ศ. 2559


วุฒิสาร&nbsp; ตันไชย. “ทิศทางการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550.” ใน '''คู่มือพลเมืองยุคใหม่'''.รวบรวมโดย สถาบันพระปกเกล้า &nbsp;(กรุงเทพฯ : บริษัท เอ.พี กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด. 2552).
วุฒิสาร&nbsp; ตันไชย. “ทิศทางการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550.” ใน '''คู่มือพลเมืองยุคใหม่'''.รวบรวมโดย สถาบันพระปกเกล้า &nbsp;(กรุงเทพฯ&nbsp;: บริษัท เอ.พี กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด. 2552).


สถาบันพระปกเกล้า. '''สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย หมวดที่ 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลำดับที่ 2 &nbsp;&nbsp;&nbsp; เรื่องภารกิจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.''' (กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมดาเพรส จำกัด. 2547).
สถาบันพระปกเกล้า. '''สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย หมวดที่ 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลำดับที่ 2 &nbsp;&nbsp;&nbsp; เรื่องภารกิจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.''' (กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมดาเพรส จำกัด. 2547).
บรรทัดที่ 128: บรรทัดที่ 128:
[[#_ftnref4|[4]]] &nbsp;นครินทร์&nbsp; เมฆไตรรัตน์และคณะ, ''“รายงานผลการศึกษาความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจในประเทศไทยและข้อเสนอ”&nbsp; ''โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจและธรรมาภิบาลท้องถิ่น, 2552, รายงานฉบับสมบูรณ์, หน้า 42-43.
[[#_ftnref4|[4]]] &nbsp;นครินทร์&nbsp; เมฆไตรรัตน์และคณะ, ''“รายงานผลการศึกษาความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจในประเทศไทยและข้อเสนอ”&nbsp; ''โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจและธรรมาภิบาลท้องถิ่น, 2552, รายงานฉบับสมบูรณ์, หน้า 42-43.
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|[5]]] &nbsp;วุฒิสาร&nbsp; ตันไชย, “ทิศทางการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550,” ใน ''คู่มือพลเมืองยุคใหม่'', รวบรวมโดย สถาบันพระปกเกล้า (กรุงเทพฯ : บริษัท เอ.พี กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด, 2552), หน้า 68.
[[#_ftnref5|[5]]] &nbsp;วุฒิสาร&nbsp; ตันไชย, “ทิศทางการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550,” ใน ''คู่มือพลเมืองยุคใหม่'', รวบรวมโดย สถาบันพระปกเกล้า (กรุงเทพฯ&nbsp;: บริษัท เอ.พี กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด, 2552), หน้า 68.
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]] &nbsp;รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550, มาตรา 78
[[#_ftnref6|[6]]] &nbsp;รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550, มาตรา 78
บรรทัดที่ 150: บรรทัดที่ 150:
[[#_ftnref15|[15]]] &nbsp;พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542, มาตรา 16-18.
[[#_ftnref15|[15]]] &nbsp;พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542, มาตรา 16-18.
</div> <div id="ftn16">
</div> <div id="ftn16">
[[#_ftnref16|[16]]] &nbsp;นันทวัฒน์&nbsp; บรมานันท์, ''การปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540'' (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543), หน้า 104.
[[#_ftnref16|[16]]] &nbsp;นันทวัฒน์&nbsp; บรมานันท์, ''การปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540'' (กรุงเทพฯ&nbsp;: วิญญูชน, 2543), หน้า 104.
</div> <div id="ftn17">
</div> <div id="ftn17">
[[#_ftnref17|[17]]]&nbsp; ศึกษาเพิ่มเติมอย่างละเอียดได้ที่พระราชบัญญัติแต่ละฉบับ
[[#_ftnref17|[17]]]&nbsp; ศึกษาเพิ่มเติมอย่างละเอียดได้ที่พระราชบัญญัติแต่ละฉบับ
</div> <div id="ftn18">
</div> <div id="ftn18">
[[#_ftnref18|[18]]] &nbsp;สมคิด&nbsp; เลิศไพฑูรย์, ''อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ ''''2'', หน้า 41.
[[#_ftnref18|[18]]] &nbsp;สมคิด&nbsp; เลิศไพฑูรย์, ''อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ ''''2'''''<b>, หน้า 41.</b>
</div> </div>
</div> </div>  
[[Category:ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 17:51, 1 ธันวาคม 2562

เรียบเรียงโดย  ผศ.ดร.ณัฐพล ใจจริงและกฤษณ์  วงศ์วิเศษธร

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล


          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยการปกครองที่เกิดตามหลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) ซึ่งมีความเป็นอิสระ (Autonomy) ในการปกครองตนเอง  โดยสิ่งที่สามารถสะท้อนระดับของการกระจายอำนาจและความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด สามารถพิจารณาได้จากการให้อำนาจหน้าที่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการแทรกแซงหรือกำกับดูแลของส่วนกลาง กล่าวคือ หากอำนาจหน้าที่ในการจัดทำภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่กว้างขวาง ย่อมสะท้อนถึงระดับการกระจายอำนาจที่มีอยู่สูง และหากส่วนกลางเข้ามาแทรกแซงหรือกำกับดูแลอยู่น้อย ก็สามารถสะท้อนถึงความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่สูง เป็นต้น[1]

 

  1. แนวคิดว่าด้วยอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งจะมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนเองซึ่งแยกออกจากรัฐ โดยทั่วไปแล้วอำนาจหน้าที่ของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นรูปแบบเดียวกัน คือการจัดทำ “บริการสาธารณะ”  สำหรับการจัดทำบริการสาธารณะที่ถือเป็นอำนาจหน้าที่ของระดับชาติ (รัฐ) และระดับท้องถิ่น (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) นั้น เป็นการจัดทำภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการและความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป โดยสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทได้แก่

          1.1 บริการสาธารณะระดับชาติ (National Affairs) ซึ่งหมายถึงกิจกรรมที่จัดทำขึ้นโดยรัฐ ที่มุ่งเน้นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมภายในรัฐ มีลักษณะเกี่ยวกับ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐ เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน กระบวนการยุติธรรม เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนของรัฐโดยรวม และรวมไปถึงกิจกรรมที่ต้องการให้เกิดมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ อาทิ กองทัพ กิจการตำรวจ ศาลยุติธรรม กิจกรรมทางการทูต ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นต้น

          1.2 บริการสาธารณะระดับท้องถิ่น (Local Affairs) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับท้องถิ่นโดยเฉพาะ และเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในท้องถิ่น โดยจะมีลักษณะเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองคนในท้องถิ่น ซึ่งแต่ละท้องถิ่นอาจจะมีความแตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับชีวิตประจำวันของคนในท้องถิ่น ทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม การอำนวยความสะดวก รวมไปถึงการจัดสวัสดิการให้คนในท้องถิ่นโดยตรง[2]

 

  1. 'อำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ'.ศ. 2540 - 2550 และร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ….ฉบับลงประชามติ

 

          2.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความสำคัญกับการกระจายอำนาจ ที่ปรากฏในมาตรา 78 ซึ่งปรากฏอยู่ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยมีใจความสำคัญ คือ

          “มาตรา 78รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น[3]

          ซึ่งเป็นการกำหนดให้รัฐต้องมีการกระจายอำนาจทางปกครองไปให้ท้องถิ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และแบ่งเบาภาระส่วนกลางได้มากขึ้น รวมทั้งยังให้อำนาจแก่ประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองอีกด้วย อย่างไรก็ดีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติเรื่องการปกครองท้องถิ่นไว้ในหมวด 9 ตั้งแต่มาตรา 282 – 290 รวม 11 มาตรา มีการกล่าวถึงเรื่องภารกิจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ

          ประการแรก บัญญัติเรื่องอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้โดยตรงว่ามีเรื่องใดบ้าง รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่รวม 7 เรื่อง เช่น การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

          ประการที่สอง บัญญัติถึงกลไกในการสร้างองค์กรขึ้นเพื่อให้องค์กรดังกล่าวนี้ทำหน้าที่กำหนดอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลไกที่รัฐธรรมนูญได้สร้างขึ้นนี้ ได้แก่ การกำหนดให้มีการตรากฎหมายแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ซึ่งจะต้องมีสาระสำคัญ คือ จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อทำหน้าที่กำหนดอำนาจหน้าที่และจัดสรรภาษีอากรระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และในระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง นอกจากนั้นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นนี้ จะต้องพิจารณาเรื่องดังกล่าวทุก ๆ 5 ปี ทั้งนี้ การพิจารณาจะต้องคำนึงถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสำคัญ ซึ่งเท่ากับว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้รับอำนาจหน้าที่และภาษีอากรเพิ่มขึ้นทุก ๆ 5 ปี[4]

 

          2.2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มุ่งแก้ไขข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ทั้งนี้ในส่วนของบทบัญญัติที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ปรากฏอยู่ใน 2 หมวดสำคัญ ได้แก่[5]

          2.2.1 หมวดที่ 5 แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ มาตรา 78[6] เป็นการให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว้างขวาง ชัดเจนขึ้น กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับรัฐบาลให้เหมาะสม ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในอำนาจหน้าที่ของตนเอง และเพื่อให้แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐบรรลุตามเป้าหมาย จึงได้มีการกำหนดรายละเอียดด้านต่าง ๆไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานแก่หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ในมาตรา 80[7] อาทิ กำหนดแนวทางในการดำเนินงานด้านการศึกษา ศาสนา สังคม สาธารณสุข และวัฒนธรรมของรัฐ เป็นต้น

          2.2.2 หมวดที่ 14 ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น ได้มีการกำหนดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรหลักในการจัดบริการสาธารณะ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจปัญหาในพื้นที่ของตนเอง[8] ซึ่งเป็นหลักประกันว่ารัฐต้องส่งเสริม สนับสนุนโดยให้การกระจายอำนาจเป็นกลไกสำคัญ เพื่อให้เกิดผลในรูปธรรม จึงได้มีการกำหนดว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ดูแลการจัดทำบริการสาธารณะและมีอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหารทั้งงานบุคคล การคลังได้[9] รวมถึงอำนาจหน้าที่ในการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาอบรมและฝึกวิชาชีพตามความเหมาะสม[10] และมีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอีกด้วย[11]

          2.3 ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ….ฉบับลงประชามติ (2559)

          ในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. …. ฉบับลงประชามติ มีการบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ในหมวดที่ 14 มาตราที่ 249 – 254 แต่ในส่วนของการกำหนดหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปรากฏอยู่ในมาตรา 250[12] โดยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งให้เป็นหน้าที่และอำนาจเฉพาะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ หรือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการ รวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างอิสระ

 

  1. 'อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ'.ศ. 2542

          ตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 มาตรา 284[13] ได้กำหนดให้มีกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ เพื่อพัฒนาการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นเพิ่มขึ้น โดยเนื้อหาของพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[14] มีด้วยกัน 4 เรื่อง ได้แก่

                    1) คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                    2) การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ

                    3) การจัดสรรสัดส่วนภาษีและอากร

                    4) แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          ซึ่งการกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะปรากฏในหมวด 2 มาตรา 16 - 22 โดยมีสาระสำคัญอยู่ 3 ประการ

          ประการแรก  มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆไว้[15] ได้แก่ เทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีอำนาจหน้าที่ทั้งทางการปกครอง การบริหารในท้องถิ่นของตนเอง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่งเสริมสนับสนุนด้านต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมด้านการศึกษา กีฬา การท่องเที่ยว ฯลฯ รวมไปถึงการดูแลความสงบเรียบร้อยภายในท้องถิ่น อย่างไรก็ตามการจัดทำบริการหรือกิจกรรมใด ๆในท้องถิ่น จำเป็นต้องคำนึงถึงความสามารถในการจัดทำของท้องถิ่นเอง คุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น และความต้องการหรือประโยชน์ที่คนในท้องถิ่นจะได้รับ รวมทั้งอำนาจหน้าที่อื่น ๆที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

          ประการที่สอง  อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ที่มีการจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น ๆในอนาคต พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ไว้ 2 กรณี คือ ในกรณีที่มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นมาใหม่ในรูปแบบไม่เต็มพื้นที่จังหวัด ให้มีอำนาจหน้าที่ตามในมาตรา 16 คือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล แต่หากเป็นการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นมาใหม่ในรูปแบบเต็มจังหวัด ก็จะมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 16 และ 17 นั่นคือมีอำนาจหน้าที่เดียวกับกรุงเทพมหานครนั่นเอง

          ประการที่สาม  การทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 21 และ 22 มีการกำหนดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจร่วมมือกันดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้ หรืออาจร้องขอให้รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการแทนได้ และนอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้เอกชนดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แทนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง[16]

 

  1. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          นอกจากการกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ในรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ใน กฎหมายเฉพาะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง[17] ได้แก่

          1)  พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540

          2)  พระราชบัญญัติเทศบาล_พ.ศ.2496

          3)  พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล_พ.ศ.2537

          4)  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528

          5)  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2542

          หากพิจารณาจากขอบข่ายและอำนาจหน้าที่ตามข้อบัญญัติในกฎหมายแล้วก็จะพบว่ากฎหมายได้ให้อำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินกิจกรรมหรือให้บริการสาธารณะได้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม[18] ได้แก่

          1)  อำนาจหน้าที่ที่ต้องจัดทำ เป็นกิจกรรมที่กฎหมายบังคับให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดทำให้ครบถ้วน หากไม่จัดทำเท่ากับเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

          2) อำนาจหน้าที่ที่อาจจัดทำ เป็นกิจกรรมที่กฎหมายให้ดุลพินิจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าจะจัดทำบริการสาธารณะนั้น ๆหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมและการพิจารณาเห็นสมควรว่าเหมาะกับและจำเป็นกับคนในท้องถิ่นนั้น ๆ

          อย่างไรก็ตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายได้ให้อำนาจไว้อย่างชัดเจนว่ากิจกรรมหรือหน้าที่ด้านใดสามารถดำเนินการได้ หรือกิจกรรมใดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการได้ ก็จะเป็นอำนาจของส่วนภูมิภาค หรือรัฐส่วนกลาง ตามหลักการแนวคิดการแบ่งอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ ทั้งนี้ ในการกำหนดหรือมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น มีความเหมาะสม สอดคล้องกับขนาดพื้นที่ ความสามารถทั้งทรัพยากรด้านบุคลากร เงิน และความต้องการของประชาชนเป็นหลักทั้งสิ้น

 

บรรณานุกรม

นครินทร์  เมฆไตรรัตน์และคณะ. “รายงานผลการศึกษาความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจในประเทศไทยและข้อเสนอ” โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจและธรรมาภิบาลท้องถิ่น. รายงานฉบับสมบูรณ์. 2552.       

นันทวัฒน์  บรมานันท์. การปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. (กรุงเทพฯ : วิญญูชน. 2543).

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ พ.ศ. 2559

วุฒิสาร  ตันไชย. “ทิศทางการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550.” ใน คู่มือพลเมืองยุคใหม่.รวบรวมโดย สถาบันพระปกเกล้า  (กรุงเทพฯ : บริษัท เอ.พี กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด. 2552).

สถาบันพระปกเกล้า. สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย หมวดที่ 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลำดับที่ 2     เรื่องภารกิจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมดาเพรส จำกัด. 2547).

สมคิด  เลิศไพฑูรย์. กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจา นุเบกษา. 2547).

 

อ้างอิง

[1] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สถาบันพระปกเกล้า, สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย หมวดที่ 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลำดับที่ 2 เรื่องภารกิจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, (กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมดาเพรส จำกัด, 2547), น. 1.

[2]  สมคิด  เลิศไพฑูรย์, กฎหมายการปกครองท้องถิ่น (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, 2547), น. 38.

[3]  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 78

[4]  นครินทร์  เมฆไตรรัตน์และคณะ, “รายงานผลการศึกษาความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจในประเทศไทยและข้อเสนอ”  โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจและธรรมาภิบาลท้องถิ่น, 2552, รายงานฉบับสมบูรณ์, หน้า 42-43.

[5]  วุฒิสาร  ตันไชย, “ทิศทางการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550,” ใน คู่มือพลเมืองยุคใหม่, รวบรวมโดย สถาบันพระปกเกล้า (กรุงเทพฯ : บริษัท เอ.พี กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด, 2552), หน้า 68.

[6]  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550, มาตรา 78

[7]  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550, มาตรา 80

[8]  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550, มาตรา 281

[9]  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550, มาตรา 283

[10]  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550, มาตรา 289

[11]  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550, มาตรา 290

[12]  ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ พ.ศ. 2559, มาตรา 250

[13]  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540, มาตรา 284

[14]  พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

[15]  พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542, มาตรา 16-18.

[16]  นันทวัฒน์  บรมานันท์, การปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543), หน้า 104.

[17]  ศึกษาเพิ่มเติมอย่างละเอียดได้ที่พระราชบัญญัติแต่ละฉบับ

[18]  สมคิด  เลิศไพฑูรย์, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ '2, หน้า 41.