ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อิสระ (พ.ศ. 2512)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | '''ผู้เรียบเรียง''' รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 39: | บรรทัดที่ 39: | ||
[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | [[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | ||
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:26, 4 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคอิสระ (2512)
พรรคอิสระเป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 โดยได้ยื่นจดทะเบียนต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2512 ทะเบียนเลขที่ 13/2512 โดยมีหัวหน้าพรรคคือ นายโกศล ไกรฤกษ์ รองหัวหน้าพรรค 2 คน คือ นายบุญเลิศ ชินวัตร และนางสมพงษ์ อยู่หุ่น เลขาธิการพรรคคือ นายบุญธรรม ชุมดวง รองเลขาธิการพรรคคือ นายเลิศสิน หงษ์แสงไทย กรรมการอำนวยการอื่น ได้แก่ นายสุชน ชามพูนท นายสำรวย ธรรมสุนทรา นายผจญ ผาทอง นายวิชัย โกมลวิชญ์ นายประชา บุญยเนตร นายชาญยุทธ ไชยคำมิ่ง นายประสงค์ เนื่องจำนงค์ นายสุปัน พูลพัฒน์ นายพานิช สัมภวคุปต์ และนายสุธรรม สายศร คำขวัญของพรรคอิสระคือ “ประโยชน์ของชาติเหนือสิ่งอื่นใด”
อุดมการณ์ของพรรคอิสระ
พรรคอิสระจะดำเนินการให้พรรคเป็นพรรคการเมืองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนผู้รักความเป็นไท และจักกระทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์สุขของปวงชน ธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย รักษาและส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรมอันดีงามของชาติ ส่งเสริมหลักการเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของคนไทยทั้งชาติโดยถูกต้องทำนองคลองธรรม ขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคมเพื่อความผาสุกของประชาชส่วนใหญ่ ส่งเสริมเชิดชูพุทธศาสนา และศาสนาอื่น ๆ เคารพเทอดทูนองค์พระมหากษัตริย์ให้เป็นมิ่งขวัญของชาติและประชาชน
นโยบายของพรรคอิสระ
นโยบายทางการเมืองและการปกครอง พรรคอิสระจะธำรงไว้ซึ่งเอกราช เอกภาพ และบูรณภาพแห่งชาติ จะสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะส่งเสริมการศึกษาและการกีฬา โดยสนับสนุนให้รัฐและเอกชนเป็นผู้ดำเนินการโดยทั่วถึง
พรรคอิสระจะส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ และให้มีการกินดีอยู่ดี ส่งเสริมความสามัคคีในหมู่ประชาชน จะส่งเสริมเสรีภาพในทางการเมือง การเศรษฐกิจ การศาสนา และการสังคม ทั้งนี้ภายในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และให้ความร่วมมือทางการเมือง การเศรษฐกิจ การสังคม บรรดาที่ไม่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของพรรคและกฎหมาย แก่บรรดากลุ่มอาชีพ หรือคณะบุคคลอื่นใดที่พรรคเห็นสมควร นโยบายด้านการปกครองท้องถิ่น พรรคอิสระจะสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีการปกครองตนเองในระบอบประชาธิปไตย จะส่งเสริมการจัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อความเป็นประชาธิปไตยขึ้นในท้องถิ่น เพื่อให้บังเกิดความเจริญก้าวหน้าแก่หมู่คณะหรือแก่ท้องถิ่นนั้น ๆ จะดำเนินการจัดตั้งสาขาของพรรคขึ้นในท้องถิ่นต่าง ๆ
นโยบายด้านการต่างประเทศ พรรคอิสระจะส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างประเทศที่รักสันติภาพ และเคารพต่อเอกราชอธิปไตยของประเทศทไย ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ซึ่งมีอยู่ต่อกันอย่างสุจริตใจ จะสนับสนุนองค์การสหประชาชาติและองค์การตัวแทนของสหประชาชาติ ตลอดจนให้ความร่วมมือแก่องค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ดำเนินเพื่อสันติภาพ เพื่อแก้ไขและทำความตกลงในปัญหาข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี เพื่อส่งเสริมและปกป้องหลักสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ
นโยบายด้านสังคม พรรคอิสระจะปรับปรุงมาตรฐานทางเศรษฐกิจและสังคมหรือสหภาพการทำงาน การดำรงชีวิตให้ดีขึ้น และจะให้ความร่วมมือแก่สถาบัน หรือองค์การผู้ใช้แรงงาน หรือพรรคการเมืองที่มีนโยบายสอดคล้องกับนโยบายของพรรค
ที่มา
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 86 ตอนที่ 42 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512, หน้า 1702-1707
เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช, การสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2519
สุจิต บุญบงการ, การพัฒนาการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.