ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การกำกับดูแลกรุงเทพมหานคร"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ก๊กผ...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 3: | บรรทัดที่ 3: | ||
---- | ---- | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 14: | บรรทัดที่ 14: | ||
1) การกำกับดูแลภายในกรุงเทพมหานคร | 1) การกำกับดูแลภายในกรุงเทพมหานคร เป็นการกำกับดูแล[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]]โดย[[สภากรุงเทพมหานคร]] ซึ่ง[[พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528]]ได้กำหนดมาตรการต่างๆ ดังนี้ | ||
:(1) การตั้งกระทู้ถาม เพื่อกำกับดูแลให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกระทำการใด ๆ ด้วยเหตุผล | :(1) [[การตั้งกระทู้ถาม]] เพื่อกำกับดูแลให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกระทำการใด ๆ ด้วยเหตุผล และอยู่ในกรอบของ[[กฎหมาย]] กฎ หรือ ระเบียบข้อบังคับซึ่งออกภายใต้บังคับของกฎหมาย โดยให้สิทธิสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในเรื่องที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิที่จะไม่ตอบ เมื่อเห็นว่าเรื่องนั้น ๆ ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของกรุงเทพมหานคร | ||
:(2) การเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อกำกับดูแลให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร การเปิดอภิปรายทั่วไปกระทำได้โดยสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 | :(2) [[การเปิดอภิปรายทั่วไป]] เพื่อกำกับดูแลให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร การเปิดอภิปรายทั่วไปกระทำได้โดยสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิ[[เข้าชื่อเสนอญัตติ]]ขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป ซึ่งเป็นการเปิดอภิปรายโดยไม่มีการ[[ลงมติ]]ความไว้วางใจ | ||
:(3) การให้ความเห็นชอบ | :(3) [[การให้ความเห็นชอบ]] เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้[[สภากรุงเทพมหานคร]]ให้ความเห็นชอบในการตรา[[ข้อบัญญัติ]] เพื่อกำกับดูแลการดำเนินการพาณิชย์ การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้าง และการพัสดุ โดยไม่ต้องใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังเช่นท้องถิ่นรูปแบบอื่น | ||
2) การกำกับดูแลโดยองค์กรภายนอกกรุงเทพมหานคร เป็นการกำกับดูแลกรุงเทพมหานครโดยองค์กรส่วนกลาง ได้แก่ | 2) การกำกับดูแลโดยองค์กรภายนอกกรุงเทพมหานคร เป็นการกำกับดูแลกรุงเทพมหานครโดยองค์กรส่วนกลาง ได้แก่ [[รัฐมนตรี]]ว่าการ[[กระทรวงมหาดไทย]] [[คณะรัฐมนตรี]] และองค์กรส่วนกลางอื่น ๆ เช่น [[สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน]] เป็นต้น ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้ใช้มาตรการกำกับดูแลกรุงเทพมหานคร ดังนี้ | ||
:(1) มาตรการทั่วไป | :(1) มาตรการทั่วไป | ||
บรรทัดที่ 29: | บรรทัดที่ 29: | ||
::• เรื่องที่กรุงเทพมหานครต้องขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนกระทำการ หรือมีผลใช้บังคับ | ::• เรื่องที่กรุงเทพมหานครต้องขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนกระทำการ หรือมีผลใช้บังคับ | ||
:::o การร่วมกับบุคคลอื่นก่อตั้งบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัท หรือเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ | :::o การร่วมกับบุคคลอื่นก่อตั้งบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัท หรือเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ | ||
:::o | :::o [[การออกข้อบัญญัติ]]กรุงเทพมหานครเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ จากผู้ซึ่งใช้ หรือได้รับประโยชน์จาก[[บริการสาธารณะ]]ที่กรุงเทพมหานครจัดขึ้น | ||
:::o การมอบกิจการในอำนาจหน้าที่ให้เอกชนดำเนินการ โดยผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้อง | :::o การมอบกิจการในอำนาจหน้าที่ให้เอกชนดำเนินการ โดยผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้อง | ||
:::o ออกระเบียบว่าด้วยการมอบให้เอกชนกระทำกิจการ | :::o ออกระเบียบว่าด้วยการมอบให้เอกชนกระทำกิจการ | ||
:::o การออกข้อบังคับเพื่อให้ส่วนราชการส่วนกลางหรือส่วนราชการส่วนภูมิภาคมอบอำนาจหน้าที่ของตนให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติ | :::o การออกข้อบังคับเพื่อให้ส่วนราชการส่วนกลางหรือส่วนราชการส่วนภูมิภาคมอบอำนาจหน้าที่ของตนให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติ | ||
:::o | :::o การทำประกาศเพื่อให้ส่วน[[ราชการส่วนกลาง]]หรือส่วน[[ราชการส่วนภูมิภาค]]มอบอำนาจหน้าที่ของตนให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติ | ||
::• การอนุมัติ | ::• การอนุมัติ เป็นเรื่องที่[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ การตราข้อกำหนดกรุงเทพมหานครใช้บังคับเช่นเดียวกับข้อบัญญัติ ในกรณีที่ไม่มีสภากรุงเทพมหานคร หรือในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งมีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะ หรือป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ และจะเรียก[[ประชุมสภา]]กรุงเทพมหานครไม่ได้ทันท่วงที | ||
::• การยับยั้งการกระทำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยับยั้งการกระทำของผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานคร | ::• [[การยับยั้งการกระทำ]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยับยั้งการกระทำของผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานคร หากเห็นว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย[[มติคณะรัฐมนตรี]] หรือเป็นไปในทางที่อาจทำให้เสียประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร | ||
::• การสั่งการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อการกระทำที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกระทำไปโดยขัดต่อกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี หรือเป็นไปในทางที่จะทำให้เสียประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร | ::• [[การสั่งการ]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อการกระทำที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกระทำไปโดยขัดต่อกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี หรือเป็นไปในทางที่จะทำให้เสียประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร | ||
:(2) มาตรการด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ และประกาศ | :(2) มาตรการด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ และประกาศ | ||
บรรทัดที่ 42: | บรรทัดที่ 42: | ||
::• มาตรการด้านกฤษฎีกา เรื่องที่กรุงเทพมหานคร ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีตราพระราชกฤษฎีกาก่อนกระทำการ ได้แก่ | ::• มาตรการด้านกฤษฎีกา เรื่องที่กรุงเทพมหานคร ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีตราพระราชกฤษฎีกาก่อนกระทำการ ได้แก่ | ||
:::o การให้ข้าราชการการเมืองและคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ได้รับเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ๆ | :::o การให้ข้าราชการการเมืองและคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ได้รับเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ๆ | ||
:::o | :::o การให้[[ประธานสภาเขต]]และ[[สมาชิกสภาเขต]]ได้รับเงินประจำตำแหน่งเงินค่าเบี้ยประชุม และเงินค่าตอบแทนอื่น ๆ | ||
:::o การมอบอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของส่วนราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติในบางกรณี | :::o การมอบอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของส่วนราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติในบางกรณี | ||
:::o การตั้งและยุบเลิกสหการ | :::o การตั้งและยุบเลิกสหการ | ||
::• มาตรการด้านกฎกระทรวง ได้แก่ กรณีที่ส่วนราชการส่วนกลาง หรือส่วนราชการส่วนภูมิภาคจะมอบอำนาจหน้าที่ของตนให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติ ต้องออกเป็นกฎกระทรวง | ::• มาตรการด้านกฎกระทรวง ได้แก่ กรณีที่ส่วนราชการส่วนกลาง หรือส่วนราชการส่วนภูมิภาคจะมอบอำนาจหน้าที่ของตนให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติ ต้องออกเป็นกฎกระทรวง | ||
::• มาตรการด้านระเบียบ ได้แก่ กรณีที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบกำหนดการ | ::• มาตรการด้านระเบียบ ได้แก่ กรณีที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบกำหนดการ ใช้จ่าย[[เงินอุดหนุน]]ที่[[รัฐบาล]]จัดให้แก่กรุงเทพมหานคร | ||
::• มาตรการด้านประกาศ | ::• มาตรการด้านประกาศ | ||
::• มาตรการตรวจสอบการเงินและทรัพย์สิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจตรวจสอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การบัญชีการเงินและทรัพย์สินอื่นของกรุงเทพมหานคร สำหรับการรับเงินและการจ่ายเงินนั้น | ::• มาตรการตรวจสอบการเงินและทรัพย์สิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจตรวจสอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การบัญชีการเงินและทรัพย์สินอื่นของกรุงเทพมหานคร สำหรับการรับเงินและการจ่ายเงินนั้น เมื่อสิ้นปีงบประมาณผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ประกาศรายการรับจ่าย เงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงใน[[ราชกิจจานุเบกษา]] และเมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วจะทำรายงานผลการตรวจสอบ เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อเสนอ[[สภากรุงเทพมหานคร]]ต่อไป | ||
==การกำกับดูแลองค์กรและบุคคล == | ==การกำกับดูแลองค์กรและบุคคล == | ||
เพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกับสภากรุงเทพมหานคร และกำกับดูแลความประพฤติและคุณสมบัติของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร กระทำใน 2 ลักษณะ คือ | เพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกับสภากรุงเทพมหานคร และกำกับดูแลความประพฤติและคุณสมบัติของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร กระทำใน 2 ลักษณะ คือ | ||
บรรทัดที่ 59: | บรรทัดที่ 60: | ||
2) การกำกับดูแลโดยองค์กรภายนอกกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรส่วนกลางมีอำนาจใช้มาตรการกำกับดูแล ได้แก่ | 2) การกำกับดูแลโดยองค์กรภายนอกกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรส่วนกลางมีอำนาจใช้มาตรการกำกับดูแล ได้แก่ | ||
:(1) | :(1) การ[[ยุบสภา]]กรุงเทพมหานคร องค์กรส่วนกลางมีอำนาจกระทำได้ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้ | ||
::• การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกัน จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยุบสภาตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสนอ | ::• การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกัน จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยุบสภาตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสนอ | ||
::• การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกัน หรือเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้องจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการ และไม่อาจแก้ไขด้วยวิธีการอื่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอำนาจยุบสภา | ::• การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกัน หรือเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้องจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการ และไม่อาจแก้ไขด้วยวิธีการอื่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอำนาจยุบสภา | ||
::• | ::• กรณีที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นด้วยกับ[[ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย]]และผลการพิจารณาของคณะกรรมการร่วม ด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา ซึ่งทำให้ร่างข้อบัญญัติงบประมาณนั้นตกไป | ||
:(2) การให้สมาชิกสภาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งการสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินการสอบสวนแล้วพบว่า | :(2) การให้สมาชิกสภาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งการสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินการสอบสวนแล้วพบว่า | ||
::• ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร | ::• ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร | ||
::• | ::• เป็นผู้ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในหน่วยงานของภาครัฐหรือภาคเอกชนที่มีกฎหมายห้าม | ||
::• ขาดการประชุมสภากรุงเทพมหานครตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภา | ::• ขาดการประชุมสภากรุงเทพมหานครตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภา | ||
:(3) การให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครออกจากตำแหน่ง องค์กรส่วนกลางมีอำนาจกระทำได้ในกรณีดังนี้ | :(3) การให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครออกจากตำแหน่ง องค์กรส่วนกลางมีอำนาจกระทำได้ในกรณีดังนี้ | ||
::• | ::• กรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแสดงให้เห็นว่าได้กระทำการอันเสื่อมเสีย แก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง หรือปฏิบัติการ หรือละเลยไม่ปฏิบัติการอันควรปฏิบัติ ในลักษณะที่เห็นได้ว่าจะเป็นเหตุให้เสียหายอย่างร้ายแรงแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม หรือแก่การรักษาความสงบเรียบร้อย หรือสวัสดิภาพของราษฎร สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาลงมติให้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งรัฐมนตรีก็จะสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครออกจากตำแหน่งต่อไป | ||
::• | ::• กรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับ เลือกตั้ง หรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในหน่วยงานภาครัฐหรือภาค เอกชนที่มีกฎหมายห้าม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้น จากตำแหน่ง | ||
:(4) การลงคะแนนเสียงถอดถอน โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียง | :(4) การลงคะแนนเสียงถอดถอน โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียง เพื่อ[[ถอดถอน]][[สมาชิกสภาท้องถิ่น]]หรือผู้บริหารท้องถิ่น และถ้าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงพร้อมกันทั้งหมดเพราะ เหตุดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการยุบสภากรุงเทพมหานคร | ||
==ที่มา== | ==ที่มา== | ||
บรรทัดที่ 104: | บรรทัดที่ 105: | ||
กรุงเทพมหานคร <www.bma.go.th> | กรุงเทพมหานคร <www.bma.go.th> | ||
[[หมวดหมู่:การกำกับดูแลกรุงเทพมหานคร]] | [[หมวดหมู่:การกำกับดูแลกรุงเทพมหานคร]] | ||
[[หมวดหมู่:ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรทัย ก๊กผล]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:31, 27 กรกฎาคม 2554
ผู้เรียบเรียง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ก๊กผล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
การกำกับดูแลกรุงเทพมหานคร ถือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะการกำกับดูแลกรุงเทพมหานคร หรือเรียกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรภายในกรุงเทพมหานครและระหว่างกรุงเทพมหานครกับ ส่วนกลางมี 2 ลักษณะ ได้แก่ การกำกับดูแลการกระทำของกรุงเทพมหานคร และ การกำกับดูแลองค์กรและบุคคล
การกำกับดูแลการกระทำของกรุงเทพมหานคร
กระทำใน 2 ลักษณะ คือ
1) การกำกับดูแลภายในกรุงเทพมหานคร เป็นการกำกับดูแลผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528ได้กำหนดมาตรการต่างๆ ดังนี้
- (1) การตั้งกระทู้ถาม เพื่อกำกับดูแลให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกระทำการใด ๆ ด้วยเหตุผล และอยู่ในกรอบของกฎหมาย กฎ หรือ ระเบียบข้อบังคับซึ่งออกภายใต้บังคับของกฎหมาย โดยให้สิทธิสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในเรื่องที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิที่จะไม่ตอบ เมื่อเห็นว่าเรื่องนั้น ๆ ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของกรุงเทพมหานคร
- (2) การเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อกำกับดูแลให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร การเปิดอภิปรายทั่วไปกระทำได้โดยสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป ซึ่งเป็นการเปิดอภิปรายโดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ
- (3) การให้ความเห็นชอบ เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้สภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบในการตราข้อบัญญัติ เพื่อกำกับดูแลการดำเนินการพาณิชย์ การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้าง และการพัสดุ โดยไม่ต้องใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังเช่นท้องถิ่นรูปแบบอื่น
2) การกำกับดูแลโดยองค์กรภายนอกกรุงเทพมหานคร เป็นการกำกับดูแลกรุงเทพมหานครโดยองค์กรส่วนกลาง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คณะรัฐมนตรี และองค์กรส่วนกลางอื่น ๆ เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้ใช้มาตรการกำกับดูแลกรุงเทพมหานคร ดังนี้
- (1) มาตรการทั่วไป
- • เรื่องที่กรุงเทพมหานครต้องขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนกระทำการ หรือมีผลใช้บังคับ
- o การร่วมกับบุคคลอื่นก่อตั้งบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัท หรือเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่ถืออยู่
- o การออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ จากผู้ซึ่งใช้ หรือได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะที่กรุงเทพมหานครจัดขึ้น
- o การมอบกิจการในอำนาจหน้าที่ให้เอกชนดำเนินการ โดยผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้อง
- o ออกระเบียบว่าด้วยการมอบให้เอกชนกระทำกิจการ
- o การออกข้อบังคับเพื่อให้ส่วนราชการส่วนกลางหรือส่วนราชการส่วนภูมิภาคมอบอำนาจหน้าที่ของตนให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติ
- o การทำประกาศเพื่อให้ส่วนราชการส่วนกลางหรือส่วนราชการส่วนภูมิภาคมอบอำนาจหน้าที่ของตนให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติ
- • การอนุมัติ เป็นเรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ การตราข้อกำหนดกรุงเทพมหานครใช้บังคับเช่นเดียวกับข้อบัญญัติ ในกรณีที่ไม่มีสภากรุงเทพมหานคร หรือในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งมีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะ หรือป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ และจะเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครไม่ได้ทันท่วงที
- • การยับยั้งการกระทำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยับยั้งการกระทำของผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานคร หากเห็นว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายมติคณะรัฐมนตรี หรือเป็นไปในทางที่อาจทำให้เสียประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร
- • การสั่งการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อการกระทำที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกระทำไปโดยขัดต่อกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี หรือเป็นไปในทางที่จะทำให้เสียประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร
- • เรื่องที่กรุงเทพมหานครต้องขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนกระทำการ หรือมีผลใช้บังคับ
- (2) มาตรการด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ และประกาศ
- • มาตรการด้านกฤษฎีกา เรื่องที่กรุงเทพมหานคร ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีตราพระราชกฤษฎีกาก่อนกระทำการ ได้แก่
- o การให้ข้าราชการการเมืองและคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ได้รับเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ๆ
- o การให้ประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขตได้รับเงินประจำตำแหน่งเงินค่าเบี้ยประชุม และเงินค่าตอบแทนอื่น ๆ
- o การมอบอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของส่วนราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติในบางกรณี
- o การตั้งและยุบเลิกสหการ
- • มาตรการด้านกฎกระทรวง ได้แก่ กรณีที่ส่วนราชการส่วนกลาง หรือส่วนราชการส่วนภูมิภาคจะมอบอำนาจหน้าที่ของตนให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติ ต้องออกเป็นกฎกระทรวง
- • มาตรการด้านระเบียบ ได้แก่ กรณีที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบกำหนดการ ใช้จ่ายเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่กรุงเทพมหานคร
- • มาตรการด้านประกาศ
- • มาตรการตรวจสอบการเงินและทรัพย์สิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจตรวจสอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การบัญชีการเงินและทรัพย์สินอื่นของกรุงเทพมหานคร สำหรับการรับเงินและการจ่ายเงินนั้น เมื่อสิ้นปีงบประมาณผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ประกาศรายการรับจ่าย เงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงในราชกิจจานุเบกษา และเมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วจะทำรายงานผลการตรวจสอบ เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อเสนอสภากรุงเทพมหานครต่อไป
- • มาตรการด้านกฤษฎีกา เรื่องที่กรุงเทพมหานคร ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีตราพระราชกฤษฎีกาก่อนกระทำการ ได้แก่
การกำกับดูแลองค์กรและบุคคล
เพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกับสภากรุงเทพมหานคร และกำกับดูแลความประพฤติและคุณสมบัติของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร กระทำใน 2 ลักษณะ คือ
1) การกำกับดูแลภายในองค์กรกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีที่สภากรุงเทพมหานครวินิจฉัยให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครออกจาก ตำแหน่ง เพราะเห็นว่าได้กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งโดย มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอเป็นญัตติ หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณา และสภากรุงเทพมหานครลงมติด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา ให้สมาชิกผู้นั้นออกจากตำแหน่ง ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครลงมติ
2) การกำกับดูแลโดยองค์กรภายนอกกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรส่วนกลางมีอำนาจใช้มาตรการกำกับดูแล ได้แก่
- (1) การยุบสภากรุงเทพมหานคร องค์กรส่วนกลางมีอำนาจกระทำได้ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้
- • การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกัน จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยุบสภาตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสนอ
- • การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกัน หรือเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้องจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการ และไม่อาจแก้ไขด้วยวิธีการอื่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอำนาจยุบสภา
- • กรณีที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายและผลการพิจารณาของคณะกรรมการร่วม ด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา ซึ่งทำให้ร่างข้อบัญญัติงบประมาณนั้นตกไป
- (2) การให้สมาชิกสภาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งการสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินการสอบสวนแล้วพบว่า
- • ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- • เป็นผู้ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในหน่วยงานของภาครัฐหรือภาคเอกชนที่มีกฎหมายห้าม
- • ขาดการประชุมสภากรุงเทพมหานครตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภา
- (3) การให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครออกจากตำแหน่ง องค์กรส่วนกลางมีอำนาจกระทำได้ในกรณีดังนี้
- • กรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแสดงให้เห็นว่าได้กระทำการอันเสื่อมเสีย แก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง หรือปฏิบัติการ หรือละเลยไม่ปฏิบัติการอันควรปฏิบัติ ในลักษณะที่เห็นได้ว่าจะเป็นเหตุให้เสียหายอย่างร้ายแรงแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม หรือแก่การรักษาความสงบเรียบร้อย หรือสวัสดิภาพของราษฎร สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาลงมติให้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งรัฐมนตรีก็จะสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครออกจากตำแหน่งต่อไป
- • กรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับ เลือกตั้ง หรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในหน่วยงานภาครัฐหรือภาค เอกชนที่มีกฎหมายห้าม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้น จากตำแหน่ง
- (4) การลงคะแนนเสียงถอดถอน โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียง เพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และถ้าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงพร้อมกันทั้งหมดเพราะ เหตุดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นการยุบสภากรุงเทพมหานคร
ที่มา
สถาบันพระปกเกล้า. สารานุกรมการปกครองท้องถิ่น หมวดที่ 3 พัฒนาการและรูปแบบการปกครองท้องถิ่นไทย ลำดับที่ 5 เรื่อง กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2547.
โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543.
ชูวิทย์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. การกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น เปรียบเทรียบ :อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2541.
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร ปีที่ 27, 2542.
พัชรี สิโรรส และอรทัย ก๊กผล บรรณาธิการ. การบริหารเมือง : กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. จากเทศบาลสู่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร, 2542.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 กรุงเทพมหานคร <www.bma.go.th>