ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตาลปัตรพัดรองที่ระลึกงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 7"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
36.3 X 94.5 เซนติเมตร | 36.3 X 94.5 เซนติเมตร | ||
เป็นพัดหน้านาง พื้นเขียว ทำด้วยผ้าแพร | เป็นพัดหน้านาง พื้นเขียว ทำด้วยผ้าแพร ใจกลางพัดปักไหมเป็นภาพ[[พระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 7|พระราชลัญจกร]]ใน[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 7 เป็นรูปพระแสงศร 3 องค์ ประกอบด้วยพระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต และพระแสงศรอัคนีวาต อันเป็นราชศาตราวุธของพระราม ซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์ รอบขอบพัดปักอักษรข้อความ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว บรมราชาภิเษก ๒๔๖๘ นมพัดทำด้วยทองเหลืองรูปกลีบบัว ด้ามไม้ คอ และส้นพัดเป็นทองเหลือง | ||
== ประวัติความเป็นมา == | == ประวัติความเป็นมา == | ||
ตาลปัตรพัดรองบรมราชาภิเษกเล่มนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ | ตาลปัตรพัดรองบรมราชาภิเษกเล่มนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]]ทรงออกแบบและสร้างขึ้นจำนวน 80 เล่ม เพื่อเป็นที่ระลึกในงาน[[พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]]เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 และถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ที่นิมนต์เข้ามาร่วมในพระราชพิธีจำนวน 80 รูป <ref>สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.7 ศ. 15/4 พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2468.</ref> | ||
“ตาลปัตร” หมายถึง พัดที่ทำด้วยใบตาล คำว่า “พัด” เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องโบกหรือกระพือลม ภาษาบาลีเรียกว่า “วิชนี” ภาษาไทยอาจแปลงเป็น “พัชนี” และต่อมาคงเรียกให้สั้นลงเหลือเพียง “พัช” โดยออกเสียงว่า “พัด” ซึ่งคำนี้คงมีการเรียกกันจนลืมต้นศัพท์ไป | “ตาลปัตร” หมายถึง พัดที่ทำด้วยใบตาล คำว่า “พัด” เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องโบกหรือกระพือลม ภาษาบาลีเรียกว่า “วิชนี” ภาษาไทยอาจแปลงเป็น “พัชนี” และต่อมาคงเรียกให้สั้นลงเหลือเพียง “พัช” โดยออกเสียงว่า “พัด” ซึ่งคำนี้คงมีการเรียกกันจนลืมต้นศัพท์ไป | ||
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ | สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]จนถึงต้นรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระสงฆ์ไทยนิยมถือพัดวิชนีที่มีลักษณะรูปรีงองุ้มคล้ายจวักและใช้ถือแทนตาลปัตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรดรูปลักษณะของพัดแบบนี้ว่ารูปร่างไม่เป็นมงคล คล้ายจวักที่ใช้ตักแกง จึงทรงคิดดัดแปลงตาลปัตรให้มีรูปกลมมนคล้ายพัดใบตาล แต่ทำโครงขึ้นด้วยไม้ แล้วใช้ผ้าแพรอย่างดีคลุมทั้งสองด้าน ขลิบด้วยผ้าโหมด โปรดให้ใช้แทนตาลปัตรรูปงอแบบเดิม เรียกว่า “พัดรอง” <ref>ณัฎฐภัทร จันทวิช, ตาลปัตรพัดยศ ศิลปบนศาสนวัตถุ, (กรุงเทพฯ : ริเวอร์บุ๊ค, 2538), หน้า 127.</ref> | ||
ในเวลาต่อมา “พัดรอง” เริ่มมีวิวัฒนาการมากขึ้น จากแบบที่เรียบง่ายแต่เดิม ได้มีการตกแต่งลายบนผ้าให้งามวิจิตรขึ้น จากหลักฐานพบว่าพัดรองที่เป็นงานปักอย่างสวยงาม | ในเวลาต่อมา “พัดรอง” เริ่มมีวิวัฒนาการมากขึ้น จากแบบที่เรียบง่ายแต่เดิม ได้มีการตกแต่งลายบนผ้าให้งามวิจิตรขึ้น จากหลักฐานพบว่าพัดรองที่เป็นงานปักอย่างสวยงาม มีขึ้นในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นพัดรองของหลวงสั่งมาจากเมืองจีน ลายเป็นอักษร “จ” 3 ตัว อยู่ใต้พระเกี้ยวยอด พระราชทานในงานขึ้นพระที่นั่งวโรภาสพิมาน พระราชวังบางปะอิน แต่หาตัวอย่างไม่ได้สูญหายไปหมดแล้ว พัดรองต่อมาคือ พัดเอราวัณ ซึ่งพระราชทานในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปีระกา พ.ศ. 2416 ก็สั่งมาจากเมืองจีนเหมือนกัน <ref>5 กรมศิลปากร, ตาลปัตร ฝีพระหัตถ์สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์, (กรุงเทพฯ :รุ่งศิลป์การพิมพ์,2530), หน้า 77.</ref> | ||
ต่อมาใน พ.ศ. 2426 การทำพัดรองเริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ส่วนมากมักเป็นการปักดิ้น ปักเลื่อม และมีการตกแต่งด้วยวิธีการต่างๆ ตามความนิยม มีทั้งปักหรือใช้ผ้าทอพิมพ์ลายหรือบุผ้า เป็นต้น นอกจากจะนิยมทำพัดรองในงานมงคล อาทิ งานเฉลิมฉลองพระชนมายุ งานขึ้นพระตำหนักและงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ยังมีในงานอวมงคลด้วย ได้แก่ งานพระเมรุ เป็นต้น | ต่อมาใน พ.ศ. 2426 การทำพัดรองเริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ส่วนมากมักเป็นการปักดิ้น ปักเลื่อม และมีการตกแต่งด้วยวิธีการต่างๆ ตามความนิยม มีทั้งปักหรือใช้ผ้าทอพิมพ์ลายหรือบุผ้า เป็นต้น นอกจากจะนิยมทำพัดรองในงานมงคล อาทิ งานเฉลิมฉลองพระชนมายุ งานขึ้นพระตำหนักและงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ยังมีในงานอวมงคลด้วย ได้แก่ งานพระเมรุ เป็นต้น | ||
บรรทัดที่ 27: | บรรทัดที่ 27: | ||
[[หมวดหมู่:วัตถุชิ้นเอก]] | [[หมวดหมู่:วัตถุชิ้นเอก]] | ||
[[หมวดหมู่:พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:38, 6 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลักษณะ
ผ้าปักไหม
36.3 X 94.5 เซนติเมตร
เป็นพัดหน้านาง พื้นเขียว ทำด้วยผ้าแพร ใจกลางพัดปักไหมเป็นภาพพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เป็นรูปพระแสงศร 3 องค์ ประกอบด้วยพระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต และพระแสงศรอัคนีวาต อันเป็นราชศาตราวุธของพระราม ซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์ รอบขอบพัดปักอักษรข้อความ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว บรมราชาภิเษก ๒๔๖๘ นมพัดทำด้วยทองเหลืองรูปกลีบบัว ด้ามไม้ คอ และส้นพัดเป็นทองเหลือง
ประวัติความเป็นมา
ตาลปัตรพัดรองบรมราชาภิเษกเล่มนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงออกแบบและสร้างขึ้นจำนวน 80 เล่ม เพื่อเป็นที่ระลึกในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 และถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ที่นิมนต์เข้ามาร่วมในพระราชพิธีจำนวน 80 รูป [1]
“ตาลปัตร” หมายถึง พัดที่ทำด้วยใบตาล คำว่า “พัด” เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องโบกหรือกระพือลม ภาษาบาลีเรียกว่า “วิชนี” ภาษาไทยอาจแปลงเป็น “พัชนี” และต่อมาคงเรียกให้สั้นลงเหลือเพียง “พัช” โดยออกเสียงว่า “พัด” ซึ่งคำนี้คงมีการเรียกกันจนลืมต้นศัพท์ไป
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสงฆ์ไทยนิยมถือพัดวิชนีที่มีลักษณะรูปรีงองุ้มคล้ายจวักและใช้ถือแทนตาลปัตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรดรูปลักษณะของพัดแบบนี้ว่ารูปร่างไม่เป็นมงคล คล้ายจวักที่ใช้ตักแกง จึงทรงคิดดัดแปลงตาลปัตรให้มีรูปกลมมนคล้ายพัดใบตาล แต่ทำโครงขึ้นด้วยไม้ แล้วใช้ผ้าแพรอย่างดีคลุมทั้งสองด้าน ขลิบด้วยผ้าโหมด โปรดให้ใช้แทนตาลปัตรรูปงอแบบเดิม เรียกว่า “พัดรอง” [2]
ในเวลาต่อมา “พัดรอง” เริ่มมีวิวัฒนาการมากขึ้น จากแบบที่เรียบง่ายแต่เดิม ได้มีการตกแต่งลายบนผ้าให้งามวิจิตรขึ้น จากหลักฐานพบว่าพัดรองที่เป็นงานปักอย่างสวยงาม มีขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพัดรองของหลวงสั่งมาจากเมืองจีน ลายเป็นอักษร “จ” 3 ตัว อยู่ใต้พระเกี้ยวยอด พระราชทานในงานขึ้นพระที่นั่งวโรภาสพิมาน พระราชวังบางปะอิน แต่หาตัวอย่างไม่ได้สูญหายไปหมดแล้ว พัดรองต่อมาคือ พัดเอราวัณ ซึ่งพระราชทานในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปีระกา พ.ศ. 2416 ก็สั่งมาจากเมืองจีนเหมือนกัน [3]
ต่อมาใน พ.ศ. 2426 การทำพัดรองเริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ส่วนมากมักเป็นการปักดิ้น ปักเลื่อม และมีการตกแต่งด้วยวิธีการต่างๆ ตามความนิยม มีทั้งปักหรือใช้ผ้าทอพิมพ์ลายหรือบุผ้า เป็นต้น นอกจากจะนิยมทำพัดรองในงานมงคล อาทิ งานเฉลิมฉลองพระชนมายุ งานขึ้นพระตำหนักและงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ยังมีในงานอวมงคลด้วย ได้แก่ งานพระเมรุ เป็นต้น