ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสร้างความปรองดองแห่งชาติ: กรณีศึกษาไอร์แลนด์เหนือ สหราชอาณาจักร (ตอนที่ 3)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 88: | บรรทัดที่ 88: | ||
'''รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์''' | '''รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์''' | ||
1. Alex Maskey – สมาชิกสสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค SF และกรรมการกำกับดูแลกิจการตำรวจ (Policing Board) ในนามพรรค | 1. '''Alex Maskey''' – สมาชิกสสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค SF และกรรมการกำกับดูแลกิจการตำรวจ (Policing Board) ในนามพรรค | ||
2. David Stitt – อดีตหัวหน้ากองกำลังย่อยกลุ่มติดอาวุธ UDA ของฝ่าย Loyalist | 2. '''David Stitt''' – อดีตหัวหน้ากองกำลังย่อยกลุ่มติดอาวุธ UDA ของฝ่าย Loyalist | ||
3. Evelyn Glenholmes – แกนนำพรรค SF เป็นลูกและหลานของอดีตสมาชิก IRA และได้เข้าร่วม IRA ตั้งแต่อายุ 13 ปี ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนอังกฤษว่า “นางฟ้าแห่งความตาย” (Angle of Death) | 3. '''Evelyn Glenholmes''' – แกนนำพรรค SF เป็นลูกและหลานของอดีตสมาชิก IRA และได้เข้าร่วม IRA ตั้งแต่อายุ 13 ปี ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนอังกฤษว่า “นางฟ้าแห่งความตาย” (Angle of Death) | ||
4. Ian White – ผู้อำนวยการ Glencree Center for Peace and Reconciliation ซึ่งเคยมีบทบาทเป็นผู้เชื่อมประสานให้เกิดการพูดคุยระหว่างฝ่าย Unionist และฝ่าย Nationalist ในระดับชุมชน | 4. '''Ian White''' – ผู้อำนวยการ Glencree Center for Peace and Reconciliation ซึ่งเคยมีบทบาทเป็นผู้เชื่อมประสานให้เกิดการพูดคุยระหว่างฝ่าย Unionist และฝ่าย Nationalist ในระดับชุมชน | ||
5. Jeffrey Donaldson – สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค DUP/ อดีตคณะผู้เจรจาของพรรค DUP ในกระบวนการสันติภาพเมื่อปี 2541 | 5. '''Jeffrey Donaldson''' – สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค DUP/ อดีตคณะผู้เจรจาของพรรค DUP ในกระบวนการสันติภาพเมื่อปี 2541 | ||
6. Jimmy Spratt – สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค DUP และกรรมการกำกับดูแลกิจการตำรวจ (Policing Board) ในนามพรรค | 6.''' Jimmy Spratt''' – สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค DUP และกรรมการกำกับดูแลกิจการตำรวจ (Policing Board) ในนามพรรค | ||
7. Lynne Knox – จ่าตำรวจประจำสำนักงานตำรวจไอร์แลนด์เหนือ | 7. '''Lynne Knox''' – จ่าตำรวจประจำสำนักงานตำรวจไอร์แลนด์เหนือ | ||
8. Martin Magill (Rev.) – บาทหลวงนิกายคาทอลิกประจำ St Oliver Plunkett Parish เบลฟาสต์ตะวันตก | 8. '''Martin Magill (Rev.)''' – บาทหลวงนิกายคาทอลิกประจำ St Oliver Plunkett Parish เบลฟาสต์ตะวันตก | ||
9. Michael | 9. '''Michael Culber'''t – ผู้อำนวยการคอยส์เต้ (Coiste) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ช่วยเหลือดูแลอดีตนักโทษการเมืองในการกลับคืนสู่สังคม/ เป็นอดีตสมาชิกกลุ่มขบวนการIRA และเป็นอดีตนักโทษการเมืองที่ถูกทางการอังกฤษตัดสินจำคุก 16 ปี | ||
10. Paul Arthur – ศาสตราจารย์ด้านสันติภาพและความขัดแย้ง มหาวิทยาลัย Ulster | 10. '''Paul Arthur''' – ศาสตราจารย์ด้านสันติภาพและความขัดแย้ง มหาวิทยาลัย Ulster | ||
11. Paul Moran – สารวัตรประจำสำนักงานตำรวจไอร์แลนด์เหนือ | 11. '''Paul Moran –''' สารวัตรประจำสำนักงานตำรวจไอร์แลนด์เหนือ | ||
12. Peter Robinson – หัวหน้าคณะผู้บริหารไอร์แลนด์เหนือ (First Minister) | 12. '''Peter Robinson''' – หัวหน้าคณะผู้บริหารไอร์แลนด์เหนือ (First Minister) | ||
13. Vikki Nelson – ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว Jimmy Spratt สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือพรรค DUP | 13. '''Vikki Nelson''' – ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว Jimmy Spratt สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือพรรค DUP | ||
[[หมวดหมู่: กรณีศึกษาการเสริมสร้างสังคมสันติสุข]] | [[หมวดหมู่: กรณีศึกษาการเสริมสร้างสังคมสันติสุข]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:13, 20 พฤษภาคม 2557
เรียบเรียงโดย : นายเมธัส อนุวัตรอุดม ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : พลเอก เอกชัย ศรีวิลาส
3. กรอบคิดในการสร้างความปรองดองแห่งชาติ
จากการศึกษากระบวนการสร้างความปรองดองในไอร์แลนด์เหนือที่กล่าวมานั้น พบว่าผู้เกี่ยวข้องต่างๆได้มีกรอบคิดหลักร่วมกันในการที่จะทำให้กระบวนการสามารถเกิดขึ้นและดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ดังต่อไปนี้
3.1 ปฏิเสธความรุนแรงและใช้กระบวนการประชาธิปไตยในการบริหารจัดการความขัดแย้ง
คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องที่จะยึดมั่นในกระบวนการประชาธิปไตยเพื่อใช้ในการแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆระหว่างกันโดยไม่ใช้ความรุนแรงตามกติกาประชาธิปไตย ซึ่งได้ตกลงกันใน Mitchell Principle ถือเป็นการแยกความขัดแย้งกับความรุนแรงออกจากกัน (Ian White, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) ซึ่ง Jeffrey Donaldson (สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์) ได้ย้ำว่าหลักการดังกล่าวถือเป็นรากฐานของการเจรจาไม่เฉพาะในไอร์แลนด์เหนือนี้เท่านั้น แต่ต้องถือเป็นรากฐานของการเจรจาในทุกที่ ซึ่งทุกฝ่ายในกระบวนการเจรจาจะต้องยึดมั่นว่าจะไม่ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือต่อรองหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยต้องยอมรับในกติกาประชาธิปไตย
ในขณะที่ต่างฝ่ายต่างยังคงยึดมั่นในเป้าหมายของตนเองที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันนั้น สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายเปลี่ยนแปลงก็คือวิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมาย กล่าวคือในขณะที่ฝ่ายโปรเตสแตนท์ยังต้องการที่จะให้ไอร์แลนด์เหนือเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรต่อไป และฝ่ายคาทอลิกก็ยังคงต้องการที่จะแยกไอร์แลนด์เหนือออกไปรวมกับประเทศไอร์แลนด์ในอนาคต ทั้งสองฝ่ายตกลงใจที่จะปฏิเสธความรุนแรง และยึดถือเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ (Principle of Consent) เป็นเครื่องตัดสินหากจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะทางการเมืองของไอร์แลนด์เหนือในอนาคต
เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเห็นต่างและความขัดแย้งจึงจะยังคงดำรงอยู่ต่อไปในไอร์แลนด์เหนือโดยที่แต่ละฝ่ายไม่ต้องละทิ้งความเชื่อของตัวเอง แต่สิ่งที่แตกต่างไปจากอดีตคือความรุนแรงได้ยุติลง โดยที่ทั้งสองฝ่ายต่างเรียนรู้ที่จะบริหารจัดการความขัดแย้งร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ด้วยหลักการประชาธิปไตยและกลไกทางการเมืองที่ยอมรับร่วมกัน อันจะป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ขยายตัวเป็นความรุนแรงอีก การใช้สันติวิธีจึงไม่ได้หมายความว่าต้องยอมล้มเลิกอุดมการณ์หรือความเชื่อของตนเอง หากแต่หมายถึงการเดินตามความเชื่อของตนโดยไม่ใช้ความรุนแรง
กรอบความคิดที่ทุกกลุ่มเห็นร่วมกันนี้นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นการกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกัน ส่งผลให้กระบวนการเจรจาที่เกิดขึ้นมีความชอบธรรมในสายตาของทุกพรรคการเมือง ถือเป็นกรอบที่ควบคุมทิศทางการแก้ไขปัญหาให้อยู่ในแนวทางสันติวิธี และทำให้สังคมโดยรวมมีเจตจำนงที่ชัดเจนร่วมกันว่าการใช้ความรุนแรงต่อจากนี้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดถือว่าไม่มีความชอบธรรมอีกต่อไป
3.2 แบ่งอำนาจ (Power Sharing) เสมอภาค เท่าเทียม
ทั้งสองฝ่ายต่างตระหนักถึงการดำรงอยู่อย่างเสมอภาคของกันและกัน โดยไม่มีฝ่ายใดถูกกดขี่หรือเลือกปฏิบัติ ความสัมพันธ์ใดๆที่จะเกิดขึ้นได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน กรอบคิดดังกล่าวได้ทำให้ฝ่ายไอริชคาทอลิกยินยอมที่จะเข้าร่วมการพูดคุยเจรจาและหาทางอยู่ร่วมกันอย่างสันติในอนาคต และการพิจารณาตกลงใจในเนื้อหาสาระใดๆก็ได้คำนึงถึงประเด็นดังกล่าวเป็นสำคัญในอันที่จะพยายามปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างและกลไกให้เอื้อต่อการสร้างความเป็นธรรมในเกิดขึ้นในสังคม
ดังจะเห็นได้จากโครงสร้างทางการเมืองการปกครองทึ่ยึดหลักการแบ่งอำนาจเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมและสามารถเข้าถึงการใช้อำนาจทางการเมืองตามกติกาที่ยอมรับร่วมกัน โดยที่ผู้บริหารทั้งสองคนจะต้องใช้หลักความเห็นร่วมกันในการตัดสินใจ และการปฏิรูปองค์กรตำรวจซึ่งถูกมองว่ามีส่วนรับผิดชอบอย่างยิ่งต่อความไม่เป็นธรรมในอดีตก็เป็นความพยายามครั้งสำคัญในการสร้างความยุติธรรมในสังคม
สิ่งสำคัญที่จะทำให้สันติภาพเกิดขึ้นได้คือคู่ขัดแย้งจะต้องสามารถทำงานด้วยกันได้ในฐานะที่เท่าเทียมกัน ต้องใช้อำนาจร่วมกันโดยไม่มีใครที่จะใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบเพื่อเอาเปรียบอีกฝ่าย ไม่กดทับความรู้สึกหรือบีบบังคับให้เปลี่ยนความเชื่อของกันและกัน ซึ่งบรรยากาศเหล่านี้ได้ลดความรู้สึกไม่เป็นมิตรกันระหว่างชุมชนลงไป และเปิดทางสู่การสร้างความสมานฉันท์อย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ในอนาคต (Alex Maskey, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์)
3.3 เปิดเผยความจริง ยอมรับผิด เดินหน้าต่อ
ในอดีตที่ความจริงยังไม่ปรากฏนั้น ผู้คนที่คับข้องใจต่างก็มีปฏิกิริยาที่แตกต่างกันไป บ้างก็ใช้ความรุนแรงตอบโต้ บ้างก็รู้สึกว่าตนไร้อำนาจ ทำอะไรไม่ได้และยอมจำนนต่อสิ่งที่เกิดขึ้น อดีตเป็นปัจจัยกำหนดอนาคต เราจึงต้องมีกระบวนการจัดการกับเหตุการณ์ต่างๆในอดีตให้ดี เพื่อให้ผู้คนที่ประสบกับเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้มีทางเลือกสำหรับการเดินหน้าต่อไปในอนาคต
ดังนั้น หากต้องการจะสร้างความสมานฉันท์ปรองดอง รัฐบาลจะต้องไม่ปฏิเสธความยุติธรรม ไม่หนีความจริง โดยจะต้องค้นหาสาเหตุและเปิดเผยความจริงของเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนและความยุติธรรมของสังคม และเมื่อมีการเปิดเผยความจริงและผู้ได้รับผลกระทบรู้สึกว่าผู้กระทำได้ยอมรับผิดอย่างจริงใจต่อการกระทำนั้นแล้ว ก็จำเป็นจะต้องมีหลักประกันแก่ผู้คนในสังคมว่าการกระทำเช่นนั้นจะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต
กรณีของไอร์แลนด์เหนือนั้น ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ต่างยึดหลักการเปิดเผยความจริง ยอมรับผิด และเดินหน้าต่อโดยไม่ได้มีการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ ดังเช่นในเหตุการณ์ Blood Sunday ซึ่งความจริงได้ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงเสียชีวิต โดยรัฐบาลอังกฤษได้ออกมายอมรับผิดและ ขอโทษชาวไอริชคาทอลิกต่อการกระทำดังกล่าว ซึ่งชาวไอริชก็รู้สึกถึงความจริงใจของรัฐบาลและยอมรับคำ ขอโทษดังกล่าว (Ian White, สัมภาษณ์, 26 กุมภาพันธ์ 2554, วิคโลว์) หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีการนำผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำครั้งนั้นมาลงโทษ สอดคล้องกับหลักการนิรโทษกรรมแก่กลุ่ม IRA ก่อนหน้านี้ โดยที่สังคมส่วนใหญ่ก็ให้การยอมรับในแนวทางนี้
อนึ่ง การที่คู่ขัดแย้งจะแก้ไขปัญหาได้ก็จะต้องมีจุดร่วมที่เป็นทางออกร่วมกัน ซึ่งจุดร่วมดังกล่าวโดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นลักษณะของสังคมในอนาคตที่คู่ขัดแย้งเห็นร่วมกัน มีคำตอบร่วมกันว่าอนาคตของประเทศจะมีหน้าตาอย่างไรและจะร่วมกันสร้างอนาคตนั้นได้อย่างไร (A Shared Future) แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าสำหรับกรณีของไอร์แลนด์เหนือนั้น คู่ขัดแย้งยังคงไม่มีภาพอนาคตร่วมกัน กล่าวคือยังไม่มีคำตอบว่าสถานะของไอร์แลนด์เหนือจะเป็นอย่างไรในอนาคตเนื่องจากยังตกลงกันไม่ได้ และความขัดแย้งแตกต่างระหว่างทั้งสองฝ่ายก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีทางเดินมาบรรจบกันได้ (Shirlow and McEvoy, 2008) หากแต่มีภาพของกระบวนการร่วมกันว่าจะบริหารจัดการความขัดแย้งที่ไม่มีวันหายไปได้อย่างไรในอนาคต สังคมที่ความขัดแย้งยังดำรงอยู่แบบหยั่งรากลึกจึงเดินหน้าต่อไปได้ด้วยกติกาที่ยอมรับตรงกัน
บรรณานุกรม
เอกสารภาษาอังกฤษ
Anglo-Irish Agreement. 1985. http://cain.ulst.ac.uk/events/aia/aiadoc.htm (December 13, 2011).
Beresford, David. 1994. Ten Men Dead: The Story of the 1981 Irish Hunger Strike. London: HarperCollins.
Collins, Eamon. 1997. Killing Rage. London: Granta Books.
Dixon, Paul. 2008. Northern Ireland: The Politics of War and Peace. 2nd Edition. Basingstoke: Palgave Macmillan.
Doherty, Paul. 2000. “The Northern Ireland Peace Process: A Solution to the Problems of an Ethnically Divided Society?” The Brown Journal of World Affairs Volume VII, Issue 1 (Winter/Spring): 49-62.
Family Support Center. 2010. “Set the Truth Free.” Family Support Center. http://www.bloodysundaytrust.org/bsi/BSI-media-pack-pdf.pdf (December 13, 2011).
Farrington, Christopher. 2008. “Introduction: Political Change in a Divided Society – The Implementation of the Belfast Agreement.” In Global Change, Civil Society and the Northern Ireland Peace Process: Implementing the Political Settlement, ed. Christopher Farrington. New York: Palgrave Macmillan.
Goodall, David. 1993. “The Irish Question.” Ampleforth Journal vol.XCVIII Part I (Spring).
Guelke, Adrian. 2008. “The Lure of the Miracle? The South African Connection and the Northern Ireland Peace Process.” In Global Change, Civil Society and the Northern Ireland Peace Process: Implementing the Political Settlement, ed. Christopher Farrington. New York: Palgrave Macmillan.
Howe, Geoffrey. 1994. Conflict of Loyalty. London: Pan.
Idoiaga, Gorka Espiau. 2010. “The Peace Processes in the Basque Country and Northern Ireland (1994-2006): a Comparative Approach.” Working Papers 2010/03. Institut Catala Internacional Per la Pau. http://www20.gencat.cat/docs/icip/Continguts/Publicacions/WorkingPapers/Arxius/WP10_3_ANG.pdf (December 13, 2011).
Lodge, Tom. 2009. “Northern Ireland: between Peace and Reconciliation.” OpenDemocracy. http://www.opendemocracy.net/article/northern-ireland-between-peace-and-reconciliation (December 13, 2011).
Major, John. 1999. John Major: The Autobiography. London: HarperCollins.
Mitchell, George J., John de Chastelain, and Harri Holkeri. 1996. Report of the International Body on Arms Decommissioning, 22 January 1996. Conflict Archive on the Internet, University of Ulster. http://cain.ulst.ac.uk/events/peace/docs/gm24196.htm (December 13, 2011).
Moloney, Ed. 2007. A Secret History of the IRA. 2nd Edition. London: Penguin Books.
Powell, Jonathan. 2009. Great Hatred, Little Room: Making Peace in Northern Ireland. London: Vintage Books.
Saville of Newdigate, William L. Hoyt, and John L. Toohey. 2010. Report of the Bloody Sunday Inquiry. National Archive. http://webarchive.nationalarchives.gov.uk/20101103103930/http://bloody-sunday-inquiry.org/ (December 13, 2011).
Shirlow, Peter, and Kieran McEvoy. Beyond the Wire: Former Prisoners and Conflict Transformation in Northern Ireland. London: Pluto Press.
Sunningdale Agreement. 1973. http://cain.ulst.ac.uk/events/sunningdale/agreement.htm (December 13, 2011).
Taylor, Peter. 2000. Loyalists. London: Bloomsbury.
Thatcher, Margaret. 1993. Downing Street Years. London: HarperCollins.
The Agreement. 1998. http://cain.ulst.ac.uk/events/peace/docs/agreement.htm (December 13, 2011).
Wichert, Sabine. 1999. Northern Ireland since 1945. 2nd Edition. New York: Longman.
Widgery. 1972. Report of the Tribunal appointed to inquire into the events on Sunday, 30th January 1972. Conflict Archive on the Internet, University of Ulster. http://cain.ulst.ac.uk/hmso/widgery.htm (December 13, 2011).
รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์
1. Alex Maskey – สมาชิกสสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค SF และกรรมการกำกับดูแลกิจการตำรวจ (Policing Board) ในนามพรรค
2. David Stitt – อดีตหัวหน้ากองกำลังย่อยกลุ่มติดอาวุธ UDA ของฝ่าย Loyalist
3. Evelyn Glenholmes – แกนนำพรรค SF เป็นลูกและหลานของอดีตสมาชิก IRA และได้เข้าร่วม IRA ตั้งแต่อายุ 13 ปี ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนอังกฤษว่า “นางฟ้าแห่งความตาย” (Angle of Death)
4. Ian White – ผู้อำนวยการ Glencree Center for Peace and Reconciliation ซึ่งเคยมีบทบาทเป็นผู้เชื่อมประสานให้เกิดการพูดคุยระหว่างฝ่าย Unionist และฝ่าย Nationalist ในระดับชุมชน
5. Jeffrey Donaldson – สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค DUP/ อดีตคณะผู้เจรจาของพรรค DUP ในกระบวนการสันติภาพเมื่อปี 2541
6. Jimmy Spratt – สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค DUP และกรรมการกำกับดูแลกิจการตำรวจ (Policing Board) ในนามพรรค
7. Lynne Knox – จ่าตำรวจประจำสำนักงานตำรวจไอร์แลนด์เหนือ
8. Martin Magill (Rev.) – บาทหลวงนิกายคาทอลิกประจำ St Oliver Plunkett Parish เบลฟาสต์ตะวันตก
9. Michael Culbert – ผู้อำนวยการคอยส์เต้ (Coiste) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ช่วยเหลือดูแลอดีตนักโทษการเมืองในการกลับคืนสู่สังคม/ เป็นอดีตสมาชิกกลุ่มขบวนการIRA และเป็นอดีตนักโทษการเมืองที่ถูกทางการอังกฤษตัดสินจำคุก 16 ปี
10. Paul Arthur – ศาสตราจารย์ด้านสันติภาพและความขัดแย้ง มหาวิทยาลัย Ulster
11. Paul Moran – สารวัตรประจำสำนักงานตำรวจไอร์แลนด์เหนือ
12. Peter Robinson – หัวหน้าคณะผู้บริหารไอร์แลนด์เหนือ (First Minister)
13. Vikki Nelson – ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว Jimmy Spratt สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือพรรค DUP