ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มรดกภาพยนตร์พระปกเกล้า"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 5: | บรรทัดที่ 5: | ||
พระราชนิยมทรงถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นอย่างจริงจังนี้มีส่วนทำให้การถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นในสยามแพร่หลายขึ้นอย่างรวดเร็วและคึกคัก | พระราชนิยมทรงถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นอย่างจริงจังนี้มีส่วนทำให้การถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นในสยามแพร่หลายขึ้นอย่างรวดเร็วและคึกคัก | ||
พุทธศักราช ๒๔๗๓ หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสอินโดจีนแล้ว ทรงก่อตั้งสมาคมภาพยนตร์สมัครเล่นเพื่อเป็นศูนย์กลางส่งเสริมการภาพยนตร์เพื่อที่นักถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นจะได้พบปะประชุม เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ใช้ชื่อว่า | พุทธศักราช ๒๔๗๓ หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสอินโดจีนแล้ว ทรงก่อตั้งสมาคมภาพยนตร์สมัครเล่นเพื่อเป็นศูนย์กลางส่งเสริมการภาพยนตร์เพื่อที่นักถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นจะได้พบปะประชุม เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ใช้ชื่อว่า “[[สมาคมภาพยนตร์สมัครเล่นแห่งสยาม]]” จัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์ ให้บริการล้างฟิล์ม พิมพ์ทำสำเนาฟิล์มภาพยนตร์ด้วย | ||
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]] ทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์และทรงเป็นองค์ราชูปถัมภ์ สมาชิกประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางตลอดจนสามัญชน รวมทั้งหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา หรือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในรัชกาลปัจจุบัน | ||
'''ที่มา ''' | '''ที่มา ''' |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:13, 9 กุมภาพันธ์ 2559
มรดกภาพยนตร์ในรัชสมัย ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๖๙ – ๒๔๗๕ เป็นมรดกล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ด้านภาพยนตร์ เพราะทรงบันทึกเหตุการณ์สำคัญต่างๆของสังคมสยามหลากหลายแง่มุมในช่วงเวลาดังกล่าวไว้อย่างสมบูรณ์
ภาพยนตร์เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลต่างๆในพระราชอาณาจักรบันทึกสภาพบ้านเมือง โบราณสถาน และสถานที่ที่น่าสนใจ ชีวิตความเป็นอยู่และการทำมาหากินของราษฎร ประเพณีและการละเล่นต่างๆ ภาพยนตร์เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินประพาสต่างแดนทั้งใกล้เคียงและประเทศตะวันตก ภาพยนตร์เกี่ยวกับงานพระราชพิธี พิธีและเหตุการณ์สำคัญ ทรงบันทึกเหตุการณ์ระยะทางเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ
พระราชนิยมทรงถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นอย่างจริงจังนี้มีส่วนทำให้การถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นในสยามแพร่หลายขึ้นอย่างรวดเร็วและคึกคัก
พุทธศักราช ๒๔๗๓ หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสอินโดจีนแล้ว ทรงก่อตั้งสมาคมภาพยนตร์สมัครเล่นเพื่อเป็นศูนย์กลางส่งเสริมการภาพยนตร์เพื่อที่นักถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นจะได้พบปะประชุม เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ใช้ชื่อว่า “สมาคมภาพยนตร์สมัครเล่นแห่งสยาม” จัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์ ให้บริการล้างฟิล์ม พิมพ์ทำสำเนาฟิล์มภาพยนตร์ด้วย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์และทรงเป็นองค์ราชูปถัมภ์ สมาชิกประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางตลอดจนสามัญชน รวมทั้งหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา หรือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในรัชกาลปัจจุบัน
ที่มา
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖