ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 57: | บรรทัดที่ 57: | ||
[[category:พระมหากษัตริย์]] | [[category:พระมหากษัตริย์]] | ||
{|cellpadding="2" cellspacing="5" style="vertical-align:top;background-color:#ffffff;color:#000;width:100%" | {|cellpadding="2" cellspacing="5" style="vertical-align:top;background-color:#ffffff;color:#000;width:100%" | ||
! style="background-color:#fffff; font-size: 100%; border: 1px solid #afa3bf; text-align: left; padding-left: 7px; -moz-border-radius:7px" | ! style="background-color:#fffff; font-size: 100%; border: 1px solid #afa3bf; text-align: left; padding-left: 7px; -moz-border-radius:7px" |[[หน้าหลัก]] | [[กฎหมายเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์]] | ||
|} | |} |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:00, 7 กรกฎาคม 2553
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง...........................................................
กฎมณเฑียรบาลที่ได้นำมารวบรวมนี้ เป็นกฎมณเฑียรบาลที่ใช้บังคับมาตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ย่อมมีผลใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ยังไม่มีกฎหมายที่ตราขึ้นในภายหลังมายกเลิก และในปัจจุบันก็ยังไม่ปรากฎว่ามีกฎหมายใดมายกเลิกกฎมณเฑียรบาลเหล่านี้
สำหรับในส่วนของกฎมณเฑียรบาลที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น เนื่องจากรูปแบบการแก้ไขเพิ่มเติมของกฎมณเฑียรบาลยังไม่สอดคล้องกับรูปแบบที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น หากจะนำมาแก้ไขให้เป็นฉบับเดียวก็อาจจะเกิดความสับสนได้ จึงได้นำกฎมณเฑียรบาลฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมลงพิมพ์ทั้งฉบับ
กฎมณเฑียรบาลที่ได้นำมารวบรวมนี้มี ๒ รูปแบบ ได้แก่
๑.กฎมณเฑียรบาลที่ได้ตราขึ้นในรูปแบบของกฎมณเฑียรบาล ผู้จัดทำได้นำมารวบรวมไว้มีอยู่ ๕ ฉบับ ได้แก่
๑.๑ กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗๑๕ ตราขึ้นใช้บังคับกับข้าราชการในราชสำนัก ๑๒ ประเภท ในเรื่องการจดทะเบียนครอบครัวและเคหสถาน การมีครอบครัวและเคหสถาน ครอบครัวของคนโสด คนหม้ายและคนไม่มีเคหสถาน รวมทั้งกำหนดโทษทัณฑ์ต่างๆ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ หลังจากนั้นก็มีการประกาศเกี่ยวกับกฎมณเฑียรบาลฉบับนี้อีกหลายครั้ง ดังนี้
(๑)กฎเสนาบดีกระทรวงวัง ว่าด้วยการจดทะเบียนแลระเบียบ น่าที่ตามความในกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗๑๖ กฎเสนาบดีนี้ เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประกาศโฆษณาแล้ว ให้นับว่าเป็นส่วนหนึ่งแห่งกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนักด้วย จึงถือว่าเป็นกฎมณเฑียรบาลฉบับที่ ๒ ว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก
(๒)กฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยข้าราชการในพระราชสำนักเพิ่มเติม พระพุทธศักราช ๒๔๕๘๑๗ ตราขึ้นเพื่อกำหนดให้ข้าราชการในพระราชสำนักที่ต้องปฏิบัติตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนักฯ จะทำการโฆษณาประกาศข้อความอย่างใดๆ ต่อสาธารณชน จะต้องขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชา และเมื่อได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วจึงจะนำความนั้นออกโฆษณาได้
(๓)กฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนักเพิ่มเติม (ครั้งที่ ๓) พระพุทธศักราช ๒๔๖๐๑๘ กำหนดให้ชายผู้เป็นบิดามีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย (เช่น บุตรที่เกิดจากบิดาหลับนอนกับหญิงมารดาชั่วคราว) จนบุตรมีอายุ ๑๖ ปี
(๔)ประกาศเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ พระพุทธศักราช ๒๔๖๒๑๙ กำหนดให้ข้าราชการในกรมธรรมการเป็นข้าราชการในพระราชสำนักเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งประเภทด้วย
๑.๒ กฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการค้าขายแลการสมาคมแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ กฎมณเฑียรบาลนี้กำหนดแบบธรรมเนียมและวิธีการสำหรับข้าราชการในราชสำนักที่จะลงทุนค้าขาย จัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท การเข้าเป็นสมาชิกสโมสรหรือสมาคมต่างๆ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ เป็นต้นไป หลังจากนั้นก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎเสนาบดีเพิ่มเติมดังนี้
กฎเสนาบดีกระทรวงวัง ว่าด้วยการจดทะเบียนค้าขายและสมาคมแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗๒๑ กฎเสนาบดีนี้ กฎมณเฑียรบาลมิได้ระบุให้เป็นส่วนหนึ่งของกฎมณเฑียรบาลดังเช่นกรณีกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยครอบครัวแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก ดังนั้น จึงเป็นเพียงส่วนประกอบของกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการค้าขายแลการสมาคมเท่านั้น
๑.๓ กฎมณเฑียรบาลเพิ่มเติม พระพุทธศักราช ๒๔๕๘
กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดรับหญิงนครโสเภณีหรือหญิงหาเลี้ยงชีพโดยทางบำรุงกามเข้ามาร่วมสังวาสกันในเขตพระราชสำนัก และกำหนดระวางโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน รวมทั้งผู้รู้เห็นเป็นใจด้วย
๑.๔ กฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการเศกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๑
กำหนดให้เจ้านายในพระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปจะทำการเศกสมรสกับผู้ใด ต้องนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน หลังจากนั้นภายหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.๒๔๗๕ แล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงมีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสมรสของเจ้านายในพระราชวงศ์ให้เหมาะสมแก่สมัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎมณเฑียรบาลเพิ่มเติมดังนี้
กฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสมรสพระราชวงศ์แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๕
ตราขึ้นโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้นเรียกว่าประธานคณะกรรมการราษฎร) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ กฎมณเฑียรบาลที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ มีสาระสำคัญเพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่ง คือ เจ้าหญิงองค์ใดถ้าจะสมรสกับผู้ที่มิใช่เจ้าในพระราชวงศ์ต้องกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เสียก่อน หากฝ่าฝืนจะต้องถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์
๑.๕ กฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗
เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ เป็นต้นไป กฎมณเฑียรบาลฉบับนี้ค่อนข้างจะมีความสำคัญ เพราะเป็นการบัญญัติถึงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งพระมหากษัตริย์อันเป็นประมุขของประเทศ เป็นการกำหนดเกี่ยวกับพระราชวงศ์ผู้ซึ่งสมควรที่จะสืบราชสมบัติต่อจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน เพื่อมิให้พระราชบังลังก์ต้องว่างเว้นจากองค์พระมหากษัตริย์ กฎมณเฑียรบาลฉบับนี้ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งถือเป็นรับธรรมนูญฉบับแรกของไทยได้บัญญัติไว้เป็นส่วนหนึ่งในหมวดพระมหากษัตริย์ว่า การสืบราชสมบัติให้เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ และก็มีบัญญัติสืบต่อกันมาในรัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับ โดยกำหนดวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมไว้ด้วยว่า ให้กระทำได้โดยวิธีการอย่างเดียวกันกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
จนกระทั่งถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ เรื่อยมาถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้บัญญัติถึงการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลฉบับนี้ว่าให้เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เมื่อมีพระราชดำริประการใดให้คณะองคมนตรีร่างกฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อมีพระราชวินิจฉัย เมื่อทรงเห็นชอบและบงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประธานองคมนตรีแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมาย ดังนั้น จึงถือว่ากฎมณเฑียรบาลฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ
๒.กฎมณเฑียรบาล ที่ได้ตราขึ้นในรูปแบบอื่นๆ ผู้จัดทำได้นำมารวบรวมไว้มีอยู่ ๓ ฉบับ ได้แก่
๒.๑ พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยที่ระโหฐานในพระราชสำนักนิ์ รัตนโกสินทรศก ๑๓๑
ตราขึ้นเพื่อกำหนดเขตพระราชฐานว่าที่ใดเป็นที่รโหฐานอันข้าราชการจะเข้าไปมิได้เพราะความจำเป็นในส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มีอยู่บ้างคือเมื่อเป็นเวลาที่ว่างพระราชกิจแล้วก็ย่อมจะมีพระราชประสงค์ที่ทรงพระสำเร็จอย่างสามัญชนบ้าง และต้องมีเวลาที่ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการบางคนได้เข้าเฝ้าบ้าง โดยไม่เกี่ยวแก่ทางหน้าที่ราชการ หลังจากนั้นมีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้งคือ
พระราชกฤษฎีกาที่ระโหฐานเพิ่มเติม พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ตราขึ้นเพื่อกำหนดสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชสำนักแลประพาศ ณ ที่ต่างๆ เพื่อทรงพระราชวิจารณ์ตรวจตรากิจการทั้งปวงเป็นเขตที่แคบกว่าที่รโหฐานซึ่งผู้ใดที่มิใช่เจ้าพนักงานจะเข้าไปมิได้
๒.๒ พระราชกฤษฎีกาวางระเบียบการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ กำหนดขึ้นเพื่อวางระเบียบเกี่ยวกับการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาให้เป็นที่เรียบร้อย
๒.๓ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยพระราชวงศ์ และผู้มีบรรดาศักดิ์ทำลายชีพตนเอง พระพุทธศักราช ๒๔๕๘ ตราขึ้นเพื่อห้ามมิให้เจ้าพนักงานจัดเครื่องประดับเกียรติยศศพพระราชทานให้แก่ข้าราชการที่ทำลายชีพตนเอง