ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิจารณาเรียงลำดับมาตรา"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) | |||
บรรทัดที่ 44: | บรรทัดที่ 44: | ||
• วุฒิสภา มีการพิจารณา 3 วาระ เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร คือ วาระที่1 พิจารณาโดยคณะกรรมาธิการวุฒิสภาเป็นรายมาตรา วาระที่2 พิจารณารายมาตราโดยวุฒิสภา อภิปรายได้โดยไม่จำกัดเวลา และวาระที่ 3 ลงมติ หากวุฒิสภาไม่เห็นชอบจะต้องตั้งคณะกรรมาธิการผสม (Joint Conference Committee) ทำรายงานเสนอสภาเพื่อประกาศเป็นกฎหมาย | • วุฒิสภา มีการพิจารณา 3 วาระ เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร คือ วาระที่1 พิจารณาโดยคณะกรรมาธิการวุฒิสภาเป็นรายมาตรา วาระที่2 พิจารณารายมาตราโดยวุฒิสภา อภิปรายได้โดยไม่จำกัดเวลา และวาระที่ 3 ลงมติ หากวุฒิสภาไม่เห็นชอบจะต้องตั้งคณะกรรมาธิการผสม (Joint Conference Committee) ทำรายงานเสนอสภาเพื่อประกาศเป็นกฎหมาย | ||
'''3. เครือรัฐออสเตรเลีย''' การพิจารณากฎหมายของออสเตรเลียนั้น ทั้ง[[สภาผู้แทนราษฎร]] | '''3. เครือรัฐออสเตรเลีย''' การพิจารณากฎหมายของออสเตรเลียนั้น ทั้ง[[สภาผู้แทนราษฎร]] และ[[วุฒิสภา]] ต่างก็แยกการพิจารณากฎหมายออกเป็น 3 วาระ<ref>ปกรณ์ นิลประพันธ์, '''กระบวนการตรากฎหมายของเครือรัฐออสเตรเลีย,''' [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://library.uru.ac.th/webdb/images/lawreform.go.th-27.pdf . เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552.</ref> โดยมีการพิจารณาเรียงลำดับมาตราในวาระที่ 2 ดังนี้ | ||
วาระที่หนึ่ง เป็นการเสนอร่างกฎหมายต่อสภา ในลักษณะแบบพิธี โดย[[รัฐมนตรี]]ผู้รับผิดชอบ | วาระที่หนึ่ง เป็นการเสนอร่างกฎหมายต่อสภา ในลักษณะแบบพิธี โดย[[รัฐมนตรี]]ผู้รับผิดชอบ | ||
บรรทัดที่ 66: | บรรทัดที่ 66: | ||
• ขั้นตอนที่ 2 การพิจารณาเรียงลำดับมาตราในชั้นที่ประชุมสภา ซึ่งมีการกำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมสภา ดังนี้ | • ขั้นตอนที่ 2 การพิจารณาเรียงลำดับมาตราในชั้นที่ประชุมสภา ซึ่งมีการกำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมสภา ดังนี้ | ||
'''ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2551''' ข้อ129 และ 130<ref>“ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2551”, '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 125, ตอนพิเศษ 79ง (2 พฤษภาคม 2551) หน้า 36.</ref> ได้กล่าวถึงหลักการเกี่ยวกับการพิจารณาเรียงลำดับมาตราว่า ในการพิจารณากฎหมายที่กรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วนั้นให้พิจารณาตั้งแต่ ชื่อร่าง คำปรารภ แล้วพิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา และสมาชิกจะอภิปรายได้เฉพาะได้เฉพาะส่วนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือ | '''ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2551''' ข้อ129 และ 130<ref>“ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2551”, '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 125, ตอนพิเศษ 79ง (2 พฤษภาคม 2551) หน้า 36.</ref> ได้กล่าวถึงหลักการเกี่ยวกับการพิจารณาเรียงลำดับมาตราว่า ในการพิจารณากฎหมายที่กรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วนั้นให้พิจารณาตั้งแต่ ชื่อร่าง คำปรารภ แล้วพิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา และสมาชิกจะอภิปรายได้เฉพาะได้เฉพาะส่วนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือ ส่วนที่มีการ[[สงวนคำแปรญัตติ]] หรือส่วนที่กรรมาธิการสงวนความเห็นไว้เท่านั้น เว้นแต่ที่ประชุมลงมติเป็นอย่างอื่น เมื่อพิจารณาทุกมาตราจนจบร่างให้พิจารณาทั้งร่างเพื่อสรุปอีกครั้งซึ่งในขั้นนี้อาจเพิ่มเติมถ้อยคำได้ แต่เพิ่มเนื้อความไม่ได้ยกเว้นเนื้อความที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ | ||
'''ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พุทธศักราช 2551''' ข้อ146 และ 147<ref>“ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พุทธศักราช 2551”, '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 125, ตอนพิเศษ 76ง (25 เมษายน 2551) หน้า 76-77.</ref> ได้กล่าวถึงหลักการเกี่ยวกับการพิจารณาเรียงลำดับมาตราไว้ในลักษณะเดียวกับสภาผู้แทนราษฎรที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คือหลังจากผ่านชั้นกรรมาธิการแล้ว สภาต้องพิจารณาเรียงตามลำดับมาตราเฉพาะส่วนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม สงวนคำแปรญัตติ หรือกรรมาธิการสงวนความเห็น และพิจารณาสรุปทั้งร่างอีกทีก่อนลงมติในวาระ 3 | '''ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พุทธศักราช 2551''' ข้อ146 และ 147<ref>“ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พุทธศักราช 2551”, '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 125, ตอนพิเศษ 76ง (25 เมษายน 2551) หน้า 76-77.</ref> ได้กล่าวถึงหลักการเกี่ยวกับการพิจารณาเรียงลำดับมาตราไว้ในลักษณะเดียวกับสภาผู้แทนราษฎรที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คือหลังจากผ่านชั้นกรรมาธิการแล้ว สภาต้องพิจารณาเรียงตามลำดับมาตราเฉพาะส่วนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม [[สงวนคำแปรญัตติ]] หรือกรรมาธิการสงวนความเห็น และพิจารณาสรุปทั้งร่างอีกทีก่อนลงมติในวาระ 3 | ||
'''ข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช 2549''' ข้อ 120<ref>“ข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช 2549”, '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 123, ตอนพิเศษ 124ง (29 พฤศจิกายน 2519) หน้า 43.</ref> ได้ระบุเกี่ยวกับการพิจารณาเรียงลำดับมาตราไว้เหมือนกับสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา คือให้ปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน | '''ข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช 2549''' ข้อ 120<ref>“ข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช 2549”, '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 123, ตอนพิเศษ 124ง (29 พฤศจิกายน 2519) หน้า 43.</ref> ได้ระบุเกี่ยวกับการพิจารณาเรียงลำดับมาตราไว้เหมือนกับสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา คือให้ปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน | ||
บรรทัดที่ 91: | บรรทัดที่ 91: | ||
'''กฎหมายรัฐสภา .''' (2535). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. | '''กฎหมายรัฐสภา .''' (2535). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. | ||
บุญรักษา ชมชื่น. (2552). '''มาตรการใหม่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 เกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติ : พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ.''' [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_cons50/article01.pdf เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552. | บุญรักษา ชมชื่น. (2552). '''มาตรการใหม่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 เกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติ : พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ.''' [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_cons50/article01.pdf เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552. | ||
บรรทัดที่ 127: | บรรทัดที่ 126: | ||
*[[แปรญัตติ]] | *[[แปรญัตติ]] | ||
[[ | [[หมวดหมู่: กิจกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการทางนิติบัญญัติ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 17:33, 6 กันยายน 2553
ผู้เรียบเรียง ปรียานุช คลอวุฒิวัฒน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่ารัฐบาลจำเป็นต้องมีกฎหมายเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หากมีกระบวนการนิติบัญญัติที่ดีมีประสิทธิภาพย่อมส่งผลให้ฝ่ายบริหารสามารถมีกฎหมายที่ดีและมีประสิทธิภาพเพียงพอแก่การพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ซึ่งกระบวนการนิติบัญญัติที่ดีนั้นต้องประกอบด้วยร่างกฎหมายที่ดีซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้า วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพในการพิจารณาและตรากฎหมาย และตัวกฎหมายที่ดีในฐานะที่เป็นผลลัพธ์ ดังแผนภูมินี้
จะเห็นได้ว่าวิธีการทำงานในการพิจารณากฎหมายนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ในการออกกฎหมายที่มีคุณภาพ คือจะต้องผ่านกระบวนการพิจารณากฎหมายที่ถี่ถ้วน ละเอียดรอบคอบ และรอบด้าน โดย สถาบันนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ซึ่งเป็นองค์กรมีหน้าที่สำคัญโดยตรงในการพิจารณาร่างกฎหมาย[1] วิธีการหนึ่งที่สนับสนุนให้การพิจารณากฎหมายแต่ละฉบับนั้นมีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ก็คือ การพิจารณาเรียงลำดับมาตรา
ความหมายและความสำคัญ
พิจารณาเรียงลำดับมาตรา หมายถึง กระบวนการตรากฎหมายขั้นตอนหนึ่ง ซึ่งเป็นการพิจารณารายละเอียดของร่างกฎหมายแต่ละฉบับ เรียงตามลำดับ ตั้งแต่ชื่อเรื่อง และไล่ไปทีละมาตราจนจบมาตราสุดท้ายของกฎหมายฉบับนั้น อยู่ในการพิจารณากฎหมาย วาระที่สองของสภาซึ่งจะประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ การพิจารณาในขั้นกรรมาธิการ และการพิจารณาในขั้นที่ประชุมสภา[2] (ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี) ซึ่งการพิจารณาในวาระที่สองนี้นิยมเรียกว่า “ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา” แต่บางครั้งจะเรียกว่า “ขั้นแปรญัตติ”
กฎหมายที่จะต้องผ่านการพิจารณาเรียงลำดับมาตราในวาระที่สองดังกล่าว ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะต้องผ่านการพิจารณาทั้งในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และที่ประชุมวุฒิสภา รวมถึงร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องผ่านการพิจารณาของที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ และ ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งต้องผ่านพิจารณะในที่ประชุมของรัฐสภา
การพิจารณาเรียงลำดับมาตรานี้เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะสิ่งสำคัญในการพิจารณากฎหมาย คือความละเอียดรอบคอบในการพิจารณา[3] ในขั้นตอนนี้จึงต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในการพิจารณาไล่เรียงไปตามลำดับตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ครบถ้วน และสมบูรณ์ อันส่งผลให้กระบวนการตราพระราชบัญญัตินั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่จะต้องพิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา จะเห็นว่าทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
1. เพื่อให้เกิดความสะดวกและเป็นระเบียบเรียบร้อยในการพิจารณากฎหมาย ซึ่งกฎหมายบางฉบับมีเนื้อหามาก การพิจาณาไล่เรียงไปตามลำดับช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความสับสน ทำให้การพิจารณาทำได้ต่อเนื่อง ราบรื่น ไม่ติดขัด
2. ร่างกฎหมาย หรือ ร่างพระราชบัญญัติส่วนใหญ่จะมีเนื้อความที่ซับซ้อน และมีความเชื่อมโยงกันอยู่มาก ทั้งที่โยงกับมาตราอื่นในกฎหมายฉบับเดียวกัน และที่โยงกับกฎหมายฉบับอื่น ดังนั้นการพิจารณาเรียงลำดับมาตราจะช่วยให้การพิจารณาทำได้อย่างเป็นระบบ สามารถอภิปรายอ้างอิงเชื่อมโยงกันโดยไม่สับสน
3. การพิจารณาเรียงลำดับมาตรานั้น เป็นการพิจารณาเนื้อหาของร่างกฎหมายนั้นเป็นหมวดหมู่ ตามที่ผู้ยกร่างได้จัดแบ่งไว้เป็นหมวดๆ หรือ เป็นส่วนๆ ซึ่งจัดลำดับเนื้อหาเอาไว้อย่างชัดเจน
4. ทำให้กระบวนการพิจารณากฎหมายในขั้นตอนนี้ได้มาตรฐานสากล เพราะเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางในต่างประเทศ เป็นการใช้เวลาในการทำงานของรัฐสภาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การพิจารณาเรียงลำดับมาตราในต่างประเทศ
การพิจารณาเรียงลำดับมาตรา นับเป็นขั้นตอนการพิจารณากฎหมายที่มีส่วนสำคัญในการทำให้กระบวนการนิติบัญญัตินั้นมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลายๆประเทศให้การยอมรับ และนำวิธีนี้ไปใช้ ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง 3 ประเทศที่นำการพิจารณาเรียงลำดับมาตราไปใช้ คือ
1. ประเทศอังกฤษ กระบวนการนิติบัญญัติของอังกฤษนั้นจะต้องเสนอผ่านรัฐสภา ทั้งสภาล่าง (House of Common) และสภาสูงหรือสภาขุนนาง (House of Lord) ซึ่งการพิจารณาเรียงลำดับมาตราจะอยู่ในวาระที่สองของทั้งสองสภา โดยอาจสรุปขั้นตอนการพิจารณาได้ดังนี้[4]
• พิจารณาโดยสภาล่าง (House of Common) แบ่งออกเป็น 3 วาระ โดยวาระที่หนึ่ง (First Reading) เป็นขั้นตอนการรับร่างกฎหมายไว้พิจารณา ซึ่งไม่มีการอภิปราย แต่มีการให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น วาระที่สอง (Second Reading) ซึ่งเปิดให้สมาชิกอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยมีการนำหลักพิจารณาเรียงลำดับมาตรามาใช้ทั้ง 2 ขั้นตอน[5] คือ ขั้นที่ 1 ขั้นคณะกรรมาธิการ (Committee) ซึ่งสภาจะมีการลงมติว่าจะส่งร่างให้คณะกรรมาธิการสามัญ (Standing Committee) คณะกรรมการเต็มสภา (Committee of the Whole House) หรือ คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ดำเนินการพิจารณารายมาตรา (Clause-by-Clause) ขั้นที่ 2 การพิจารณาโดยสภาล่างในขั้นรายงาน (Report Stage) หลังจากที่กรรมาธิการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงร่างกฎหมายเรียบร้อยแล้วจะรายงานต่อสภาเพื่อให้ตรวจสอบรายมาตราอีกครั้งและลงมติเห็นชอบ ก่อนส่งไปพิจารณาภาพรวมในวาระที่สาม (Third Reading) ต่อไป
• พิจารณาโดยสภาสูง (House of Lord) แบ่งออกเป็น 3 วาระ และดำเนินการเช่นเดียวกับกับสภาล่างคือวาระที่ 1 ลงมติรับร่างกฎหมายไว้พิจารณา วาระที่ 2 พิจารณารายมาตราโดยกรรมาธิการ และสภาสูงในขั้นรายงาน และ วาระที่ 3 ลงมติ
2. ประเทศสหรัฐอเมริกา กระบวนการนิติบัญญัติของสหรัฐอเมริกานั้นจะต้องมีการเสนอร่างกฎหมายผ่านการพิจารณาของสภา ซึ่งมีการพิจารณาเรียงลำดับมาตราในวาระที่หนึ่งและ วาระที่สองของทั้งสองสภา[6] ดังนี้
• สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งแบ่งการพิจารณาเป็น 3 วาระ โดยวาระที่ 1 เป็นการพิจารณากฎหมายอย่างละเอียดทุกมาตราตามลำดับโดยคณะกรรมาธิการ ขั้นนี้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น (Hearing) เพื่อปรับปรุงร่างกฎหมาย (Make Up) ก่อนรายงานต่อสภาใน วาระที่ 2 ซึ่งเป็นการพิจารณาโดยสภาคองเกรส มีการอภิปรายอย่างเต็มที่เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมาย (Amendment) เป็นรายมาตรา (Section-by-Section) จนครบทุกมาตรา คนละไม่เกิน 5 นาทีก่อนลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่วาระที่ 3 หากผ่านความเห็นชอบจะส่งต่อไปยังวุฒิสภา
• วุฒิสภา มีการพิจารณา 3 วาระ เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร คือ วาระที่1 พิจารณาโดยคณะกรรมาธิการวุฒิสภาเป็นรายมาตรา วาระที่2 พิจารณารายมาตราโดยวุฒิสภา อภิปรายได้โดยไม่จำกัดเวลา และวาระที่ 3 ลงมติ หากวุฒิสภาไม่เห็นชอบจะต้องตั้งคณะกรรมาธิการผสม (Joint Conference Committee) ทำรายงานเสนอสภาเพื่อประกาศเป็นกฎหมาย
3. เครือรัฐออสเตรเลีย การพิจารณากฎหมายของออสเตรเลียนั้น ทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ต่างก็แยกการพิจารณากฎหมายออกเป็น 3 วาระ[7] โดยมีการพิจารณาเรียงลำดับมาตราในวาระที่ 2 ดังนี้
วาระที่หนึ่ง เป็นการเสนอร่างกฎหมายต่อสภา ในลักษณะแบบพิธี โดยรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบ
วาระที่สอง เป็นการพิจารณารายละเอียดของร่างกฎหมายเริ่มจากหลักการ หากผ่านการพิจารณาช่วงแรกนี้ ก็จะไปสู่ชั้นกรรมาธิการ (Committee Stage) ซึ่งเป็นการพิจารณาเรียงมาตรา หากประธานเห็นว่าสมาชิกส่วนใหญ่ไม่ประสงค์จะตรวจรายละเอียดก็ผ่านวาระนี้ไปได้เลย
วาระที่สาม การลงมติอนุมัติร่างกฎหมาย หากผ่านวาระนี้ของสภาผู้แทนราษฎรก็จะต้องส่งต่อวุฒิสภา
หากผ่านทั้งสามวาระของวุฒิสภา ก็ส่งต่อผู้สำเร็จราชการในฐานะผู้แทนพระองค์เพื่อขอความเห็นชอบ (Royal Assent) ก่อนประกาศใช้เป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา
การพิจารณาเรียงลำดับมาตราของร่างพระราชบัญญัติ หรือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
สำหรับกระบวนการนิติบัญญัติของไทยในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น แบ่งออกเป็น 3 วาระ คือวาระที่ 1 รับหลักการ วาระที่ 2 พิจารณาเรียงลำดับมาตรา วาระที่ 3 การลงมติ
โดยในวาระที่สองซึ่งเป็นการพิจารณาเรียงลำดับมาตรา หรือบางครั้งเรียกว่า ขั้นแปรญัตติ ของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา หรือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แล้วแต่กรณี แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
• ขั้นตอนที่ 1 การพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ ซึ่งเป็นการพิจารณาเนื้อหากฎหมายโดยละเอียดทุกมาตราตามลำดับ ซึ่งโดยปกติจะพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้ง (คณะกรรมาธิการสามัญ หรือ คณะกรรมาธิการวิสามัญ) โดยการแปรญัตติหรือการขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นจะต้องทำเป็นรายมาตราขั้นนี้ละเอียดมาก และต้องทำรายงานให้เห็นถึงเนื้อความเดิมกับที่แก้ไขใหม่ให้เห็นควบคู่กันไปเพื่อเสนอต่อสภาให้พิจารณาในขั้นต่อไป[8]
ทั้งนี้อาจพิจารณาโดย คณะกรรมาธิการเต็มสภาในกรณีที่คณะรัฐมนตรีร้องขอหรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคนและสภามีมติตามที่ร้องขอ ให้ถือว่าสมาชิกทั้งหมดทำหน้าที่เป็นกรรมาธิการและสามารถพิจารณา 3 วาระรวด เป็นการรวมการพิจารณาในวาระที่ 2 ขั้นกรรมาธิการ และการพิจารณาเรียงลำดับมาตราของสภารวมกันไป[9]
• ขั้นตอนที่ 2 การพิจารณาเรียงลำดับมาตราในชั้นที่ประชุมสภา ซึ่งมีการกำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมสภา ดังนี้
ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2551 ข้อ129 และ 130[10] ได้กล่าวถึงหลักการเกี่ยวกับการพิจารณาเรียงลำดับมาตราว่า ในการพิจารณากฎหมายที่กรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วนั้นให้พิจารณาตั้งแต่ ชื่อร่าง คำปรารภ แล้วพิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา และสมาชิกจะอภิปรายได้เฉพาะได้เฉพาะส่วนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือ ส่วนที่มีการสงวนคำแปรญัตติ หรือส่วนที่กรรมาธิการสงวนความเห็นไว้เท่านั้น เว้นแต่ที่ประชุมลงมติเป็นอย่างอื่น เมื่อพิจารณาทุกมาตราจนจบร่างให้พิจารณาทั้งร่างเพื่อสรุปอีกครั้งซึ่งในขั้นนี้อาจเพิ่มเติมถ้อยคำได้ แต่เพิ่มเนื้อความไม่ได้ยกเว้นเนื้อความที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พุทธศักราช 2551 ข้อ146 และ 147[11] ได้กล่าวถึงหลักการเกี่ยวกับการพิจารณาเรียงลำดับมาตราไว้ในลักษณะเดียวกับสภาผู้แทนราษฎรที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คือหลังจากผ่านชั้นกรรมาธิการแล้ว สภาต้องพิจารณาเรียงตามลำดับมาตราเฉพาะส่วนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม สงวนคำแปรญัตติ หรือกรรมาธิการสงวนความเห็น และพิจารณาสรุปทั้งร่างอีกทีก่อนลงมติในวาระ 3
ข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช 2549 ข้อ 120[12] ได้ระบุเกี่ยวกับการพิจารณาเรียงลำดับมาตราไว้เหมือนกับสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา คือให้ปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน
การพิจารณาเรียงลำดับมาตราของร่างรัฐธรรมนูญ และร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ[13] โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ นั้น ก็จะมีการพิจารณาเรียงลำดับมาตรา เช่นเดียวกับกฎหมายอื่น ทั้ง 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือหลังจากจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเป็นร่างเบื้องต้นก็จะนำมาพิจารณารายมาตรา แล้วจัดทำร่างรัฐธรรมนูญออกเผยแพร่ จากนั้นคณะกรรมาธิการจะต้องพิจารณาความเห็น และ คำแปรญัตติ เป็นรายมาตราก่อนจัดทำรายงานการแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมเหตุผล เสนอสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ขั้นตอนตอนที่ 2 การพิจารณาเรียงลำดับมาตราในที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อคณะกรรมาธิการจัดทำรายงานผลการพิจารณาเสนอมา สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบในมาตราที่การแปรญัตติ หรือเสนอให้แก้ไข ก่อนลงมติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต่อไป
การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม โดยรัฐสภานั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[14] มาตรา 291 (4) ได้กำหนดให้มีการพิจารณาเรียงลำดับมาตราในวาระที่สอง โดยในขั้นนี้จะต้องรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย
จะเห็นได้ว่า การพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ถือเป็นขั้นตอนที่นับว่ามีความสำคัญต่อกระบวนการนิติบัญญัติเป็นอย่างยิ่ง เป็นวิธีการ หรือ กลวิธี ที่ได้รับการยอมรับกันในระดับสากล ว่าทำให้การพิจาณากฎหมายนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันส่งผลให้ประเทศนั้นๆมีกฎหมายที่ดีเพื่อประโยชน์ของประชาชน
อ้างอิง
- ↑ กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์, “กระบวนการตรากฎหมาย.” ใน คู่มือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. (หน้า 55-100) นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2548, หน้า 73.
- ↑ คณิน บุญสุวรรณ, “พิจารณาเรียงลำดับมาตรา” ใน ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. (หน้า 678-679) กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548, หน้า 678.
- ↑ จเร พันธุ์เปรื่อง “กระบวนการตรากฎหมาย” รัฐสภาสาร, 49, 8 (สิงหาคม 2544), หน้า 7.
- ↑ อนุพร อรุณรัตน์, กระบวนการนิติบัญญัติกับการมีส่วนร่วมของประชาชน, กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2546, หน้า 14-15.
- ↑ จามร โสมานันท์, การปรึกษาหารือและการรับฟังความคิดเห็นในกระบวนการนิติบัญญัติและการออกกฎข้อบังคับ, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544, หน้า 21.
- ↑ อนุพร อรุณรัตน์, อ้างแล้ว, หน้า 21-22.
- ↑ ปกรณ์ นิลประพันธ์, กระบวนการตรากฎหมายของเครือรัฐออสเตรเลีย, [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://library.uru.ac.th/webdb/images/lawreform.go.th-27.pdf . เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552.
- ↑ นรนิติ เศรษฐบุตร, กระบวนการนิติบัญญัติของรัฐสภาไทย, กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2544, หน้า 43.
- ↑ ระบบงานรัฐสภา, กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2539, หน้า 48.
- ↑ “ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2551”, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 125, ตอนพิเศษ 79ง (2 พฤษภาคม 2551) หน้า 36.
- ↑ “ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พุทธศักราช 2551”, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 125, ตอนพิเศษ 76ง (25 เมษายน 2551) หน้า 76-77.
- ↑ “ข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช 2549”, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 123, ตอนพิเศษ 124ง (29 พฤศจิกายน 2519) หน้า 43.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ.2550, กรุงเทพฯ: สำนักงาน., 2550, หน้า 22-35.
- ↑ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550”, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 124, ตอน 47ก (24 สิงหาคม 2550) หน้า 117.
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
กฎหมายรัฐสภา . (2535). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุญรักษา ชมชื่น. (2552). มาตรการใหม่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 เกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติ : พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ. [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_cons50/article01.pdf เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552.
ศรชัย ท้าวมิตร. (2549). ระบบรัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
บรรณานุกรม
กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์. (2548). “กระบวนการตรากฎหมาย.” ใน คู่มือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. (หน้า 55-100) นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, .
“ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พุทธศักราช 2551”. (25 เมษายน 2551). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 125 : ตอนพิเศษ 76ง : 41-86.
“ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2551”. (2 พฤษภาคม 2551). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 125, ตอนพิเศษ 79ง : 9-45.
คณิน บุญสุวรรณ. (2548). “พิจารณาเรียงลำดับมาตรา” ใน ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. (หน้า 678-679) กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
จเร พันธุ์เปรื่อง. (สิงหาคม 2544). “กระบวนการตรากฎหมาย” รัฐสภาสาร, 49,8 : 1-88.
จามร โสมานันท์. (2544). การปรึกษาหารือและการรับฟังความคิดเห็นในกระบวนการนิติบัญญัติและการออกกฎข้อบังคับ, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 21.
นรนิติ เศรษฐบุตร. (2544). กระบวนการนิติบัญญัติของรัฐสภาไทย, กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ปกรณ์ นิลประพันธ์. (2552). กระบวนการตรากฎหมายของเครือรัฐออสเตรเลีย. [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://library.uru.ac.th/webdb/images/lawreform.go.th-27.pdf . เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552.
ระบบงานรัฐสภา. (2539). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550”. (24 สิงหาคม 2550). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 124 : ตอน 47ก : 1-127.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
อนุพร อรุณรัตน์. (2546). กระบวนการนิติบัญญัติกับการมีส่วนร่วมของประชาชน, กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.