ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคเพื่อไทรวมพลัง"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุทธิกานต์ ม..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 16: บรรทัดที่ 16:
 
 
<p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' ตราสัญลักษณ์ของพรรคเพื่อไทรวมพลัง</p>  
<p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' ตราสัญลักษณ์ของพรรคเพื่อไทรวมพลัง</p>  
[[File:PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY (1).png|center|200px]]
[[File:PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY (1).png|center|200px|PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY (1).png]]


<span style="font-size:x-large;">'''พรรคเพื่อไทรวมพลังในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''พรรคเพื่อไทรวมพลังในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566'''</span>
บรรทัดที่ 24: บรรทัดที่ 24:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นโยบายพรรคเพื่อไทรวมพลังที่ใช้ในการหาเสียง ได้แก่ ปลดหนี้ มีงานทำ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาด้านการศึกษาและสาธารณสุข อาทิ การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่เป็นหนี้เสีย โดยให้กองทุนฟื้นฟูฯ รวมทั้งรับซื้อหนี้ทั้งหมดที่มีในสถาบันการเงินทุกประเภท รวมหนี้นอกระบบด้วย ตลอดจนให้ความสำคัญด้านการศึกษา เรียนฟรี ปริญญาตรี มีงานทำ สร้างอาชีพในชุมชน ส่งเสริมธุรกิจ SME ธุรกิจออนไลน์ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำปฏิรูปที่ทำกิน ยกระดับอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้เป็นผู้ช่วยแพทย์แผนไทยประจำหมู่บ้าน และแก้ไขเกณฑ์ทหาร[[#_ftn3|[3]]] เป็นต้น
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นโยบายพรรคเพื่อไทรวมพลังที่ใช้ในการหาเสียง ได้แก่ ปลดหนี้ มีงานทำ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาด้านการศึกษาและสาธารณสุข อาทิ การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่เป็นหนี้เสีย โดยให้กองทุนฟื้นฟูฯ รวมทั้งรับซื้อหนี้ทั้งหมดที่มีในสถาบันการเงินทุกประเภท รวมหนี้นอกระบบด้วย ตลอดจนให้ความสำคัญด้านการศึกษา เรียนฟรี ปริญญาตรี มีงานทำ สร้างอาชีพในชุมชน ส่งเสริมธุรกิจ SME ธุรกิจออนไลน์ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำปฏิรูปที่ทำกิน ยกระดับอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้เป็นผู้ช่วยแพทย์แผนไทยประจำหมู่บ้าน และแก้ไขเกณฑ์ทหาร[[#_ftn3|[3]]] เป็นต้น
<p style="text-align: center;">&nbsp;</p> <p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' สื่อประชาสัมพันธ์ในการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทรวมพลัง[[#_ftn4|[4]]]</p>  
<p style="text-align: center;">&nbsp;</p> <p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' สื่อประชาสัมพันธ์ในการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทรวมพลัง[[#_ftn4|[4]]]</p>  
[[File:PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY (2).jpg|center|300px]]
[[File:PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY (2).jpg|center|300px|PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY (2).jpg]]
 
&nbsp;


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ ผู้สมัครแบบแบ่งเขตพรรคเพื่อไทรวมพลังชนะการเลือกตั้งทั้ง 2 เขต ได้แก่ นางพิมพกาญจน์&nbsp;พลสมัคร อดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี[[#_ftn5|[5]]] ผู้สมัครเขต 3 ได้คะแนน 31,218 คะแนน&nbsp;ที่สามารถเอาชนะ นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัยจากพรรคเพื่อไทย ที่ได้รับ 22,020 คะแนน ส่วนนายสมศักดิ์ บุญประชม ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดอุบลลำปางก่อสร้าง (ศรีสมหวัง) และเป็นประธานชมรมคนรักน้ำยืน ผู้สมัครเขต 10 ได้คะแนน 63,127 คะแนน&nbsp;ซึ่งสามารถเอาชนะ นายสมคิด เชื้อคง&nbsp;อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัยของพรรคเพื่อไทย ที่ได้รับ 19,292 คะแนน ส่วนในระบบบัญชีรายชื่อได้รับ 67,692 คะแนน ทำให้ไม่มีผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อของพรรคได้รับการเลือกตั้ง[[#_ftn6|[6]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ ผู้สมัครแบบแบ่งเขตพรรคเพื่อไทรวมพลังชนะการเลือกตั้งทั้ง 2 เขต ได้แก่ นางพิมพกาญจน์&nbsp;พลสมัคร อดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี[[#_ftn5|[5]]] ผู้สมัครเขต 3 ได้คะแนน 31,218 คะแนน&nbsp;ที่สามารถเอาชนะ นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัยจากพรรคเพื่อไทย ที่ได้รับ 22,020 คะแนน ส่วนนายสมศักดิ์ บุญประชม ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดอุบลลำปางก่อสร้าง (ศรีสมหวัง) และเป็นประธานชมรมคนรักน้ำยืน ผู้สมัครเขต 10 ได้คะแนน 63,127 คะแนน&nbsp;ซึ่งสามารถเอาชนะ นายสมคิด เชื้อคง&nbsp;อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัยของพรรคเพื่อไทย ที่ได้รับ 19,292 คะแนน ส่วนในระบบบัญชีรายชื่อได้รับ 67,692 คะแนน ทำให้ไม่มีผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อของพรรคได้รับการเลือกตั้ง[[#_ftn6|[6]]]
บรรทัดที่ 30: บรรทัดที่ 32:
&nbsp;
&nbsp;
<p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' แสดงข้อความขอบคุณของนางพิมพกาญจน์ พลสมัคร[[#_ftn7|[7]]]</p>  
<p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' แสดงข้อความขอบคุณของนางพิมพกาญจน์ พลสมัคร[[#_ftn7|[7]]]</p>  
[[File:PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY (3).jpg|center|x300px]]
[[File:PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY (3).jpg|center|x300px|PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY (3).jpg]]
 
&nbsp;


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อย่างไรก็ดี ได้มีการวิเคราะห์ว่าแม้ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทรวมพลังที่ได้รับการเลือกตั้งทั้งสองคนต่างไม่เคยมีประสบการณ์ในสนามการเมืองระดับชาติ แต่ในระดับท้องถิ่นถือเป็นรู้จักของชาวบ้านในพื้นที่อย่างดี โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะนางพิมพกาญจน์ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้รับความชื่นชมจากประชาชนในพื้นที่อำเภอม่วงสามสิบและอำเภอใกล้เคียง ที่ช่วยจัดหารถรับส่งคนป่วย หายารักษาให้ถึงบ้าน ในขณะที่นายสมศักดิ์ซึ่งมีอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยในช่วงโควิดระบาด ถือเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือในการนำรถไปช่วย รับ-ส่ง ชาวบ้านที่ป่วยและทำงานอยู่ในต่างจังหวัด ให้กลับมารักษาตัวที่บ้านเกิดในอำเภอน้ำยืน รวมทั้งส่งทีมงานวิ่ง รับ-ส่ง ยาใช้รักษาโรคให้กับชาวบ้านด้วย จึงทำให้นายสมศักดิ์ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างถล่มทลาย[[#_ftn8|[8]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อย่างไรก็ดี ได้มีการวิเคราะห์ว่าแม้ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทรวมพลังที่ได้รับการเลือกตั้งทั้งสองคนต่างไม่เคยมีประสบการณ์ในสนามการเมืองระดับชาติ แต่ในระดับท้องถิ่นถือเป็นรู้จักของชาวบ้านในพื้นที่อย่างดี โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะนางพิมพกาญจน์ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้รับความชื่นชมจากประชาชนในพื้นที่อำเภอม่วงสามสิบและอำเภอใกล้เคียง ที่ช่วยจัดหารถรับส่งคนป่วย หายารักษาให้ถึงบ้าน ในขณะที่นายสมศักดิ์ซึ่งมีอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยในช่วงโควิดระบาด ถือเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือในการนำรถไปช่วย รับ-ส่ง ชาวบ้านที่ป่วยและทำงานอยู่ในต่างจังหวัด ให้กลับมารักษาตัวที่บ้านเกิดในอำเภอน้ำยืน รวมทั้งส่งทีมงานวิ่ง รับ-ส่ง ยาใช้รักษาโรคให้กับชาวบ้านด้วย จึงทำให้นายสมศักดิ์ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างถล่มทลาย[[#_ftn8|[8]]]
บรรทัดที่ 44: บรรทัดที่ 48:
<span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span>
<div id="ftn1">
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] “เปิดตัวพรรค "เพื่อไทรวมพลัง" พี่ชาย "นายกฯหน่อย" นั่งเลขาธิการพรรค อดีตเลขานุการเป็นหัวหน้าพรรค”, สืบค้นจาก https://www. koratdaily.com/blog.php?id=13933 (1 มิถุนายน 2566).
[[#_ftnref1|[1]]] “เปิดตัวพรรค "เพื่อไทรวมพลัง" พี่ชาย "นายกฯหน่อย" นั่งเลขาธิการพรรค อดีตเลขานุการเป็นหัวหน้าพรรค”, สืบค้นจาก [https://www https://www]. koratdaily.com/blog.php?id=13933 (1 มิถุนายน 2566).
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] “พรรคเพื่อไทรวมพลัง”, สืบค้นจาก https://party.ect.go.th/dataparty-detail/140(1 มิถุนายน 2566).
[[#_ftnref2|[2]]] “พรรคเพื่อไทรวมพลัง”, สืบค้นจาก [https://party.ect.go.th/dataparty-detail/140(1 https://party.ect.go.th/dataparty-detail/140(1] มิถุนายน 2566).
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] “เพื่อไทรวมพลัง”, สืบค้นจาก https:// www.vote62.com/party/เพื่อไทรวมพลัง/ (10 มิถุนายน 2566).
[[#_ftnref3|[3]]] “เพื่อไทรวมพลัง”, สืบค้นจาก https:// www.vote62.com/party/เพื่อไทรวมพลัง/ (10 มิถุนายน 2566).
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] “‘เพื่อไทรวมพลัง’ คือใคร ม้ามืดส่ง 2 ส.ส. ‘ส.จ.หน่อย-เสี่ยเชียง’ ล้มช้างคว้าเก้าอี้อุบลฯ”, สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/ politics/news_3981617(10 มิถุนายน 2566).
[[#_ftnref4|[4]]] “‘เพื่อไทรวมพลัง’ คือใคร ม้ามืดส่ง 2 ส.ส. ‘ส.จ.หน่อย-เสี่ยเชียง’ ล้มช้างคว้าเก้าอี้อุบลฯ”, สืบค้นจาก [https://www.matichon.co.th/ https://www.matichon.co.th/] politics/news_3981617(10 มิถุนายน 2566).
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|[5]]] “พรรคเพื่อไทรวมพลัง มาจากไหน? ม้ามืดคว้า 2 ที่นั่ง ส.ส.อุบลราชธานี”, สืบค้นจาก https://mgronline.com/onlinesection/ detail/9660000044910 (10 มิถุนายน 2566).
[[#_ftnref5|[5]]] “พรรคเพื่อไทรวมพลัง มาจากไหน? ม้ามืดคว้า 2 ที่นั่ง ส.ส.อุบลราชธานี”, สืบค้นจาก [https://mgronline.com/onlinesection/ https://mgronline.com/onlinesection/] detail/9660000044910 (10 มิถุนายน 2566).
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]] “เลือกตั้ง 2566 : รู้จักพรรคม้ามืด "เพื่อไทรวมพลัง" ร่วมจัดตั้งรัฐบาลก้าวไกล”, สืบค้นจาก https://www.thaipbs.or.th/news/ content/327932(10 มิถุนายน 2566).
[[#_ftnref6|[6]]] “เลือกตั้ง 2566&nbsp;: รู้จักพรรคม้ามืด "เพื่อไทรวมพลัง" ร่วมจัดตั้งรัฐบาลก้าวไกล”, สืบค้นจาก [https://www.thaipbs.or.th/news/ https://www.thaipbs.or.th/news/] content/327932(10 มิถุนายน 2566).
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] “ล้มช้าง! มารู้จักพรรคเล็กม้ามืด ‘เพื่อไทรวมพลัง’ ส่งแค่ 2 เขตก็ล้ม ‘เพื่อไทย’ เรียบ”, สืบค้นจาก https://www.dailynews.co.th/ news/2333295/ (10 มิถุนายน 2566).
[[#_ftnref7|[7]]] “ล้มช้าง! มารู้จักพรรคเล็กม้ามืด ‘เพื่อไทรวมพลัง’ ส่งแค่ 2 เขตก็ล้ม ‘เพื่อไทย’ เรียบ”, สืบค้นจาก [https://www.dailynews.co.th/ https://www.dailynews.co.th/] news/2333295/ (10 มิถุนายน 2566).
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] “ล้มแชมป์อุบลฯ พรรคม้ามืด “เพื่อไทรวมพลัง” คว่ำเพื่อไทยตกเก้าอี้”, สืบค้นจาก https://www.thaipbs.or.th/news/ content/ 327810 (10 มิถุนายน 2566).
[[#_ftnref8|[8]]] “ล้มแชมป์อุบลฯ พรรคม้ามืด “เพื่อไทรวมพลัง” คว่ำเพื่อไทยตกเก้าอี้”, สืบค้นจาก [https://www.thaipbs.or.th/news/ https://www.thaipbs.or.th/news/] content/ 327810 (10 มิถุนายน 2566).
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|[9]]] “‘เพื่อไทรวมพลัง’ ชู เป็นพรรคของคนอีสาน พร้อมร่วมรัฐบาลฝั่งประชาธิปไตย”, สืบค้นจาก https://www.thereporters.co/tw-politics/0404231524/ (10 มิถุนายน 2566).
[[#_ftnref9|[9]]] “‘เพื่อไทรวมพลัง’ ชู เป็นพรรคของคนอีสาน พร้อมร่วมรัฐบาลฝั่งประชาธิปไตย”, สืบค้นจาก [https://www.thereporters.co/tw-politics/0404231524/ https://www.thereporters.co/tw-politics/0404231524/] (10 มิถุนายน 2566).
</div> <div id="ftn10">
</div> <div id="ftn10">
[[#_ftnref10|[10]]] “เลือกตั้ง 2566 : พรรคเพื่อไทรวมพลัง เลือกขั้วประชาธิปไตย ยกมือหนุน “พิธา”เป็นนายกฯ”, สืบค้นจาก https:// www.pptvhd36. com/ news/การเมือง/196666(10 มิถุนายน 2566).
[[#_ftnref10|[10]]] “เลือกตั้ง 2566&nbsp;: พรรคเพื่อไทรวมพลัง เลือกขั้วประชาธิปไตย ยกมือหนุน “พิธา”เป็นนายกฯ”, สืบค้นจาก https:// www.pptvhd36. com/ news/การเมือง/196666(10 มิถุนายน 2566).
</div> <div id="ftn11">
</div> <div id="ftn11">
[[#_ftnref11|[11]]] “หัวหน้าพรรคเพื่อไทรวมพลัง มั่นใจ ก้าวไกล-เพื่อไทย เคลียร์ปมประธานสภาจบ”, สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/ politic/2705695 (10 มิถุนายน 2566).
[[#_ftnref11|[11]]] “หัวหน้าพรรคเพื่อไทรวมพลัง มั่นใจ ก้าวไกล-เพื่อไทย เคลียร์ปมประธานสภาจบ”, สืบค้นจาก [https://www.thairath.co.th/news/ https://www.thairath.co.th/news/] politic/2705695 (10 มิถุนายน 2566).
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:พรรคการเมือง]][[Category:พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]][[Category:หัวหน้าพรรคการเมือง]][[Category:นักการเมือง]][[Category:การเลือกตั้ง]][[Category:การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]
[[Category:พรรคการเมือง]] [[Category:พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]] [[Category:หัวหน้าพรรคการเมือง]] [[Category:นักการเมือง]] [[Category:การเลือกตั้ง]] [[Category:การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:37, 7 กันยายน 2566

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุทธิกานต์ มีจั่น

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ

 

          พรรคเพื่อไทรวมพลัง (พทล.) (PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY) จดทะเบียนเป็น ลำดับที่ 14/2564 เมื่อวันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 โดยมี นายวสวรรธน์ พวงพรศรี หรือ กังฟู และว่าที่ร้อยตรี วิชัย จิตรพิทักษ์เลิศ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก มีคณะกรรมการบริหารรวม 9 คน โดยมีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่ ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

          ด้านภูมิหลังและประสบการณ์ทางการเมืองของผู้นำพรรคเพื่อไทรวมพลังนั้น กล่าวได้ว่า นายวสวรรธน์ พวงพรศรี เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการของ นางยลดา หวังศุภกิจโกศล ในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยนายวสวรรธน์เป็นลูกชายของ นางมนัสมนต์ จิตรพิทักษ์เลิศ ซึ่งเป็นพี่สาวของ นางยลดา หวังศุภกิจโกศล ในขณะที่ ว่าที่ ร.ต.วิชัย จิตรพิทักษ์เลิศ เลขาธิการพรรคเป็นชาวอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เป็นพี่ชาย นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ทั้งยังเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคชาติไทยและเคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา โดยภายหลังย้ายไปอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นบ้านเกิดของภริยา[1]

          ต่อมาในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 นายวสวรรธน์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และในวันเดียวกันทางพรรคเพื่อไทรวมพลังได้จัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกนายวสวรรธน์ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อไป ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นของ นายวรเชษฐ เชิดชู พร้อมกันนี้ยังได้ทำการเปลี่ยนแปลงสำนักงานใหญ่ของพรรคมาที่ ต.ไร่น้อย อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นที่ทำการพรรคในปัจจุบัน

          ด้านข้อมูลของพรรคการเมืองจากฐานข้อมูลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง พบว่าพรรคเพื่อไทรวมพลัง มีสมาชิกทั้งหมด 7,576 คน โดยส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5,498 คน มีสาขาทั่วประเทศทั้งหมด 6 แห่ง โดยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 แห่ง มีตัวแทนพรรคทั่วประเทศเพียง 1 คน[2]

 

ภาพ : ตราสัญลักษณ์ของพรรคเพื่อไทรวมพลัง

PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY (1).png
PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY (1).png

พรรคเพื่อไทรวมพลังในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566

          ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566​ พรรคเพื่อไทรวมพลังส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ 19 คน โดยจับฉลากได้หมายเลข 38 และแบบแบ่งเขต 2 เขต ได้แก่ เขต 3 พื้นที่อำเภอดอนมดแดง, อำเภอตาลสุม, อำเภอม่วงสามสิบ, อำเภอเหล่าเสือโก้ก และเขต 10 อำเภอทุ่งศรีอุดม, อำเภอน้ำขุ่น, อำเภอน้ำยืน, อำเภอสำโรง (ยกเว้นตำบลสำโรง, ตำบลโคกก่อง, ตำบลบอน), อำเภอเดชอุดม (เฉพาะตำบลทุ่งเทิง) จังหวัดอุบลราชธานี โดยไม่มีการเสนอรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีในนามของพรรค

          นโยบายพรรคเพื่อไทรวมพลังที่ใช้ในการหาเสียง ได้แก่ ปลดหนี้ มีงานทำ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาด้านการศึกษาและสาธารณสุข อาทิ การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่เป็นหนี้เสีย โดยให้กองทุนฟื้นฟูฯ รวมทั้งรับซื้อหนี้ทั้งหมดที่มีในสถาบันการเงินทุกประเภท รวมหนี้นอกระบบด้วย ตลอดจนให้ความสำคัญด้านการศึกษา เรียนฟรี ปริญญาตรี มีงานทำ สร้างอาชีพในชุมชน ส่งเสริมธุรกิจ SME ธุรกิจออนไลน์ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำปฏิรูปที่ทำกิน ยกระดับอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้เป็นผู้ช่วยแพทย์แผนไทยประจำหมู่บ้าน และแก้ไขเกณฑ์ทหาร[3] เป็นต้น

 

ภาพ : สื่อประชาสัมพันธ์ในการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทรวมพลัง[4]

PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY (2).jpg
PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY (2).jpg

 

          ทั้งนี้ ผู้สมัครแบบแบ่งเขตพรรคเพื่อไทรวมพลังชนะการเลือกตั้งทั้ง 2 เขต ได้แก่ นางพิมพกาญจน์ พลสมัคร อดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี[5] ผู้สมัครเขต 3 ได้คะแนน 31,218 คะแนน ที่สามารถเอาชนะ นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัยจากพรรคเพื่อไทย ที่ได้รับ 22,020 คะแนน ส่วนนายสมศักดิ์ บุญประชม ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดอุบลลำปางก่อสร้าง (ศรีสมหวัง) และเป็นประธานชมรมคนรักน้ำยืน ผู้สมัครเขต 10 ได้คะแนน 63,127 คะแนน ซึ่งสามารถเอาชนะ นายสมคิด เชื้อคง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัยของพรรคเพื่อไทย ที่ได้รับ 19,292 คะแนน ส่วนในระบบบัญชีรายชื่อได้รับ 67,692 คะแนน ทำให้ไม่มีผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อของพรรคได้รับการเลือกตั้ง[6]

 

ภาพ : แสดงข้อความขอบคุณของนางพิมพกาญจน์ พลสมัคร[7]

PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY (3).jpg
PHEU THAI RUAMPHALANG PARTY (3).jpg

 

          อย่างไรก็ดี ได้มีการวิเคราะห์ว่าแม้ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทรวมพลังที่ได้รับการเลือกตั้งทั้งสองคนต่างไม่เคยมีประสบการณ์ในสนามการเมืองระดับชาติ แต่ในระดับท้องถิ่นถือเป็นรู้จักของชาวบ้านในพื้นที่อย่างดี โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะนางพิมพกาญจน์ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้รับความชื่นชมจากประชาชนในพื้นที่อำเภอม่วงสามสิบและอำเภอใกล้เคียง ที่ช่วยจัดหารถรับส่งคนป่วย หายารักษาให้ถึงบ้าน ในขณะที่นายสมศักดิ์ซึ่งมีอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยในช่วงโควิดระบาด ถือเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือในการนำรถไปช่วย รับ-ส่ง ชาวบ้านที่ป่วยและทำงานอยู่ในต่างจังหวัด ให้กลับมารักษาตัวที่บ้านเกิดในอำเภอน้ำยืน รวมทั้งส่งทีมงานวิ่ง รับ-ส่ง ยาใช้รักษาโรคให้กับชาวบ้านด้วย จึงทำให้นายสมศักดิ์ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างถล่มทลาย[8]

 

พรรคเพื่อไทรวมพลัง ในการร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล

          ภายหลังการประกาศผลการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทรวมพลังนำเสนอเป็นพรรคท้องถิ่นของพี่น้องคนอีสาน ถึงแม้เป็นพรรคตั้งใหม่แต่หัวใจยิ่งใหญ่ จะทำงานเป็นสถาบันทางการเมือง เป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกรพี่น้องคนอีสาน[9] และพร้อมเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลผสม 8 พรรค ร่วมฝั่งประชาธิปไตยพร้อมแสดงจุดยืนสนับสนุนให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่มีเงื่อนไขเพราะว่าพรรคก้าวไกลได้คะแนนเสียงมาอันดับหนึ่ง พร้อมนำเสนอภาพให้พรรคเพื่อไทรวมพลังเป็นของคนรุ่นใหม่ พร้อมเป็นตัวกลาง โซ่ข้อกลางประสานระหว่างคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า โดยจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง[10] นอกจากนี้ในช่วงเวลาที่เกิดกระแสความขัดแย้งระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลเรื่องตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร นายวสวรรธน์ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทรวมพลังออกมาแสดงความคิดเห็นในการสนับสนุนให้มีประธานสภาผู้แทนราษฎรที่ทำงานแบบวัฒนธรรมการเมืองใหม่ เป็นกลาง และทำเพื่อประชาชน รวมทั้งเสนอให้พรรคที่ได้คะแนนเสียงสูงสุดทั้งสองพรรคยอมถอยกันคนละก้าว เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและรักษาในสิ่งที่ประชาชนเลือกเข้ามา[11]

 

อ้างอิง

[1] “เปิดตัวพรรค "เพื่อไทรวมพลัง" พี่ชาย "นายกฯหน่อย" นั่งเลขาธิการพรรค อดีตเลขานุการเป็นหัวหน้าพรรค”, สืบค้นจาก https://www. koratdaily.com/blog.php?id=13933 (1 มิถุนายน 2566).

[2] “พรรคเพื่อไทรวมพลัง”, สืบค้นจาก https://party.ect.go.th/dataparty-detail/140(1 มิถุนายน 2566).

[3] “เพื่อไทรวมพลัง”, สืบค้นจาก https:// www.vote62.com/party/เพื่อไทรวมพลัง/ (10 มิถุนายน 2566).

[4] “‘เพื่อไทรวมพลัง’ คือใคร ม้ามืดส่ง 2 ส.ส. ‘ส.จ.หน่อย-เสี่ยเชียง’ ล้มช้างคว้าเก้าอี้อุบลฯ”, สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/ politics/news_3981617(10 มิถุนายน 2566).

[5] “พรรคเพื่อไทรวมพลัง มาจากไหน? ม้ามืดคว้า 2 ที่นั่ง ส.ส.อุบลราชธานี”, สืบค้นจาก https://mgronline.com/onlinesection/ detail/9660000044910 (10 มิถุนายน 2566).

[6] “เลือกตั้ง 2566 : รู้จักพรรคม้ามืด "เพื่อไทรวมพลัง" ร่วมจัดตั้งรัฐบาลก้าวไกล”, สืบค้นจาก https://www.thaipbs.or.th/news/ content/327932(10 มิถุนายน 2566).

[7] “ล้มช้าง! มารู้จักพรรคเล็กม้ามืด ‘เพื่อไทรวมพลัง’ ส่งแค่ 2 เขตก็ล้ม ‘เพื่อไทย’ เรียบ”, สืบค้นจาก https://www.dailynews.co.th/ news/2333295/ (10 มิถุนายน 2566).

[8] “ล้มแชมป์อุบลฯ พรรคม้ามืด “เพื่อไทรวมพลัง” คว่ำเพื่อไทยตกเก้าอี้”, สืบค้นจาก https://www.thaipbs.or.th/news/ content/ 327810 (10 มิถุนายน 2566).

[9] “‘เพื่อไทรวมพลัง’ ชู เป็นพรรคของคนอีสาน พร้อมร่วมรัฐบาลฝั่งประชาธิปไตย”, สืบค้นจาก https://www.thereporters.co/tw-politics/0404231524/ (10 มิถุนายน 2566).

[10] “เลือกตั้ง 2566 : พรรคเพื่อไทรวมพลัง เลือกขั้วประชาธิปไตย ยกมือหนุน “พิธา”เป็นนายกฯ”, สืบค้นจาก https:// www.pptvhd36. com/ news/การเมือง/196666(10 มิถุนายน 2566).

[11] “หัวหน้าพรรคเพื่อไทรวมพลัง มั่นใจ ก้าวไกล-เพื่อไทย เคลียร์ปมประธานสภาจบ”, สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/ politic/2705695 (10 มิถุนายน 2566).