ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสด็จฯ เยือนอินโดจีน (กัมพูชา) 3"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 5: บรรทัดที่ 5:
วัดพระแก้วมรกตที่กรุงพนมเปญ สร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนโรดมบรมรามเทวาวตาร เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๕ จนถึงปี พุทธศักราช ๒๔๔๕ วัดแห่งนี้ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา เนื่องจากเป็นวัดในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามของไทย และมีสิ่งที่คล้ายคลึงกับวัดพระแก้วที่กรุงเทพหลายอย่าง ดังเช่น จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตร รวมทั้ง หมู่พระราชวังต่างๆ ด้วย   
วัดพระแก้วมรกตที่กรุงพนมเปญ สร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนโรดมบรมรามเทวาวตาร เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๕ จนถึงปี พุทธศักราช ๒๔๔๕ วัดแห่งนี้ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา เนื่องจากเป็นวัดในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามของไทย และมีสิ่งที่คล้ายคลึงกับวัดพระแก้วที่กรุงเทพหลายอย่าง ดังเช่น จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตร รวมทั้ง หมู่พระราชวังต่างๆ ด้วย   


กรุงพนมเปญ เป็นเมืองสุดท้ายของการเสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน เมื่อถึงวันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๓ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับ โดยกระบวนรถยนต์บนเส้นทางไปยังเมืองพระตะบองเข้าสู่ดินแดนสยามที่อำเภออรัญประเทศ ก่อนที่จะถึงสถานีรถไฟอรัญประเทศ ซึ่งพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงจัดขบวนรถไฟพิเศษมารับเสด็จกลับสู่กรุงเทพโดยสวัสดิภาพ
กรุงพนมเปญ เป็นเมืองสุดท้ายของการเสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน เมื่อถึงวันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๓ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับ โดยกระบวนรถยนต์บนเส้นทางไปยังเมืองพระตะบองเข้าสู่ดินแดนสยามที่อำเภออรัญประเทศ ก่อนที่จะถึงสถานีรถไฟอรัญประเทศ ซึ่ง[[พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน]] ได้ทรงจัดขบวนรถไฟพิเศษมารับเสด็จกลับสู่กรุงเทพโดยสวัสดิภาพ


'''ที่มา '''
'''ที่มา '''

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:36, 10 กุมภาพันธ์ 2559

วันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๓ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากเมืองเสียมเรียบไปถึงกรุงพนมเป็ญในช่วงเวลาค่ำ

การเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น นับเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ไทยได้เสด็จมาถึงที่นี่ตามคำเชิญของทางการฝรั่งเศส ในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงพบกับผู้สำเร็จราชการชาวฝรั่งเศสกับสมเด็จพระเจ้ามณีวงศ์ พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชาที่มารับเสด็จไปยังวัดพระแก้วมรกต หรือ วัดอุโบสถรัตนราม

วัดพระแก้วมรกตที่กรุงพนมเปญ สร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนโรดมบรมรามเทวาวตาร เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๕ จนถึงปี พุทธศักราช ๒๔๔๕ วัดแห่งนี้ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา เนื่องจากเป็นวัดในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามของไทย และมีสิ่งที่คล้ายคลึงกับวัดพระแก้วที่กรุงเทพหลายอย่าง ดังเช่น จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตร รวมทั้ง หมู่พระราชวังต่างๆ ด้วย

กรุงพนมเปญ เป็นเมืองสุดท้ายของการเสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน เมื่อถึงวันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๓ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับ โดยกระบวนรถยนต์บนเส้นทางไปยังเมืองพระตะบองเข้าสู่ดินแดนสยามที่อำเภออรัญประเทศ ก่อนที่จะถึงสถานีรถไฟอรัญประเทศ ซึ่งพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงจัดขบวนรถไฟพิเศษมารับเสด็จกลับสู่กรุงเทพโดยสวัสดิภาพ

ที่มา

บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖