ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
|||
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน) | |||
บรรทัดที่ 41: | บรรทัดที่ 41: | ||
มีทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีความแม่นตรงจากประสบการณ์ของประเทศที่แตกต่างกันหลายประเทศก็คือ ระบบการเลือกตั้งมีผู้แทนได้คนเดียวนั้น โน้มเอียงที่จะเอื้อให้เกิดระบบพรรค[[ระบบสองพรรคใหญ่ทางการเมือง|การเมืองแบบสองพรรค]] ''(two party system)'' เพราะระบบการเลือกตั้งแบบนี้จะบีบให้นักการเมืองทั้งหลายต้องรวมตัวกันเป็นพรรคการเมือง ที่แข่งขันต่อสู้กันสองพรรค (เจอรัลด์ แอล. เคอร์ติส, 2539 : 16) เช่นที่เป็นอยู่ในอังกฤษ ส่วนระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนนั้นจะเอื้ออำนายให้พัฒนาไปสู่[[ระบบหลากพรรค|ระบบหลายพรรค]] (multi- party system) เช่นในประเทศเยอรมันและหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งพรรคการเมืองที่มีขนาดเล็กในประเทศญี่ปุ่นที่สนับสนุนการมีผู้แทนตามระบบสัดส่วน | มีทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีความแม่นตรงจากประสบการณ์ของประเทศที่แตกต่างกันหลายประเทศก็คือ ระบบการเลือกตั้งมีผู้แทนได้คนเดียวนั้น โน้มเอียงที่จะเอื้อให้เกิดระบบพรรค[[ระบบสองพรรคใหญ่ทางการเมือง|การเมืองแบบสองพรรค]] ''(two party system)'' เพราะระบบการเลือกตั้งแบบนี้จะบีบให้นักการเมืองทั้งหลายต้องรวมตัวกันเป็นพรรคการเมือง ที่แข่งขันต่อสู้กันสองพรรค (เจอรัลด์ แอล. เคอร์ติส, 2539 : 16) เช่นที่เป็นอยู่ในอังกฤษ ส่วนระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนนั้นจะเอื้ออำนายให้พัฒนาไปสู่[[ระบบหลากพรรค|ระบบหลายพรรค]] ''(multi- party system)'' เช่นในประเทศเยอรมันและหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งพรรคการเมืองที่มีขนาดเล็กในประเทศญี่ปุ่นที่สนับสนุนการมีผู้แทนตามระบบสัดส่วน | ||
==รายละเอียดอื่นที่สำคัญ== | ==รายละเอียดอื่นที่สำคัญ== | ||
บรรทัดที่ 48: | บรรทัดที่ 50: | ||
;1) การจัดองค์กรของพรรคการเมือง | ;1) การจัดองค์กรของพรรคการเมือง | ||
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 | พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดองค์กรภายของ[[พรรคการเมือง]]ดังต่อไปนี้ | ||
- คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามนโยบาย ข้อบังคับและมติของที่ประชุมใหญ่ของพรรค (มาตรา20) | - คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามนโยบาย ข้อบังคับและมติของที่ประชุมใหญ่ของพรรค (มาตรา20) | ||
- คณะกรรมการบริหารพรรคประกอบด้วย หัวหน้าพรรคการเมือง รองหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง รองเลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง โฆษกพรรคการเมืองและคณะกรรมการบริหารอื่นๆ ซึ่งเลือกตั้งจากสมาชิกซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ (มาตรา12) | - คณะกรรมการบริหารพรรคประกอบด้วย [[หัวหน้าพรรค|หัวหน้าพรรคการเมือง]] รองหัวหน้าพรรคการเมือง [[เลขาธิการพรรคการเมือง]] รองเลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง โฆษกพรรคการเมืองและคณะกรรมการบริหารอื่นๆ ซึ่งเลือกตั้งจากสมาชิกซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ (มาตรา12) | ||
บรรทัดที่ 69: | บรรทัดที่ 71: | ||
:(1) ในกรณีที่เป็นการรวมพรรคเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่นั้น พรรคที่จะรวมกันจะต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรค | :(1) ในกรณีที่เป็นการรวมพรรคเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่นั้น พรรคที่จะรวมกันจะต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรค | ||
:(2) เมื่อที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคเห็นชอบแล้ว ให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคจำนวนพรรคละ 10 คน ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดนโยบายพรรคการเมืองและข้อบังคับพรรคการเมือง | :(2) เมื่อที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคเห็นชอบแล้ว ให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคจำนวนพรรคละ 10 คน ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดนโยบายพรรคการเมืองและข้อบังคับพรรคการเมือง | ||
:(3) เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ก็ให้มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างสมาชิกของทุกพรรคการเมืองที่จะรวมกัน เพื่อประชุมจัดตั้งพรรคการเมือง การเรียกประชุมจัดตั้งพรรคต้องแจ้งให้สมาชิกของพรรคทราบก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน | :(3) เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ก็ให้มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างสมาชิกของทุกพรรคการเมืองที่จะรวมกัน เพื่อประชุมจัดตั้งพรรคการเมือง การเรียกประชุมจัดตั้งพรรคต้องแจ้งให้สมาชิกของพรรคทราบก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน | ||
:(4) เมื่อนายทะเบียนจดแจ้งการตั้งพรรคการเมืองแล้ว นายทะเบียนต้องดำเนินการตามมาตรา 62 วรรค 2 เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พรรคการเมืองที่รวมเข้ากันเป็นอันยุบไป และให้ ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองเดิมเป็น ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองใหม่ | :(4) เมื่อนายทะเบียนจดแจ้งการตั้งพรรคการเมืองแล้ว นายทะเบียนต้องดำเนินการตามมาตรา 62 วรรค 2 เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พรรคการเมืองที่รวมเข้ากันเป็นอันยุบไป และให้ ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองเดิมเป็น ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองใหม่ | ||
บรรทัดที่ 89: | บรรทัดที่ 88: | ||
:(2) เมื่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคเห็นชอบให้รวมกันแล้ว หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะรวมตัวกันทุกพรรคต้องแจ้งการรวมพรรคต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนดำเนินการตามมาตรา 62 วรรค 2 | :(2) เมื่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคเห็นชอบให้รวมกันแล้ว หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะรวมตัวกันทุกพรรคต้องแจ้งการรวมพรรคต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนดำเนินการตามมาตรา 62 วรรค 2 คือยื่นร่วมต่อ[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบัยน เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พรรคการเมืองที่รวมเข้ากับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลักนั้นยุบไป นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง | ||
;2.2 | ;2.2 การเลิกและ[[การยุบพรรคการเมือง]] | ||
บรรทัดที่ 115: | บรรทัดที่ 114: | ||
;3.1 ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน (Private Financing) | ;3.1 ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน ''(Private Financing)'' | ||
หมายถึงการได้มาซึ่งรายรับของพรรคการเมืองจากผู้สนับสนุนทางการเมืองซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือองค์กรทางธุรกิจหรือองค์กรอื่นๆ | หมายถึงการได้มาซึ่งรายรับของพรรคการเมืองจากผู้สนับสนุนทางการเมืองซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือองค์กรทางธุรกิจหรือองค์กรอื่นๆ | ||
บรรทัดที่ 131: | บรรทัดที่ 130: | ||
:(1) บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย | :(1) บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย | ||
:(2) | :(2) [[นิติบุคคล]]ตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหรือกิจการหรือจดทะเบียนสาขาอยู่ในหรือนอกอาณาจักร | ||
:(3) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร ซึ่งบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยมีทุนหรือเป็นผู้ถือหุ้นเกินร้อยละยี่สิบห้า | :(3) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร ซึ่งบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยมีทุนหรือเป็นผู้ถือหุ้นเกินร้อยละยี่สิบห้า | ||
บรรทัดที่ 149: | บรรทัดที่ 148: | ||
เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 ระบุว่า รัฐจะต้องสนับสนุนการดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยการให้เงินอุดหนุนแก่พรรคการเมืองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้พรรคการเมืองปลอดจากอิทธิพลครอบงำจากกลุ่มทุนหรือองค์กรที่สนับสนุนอยู่ | เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 ระบุว่า รัฐจะต้องสนับสนุนการดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยการให้เงินอุดหนุนแก่พรรคการเมืองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้พรรคการเมืองปลอดจากอิทธิพลครอบงำจากกลุ่มทุนหรือองค์กรที่สนับสนุนอยู่ | ||
==เจตนารมย์== | ==เจตนารมย์== | ||
บรรทัดที่ 154: | บรรทัดที่ 155: | ||
กล่าวได้ว่าแนวทางในการออกกฎหมายพรรคการเมืองไทยในอดีตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมให้มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่และหาทางลดจำนวนของพรรคขนาดเล็กลง โดยอาศัยการกำหนดกฎเกณฑ์เงื่อนไขบางอย่างเอาไว้ เช่น กำหนดจำนวนสมาชิกพรรค จำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งขั้นต่ำที่พรรคต้องส่งเอาไว้ เป็นต้น หากพรรคการเมืองใดไม่สามารถดำเนินการได้ก็ต้องยุบพรรค ดังจะเห็นได้ว่า ในพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 ได้กำหนดว่าพรรคการเมืองต้องถูกยกเลิกถ้ามีจำนวนสมาชิกต่ำกว่า 500 คน ในพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 ได้กำหนดให้เข้มงวดขึ้นโดยการกำหนดให้พรรคต้องมีสมาชิกขั้นต่ำ 1,000 คน การจัดตั้งพรรคก็เป็นไปได้ยากขึ้น หรือในกรณีของพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2524 ก็ยิ่งวางเงื่อนไขไว้เข้มงวดมากขึ้น โดยกำหนดให้พรรคการเมืองต้องส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งคราวละไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดที่พึงมี พรรคการเมืองต้องขยายสมาชิกให้ได้ไม่น้อยกว่า 5,000 คน การจัดตั้งสาขาพรรคต้องมีจำนวนสมาชิก 100 คนขึ้นไป รวมทั้งพรรคการเมืองจะต้องถูกยุบถ้าไม่มีสมาชิกคนใดได้รับเลือกตั้ง เป็นต้น | กล่าวได้ว่าแนวทางในการออกกฎหมายพรรคการเมืองไทยในอดีตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมให้มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่และหาทางลดจำนวนของพรรคขนาดเล็กลง โดยอาศัยการกำหนดกฎเกณฑ์เงื่อนไขบางอย่างเอาไว้ เช่น กำหนดจำนวนสมาชิกพรรค จำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งขั้นต่ำที่พรรคต้องส่งเอาไว้ เป็นต้น หากพรรคการเมืองใดไม่สามารถดำเนินการได้ก็ต้องยุบพรรค ดังจะเห็นได้ว่า ในพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 ได้กำหนดว่าพรรคการเมืองต้องถูกยกเลิกถ้ามีจำนวนสมาชิกต่ำกว่า 500 คน ในพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 ได้กำหนดให้เข้มงวดขึ้นโดยการกำหนดให้พรรคต้องมีสมาชิกขั้นต่ำ 1,000 คน การจัดตั้งพรรคก็เป็นไปได้ยากขึ้น หรือในกรณีของพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2524 ก็ยิ่งวางเงื่อนไขไว้เข้มงวดมากขึ้น โดยกำหนดให้พรรคการเมืองต้องส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งคราวละไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดที่พึงมี พรรคการเมืองต้องขยายสมาชิกให้ได้ไม่น้อยกว่า 5,000 คน การจัดตั้งสาขาพรรคต้องมีจำนวนสมาชิก 100 คนขึ้นไป รวมทั้งพรรคการเมืองจะต้องถูกยุบถ้าไม่มีสมาชิกคนใดได้รับเลือกตั้ง<ref>สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, “พรรคการเมืองไทย,” ใน พรรคการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้:ศึกษาเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และมาเลเซีย, สีดา สอนศรี, บรรณาธิการ (กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546), น.203.</ref> เป็นต้น | ||
==อ้างอิง== | |||
<references/> | |||
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:01, 30 สิงหาคม 2553
บทความนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยโดยผู้ืทรงคุณวุฒิ
ผู้เรียบเรียง นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ที่มา
ด้วยกระแสการเรียกร้องและกดดันทางการเมืองจากประชาชน และกลุ่มพลังต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อจะให้มีการปฏิรูปการเมือง จึงส่งผลให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองที่มีการนำเสนอนวัตกรรมหลายส่วน ทั้งยังมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอำนาจหลายประการ ซึ่งเมื่อมองโดยภาพรวมแล้วเหมือนจะเห็นว่ามีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ ที่เคยมีมาก่อนหน้านี้
สาระสำคัญ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งและส่งเสริมระบบพรรคการเมืองนั้น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540) ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นหลายประการ ดังนี้
- 1. การบัญญัติให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของบุคคล (มาตรา 68) ไม่ใช่เป็นสิทธิอย่างที่แล้ว ๆ มา
- 2. มีการกำหนดให้บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง (มาตรา 47)
- 3. สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน สมาชิก 500 คน โดยมีที่มาจาก 2 ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต เขตละ 1 คนจำนวน 400 คนและ ส่วนที่สองมาจากการเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ (Party list) 100 คน
- 4. มีการเปลี่ยนวิธีการนับคะแนนเลือกตั้งจากเดิมที่เคยนับที่หน่วยเลือกตั้ง มาใช้วิธีนำหีบบัตรเลือกตั้งไปเทรวมกัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเพียงแห่งเดียวในเขตเลือกตั้งนั้นๆ (มาตร 104 วรรคสี่)
- 5. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาไม่น้อยกว่า 90 วัน (มาตรา 105 [3])
- 6. มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขึ้นมาทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง
- 7. กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ส่งสมัครไม่น้อยกว่า 90 วัน (มาตรา 107 [4])
- 8. ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในเวลาเดียวกัน (มาตรา 240)
9. พรรคการเมืองอาจลงมติขับสมาชิกพรรคด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น (มาตรา 118 [8])
ดังนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งพรรคการเมืองไว้ว่า ผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์และไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญจำนวนตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไปสามารถรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองได้ (มาตรา 8) และต้องมีสมาชิกห้าพันคนขึ้นไปภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และกระจายตามภาคและจังหวัดตามที่นายทะเบียนกำหนด และต้องมีสาขาพรรคอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา
อนึ่ง มีข้อน่าสังเกตบางประการเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ ซึ่งเป็นการใช้ผสมกันระหว่าง แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเขตละหนึ่งคน (single-member constituency) ซึ่งมีวิธีคิดคะแนนแบบใช้เสียงข้างมากรอบเดียวหรือเสียงข้างมากอย่างง่าย (first-past-the-post-system) และผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งหนึ่งคนมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้หนึ่งเสียง (one man one vote) กับแบบรวมเขตในระบบบัญชีรายชื่อพรรค (party list) ซึ่งมีวิธีคิดคะแนนแบบสัดส่วน (proportional representation) และถือเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้งเดียว (nation-list) โดยผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งหนึ่งคนออกเสียงเลือกตั้งได้หนึ่งเสียง
มีทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีความแม่นตรงจากประสบการณ์ของประเทศที่แตกต่างกันหลายประเทศก็คือ ระบบการเลือกตั้งมีผู้แทนได้คนเดียวนั้น โน้มเอียงที่จะเอื้อให้เกิดระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค (two party system) เพราะระบบการเลือกตั้งแบบนี้จะบีบให้นักการเมืองทั้งหลายต้องรวมตัวกันเป็นพรรคการเมือง ที่แข่งขันต่อสู้กันสองพรรค (เจอรัลด์ แอล. เคอร์ติส, 2539 : 16) เช่นที่เป็นอยู่ในอังกฤษ ส่วนระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนนั้นจะเอื้ออำนายให้พัฒนาไปสู่ระบบหลายพรรค (multi- party system) เช่นในประเทศเยอรมันและหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งพรรคการเมืองที่มีขนาดเล็กในประเทศญี่ปุ่นที่สนับสนุนการมีผู้แทนตามระบบสัดส่วน
รายละเอียดอื่นที่สำคัญ
นอกจากนี้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ยังระบุรายละเอียด
- 1) การจัดองค์กรของพรรคการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดองค์กรภายของพรรคการเมืองดังต่อไปนี้ - คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามนโยบาย ข้อบังคับและมติของที่ประชุมใหญ่ของพรรค (มาตรา20) - คณะกรรมการบริหารพรรคประกอบด้วย หัวหน้าพรรคการเมือง รองหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง รองเลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง โฆษกพรรคการเมืองและคณะกรรมการบริหารอื่นๆ ซึ่งเลือกตั้งจากสมาชิกซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ (มาตรา12)
- 2) การรวมและการยุบพรรคการเมือง
เจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองนั้นต้องการส่งเสริมเสถียรภาพของพรรคการเมืองและต้องการให้ระบบการเมืองไทยมีพรรคการเมืองที่เข้มแข็งเพียงน้อยพรรค ดังนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 จึงวางหลักเกณฑ์เงื่อนไขส่งเสริมให้พรรคการเมืองขนาดเล็กยุบพรรคหรือรวมพรรคเพื่อให้เกิดพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 ได้วางหลักเกณฑ์ในการรวมพรรคไว้ดังนี้
- 2.1 การรวมพรรคการเมือง
- 2.1.1 การรวมพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ กฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้ (มาตรา 70)
- (1) ในกรณีที่เป็นการรวมพรรคเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่นั้น พรรคที่จะรวมกันจะต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรค
- (2) เมื่อที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคเห็นชอบแล้ว ให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคจำนวนพรรคละ 10 คน ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดนโยบายพรรคการเมืองและข้อบังคับพรรคการเมือง
- (3) เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ก็ให้มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างสมาชิกของทุกพรรคการเมืองที่จะรวมกัน เพื่อประชุมจัดตั้งพรรคการเมือง การเรียกประชุมจัดตั้งพรรคต้องแจ้งให้สมาชิกของพรรคทราบก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน
- (4) เมื่อนายทะเบียนจดแจ้งการตั้งพรรคการเมืองแล้ว นายทะเบียนต้องดำเนินการตามมาตรา 62 วรรค 2 เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พรรคการเมืองที่รวมเข้ากันเป็นอันยุบไป และให้ ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองเดิมเป็น ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองใหม่
- 2.1.2 การรวมพรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคเดียวกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก
การรวมพรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคเดียวกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้
- (1) ในกรณีที่การรวมพรรคการเมืองเป็นการรวมพรรคหนึ่งหรือหลายพรรคการเมือง เข้าเป็นพรรคการเมืองกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก พรรคการเมืองที่จะรวมกัน ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรค
- (2) เมื่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคเห็นชอบให้รวมกันแล้ว หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะรวมตัวกันทุกพรรคต้องแจ้งการรวมพรรคต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนดำเนินการตามมาตรา 62 วรรค 2 คือยื่นร่วมต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบัยน เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พรรคการเมืองที่รวมเข้ากับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลักนั้นยุบไป นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง
- 2.2 การเลิกและการยุบพรรคการเมือง
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541ได้กำหนดไว้ว่าพรรคการเมืองย่อมเลิกหรือยุบด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้ (มาตรา 65)
- (1) มีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง
- (2) มีจำนวนสมาชิกเหลือไม่ถึง 15 คน
- (3) มีการยุบพรรคการเมืองไปรวมกับพรรคการเมืองอื่น
- (4) มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมือง
- (5) ไม่ดำเนินการตามกฎหมาย อาทิเช่น องค์ประกอบของที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองไม่ครบ หรือไม่สามารถหาสมาชิกได้อย่างน้อย 5,000 คนภายใน 180 วันนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมือง
- 3) ระบบเงินสนับสนุนพรรคการเมือง
ระบบเงินอุดหนุนพรรคการเมืองโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ระบบคือ ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน (Private Financing) และระบบเงินอุดหนุนจากรัฐ (Public Financing) (สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ : 270)
- 3.1 ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน (Private Financing)
หมายถึงการได้มาซึ่งรายรับของพรรคการเมืองจากผู้สนับสนุนทางการเมืองซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือองค์กรทางธุรกิจหรือองค์กรอื่นๆ
- การบริจาคเงินเพื่อให้พรรคการเมืองนำไปดำเนินการตามนโยบายของพรรคการเมืองนั้นต้องดำเนินไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
- if:
border: 1px solid #AAAAAA;
}}" class="cquote" |
width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | “ | ห้ามมิให้พรรคการเมือง หรือสมาชิกผู้ใดรับเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ใด เพื่อสนับสนุนการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดินหรือกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศหรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชน | width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | ” |
{{#if:| —{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}} }}}} |
(มาตรา 52)
นอกจากนี้กฎหมายพรรคการเมืองห้ามมิให้พรรคการเมือง หรือสมาชิกผู้ใดรับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อดำเนินกิจการของพรรคการเมืองหรือดำเนินกิจการทางการเมืองจากบุคคลหรือองค์กรดังต่อไปนี้ (มาตรา 53)
- (1) บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
- (2) นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหรือกิจการหรือจดทะเบียนสาขาอยู่ในหรือนอกอาณาจักร
- (3) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร ซึ่งบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยมีทุนหรือเป็นผู้ถือหุ้นเกินร้อยละยี่สิบห้า
- (4) องค์กรหรือนิติบุคคลที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินอุดหนุนจากต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือมีผู้จัดการหรือกรรมการเป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
- (5) บุคคล องค์กร หรือนิติบุคคลตามที่ได้รับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อดำเนินกิจการของพรรคการเมืองหรือเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองจากบุคคลองค์การหรือนิติบุคคลตาม (1) (2) (3) (4)
- (6) บุคคล องค์การหรือนิติบุคคลตามที่กำหนดในประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ การห้ามพรรคการเมืองรับเงินสนับสนุนจากบุคคลหรือองค์การดังกล่าวก็เพื่อป้องกันไม่ให้พรรคการเมืองถูกแทรกแซงหรือครอบงำจากบุคคลหรือองค์กรจากต่างชาติ นอกจากนี้เพื่อให้การดำเนินงานของพรรคการเมืองเป็นไปด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ กฎหมายจึงได้กำหนดให้หัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรคและกรรมการสาขาพรรคการเมืองมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู้สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (มาตรา 42)
- 3.2 ระบบเงินอุดหนุนจากรัฐ
เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 ระบุว่า รัฐจะต้องสนับสนุนการดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยการให้เงินอุดหนุนแก่พรรคการเมืองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้พรรคการเมืองปลอดจากอิทธิพลครอบงำจากกลุ่มทุนหรือองค์กรที่สนับสนุนอยู่
เจตนารมย์
จะเห็นว่า เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองปี พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มีแนวโน้มที่จะส่งเสริมให้เกิดพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่เข้มแข็งขึ้นมาในขณะเดียวกันก็ต้องการลดจำนวนของพรรคขนาดเล็กลง
กล่าวได้ว่าแนวทางในการออกกฎหมายพรรคการเมืองไทยในอดีตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมให้มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่และหาทางลดจำนวนของพรรคขนาดเล็กลง โดยอาศัยการกำหนดกฎเกณฑ์เงื่อนไขบางอย่างเอาไว้ เช่น กำหนดจำนวนสมาชิกพรรค จำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งขั้นต่ำที่พรรคต้องส่งเอาไว้ เป็นต้น หากพรรคการเมืองใดไม่สามารถดำเนินการได้ก็ต้องยุบพรรค ดังจะเห็นได้ว่า ในพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 ได้กำหนดว่าพรรคการเมืองต้องถูกยกเลิกถ้ามีจำนวนสมาชิกต่ำกว่า 500 คน ในพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 ได้กำหนดให้เข้มงวดขึ้นโดยการกำหนดให้พรรคต้องมีสมาชิกขั้นต่ำ 1,000 คน การจัดตั้งพรรคก็เป็นไปได้ยากขึ้น หรือในกรณีของพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2524 ก็ยิ่งวางเงื่อนไขไว้เข้มงวดมากขึ้น โดยกำหนดให้พรรคการเมืองต้องส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งคราวละไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดที่พึงมี พรรคการเมืองต้องขยายสมาชิกให้ได้ไม่น้อยกว่า 5,000 คน การจัดตั้งสาขาพรรคต้องมีจำนวนสมาชิก 100 คนขึ้นไป รวมทั้งพรรคการเมืองจะต้องถูกยุบถ้าไม่มีสมาชิกคนใดได้รับเลือกตั้ง[1] เป็นต้น
อ้างอิง
- ↑ สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, “พรรคการเมืองไทย,” ใน พรรคการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้:ศึกษาเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และมาเลเซีย, สีดา สอนศรี, บรรณาธิการ (กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546), น.203.