ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลขาธิการวุฒิสภา"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 11 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน)
บรรทัดที่ 5: บรรทัดที่ 5:
----
----


สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นหน่วยงานราชการสังกัดรัฐสภา จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของวุฒิสภา มีหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชา เรียกว่า “เลขาธิการวุฒิสภา” มีหน้าที่ในการควบคุม ดูแล และรับผิดชอบการปฏิบัติราชการของข้าราชการในสังกัด เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของวุฒิสภาและสมาชิกวุฒิสภา
[[สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา]] เป็นหน่วยงานราชการสังกัดรัฐสภา จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของ[[วุฒิสภา]] มีหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชา เรียกว่า “เลขาธิการวุฒิสภา” มีหน้าที่ในการควบคุม ดูแล และรับผิดชอบการปฏิบัติราชการของข้าราชการในสังกัด เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของวุฒิสภาและสมาชิกวุฒิสภา


==ความหมายและที่มาของเลขาธิการวุฒิสภา==
==ความหมายและที่มาของเลขาธิการวุฒิสภา==


'''เลขาธิการวุฒิสภา''' หมายถึง ข้าราชการพลเรือนรัฐสภาสามัญระดับ 11 เทียบเท่าปลัดกระทรวงที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าส่วนราชการและเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาและขึ้นตรงต่อประธานวุฒิสภา<ref>คณิน  บุญสุวรรณ.  '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย.'''  กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548. หน้า 832-833.</ref>
'''เลขาธิการวุฒิสภา''' หมายถึง ข้าราชการพลเรือนรัฐสภาสามัญระดับ 11 เทียบเท่าปลัดกระทรวงที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าส่วนราชการและเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาและขึ้นตรงต่อ[[ประธานวุฒิสภา]]<ref>คณิน  บุญสุวรรณ.  '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย.'''  กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548. หน้า 832-833.</ref>


โดยทั่วไปแล้วเลขาธิการวุฒิสภาและ[[เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร]]มีอำนาจหน้าที่คล้ายกัน แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ปฏิบัติงานให้ต่างสภากันเท่านั้น โดยทั้งสองตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่แยกออกมาจากตำแหน่งเลขาธิการรัฐสภา ซึ่งเป็นตำแหน่งเดิมในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาแต่ถูกยกเลิกไปหลังจากมีการแบ่งส่วนราชการในปี พ.ศ. 2535
โดยทั่วไปแล้วเลขาธิการวุฒิสภาและ[[เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร]]มีอำนาจหน้าที่คล้ายกัน แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ปฏิบัติงานให้ต่างสภากันเท่านั้น โดยทั้งสองตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่แยกออกมาจากตำแหน่งเลขาธิการรัฐสภา ซึ่งเป็นตำแหน่งเดิมในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาแต่ถูกยกเลิกไปหลังจากมีการแบ่งส่วนราชการในปี พ.ศ. 2535


เลขาธิการวุฒิสภา จึงถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ถูกกำหนดขึ้นใหม่ เมื่อมีการประกาศใช้'''พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535''' ที่กำหนดให้มีส่วนราชการสังกัดรัฐสภา คือ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ส่วนราชการเหล่านี้มีฐานะเทียบเท่ากรมและเป็นนิติบุคคล สำหรับส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น หากจะจัดตั้งขึ้นก็ต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ<ref>“พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535,” '''ราชกิจจานุเบกษา.''' เล่ม 109 ตอนที่ 32 , 1 เมษายน 2535, หน้า 2-3.</ref>  ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จะแยกฝ่ายธุรการออกจากกัน จึงมีทั้งตำแหน่งเลขาธิการวุฒิสภา และเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรนับแต่นั้นมา โดยมาตรา 8 และมาตรา 17 ของพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535  มีข้อกำหนดเกี่ยวกับตำแหน่งเลขาธิการวุฒิสภา ดังนี้  
เลขาธิการวุฒิสภา จึงถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ถูกกำหนดขึ้นใหม่ เมื่อมีการประกาศใช้'''พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535''' ที่กำหนดให้มีส่วนราชการสังกัดรัฐสภา คือ [[สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา]] [[สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร]] และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ส่วนราชการเหล่านี้มีฐานะเทียบเท่ากรมและเป็นนิติบุคคล สำหรับส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น หากจะจัดตั้งขึ้นก็ต้องทำเป็น[[พระราชบัญญัติ]]<ref>“พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535,” '''ราชกิจจานุเบกษา.''' เล่ม 109 ตอนที่ 32 , 1 เมษายน 2535, หน้า 2-3.</ref>  ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และ[[สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร]] จะแยกฝ่ายธุรการออกจากกัน จึงมีทั้งตำแหน่งเลขาธิการวุฒิสภา และเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรนับแต่นั้นมา โดยมาตรา 8 และมาตรา 17 ของพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535  มีข้อกำหนดเกี่ยวกับตำแหน่งเลขาธิการวุฒิสภา ดังนี้  


'''มาตรา 8''' บัญญัติว่า
'''มาตรา 8''' บัญญัติว่า
บรรทัดที่ 21: บรรทัดที่ 21:
'''มาตรา 17''' บัญญัติว่า
'''มาตรา 17''' บัญญัติว่า


“เมื่อประกาศรัฐสภาตามมาตรา 16 ใช้บังคับแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาดำเนินการแต่งตั้งเลขาธิการวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของ ก.ร.” <ref>“พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535,” '''ราชกิจจานุเบกษา.''' เล่ม 109 ตอนที่ 32 , 1 เมษายน 2535, หน้า 8.</ref>
“เมื่อประกาศรัฐสภาตามมาตรา 16 ใช้บังคับแล้ว ให้[[ประธานวุฒิสภา]]ดำเนินการแต่งตั้งเลขาธิการวุฒิสภา และ[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]แต่งตั้งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของ ก.ร.” <ref>“พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535,” '''ราชกิจจานุเบกษา.''' เล่ม 109 ตอนที่ 32 , 1 เมษายน 2535, หน้า 8.</ref>


ต่อมาได้มีการประชุมคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ครั้งที่ 6/2535 ในวันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2535 ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้ง นายพินิต  อารยะศิริ เป็นเลขาธิการวุฒิสภาคนแรก โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภา เป็นผู้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ตามประกาศวุฒิสภา โดยผลของประกาศวุฒิสภาฉบับนี้ ได้กำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2535 (ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 134 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535) และในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ครั้งที่ 7/2535 ในวันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2535 ที่ประชุมได้มีมติให้จัดแบ่งข้าราชการและลูกจ้างให้แก่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยสำนักเลขาธิการวุฒิสภาในปีแรกนั้นมีข้าราชการรัฐสภาสามัญ จำนวน 193 คน และลูกจ้างประจำจำนวน 62 คน แบ่งส่วนราชการเป็น 1 สำนัก 8 กอง และ 1 ศูนย์ ฯ ตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ประกอบด้วยมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ประธานรัฐสภาด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการฝ่ายรัฐสภา และโดยผลของประกาศฉบับนี้ ข้อ 1 ได้กำหนดให้ประกาศรัฐสภามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม109 ตอนที่ 93 ลงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2535) จึงถือว่าเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เกิดขึ้นในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2535<ref>'''ประวัติความเป็นมาของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://www.senate.go.th/km/history.htm (10 มิถุนายน 2552)</ref>
ต่อมาได้มีการประชุมคณะกรรมการ[[ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา]] ครั้งที่ 6/2535 ในวันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2535 ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้ง นายพินิต  อารยะศิริ เป็นเลขาธิการวุฒิสภาคนแรก โดยมี[[มีชัย ฤชุพันธุ์|นายมีชัย ฤชุพันธุ์]] ประธานวุฒิสภา เป็นผู้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ตามประกาศวุฒิสภา โดยผลของประกาศวุฒิสภาฉบับนี้ ได้กำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2535 (ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 134 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535) และในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ครั้งที่ 7/2535 ในวันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2535 ที่ประชุมได้มีมติให้จัดแบ่งข้าราชการและลูกจ้างให้แก่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยสำนักเลขาธิการวุฒิสภาในปีแรกนั้นมีข้าราชการรัฐสภาสามัญ จำนวน 193 คน และลูกจ้างประจำจำนวน 62 คน แบ่งส่วนราชการเป็น 1 สำนัก 8 กอง และ 1 ศูนย์ ฯ ตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ประกอบด้วยมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 [[ประธานรัฐสภา]]ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการฝ่ายรัฐสภา และโดยผลของประกาศฉบับนี้ ข้อ 1 ได้กำหนดให้ประกาศรัฐสภามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]]เป็นต้นไป (ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม109 ตอนที่ 93 ลงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2535) จึงถือว่าเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เกิดขึ้นในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2535<ref>'''ประวัติความเป็นมาของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://www.senate.go.th/km/history.htm (10 มิถุนายน 2552)</ref>


ปัจจุบัน เลขาธิการวุฒิสภามีที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ 6 คน และรองเลขาธิการวุฒิสภา 6 คน ช่วยบริหารกำกับดูแลการปฏิบัติราชการ ทั้งมีกลุ่มงานอิสระ 3 กลุ่มงาน ปฏิบัติงานให้โดยตรงต่อเลขาธิการวุฒิสภา  โดยสำนักเลขาธิการวุฒิสภาในปี พ.ศ. 2552 นั้น มีข้าราชการรัฐสภาสามัญ จำนวน 1,048 คน ลูกจ้างประจำจำนวน 63 คน ลูกจ้างเหมา 19 คน และพนักงานราชการ 35 คน แบ่งส่วนราชการภายในเป็น 18 สำนัก มีหน้าที่ความรับผิดชอบครอบคลุมภารกิจและกิจกรรมด้านต่าง ๆ ของวุฒิสภา<ref>สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.สำนักบริหารงานกลาง.(23 มิถุนายน 2552)</ref>    
ปัจจุบัน เลขาธิการวุฒิสภามีที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ 6 คน และรองเลขาธิการวุฒิสภา 6 คน ช่วยบริหารกำกับดูแลการปฏิบัติราชการ ทั้งมีกลุ่มงานอิสระ 3 กลุ่มงาน ปฏิบัติงานให้โดยตรงต่อเลขาธิการวุฒิสภา  โดยสำนักเลขาธิการวุฒิสภาในปี พ.ศ. 2552 นั้น มีข้าราชการรัฐสภาสามัญ จำนวน 1,048 คน ลูกจ้างประจำจำนวน 63 คน ลูกจ้างเหมา 19 คน และพนักงานราชการ 35 คน แบ่งส่วนราชการภายในเป็น 18 สำนัก มีหน้าที่ความรับผิดชอบครอบคลุมภารกิจและกิจกรรมด้านต่าง ๆ ของวุฒิสภา<ref>สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.สำนักบริหารงานกลาง.(23 มิถุนายน 2552)</ref>


==อำนาจหน้าที่ของเลขาธิการวุฒิสภา==
==อำนาจหน้าที่ของเลขาธิการวุฒิสภา==
บรรทัดที่ 35: บรรทัดที่ 35:
'''มาตรา 6''' บัญญัติว่า
'''มาตรา 6''' บัญญัติว่า


“ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา”เรียกโดยย่อว่า “ก.ร.”ประกอบด้วยประธานรัฐสภาเป็นประธานกรรมการ รองประธานรัฐสภาเป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐสภาเลือกมีจำนวนไม่เกินแปดคน เป็นกรรมการ ในกรณีที่มีสองสภาให้แต่ละสภาเลือกสภาละไม่เกินสี่คน
“ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา”เรียกโดยย่อว่า “ก.ร.”ประกอบด้วย[[ประธานรัฐสภา]]เป็นประธานกรรมการ รองประธานรัฐสภาเป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐสภาเลือกมีจำนวนไม่เกินแปดคน เป็นกรรมการ ในกรณีที่มีสองสภาให้แต่ละสภาเลือกสภาละไม่เกินสี่คน


ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งเลขาธิการวุฒิสภาหรือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.ร.” <ref>“พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535,” '''ราชกิจจานุเบกษา.''' เล่ม 109ตอนที่ 35, หน้า 50-51.</ref>
ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งเลขาธิการวุฒิสภาหรือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.ร.” <ref>“พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535,” '''ราชกิจจานุเบกษา.''' เล่ม 109ตอนที่ 35, หน้า 50-51.</ref>
บรรทัดที่ 50: บรรทัดที่ 50:
2. เชิญผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมวุฒิสภาและที่ประชุมคณะกรรมาธิการเข้าปฏิบัติหน้าที่
2. เชิญผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมวุฒิสภาและที่ประชุมคณะกรรมาธิการเข้าปฏิบัติหน้าที่


3. ช่วยประธานของที่ประชุมในการควบคุม[[การนับคะแนนเสียง]]
3. ช่วยประธานของที่ประชุมในการควบคุมการ[[นับคะแนนเสียง]]


4. ควบคุมการทำรายงานการประชุมทั้งปวง
4. ควบคุมการทำรายงานการประชุมทั้งปวง
บรรทัดที่ 69: บรรทัดที่ 69:
==รายชื่อและระยะเวลาดำรงตำแหน่งของเลขาธิการวุฒิสภาตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน==
==รายชื่อและระยะเวลาดำรงตำแหน่งของเลขาธิการวุฒิสภาตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน==


เลขาธิการวุฒิสภา นับตั้งแต่ได้มีประกาศแบ่งส่วนราชการเป็นสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเป็นต้นมา มีผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้
เลขาธิการวุฒิสภา นับตั้งแต่ได้มีประกาศแบ่งส่วนราชการเป็น[[สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา]]เป็นต้นมา มีผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้


1. นายพินิต  อารยะศิริ     (ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 12 กันยายน 2535 – 27 สิงหาคม 2544)ปัจจุบัน ข้าราชการบำนาญ
1. นายพินิต  อารยะศิริ     (ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 12 กันยายน 2535 – 27 สิงหาคม 2544)ปัจจุบัน ข้าราชการบำนาญ
บรรทัดที่ 129: บรรทัดที่ 129:
* [[พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2551]]  
* [[พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2551]]  


[[category:ความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาไทย|ลเลขาธิการวุฒิสภา]]
[[category:สมาชิกวุฒิสภา|ลเลขาธิการวุฒิสภา]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:31, 20 กรกฎาคม 2553

ผู้เรียบเรียง วิจิตรา ประยูรวงษ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นหน่วยงานราชการสังกัดรัฐสภา จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของวุฒิสภา มีหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชา เรียกว่า “เลขาธิการวุฒิสภา” มีหน้าที่ในการควบคุม ดูแล และรับผิดชอบการปฏิบัติราชการของข้าราชการในสังกัด เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของวุฒิสภาและสมาชิกวุฒิสภา

ความหมายและที่มาของเลขาธิการวุฒิสภา

เลขาธิการวุฒิสภา หมายถึง ข้าราชการพลเรือนรัฐสภาสามัญระดับ 11 เทียบเท่าปลัดกระทรวงที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าส่วนราชการและเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาและขึ้นตรงต่อประธานวุฒิสภา[1]

โดยทั่วไปแล้วเลขาธิการวุฒิสภาและเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจหน้าที่คล้ายกัน แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ปฏิบัติงานให้ต่างสภากันเท่านั้น โดยทั้งสองตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่แยกออกมาจากตำแหน่งเลขาธิการรัฐสภา ซึ่งเป็นตำแหน่งเดิมในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาแต่ถูกยกเลิกไปหลังจากมีการแบ่งส่วนราชการในปี พ.ศ. 2535

เลขาธิการวุฒิสภา จึงถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ถูกกำหนดขึ้นใหม่ เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ที่กำหนดให้มีส่วนราชการสังกัดรัฐสภา คือ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ส่วนราชการเหล่านี้มีฐานะเทียบเท่ากรมและเป็นนิติบุคคล สำหรับส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น หากจะจัดตั้งขึ้นก็ต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ[2] ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จะแยกฝ่ายธุรการออกจากกัน จึงมีทั้งตำแหน่งเลขาธิการวุฒิสภา และเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรนับแต่นั้นมา โดยมาตรา 8 และมาตรา 17 ของพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีข้อกำหนดเกี่ยวกับตำแหน่งเลขาธิการวุฒิสภา ดังนี้

มาตรา 8 บัญญัติว่า

“สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของวุฒิสภา มีเลขาธิการวุฒิสภาเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อประธานวุฒิสภา และจะให้มีรองเลขาธิการวุฒิสภา หรือผู้ช่วยเลขาธิการวุฒิสภา หรือมีทั้งตำแหน่งรองเลขาธิการวุฒิสภา และผู้ช่วยเลขาธิการวุฒิสภาเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการรองจากเลขาธิการวุฒิสภา และช่วยเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติราชการก็ได้” [3]

มาตรา 17 บัญญัติว่า

“เมื่อประกาศรัฐสภาตามมาตรา 16 ใช้บังคับแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาดำเนินการแต่งตั้งเลขาธิการวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของ ก.ร.” [4]

ต่อมาได้มีการประชุมคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ครั้งที่ 6/2535 ในวันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2535 ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้ง นายพินิต อารยะศิริ เป็นเลขาธิการวุฒิสภาคนแรก โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภา เป็นผู้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ตามประกาศวุฒิสภา โดยผลของประกาศวุฒิสภาฉบับนี้ ได้กำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2535 (ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 134 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535) และในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ครั้งที่ 7/2535 ในวันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2535 ที่ประชุมได้มีมติให้จัดแบ่งข้าราชการและลูกจ้างให้แก่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยสำนักเลขาธิการวุฒิสภาในปีแรกนั้นมีข้าราชการรัฐสภาสามัญ จำนวน 193 คน และลูกจ้างประจำจำนวน 62 คน แบ่งส่วนราชการเป็น 1 สำนัก 8 กอง และ 1 ศูนย์ ฯ ตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ประกอบด้วยมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ประธานรัฐสภาด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการฝ่ายรัฐสภา และโดยผลของประกาศฉบับนี้ ข้อ 1 ได้กำหนดให้ประกาศรัฐสภามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม109 ตอนที่ 93 ลงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2535) จึงถือว่าเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เกิดขึ้นในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2535[5]

ปัจจุบัน เลขาธิการวุฒิสภามีที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ 6 คน และรองเลขาธิการวุฒิสภา 6 คน ช่วยบริหารกำกับดูแลการปฏิบัติราชการ ทั้งมีกลุ่มงานอิสระ 3 กลุ่มงาน ปฏิบัติงานให้โดยตรงต่อเลขาธิการวุฒิสภา โดยสำนักเลขาธิการวุฒิสภาในปี พ.ศ. 2552 นั้น มีข้าราชการรัฐสภาสามัญ จำนวน 1,048 คน ลูกจ้างประจำจำนวน 63 คน ลูกจ้างเหมา 19 คน และพนักงานราชการ 35 คน แบ่งส่วนราชการภายในเป็น 18 สำนัก มีหน้าที่ความรับผิดชอบครอบคลุมภารกิจและกิจกรรมด้านต่าง ๆ ของวุฒิสภา[6]

อำนาจหน้าที่ของเลขาธิการวุฒิสภา

อำนาจหน้าที่ของเลขาธิการวุฒิสภาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นหัวหน้าข้าราชการวุฒิสภา และอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นเลขาธิการของวุฒิสภา

อำนาจหน้าที่ของเลขาธิการวุฒิสภาในฐานะเป็นหัวหน้าข้าราชการวุฒิสภานั้น นอกจากจะทำหน้าที่ควบคุมดูแลบังคับบัญชาการดำเนินงานของข้าราชการวุฒิสภาให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายแล้ว เลขาธิการวุฒิสภายังทำหน้าที่เป็นกรรมการ ก.ร. หรือกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาโดยตำแหน่ง หรืออาจได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการ ก.ร. ตามความใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่4) พ.ศ. 2535 ดังนี้

มาตรา 6 บัญญัติว่า

“ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา”เรียกโดยย่อว่า “ก.ร.”ประกอบด้วยประธานรัฐสภาเป็นประธานกรรมการ รองประธานรัฐสภาเป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐสภาเลือกมีจำนวนไม่เกินแปดคน เป็นกรรมการ ในกรณีที่มีสองสภาให้แต่ละสภาเลือกสภาละไม่เกินสี่คน

ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งเลขาธิการวุฒิสภาหรือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.ร.” [7]

นอกจากนี้ เลขาธิการวุฒิสภามีอำนาจในการสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2551 โดยได้ยกเลิกความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 ดังนี้

มาตรา 28 (2) บัญญัติว่า “การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 9 ลงมา ให้เลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ และแต่งตั้ง” [8]

สำหรับอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะเป็นเลขาธิการของวุฒิสภานั้น ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 กำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

1. นัดประชุมวุฒิสภา และนัดประชุมคณะกรรมาธิการครั้งแรก

2. เชิญผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมวุฒิสภาและที่ประชุมคณะกรรมาธิการเข้าปฏิบัติหน้าที่

3. ช่วยประธานของที่ประชุมในการควบคุมการนับคะแนนเสียง

4. ควบคุมการทำรายงานการประชุมทั้งปวง

5. ยืนยันมติของวุฒิสภาไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง

6. รักษาสรรพเอกสารและข้อมูลของวุฒิสภา

7. ควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานวุฒิสภาวางไว้

8. กำกับดูแลการปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับอย่างมีประสิทธิภาพ

9. ปฏิบัติการตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

10. ปฏิบัติการอื่นตามที่ประธานวุฒิสภามอบหมาย[9]

รายชื่อและระยะเวลาดำรงตำแหน่งของเลขาธิการวุฒิสภาตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน

เลขาธิการวุฒิสภา นับตั้งแต่ได้มีประกาศแบ่งส่วนราชการเป็นสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเป็นต้นมา มีผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้

1. นายพินิต อารยะศิริ (ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 12 กันยายน 2535 – 27 สิงหาคม 2544)ปัจจุบัน ข้าราชการบำนาญ

2. นายจำนงค์ สวมประคำ (ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 26 กันยายน 2544 – 30 กันยายน 2545)ปัจจุบัน สมาชิกวุฒิสภาปี พ.ศ. 2551 ประเภทสรรหา ภาควิชาการ

3. นายมนตรี รูปสุวรรณ (ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 4 ตุลาคม 2545 – 1 มีนาคม 2548)ปัจจุบัน ที่ปรึกษาด้านการเมือง การปกครอง และการบริหารจัดการ (วิทยากร 11 ชช.)

4. นางสุวิมล ภูมิสิงหราช (ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 1 มีนาคม 2548 - ปัจจุบัน)


อ้างอิง

  1. คณิน บุญสุวรรณ. ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548. หน้า 832-833.
  2. “พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอนที่ 32 , 1 เมษายน 2535, หน้า 2-3.
  3. “พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอนที่ 32 , 1 เมษายน 2535, หน้า 3.
  4. “พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอนที่ 32 , 1 เมษายน 2535, หน้า 8.
  5. ประวัติความเป็นมาของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://www.senate.go.th/km/history.htm (10 มิถุนายน 2552)
  6. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.สำนักบริหารงานกลาง.(23 มิถุนายน 2552)
  7. “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109ตอนที่ 35, หน้า 50-51.
  8. “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2551,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 29 ก, หน้า 88.
  9. ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : กองการประชุม สำนักงานเลขาธิวุฒิสภา , 2551. หน้า 79-80.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักกฎหมาย. กลุ่มงานกฎหมาย 3. ประวัติและพัฒนาการโครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยธุรการรัฐสภาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2550 เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานกฎหมาย 3 สำนักกฎหมาย, 2551.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. หนังสือที่ระลึกครบรอบ 72 ปี รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์. สำนักงานฯ, 2547.


บรรณานุกรม

ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : กองการประชุม สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา , 2551.

คณิน บุญสุวรรณ. ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2548.

“พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 92 ตอนที่ 27 , 6 กุมภาพันธ์ 2518.

“พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอนที่ 32 , 1 เมษายน 2535.

“พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอนที่ 35, 3 เมษายน 2535.

“พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2551,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 29ก, 6 กุมภาพันธ์ 2551.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักกฎหมาย. กลุ่มงานกฎหมาย 3. ประวัติและพัฒนาการโครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยธุรการรัฐสภาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2550 เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานกฎหมาย 3 สำนักกฎหมาย, 2551.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. หนังสือที่ระลึกครบรอบ 72 ปี รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์. สำนักงานฯ, 2547.

ดูเพิ่มเติม