ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสรี (พ.ศ. 2547)"
สร้างหน้าใหม่: '''พรรคเสรี''' พรรคเสรีได้รับการจดทะเบียนพรรคการเมืองเมื... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''พรรคเสรี''' | '''พรรคเสรี''' | ||
พรรคเสรีได้รับการ[[จดทะเบียนพรรคการเมือง]]เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 23ง หน้า34.</ref> โดยมีนายนิตย์ สรสิทธิ์ ดำรงตำแหน่งเป็น[[หัวหน้าพรรค]] ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2549 [[ศาลรัฐธรรมนูญ]]ได้มีคำสั่งให้[[ยุบพรรค]]เสรีตาม[[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541]] มาตรา 65 วรรคสอง เนื่องจากไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 กล่าวคือตามพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่[[นายทะเบียนพรรคการเมือง]]รับจดแจ้งการจัดตั้ง[[พรรคการเมือง]] พรรคการเมืองต้องดำเนินการให้มีสมาชิกตั้งแต่ห้าพันคนขึ้นไปแต่พรรคเสรีสามารถจัดส่งเอกสารหลักฐานการรับสมาชิกพรรคต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองได้เพียง 4,614 คน โดยอ้างว่าที่ไม่สามารถจัดส่งได้เนื่องจากสมาชิกพรรคอยู่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่มีเหตุการณ์ไม่สงบ แม้ว่านายทะเบียนพรรคจะขยายระยะเวลาการจัดส่งเอกสารต่อไปอีกระยะหนึ่งแต่พรรคเสรีก็ยังไม่สามารถจัดส่งเอกสารให้ได้ [[ศาลรัฐธรรมนูญ]]จึงมีคำสั่งให้ยุบพรรคเสรีตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง <ref> คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 1/2549 เรื่องให้ยุบพรรคเสรี วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2549.</ref> | |||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
2. จัดระบบงานราชการให้มีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของประชาชน | 2. จัดระบบงานราชการให้มีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของประชาชน | ||
3. | 3. จัดงบประงานให้[[องค์กรอิสระ]]ตามรัฐธรรมนูญอย่างเพียงพอ | ||
4. | 4. ส่งเสริม[[การมีส่วนร่วมของประชาชน]] | ||
5. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม | 5. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม | ||
6. | 6. [[กระจายอำนาจ]]ให้ท้องถิ่น | ||
7. คุ้มครอง พัฒนาเด็กและเยาวชน | 7. คุ้มครอง พัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริม[[ความเสมอภาค]]ของหญิงและชาย | ||
8. สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน สงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและจัดตั้งโรงเรียนฝึกอาชีพให้ผู้ด้อยโอกาส | 8. สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน สงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและจัดตั้งโรงเรียนฝึกอาชีพให้ผู้ด้อยโอกาส | ||
บรรทัดที่ 69: | บรรทัดที่ 69: | ||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== | ||
<references/> | <references/> | ||
[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | [[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย|สเสรี]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:20, 27 กรกฎาคม 2553
พรรคเสรี
พรรคเสรีได้รับการจดทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 [1] โดยมีนายนิตย์ สรสิทธิ์ ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2549 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้ยุบพรรคเสรีตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 65 วรรคสอง เนื่องจากไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 กล่าวคือตามพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนพรรคการเมืองรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคการเมืองต้องดำเนินการให้มีสมาชิกตั้งแต่ห้าพันคนขึ้นไปแต่พรรคเสรีสามารถจัดส่งเอกสารหลักฐานการรับสมาชิกพรรคต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองได้เพียง 4,614 คน โดยอ้างว่าที่ไม่สามารถจัดส่งได้เนื่องจากสมาชิกพรรคอยู่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่มีเหตุการณ์ไม่สงบ แม้ว่านายทะเบียนพรรคจะขยายระยะเวลาการจัดส่งเอกสารต่อไปอีกระยะหนึ่งแต่พรรคเสรีก็ยังไม่สามารถจัดส่งเอกสารให้ได้ ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งให้ยุบพรรคเสรีตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง [2]
รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ [3]
ด้านการบริหารการปกครอง
1.จัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาความมั่งคงของสถาบันกษัตริย์ เอกราช ผลประโยชน์ของชาติและเพื่อการพัฒนาประเทศ
2.อุปถัมภ์และคุ้มครองทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมทางศาสนามาปฏิบัติ
ด้านสังคมและการเมือง
1. ส่งเสริมกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
2. จัดระบบงานราชการให้มีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของประชาชน
3. จัดงบประงานให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญอย่างเพียงพอ
4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
5. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
6. กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น
7. คุ้มครอง พัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย
8. สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน สงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและจัดตั้งโรงเรียนฝึกอาชีพให้ผู้ด้อยโอกาส
9. บริการสาธารณะสุขอย่างทั่วถึงและมีมาตรฐาน
ด้านการศึกษา
1. จัดการศึกษาอบรม สนับสนุนภาคเอกชน ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแห่งชาติ และปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม พร้อมทั้งพัฒนาวิชาชีพครู
2. สร้างโอกาสให้คนไทยทุกคนได้พัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่มากขึ้น เด็กทุกคนจะได้รับการดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยหญิงมีครรภ์ทุกคนจะต้องได้รับนมสดดื่มฟรีจนกว่าจะคลอด และเด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อยสิบสองปี
3. สนับสนุนให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและมีงานทำอย่างทั่วถึงถ้วนหน้าทั้งในและต่างประเทศ โดยสนับสนุนให้คนไทยไปทำงานในต่างประเทศโดยปราศจากการควบคุมจากกรมจัดหางานและกองตรวจคนเข้าเมือง เพราะคนไทยทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการเดินทางและการตั้งถิ่นฐานของตนเองโดยชอบธรรม จัดตั้งศูนย์วิจัยสมุนไพรแห่งชาติ
ด้านเศรษฐกิจ
1. ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
2. จัดระบบการถือครองที่ดินและใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อวางแผนการเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้งพัฒนาเกษตรให้เป็นเกษตรอุตสาหกรรม
3. ส่งเสริมสนับสนุนและคุ้มครองระบบสหกรณ์
4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ และคุ้มครองแรงงานด้วยการจัดระบบแรงงานสัมพันธ์ และการประกันสังคม
5. สนับสนุนระบบเศรษฐกิจเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด และคุ้มครองผู้บริโภคป้องกันการผูกขาดทั้งทางตรงทางอ้อม
ด้านการต่างประเทศ
1.เป็นมิตรกับทุกประเทศ
2.พยายามแก้ไขสัญญาและข้อตกลงต่างๆ ที่เห็นว่าเสียเปรียบและไม่เป็นธรรม
3.ส่งเสริมให้มีสถานที่แสดงสินค้าไทยในทุกประเทศที่มีสถานทูตและสถานกงสุล
4.ส่งเสริมคณะนาฏศิลป์ไปแสดงทั่วโลก เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและให้ทั่วโลกรู้จักประเทศไทยดีขึ้น