ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหรียญที่ระลึกในงานฉลองพระนคร 150 ปี สำหรับข้าราชการ"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอ... |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.0 เซนติเมตร | เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.0 เซนติเมตร | ||
เป็นเหรียญกลม แบน มีห่วงสำหรับร้อยแพรแถบสีเขียว กลางเป็นรุ้งสีเหลือง ด้านหน้าแสดงพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสองรัชกาลเหลื่อมกัน คือ รัชกาลปฐม (รัชกาลที่ 1 | เป็นเหรียญกลม แบน มีห่วงสำหรับร้อยแพรแถบสีเขียว กลางเป็นรุ้งสีเหลือง ด้านหน้าแสดงพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสองรัชกาลเหลื่อมกัน คือ รัชกาลปฐม (รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 7) ซ้อนกัน พระบรมรูปรัชกาลที่ 1 อยู่เยื้องด้านในไม่ทรงฉลองพระองค์ รัชกาลที่ 7 ทรงเครื่องแบบจอมพลแบบสนามอยู่ด้านนอก ขอบเหรียญมีอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลปฐมว่า พระพุทธยอดฟ้า และพระปกเกล้า ด้านหลังในวงลายขอบเป็นกลีบบัว มีอักษรบอกงานและศักราชเริ่มสร้างถึงปัจจุบันว่า เฉลิมพระนครร้อยห้าสิบปี พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๔๗๕ | ||
== ประวัติความเป็นมา == | == ประวัติความเป็นมา == | ||
เมื่อ พ.ศ. 2469 | เมื่อ พ.ศ. 2469 [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ได้ทรงพระราชดำริว่า พระราชพิธีฉลองพระนครหรือสมโภชพระนครนี้เคยกระทำกันมาแล้ว 2 ครั้ง คือ สมโภชเมื่อแรกสร้างพระนครเสร็จในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]ครั้งหนึ่ง สมโภชพระนครครบรอบ 100 ปี พ.ศ. 2425 ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]อีกครั้งหนึ่ง ครั้นถึงรัชกาลของพระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีฉลองพระนครขึ้นใน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวาระที่[[กรุงเทพมหานคร]]มีอายุครบ 150 ปี ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ได้ปฏิบัติกันสืบมา ทรงพระราชดำริเห็นว่าควรสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นเป็นอนุสรณ์ในงานนี้ และเห็นว่าไม่มีสิ่งใดดีกว่าการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ผู้ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร ประดิษฐานพระบรม[[ราชวงศ์จักรี]] ทั้งได้พระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ไพร่ฟ้าโดยทั่วหน้ากัน ถ้า[[รัฐบาล]]และประชาชนพร้อมใจกันสร้างอุทิศถวายสนองพระเดชพระคุณดังกล่าวก็จะเป็นสิริมงคลแก่ชนทั้งปวง ในงานเฉลิมฉลองพระนครครบร้อยห้าสิบปีในครั้งนั้น มีการประกาศบอกบุญเรี่ยไรสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ (ซึ่งเป็นพระราชดำริของพระองค์ตั้งแต่ พ.ศ. 2470 อันเป็นปีที่ 2 ของการเสวยราชสมบัติ ) | ||
อนึ่ง ในการบอกบุญเรี่ยไรการสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์นั้น มีพระราชดำริที่จะจัดทำสิ่งตอบแทนน้ำใจผู้บริจาค จึงโปรดเกล้าฯ | อนึ่ง ในการบอกบุญเรี่ยไรการสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์นั้น มีพระราชดำริที่จะจัดทำสิ่งตอบแทนน้ำใจผู้บริจาค จึงโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]]ทรงออกแบบสร้างเหรียญที่ระลึกในพิธีฉลองพระนคร (Commemoration medal) สำหรับพระราชทานแก่ข้าราชการเพื่อประดับอย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ <ref> กรมศิลปากร , พระราชพิธีสมโภชพระนครครบ 150 ปี ,(กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2525).</ref> | ||
== การพระราชทาน == | == การพระราชทาน == | ||
บรรทัดที่ 45: | บรรทัดที่ 45: | ||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== | ||
<references/> | <references/> | ||
[[หมวดหมู่:วัตถุชิ้นเอก]] | [[หมวดหมู่:วัตถุชิ้นเอก|หเหรียญที่ระลึกในงานฉลองพระนคร 150 ปี สำหรับข้าราชการ]] | ||
[[หมวดหมู่:พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|ห]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:46, 6 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลักษณะ
กะไหล่ทอง
เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.0 เซนติเมตร
เป็นเหรียญกลม แบน มีห่วงสำหรับร้อยแพรแถบสีเขียว กลางเป็นรุ้งสีเหลือง ด้านหน้าแสดงพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสองรัชกาลเหลื่อมกัน คือ รัชกาลปฐม (รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 7) ซ้อนกัน พระบรมรูปรัชกาลที่ 1 อยู่เยื้องด้านในไม่ทรงฉลองพระองค์ รัชกาลที่ 7 ทรงเครื่องแบบจอมพลแบบสนามอยู่ด้านนอก ขอบเหรียญมีอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลปฐมว่า พระพุทธยอดฟ้า และพระปกเกล้า ด้านหลังในวงลายขอบเป็นกลีบบัว มีอักษรบอกงานและศักราชเริ่มสร้างถึงปัจจุบันว่า เฉลิมพระนครร้อยห้าสิบปี พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๔๗๕
ประวัติความเป็นมา
เมื่อ พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำริว่า พระราชพิธีฉลองพระนครหรือสมโภชพระนครนี้เคยกระทำกันมาแล้ว 2 ครั้ง คือ สมโภชเมื่อแรกสร้างพระนครเสร็จในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกครั้งหนึ่ง สมโภชพระนครครบรอบ 100 ปี พ.ศ. 2425 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกครั้งหนึ่ง ครั้นถึงรัชกาลของพระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีฉลองพระนครขึ้นใน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวาระที่กรุงเทพมหานครมีอายุครบ 150 ปี ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ได้ปฏิบัติกันสืบมา ทรงพระราชดำริเห็นว่าควรสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นเป็นอนุสรณ์ในงานนี้ และเห็นว่าไม่มีสิ่งใดดีกว่าการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ผู้ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร ประดิษฐานพระบรมราชวงศ์จักรี ทั้งได้พระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ไพร่ฟ้าโดยทั่วหน้ากัน ถ้ารัฐบาลและประชาชนพร้อมใจกันสร้างอุทิศถวายสนองพระเดชพระคุณดังกล่าวก็จะเป็นสิริมงคลแก่ชนทั้งปวง ในงานเฉลิมฉลองพระนครครบร้อยห้าสิบปีในครั้งนั้น มีการประกาศบอกบุญเรี่ยไรสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ (ซึ่งเป็นพระราชดำริของพระองค์ตั้งแต่ พ.ศ. 2470 อันเป็นปีที่ 2 ของการเสวยราชสมบัติ )
อนึ่ง ในการบอกบุญเรี่ยไรการสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์นั้น มีพระราชดำริที่จะจัดทำสิ่งตอบแทนน้ำใจผู้บริจาค จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงออกแบบสร้างเหรียญที่ระลึกในพิธีฉลองพระนคร (Commemoration medal) สำหรับพระราชทานแก่ข้าราชการเพื่อประดับอย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ [1]
การพระราชทาน
เหรียญกะไหล่ทอง
1. พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป
2. ข้าราชการฝ่ายหน้าชั้นนายพลและมหาอำมาตย์
3. ข้าราชการฝ่ายในและสตรีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่ชั้นที่ได้รับพระราชทานตราทุติย-จุลจอมเกล้า
เหรียญกะไหล่เงิน
1. หม่อมราชตระกูลและหม่อมราชวงศ์เฉพาะที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเบี้ยหวัด
2. ข้าราชการฝ่ายหน้า ตั้งแต่ชั้นยศอำมาตย์เอกลงไปจนถึงราชบุรุษ และขุนหมื่น
ประทวนกับข้าหลวงน้อยชั้นเจ้ากรมปลัด กรมสมุหบัญชี เฉพาะที่มีบรรดาศักดิ์
3. ข้าราชการฝ่ายในชั้นต่ำกว่าที่ได้รับพระราชทานตราทุติยจุลจอมเกล้าลงไปจนถึงชั้นพนักงานที่ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด และสตรีบรรดาศักดิ์เพียงชั้นที่ได้รับพระราชทานเหรียญ รัตนาภรณ์
4. นักเรียนนายร้อยทหารบก นักเรียนนายเรือ และนายช่างกล
สำหรับชาวต่างประเทศซึ่งเป็นข้าราชการที่ได้รับพระราชทาน ให้เจ้ากระทรวงเทียบกับตำแหน่งข้าราชการไทย ข้าราชการนอกตำแหน่งที่ได้รับพระราชทานบำนาญอนุโลมอย่างผู้ที่อยู่ในตำแหน่ง[2]