ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คุณธรรม (พ.ศ. 2550)"
สร้างหน้าใหม่: '''พรรคคุณธรรม''' พรรคคุณธรรมได้รับการจดทะเบียนพรรคการเม... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
''' | ''''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
---- | |||
ในส่วนการดำเนินงานทางการเมืองในลักษณะที่เป็นทางการของพรรคคุณธรรมนั้น | |||
''พรรคคุณธรรม''' | |||
พรรคคุณธรรมได้รับการ[[จดทะเบียนพรรคการเมือง]]เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยมีนายวันชัย ศิริธรรม ดำรงตำแหน่งเป็น[[หัวหน้าพรรค]] | |||
ในส่วนการดำเนินงานทางการเมืองในลักษณะที่เป็นทางการของพรรคคุณธรรมนั้น ใน[[การเลือกตั้ง]][[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ครั้งที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พรรคได้ส่งผู้สมัครรับเลือกในแบบสัดส่วนจำนวน 30 คน และแบบแบ่งเขตจำนวน 9 คนซึ่งทั้งหมดก็มิได้รับการเลือกตั้งแต่อย่างใด | |||
รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ | รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ | ||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 17: | ||
1.ปลูกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรักชาติบ้านเมืองและมีจิตสำนึกในหน้าที่ของตนที่มีต่อชาติบ้านเมือง | 1.ปลูกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรักชาติบ้านเมืองและมีจิตสำนึกในหน้าที่ของตนที่มีต่อชาติบ้านเมือง | ||
2. | 2.แก้[[กฎหมาย]]บางฉบับที่ล้าหลังและยังไม่เป็น[[ประชาธิปไตย]]โดยสมบูรณ์ | ||
3.สนับสนุนและส่งเสริมให้ข้าราชการประจำมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเปิดเผย | 3.สนับสนุนและส่งเสริมให้ข้าราชการประจำมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเปิดเผย | ||
4. | 4.[[การกระจายอำนาจ]]การปกครองจาก[[ส่วนกลาง]]สู่ภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นอย่างมีระบบ | ||
5. | 5.ปกป้องคุ้มครองและเทิดทูน[[สถาบันพระมหากษัตริย์]]และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์อย่างเต็มรูปแบบ | ||
'''ด้านเศรษฐกิจ''' | '''ด้านเศรษฐกิจ''' | ||
1. | 1.การแปรรูป[[รัฐวิสาหกิจ]]จะกำหนดอัตราส่วนในการถือหุ้นของรัฐบาลต้องเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นทั้งหมดในกรณีของรัฐวิสาหกิจหลักและอาจจะเป็นผู้ถือหุ้นน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของหุ้นทั้งหมดในกรณีของรัฐวิสาหกิจรอง | ||
2.กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ตรงกับสภาพความเป็นจริง | 2.กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ตรงกับสภาพความเป็นจริง | ||
บรรทัดที่ 168: | บรรทัดที่ 173: | ||
2.ปรับปรุงการให้บริการทางด้านสาธารณสุขในทุกระดับ | 2.ปรับปรุงการให้บริการทางด้านสาธารณสุขในทุกระดับ | ||
3. | 3.ควบคุมการคิดค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนให้มี[[ความเป็นธรรม]]มาก | ||
บรรทัดที่ 186: | บรรทัดที่ 191: | ||
1.สนับสนุนการออกกำลังกายโดยจัดให้มีสถานที่ออกกำลังกายอย่างเพียงพอ | 1.สนับสนุนการออกกำลังกายโดยจัดให้มีสถานที่ออกกำลังกายอย่างเพียงพอ | ||
2. | 2.ส่งเสริมให้ทุกจังหวัดมีสโมสรโดยรวมของ[[จังหวัด]]และ[[อำเภอ]] | ||
3.ส่งเสริมให้มีสวนสาธารณทุกแห่งที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น | 3.ส่งเสริมให้มีสวนสาธารณทุกแห่งที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น | ||
[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | [[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:20, 28 สิงหาคม 2553
'ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคคุณธรรม'
พรรคคุณธรรมได้รับการจดทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยมีนายวันชัย ศิริธรรม ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค
ในส่วนการดำเนินงานทางการเมืองในลักษณะที่เป็นทางการของพรรคคุณธรรมนั้น ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พรรคได้ส่งผู้สมัครรับเลือกในแบบสัดส่วนจำนวน 30 คน และแบบแบ่งเขตจำนวน 9 คนซึ่งทั้งหมดก็มิได้รับการเลือกตั้งแต่อย่างใด
รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ
ด้านการเมืองและการปกครอง
1.ปลูกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรักชาติบ้านเมืองและมีจิตสำนึกในหน้าที่ของตนที่มีต่อชาติบ้านเมือง
2.แก้กฎหมายบางฉบับที่ล้าหลังและยังไม่เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์
3.สนับสนุนและส่งเสริมให้ข้าราชการประจำมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเปิดเผย
4.การกระจายอำนาจการปกครองจากส่วนกลางสู่ภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นอย่างมีระบบ
5.ปกป้องคุ้มครองและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์อย่างเต็มรูปแบบ
ด้านเศรษฐกิจ
1.การแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะกำหนดอัตราส่วนในการถือหุ้นของรัฐบาลต้องเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นทั้งหมดในกรณีของรัฐวิสาหกิจหลักและอาจจะเป็นผู้ถือหุ้นน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของหุ้นทั้งหมดในกรณีของรัฐวิสาหกิจรอง
2.กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ตรงกับสภาพความเป็นจริง
3.สนับสนุนให้ตั้งองค์กรเศรษฐกิจแห่งชาติ
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
1.ปลูกฝังชาตินิยมให้แก่เยาวชนและประชาชนทุกหมู่เหล่า
2.ป้องกันและแก้ไขเหตุแห่งความไม่เป็นธรรมในสังคมทุกระดับ
3.ให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนในการนับถือศาสนา
4.พัฒนาการวางผังเมืองของทุกจังหวัดให้เป็นระเบียบ
ด้านการเกษตรและสหกรณ์
1.ประกันการผลิตและราคาผลผลิตของเกษตรกรอย่างเป็นระบบและเป็นธรรม
2.พัฒนาเกษตรกรรมแบบผสมผสานและแบบปลอดสารพิษ
3.ปรับปรุงพัฒนาแหล่งน้ำ แม่น้ำ ชายฝั่งทะเล ทั่วประเทศ
4.สนับสนุนการตลาดการเกษตรของสหกรณ์จังหวัดทุกจังหวัด
5.หยุดยั้งการทำลายป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติโดยเด็ดขาด
6.ปรับปรุงระบบและปฏิรูปที่ดินให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง
ด้านการอุตสาหกรรม
1.สนับสนุนและให้การคุ้มครองผลผลิตที่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ
2.สนับสนุนให้ประชาชนใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยคนไทย
3.ส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออกขนาดกลางไปจนถึงอุตสาหกรรมในครัวเรือน
4.ควบคุมมลภาวะที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม
5.ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตรอย่างเต็มรูปแบบ
ด้านการศึกษา
1.สนับสนุนการศึกษาแก่เด็กยากจน ด้อยโอกาสโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
2.ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการพัฒนาการศึกษาของโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต
3.ให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทุกระดับในการดำเนินการกิจกรรมร่วมกันเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้
4.ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารและการดำเนินการของสถาบันการศึกษาให้เจริญก้าวหน้า คล่องตัว มีอิสระในการบริหารงาน
5.สนับสนุนให้มีการแปลและเรียบเรียงหนังสือหรือตำราเรียนหรือเอกสารอ้างอิงที่ใช้ในสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ
ด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคง
1.ให้กองทัพมีบทบาทในการพัฒนาและร่วมมือเสริมสร้างความมั่นคงของชาติทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
2.สร้างและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นใช้เอง
3.ปรับปรุงสวัสดิการทหาร
4.ปรับปรุงโครงสร้างของกองทัพ
5.แลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ทางการทหารกับต่างประเทศ
6.ตั้งหน่วยตรวจสอบพิเศษเพื่อป้องกันและติดตามการแทรกแซงกิจการต่าง ๆการทำจารกรรมของกระบวนการก่อการร้ายจากภายนอกประเทศ
ด้านการต่างประเทศ
1.ดำเนินนโยบายอิสระโดยยึดหลักของผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติเป็นสำคัญ
2.กระชับความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศทุก ๆ ประเทศ
3.ให้ความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
4.ปรับปรุงสนธิสัญญาต่าง ๆ โดยที่ประเทศไทยเสียเปรียบ
5.รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศให้น้อยที่สุด
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีกับต่างประเทศ
2.ให้มีการลงทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันกับต่างประเทศ
ด้านการแรงงานและสวัสดิการสังคม
1.แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ประกาศและคำสั่งที่ไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับโรงงาน
2.ขยายการว่าจ้างงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้มากขึ้น
3.ขจัดการขูดรีดแรงงานที่ไม่เป็นธรรมให้หมดสิ้นไป
4.สร้างหลักประกันในการทำงานแก่ผู้ใช้แรงงานทั้งในและต่างประเทศ
5.สนับสนุนการจัดตั้งสหภาพแรงงาน
ด้านสตรี เด็ก เยาวชนและผู้ด้อยโอกาสในสังคม
1.จัดหางานที่เหมาะสมและสงวนลิขสิทธิ์ของงานบางประเภทสำหรับสตรี
2.คุ้มครองการใช้แรงงานเด็กอย่างเข้มงวด
3.ออกกฎหมายลงโทษ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่ทารุณกรรมและไม่เอาใจใส่ในการเลี้ยงดูบุตร หรือเด็กที่อยู่ในความอุปการะ
ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
1. เร่งรัดและป้องกันการแก้ปัญหามลภาวะและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
2.กำหนดแผนการใช้และพิทักษ์ทรัพยากรที่มีคุณค่าของชาติอย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุด
ด้านการต่อต้านยาเสพติดและโรคติดต่อที่รุนแรง
1.ป้องกันและปราบปรามการนำเข้ายาเสพติดให้โทษทุกชนิดจากต่างประเทศ
2.ให้ความคุ้มครองและกักกันผู้ที่ติดยาเสพติดและให้การรักษาทางการแพทย์อย่างดี
3.มีมาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
4.เข้มงวดกับการนำเข้ายาปราบศัตรูพืชที่มีสารพิษเจือปน
5.เข้มงวดกับการนำเข้าสัตว์หรือพาหะทุกชนิดจากต่างประเทศ
6.เข้มงวดกับชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาภายในประเทศ
ด้านสาธารณสุขและสาธารณูปโภค
1.ควบคุมการโฆษณาสินค้าบางประเภทที่ให้โทษต่อสุขภาพและร่างกาย
2.ปรับปรุงการให้บริการทางด้านสาธารณสุขในทุกระดับ
3.ควบคุมการคิดค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนให้มีความเป็นธรรมมาก
ด้านการสื่อสารและการคมนาคม
1.จัดสรรคลื่นวิทยุให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2.จัดให้มีการขยายเส้นทางในการคมนาคมทั่วประเทศ
3.ป้องกันการลงทุนทั้งในด้านการสื่อสารและการคมนาคมที่ซ้ำซ้อน
4.ลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรที่ทำให้การจราจรติดขัด
ด้านการกีฬา
1.สนับสนุนการออกกำลังกายโดยจัดให้มีสถานที่ออกกำลังกายอย่างเพียงพอ
2.ส่งเสริมให้ทุกจังหวัดมีสโมสรโดยรวมของจังหวัดและอำเภอ
3.ส่งเสริมให้มีสวนสาธารณทุกแห่งที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น