ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดนครปฐม"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 20: บรรทัดที่ 20:
ต่อมาการรายงานข่าวหนังสือพิมพ์ก็ถูกรัฐบาลแทรกแซงโดยสารวัตรแผนกหนังสือพิมพ์ทำหนังสือขอให้งดลงข่าวเฮลิคอปเตร์ตกจน 3 สมาคมสื่อมวลชน คือ สมาคมหนังสือพิมพ์ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ และสมาคมนักข่าวต้องออกมาออกแถลงการณ์คัดค้านหนังสือดังกล่าวเพราะเป็น[[การลิดรอนเสรีภาพ]]การเสนอข่าวเพื่อสาธารณประโยชน์ตามหน้าที่ของหนังสือพิมพ์<ref>ประชาธิปไตย, วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม 2516, หน้า 1.</ref>  ส่วนพนักงานป่าไม้และนักข่าวหนังสือพิมพ์ที่ทำข่าวเรื่องนี้ก็ถูกข่มขู่คุกคามอีกด้วย
ต่อมาการรายงานข่าวหนังสือพิมพ์ก็ถูกรัฐบาลแทรกแซงโดยสารวัตรแผนกหนังสือพิมพ์ทำหนังสือขอให้งดลงข่าวเฮลิคอปเตร์ตกจน 3 สมาคมสื่อมวลชน คือ สมาคมหนังสือพิมพ์ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ และสมาคมนักข่าวต้องออกมาออกแถลงการณ์คัดค้านหนังสือดังกล่าวเพราะเป็น[[การลิดรอนเสรีภาพ]]การเสนอข่าวเพื่อสาธารณประโยชน์ตามหน้าที่ของหนังสือพิมพ์<ref>ประชาธิปไตย, วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม 2516, หน้า 1.</ref>  ส่วนพนักงานป่าไม้และนักข่าวหนังสือพิมพ์ที่ทำข่าวเรื่องนี้ก็ถูกข่มขู่คุกคามอีกด้วย


ในขณะที่[[นายกรัฐมนต]]รี[[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]]ได้ให้สัมภาษณ์ว่าคณะบุคคลที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เครื่องบินตกนั้นตายขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ อันเป็นราชการลับที่เปิดเผยไม่ได้ เนื้อสัตว์ที่อยู่ในเครื่องบินอาจเป็นของที่คนอื่นฝากมา<ref>ประชาธิปไตย, วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2516, หน้า 1, 16.</ref>  ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงการปกป้องคนกระทำผิดของรัฐบาล เพราะผู้นำในขบวนนักล่าสัตว์ซึ่งทำความผิดตาม[[พระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503]] นั้นเป็นบุคคลใกล้ชิดกับรัฐบาล  ซึ่งก็คือ พ.ท. สุภัทร สารสิน ลูกชายนายพจน์ สารสินที่เป็นนายทหารคนสนิทของพลเอกประภาส จารุเสถียร และหลายคนในคณะก็เป็นทหารตำรวจและพ่อค้าที่สนิทสนมกับคนในรัฐบาล  
ในขณะที่[[นายกรัฐมนตรี]][[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]]ได้ให้สัมภาษณ์ว่าคณะบุคคลที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เครื่องบินตกนั้นตายขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ อันเป็นราชการลับที่เปิดเผยไม่ได้ เนื้อสัตว์ที่อยู่ในเครื่องบินอาจเป็นของที่คนอื่นฝากมา<ref>ประชาธิปไตย, วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2516, หน้า 1, 16.</ref>  ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงการปกป้องคนกระทำผิดของรัฐบาล เพราะผู้นำในขบวนนักล่าสัตว์ซึ่งทำความผิดตาม[[พระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503]] นั้นเป็นบุคคลใกล้ชิดกับรัฐบาล  ซึ่งก็คือ พ.ท. สุภัทร สารสิน ลูกชาย[[พจน์ สารสิน|นายพจน์ สารสิน]]ที่เป็นนายทหารคนสนิทของ[[ประภาส จารุเสถียร|พลเอกประภาส จารุเสถียร]] และหลายคนในคณะก็เป็นทหารตำรวจและพ่อค้าที่สนิทสนมกับคนในรัฐบาล  


การวิจารณ์ที่เผ็ดร้อนของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชเห็นว่ากรณีดังกล่าวที่มีการใช้ทรัพย์สินทางราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตนและการละเมิดกฎหมายเป็นการกระทำของคนที่คิดว่าตนอยู่เหนือกฎหมาย จึงเรียกร้องให้รัฐบาลเอาตัวคนทำผิดกฎหมายมาลงโทษ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วรัฐบาลก็อาจสนับสนุนคนทำผิดจนกลายเป็นรัฐบาลที่ไม่รักษากฎหมายบ้านเมือง และไม่เป็นรัฐบาลที่ยืนอยู่ข้างประชาชนซึ่งจะขาดความชอบธรรมในการเป็นรัฐบาล<ref>สยามรัฐ, วันพฤหัสบดีที่ 3  พฤษภาคม 2516, หน้า 5.</ref>  ถือเป็นการเปิดประเด็นโจมตีรัฐบาลในการพยายามปกปิดและบิดเบือนเรื่องราวต่างๆ เพื่อเป็นการปกป้องคนทำผิดของรัฐบาล
การวิจารณ์ที่เผ็ดร้อนของ [[คึกฤทธิ์ ปราโมช|ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช]]เห็นว่ากรณีดังกล่าวที่มีการใช้ทรัพย์สินทางราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตนและการละเมิดกฎหมายเป็นการกระทำของคนที่คิดว่าตนอยู่เหนือกฎหมาย จึงเรียกร้องให้รัฐบาลเอาตัวคนทำผิดกฎหมายมาลงโทษ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วรัฐบาลก็อาจสนับสนุนคนทำผิดจนกลายเป็นรัฐบาลที่ไม่รักษากฎหมายบ้านเมือง และไม่เป็นรัฐบาลที่ยืนอยู่ข้างประชาชนซึ่งจะขาด[[ความชอบธรรม]]ในการเป็นรัฐบาล<ref>สยามรัฐ, วันพฤหัสบดีที่ 3  พฤษภาคม 2516, หน้า 5.</ref>  ถือเป็นการเปิดประเด็นโจมตีรัฐบาลในการพยายามปกปิดและบิดเบือนเรื่องราวต่างๆ เพื่อเป็นการปกป้องคนทำผิดของรัฐบาล


ต่อมาศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีการประชุมหารือต่อกรณีดังกล่าวขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อเวลา 10.00 น. ของวันที่ 6 พฤษภาคม 2516 ที่ประชุมได้รับฟังการบรรยายสรุปของชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างละเอียดถึงเหตุการณ์ดังกล่าวทั้งยังมีภาพถ่ายประกอบด้วย ที่ประชุมจึงพิจาณามีมติให้ศูนย์ฯ ดำเนินการ 8 ข้อ เช่น ให้ออกหนังสือเผยเบื้องหลังทั้งหมด จัดอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ฟ้องร้องผู้ล่าสัตว์ต่อศาล เป็นต้น  นอกจากนี้ยังแถลงเรียกร้องให้รัฐบาลกระทำทุกอย่างเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นรัฐบาลของประชาชนโดยให้ลงโทษผู้กระทำผิดโดยไม่เห็นแก่หน้าผู้ใดทั้งสิ้น<ref>สยามรัฐ,วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม 2516, หน้า16.</ref>  ซึ่งเป็นที่มาของการทำหนังบันทึกลับทุ่งใหญ่ต่อมา และในวันต่อมาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าสิรินธรเทพรัตนสุดาได้โปรดประทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ตำหนิการล่าสัตว์ว่าเป็นการทำลายชีวิตสัตว์ป่า เป็นการทำลายสัมบัติอันมีค่าทางธรรมชาติของประเทศ การใช้เฮลิคอปเตอร์ยิ่งแล้วใหญ่เพราะทหารและตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บตามชายแดนต้องการให้เฮลิคอปเตอร์ไปรับตัวเพื่อช่วยชีวิตให้รอดอย่างมาก<ref>สยามรัฐ,วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม 2516, หน้า1.</ref>  
ต่อมา[[ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย]]ได้จัดให้มีการประชุมหารือต่อกรณีดังกล่าวขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อเวลา 10.00 น. ของวันที่ 6 พฤษภาคม 2516 ที่ประชุมได้รับฟังการบรรยายสรุปของชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างละเอียดถึงเหตุการณ์ดังกล่าวทั้งยังมีภาพถ่ายประกอบด้วย ที่ประชุมจึงมีมติให้ศูนย์ฯ ดำเนินการ 8 ข้อ เช่น ให้ออกหนังสือเผยเบื้องหลังทั้งหมด จัดอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ฟ้องร้องผู้ล่าสัตว์ต่อ[[ศาล]] เป็นต้น  นอกจากนี้ยังแถลงเรียกร้องให้รัฐบาลกระทำทุกอย่างเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นรัฐบาลของประชาชนโดยให้ลงโทษผู้กระทำผิดโดยไม่เห็นแก่หน้าผู้ใดทั้งสิ้น<ref>สยามรัฐ,วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม 2516, หน้า16.</ref>  ซึ่งเป็นที่มาของการทำหนัง[[บันทึกลับทุ่งใหญ่]]ต่อมา และในวันต่อมา[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา]]ได้โปรดประทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ตำหนิการล่าสัตว์ว่าเป็นการทำลายชีวิตสัตว์ป่า เป็นการทำลายสัมบัติอันมีค่าทางธรรมชาติของประเทศ การใช้เฮลิคอปเตอร์ยิ่งแล้วใหญ่เพราะทหารและตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บตามชายแดนต้องการให้เฮลิคอปเตอร์ไปรับตัวเพื่อช่วยชีวิตให้รอดอย่างมาก<ref>สยามรัฐ,วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม 2516, หน้า1.</ref>  


ต่อมาการจัดอภิปรายต่อกรณีล่าสัตว์ทุ่งใหญ่จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2516 ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้เข้าร่วมฟังนับหมื่นคนมีการโจมตีรัฐบาลอย่างดุเดือด หลังจากนั้นในวันที่ 19 พฤษภาคมกระทรวงยุติธรรมก็ได้เชิญนักศึกษา 5 คนคือ นายอรรถ อมรเวชเมธี นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบ นายทองประกอบ ศิริวานิชนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล นายภราดร กัลยาณสันติ์ และนายสมพงษ์ จิรบันดาลสุขนิสิตจุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งนายสวัสดิ์ มิตรานนท์ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้เห็นเหตุการณ์ไปให้ปากคำกับคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาสอบเรื่องนี้<ref>ประชาธิปไตย, วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2516, หน้า 1, 16.</ref>  
ต่อมาการจัดอภิปรายต่อกรณีล่าสัตว์ทุ่งใหญ่จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2516 ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้เข้าร่วมฟังนับหมื่นคนมีการโจมตีรัฐบาลอย่างดุเดือด หลังจากนั้นในวันที่ 19 พฤษภาคม[[กระทรวงยุติธรรม]]ก็ได้เชิญนักศึกษา 5 คนคือ นายอรรถ อมรเวชเมธี นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบ นายทองประกอบ ศิริวานิชนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล นายภราดร กัลยาณสันติ์ และนายสมพงษ์ จิรบันดาลสุขนิสิตจุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งนายสวัสดิ์ มิตรานนท์ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้เห็นเหตุการณ์ไปให้ปากคำกับคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาสอบเรื่องนี้<ref>ประชาธิปไตย, วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2516, หน้า 1, 16.</ref>  
   
   
ดังนั้นศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยจึงร่วมกับชมรมอนุรักษ์ 4 สถาบันดังกล่าวพิมพ์หนังสือ”บันทึกลับจากทุ่งใหญ่”ออกเผยแพร่ ปรากฏว่ามีผู้สนใจแย่งซื้อจน 5,000 เล่มหมดภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง และจากข้อความในหนังสือเล่มนี้ที่เขียนว่า” ด้วยสถานการณ์ในทุ่งใหญ่ยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ จึงเสนอต่ออายุการทำงานของกระทิงจ่าฝูงเป็นเวลาอีก 1 ปีกระทิง”  จากสภารักษาความปลอดภัยแห่งชาติกระทิงซึ่งเป็นการล้อเลียนจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดเกษียณอายุเมื่อต้นปี 2516 แต่สภากลาโหมมีมติให้ต่ออายุราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดไปอีก 1 ปี โดยอ้างว่าสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ และยังกลายเป็นชนวนให้เกิดเหตุการณ์ประท้วงที่รามคำแหงในเดือนมิถุนายน เมื่อนักศึกษาเอาข้อความคล้ายกันนี้ไปใส่ในหนังสือจนถูกลบชื่อออกจากนักศึกษา
ดังนั้นศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยจึงร่วมกับชมรมอนุรักษ์ 4 สถาบันดังกล่าวพิมพ์หนังสือ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ออกเผยแพร่ ปรากฏว่ามีผู้สนใจแย่งซื้อจน 5,000 เล่มหมดภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง และจากข้อความในหนังสือเล่มนี้ที่เขียนว่า” ด้วยสถานการณ์ในทุ่งใหญ่ยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ จึงเสนอต่ออายุการทำงานของกระทิงจ่าฝูงเป็นเวลาอีก 1 ปีกระทิง”  จากสภารักษาความปลอดภัยแห่งชาติกระทิงซึ่งเป็นการล้อเลียนจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดเกษียณอายุเมื่อต้นปี 2516 แต่สภากลาโหมมีมติให้ต่ออายุราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดไปอีก 1 ปี โดยอ้างว่าสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ และยังกลายเป็นชนวนให้เกิดเหตุการณ์[[ประท้วง]]ที่รามคำแหงในเดือนมิถุนายน เมื่อนักศึกษาเอาข้อความคล้ายกันนี้ไปใส่ในหนังสือจนถูกลบชื่อออกจากนักศึกษา


==อุบัติเหตุทางอากาศที่กลายเป็นอุบัติการณ์ทางการเมือง==
==อุบัติเหตุทางอากาศที่กลายเป็นอุบัติการณ์ทางการเมือง==
บรรทัดที่ 34: บรรทัดที่ 34:
ก่อนหน้าเกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกจนเป็นข่าวครึกโครมนั้น นักศึกษากลุ่มที่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มอนุรักษ์สภาพแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการกลุ่มอาสาสมัครไปทำงานศึกษาสภาพทางชีววิทยา สำรวจบริเวณ ปักป้ายแสดงเขต และถ่ายภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติด้วยการประสานกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ในภาคฤดูร้อนของปีการศึกษา 2516 โดยได้เข้าไปทำงานในบริเวณป่าทุ่งใหญ่ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2516 จนถึงเปิดภาคเรียน หลังจากนั้นตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน เป็นต้นไปคณะชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติจาก 4 มหาวิทยาลัยข้างต้นก็ได้เข้าไปปฏิบัติงานสำรวจอยู่ในเขตป่าทุ่งใหญ่ ในขณะที่ทำการสำรวจอยู่ที่ป่าทุ่งใหญ่พบว่ามีการลักลอบล่าสัตว์ป่ากันอย่างครึกโครม ทางคณะนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ป่าไม้จึงไปสังเกตการณ์และพบเห็นบุคคลกว่า 50 คนนายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ พร้อมทั้งพลเรือนอีกส่วนหนึ่งรวมประมาณ 50 คน ได้นำพาหนะและอาวุธยุทโธปกรณ์ของทางราชการ รวมทั้ง เฮลิปคอปเตอร์ หมายเลข ทบ. 6102 ลำเดียวกับที่ตกปรากฏอยู่ด้วย<ref>ดู แถลงการณ์คณะนิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ เรื่องการปฏิบัติของกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2516 ใน บันทึกลับทุ่งใหญ่ หน้า 6-8.</ref>   
ก่อนหน้าเกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกจนเป็นข่าวครึกโครมนั้น นักศึกษากลุ่มที่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มอนุรักษ์สภาพแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการกลุ่มอาสาสมัครไปทำงานศึกษาสภาพทางชีววิทยา สำรวจบริเวณ ปักป้ายแสดงเขต และถ่ายภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติด้วยการประสานกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ในภาคฤดูร้อนของปีการศึกษา 2516 โดยได้เข้าไปทำงานในบริเวณป่าทุ่งใหญ่ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2516 จนถึงเปิดภาคเรียน หลังจากนั้นตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน เป็นต้นไปคณะชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติจาก 4 มหาวิทยาลัยข้างต้นก็ได้เข้าไปปฏิบัติงานสำรวจอยู่ในเขตป่าทุ่งใหญ่ ในขณะที่ทำการสำรวจอยู่ที่ป่าทุ่งใหญ่พบว่ามีการลักลอบล่าสัตว์ป่ากันอย่างครึกโครม ทางคณะนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ป่าไม้จึงไปสังเกตการณ์และพบเห็นบุคคลกว่า 50 คนนายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ พร้อมทั้งพลเรือนอีกส่วนหนึ่งรวมประมาณ 50 คน ได้นำพาหนะและอาวุธยุทโธปกรณ์ของทางราชการ รวมทั้ง เฮลิปคอปเตอร์ หมายเลข ทบ. 6102 ลำเดียวกับที่ตกปรากฏอยู่ด้วย<ref>ดู แถลงการณ์คณะนิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ เรื่องการปฏิบัติของกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2516 ใน บันทึกลับทุ่งใหญ่ หน้า 6-8.</ref>   


เมื่อเกิดกรณีเฮลิคอปเตอร์ตกจึงเกิดความสนใจกันในหมู่ประชาชนอย่างมากว่าความจริงแล้วเกิดอะไรขึ้น หนังสือพิมพ์ที่เข้าไปร่วมสืบค้นเหตุการณ์ในป่าด้วยตัวเองและกลุ่มนักศึกษาชมรมอนุรักษ์สภาพแวดล้อม 4 สถาบัน พร้อมทั้งศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยก็ได้ร่วมกันเปิดโปงขบวนการทำผิดกฎหมายดังกล่าวต่อสาธารณชน โดยมีหลักฐานทั้งบุคคลและภาพถ่ายยืนยันหนักแน่น  ทำให้ประชาชนที่ได้รับทราบข้อมูลต่างไม่พอใจเป็นอย่างมาก  แต่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพ.อ.ณรงค์ กิตติขจรกลับแก้ต่างให้คณะล่าสัตว์ว่าทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่ไปราชการลับบริเวณตะเข็บชายแดนกาญจนบุรี เพื่ออารักขาความปลอดภัยให้กับนายพลเนวินประธานสภาปฏิวัติแห่งพม่าระหว่างที่เดินทางมาเยือนไทยในระหว่างนั้น<ref>“บันทึก 20 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลา”, รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย: รวม 3 เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย, กรุงเทพฯ: สารคดี, 2541, หน้า 34.</ref>  และชี้แจงว่ารูปถ่ายที่ทหาร ตำรวจเหล่านี้ยืนล้อมซากสัตว์ก็เป็นภาพเก่าและเป็นการยืนถ่ายโชว์โดยที่ไม่รู้ว่าใครยิง เป็นต้น  
เมื่อเกิดกรณีเฮลิคอปเตอร์ตกจึงเกิดความสนใจกันในหมู่ประชาชนอย่างมากว่าความจริงแล้วเกิดอะไรขึ้น หนังสือพิมพ์ที่เข้าไปร่วมสืบค้นเหตุการณ์ในป่าด้วยตัวเองและกลุ่มนักศึกษาชมรมอนุรักษ์สภาพแวดล้อม 4 สถาบัน พร้อมทั้งศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยก็ได้ร่วมกันเปิดโปงขบวนการทำผิดกฎหมายดังกล่าวต่อสาธารณชน โดยมีหลักฐานทั้งบุคคลและภาพถ่ายยืนยันหนักแน่น  ทำให้ประชาชนที่ได้รับทราบข้อมูลต่างไม่พอใจเป็นอย่างมาก  แต่รัฐบาล[[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]] [[ประภาส จารุเสถียร|จอมพลประภาส จารุเสถียร]] และ[[ณรงค์ กิตติขจร|พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร]]กลับแก้ต่างให้คณะล่าสัตว์ว่าทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่ไปราชการลับบริเวณตะเข็บชายแดนกาญจนบุรี เพื่ออารักขาความปลอดภัยให้กับนายพลเนวิน[[ประธานสภาปฏิวัติแห่งพม่า]]ระหว่างที่เดินทางมาเยือนไทยในระหว่างนั้น<ref>“บันทึก 20 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลา”, รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย: รวม 3 เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย, กรุงเทพฯ: สารคดี, 2541, หน้า 34.</ref>  และชี้แจงว่ารูปถ่ายที่ทหาร ตำรวจเหล่านี้ยืนล้อมซากสัตว์ก็เป็นภาพเก่าและเป็นการยืนถ่ายโชว์โดยที่ไม่รู้ว่าใครยิง เป็นต้น  
        
        
==ผลสะเทือนของเหตุการณ์เป็นชนวนจุดพลังประชาชนก่อนเกิด 14 ตุลา==
==ผลสะเทือนของเหตุการณ์เป็นชนวนจุดพลังประชาชนก่อนเกิด 14 ตุลา==


กรณีบันทึกลับจากทุ่งใหญ่ที่รัฐบาลไม่เพียงปกป้องผู้ละเมิดกฎหมายเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเท่ากับปกป้องพวกพ้อง ทำให้ขาดความชอบธรรมในการบริหารบ้านเมืองและก่อกระแสไม่พอใจไปทั่ว  จากกระแสสังคมที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง รัฐบาลจึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวน 9 คน โดย 6 ใน 9 เป็นนายทหารและตำรวจมีนายกมล วรรณประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน ซึ่งในที่สุดผลปรากฏว่า กรรมการเชื่อว่าการนำเฮลิคอปเตอร์ไปใช้ครั้งนี้เป็นไปตามคำสั่งของผู้บัญชาการทหารบกเพื่อปฏิบัติราชการลับ โดยถือเอาป่าทุ่งใหญ่เป็นฐานปฏิบัติการแต่ภารกิจลับไม่ได้อยู่ที่ทุ่งใหญ่ แต่อยู่ห่างออกไปทางชายแดนที่ติดต่อกับพม่า และเชื่อว่าได้มีบุคคลในคณะที่พักอยู่ในแคมป์ทุ่งใหญ่กระทำการล่าสัตว์และมีซากสัตว์ป่าอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายจริง แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ทำให้ความจริงกระจ่างแก่สาธารณะแต่อย่างใด ต่อมาคณะกรรมการได้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังศาลกาญจนบุรี  ซึ่งกระบวนการทางศาลใช้เวลาจนถึง 1 กันยายน 2517 ก็มีคำตัดสินให้ปล่อยตัว 9 จำเลย มีแต่พรานแกละ หมื่นจำปา ที่ถูกตัดสินให้จำคุก 6 เดือนกลายเป็นแพะรับบาปแต่ผู้เดียว ขณะเดียวกันนายกมล วรรณประภา ก็ยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลสมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อีกด้วย
กรณีบันทึกลับจากทุ่งใหญ่ที่รัฐบาลไม่เพียงปกป้องผู้ละเมิดกฎหมายเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเท่ากับปกป้องพวกพ้อง ทำให้ขาดความชอบธรรมในการบริหารบ้านเมืองและก่อกระแสไม่พอใจไปทั่ว  จากกระแสสังคมที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง รัฐบาลจึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวน 9 คน โดย 6 ใน 9 เป็นนายทหารและตำรวจมีนายกมล วรรณประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน ซึ่งในที่สุดผลปรากฏว่า กรรมการเชื่อว่าการนำเฮลิคอปเตอร์ไปใช้ครั้งนี้เป็นไปตามคำสั่งของผู้บัญชาการทหารบกเพื่อปฏิบัติราชการลับ โดยถือเอาป่าทุ่งใหญ่เป็นฐานปฏิบัติการแต่ภารกิจลับไม่ได้อยู่ที่ทุ่งใหญ่ แต่อยู่ห่างออกไปทางชายแดนที่ติดต่อกับพม่า และเชื่อว่าได้มีบุคคลในคณะที่พักอยู่ในแคมป์ทุ่งใหญ่กระทำการล่าสัตว์และมีซากสัตว์ป่าอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายจริง แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ทำให้ความจริงกระจ่างแก่สาธารณะแต่อย่างใด ต่อมาคณะกรรมการได้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังศาลกาญจนบุรี  ซึ่งกระบวนการทางศาลใช้เวลาจนถึง 1 กันยายน 2517 ก็มีคำตัดสินให้ปล่อยตัว 9 จำเลย มีแต่พรานแกละ หมื่นจำปา ที่ถูกตัดสินให้จำคุก 6 เดือนกลายเป็น[[แพะรับบาป]]แต่ผู้เดียว ขณะเดียวกัน[[กมล วรรณประภา|นายกมล วรรณประภา]] ก็ยังเป็นรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงมหาดไทย]]ในรัฐบาลสมัย[[สัญญา ธรรมศักดิ์|นายสัญญา ธรรมศักดิ์]] อีกด้วย


หลังหนังสือบันทึกลับทุ่งใหญ่อยู่ในความสนใจของประชาชนจำนวนมากจนมีการกล่าวอ้างว่าพิมพ์จำหน่ายหมดไปเป็นแสนเล่ม<ref>ธัญญา ชุนชฎาธาร. บันทึก1 ใน 13 กบฏรัฐธรรมนูญ: เรื่องบอกเล่าก่อนถึงวัน 14 ตุลา 16. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิชาการ 14 ตุลา, 2546, หน้า 120.</ref>  ขณะที่กระแสความสนใจของประชาชนกำลังจะจางหายไปนั้น ทางชมรมคนรุ่นใหม่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ได้ออกหนังสือชื่อ “มหาวิทยาลัยที่ยังไม่มีคำตอบ" ซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานในมหาวิทยาลัยอย่างเข้มข้นและวิจารณ์การตั้งฐานทัพสหรัฐอเมริกาในเมืองไทยทั้งในรูปของบทความบทวิจารณ์และบทกวี ในหน้า 6 ของหนังสือเนื่องด้วยเหตุขัดข้องทางต้นฉบับทำให้เกิดพื้นที่เหลือเป็นหน้าว่างจะคิดหาเนื้อหาอะไรมาลงก็ไม่ทันเพราะผ่านกระบวนการจัดพิมพ์ไปหมดแล้ว สุเมธ สุวิทยะเสถียรในฐานะผู้ผลิตจึงตัดสินใจด้วยอารมณ์ขันผนวกเอากรณีต่ออายุจอมพลถนอมกับเหตุการณ์ล่าสัตว์ป่าทุ่งใหญ่เข้าด้วยกันเป็นข้อความลอยๆ 4 บรรทัดว่า
หลังหนังสือบันทึกลับทุ่งใหญ่อยู่ในความสนใจของประชาชนจำนวนมากจนมีการกล่าวอ้างว่าพิมพ์จำหน่ายหมดไปเป็นแสนเล่ม<ref>ธัญญา ชุนชฎาธาร. บันทึก1 ใน 13 กบฏรัฐธรรมนูญ: เรื่องบอกเล่าก่อนถึงวัน 14 ตุลา 16. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิชาการ 14 ตุลา, 2546, หน้า 120.</ref>  ขณะที่กระแสความสนใจของประชาชนกำลังจะจางหายไปนั้น ทางชมรมคนรุ่นใหม่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ได้ออกหนังสือชื่อ “มหาวิทยาลัยที่ยังไม่มีคำตอบ" ซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานในมหาวิทยาลัยอย่างเข้มข้นและวิจารณ์การตั้งฐานทัพสหรัฐอเมริกาในเมืองไทยทั้งในรูปของบทความบทวิจารณ์และบทกวี ในหน้า 6 ของหนังสือเนื่องด้วยเหตุขัดข้องทางต้นฉบับทำให้เกิดพื้นที่เหลือเป็นหน้าว่างจะคิดหาเนื้อหาอะไรมาลงก็ไม่ทันเพราะผ่านกระบวนการจัดพิมพ์ไปหมดแล้ว สุเมธ สุวิทยะเสถียรในฐานะผู้ผลิตจึงตัดสินใจด้วยอารมณ์ขันผนวกเอากรณีต่ออายุจอมพลถนอมกับเหตุการณ์ล่าสัตว์ป่าทุ่งใหญ่เข้าด้วยกันเป็นข้อความลอยๆ 4 บรรทัดว่า


สภาสัตว์ป่าแห่งทุ่งใหญ่ฯ
<center>''สภาสัตว์ป่าแห่งทุ่งใหญ่ฯ''


มีมติให้ต่ออายุสัตว์ป่าอีก 1 ปี
''มีมติให้ต่ออายุสัตว์ป่าอีก 1 ปี''


เนื่องจากสถานการณ์ภายในและภายนอก
''เนื่องจากสถานการณ์ภายในและภายนอก''


เป็นที่ไม่น่าไว้วางใจ
''เป็นที่ไม่น่าไว้วางใจ''</center>


จากข้อความในหนังสือดังกล่าวจึงทำให้ ดร. ศักดิ์ ผาสุกนิรันดร์ อธิการบดีสั่งลบชื่อนักศึกษาชมรมคนรุ่นใหม่ที่ทำหนังสือดังกล่าว 9 คน ประกอบด้วย แสง รุ่งนิรันดรกุล วันชัย แซ่เตียว บุญส่ง ชเลธร วิสา คัญทัพ สมพงษ์ สระกวี สุเมธ สุวิทยะเสถียร ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ประเดิม ดำรงเจริญ และกุลปราณี เมฆศรีสวัสดิ์ ตามหนังสือมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ 272/2516 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2516<ref>ศิลา โคมฉาย (นามแฝง-วินัย บุญช่วย), เล่าความจริง: ขบวนการนักศึกษารามคำแหงยุคต้น 2514-2519, กรุงเทพฯ: มิ่งมิตร, 2543. หน้า 52-53.</ref>   
จากข้อความในหนังสือดังกล่าวจึงทำให้ ดร. ศักดิ์ ผาสุกนิรันดร์ อธิการบดีสั่งลบชื่อนักศึกษาชมรมคนรุ่นใหม่ที่ทำหนังสือดังกล่าว 9 คน ประกอบด้วย แสง รุ่งนิรันดรกุล วันชัย แซ่เตียว บุญส่ง ชเลธร วิสา คัญทัพ สมพงษ์ สระกวี สุเมธ สุวิทยะเสถียร ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ประเดิม ดำรงเจริญ และกุลปราณี เมฆศรีสวัสดิ์ ตามหนังสือมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ 272/2516 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2516<ref>ศิลา โคมฉาย (นามแฝง-วินัย บุญช่วย), เล่าความจริง: ขบวนการนักศึกษารามคำแหงยุคต้น 2514-2519, กรุงเทพฯ: มิ่งมิตร, 2543. หน้า 52-53.</ref>   


เหตุการณ์คุกคามเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาดังกล่าว ก่อให้เกิดความไม่พอใจต่อนักศึกษาทั้งในมหาวิทยาลัยรามคำแหงและสถาบันการศึกษาอื่นๆ รวมทั้งสื่อมวลชน จนกระทั่งศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้เป็นผู้ดำเนินการประท้วงที่หน้าทบวงมหาวิทยาลัยซึ่งรัฐบาลเพิกเฉย จึงย้ายไปประท้วงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและยิ่งเมื่อรัฐบาลประกาศปิดมหาวิทยาลัยก็ยิ่งมีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวนมาก จนในที่สุดทางฝ่ายนักศึกษาก็ได้รับชัยชนะให้ยกเลิกการลบชื่อนักศึกษาทั้ง 9 คน และให้อธิการบดีพิจารณาตัวเองลาออก รวมทั้งมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือนที่รัฐบาลไม่รับปากทางผู้ดำเนินการชุมนุมคือนายธีรยุทธ บุญมีเลขาศูนย์ฯ ได้รับปากว่าจะเร่งรัดให้รัฐบาลเร่งร่างรัฐธรรมนูญอันเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมา อันเป็นชนวนสำคัญที่นำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
เหตุการณ์คุกคามเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาดังกล่าว ก่อให้เกิดความไม่พอใจต่อนักศึกษาทั้งในมหาวิทยาลัยรามคำแหงและสถาบันการศึกษาอื่นๆ รวมทั้งสื่อมวลชน จนกระทั่งศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้เป็นผู้ดำเนินการประท้วงที่หน้าทบวงมหาวิทยาลัยซึ่งรัฐบาลเพิกเฉย จึงย้ายไปประท้วงที่[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]]และยิ่งเมื่อรัฐบาลประกาศปิดมหาวิทยาลัยก็ยิ่งมีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวนมาก จนในที่สุดทางฝ่ายนักศึกษาก็ได้รับชัยชนะให้ยกเลิกการลบชื่อนักศึกษาทั้ง 9 คน และให้อธิการบดีพิจารณาตัวเองลาออก รวมทั้งมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือนที่รัฐบาลไม่รับปากทางผู้ดำเนินการชุมนุมคือ[[ธีรยุทธ บุญมี|นายธีรยุทธ บุญมี]]เลขาศูนย์ฯ ได้รับปากว่าจะเร่งรัดให้รัฐบาลเร่งร่างรัฐธรรมนูญอันเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมา อันเป็นชนวนสำคัญที่นำไปสู่เหตุการณ์ [[14 ตุลาคม 2516]]


ในอีกด้านหนึ่งนั้นนอจากผลทางการเมืองแล้วเหตุการณ์ล่าสัตว์ป่าทุ่งใหญ่นี้ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนในด้านประวัติศาสตร์สังคมทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดของสังคมที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าและสัตว์ป่าอย่างชัดเจนว่าเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการมองว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติทีมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจถ้านำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เปลี่ยนมาสู่การมองที่หลากหลายและสลับซับซ้อนมากขึ้นว่าเป็นสิ่งสำคัญในระบบนิเวศและกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าเป็นทรัพยากรตามหมายเดิม และทำให้รัฐเริ่มปรับตัวหลังจากกรณีทุ่งใหญ่จนนำไปสู่การประกาศกฎกระทรวงเกษตรฯ ฉบับที่  7 ว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองและเนื้อสัตว์ป่าคุ้มครอง และกฎกระทรวงฉบับที่ 9 ว่าด้วยการล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง<ref>อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, นิเวศประวัติศาสตร์: พรมแดนความรู้, กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2545. หน้า 31.</ref>   
ในอีกด้านหนึ่งนั้นนอจากผลทางการเมืองแล้วเหตุการณ์ล่าสัตว์ป่าทุ่งใหญ่นี้ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนในด้านประวัติศาสตร์สังคมทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดของสังคมที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าและสัตว์ป่าอย่างชัดเจนว่าเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการมองว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติทีมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจถ้านำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เปลี่ยนมาสู่การมองที่หลากหลายและสลับซับซ้อนมากขึ้นว่าเป็นสิ่งสำคัญในระบบนิเวศและกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าเป็นทรัพยากรตามหมายเดิม และทำให้รัฐเริ่มปรับตัวหลังจากกรณีทุ่งใหญ่จนนำไปสู่การประกาศกฎกระทรวงเกษตรฯ ฉบับที่  7 ว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองและเนื้อสัตว์ป่าคุ้มครอง และกฎกระทรวงฉบับที่ 9 ว่าด้วยการล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง<ref>อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, นิเวศประวัติศาสตร์: พรมแดนความรู้, กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2545. หน้า 31.</ref>   
บรรทัดที่ 96: บรรทัดที่ 96:
<references/>
<references/>
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2501-2519|ฮ]]
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2501-2519|ฮ]]
[[หมวดหมู่:ชาติชาย มุกสง|ฮ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 18:23, 25 สิงหาคม 2554

ผู้เรียบเรียง ชาติชาย มุกสง


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


เฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดนครปฐมปี พ.ศ. 2516

เหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดนครปฐมเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2516 พ.ศ. 2516 หรือบางครั้งเรียกว่า “กรณีล่าสัตว์ทุ่งใหญ่” หรือกรณี “บันทึกลับจากทุ่งใหญ่” ตามชื่อหนังสือที่พิมพ์ขึ้นเพื่อเปิดเผยรายละเอียดของเหตุการณ์นี้ทั้งหมด นับเป็นอุบัติเหตุทางอากาศที่ส่งผลต่อการเมืองไทยอย่างลึกซึ้งที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง เนื่องจากเป็นชุดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญคือเกิดการปฏิวัติ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งมีนักศึกษาประชาชนเป็นผู้นำ

รายละเอียดของเหตุการณ์

ในวันที่ 29 เมษายน 2516 ช่วงเวลาบ่ายเกิดอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ยี่ห้อเบลล์ลำหนึ่งของกองทัพบก หมายเลข ทบ.6102 ตกที่เขตอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ในที่เกิดเหตุมีผู้เสียชีวิต 6 คน และพบซากสัตว์ป่าจำนวนมากโดยเฉพาะเนื้อขากระทิงขนาดใหญ่ เนื้อใส่กล่องกระดาษหลายกล่อง ปืนล่าสัตว์หลายกระบอก วันรุ่งขึ้นหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยลงข่าวหน้า 1เป็นกรอบเล็กว่า “ด่วน! เครื่องบินทหารตกที่ อ.บางเลน นครปฐม มีผู้เสียชีวิต 6 คน มี พ.ต.ฉนำ ยุวบำรุง พ.ต.ท. บัญญัติ ไทยภักดี ร.อ. อาวุธ และนายทหารตำรวจอีก 3 นาย มีผู้บาดเจ็บสาหัส 4 นายคือ พ.ต.อ. อมร ยุกตะนันต์ พ.ท. จำนง รอดเจริญ นายอนุสรณ์ ยุกตะนันต์ และนายแพทย์ยศจ่านายสิบโทอีก 1 ราย สาเหตุยังไม่ทราบแน่นอน”[1] ในขณะที่ข่าวในหนังสือพิมพ์สยามรัฐได้รายงานว่าผู้เสียชีวิตมี พ.ต. ไฉน พุกบุญมี ร.อ.อาวุธ อำพันวงศ์ พ.ต.ท. บัญญัติ ไทยภักดี ส่วนผู้บาดเจ็บมีพ.ท.จำนงค์ รอดเจริญ จสท. สมรชัย สุขมาก และสองพ่อลูกตระกูลยุกตะนันต์ดังกล่าว[2]

นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายของเครื่องบินลำที่ตกกำลังบินขึ้นในป่าและมีรายงานของผู้สื่อข่าวที่ได้ลงพื้นที่ไปทำข่าวกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้และได้พบกับชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติจาก 5 มหาวิทยาลัยที่ได้เดินทางมาสังเกตการณ์อยู่ก่อนแล้วยืนยันว่าคณะนายทหารตำรวจและพ่อค้าเหล่านี้จำนวนประมาณ 50 คนเดินทางมาล่าสัตว์แน่นอนและใช้เฮลิคอปเตอร์สองลำโดยเป็นลำที่ตกลำหนึ่งขนเนื้อสัตว์ที่ล่าได้จากป่าทุ่งใหญ่ อาทิ เก้งกวางและกระทิงไปแช่เย็นที่ตัวเมืองกาญจนบุรี[3] และในหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยก็มีภาพของเฮลิคอปเตอร์หมายเลขทบ.6102 จอดอยู่กลางป่าด้วย ซึ่งเป็นลำที่ใช้ขนเนื้อสัตว์ป่ากลับกรุงเทพมหานครและตกที่อำเภอบางเลนนครปฐม[4] นั่นเอง จึงกลายเป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้ประชาชนเชื่อว่าเฮลิปคอปเตอร์ลำนี้มาจากการไปร่วมล่าสัตว์จริง

ต่อมาจากการเปิดเผยของผู้สื่อข่าวสยามรัฐและนักศึกษาชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติที่เข้าไปสำรวจป่าทุ่งใหญ่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ปรากฏว่ามีหลักฐานเป็นภาพถ่ายและรายงานข่าวทางหนังสือพิมพ์หลายฉบับถึงการเข้าไปตั้งแค้มป์ล่าสัตว์ในป่า โดยใช้ทรัพย์สินของทางราชการกันอย่างเปิดเผย และพบว่ามีสัตว์ถูกล่าตายจำนวนมาก จนเจ้าหน้าที่ต้องเผาซากทิ้งหลังจากคณะพรานกลับไปแล้ว นอกจากนั้นนักวาดการ์ตูนการเมืองอาวุโสประยูร จรรยาวงษ์ที่ประกาศวางปากกาไม่เขียนการ์ตูนการเมืองมากว่า 2 ปีเพราะเบื่อหน่ายการเมืองก็ทนไม่ไหวต่อกรณีการล่าสัตว์ป่าทุ่งใหญ่ จึงได้กลับมาวาดการ์ตูนการเมืองเป็นรูปกระทิงนอนตายคลุมธงชาติ[5] ประท้วงต่อการออกมาให้สัมภาษณ์ของฝ่ายรัฐบาลว่าเฮลิคอปเตอร์ที่ตกไปราชการลับ

ต่อมาการรายงานข่าวหนังสือพิมพ์ก็ถูกรัฐบาลแทรกแซงโดยสารวัตรแผนกหนังสือพิมพ์ทำหนังสือขอให้งดลงข่าวเฮลิคอปเตร์ตกจน 3 สมาคมสื่อมวลชน คือ สมาคมหนังสือพิมพ์ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ และสมาคมนักข่าวต้องออกมาออกแถลงการณ์คัดค้านหนังสือดังกล่าวเพราะเป็นการลิดรอนเสรีภาพการเสนอข่าวเพื่อสาธารณประโยชน์ตามหน้าที่ของหนังสือพิมพ์[6] ส่วนพนักงานป่าไม้และนักข่าวหนังสือพิมพ์ที่ทำข่าวเรื่องนี้ก็ถูกข่มขู่คุกคามอีกด้วย

ในขณะที่นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจรได้ให้สัมภาษณ์ว่าคณะบุคคลที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เครื่องบินตกนั้นตายขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ อันเป็นราชการลับที่เปิดเผยไม่ได้ เนื้อสัตว์ที่อยู่ในเครื่องบินอาจเป็นของที่คนอื่นฝากมา[7] ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงการปกป้องคนกระทำผิดของรัฐบาล เพราะผู้นำในขบวนนักล่าสัตว์ซึ่งทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 นั้นเป็นบุคคลใกล้ชิดกับรัฐบาล ซึ่งก็คือ พ.ท. สุภัทร สารสิน ลูกชายนายพจน์ สารสินที่เป็นนายทหารคนสนิทของพลเอกประภาส จารุเสถียร และหลายคนในคณะก็เป็นทหารตำรวจและพ่อค้าที่สนิทสนมกับคนในรัฐบาล

การวิจารณ์ที่เผ็ดร้อนของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชเห็นว่ากรณีดังกล่าวที่มีการใช้ทรัพย์สินทางราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตนและการละเมิดกฎหมายเป็นการกระทำของคนที่คิดว่าตนอยู่เหนือกฎหมาย จึงเรียกร้องให้รัฐบาลเอาตัวคนทำผิดกฎหมายมาลงโทษ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วรัฐบาลก็อาจสนับสนุนคนทำผิดจนกลายเป็นรัฐบาลที่ไม่รักษากฎหมายบ้านเมือง และไม่เป็นรัฐบาลที่ยืนอยู่ข้างประชาชนซึ่งจะขาดความชอบธรรมในการเป็นรัฐบาล[8] ถือเป็นการเปิดประเด็นโจมตีรัฐบาลในการพยายามปกปิดและบิดเบือนเรื่องราวต่างๆ เพื่อเป็นการปกป้องคนทำผิดของรัฐบาล

ต่อมาศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีการประชุมหารือต่อกรณีดังกล่าวขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อเวลา 10.00 น. ของวันที่ 6 พฤษภาคม 2516 ที่ประชุมได้รับฟังการบรรยายสรุปของชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างละเอียดถึงเหตุการณ์ดังกล่าวทั้งยังมีภาพถ่ายประกอบด้วย ที่ประชุมจึงมีมติให้ศูนย์ฯ ดำเนินการ 8 ข้อ เช่น ให้ออกหนังสือเผยเบื้องหลังทั้งหมด จัดอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ฟ้องร้องผู้ล่าสัตว์ต่อศาล เป็นต้น นอกจากนี้ยังแถลงเรียกร้องให้รัฐบาลกระทำทุกอย่างเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นรัฐบาลของประชาชนโดยให้ลงโทษผู้กระทำผิดโดยไม่เห็นแก่หน้าผู้ใดทั้งสิ้น[9] ซึ่งเป็นที่มาของการทำหนังบันทึกลับทุ่งใหญ่ต่อมา และในวันต่อมาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าสิรินธรเทพรัตนสุดาได้โปรดประทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ตำหนิการล่าสัตว์ว่าเป็นการทำลายชีวิตสัตว์ป่า เป็นการทำลายสัมบัติอันมีค่าทางธรรมชาติของประเทศ การใช้เฮลิคอปเตอร์ยิ่งแล้วใหญ่เพราะทหารและตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บตามชายแดนต้องการให้เฮลิคอปเตอร์ไปรับตัวเพื่อช่วยชีวิตให้รอดอย่างมาก[10]

ต่อมาการจัดอภิปรายต่อกรณีล่าสัตว์ทุ่งใหญ่จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2516 ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้เข้าร่วมฟังนับหมื่นคนมีการโจมตีรัฐบาลอย่างดุเดือด หลังจากนั้นในวันที่ 19 พฤษภาคมกระทรวงยุติธรรมก็ได้เชิญนักศึกษา 5 คนคือ นายอรรถ อมรเวชเมธี นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบ นายทองประกอบ ศิริวานิชนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล นายภราดร กัลยาณสันติ์ และนายสมพงษ์ จิรบันดาลสุขนิสิตจุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งนายสวัสดิ์ มิตรานนท์ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้เห็นเหตุการณ์ไปให้ปากคำกับคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาสอบเรื่องนี้[11]

ดังนั้นศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยจึงร่วมกับชมรมอนุรักษ์ 4 สถาบันดังกล่าวพิมพ์หนังสือ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ออกเผยแพร่ ปรากฏว่ามีผู้สนใจแย่งซื้อจน 5,000 เล่มหมดภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง และจากข้อความในหนังสือเล่มนี้ที่เขียนว่า” ด้วยสถานการณ์ในทุ่งใหญ่ยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ จึงเสนอต่ออายุการทำงานของกระทิงจ่าฝูงเป็นเวลาอีก 1 ปีกระทิง” จากสภารักษาความปลอดภัยแห่งชาติกระทิงซึ่งเป็นการล้อเลียนจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดเกษียณอายุเมื่อต้นปี 2516 แต่สภากลาโหมมีมติให้ต่ออายุราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดไปอีก 1 ปี โดยอ้างว่าสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ และยังกลายเป็นชนวนให้เกิดเหตุการณ์ประท้วงที่รามคำแหงในเดือนมิถุนายน เมื่อนักศึกษาเอาข้อความคล้ายกันนี้ไปใส่ในหนังสือจนถูกลบชื่อออกจากนักศึกษา

อุบัติเหตุทางอากาศที่กลายเป็นอุบัติการณ์ทางการเมือง

ก่อนหน้าเกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกจนเป็นข่าวครึกโครมนั้น นักศึกษากลุ่มที่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มอนุรักษ์สภาพแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการกลุ่มอาสาสมัครไปทำงานศึกษาสภาพทางชีววิทยา สำรวจบริเวณ ปักป้ายแสดงเขต และถ่ายภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติด้วยการประสานกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ในภาคฤดูร้อนของปีการศึกษา 2516 โดยได้เข้าไปทำงานในบริเวณป่าทุ่งใหญ่ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2516 จนถึงเปิดภาคเรียน หลังจากนั้นตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน เป็นต้นไปคณะชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติจาก 4 มหาวิทยาลัยข้างต้นก็ได้เข้าไปปฏิบัติงานสำรวจอยู่ในเขตป่าทุ่งใหญ่ ในขณะที่ทำการสำรวจอยู่ที่ป่าทุ่งใหญ่พบว่ามีการลักลอบล่าสัตว์ป่ากันอย่างครึกโครม ทางคณะนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ป่าไม้จึงไปสังเกตการณ์และพบเห็นบุคคลกว่า 50 คนนายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ พร้อมทั้งพลเรือนอีกส่วนหนึ่งรวมประมาณ 50 คน ได้นำพาหนะและอาวุธยุทโธปกรณ์ของทางราชการ รวมทั้ง เฮลิปคอปเตอร์ หมายเลข ทบ. 6102 ลำเดียวกับที่ตกปรากฏอยู่ด้วย[12]

เมื่อเกิดกรณีเฮลิคอปเตอร์ตกจึงเกิดความสนใจกันในหมู่ประชาชนอย่างมากว่าความจริงแล้วเกิดอะไรขึ้น หนังสือพิมพ์ที่เข้าไปร่วมสืบค้นเหตุการณ์ในป่าด้วยตัวเองและกลุ่มนักศึกษาชมรมอนุรักษ์สภาพแวดล้อม 4 สถาบัน พร้อมทั้งศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยก็ได้ร่วมกันเปิดโปงขบวนการทำผิดกฎหมายดังกล่าวต่อสาธารณชน โดยมีหลักฐานทั้งบุคคลและภาพถ่ายยืนยันหนักแน่น ทำให้ประชาชนที่ได้รับทราบข้อมูลต่างไม่พอใจเป็นอย่างมาก แต่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพ.อ.ณรงค์ กิตติขจรกลับแก้ต่างให้คณะล่าสัตว์ว่าทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่ไปราชการลับบริเวณตะเข็บชายแดนกาญจนบุรี เพื่ออารักขาความปลอดภัยให้กับนายพลเนวินประธานสภาปฏิวัติแห่งพม่าระหว่างที่เดินทางมาเยือนไทยในระหว่างนั้น[13] และชี้แจงว่ารูปถ่ายที่ทหาร ตำรวจเหล่านี้ยืนล้อมซากสัตว์ก็เป็นภาพเก่าและเป็นการยืนถ่ายโชว์โดยที่ไม่รู้ว่าใครยิง เป็นต้น

ผลสะเทือนของเหตุการณ์เป็นชนวนจุดพลังประชาชนก่อนเกิด 14 ตุลา

กรณีบันทึกลับจากทุ่งใหญ่ที่รัฐบาลไม่เพียงปกป้องผู้ละเมิดกฎหมายเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเท่ากับปกป้องพวกพ้อง ทำให้ขาดความชอบธรรมในการบริหารบ้านเมืองและก่อกระแสไม่พอใจไปทั่ว จากกระแสสังคมที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง รัฐบาลจึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวน 9 คน โดย 6 ใน 9 เป็นนายทหารและตำรวจมีนายกมล วรรณประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน ซึ่งในที่สุดผลปรากฏว่า กรรมการเชื่อว่าการนำเฮลิคอปเตอร์ไปใช้ครั้งนี้เป็นไปตามคำสั่งของผู้บัญชาการทหารบกเพื่อปฏิบัติราชการลับ โดยถือเอาป่าทุ่งใหญ่เป็นฐานปฏิบัติการแต่ภารกิจลับไม่ได้อยู่ที่ทุ่งใหญ่ แต่อยู่ห่างออกไปทางชายแดนที่ติดต่อกับพม่า และเชื่อว่าได้มีบุคคลในคณะที่พักอยู่ในแคมป์ทุ่งใหญ่กระทำการล่าสัตว์และมีซากสัตว์ป่าอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายจริง แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ทำให้ความจริงกระจ่างแก่สาธารณะแต่อย่างใด ต่อมาคณะกรรมการได้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังศาลกาญจนบุรี ซึ่งกระบวนการทางศาลใช้เวลาจนถึง 1 กันยายน 2517 ก็มีคำตัดสินให้ปล่อยตัว 9 จำเลย มีแต่พรานแกละ หมื่นจำปา ที่ถูกตัดสินให้จำคุก 6 เดือนกลายเป็นแพะรับบาปแต่ผู้เดียว ขณะเดียวกันนายกมล วรรณประภา ก็ยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลสมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อีกด้วย

หลังหนังสือบันทึกลับทุ่งใหญ่อยู่ในความสนใจของประชาชนจำนวนมากจนมีการกล่าวอ้างว่าพิมพ์จำหน่ายหมดไปเป็นแสนเล่ม[14] ขณะที่กระแสความสนใจของประชาชนกำลังจะจางหายไปนั้น ทางชมรมคนรุ่นใหม่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ได้ออกหนังสือชื่อ “มหาวิทยาลัยที่ยังไม่มีคำตอบ" ซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานในมหาวิทยาลัยอย่างเข้มข้นและวิจารณ์การตั้งฐานทัพสหรัฐอเมริกาในเมืองไทยทั้งในรูปของบทความบทวิจารณ์และบทกวี ในหน้า 6 ของหนังสือเนื่องด้วยเหตุขัดข้องทางต้นฉบับทำให้เกิดพื้นที่เหลือเป็นหน้าว่างจะคิดหาเนื้อหาอะไรมาลงก็ไม่ทันเพราะผ่านกระบวนการจัดพิมพ์ไปหมดแล้ว สุเมธ สุวิทยะเสถียรในฐานะผู้ผลิตจึงตัดสินใจด้วยอารมณ์ขันผนวกเอากรณีต่ออายุจอมพลถนอมกับเหตุการณ์ล่าสัตว์ป่าทุ่งใหญ่เข้าด้วยกันเป็นข้อความลอยๆ 4 บรรทัดว่า

สภาสัตว์ป่าแห่งทุ่งใหญ่ฯ

มีมติให้ต่ออายุสัตว์ป่าอีก 1 ปี

เนื่องจากสถานการณ์ภายในและภายนอก

เป็นที่ไม่น่าไว้วางใจ

จากข้อความในหนังสือดังกล่าวจึงทำให้ ดร. ศักดิ์ ผาสุกนิรันดร์ อธิการบดีสั่งลบชื่อนักศึกษาชมรมคนรุ่นใหม่ที่ทำหนังสือดังกล่าว 9 คน ประกอบด้วย แสง รุ่งนิรันดรกุล วันชัย แซ่เตียว บุญส่ง ชเลธร วิสา คัญทัพ สมพงษ์ สระกวี สุเมธ สุวิทยะเสถียร ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ประเดิม ดำรงเจริญ และกุลปราณี เมฆศรีสวัสดิ์ ตามหนังสือมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ 272/2516 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2516[15]

เหตุการณ์คุกคามเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาดังกล่าว ก่อให้เกิดความไม่พอใจต่อนักศึกษาทั้งในมหาวิทยาลัยรามคำแหงและสถาบันการศึกษาอื่นๆ รวมทั้งสื่อมวลชน จนกระทั่งศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้เป็นผู้ดำเนินการประท้วงที่หน้าทบวงมหาวิทยาลัยซึ่งรัฐบาลเพิกเฉย จึงย้ายไปประท้วงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและยิ่งเมื่อรัฐบาลประกาศปิดมหาวิทยาลัยก็ยิ่งมีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวนมาก จนในที่สุดทางฝ่ายนักศึกษาก็ได้รับชัยชนะให้ยกเลิกการลบชื่อนักศึกษาทั้ง 9 คน และให้อธิการบดีพิจารณาตัวเองลาออก รวมทั้งมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือนที่รัฐบาลไม่รับปากทางผู้ดำเนินการชุมนุมคือนายธีรยุทธ บุญมีเลขาศูนย์ฯ ได้รับปากว่าจะเร่งรัดให้รัฐบาลเร่งร่างรัฐธรรมนูญอันเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมา อันเป็นชนวนสำคัญที่นำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

ในอีกด้านหนึ่งนั้นนอจากผลทางการเมืองแล้วเหตุการณ์ล่าสัตว์ป่าทุ่งใหญ่นี้ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนในด้านประวัติศาสตร์สังคมทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดของสังคมที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าและสัตว์ป่าอย่างชัดเจนว่าเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการมองว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติทีมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจถ้านำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เปลี่ยนมาสู่การมองที่หลากหลายและสลับซับซ้อนมากขึ้นว่าเป็นสิ่งสำคัญในระบบนิเวศและกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าเป็นทรัพยากรตามหมายเดิม และทำให้รัฐเริ่มปรับตัวหลังจากกรณีทุ่งใหญ่จนนำไปสู่การประกาศกฎกระทรวงเกษตรฯ ฉบับที่ 7 ว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองและเนื้อสัตว์ป่าคุ้มครอง และกฎกระทรวงฉบับที่ 9 ว่าด้วยการล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง[16]

ที่มา

ธัญญา ชุนชฎาธาร. บันทึก1 ใน 13 กบฏรัฐธรรมนูญ: เรื่องบอกเล่าก่อนถึงวัน 14 ตุลา16. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิชาการ 14 ตุลา, 2546.

ศิลา โคมฉาย (นามแฝง-วินัย บุญช่วย), เล่าความจริง: ขบวนการนักศึกษารามคำแหงยุคต้น 2514-2519, กรุงเทพฯ: มิ่งมิตร, 2543.

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. นิเวศประวัติศาสตร์: พรมแดนความรู้. กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2545.

“บันทึก 20 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลา”, รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย: รวม 3 เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย, กรุงเทพฯ: สารคดี, 2541

ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และคณะ.บันทึกลับจากทุ่งใหญ่. กรุงเทพฯ: ชมรมอนุรักษ์ฯ 4 สถาบัน, 2516.


หนังสือพิมพ์

ประชาธิปไตย, วันจันทร์ที่ 30 เมษายน 2516, หน้า 1.

สยามรัฐ,วันจันทร์ที่ 30 เมษายน 2516, หน้า 16.

สยามรัฐ,วันจันทร์ที่ 30 เมษายน 2516, หน้า1,16.

ประชาธิปไตย, วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม 2516, หน้า 1, 16.

ประชาธิปไตย, วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2516, หน้า 1.

ประชาธิปไตย, วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม 2516, หน้า 1.

ประชาธิปไตย, วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2516, หน้า 1, 16.

สยามรัฐ, วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม 2516, หน้า 5.

สยามรัฐ,วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม 2516, หน้า16.

สยามรัฐ,วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม 2516, หน้า1.

ประชาธิปไตย, วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2516, หน้า 1, 16.

อ้างอิง

  1. ประชาธิปไตย, วันจันทร์ที่ 30 เมษายน 2516, หน้า 1.
  2. สยามรัฐ,วันจันทร์ที่ 30 เมษายน 2516, หน้า 16.
  3. สยามรัฐ,วันจันทร์ที่ 30 เมษายน 2516, หน้า1,16.
  4. ประชาธิปไตย, วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม 2516, หน้า 1, 16.
  5. ประชาธิปไตย, วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2516, หน้า 1.
  6. ประชาธิปไตย, วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม 2516, หน้า 1.
  7. ประชาธิปไตย, วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2516, หน้า 1, 16.
  8. สยามรัฐ, วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม 2516, หน้า 5.
  9. สยามรัฐ,วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม 2516, หน้า16.
  10. สยามรัฐ,วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม 2516, หน้า1.
  11. ประชาธิปไตย, วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2516, หน้า 1, 16.
  12. ดู แถลงการณ์คณะนิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ เรื่องการปฏิบัติของกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2516 ใน บันทึกลับทุ่งใหญ่ หน้า 6-8.
  13. “บันทึก 20 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลา”, รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย: รวม 3 เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย, กรุงเทพฯ: สารคดี, 2541, หน้า 34.
  14. ธัญญา ชุนชฎาธาร. บันทึก1 ใน 13 กบฏรัฐธรรมนูญ: เรื่องบอกเล่าก่อนถึงวัน 14 ตุลา 16. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิชาการ 14 ตุลา, 2546, หน้า 120.
  15. ศิลา โคมฉาย (นามแฝง-วินัย บุญช่วย), เล่าความจริง: ขบวนการนักศึกษารามคำแหงยุคต้น 2514-2519, กรุงเทพฯ: มิ่งมิตร, 2543. หน้า 52-53.
  16. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, นิเวศประวัติศาสตร์: พรมแดนความรู้, กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2545. หน้า 31.