ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้รับรอง"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 11 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน)
บรรทัดที่ 5: บรรทัดที่ 5:
----
----


รัฐสภา ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร  มีอำนาจหน้าที่การตรากฎหมาย  การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ ๆ อาทิ การประกาศสงคราม การรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ฯลฯ และ  การแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ  อาทิ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ อนึ่ง วิธีการดำเนินบทบาทตามอำนาจและหน้าที่ของรัฐสภา  มักปรากฏในรูปของการประชุมเป็นหลัก โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินบทบาทตามอำนาจและหน้าที่ของสมาชิกฯ คือ กระทู้ถาม และญัตติ* โดยสมาชิกฯ จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา แต่ทั้งนี้ต้องมีผู้รับรองเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับการประชุมสภา
รัฐสภา ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร  มีอำนาจหน้าที่การตรากฎหมาย  [[การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน]]ของรัฐบาล [[การให้ความเห็นชอบ]]ในเรื่องสำคัญ ๆ อาทิ การประกาศสงคราม การรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ฯลฯ และ  การแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ  อาทิ [[นายกรัฐมนตรี]] [[รัฐมนตรี]] สมาชิก[[วุฒิสภา]] สมาชิก[[สภาผู้แทนราษฎร]] ฯลฯ อนึ่ง วิธีการดำเนินบทบาทตามอำนาจและหน้าที่ของรัฐสภา  มักปรากฏในรูปของการประชุมเป็นหลัก โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินบทบาทตามอำนาจและหน้าที่ของสมาชิกฯ คือ กระทู้ถาม และ[[ญัตติ]]* โดยสมาชิกฯ จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา แต่ทั้งนี้ต้องมีผู้รับรองเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับ[[การประชุมสภา]]


==ความหมายและความสำคัญ==
==ความหมายและความสำคัญ==


ผู้รับรอง หมายถึง ผู้สนับสนุนในญัตติของสมาชิกสภาที่เสนอเพื่อให้ที่ประชุมสภาพิจารณา ซึ่งแบ่งได้ 2 กรณี
ผู้รับรอง หมายถึง ผู้สนับสนุนใน[[ญัตติ]]ของสมาชิกสภาที่เสนอเพื่อให้ที่ประชุมสภาพิจารณา ซึ่งแบ่งได้ 2 กรณี


กรณีที่ผู้รับรองเป็นสมาชิกสภา ซึ่งวิธีการนี้อาจเป็นการยกมือรับรองในที่ประชุมสภาหรืออาจร่วมลงชื่อในญัตติของสมาชิกสภาคนอื่น เพื่อให้ญัตติมีความสมบูรณ์ตามข้อบังคับการประชุมสภา และได้รับการพิจารณาโดยที่ประชุมของสภา อนึ่ง การเสนอญัตติใด ๆ เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาหรือดำเนินการ หรือมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น สมาชิกสภาผู้เสนอจะเป็นผู้อภิปรายถึงหลักการและเหตุผล หรือเป็นผู้อภิปรายเสนอในญัตตินั้นเป็นหลัก โดยผู้รับรองเป็นเพียงผู้อภิปรายสนับสนุนหรือเพียงแต่ลงชื่อรับรองอย่างเดียว โดยมิได้อภิปรายก็ได้
กรณีที่ผู้รับรองเป็นสมาชิกสภา ซึ่งวิธีการนี้อาจเป็นการยกมือรับรองในที่ประชุมสภาหรืออาจร่วมลงชื่อในญัตติของสมาชิกสภาคนอื่น เพื่อให้ญัตติมีความสมบูรณ์ตามข้อบังคับการประชุมสภา และได้รับการพิจารณาโดยที่ประชุมของสภา อนึ่ง การเสนอญัตติใด ๆ เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาหรือดำเนินการ หรือมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น สมาชิกสภาผู้เสนอจะเป็นผู้อภิปรายถึงหลักการและเหตุผล หรือเป็นผู้อภิปรายเสนอในญัตตินั้นเป็นหลัก โดยผู้รับรองเป็นเพียงผู้อภิปรายสนับสนุนหรือเพียงแต่ลงชื่อรับรองอย่างเดียว โดยมิได้อภิปรายก็ได้


กรณีผู้รับรองเป็นนายกรัฐมนตรี จะเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ญัตติที่สมาชิกสภาเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
กรณีผู้รับรองเป็น[[นายกรัฐมนตรี]] จะเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ญัตติที่สมาชิกสภาเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน


==ประวัติความเป็นมา==
==ประวัติความเป็นมา==
บรรทัดที่ 19: บรรทัดที่ 19:
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 และข้อบังคับและการปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2476 ได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร ที่สำคัญไว้ดังนี้ คือ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 และข้อบังคับและการปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2476 ได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร ที่สำคัญไว้ดังนี้ คือ


1. การตรากฎหมาย ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 36 กล่าวคือ บรรดาพระราชบัญญัติทั้งหลาย จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร โดยการเสนอกฎหมายซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัตินั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเสนอเป็นญัตติต่อสภาได้
1. [[กระบวนการตรากฎหมาย|การตรากฎหมาย]] ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 36 กล่าวคือ บรรดา[[พระราชบัญญัติ]]ทั้งหลาย จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร โดยการเสนอกฎหมายซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัตินั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเสนอเป็น[[ญัตติ]]ต่อสภาได้


2. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งสามารถกระทำได้ในหลายลักษณะ ตั้งแต่มาตรการที่เบาไปสู่มาตรการที่เข้มข้นตามลำดับที่จะเสนอต่อไป คือ
2. [[การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน]] ซึ่งสามารถกระทำได้ในหลายลักษณะ ตั้งแต่มาตรการที่เบาไปสู่มาตรการที่เข้มข้นตามลำดับที่จะเสนอต่อไป คือ


2.1 การซักถาม เป็นการซักถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับนโยบายของรัฐสภา
2.1 [[การซักถาม]] เป็นการซักถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับนโยบายของรัฐสภา


2.2 การตั้งกระทู้ถาม เป็นการตั้งคำถามเพื่อสอบถามรัฐมนตรีเกี่ยวกับหน้าที่การงานในความรับผิดชอบของกระทรวงที่รัฐมนตรีรับผิดชอบ
2.2 [[การตั้งกระทู้ถาม]] เป็นการตั้งคำถามเพื่อสอบถามรัฐมนตรีเกี่ยวกับหน้าที่การงานในความรับผิดชอบของกระทรวงที่รัฐมนตรีรับผิดชอบ


2.3 การเสนอญัตติทั่วไป เป็นข้อเสนอของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้สภามีมติหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วส่งให้รัฐบาลได้รับไปดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป
2.3 [[การเสนอญัตติทั่วไป]] เป็นข้อเสนอของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้สภามีมติหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วส่งให้รัฐบาลได้รับไปดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป


2.4. การขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบาย และการไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 41 กล่าวคือ สภาย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะลงมติความไว้วางใจในรัฐมนตรีรายตัวหรือทั้งคณะ ญัตติความไว้วางใจนั้น ท่านมิได้ลงในวันเดียวกันกับวันที่ปรึกษา
2.4. [[การขอเปิดอภิปรายทั่วไป]]ในข้อนโยบาย และการไม่ไว้วางใจ[[รัฐมนตรี]] ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 41 กล่าวคือ สภาย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะลงมติความไว้วางใจในรัฐมนตรีรายตัวหรือทั้งคณะ ญัตติความไว้วางใจนั้น ท่านมิได้ลงในวันเดียวกันกับวันที่ปรึกษา


ในวาระเริ่มแรกของประชาธิปไตยของไทย แม้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 และข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2476 จะกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรได้ครอบคลุมอำนาจและหน้าที่ในฐานะของฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ในทางปฏิบัติการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างครอบคลุม อีกทั้งยังมีความสับสนในการปฏิบัติหน้าที่ในหลาย ๆ กรณี อาจด้วยเหตุที่เป็นวาระแรก ๆ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย รูปแบบและวิธีการดำเนินงานในสภาจึงยังไม่เป็นที่คุ้นเคย   และยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน   ทำให้บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงจำกัดในขอบเขตเฉพาะการพิจารณาญัตติและร่างพระราชบัญญัติที่รัฐบาลเป็น ผู้เสนอ การซักถาม การตั้งกระทู้ถาม และการเสนอญัตติทั่วไป ในเวลาต่อมา  จึงมีการเสนอญัตติร่างพระราชบัญญัติและญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยสภาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในวาระเริ่มแรกของประชาธิปไตยของไทย แม้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 และข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2476 จะกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรได้ครอบคลุมอำนาจและหน้าที่ในฐานะของ[[ฝ่ายนิติบัญญัติ]] แต่ในทางปฏิบัติการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างครอบคลุม อีกทั้งยังมีความสับสนในการปฏิบัติหน้าที่ในหลาย ๆ กรณี อาจด้วยเหตุที่เป็นวาระแรก ๆ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย รูปแบบและวิธีการดำเนินงานในสภาจึงยังไม่เป็นที่คุ้นเคย และยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ทำให้บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงจำกัดในขอบเขตเฉพาะการพิจารณาญัตติและร่างพระราชบัญญัติที่รัฐบาลเป็น ผู้เสนอ การซักถาม การตั้งกระทู้ถาม และการเสนอญัตติทั่วไป ในเวลาต่อมา  จึงมีการเสนอญัตติร่างพระราชบัญญัติและญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยสภาชิกสภาผู้แทนราษฎร


บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวาระแรกเริ่ม นอกจากพิจารณาญัตติที่เสนอโดยรัฐบาลแล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แสดงบทบาทตามอำนาจหน้าที่ของตนเองและการมีผู้รับรองเป็นไปลำดับ ดังนี้
บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวาระแรกเริ่ม นอกจากพิจารณาญัตติที่เสนอโดยรัฐบาลแล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แสดงบทบาทตามอำนาจหน้าที่ของตนเองและการมีผู้รับรองเป็นไปลำดับ ดังนี้


'''ผู้รับรองในการเสนอญัตติที่ไม่ใช่กฎหมาย'''
'''[[ผู้รับรองในการเสนอญัตติที่ไม่ใช่กฎหมาย]]'''


บทบาทในส่วนของการเสนอญัตติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงปี พ.ศ. 2476 นั้น มีเฉพาะการเสนอญัตติที่เป็นข้อผูกมัดเฉพาะการภายในของสภา ซึ่งญัตติเหล่านี้อาจมีผู้รับรองหรือไม่มีก็แล้วแต่ลักษณะของญัตตินั้น ๆ กล่าวคือถ้าเป็นญัตติที่เกี่ยวกับการดำเนินงานภายในกิจการของสภา อาทิ ญัตติให้รับรองรายงานการประชุม ญัตติขอให้ส่งปัญหาไปยังคณะกรรมาธิการ '''ไม่จำเป็นต้องมีผู้รับรอง''' แต่ถ้าเป็นญัตติทั่วไป อาทิ ญัตติเรื่องขอให้แสดงความขอบคุณคณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง ญัตติเรื่องขอให้ไว้อาลัยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก่อนเสด็จยุโรป ซึ่งญัตติเช่นนี้'''ต้องมีผู้รับรอง 2 คน''' และต้องเสนอล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร โดย นายมังกร  สามเสน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ได้เริ่มเสนอเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2476
บทบาทในส่วนของการเสนอญัตติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงปี พ.ศ. 2476 นั้น มีเฉพาะการเสนอญัตติที่เป็นข้อผูกมัดเฉพาะการภายในของสภา ซึ่งญัตติเหล่านี้อาจมีผู้รับรองหรือไม่มีก็แล้วแต่ลักษณะของญัตตินั้น ๆ กล่าวคือถ้าเป็นญัตติที่เกี่ยวกับการดำเนินงานภายในกิจการของสภา อาทิ ญัตติให้รับรองรายงานการประชุม ญัตติขอให้ส่งปัญหาไปยังคณะกรรมาธิการ '''ไม่จำเป็นต้องมีผู้รับรอง''' แต่ถ้าเป็นญัตติทั่วไป อาทิ ญัตติเรื่องขอให้แสดงความขอบคุณคณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง ญัตติเรื่องขอให้ไว้อาลัยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก่อนเสด็จยุโรป ซึ่งญัตติเช่นนี้'''ต้องมีผู้รับรอง 2 คน''' และต้องเสนอล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร โดย นายมังกร  สามเสน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ได้เริ่มเสนอเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2476
บรรทัดที่ 41: บรรทัดที่ 41:
การเสนอญัตติแม้ถูกกำหนดให้ต้องมีผู้รับรองด้วย แต่การรับรองเพื่อให้สมาชิกได้เสนอญัตติเป็นการร่วมกันทำงานด้วยลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากกว่าจะผูกมัดว่าต้องเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน เพราะญัตติบางญัตติเป็นการเฉพาะเรื่องหรือเฉพาะความเห็นของบุคคล
การเสนอญัตติแม้ถูกกำหนดให้ต้องมีผู้รับรองด้วย แต่การรับรองเพื่อให้สมาชิกได้เสนอญัตติเป็นการร่วมกันทำงานด้วยลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากกว่าจะผูกมัดว่าต้องเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน เพราะญัตติบางญัตติเป็นการเฉพาะเรื่องหรือเฉพาะความเห็นของบุคคล


'''ผู้รับรองในกระทู้ถาม'''
'''[[ผู้รับรองในกระทู้ถาม]]'''


บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในช่วง พ.ศ. 2476 อีกด้านหนึ่ง คือ การตั้งกระทู้ถาม ซึ่งกระทู้ถามเป็นการตั้งคำถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อถามเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของรัฐมนตรี โดยสมาชิกต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อรัฐบาล '''มีสมาชิกรับรอง 4 คน''' แต่การเสนอกระทู้ถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่มักเป็นการเสนอปัญหาในท้องถิ่นของสมาชิกผู้นั้นมากกว่า แม้จะต้องมีผู้รับรองถึง 4 คนก็ตาม แต่การรับรองเป็นไปในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยช่วยเหลือกันเท่านั้น ดังนั้น ลักษณะการทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในส่วนของการตั้งกระทู้ถามนั้น จึงเป็นไปลักษณะของต่างคนต่างทำงานเพื่อเสนอและซักถามปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของตนเองต่อรัฐมนตรี โดยมีสมาชิกคนอื่น ๆ คอยช่วยรับรอง เพื่อให้สามารถเสนอได้ ในปัจจุบัน กระทู้ถามของสมาชิกสภาไม่ต้องมีผู้รับรอง
บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในช่วง พ.ศ. 2476 อีกด้านหนึ่ง คือ การตั้งกระทู้ถาม ซึ่งกระทู้ถามเป็นการตั้งคำถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อถามเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของรัฐมนตรี โดยสมาชิกต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อรัฐบาล '''มีสมาชิกรับรอง 4 คน''' แต่การเสนอกระทู้ถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่มักเป็นการเสนอปัญหาในท้องถิ่นของสมาชิกผู้นั้นมากกว่า แม้จะต้องมีผู้รับรองถึง 4 คนก็ตาม แต่การรับรองเป็นไปในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยช่วยเหลือกันเท่านั้น ดังนั้น ลักษณะการทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในส่วนของการตั้งกระทู้ถามนั้น จึงเป็นไปลักษณะของต่างคนต่างทำงานเพื่อเสนอและซักถามปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของตนเองต่อรัฐมนตรี โดยมีสมาชิกคนอื่น ๆ คอยช่วยรับรอง เพื่อให้สามารถเสนอได้ ในปัจจุบัน กระทู้ถามของสมาชิกสภาไม่ต้องมีผู้รับรอง




'''ผู้รับรองในการเสนอญัตติร่างพระราชบัญญัติ'''
'''[[ผู้รับรองในการเสนอญัตติร่างพระราชบัญญัติ]]'''


บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระยะเริ่มแรกระหว่าง พ.ศ. 2476 นั้น มีบทบาทในส่วนที่เกี่ยวกับญัตติร่างพระราชบัญญัตินั้น เฉพาะในส่วนของการอภิปรายญัตติร่างพระราชบัญญัติของรัฐบาลที่เป็นผู้เสนอ เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเท่านั้น โดยที่ยังไม่มีร่างพระราชบัญญัติใดที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมสภา ซึ่งอาจมาด้วยปัจจัยหลายประการ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่อาจยังร่างกฎหมายไม่เป็น เพราะการร่างกฎหมายต้องเป็นคนที่มีความสามารถพอตัว แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ไม่ใช่นักกฎหมาย อีกทั้งบางคนอาจจะสันทัดทางด้านอื่น ๆ เช่น การค้าขาย การทหารบ้าง จึงทำให้ยังขาดทักษะและความเชี่ยวชาญในการร่างกฎหมายได้ อีกทั้งสภาผู้แทนราษฎรก็ยังไม่มีรูปแบบที่เป็นแบบแผนของการร่างพระราชบัญญัติ  ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรจึงตั้งกรรมการไว้ช่วยร่างพระราชบัญญัติให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในชั้นต้นจึงมอบหมายให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ช่วยทำหน้าที่ในการร่างพระราชบัญญัติให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปพลางก่อน ท้ายสุดในปี 2477 รัฐบาลจึงดำริให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้พิจารณากำหนดแบบของร่างพระราชบัญญัติขึ้น แล้วส่งมาให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อใช้เป็นแบบในการที่จะตราเป็นพระราชบัญญัติต่อไป
บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระยะเริ่มแรกระหว่าง พ.ศ. 2476 นั้น มีบทบาทในส่วนที่เกี่ยวกับญัตติร่างพระราชบัญญัตินั้น เฉพาะในส่วนของการอภิปรายญัตติร่างพระราชบัญญัติของรัฐบาลที่เป็นผู้เสนอ เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเท่านั้น โดยที่ยังไม่มีร่างพระราชบัญญัติใดที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าสู่[[ระเบียบวาระการประชุม]]สภา ซึ่งอาจมาด้วยปัจจัยหลายประการ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่อาจยังร่างกฎหมายไม่เป็น เพราะการร่างกฎหมายต้องเป็นคนที่มีความสามารถพอตัว แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ไม่ใช่นักกฎหมาย อีกทั้งบางคนอาจจะสันทัดทางด้านอื่น ๆ เช่น การค้าขาย การทหารบ้าง จึงทำให้ยังขาดทักษะและความเชี่ยวชาญในการร่างกฎหมายได้ อีกทั้งสภาผู้แทนราษฎรก็ยังไม่มีรูปแบบที่เป็นแบบแผนของการร่างพระราชบัญญัติ  ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรจึงตั้งกรรมการไว้ช่วยร่างพระราชบัญญัติให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในชั้นต้นจึงมอบหมายให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ช่วยทำหน้าที่ในการร่างพระราชบัญญัติให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปพลางก่อน ท้ายสุดในปี 2477 รัฐบาลจึงดำริให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้พิจารณากำหนดแบบของร่างพระราชบัญญัติขึ้น แล้วส่งมาให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อใช้เป็นแบบในการที่จะตราเป็นพระราชบัญญัติต่อไป


ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 มาตรา 36 บัญญัติไว้ว่า “บรรดาพระราชบัญญัติทั้งหลาย จะตราขึ้นเป็นกฎหมาย ได้แก่ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร”ข้อบังคับการประชุมและปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2477
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 มาตรา 36 บัญญัติไว้ว่า “บรรดาพระราชบัญญัติทั้งหลาย จะตราขึ้นเป็นกฎหมาย ได้แก่ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร”ข้อบังคับการประชุมและปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2477
บรรทัดที่ 68: บรรทัดที่ 68:
จากบทบัญญัติของข้อบังคับการประชุมและปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร 2477 นั้น รัฐบาลหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้มีสิทธิเสนอกฎหมายได้ ถ้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีผู้รับรอง 9 คน โดยผู้รับรองนี้ตามนัยของกฎหมาย หมายถึง ผู้สนับสนุนในญัตติที่เสนอ แต่มิใช่เจ้าของญัตติ โดยผู้รับรองเป็นเพียงผู้สนับสนุนให้มีการดำเนินตามญัตติ ซึ่งอาจเห็นด้วย ดังคำอภิปรายของนายไต๋ ปาณิกบุตร สมาชิกผู้แทนราษฎร จังหวัดพระนคร (พ.ศ. 2477) “...ข้าพเจ้ารับรองโดยความเต็มใจที่สุด แล้วข้าพเจ้าอยากจะอภิปรายทีหลัง...” หรือไม่มีความคิดเห็นในสาระของร่างร่างพระพระบัญญัตินั้นก็ได้ ดังคำอภิปรายของ ร.อ.ขุนนิรันดรชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2477) “...หากว่าผู้เสนอได้ขอให้มีผู้ลงนามรับรองกว่ากึ่งจำนวนขึ้นมาแล้ว พระราชบัญญัตินั้นที่มีผู้ลงนามนั้น มิไม่ต้องลงมติหรือ เพราะเป็นผู้รับรองอยู่แล้ว ข้าพเจ้ากล่าวเช่นนี้ ข้าพเจ้าว่าอาจ บางทีมาถึงที่ประชุมก็บอกว่า เซ็นทีเถอะ ถ้าเช่นนั้นเกินกว่ากึ่งจำนวน…” ในปัจจุบัน ญัตติดังกล่าวนี้ไม่ต้องมีผู้รับรอง แต่ผู้ลงชื่อในญัตติถือเป็นผู้เสนอญัตติร่วมกัน  แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
จากบทบัญญัติของข้อบังคับการประชุมและปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร 2477 นั้น รัฐบาลหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้มีสิทธิเสนอกฎหมายได้ ถ้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีผู้รับรอง 9 คน โดยผู้รับรองนี้ตามนัยของกฎหมาย หมายถึง ผู้สนับสนุนในญัตติที่เสนอ แต่มิใช่เจ้าของญัตติ โดยผู้รับรองเป็นเพียงผู้สนับสนุนให้มีการดำเนินตามญัตติ ซึ่งอาจเห็นด้วย ดังคำอภิปรายของนายไต๋ ปาณิกบุตร สมาชิกผู้แทนราษฎร จังหวัดพระนคร (พ.ศ. 2477) “...ข้าพเจ้ารับรองโดยความเต็มใจที่สุด แล้วข้าพเจ้าอยากจะอภิปรายทีหลัง...” หรือไม่มีความคิดเห็นในสาระของร่างร่างพระพระบัญญัตินั้นก็ได้ ดังคำอภิปรายของ ร.อ.ขุนนิรันดรชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2477) “...หากว่าผู้เสนอได้ขอให้มีผู้ลงนามรับรองกว่ากึ่งจำนวนขึ้นมาแล้ว พระราชบัญญัตินั้นที่มีผู้ลงนามนั้น มิไม่ต้องลงมติหรือ เพราะเป็นผู้รับรองอยู่แล้ว ข้าพเจ้ากล่าวเช่นนี้ ข้าพเจ้าว่าอาจ บางทีมาถึงที่ประชุมก็บอกว่า เซ็นทีเถอะ ถ้าเช่นนั้นเกินกว่ากึ่งจำนวน…” ในปัจจุบัน ญัตติดังกล่าวนี้ไม่ต้องมีผู้รับรอง แต่ผู้ลงชื่อในญัตติถือเป็นผู้เสนอญัตติร่วมกัน  แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้


'''ผู้รับรองในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบาย'''
'''[[ผู้รับรองในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบาย]]'''


การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายในอดีตนั้นเป็นเครื่องมือของฝ่ายนิติบัญญัติในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลหรือฝ่ายบริหาร แต่ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กล่าวคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องยื่นญัตติหรือคำเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยที่ประชุมจะเป็นผู้ที่พิจารณาว่าจะอนุมัติให้เปิดอภิปรายได้หรือไม่ และจะต้องลงมติก่อน เมื่อที่ประชุมอนุมัติแล้ว ให้ดำเนินการต่อไป คือ ขอเปิดอภิปรายที่อยู่ในเนื้อหาของญัตติ เพราะญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายนั้นถือเป็นมาตรการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ใช้ในการควบคุมการบริหารราชการของฝ่ายบริหารที่รุนแรง ดังนั้น การขอเปิดอภิปรายในข้อนโยบายนั้นจึงอาจนำไปสู่การล้มรัฐบาลได้ ทั้งนี้อาจต่อเนื่องไปสู่การไว้วางใจในรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 มาตรา 41 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “สภาฯ ย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิจะลงมติความไว้วางใจในรัฐมนตรีรายตัวหรือคณะ
การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายในอดีตนั้นเป็นเครื่องมือของฝ่ายนิติบัญญัติในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลหรือฝ่ายบริหาร แต่ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กล่าวคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องยื่นญัตติหรือคำเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยที่ประชุมจะเป็นผู้ที่พิจารณาว่าจะอนุมัติให้เปิดอภิปรายได้หรือไม่ และจะต้องลงมติก่อน เมื่อที่ประชุมอนุมัติแล้ว ให้ดำเนินการต่อไป คือ ขอเปิดอภิปรายที่อยู่ในเนื้อหาของญัตติ เพราะญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายนั้นถือเป็นมาตรการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ใช้ในการควบคุมการบริหารราชการของฝ่ายบริหารที่รุนแรง ดังนั้น การขอเปิดอภิปรายในข้อนโยบายนั้นจึงอาจนำไปสู่การล้มรัฐบาลได้ ทั้งนี้อาจต่อเนื่องไปสู่การไว้วางใจในรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 มาตรา 41 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “สภาฯ ย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิจะลงมติความไว้วางใจในรัฐมนตรีรายตัวหรือคณะ


ตามข้อบังคับการประชุมและปรึกษาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2477 ข้อ 24 จึงบัญญัติไว้ดังนี้ “...ส่วนญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายต้องมี'''สมาชิกรับรองไม่ต่ำกว่า 15 คน'''” ซึ่งญัตตินี้ถือเป็นญัตติที่สำคัญจึงมีผู้รับรองมากกว่าการเสนอร่างพระราชบัญญัติ การเสนอญัตติทั่วไป และการตั้งกระทู้ถาม ดังนั้น การรวมกันเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ดังคำอภิปรายของนายจัง จริงจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง (พ.ศ. 2477) ดังนี้ “...ญัตติที่ขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบาย ซึ่งมีสมาชิกรับรองไม่ต่ำกว่า 15 คนนั้น ไม่ใช่เป็นของที่ทำได้ง่าย เพราะสมาชิกผู้เสนอ จะต้องไปเที่ยวตามหาผู้รับรองเป็นจำนวนมาก และจะต้องอธิบายเหตุผลให้เขาฟังทุกคน เมื่อเขาไม่เห็นด้วยเขาก็จะไม่เซ็นให้ ทำความลำบากให้แก่ผู้เสนอมากพออยู่แล้ว เพื่อต้องการมติส่วนมาก” ขณะที่นายสวัสดิ์ ยูวะเวส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ (พ.ศ. 2477) ก็ได้สะท้อนการรวบรวมและรวมตัวในการรับรองญัตติของเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบาย ดังนี้ “...สำหรับญัตติอันนี้ข้าพเจ้าได้ทำด้วยความยาก เป็นความจริงข้อนี้ คือ  หมายความว่า คนรับรองคนหนึ่งข้าพเจ้าต้องขี่รถจักยานไปตามเขาถึง 3 ครั้งจึงพบ 3 ครั้งทุกคน ขอให้ถามสมาชิกผู้รับรองดู...”  
ตามข้อบังคับการประชุมและปรึกษาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2477 ข้อ 24 จึงบัญญัติไว้ดังนี้ “...ส่วนญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายต้องมี'''สมาชิกรับรองไม่ต่ำกว่า 15 คน'''” ซึ่งญัตตินี้ถือเป็นญัตติที่สำคัญจึงมีผู้รับรองมากกว่าการเสนอร่างพระราชบัญญัติ การเสนอญัตติทั่วไป และการตั้งกระทู้ถาม ดังนั้น การรวมกันเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ดังคำอภิปรายของ[[จัง จริงจิตต์|นายจัง จริงจิตต์]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง (พ.ศ. 2477) ดังนี้ “...ญัตติที่ขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบาย ซึ่งมีสมาชิกรับรองไม่ต่ำกว่า 15 คนนั้น ไม่ใช่เป็นของที่ทำได้ง่าย เพราะสมาชิกผู้เสนอ จะต้องไปเที่ยวตามหาผู้รับรองเป็นจำนวนมาก และจะต้องอธิบายเหตุผลให้เขาฟังทุกคน เมื่อเขาไม่เห็นด้วยเขาก็จะไม่เซ็นให้ ทำความลำบากให้แก่ผู้เสนอมากพออยู่แล้ว เพื่อต้องการมติส่วนมาก” ขณะที่[[สวัสดิ์  ยูวะเวส|นายสวัสดิ์ ยูวะเวส]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ (พ.ศ. 2477) ก็ได้สะท้อนการรวบรวมและรวมตัวในการรับรองญัตติของเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบาย ดังนี้ “...สำหรับญัตติอันนี้ข้าพเจ้าได้ทำด้วยความยาก เป็นความจริงข้อนี้ คือ  หมายความว่า คนรับรองคนหนึ่งข้าพเจ้าต้องขี่รถจักยานไปตามเขาถึง 3 ครั้งจึงพบ 3 ครั้งทุกคน ขอให้ถามสมาชิกผู้รับรองดู...”  


แม้การรวมตัวในการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายนั้น จะมีจำนวนผู้รับรองมากกว่า และประเด็นปัญหาที่หนักแน่นกว่ากรณีอื่น ๆ ก็ตาม แต่ก็รวมตัวกันก็อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและประเด็นปัญหาร่วมกันมากกว่าที่จะเป็นการรวมตัวกันอย่างสม่ำเสมอหรือรวมกันเป็นกลุ่มก้อนอย่างถาวร เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองร่วมกัน ในปัจจุบันญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบาย ไม่ปรากฏในทั้งรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมสภาแล้ว แต่มีเพียงญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเท่านั้น ซึ่งญัตติดังกล่าวไม่ต้องมีผู้รับรอง ซึ่งผู้ลงชื่อในญัตติถือเป็นผู้เสนอญัตติร่วมกัน
แม้การรวมตัวในการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายนั้น จะมีจำนวนผู้รับรองมากกว่า และประเด็นปัญหาที่หนักแน่นกว่ากรณีอื่น ๆ ก็ตาม แต่ก็รวมตัวกันก็อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและประเด็นปัญหาร่วมกันมากกว่าที่จะเป็นการรวมตัวกันอย่างสม่ำเสมอหรือรวมกันเป็นกลุ่มก้อนอย่างถาวร เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองร่วมกัน ในปัจจุบันญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบาย ไม่ปรากฏในทั้งรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมสภาแล้ว แต่มีเพียงญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเท่านั้น ซึ่งญัตติดังกล่าวไม่ต้องมีผู้รับรอง ซึ่งผู้ลงชื่อในญัตติถือเป็นผู้เสนอญัตติร่วมกัน
'''ผู้รับรองญัตติร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน'''
'''[[ผู้รับรองญัตติร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน]]'''


ในกรณีญัตติร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินนั้น นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับรองตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490 มาตรา 61  
ในกรณีญัตติร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินนั้น นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับรองตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490 มาตรา 61


==สาระสำคัญเกี่ยวกับผู้รับรองที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ และข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน==
==สาระสำคัญเกี่ยวกับผู้รับรองที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ และข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน==
บรรทัดที่ 90: บรรทัดที่ 90:
ข้อ 37 ญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานสภา และต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน ทั้งนี้ เว้นแต่ข้อบังคับนี้ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น
ข้อ 37 ญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานสภา และต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน ทั้งนี้ เว้นแต่ข้อบังคับนี้ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น


ข้อ 39 ญัตติขอให้สภามีมติให้รัฐมนตรีผู้ใดเข้าร่วมประชุมในเรื่องใดในที่ประชุมสภาตามมาตรา 177 ของรัฐธรรมนูญ ถ้าสมาชิกเป็นผู้เสนอต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน
ข้อ 39 ญัตติขอให้สภามีมติให้[[รัฐมนตรี]]ผู้ใดเข้าร่วมประชุมในเรื่องใดในที่ประชุมสภาตามมาตรา 177 ของรัฐธรรมนูญ ถ้าสมาชิกเป็นผู้เสนอต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน


ข้อ 41 ญัตติขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการหรือขอให้คณะกรรมาธิการสามัญคณะใดคณะหนึ่งกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาตามมาตรา 135 ของรัฐธรรมนูญ ถ้าสมาชิกเป็นผู้เสนอต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน
ข้อ 41 ญัตติขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการหรือขอให้คณะกรรมาธิการสามัญคณะใดคณะหนึ่งกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาตามมาตรา 135 ของรัฐธรรมนูญ ถ้าสมาชิกเป็นผู้เสนอต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน
บรรทัดที่ 96: บรรทัดที่ 96:
ข้อ 51 ญัตติที่เสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ผู้เสนอและผู้รับรองต้องลงลายมือชื่อในญัตตินั้น
ข้อ 51 ญัตติที่เสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ผู้เสนอและผู้รับรองต้องลงลายมือชื่อในญัตตินั้น


ข้อ 52 ญัตติที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ให้ผู้รับรองญัตติแสดงการรับรองโดยวิธียกมือขึ้นพ้นศีรษะ เว้นแต่การรับรองการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามข้อ 164
ข้อ 52 ญัตติที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ให้ผู้รับรองญัตติแสดงการรับรองโดยวิธี[[ยกมือขึ้นพ้นศีรษะ]] เว้นแต่การรับรองการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามข้อ 164


ข้อ 72 การออกเสียงลงคะแนนให้กระทำเป็นการเปิดเผย แต่เมื่อสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคนขอให้กระทำเป็นการลับ จึงให้ลงคะแนนลับ
ข้อ 72 การออกเสียงลงคะแนนให้กระทำเป็นการเปิดเผย แต่เมื่อสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคนขอให้กระทำเป็นการลับ จึงให้ลงคะแนนลับ
บรรทัดที่ 110: บรรทัดที่ 110:
ข้อ 83 การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการ สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อได้ไม่เกินจำนวนกรรมาธิการ การเสนอนั้นต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน...
ข้อ 83 การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการ สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อได้ไม่เกินจำนวนกรรมาธิการ การเสนอนั้นต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน...


ข้อ 176 ถ้าประธานขอปรึกษา หรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ให้งดใช้ข้อบังคับข้อหนึ่งข้อใดทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณี หากที่ประชุมอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกในที่ประชุมก็ให้งดใช้ได้
ข้อ 176 ถ้าประธานขอปรึกษา หรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ให้[[งดใช้ข้อบังคับ]]ข้อหนึ่งข้อใดทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณี หากที่ประชุมอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกในที่ประชุมก็ให้งดใช้ได้


ข้อ 178 การขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับนี้ ต้องเสนอเป็นญัตติโดยมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน
ข้อ 178 การขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับนี้ ต้องเสนอเป็นญัตติโดยมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน
บรรทัดที่ 116: บรรทัดที่ 116:
การเสนอและพิจารณาญัตติในวรรคหนึ่ง ให้นำข้อบังคับว่าด้วยการเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การเสนอและพิจารณาญัตติในวรรคหนึ่ง ให้นำข้อบังคับว่าด้วยการเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ มาใช้บังคับโดยอนุโลม


'''วิธีรับรอง'''
'''[[วิธีรับรอง]]'''


วิธีการรับรองอาจแบ่งได้ 2 วิธีการ คือ
วิธีการรับรองอาจแบ่งได้ 2 วิธีการ คือ
บรรทัดที่ 130: บรรทัดที่ 130:
==สรุป==
==สรุป==


ผู้รับรอง หมายถึง สมาชิกสภาผู้สนับสนุนในญัตติของสมาชิกสภาอื่นที่เสนอเพื่อให้ที่ประชุมสภาได้พิจารณาในญัตตินั้น ๆ โดยการรับรองอาจแบ่งได้เป็น 2 กรณี ในปัจจุบัน คือ
ผู้รับรอง หมายถึง สมาชิกสภาผู้สนับสนุนใน[[ญัตติ]]ของสมาชิกสภาอื่นที่เสนอเพื่อให้ที่ประชุมสภาได้พิจารณาในญัตตินั้น ๆ โดยการรับรองอาจแบ่งได้เป็น 2 กรณี ในปัจจุบัน คือ


1) การรับรองโดยสมาชิกสภาด้วยกันเอง ซึ่งอาจรับรองในญัตติที่เกี่ยวกับการดำเนินการหรือเพื่อควบคุมในการประชุมสภา หรือญัตติทั่วไป  นอกจากนี้อาจเป็นญัตติที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลในบางกรณี อาทิ ญัตติขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการหรือขอให้คณะกรรมาธิการสามัญคณะใดคณะหนึ่งกระทำกิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาฯ
1) การรับรองโดยสมาชิกสภาด้วยกันเอง ซึ่งอาจรับรองในญัตติที่เกี่ยวกับการดำเนินการหรือเพื่อควบคุมในการประชุมสภา หรือญัตติทั่วไป  นอกจากนี้อาจเป็นญัตติที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลในบางกรณี อาทิ ญัตติขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการหรือขอให้คณะกรรมาธิการสามัญคณะใดคณะหนึ่งกระทำกิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาฯ
บรรทัดที่ 192: บรรทัดที่ 192:
“รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14/2477 (สามัญ) สมัยที่ 2”, วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2477.  หน้า 768.
“รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14/2477 (สามัญ) สมัยที่ 2”, วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2477.  หน้า 768.


 
[[หมวดหมู่: กิจกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการทางนิติบัญญัติ]]
[[category:ความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาไทย]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 17:28, 6 กันยายน 2553

ผู้เรียบเรียง ศตพล วรปัญญาตระกูล

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


รัฐสภา ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจหน้าที่การตรากฎหมาย การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ ๆ อาทิ การประกาศสงคราม การรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ฯลฯ และ การแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ อาทิ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ อนึ่ง วิธีการดำเนินบทบาทตามอำนาจและหน้าที่ของรัฐสภา มักปรากฏในรูปของการประชุมเป็นหลัก โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินบทบาทตามอำนาจและหน้าที่ของสมาชิกฯ คือ กระทู้ถาม และญัตติ* โดยสมาชิกฯ จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา แต่ทั้งนี้ต้องมีผู้รับรองเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับการประชุมสภา

ความหมายและความสำคัญ

ผู้รับรอง หมายถึง ผู้สนับสนุนในญัตติของสมาชิกสภาที่เสนอเพื่อให้ที่ประชุมสภาพิจารณา ซึ่งแบ่งได้ 2 กรณี

กรณีที่ผู้รับรองเป็นสมาชิกสภา ซึ่งวิธีการนี้อาจเป็นการยกมือรับรองในที่ประชุมสภาหรืออาจร่วมลงชื่อในญัตติของสมาชิกสภาคนอื่น เพื่อให้ญัตติมีความสมบูรณ์ตามข้อบังคับการประชุมสภา และได้รับการพิจารณาโดยที่ประชุมของสภา อนึ่ง การเสนอญัตติใด ๆ เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาหรือดำเนินการ หรือมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น สมาชิกสภาผู้เสนอจะเป็นผู้อภิปรายถึงหลักการและเหตุผล หรือเป็นผู้อภิปรายเสนอในญัตตินั้นเป็นหลัก โดยผู้รับรองเป็นเพียงผู้อภิปรายสนับสนุนหรือเพียงแต่ลงชื่อรับรองอย่างเดียว โดยมิได้อภิปรายก็ได้

กรณีผู้รับรองเป็นนายกรัฐมนตรี จะเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ญัตติที่สมาชิกสภาเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน

ประวัติความเป็นมา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 และข้อบังคับและการปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2476 ได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร ที่สำคัญไว้ดังนี้ คือ

1. การตรากฎหมาย ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 36 กล่าวคือ บรรดาพระราชบัญญัติทั้งหลาย จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร โดยการเสนอกฎหมายซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัตินั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเสนอเป็นญัตติต่อสภาได้

2. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งสามารถกระทำได้ในหลายลักษณะ ตั้งแต่มาตรการที่เบาไปสู่มาตรการที่เข้มข้นตามลำดับที่จะเสนอต่อไป คือ

2.1 การซักถาม เป็นการซักถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับนโยบายของรัฐสภา

2.2 การตั้งกระทู้ถาม เป็นการตั้งคำถามเพื่อสอบถามรัฐมนตรีเกี่ยวกับหน้าที่การงานในความรับผิดชอบของกระทรวงที่รัฐมนตรีรับผิดชอบ

2.3 การเสนอญัตติทั่วไป เป็นข้อเสนอของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้สภามีมติหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วส่งให้รัฐบาลได้รับไปดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป

2.4. การขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบาย และการไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 41 กล่าวคือ สภาย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะลงมติความไว้วางใจในรัฐมนตรีรายตัวหรือทั้งคณะ ญัตติความไว้วางใจนั้น ท่านมิได้ลงในวันเดียวกันกับวันที่ปรึกษา

ในวาระเริ่มแรกของประชาธิปไตยของไทย แม้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 และข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2476 จะกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรได้ครอบคลุมอำนาจและหน้าที่ในฐานะของฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ในทางปฏิบัติการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างครอบคลุม อีกทั้งยังมีความสับสนในการปฏิบัติหน้าที่ในหลาย ๆ กรณี อาจด้วยเหตุที่เป็นวาระแรก ๆ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย รูปแบบและวิธีการดำเนินงานในสภาจึงยังไม่เป็นที่คุ้นเคย และยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ทำให้บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงจำกัดในขอบเขตเฉพาะการพิจารณาญัตติและร่างพระราชบัญญัติที่รัฐบาลเป็น ผู้เสนอ การซักถาม การตั้งกระทู้ถาม และการเสนอญัตติทั่วไป ในเวลาต่อมา จึงมีการเสนอญัตติร่างพระราชบัญญัติและญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยสภาชิกสภาผู้แทนราษฎร

บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวาระแรกเริ่ม นอกจากพิจารณาญัตติที่เสนอโดยรัฐบาลแล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แสดงบทบาทตามอำนาจหน้าที่ของตนเองและการมีผู้รับรองเป็นไปลำดับ ดังนี้

ผู้รับรองในการเสนอญัตติที่ไม่ใช่กฎหมาย

บทบาทในส่วนของการเสนอญัตติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงปี พ.ศ. 2476 นั้น มีเฉพาะการเสนอญัตติที่เป็นข้อผูกมัดเฉพาะการภายในของสภา ซึ่งญัตติเหล่านี้อาจมีผู้รับรองหรือไม่มีก็แล้วแต่ลักษณะของญัตตินั้น ๆ กล่าวคือถ้าเป็นญัตติที่เกี่ยวกับการดำเนินงานภายในกิจการของสภา อาทิ ญัตติให้รับรองรายงานการประชุม ญัตติขอให้ส่งปัญหาไปยังคณะกรรมาธิการ ไม่จำเป็นต้องมีผู้รับรอง แต่ถ้าเป็นญัตติทั่วไป อาทิ ญัตติเรื่องขอให้แสดงความขอบคุณคณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง ญัตติเรื่องขอให้ไว้อาลัยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก่อนเสด็จยุโรป ซึ่งญัตติเช่นนี้ต้องมีผู้รับรอง 2 คน และต้องเสนอล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร โดย นายมังกร สามเสน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ได้เริ่มเสนอเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2476

การเสนอญัตติแม้ถูกกำหนดให้ต้องมีผู้รับรองด้วย แต่การรับรองเพื่อให้สมาชิกได้เสนอญัตติเป็นการร่วมกันทำงานด้วยลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากกว่าจะผูกมัดว่าต้องเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน เพราะญัตติบางญัตติเป็นการเฉพาะเรื่องหรือเฉพาะความเห็นของบุคคล

ผู้รับรองในกระทู้ถาม

บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในช่วง พ.ศ. 2476 อีกด้านหนึ่ง คือ การตั้งกระทู้ถาม ซึ่งกระทู้ถามเป็นการตั้งคำถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อถามเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของรัฐมนตรี โดยสมาชิกต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อรัฐบาล มีสมาชิกรับรอง 4 คน แต่การเสนอกระทู้ถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่มักเป็นการเสนอปัญหาในท้องถิ่นของสมาชิกผู้นั้นมากกว่า แม้จะต้องมีผู้รับรองถึง 4 คนก็ตาม แต่การรับรองเป็นไปในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยช่วยเหลือกันเท่านั้น ดังนั้น ลักษณะการทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในส่วนของการตั้งกระทู้ถามนั้น จึงเป็นไปลักษณะของต่างคนต่างทำงานเพื่อเสนอและซักถามปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของตนเองต่อรัฐมนตรี โดยมีสมาชิกคนอื่น ๆ คอยช่วยรับรอง เพื่อให้สามารถเสนอได้ ในปัจจุบัน กระทู้ถามของสมาชิกสภาไม่ต้องมีผู้รับรอง


ผู้รับรองในการเสนอญัตติร่างพระราชบัญญัติ

บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระยะเริ่มแรกระหว่าง พ.ศ. 2476 นั้น มีบทบาทในส่วนที่เกี่ยวกับญัตติร่างพระราชบัญญัตินั้น เฉพาะในส่วนของการอภิปรายญัตติร่างพระราชบัญญัติของรัฐบาลที่เป็นผู้เสนอ เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเท่านั้น โดยที่ยังไม่มีร่างพระราชบัญญัติใดที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมสภา ซึ่งอาจมาด้วยปัจจัยหลายประการ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่อาจยังร่างกฎหมายไม่เป็น เพราะการร่างกฎหมายต้องเป็นคนที่มีความสามารถพอตัว แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ไม่ใช่นักกฎหมาย อีกทั้งบางคนอาจจะสันทัดทางด้านอื่น ๆ เช่น การค้าขาย การทหารบ้าง จึงทำให้ยังขาดทักษะและความเชี่ยวชาญในการร่างกฎหมายได้ อีกทั้งสภาผู้แทนราษฎรก็ยังไม่มีรูปแบบที่เป็นแบบแผนของการร่างพระราชบัญญัติ ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรจึงตั้งกรรมการไว้ช่วยร่างพระราชบัญญัติให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในชั้นต้นจึงมอบหมายให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ช่วยทำหน้าที่ในการร่างพระราชบัญญัติให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปพลางก่อน ท้ายสุดในปี 2477 รัฐบาลจึงดำริให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้พิจารณากำหนดแบบของร่างพระราชบัญญัติขึ้น แล้วส่งมาให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อใช้เป็นแบบในการที่จะตราเป็นพระราชบัญญัติต่อไป

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 มาตรา 36 บัญญัติไว้ว่า “บรรดาพระราชบัญญัติทั้งหลาย จะตราขึ้นเป็นกฎหมาย ได้แก่ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร”ข้อบังคับการประชุมและปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2477

ข้อ 21 บัญญัติไว้ ดังนี้ ญัตติมี 2 อย่าง คือ

ก. ญัตติที่เป็นข้อผูกมัดเฉพาะการภายในของสภา

ข. ญัตติที่เป็นข้อผูกมัดรัฐบาลหรือการภายนอกสภา

ข้อ 24 ภายใต้บังคับแห่งข้อ 26 ญัตติตามข้อ 21 ข. ต้องเสนอเป็นพระราชบัญญัติ...

ข้อ 26...

ส่วนร่างพระราชบัญญัติอื่น ๆ ให้มีสมาชิกรับรอง 9 คน ผู้เสนอและผู้รับรองต้องลงนามบนร่างที่ยื่นต่อประธาน

การเสนอร่างพระราชบัญญัติใด ๆ ถ้ารัฐบาลเป็นผู้เสนอไม่ต้องมีผู้รับรอง...

จากบทบัญญัติของข้อบังคับการประชุมและปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร 2477 นั้น รัฐบาลหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้มีสิทธิเสนอกฎหมายได้ ถ้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีผู้รับรอง 9 คน โดยผู้รับรองนี้ตามนัยของกฎหมาย หมายถึง ผู้สนับสนุนในญัตติที่เสนอ แต่มิใช่เจ้าของญัตติ โดยผู้รับรองเป็นเพียงผู้สนับสนุนให้มีการดำเนินตามญัตติ ซึ่งอาจเห็นด้วย ดังคำอภิปรายของนายไต๋ ปาณิกบุตร สมาชิกผู้แทนราษฎร จังหวัดพระนคร (พ.ศ. 2477) “...ข้าพเจ้ารับรองโดยความเต็มใจที่สุด แล้วข้าพเจ้าอยากจะอภิปรายทีหลัง...” หรือไม่มีความคิดเห็นในสาระของร่างร่างพระพระบัญญัตินั้นก็ได้ ดังคำอภิปรายของ ร.อ.ขุนนิรันดรชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2477) “...หากว่าผู้เสนอได้ขอให้มีผู้ลงนามรับรองกว่ากึ่งจำนวนขึ้นมาแล้ว พระราชบัญญัตินั้นที่มีผู้ลงนามนั้น มิไม่ต้องลงมติหรือ เพราะเป็นผู้รับรองอยู่แล้ว ข้าพเจ้ากล่าวเช่นนี้ ข้าพเจ้าว่าอาจ บางทีมาถึงที่ประชุมก็บอกว่า เซ็นทีเถอะ ถ้าเช่นนั้นเกินกว่ากึ่งจำนวน…” ในปัจจุบัน ญัตติดังกล่าวนี้ไม่ต้องมีผู้รับรอง แต่ผู้ลงชื่อในญัตติถือเป็นผู้เสนอญัตติร่วมกัน แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

ผู้รับรองในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบาย

การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายในอดีตนั้นเป็นเครื่องมือของฝ่ายนิติบัญญัติในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลหรือฝ่ายบริหาร แต่ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กล่าวคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องยื่นญัตติหรือคำเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยที่ประชุมจะเป็นผู้ที่พิจารณาว่าจะอนุมัติให้เปิดอภิปรายได้หรือไม่ และจะต้องลงมติก่อน เมื่อที่ประชุมอนุมัติแล้ว ให้ดำเนินการต่อไป คือ ขอเปิดอภิปรายที่อยู่ในเนื้อหาของญัตติ เพราะญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายนั้นถือเป็นมาตรการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ใช้ในการควบคุมการบริหารราชการของฝ่ายบริหารที่รุนแรง ดังนั้น การขอเปิดอภิปรายในข้อนโยบายนั้นจึงอาจนำไปสู่การล้มรัฐบาลได้ ทั้งนี้อาจต่อเนื่องไปสู่การไว้วางใจในรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 มาตรา 41 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “สภาฯ ย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิจะลงมติความไว้วางใจในรัฐมนตรีรายตัวหรือคณะ

ตามข้อบังคับการประชุมและปรึกษาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2477 ข้อ 24 จึงบัญญัติไว้ดังนี้ “...ส่วนญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายต้องมีสมาชิกรับรองไม่ต่ำกว่า 15 คน” ซึ่งญัตตินี้ถือเป็นญัตติที่สำคัญจึงมีผู้รับรองมากกว่าการเสนอร่างพระราชบัญญัติ การเสนอญัตติทั่วไป และการตั้งกระทู้ถาม ดังนั้น การรวมกันเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ดังคำอภิปรายของนายจัง จริงจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง (พ.ศ. 2477) ดังนี้ “...ญัตติที่ขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบาย ซึ่งมีสมาชิกรับรองไม่ต่ำกว่า 15 คนนั้น ไม่ใช่เป็นของที่ทำได้ง่าย เพราะสมาชิกผู้เสนอ จะต้องไปเที่ยวตามหาผู้รับรองเป็นจำนวนมาก และจะต้องอธิบายเหตุผลให้เขาฟังทุกคน เมื่อเขาไม่เห็นด้วยเขาก็จะไม่เซ็นให้ ทำความลำบากให้แก่ผู้เสนอมากพออยู่แล้ว เพื่อต้องการมติส่วนมาก” ขณะที่นายสวัสดิ์ ยูวะเวส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ (พ.ศ. 2477) ก็ได้สะท้อนการรวบรวมและรวมตัวในการรับรองญัตติของเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบาย ดังนี้ “...สำหรับญัตติอันนี้ข้าพเจ้าได้ทำด้วยความยาก เป็นความจริงข้อนี้ คือ หมายความว่า คนรับรองคนหนึ่งข้าพเจ้าต้องขี่รถจักยานไปตามเขาถึง 3 ครั้งจึงพบ 3 ครั้งทุกคน ขอให้ถามสมาชิกผู้รับรองดู...”

แม้การรวมตัวในการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายนั้น จะมีจำนวนผู้รับรองมากกว่า และประเด็นปัญหาที่หนักแน่นกว่ากรณีอื่น ๆ ก็ตาม แต่ก็รวมตัวกันก็อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและประเด็นปัญหาร่วมกันมากกว่าที่จะเป็นการรวมตัวกันอย่างสม่ำเสมอหรือรวมกันเป็นกลุ่มก้อนอย่างถาวร เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองร่วมกัน ในปัจจุบันญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบาย ไม่ปรากฏในทั้งรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมสภาแล้ว แต่มีเพียงญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเท่านั้น ซึ่งญัตติดังกล่าวไม่ต้องมีผู้รับรอง ซึ่งผู้ลงชื่อในญัตติถือเป็นผู้เสนอญัตติร่วมกัน

ผู้รับรองญัตติร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน

ในกรณีญัตติร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินนั้น นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับรองตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490 มาตรา 61

สาระสำคัญเกี่ยวกับผู้รับรองที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ และข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 142...

ในกรณีที่ร่างพระบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม (2) (3) หรือ (4) เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี...

ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 5 การเลือกประธานสภา สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ การเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน...

ข้อ 37 ญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานสภา และต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน ทั้งนี้ เว้นแต่ข้อบังคับนี้ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น

ข้อ 39 ญัตติขอให้สภามีมติให้รัฐมนตรีผู้ใดเข้าร่วมประชุมในเรื่องใดในที่ประชุมสภาตามมาตรา 177 ของรัฐธรรมนูญ ถ้าสมาชิกเป็นผู้เสนอต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน

ข้อ 41 ญัตติขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการหรือขอให้คณะกรรมาธิการสามัญคณะใดคณะหนึ่งกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาตามมาตรา 135 ของรัฐธรรมนูญ ถ้าสมาชิกเป็นผู้เสนอต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน

ข้อ 51 ญัตติที่เสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ผู้เสนอและผู้รับรองต้องลงลายมือชื่อในญัตตินั้น

ข้อ 52 ญัตติที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ให้ผู้รับรองญัตติแสดงการรับรองโดยวิธียกมือขึ้นพ้นศีรษะ เว้นแต่การรับรองการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามข้อ 164

ข้อ 72 การออกเสียงลงคะแนนให้กระทำเป็นการเปิดเผย แต่เมื่อสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคนขอให้กระทำเป็นการลับ จึงให้ลงคะแนนลับ

ในกรณีที่สมาชิกเสนอญัตติให้ลงคะแนนลับตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีสมาชิกคัดค้านและมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกในที่ประชุม ให้ถือเป็นเอกสิทธิ์ที่จะลงคะแนนโดยเปิดเผย

การออกเสียงลงคะแนนจะกระทำแทนกันมิได้

ข้อ 77 เมื่อมีการออกเสียงลงคะแนนตามข้อ 75 (1) แล้วถ้าสมาชิกร้องขอให้มีการนับใหม่ โดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ก็ให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่ และให้เปลี่ยนวิธีการลงคะแนนเป็นวิธีตามข้อ 75 (2) เว้นแต่คะแนนเสียงต่างกันเกินกว่ายี่สิบห้าคะแนนจะขอให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่ไม่ได้

เมื่อได้มีการออกเสียงลงคะแนนตามข้อ 75 (2) แล้ว จะขอให้มีกากรนับคะแนนเสียงใหม่อีกไม่ได้

ข้อ 83 การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการ สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อได้ไม่เกินจำนวนกรรมาธิการ การเสนอนั้นต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน...

ข้อ 176 ถ้าประธานขอปรึกษา หรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ให้งดใช้ข้อบังคับข้อหนึ่งข้อใดทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณี หากที่ประชุมอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกในที่ประชุมก็ให้งดใช้ได้

ข้อ 178 การขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับนี้ ต้องเสนอเป็นญัตติโดยมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน

การเสนอและพิจารณาญัตติในวรรคหนึ่ง ให้นำข้อบังคับว่าด้วยการเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

วิธีรับรอง

วิธีการรับรองอาจแบ่งได้ 2 วิธีการ คือ

1. การรับรองโดยการยกมือขึ้นเพื่อรับรองการเสนอญัตติของสมาชิกสภาในที่ประชุมสภา อาทิ การเลือกประธานสภา สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ การเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน

2. การรับรองโดยการลงชื่อรับรอง แยกเป็น 2 กรณี

2.1 การร่วมลงชื่อรับรองในญัตติของสมาชิกฯ ที่เสนอเพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 51 “ญัตติที่เสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ผู้เสนอและผู้รับรองต้องลงลายมือชื่อในญัตตินั้น

2.2 การลงชื่อรับรองญัตติร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้สภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่สมาชิกสภาเสนอ

สรุป

ผู้รับรอง หมายถึง สมาชิกสภาผู้สนับสนุนในญัตติของสมาชิกสภาอื่นที่เสนอเพื่อให้ที่ประชุมสภาได้พิจารณาในญัตตินั้น ๆ โดยการรับรองอาจแบ่งได้เป็น 2 กรณี ในปัจจุบัน คือ

1) การรับรองโดยสมาชิกสภาด้วยกันเอง ซึ่งอาจรับรองในญัตติที่เกี่ยวกับการดำเนินการหรือเพื่อควบคุมในการประชุมสภา หรือญัตติทั่วไป นอกจากนี้อาจเป็นญัตติที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลในบางกรณี อาทิ ญัตติขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการหรือขอให้คณะกรรมาธิการสามัญคณะใดคณะหนึ่งกระทำกิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาฯ

2) การรับรองในกรณีญัตติร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่เสนอโดยสมาชิกสภา ซึ่งในกรณีนี้นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับรองเพื่อเป็นการรับรองให้เสนอต่อที่ประชุมสภาพิจารณาได้

อนึ่ง การรับรองทั้งสองกรณีข้างต้น อาจแบ่งได้ 2 วิธีการ คือ

1) การรับรองโดยการลงชื่อในญัตตินั้น ๆ เพื่อเป็นการยืนยันในการสนับสนุนให้มีการเสนอญัตติดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมของสภา การรับรองในกรณีนี้มักเป็นการรับรองในญัตติทั่วไป รวมถึงร่างที่เกี่ยวด้วยการเงินด้วย หรือญัตติที่เกี่ยวกับการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลในบางกรณี

2) การรับรองโดยการยกมือรับรองในที่ประชุมสภา การรับรองโดยวิธีการดังกล่าวนี้ มักเป็นการรับรองในญัตติที่เกี่ยวกับการดำเนินการหรือการควบคุมการประชุมสภา

ท้ายสุด จำนวนของผู้รับรองในญัตติต่าง ๆ นั้น อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการณ์หรืออัตราส่วนของสมาชิกสภาที่มีตามรัฐธรรมนูญขณะนั้นบัญญัติไว้ และอาจขึ้นอยู่กับประเภทและความสำคัญของญัตตินั้น ๆ ด้วย


* ญัตติ หมายถึง ข้อเสนอของสมาชิกสภา เพื่อให้สภาพิจารณาหรือดำเนินการหรือมีมติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้น ญัตติจึงถือเสมือนเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาญัตติมีอยู่ 2 ประเภท คือ

1. ญัตติที่เป็นข้อผูกมัดเฉพาะการภายในของสภา ซึ่งเป็นเครื่องมือของสมาชิกรัฐสภาเพื่อใช้ในการดำเนินการหรือควบคุมการประชุม อาทิ ญัตติขอให้ประชุมลับ ญัตติขอให้รับรองรายงานการประชุม ญัตติขอให้ปรึกษาเป็นการด่วน ญัตติขอให้รวมหรือแยกประเด็นพิจารณาหรือลงมติ ฯลฯ

2. ญัตติที่เป็นข้อผูกมัดรัฐบาล หรือการภายนอกของสภา ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

2.1 ญัตติที่เป็นกฎหมาย อาทิ ญัตติร่างพระราชบัญญัติ ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

2.2 ญัตติที่ไม่เป็นกฎหมาย แต่เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน อาทิ ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ญัตติขอให้คณะกรรมาธิการกระทำการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา ฯลฯ

บรรณานุกรม

คณิน บุญสุวรรณ. ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2548.

ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์.รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (2475 – 2517). กรุงเทพฯ : ช. ชุมนุมช่าง,2517.

สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา. ข้อบังคับการประชุมสภาเปรียบเทียบ 2476-2517. กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการทางวิชาการและกฎหมาย, สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา, ม.ป.ป.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475-2549 เล่ม 1. กรุงเทพฯ : สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551.

ตารางเปรียบเทียบข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 กับข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : สำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ม.ป.ป.

“รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 18/2476 (สามัญ) สมัยที่ 2”, วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476. หน้า 1126.

“รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 19/2476 (สามัญ) สมัยที่ 2”, วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2476. หน้า 1135.

“รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 5/2477 (สามัญ) สมัยที่ 2”, วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2477. หน้า 335.

“รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 5/2477 (สามัญ) สมัยที่ 2”, วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2477. หน้า 336.

“รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14/2477 (สามัญ) สมัยที่ 2”, วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2477. หน้า 720.

“รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14/2477 (สามัญ) สมัยที่ 2”, วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2477. หน้า 717.

“รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14/2477 (สามัญ) สมัยที่ 2”, วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2477. หน้า 721.

“รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14/2477 (สามัญ) สมัยที่ 2”, วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2477. หน้า 721.

“รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14/2477 (สามัญ) สมัยที่ 2”, วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2477. หน้า 733.

“รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 15/2477 (สามัญ) สมัยที่ 2”, วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2477. หน้า 754.

“รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14/2477 (สามัญ) สมัยที่ 2”, วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2477. หน้า 768.