ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' : ธนพล สินธารา '''ผู้ทรงคุณวุฒิประ...'
 
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 4: บรรทัดที่ 4:
----
----


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้รับการยกย่องให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี พ.ศ. 2505 และนอกจากจะทรงเป็นพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยแล้ว ยังทรงวางรากฐานความเจริญไว้ให้กับประเทศไทยอีกหลายด้าน เช่น ด้านการปกครอง การบริหารราชการแผ่นดิน โบราณคดี การศึกษา วรรณคดี อักษรศาสตร์ และบรรณารักษศาสตร์ เป็นต้น  
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้รับการยกย่องให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี พ.ศ. 2505 และนอกจากจะทรงเป็นพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยแล้ว ยังทรงวางรากฐานความเจริญไว้ให้กับประเทศไทยอีกหลายด้าน เช่น ด้านการปกครอง [[การบริหารราชการแผ่นดิน]] โบราณคดี การศึกษา วรรณคดี อักษรศาสตร์ และบรรณารักษศาสตร์ เป็นต้น  
แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงเปรียบสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสมือนเพ็ชรประดับพระมงกุฎ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านทรงเป็นผู้มีความสำคัญยิ่งโดยเฉพาะในการปฏิรูประบบราชการของแผ่นดิน และทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึง 4 รัชกาล
 
แม้[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หั]]วยังทรงเปรียบสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสมือนเพ็ชรประดับพระมงกุฎ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านทรงเป็นผู้มีความสำคัญยิ่งโดยเฉพาะใน[[การปฏิรูประบบราชการ]]ของแผ่นดิน และทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึง 4 รัชกาล


==ประวัติ==
==ประวัติ==


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระนามเดิมคือพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร เป็นพระโอรสองค์ที่ 57 ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และเจ้าจอมมารดาชุ่ม ท.จ.ว. ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 เวลา 4 นาฬิกา 17 นาที ตรงกับวันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 7 ปีจอ จ.ศ. 1224
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระนามเดิมคือ[[พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร]] เป็นพระโอรสองค์ที่ 57 ของ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] (รัชกาลที่ 4) และเจ้าจอมมารดาชุ่ม ท.จ.ว. ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 เวลา 4 นาฬิกา 17 นาที ตรงกับวันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 7 ปีจอ จ.ศ. 1224
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานพระนามพระเจ้าลูกเธอนั้น ทรงเขียนลายพระราชหัตถ์ เป็น 2 ฉบับ ฉบับ 1 เป็นอักษรภาษาไทย อีกฉบับ 1 เป็นอักษรอริยกะ เมื่อพระเจ้า  ลูกเธอประสูติ ถ้าเป็นองค์ชายจะได้พระราชทานพระขรรค์ 1 เล่มกับปืนพก 1 กระบอก ครั้นประสูติได้ 3 วัน    จะจัดให้มีพิธีเวียนเทียนสมโภชตำหนักที่ประสูติและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จลงเป็นประธาน    ทรงรดน้ำพระมหาสังข์และเจิมพระราชทาน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานพระนามพระเจ้าลูกเธอนั้น ทรงเขียนลายพระราชหัตถ์ เป็น 2 ฉบับ ฉบับ 1 เป็นอักษรภาษาไทย อีกฉบับ 1 เป็นอักษรอริยกะ เมื่อพระเจ้า  ลูกเธอประสูติ ถ้าเป็นองค์ชายจะได้พระราชทานพระขรรค์ 1 เล่มกับปืนพก 1 กระบอก ครั้นประสูติได้ 3 วัน    จะจัดให้มีพิธีเวียนเทียนสมโภชตำหนักที่ประสูติและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จลงเป็นประธาน    ทรงรดน้ำพระมหาสังข์และเจิมพระราชทาน
พระนาม “พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร” ที่ได้รับพระราชทานมานั้น ในทางพระศาสนาถือว่าเป็นสิริมงคล เป็นทั้งพระนามพระพุทธเจ้าและพระนามของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งทรงมีเกียรติในการอุปถัมภกพระพุทธศาสนา และตามหนังสือ “ความทรงจำ” ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เอานามคุณตาของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาพระราชทาน ซึ่งท่านชื่อ “ดิศ” เป็นพระยาบำเรอภักดีอยู่ในเวลานั้น  เนื่องจากท่านเป็นผู้มีความซื่อตรง และความจงรักภักดีเป็นที่ตั้ง
 
พระนาม “พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร” ที่ได้รับพระราชทานมานั้น ในทางพระศาสนาถือว่าเป็นสิริมงคล เป็นทั้งพระนามพระพุทธเจ้าและพระนามของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งทรงมีเกียรติในการอุปถัมภกพระพุทธศาสนา และตามหนังสือ “ความทรงจำ” ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เอานามคุณตาของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาพระราชทาน ซึ่งท่านชื่อ “ดิศ” เป็นพระยาบำเรอภักดีอยู่ในเวลานั้น<ref>ความทรงจำพระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงค้างไว้ 5 ตอน พ.ศ. 2489 หน้า 14.</ref> เนื่องจากท่านเป็นผู้มีความซื่อตรง และความจงรักภักดีเป็นที่ตั้ง


==การศึกษา==
==การศึกษา==


การศึกษาขั้นต้น
''' การศึกษาขั้นต้น'''
 
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้รับการศึกษาแบบราชกุมารครั้งกรุงศรีอยุธยาทรงเริ่มเรียนอักษรตั้งแต่มีพระชนมายุก่อนครบ 3 พรรษา มีคุณแสง  เสมียน เป็นครูสอน ไม่นานนักก็ย้ายไปเรียนกับคุณปาน เป็นธิดาสมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ โดยมีสมุดหนังสือปฐม ก.กา ซึ่งหมอบรัดเลพิมพ์ขึ้นครั้งแรกใช้เป็นแบบเรียน ทรงเรียนจนอ่านหนังสือได้แตกฉาน จนอ่านหนังสือเป็นเล่ม เช่น สามก๊ก
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้รับการศึกษาแบบราชกุมารครั้งกรุงศรีอยุธยาทรงเริ่มเรียนอักษรตั้งแต่มีพระชนมายุก่อนครบ 3 พรรษา มีคุณแสง  เสมียน เป็นครูสอน ไม่นานนักก็ย้ายไปเรียนกับคุณปาน เป็นธิดาสมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ โดยมีสมุดหนังสือปฐม ก.กา ซึ่งหมอบรัดเลพิมพ์ขึ้นครั้งแรกใช้เป็นแบบเรียน ทรงเรียนจนอ่านหนังสือได้แตกฉาน จนอ่านหนังสือเป็นเล่ม เช่น สามก๊ก
การศึกษาภาคปฏิบัติในราชสำนักของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เริ่มเมื่อพระชนม์ได้ 4 พรรษา ได้เข้าเฝ้าพระราชบิดาเพื่อทรงใช้สอยเสมอ บางครั้งก็ตามเสด็จออกนอกวัง และครั้งหลังสุดได้ตามเสด็จไปดูสุริยุปราคาที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  
 
การศึกษาภาคปฏิบัติในราชสำนักของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เริ่มเมื่อพระชนม์ได้ 4 พรรษา ได้เข้าเฝ้าพระราชบิดาเพื่อทรงใช้สอยเสมอ บางครั้งก็ตามเสด็จออกนอกวัง และครั้งหลังสุดได้ตามเสด็จไปดูสุริยุปราคาที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์<ref>วงษ์  ช่อวิเชียร. พ.ศ. 2505. “การศึกษาชั้นต้น” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพและงานทางปกครองของพระองค์.พระนคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, หน้าที่ 36. </ref>
 
พ.ศ. 2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากอินเดีย และโปรดให้จัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในกรมมหาดเล็กคู่กับโรงเรียนสอนภาษาไทย มีมิสเตอร์ฟรานซิล จอร์ช แบตเตอร์สัน ชาวอังกฤษเป็นผู้สอน และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงศึกษาในโรงเรียนนี้ด้วย
พ.ศ. 2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากอินเดีย และโปรดให้จัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในกรมมหาดเล็กคู่กับโรงเรียนสอนภาษาไทย มีมิสเตอร์ฟรานซิล จอร์ช แบตเตอร์สัน ชาวอังกฤษเป็นผู้สอน และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงศึกษาในโรงเรียนนี้ด้วย
ในปี พ.ศ. 2417 สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ มีพระชนมายุครบ 13 พรรษา ทรงรับราชการประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในปี พ.ศ. 2417 สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ มีพระชนมายุครบ 13 พรรษา ทรงรับราชการประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การศึกษาขั้นกลาง
 
พ.ศ. 2418 เดือน 8 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงผนวชเป็นสามเณร ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และประทับที่วัดบวรนิเวศกับสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ มีพระกิจวัตร คือ เวลา 19.00 น. ต้องทรงฟังคำสอนพระธรรมวินัยทุกวัน จนถึงเวลา 20.00 น. จึงทำวัตรค่ำ และซ้อมสวดมนต์ไปจนถึง 23.00 น. พระองค์ทรงท่อง “อนุญญาสิโข” ได้แม่นยำ และมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี สมเด็จพระสังฆราชทรงโปรดมาก และให้เข้าเฝ้าเสมอฯ โดยทรงเล่าเรื่องโบราณต่าง ๆ ให้สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ฟัง เป็นเหตุให้สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงสนพระทัยวิชาประวัติศาสตร์และการศาสนา และพระองค์ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เองเป็นอย่างมาก ทำให้ได้สมญาว่า “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์”  
''' การศึกษาขั้นกลาง'''
 
พ.ศ. 2418 เดือน 8 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงผนวชเป็นสามเณร ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และประทับที่วัดบวรนิเวศกับสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ มีพระกิจวัตร คือ เวลา 19.00 น. ต้องทรงฟังคำสอนพระธรรมวินัยทุกวัน จนถึงเวลา 20.00 น. จึงทำวัตรค่ำ และซ้อมสวดมนต์ไปจนถึง 23.00 น. พระองค์ทรงท่อง “อนุญญาสิโข” ได้แม่นยำ และมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี สมเด็จพระสังฆราชทรงโปรดมาก และให้เข้าเฝ้าเสมอฯ โดยทรงเล่าเรื่องโบราณต่าง ๆ ให้สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ฟัง เป็นเหตุให้สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงสนพระทัยวิชาประวัติศาสตร์และการศาสนา และพระองค์ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เองเป็นอย่างมาก ทำให้ได้สมญาว่า “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์”<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 38. </ref>
 
นอกจากนี้ ยังทรงเรียนคาถาอาคมและวิชาที่ทำให้อยู่ยงคงกระพันด้วยเวทย์มนต์และเครื่องรางต่าง ๆ ซึ่งทรงเชื่อถืออย่างมาก อาจารย์ที่สำคัญคือ นักองค์วัตถา น้องสมเด็จพระนโรดมเจ้ากรุงกัมพูชา และทรงสะสมเครื่องรางของขลังเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ ยังทรงเรียนคาถาอาคมและวิชาที่ทำให้อยู่ยงคงกระพันด้วยเวทย์มนต์และเครื่องรางต่าง ๆ ซึ่งทรงเชื่อถืออย่างมาก อาจารย์ที่สำคัญคือ นักองค์วัตถา น้องสมเด็จพระนโรดมเจ้ากรุงกัมพูชา และทรงสะสมเครื่องรางของขลังเป็นจำนวนมาก
ในปี พ.ศ. 2418 ในช่วงออกพรรษาเมื่อกลับจากนำกฐินพระราชทานไปทอดที่วัดคงคารามเพชรบุรีแล้ว กรมพระยาดำรงฯ ก็ทรงลาสิกขาบทจากสามเณร  
 
การศึกษาขั้นปลาย
ในปี พ.ศ. 2418 ในช่วงออกพรรษาเมื่อกลับจากนำกฐินพระราชทานไปทอดที่วัดคงคารามเพชรบุรีแล้ว กรมพระยาดำรงฯ ก็ทรงลาสิกขาบทจากสามเณร<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 39. </ref>
 
''' การศึกษาขั้นปลาย'''
 
เมื่อลาสิกขาบทจากสามเณร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรับราชการเป็นมหาดเล็ก เมื่อพระชนม์ได้ 14 พรรษา ทรงเข้าศึกษาวิชาทหารในสำนักของหลวงรัดรณยุทธ (เล็ก) ซึ่งประจำอยู่ในวังบริเวณวัดพระแก้ว ขณะเมื่อยังเป็นพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ศึกษาอยู่เป็นเวลาหนึ่งปีจึงสำเร็จหลักสูตรนักเรียนนายร้อย ได้รับพระราชทานยศทหารเป็นร้อยตรีทหารมหาดเล็กในปี พ.ศ. 2420 ตั้งแต่ชันษายังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์  
เมื่อลาสิกขาบทจากสามเณร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรับราชการเป็นมหาดเล็ก เมื่อพระชนม์ได้ 14 พรรษา ทรงเข้าศึกษาวิชาทหารในสำนักของหลวงรัดรณยุทธ (เล็ก) ซึ่งประจำอยู่ในวังบริเวณวัดพระแก้ว ขณะเมื่อยังเป็นพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ศึกษาอยู่เป็นเวลาหนึ่งปีจึงสำเร็จหลักสูตรนักเรียนนายร้อย ได้รับพระราชทานยศทหารเป็นร้อยตรีทหารมหาดเล็กในปี พ.ศ. 2420 ตั้งแต่ชันษายังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์  


บรรทัดที่ 30: บรรทัดที่ 43:
พระองค์ทรงได้รับราชการทหารในตำแหน่งต่าง ๆ หลายตำแหน่ง ดังนี้
พระองค์ทรงได้รับราชการทหารในตำแหน่งต่าง ๆ หลายตำแหน่ง ดังนี้
พ.ศ. 2420 เป็นนายร้อยตรีทหารราบ ตำแหน่งผู้บังคับกองแตรวง
 
พ.ศ. 2422 เป็นว่าที่นายร้อยโท ตำแหน่งผู้บังคับการทหารม้าในกรมทหารมหาดเล็ก
พ.ศ. 2420 เป็นนายร้อยตรีทหารราบ     ตำแหน่งผู้บังคับกองแตรวง
พ.ศ. 2422 เป็นนายร้อยเอก ตำแหน่งราชองครักษ์ประจำพระองค์ และว่ากรมครัวเข้าต้น
 
พ.ศ. 2423 เป็นนายพันตรี ตำแหน่งผู้รับพระบรมราชโองการ และว่ากรมกองแก้วจินดา  
พ.ศ. 2422 เป็นว่าที่นายร้อยโท         ตำแหน่งผู้บังคับการทหารม้าในกรมทหารมหาดเล็ก
(ปืนใหญ่)
 
พ.ศ. 2428 เป็นนายพันโท ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กและราชองครักษ์ประจำ
พ.ศ. 2422 เป็นนายร้อยเอก             ตำแหน่งราชองครักษ์ประจำพระองค์ และว่ากรมครัวเข้าต้น
พระองค์
 
พ.ศ. 2423 เป็นนายพันตรี                 ตำแหน่งผู้รับพระบรมราชโองการ และว่ากรมกองแก้วจินดา (ปืนใหญ่)
 
พ.ศ. 2428 เป็นนายพันโท                 ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กและราชองครักษ์ประจำพระองค์<ref>จักรกฤษณ์  นรนิติผดุงการ. 2545. “พระกรณียกิจเมื่อแรกทรงรับราชการ” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับกระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ : มติชน , หน้า 33-34. </ref>
 
กรมทหารมหาดเล็กเป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ที่ตั้งขึ้นตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 และทรงสนับสนุนเจ้านายชั้นต่าง ๆ ให้มาสมัครเรียน จนกิจการเจริญก้าวหน้า และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยเพื่อเพิ่มความรู้ให้แก่ทหารมหาดเล็กภายในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ พระองค์เจ้าดิศวรกุมารทรงเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการจัดตั้งโรงเรียนที่พระตำหนักเดิมที่สวนกุหลาบ เรียกว่า “โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ” ในปี 2425 เมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ขยายการฝึกสอนไปถึงผู้ที่จะเข้ารับราชการอย่างอื่นด้วย และยังทรงมีรับสั่งให้จัดตั้งโรงเรียนให้แพร่หลายออกไปฝึกสอนราษฎรให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง ดังนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ จึงมีหน้าที่จัดโรงเรียนอันเป็นการฝ่ายพลเรือน เพิ่มขึ้นแต่ในเวลาเมื่อยังเป็นผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก ดังนั้นถือได้ว่าสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาของประเทศไทย
กรมทหารมหาดเล็กเป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ที่ตั้งขึ้นตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 และทรงสนับสนุนเจ้านายชั้นต่าง ๆ ให้มาสมัครเรียน จนกิจการเจริญก้าวหน้า และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยเพื่อเพิ่มความรู้ให้แก่ทหารมหาดเล็กภายในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ พระองค์เจ้าดิศวรกุมารทรงเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการจัดตั้งโรงเรียนที่พระตำหนักเดิมที่สวนกุหลาบ เรียกว่า “โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ” ในปี 2425 เมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ขยายการฝึกสอนไปถึงผู้ที่จะเข้ารับราชการอย่างอื่นด้วย และยังทรงมีรับสั่งให้จัดตั้งโรงเรียนให้แพร่หลายออกไปฝึกสอนราษฎรให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง ดังนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ จึงมีหน้าที่จัดโรงเรียนอันเป็นการฝ่ายพลเรือน เพิ่มขึ้นแต่ในเวลาเมื่อยังเป็นผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก ดังนั้นถือได้ว่าสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาของประเทศไทย
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดตั้งกรมแผนที่ขึ้นใหม่ และโปรดให้กรมนี้ขึ้นอยู่กับกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ มีหน้าที่จัดทำแผนที่ตามชายแดนของประเทศให้เรียบร้อย การที่พระองค์เจ้าดิศวรกุมารได้ทรงมีโอกาสบังคับบัญชากรมแผนที่ ทำให้พระองค์คุ้นเคยกับสภาพภูมิประเทศของชาติ และทราบปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรับหน้าที่จัดการปกครองในเวลาต่อมา
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดตั้งกรมแผนที่ขึ้นใหม่ และโปรดให้กรมนี้ขึ้นอยู่กับกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ มีหน้าที่จัดทำแผนที่ตามชายแดนของประเทศให้เรียบร้อย การที่พระองค์เจ้าดิศวรกุมารได้ทรงมีโอกาสบังคับบัญชากรมแผนที่ ทำให้พระองค์คุ้นเคยกับสภาพภูมิประเทศของชาติ และทราบปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรับหน้าที่จัดการปกครองในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ. 2432 รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมธรรมการ กรมสังฆการี กรมพยาบาล และกรมพิพิธภัณฑสถาน ซึ่งเคยเป็นกรมอิสระอยู่ก่อน เข้ากับกรมศึกษาธิการ ยกขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการ และทรงแต่งตั้งให้กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (ซึ่งเป็นพระยศในขณะนั้น) เป็นอธิบดีกระทรวงธรรมการคนแรก และเมื่องานราชการดำเนินไปได้ด้วยดี จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นดำรงราชานุภาพย้ายขาดจากตำแหน่งทางทหาร มารับราชการทางฝ่ายพลเรือนด้านเดียวในปี พ.ศ. 2433
ในปี พ.ศ. 2432 รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมธรรมการ กรมสังฆการี กรมพยาบาล และกรมพิพิธภัณฑสถาน ซึ่งเคยเป็นกรมอิสระอยู่ก่อน เข้ากับกรมศึกษาธิการ ยกขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการ และทรงแต่งตั้งให้กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (ซึ่งเป็นพระยศในขณะนั้น) เป็นอธิบดีกระทรวงธรรมการคนแรก และเมื่องานราชการดำเนินไปได้ด้วยดี จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นดำรงราชานุภาพย้ายขาดจากตำแหน่งทางทหาร มารับราชการทางฝ่ายพลเรือนด้านเดียวในปี พ.ศ. 2433


== พระประวัติเมื่อดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย==
== พระประวัติเมื่อดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย==
เมื่อมีการแก้ไขระเบียบการปกครองแผ่นดินวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นกระทรวงที่สำคัญสูงสุด และผู้ดำรงตำแหน่งนี้สามารถปฏิรูปและวางรากฐานงานของกระทรวงมหาดไทย เพื่อยึดถือเป็นหลักในการขยายกิจการงานปกครอง ออกสู่หัวเมืองต่าง ๆ ภายในราชอาณาจักรต่อไป ซึ่งกรมหมื่นดำรงราชานุภาพทรงวางรูปแบบการปกครองขึ้นใหม่ และเป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง
 
เมื่อมีการแก้ไขระเบียบการปกครองแผ่นดินวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดี[[กระทรวงมหาดไทย]] ซึ่งเป็นกระทรวงที่สำคัญสูงสุด และผู้ดำรงตำแหน่งนี้สามารถปฏิรูปและวางรากฐานงานของกระทรวงมหาดไทย เพื่อยึดถือเป็นหลักในการขยายกิจการงานปกครอง ออกสู่หัวเมืองต่าง ๆ ภายในราชอาณาจักรต่อไป ซึ่งกรมหมื่นดำรงราชานุภาพทรงวางรูปแบบการปกครองขึ้นใหม่ และเป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง
 
ในปีพ.ศ. 2442 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เลื่อนกรมหมื่นดำรงราชานุภาพขึ้นเป็นกรมหลวงฯ ดำรงตำแหน่งพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ และพระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยตลอดสมัยรัชกาลที่ 5
ในปีพ.ศ. 2442 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เลื่อนกรมหมื่นดำรงราชานุภาพขึ้นเป็นกรมหลวงฯ ดำรงตำแหน่งพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ และพระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยตลอดสมัยรัชกาลที่ 5
ในปีพ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคตลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ก็ยังททรงวางพระราชหฤทัยให้กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยต่อไปอีก จนกระทั่งได้ทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเองเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2458 เนื่องมาจากเหตุผลด้านสุขภาพไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานที่เป็นภาระหนัก รวมระยะเวลาดำรงตำแหน่งเสนาบดียาวนานถึง 23 ปีเศษ
ในปีพ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคตลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ก็ยังททรงวางพระราชหฤทัยให้กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยต่อไปอีก จนกระทั่งได้ทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเองเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2458 เนื่องมาจากเหตุผลด้านสุขภาพไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานที่เป็นภาระหนัก รวมระยะเวลาดำรงตำแหน่งเสนาบดียาวนานถึง 23 ปีเศษ
ในปีพ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ เลื่อนกรมหลวงดำรงราชานุภาพให้มีฐานันดรเป็นกรมพระยาอันเป็นหลักฐานในการประกาศถึงคุณความดีที่ได้ทรงดำเนินกิจการงานปกครองและทำนุบำรุงประชาราษฎร และบ้านเมืองได้ตามพระราชประสงค์อันมาจากการวางรากฐานมาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
 
ในปีพ.ศ. 2454 [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ได้ทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ เลื่อนกรมหลวงดำรงราชานุภาพให้มีฐานันดรเป็นกรมพระยาอันเป็นหลักฐานในการประกาศถึงคุณความดีที่ได้ทรงดำเนินกิจการงานปกครองและทำนุบำรุงประชาราษฎร และบ้านเมืองได้ตามพระราชประสงค์อันมาจากการวางรากฐานมาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
 
ขณะทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พระองค์ยังทรงรับราชการในตำแหน่งพิเศษอื่นอีกหลายตำแหน่ง ดังนี้
ขณะทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พระองค์ยังทรงรับราชการในตำแหน่งพิเศษอื่นอีกหลายตำแหน่ง ดังนี้
พ.ศ. 2437 เป็นรัฐมนตรี
 
พ.ศ. 2437 เป็น[[รัฐมนตรี]]
 
พ.ศ. 2438 เป็นบรรณารักษ์หอพระสมุดวชิรญาณ ครั้งที่ 1
พ.ศ. 2438 เป็นบรรณารักษ์หอพระสมุดวชิรญาณ ครั้งที่ 1
พ.ศ. 2439 เป็นสาราณียกรหอพระสมุดวชิรญาณ
พ.ศ. 2439 เป็นสาราณียกรหอพระสมุดวชิรญาณ
พ.ศ. 2440 เป็นบรรณารักษ์หอพระสมุดวชิรญาณ ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2440 เป็นบรรณารักษ์หอพระสมุดวชิรญาณ ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2443 เป็นกรรมการจัดตั้งหอพุทธสาสนสังคหะ
 
พ.ศ. 2444 เป็นผู้ได้รับเลือกเข้าเป็นผู้บำรุงราชกรีฑาสโมสร
พ.ศ. 2443 เป็นกรรมการจัดตั้งหอพุทธสาสนสังคหะ
พ.ศ. 2446 เป็นบรรณารักษ์หอพระสมุดวชิรญาณ ครั้งที่ 3
 
พ.ศ. 2447 เป็นบรรณารักษ์หอพระสมุดวชิรญาณ ครั้งที่ 4
พ.ศ. 2444 เป็นผู้ได้รับเลือกเข้าเป็นผู้บำรุงราชกรีฑาสโมสร
ได้รับเลือกเป็นอนูปถัมภกสยามสมาคม
 
พ.ศ. 2448 เป็นกรรมการหอพระสมุดวชิรญารเมื่อทรงตั้งเป็นหอสมุดสำหรับพระนคร
พ.ศ. 2446   เป็นบรรณารักษ์หอพระสมุดวชิรญาณ ครั้งที่ 3
พ.ศ. 2451 เป็นกรรมการตรวจกฎหมายลักษณะอาญา
 
พ.ศ. 2453 เป็นกรรมการสภานายกจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. 2447 เป็นบรรณารักษ์หอพระสมุดวชิรญาณ ครั้งที่ 4 ได้รับเลือกเป็นอนูปถัมภกสยามสมาคม
พ.ศ. 2457 เป็นกรรมการตรวจโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  
 
พ.ศ. 2448 เป็นกรรมการหอพระสมุดวชิรญารเมื่อทรงตั้งเป็นหอสมุดสำหรับพระนคร
 
พ.ศ. 2451   เป็นกรรมการตรวจกฎหมายลักษณะอาญา
 
พ.ศ. 2453 เป็นกรรมการสภานายกจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
 
พ.ศ. 2457 เป็นกรรมการตรวจโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  
 
อนึ่ง พระองค์ทรงมีโอกาสตามเสร็จรัชกาลที่ 5 คราวเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2439 และ 2444 และเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จเยือนทวีปยุโรปในปี พ.ศ. 2440 และพ.ศ. 2450  
อนึ่ง พระองค์ทรงมีโอกาสตามเสร็จรัชกาลที่ 5 คราวเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2439 และ 2444 และเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จเยือนทวีปยุโรปในปี พ.ศ. 2440 และพ.ศ. 2450  
==ภายหลังพ้นจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย==
==ภายหลังพ้นจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย==
เมื่อทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้ 7 วัน ก็ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2458 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีที่ปรึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา    เทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ สิ้นพระชนม์ลง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ  ให้กรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และในปีเดียวกันนั้น ทรงได้รับพระราชทานยศทหารเป็นนายพลเอก ราชองครักษ์พิเศษอีกด้วย
 
เมื่อทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้ 7 วัน ก็ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2458 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีที่ปรึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา    เทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ สิ้นพระชนม์ลง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ  ให้กรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่งเสนาบดี[[กระทรวงมุรธาธร]] และในปีเดียวกันนั้น ทรงได้รับพระราชทานยศทหารเป็นนายพลเอก ราชองครักษ์พิเศษอีกด้วย
 
==อ้างอิง==
 
<references/>


==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ==
==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ==


มูลนิธิสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม  ดิศกุล พระธิดา. 2530.
มูลนิธิสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม  ดิศกุล พระธิดา. 2530.ความทรงจำ พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงค้างไว้ 5 ตอน พ.ศ. 2489.
ความทรงจำ พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงค้างไว้ 5 ตอน พ.ศ. 2489.
 
จักรกฤษณ์  นรนิติผดุงการ. 2545. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับ กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มติชน : ครั้งที่ 3.
จักรกฤษณ์  นรนิติผดุงการ. 2545. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับ กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มติชน : ครั้งที่ 3.
วงษ์  ช่อวิเชียร. 2505. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และงานทางปกครองของ
 
พระองค์. พระนคร. โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมมหาดไทย.
วงษ์  ช่อวิเชียร. 2505. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และงานทางปกครองของ พระองค์. พระนคร. โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมมหาดไทย.
ศิริพงษ์  บุญราศี. 2544. พระชีวประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับงาน
 
ปกครอง .กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น.
ศิริพงษ์  บุญราศี. 2544. พระชีวประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับงานปกครอง .กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น.


==บรรณานุกรม==
==บรรณานุกรม==


มูลนิธิสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม  ดิศกุล พระธิดา. 2530.
มูลนิธิสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม  ดิศกุล พระธิดา. 2530.ความทรงจำ พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงค้างไว้ 5 ตอน พ.ศ. 2489.
ความทรงจำ พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงค้างไว้ 5 ตอน พ.ศ. 2489.
 
จักรกฤษณ์  นรนิติผดุงการ. 2545. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับ กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มติชน : ครั้งที่ 3.
จักรกฤษณ์  นรนิติผดุงการ. 2545. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับ กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มติชน : ครั้งที่ 3.
วงษ์  ช่อวิเชียร. 2505. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และงานทางปกครองของ
 
พระองค์. พระนคร. โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมมหาดไทย.
วงษ์  ช่อวิเชียร. 2505. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และงานทางปกครองของพระองค์. พระนคร. โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมมหาดไทย.
ศิริพงษ์  บุญราศี. 2544. พระชีวประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับงาน
 
ปกครอง .กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น.
ศิริพงษ์  บุญราศี. 2544. พระชีวประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับงานปกครอง .กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น.


[[หมวดหมู่:บุคคลสำคัญด้านอื่นๆ]]
[[หมวดหมู่:บุคคลสำคัญด้านอื่นๆ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:09, 4 เมษายน 2558

ผู้เรียบเรียง : ธนพล สินธารา

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายจเร พันธุ์เปรื่อง


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้รับการยกย่องให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี พ.ศ. 2505 และนอกจากจะทรงเป็นพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยแล้ว ยังทรงวางรากฐานความเจริญไว้ให้กับประเทศไทยอีกหลายด้าน เช่น ด้านการปกครอง การบริหารราชการแผ่นดิน โบราณคดี การศึกษา วรรณคดี อักษรศาสตร์ และบรรณารักษศาสตร์ เป็นต้น

แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงเปรียบสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสมือนเพ็ชรประดับพระมงกุฎ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านทรงเป็นผู้มีความสำคัญยิ่งโดยเฉพาะในการปฏิรูประบบราชการของแผ่นดิน และทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึง 4 รัชกาล

ประวัติ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระนามเดิมคือพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร เป็นพระโอรสองค์ที่ 57 ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และเจ้าจอมมารดาชุ่ม ท.จ.ว. ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 เวลา 4 นาฬิกา 17 นาที ตรงกับวันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 7 ปีจอ จ.ศ. 1224

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานพระนามพระเจ้าลูกเธอนั้น ทรงเขียนลายพระราชหัตถ์ เป็น 2 ฉบับ ฉบับ 1 เป็นอักษรภาษาไทย อีกฉบับ 1 เป็นอักษรอริยกะ เมื่อพระเจ้า ลูกเธอประสูติ ถ้าเป็นองค์ชายจะได้พระราชทานพระขรรค์ 1 เล่มกับปืนพก 1 กระบอก ครั้นประสูติได้ 3 วัน จะจัดให้มีพิธีเวียนเทียนสมโภชตำหนักที่ประสูติและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จลงเป็นประธาน ทรงรดน้ำพระมหาสังข์และเจิมพระราชทาน

พระนาม “พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร” ที่ได้รับพระราชทานมานั้น ในทางพระศาสนาถือว่าเป็นสิริมงคล เป็นทั้งพระนามพระพุทธเจ้าและพระนามของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งทรงมีเกียรติในการอุปถัมภกพระพุทธศาสนา และตามหนังสือ “ความทรงจำ” ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เอานามคุณตาของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาพระราชทาน ซึ่งท่านชื่อ “ดิศ” เป็นพระยาบำเรอภักดีอยู่ในเวลานั้น[1] เนื่องจากท่านเป็นผู้มีความซื่อตรง และความจงรักภักดีเป็นที่ตั้ง

การศึกษา

การศึกษาขั้นต้น

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้รับการศึกษาแบบราชกุมารครั้งกรุงศรีอยุธยาทรงเริ่มเรียนอักษรตั้งแต่มีพระชนมายุก่อนครบ 3 พรรษา มีคุณแสง เสมียน เป็นครูสอน ไม่นานนักก็ย้ายไปเรียนกับคุณปาน เป็นธิดาสมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ โดยมีสมุดหนังสือปฐม ก.กา ซึ่งหมอบรัดเลพิมพ์ขึ้นครั้งแรกใช้เป็นแบบเรียน ทรงเรียนจนอ่านหนังสือได้แตกฉาน จนอ่านหนังสือเป็นเล่ม เช่น สามก๊ก

การศึกษาภาคปฏิบัติในราชสำนักของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เริ่มเมื่อพระชนม์ได้ 4 พรรษา ได้เข้าเฝ้าพระราชบิดาเพื่อทรงใช้สอยเสมอ บางครั้งก็ตามเสด็จออกนอกวัง และครั้งหลังสุดได้ตามเสด็จไปดูสุริยุปราคาที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[2]

พ.ศ. 2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากอินเดีย และโปรดให้จัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในกรมมหาดเล็กคู่กับโรงเรียนสอนภาษาไทย มีมิสเตอร์ฟรานซิล จอร์ช แบตเตอร์สัน ชาวอังกฤษเป็นผู้สอน และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงศึกษาในโรงเรียนนี้ด้วย

ในปี พ.ศ. 2417 สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ มีพระชนมายุครบ 13 พรรษา ทรงรับราชการประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การศึกษาขั้นกลาง

พ.ศ. 2418 เดือน 8 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงผนวชเป็นสามเณร ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และประทับที่วัดบวรนิเวศกับสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ มีพระกิจวัตร คือ เวลา 19.00 น. ต้องทรงฟังคำสอนพระธรรมวินัยทุกวัน จนถึงเวลา 20.00 น. จึงทำวัตรค่ำ และซ้อมสวดมนต์ไปจนถึง 23.00 น. พระองค์ทรงท่อง “อนุญญาสิโข” ได้แม่นยำ และมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี สมเด็จพระสังฆราชทรงโปรดมาก และให้เข้าเฝ้าเสมอฯ โดยทรงเล่าเรื่องโบราณต่าง ๆ ให้สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ฟัง เป็นเหตุให้สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงสนพระทัยวิชาประวัติศาสตร์และการศาสนา และพระองค์ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เองเป็นอย่างมาก ทำให้ได้สมญาว่า “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์”[3]

นอกจากนี้ ยังทรงเรียนคาถาอาคมและวิชาที่ทำให้อยู่ยงคงกระพันด้วยเวทย์มนต์และเครื่องรางต่าง ๆ ซึ่งทรงเชื่อถืออย่างมาก อาจารย์ที่สำคัญคือ นักองค์วัตถา น้องสมเด็จพระนโรดมเจ้ากรุงกัมพูชา และทรงสะสมเครื่องรางของขลังเป็นจำนวนมาก

ในปี พ.ศ. 2418 ในช่วงออกพรรษาเมื่อกลับจากนำกฐินพระราชทานไปทอดที่วัดคงคารามเพชรบุรีแล้ว กรมพระยาดำรงฯ ก็ทรงลาสิกขาบทจากสามเณร[4]

การศึกษาขั้นปลาย

เมื่อลาสิกขาบทจากสามเณร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรับราชการเป็นมหาดเล็ก เมื่อพระชนม์ได้ 14 พรรษา ทรงเข้าศึกษาวิชาทหารในสำนักของหลวงรัดรณยุทธ (เล็ก) ซึ่งประจำอยู่ในวังบริเวณวัดพระแก้ว ขณะเมื่อยังเป็นพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ศึกษาอยู่เป็นเวลาหนึ่งปีจึงสำเร็จหลักสูตรนักเรียนนายร้อย ได้รับพระราชทานยศทหารเป็นร้อยตรีทหารมหาดเล็กในปี พ.ศ. 2420 ตั้งแต่ชันษายังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์

พระกรณียกิจเมื่อแรกทรงรับราชการ

พระองค์ทรงได้รับราชการทหารในตำแหน่งต่าง ๆ หลายตำแหน่ง ดังนี้

พ.ศ. 2420 เป็นนายร้อยตรีทหารราบ ตำแหน่งผู้บังคับกองแตรวง

พ.ศ. 2422 เป็นว่าที่นายร้อยโท ตำแหน่งผู้บังคับการทหารม้าในกรมทหารมหาดเล็ก

พ.ศ. 2422 เป็นนายร้อยเอก ตำแหน่งราชองครักษ์ประจำพระองค์ และว่ากรมครัวเข้าต้น

พ.ศ. 2423 เป็นนายพันตรี ตำแหน่งผู้รับพระบรมราชโองการ และว่ากรมกองแก้วจินดา (ปืนใหญ่)

พ.ศ. 2428 เป็นนายพันโท ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กและราชองครักษ์ประจำพระองค์[5]

กรมทหารมหาดเล็กเป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ที่ตั้งขึ้นตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 และทรงสนับสนุนเจ้านายชั้นต่าง ๆ ให้มาสมัครเรียน จนกิจการเจริญก้าวหน้า และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยเพื่อเพิ่มความรู้ให้แก่ทหารมหาดเล็กภายในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ พระองค์เจ้าดิศวรกุมารทรงเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการจัดตั้งโรงเรียนที่พระตำหนักเดิมที่สวนกุหลาบ เรียกว่า “โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ” ในปี 2425 เมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ขยายการฝึกสอนไปถึงผู้ที่จะเข้ารับราชการอย่างอื่นด้วย และยังทรงมีรับสั่งให้จัดตั้งโรงเรียนให้แพร่หลายออกไปฝึกสอนราษฎรให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง ดังนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ จึงมีหน้าที่จัดโรงเรียนอันเป็นการฝ่ายพลเรือน เพิ่มขึ้นแต่ในเวลาเมื่อยังเป็นผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก ดังนั้นถือได้ว่าสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาของประเทศไทย

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดตั้งกรมแผนที่ขึ้นใหม่ และโปรดให้กรมนี้ขึ้นอยู่กับกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ มีหน้าที่จัดทำแผนที่ตามชายแดนของประเทศให้เรียบร้อย การที่พระองค์เจ้าดิศวรกุมารได้ทรงมีโอกาสบังคับบัญชากรมแผนที่ ทำให้พระองค์คุ้นเคยกับสภาพภูมิประเทศของชาติ และทราบปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรับหน้าที่จัดการปกครองในเวลาต่อมา

ในปี พ.ศ. 2432 รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมธรรมการ กรมสังฆการี กรมพยาบาล และกรมพิพิธภัณฑสถาน ซึ่งเคยเป็นกรมอิสระอยู่ก่อน เข้ากับกรมศึกษาธิการ ยกขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการ และทรงแต่งตั้งให้กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (ซึ่งเป็นพระยศในขณะนั้น) เป็นอธิบดีกระทรวงธรรมการคนแรก และเมื่องานราชการดำเนินไปได้ด้วยดี จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นดำรงราชานุภาพย้ายขาดจากตำแหน่งทางทหาร มารับราชการทางฝ่ายพลเรือนด้านเดียวในปี พ.ศ. 2433

พระประวัติเมื่อดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย

เมื่อมีการแก้ไขระเบียบการปกครองแผ่นดินวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นกระทรวงที่สำคัญสูงสุด และผู้ดำรงตำแหน่งนี้สามารถปฏิรูปและวางรากฐานงานของกระทรวงมหาดไทย เพื่อยึดถือเป็นหลักในการขยายกิจการงานปกครอง ออกสู่หัวเมืองต่าง ๆ ภายในราชอาณาจักรต่อไป ซึ่งกรมหมื่นดำรงราชานุภาพทรงวางรูปแบบการปกครองขึ้นใหม่ และเป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง

ในปีพ.ศ. 2442 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เลื่อนกรมหมื่นดำรงราชานุภาพขึ้นเป็นกรมหลวงฯ ดำรงตำแหน่งพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ และพระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยตลอดสมัยรัชกาลที่ 5

ในปีพ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคตลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ก็ยังททรงวางพระราชหฤทัยให้กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยต่อไปอีก จนกระทั่งได้ทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเองเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2458 เนื่องมาจากเหตุผลด้านสุขภาพไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานที่เป็นภาระหนัก รวมระยะเวลาดำรงตำแหน่งเสนาบดียาวนานถึง 23 ปีเศษ

ในปีพ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ เลื่อนกรมหลวงดำรงราชานุภาพให้มีฐานันดรเป็นกรมพระยาอันเป็นหลักฐานในการประกาศถึงคุณความดีที่ได้ทรงดำเนินกิจการงานปกครองและทำนุบำรุงประชาราษฎร และบ้านเมืองได้ตามพระราชประสงค์อันมาจากการวางรากฐานมาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5

ขณะทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พระองค์ยังทรงรับราชการในตำแหน่งพิเศษอื่นอีกหลายตำแหน่ง ดังนี้

พ.ศ. 2437 เป็นรัฐมนตรี

พ.ศ. 2438 เป็นบรรณารักษ์หอพระสมุดวชิรญาณ ครั้งที่ 1

พ.ศ. 2439 เป็นสาราณียกรหอพระสมุดวชิรญาณ

พ.ศ. 2440 เป็นบรรณารักษ์หอพระสมุดวชิรญาณ ครั้งที่ 2

พ.ศ. 2443 เป็นกรรมการจัดตั้งหอพุทธสาสนสังคหะ

พ.ศ. 2444 เป็นผู้ได้รับเลือกเข้าเป็นผู้บำรุงราชกรีฑาสโมสร

พ.ศ. 2446 เป็นบรรณารักษ์หอพระสมุดวชิรญาณ ครั้งที่ 3

พ.ศ. 2447 เป็นบรรณารักษ์หอพระสมุดวชิรญาณ ครั้งที่ 4 ได้รับเลือกเป็นอนูปถัมภกสยามสมาคม

พ.ศ. 2448 เป็นกรรมการหอพระสมุดวชิรญารเมื่อทรงตั้งเป็นหอสมุดสำหรับพระนคร

พ.ศ. 2451 เป็นกรรมการตรวจกฎหมายลักษณะอาญา

พ.ศ. 2453 เป็นกรรมการสภานายกจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน

พ.ศ. 2457 เป็นกรรมการตรวจโรงเรียนมหาดเล็กหลวง

อนึ่ง พระองค์ทรงมีโอกาสตามเสร็จรัชกาลที่ 5 คราวเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2439 และ 2444 และเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จเยือนทวีปยุโรปในปี พ.ศ. 2440 และพ.ศ. 2450

ภายหลังพ้นจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

เมื่อทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้ 7 วัน ก็ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2458 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีที่ปรึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา เทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ สิ้นพระชนม์ลง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และในปีเดียวกันนั้น ทรงได้รับพระราชทานยศทหารเป็นนายพลเอก ราชองครักษ์พิเศษอีกด้วย

อ้างอิง

  1. ความทรงจำพระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงค้างไว้ 5 ตอน พ.ศ. 2489 หน้า 14.
  2. วงษ์ ช่อวิเชียร. พ.ศ. 2505. “การศึกษาชั้นต้น” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพและงานทางปกครองของพระองค์.พระนคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, หน้าที่ 36.
  3. เรื่องเดียวกัน, หน้า 38.
  4. เรื่องเดียวกัน, หน้า 39.
  5. จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ. 2545. “พระกรณียกิจเมื่อแรกทรงรับราชการ” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับกระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ : มติชน , หน้า 33-34.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

มูลนิธิสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดา. 2530.ความทรงจำ พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงค้างไว้ 5 ตอน พ.ศ. 2489.

จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ. 2545. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับ กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มติชน : ครั้งที่ 3.

วงษ์ ช่อวิเชียร. 2505. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และงานทางปกครองของ พระองค์. พระนคร. โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมมหาดไทย.

ศิริพงษ์ บุญราศี. 2544. พระชีวประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับงานปกครอง .กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น.

บรรณานุกรม

มูลนิธิสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดา. 2530.ความทรงจำ พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงค้างไว้ 5 ตอน พ.ศ. 2489.

จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ. 2545. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับ กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มติชน : ครั้งที่ 3.

วงษ์ ช่อวิเชียร. 2505. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และงานทางปกครองของพระองค์. พระนคร. โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมมหาดไทย.

ศิริพงษ์ บุญราศี. 2544. พระชีวประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับงานปกครอง .กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น.